กระบวนการ pentose phosphate pathway คืออะไร

            ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD ควรตระหนักและเห็นความสำคัญในการหลีกเลี่ยงอาหารและยาที่มีผลทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันได้ หากต้องเข้ารับการรักษาหรือต้องได้รับยาจะต้องแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลให้ทราบทุกครั้ง ว่าตนเองเป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD ในหลายสถานพยาบาลมักให้บัตรประจำตัวแก่ผู้ที่เป็นโรคพร่องไซม์ G6PD เพื่อหลีกเลี่ยงยาที่อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา

วิถีเพนโตสฟอสเฟต วิถีเพนโตสฟอสเฟต (pentose phosphate pathway) หรือวิถีฟอสโฟกลูโคเนต (phosphogluconate pathway) หรือเฮกโซสมอโนฟอสเฟตชันต์ (hexose monophosphate shunt) เป็นขบวนการซึ่งสร้าง NADPH และน้ำตาลเพนโตส หรือน้ำตาล 5 คาร์บอน วิถีดังกล่าวประกอบด้วยสองระยะ ระยะแรกเรียกว่า ระยะใช้ออกซิเจน (oxidative phase) ซึ่งมีการสร้าง NADPH ระยะที่สองเป็นการสังเคราะห์น้ำตาล 5 คาร์บอนโดยไม่ใช้ออกซิเจน (non-oxidative) วิถีดังกล่าวเป็นทางเลือกของไกลโคไลสิส แม้วิถีนี้จะเกี่ยวข้องกับออกซิเดชันของกลูโคส แต่บทบาทหลักกลับเป็นแอแนบอลิซึมมากกว่าแคแทบอลิซึม ในสิ่งมีชีวิตส่วนมาก วิถีดังกล่าวเกิดในไซโทพลาสซึม สำหรับพืช ขั้นตอนส่วนใหญ่เกิดในพลาสต.

8 ความสัมพันธ์: พลาสติดกลูโคสคาร์บอนน้ำตาลแอแนบอลิซึมแคแทบอลิซึมไกลโคไลซิสไซโทพลาซึม

ซลล์พืช พลาสติด (plastid) เป็นออร์แกเนลล์ที่สำคัญของเซลล์พืช มีสามลักษณะตามประเภทรงควัตถุ ได้แก่, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaigoodview.com.

ใหม่!!: วิถีเพนโตสฟอสเฟตและพลาสติด · ดูเพิ่มเติม »

กลูโคส (อังกฤษ: Glucose; ย่อ: Glc) เป็นน้ำตาลประเภทโมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) มีความสำคัญที่สุดในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตด้วยกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิติทุกชนิดใช้กลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน และสารเผาผลาญขั้นกลาง (metabolic intermediate) กลูโคสเป็นหนึ่งในผลผลิตหลักของการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) และเป็นแหล่งพลังงานสำหรับการหายใจของเซลล์ (cellular respiration) โครงสร้างโมเลกุลตามธรรมชาติของมัน (D-glucose) จะอยู่ในรูปที่เรียกว่า เดกซ์โตรส (dextrose) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร.

ใหม่!!: วิถีเพนโตสฟอสเฟตและกลูโคส · ดูเพิ่มเติม »

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: วิถีเพนโตสฟอสเฟตและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: วิถีเพนโตสฟอสเฟตและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

แอแนบอลิซึมเป็นการสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่จากหน่วยขนาดเล็ก แอแนบอลิซึม (anabolism) เป็นกลุ่มวิถีเมแทบอลิซึมซึ่งสร้างโมเลกุลขึ้นจากหน่วยขนาดเล็ก ปฏิกิริยาเหล่านี้ต้องอาศัยพลังงาน ขบวนการเมแทบอลิซึม ทั้งในระดับเซลล์ อวัยวะและสิ่งมีชีวิต สามารถจำแนกได้เป็นแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึม ที่มีลักษณะตรงข้ามกัน แอแนบอลิซึมได้รับพลังงานจากแคแทบอลิซึม โดยโมเลกุลขนาดใหญ่ถูกสลายลงเป็นส่วนที่เล็กกว่า และจะถูกใช้ไปในการหายใจระดับเซลล์ต่อไป ขบวนการแอแนบอลิซึมจำนวนมากใช้พลังงานจากอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) ขบวนการแอแนบอลิซึมโน้มเอียงต่อ "การเสริมสร้าง" อวัยวะและเนื้อเยื่อ ขบวนการเหล่านี้ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ตลอดจนการเพิ่มขนาดลำตัว ซึ่งเป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โมเลกุลที่ซับซ้อน ตัวอย่างขบวนการแอแนบอลิซึม ได้แก่ การเจริญเติบโตและการสะสมแร่ธาตุ (mineralization) ของกระดูกและการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ นักวิทยาต่อมไร้ท่อเดิมจำแนกฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนแอแนบอลิกหรือแคแทบอลิก ขึ้นอยู่กับส่วนของเมแทบอลิซึมที่มันไปกระตุ้น ฮอร์โมนแอแนบอลิกแบบดั้งเดิมเป็นแอแนบอลิกสเตอรอยด์ ซึ่งกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนและการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ สมดุลระหว่างแอแนบอลิซึมและแคแทบอลิซึมยังถูกควบคุมโดยจังหวะเซอร์คาเดียน ด้วยขบวนการอย่างเมแทบอลิซึมของกลูโคสที่ผันแปรให้เข้ากับคาบกิจกรรมตามปกติตลอดทั้งวันของสัตว.

ใหม่!!: วิถีเพนโตสฟอสเฟตและแอแนบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

แผนภาพแคแทบอลิซึมของสารอาหารในร่างกาย แคแทบอลิซึม เป็นกลุ่มวิถีเมแทบอลิซึมซึ่งสลายโมเลกุลเป็นหน่วยขนาดเล็กและปลดปล่อยพลังงาน ในแคแทบอลิซึม โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น พอลิแซ็กคาไรด์ ลิพิด กรดนิวคลีอิกและโปรตีนถูกสลายเป็นหน่วยขนาดเล็กกว่า เช่น มอโนแซ็กคาไรด์ กรดไขมัน นิวคลีโอไทด์และกรดอะมิโนตามลำดับ โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น พอลิแซ็กคาไรด์ โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วยหน่วยมอโนเมอร์สายยาวนี้ เรียกว่า พอลิเมอร์ เซลล์ใช้มอโนเมอร์ที่ปลดปล่อยจากการสลายพอลิเมอร์เพื่อสร้างโมเลกุลพอลิเมอร์ใหม่ หรือย่อยมอโนเมอร์นั้นอีกจนเหลือผลิตภัณฑ์ของเสียที่มีโครงสร้างเรียบง่าย และปลดปล่อยพลังงานออกมา ของเสียในเซลล์รวมถึงกรดแลกติก กรดอะซีติก คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนียและยูเรีย การสร้างของเสียเหล่านี้โดยปกติเป็นขบวนการออกซิเดชันเกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยพลังงานเคมีอิสระ ซึ่งบางส่วนสูญเสียไปในรูปความร้อน แต่ส่วนที่เหลือถูกใช้เพื่อขับเคลื่อนการสังเคราะห์อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) โมเลกุลนี้ทำหน้าที่เป็นหนทางที่เซลล์ขนส่งพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากแคแทบอลิซึมไปยังปฏิกิริยาที่ต้องการพลังงานซึ่งประกอบเป็นแอแนบอลิซึม ฉะนั้น แคแทบอลิซึมจึงให้พลังงานเคมีซึ่งจำเป็นต่อการคงสภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ ตัวอย่างของขบวนการแคแทบอลิซึม เช่น ไกลโคไลสิส วัฏจักรเครปส์ การสลายโปรตีนกล้ามเนื้อเพื่อใช้กรดอะมิโนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างกลูโคสและการสลายไขมันในเนื้อเยื่อไขมันเป็นกรดไขมัน มีหลายสัญญาณซึ่งควบคุมแคแทบอลิซึม สัญญาณที่ทราบกันส่วนมากเป็นฮอร์โมนและโมเลกุลที่เกี่ยวข้องในเมแทบอลิซึมเอง นักวิทยาต่อมไร้ท่อเดิมจำแนกฮอร์โมนจำนวนมากเป็นฮอร์โมนแอแนบอลิกหรือแคแทบอลิกขึ้นอยู่กับส่วนของเมแทบอลิซึมที่มันไปกระตุ้น ฮอร์โมนแคแทบอลิกดั้งเดิมที่ทราบกันตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้แก่ คอร์ติซอล กลูคากอนและอะดรีนาลีน ตลอดจนแคทีโคลามีนอื่น ๆ ในทศวรรษหลัง ๆ มีการค้นพบฮอร์โมนมากขึ้นที่มีผลเชิงแคแทบอลิซึมอยู่บ้าง รวมทั้งไซโคไคน์ โอรีซิน (ไฮโปเครติน) และเมลาโทนิน ฮอร์โมนแคแทบอลิกเหล่านี้จำนวนมากแสดงผลต่อต้านแคแทบอลิซึมในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ การศึกษาหนึ่งพบว่า การจัดการเอพิเนฟริน (อะดรีนาลิน) มีผลยับยั้งการสลายโปรตีน และอันที่จริง ยับยั้งแคแทบอลิซึมมากกว่ากระตุ้น อีกการศึกษาหนึ่งพบว่า แคทีโคลามีนโดยรวม (คือ นอร์อะดรีนาลินและอะดรีนาลิน) ลดอัตราแคแทบอลิซึมในกล้ามเนื้ออย่างมาก.

ใหม่!!: วิถีเพนโตสฟอสเฟตและแคแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

ั้นตอนของไกลโคไลซิส ไกลโคไลซิส (Glycolysis) เป็นกระบวนการปฏิกิริยาเคมีที่พบทั้งในโพรแคริโอตและยูแคริโอตโดยในยูแคริโอตนั้นพบบริเวณไซโทซอลของเซลล์ เป็นกระบวนการสังเคราะห์โมเลกุล ATP กับ NADH จากโมเลกุลของกลูโคสกล่าวโดยสรุปแล้วหนึ่งโมเลกุลของกลูโคสเมื่อผ่านกระบวนการไกลโคไลซิสแล้วได้สองโมเลกุลของ ATP, NADH และ ไพรูเวต เป็นการย่อยสลายโมเลกุลของกลูโคส (คาร์บอน 6 ตัว) ไปเป็นไพรูเวต (คาร์บอน 3 ตัว).

ใหม่!!: วิถีเพนโตสฟอสเฟตและไกลโคไลซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทพลาซึม นี่คือภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (6) กอลไจแอปพาราตัส (7) ไซโทสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอล ไซโทพลาซึม (cytoplasm) คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่าออร์แกเนลล์ (organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่าไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า '''นิวคลิโอพลาซึม''' กิจกรรมต่างๆ ในระดับเซลล์มักเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม เช่น ไกลโคไลซิส และการแบ่งเซลล์ บริเวณเนื้อด้านในๆ ของไซโทพลาซึมเรียกว่า เอนโดพลาซึม (endoplasm) ส่วนเนื้อด้านนอกของไซโทพลาซึมที่อยู่ถัดจากเยื้อหุ้มเซลล์ลงมา เรียกว่า เอกโตพลาซึม หรือ เซลล์คอร์เทกซ์ (cell cortex) ในเซลล์ของพืช จะมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมภายในเซลล์เพื่อลำเลียงสารจากบริเวณหนึ่งของเซลล์ไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เรียกการไหลเวียนนี้ว่า ไซโทพลาสมิก สตรีมมิ่ง (cytoplasmic streaming) หรือ ไซโคลซิส (cyclosis) หน้าที่ของไซโทพลาสซึม    • เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์     • สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์     • สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์    • เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์     • เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

Pentose phosphate pathway ได้อะไร

Pentose Phosphate Pathway PPP มีความสำคัญ คือ เป็นกลไกในการสลายกลูโคส และให้ NADPH เพื่อใช้ในกระบวนการอื่น ๆ และยังสังเคราะห์ Ribulose-5-Phosphate ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของกรดนิวคลีอิค และยังสังเคราะห์ Erythrose-4-Phosphate ซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์ลิกนิน และสารประกอบฟีโนลิค

Pentose phosphate pathway เกิดขึ้นที่ไหน

- เกิดขึ้นใน cytoplasm ของเซลล์ตับและ adipose cell (บริเวณที่มีการสังเคราะห์กรดไขมัน ) - ไม่พบในเซลล์กล้ามเนื้อ ที่ซึ่ง glucose-6-phosphate ต้องเข้าสู่วิถีไกลโคซิสเพื่อสร้างพลังงาน

ผลิตภัณฑ์ใดจากกระบวนการ pentose phosphate pathway (PPP) ที่นำไปสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก

วิถีเพนโทสฟอสเฟต (pentose phosphate pathway) เป็นการสลายกลูโคสได้ผลิตผลเป็นน้ำตาลไรโบส ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารพันธุกรรม คือ กรดนิวคลีอิก และสังเคราะห์พลังงานอีกรูปหนึ่ง คือ รูปของ NADPH+H.

น้ำตาลชนิดใดที่อยู่ใน pentose phosphate pathway

วิถีเพนโตสฟอสเฟต (อังกฤษ: pentose phosphate pathway) หรือวิถีฟอสโฟกลูโคเนต (อังกฤษ: phosphogluconate pathway) หรือเฮกโซสมอโนฟอสเฟตชันต์ (อังกฤษ: hexose monophosphate shunt) เป็นขบวนการซึ่งสร้าง NADPH และน้ำตาลเพนโตส หรือน้ำตาล 5 คาร์บอน วิถีดังกล่าวประกอบด้วยสองระยะ ระยะแรกเรียกว่า ระยะใช้ออกซิเจน (oxidative phase) ...