ระบบน้ำเหลืองมีความสําคัญอย่างไร * 1 คะแนน

เชื่อว่ามีคนจำนวนมากที่กำลังคิดว่า การไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองสำคัญกับการดีท็อกซ์สารพิษอย่างไร เป็นประโยชน์กับสุขภาพอย่างไร เพราะเหตุใดคนเราต้องกระตุ้นการไหลเวียนระบบน้ำเหลืองทั่วทั้งร่างกาย และมีวิธีใดที่สามารถทำได้บ้าง

ระบบน้ำเหลืองมีความสําคัญอย่างไร * 1 คะแนน

                                                           ...ร่างกาย คือ ระบบแห่งการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน...

Lymphatic ความสำคัญที่ต้องดูแล
ร่างกายของเราทุกวันนี้รับสารพิษจากรอบด้าน ทั้งจากการรับประทาน การสูดดม การสัมผัส และสารพิษที่ได้รับจะเข้าสู่ภายในเซลล์ ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการของร่างกาย เซลล์ย่อมขับพิษออกมาโดยอาศัยการทำงานของส่วนประกอบในเซลล์ ออกซิเจน ให้ไมโตรคอนเดรียช่วยขับของเสีย ไลโซโซมช่วยในการขับของเสียออกจากเซลล์ และร่างกายจะขับของเสียเหล่านี้เข้าสู่ระบบการไหลเวียนเลือด เพื่อขับออกตามส่วนต่างๆ อย่างเช่น ตับและไต


ระบบน้ำเหลือง มีหน้าที่หลักในการนำของเหลวจากหลอดเลือดฝอยกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำของระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งท่อน้ำเหลืองจะไม่มีกล้ามเนื้อ ต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบรอบๆ ในการรีดน้ำเหลืองกลับ จึงทำให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองช้าและไหลเวียนไม่ดีเท่าการไหลเวียนของเลือด โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย จะมีแนวโน้มเกิดสภาวะน้ำเหลืองคั่งค้างตามเนื้อเยื่อได้ง่าย จึงเป็นเหตุผลให้เกิดพิษคั่งค้างในเซลล์หรือเนื้อเยื่อและเกิดการสะสม อาทิ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ สิว ฝ้า ซีสต์ ก้อนเนื้อ รวมถึงจุดเริ่มต้นของการเกิดมะเร็งมีความเกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของน้ำเหลืองที่ไม่ดี และแม้แต่เซลล์ที่เสื่อมก็เชื่อมโยงกับการที่สารพิษไม่สามารถถูกขับออกนอกร่างกายได้

ระบบน้ำเหลืองมีความสําคัญอย่างไร * 1 คะแนน

คำตอบที่ใช่ แต่ไม่สมบูรณ์
ในชีวิตประจำวันสามารถกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลืองแบบง่ายๆ ได้หลายวิธี อาทิ การออกกำลังกาย การทำซาวน่า และสำหรับในทางการแพทย์แผนไทยจะใช้วิธีการนวดน้ำมันอโรมา ถ้าเช่นนั้น...ใครที่ต้องการกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำเหลืองก็สามารถไปนวดน้ำมันอโรมาได้ใช่หรือไม่? คำตอบ คือ ใช่
แต่การนวดสามารถทำได้เพียงบริเวณแขน ขา แต่ไม่สามารถกระตุ้นน้ำเหลืองที่ลงลึกไปในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด หรือในช่องท้องได้


Lymphatic Detox บทบาทสำคัญกระตุ้นการไหลเวียนระบบน้ำเหลืองทั่วร่างกาย
Lymphatic Detox ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์การทำงานของน้ำเหลืองและฟื้นฟูการไหลเวียนของน้ำเหลือง เนื่องจากการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง มีบทบาทที่สำคัญในการรักษาสมดุล ทำงานเชื่อมต่อกับอวัยวะทุกระบบ เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความสมดุลของของเหลวและทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักในการกำจัดสารพิษ ในเวลาเดียวกันน้ำเหลืองเป็นเสมือนบ้านของเม็ดเลือดขาวซึ่งมีความสำคัญกับระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น การดูแลทำให้น้ำเหลืองไหลเวียนได้ดี ก็ย่อมช่วยให้ภูมิต้านทานของเราดีขึ้นด้วยนั่นเอง

วิธีกระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองทั่วร่างกาย Lymphatic Detox ทำโดยใช้แท่งแก้วไพรเออร์ที่ปล่อยพลังงานซึ่งบรรจุก๊าซเฉื่อยทั้ง 6 ธาตุ คือ ฮีเลียม (He) นีออน (Ne) อาร์กอน (Ar) คริปทอน (Kr) ซีนอน (Xe) และ เรดอน (Ra) ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางการแพทย์ โดยพยาบาลหรือนักกายภาพบำบัดจะใช้หลอดแก้วสัมผัสที่ผิวและไล่ไปตามโครงสร้างของระบบน้ำเหลืองทั่วร่างกาย หรือทำเฉพาะจุดที่ต้องการ สำหรับการทำ Lymphatic Detox ไม่มีข้อห้าม มีเพียงข้อพึงระวังในการทำให้กับผู้ที่ติดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) เท่านั้น ระยะเวลาในการทำประมาณ 40 นาที

ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)

ระบบน้ำเหลืองมีความสําคัญอย่างไร * 1 คะแนน

ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system) จัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียน (Circulatory system) ในร่างกาย ประกอบด้วย น้ำเหลือง (Lymph) หลอดน้ำเหลือง (Lymphatic vessel) ต่อมน้ำเหลือง (Lymph node) รวมอวัยวะน้ำเหลือง (Lymphatic organ) มีหน้าที่หลักคือ นำของเหลวที่ซึมออกมาจากหลอดเลือดฝอยกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำ รวมถึงสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

น้ำเหลือง (Lymph) เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอยออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรือรอบ ๆ เซลล์ ต่อมาของเหลวบางส่วนกลับเข้าสู่หลอดน้ำเหลือง เรียก น้ำเหลือง มีส่วนประกอบคล้ายกับพลาสมา (Plasma) ในเลือด แต่มีโปรตีนน้อยกว่า และไม่มีเม็ดเลือดแดง
อย่างไรก็ตามส่วนประกอบนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงโดยขึ้นกับว่าน้ำเหลืองมาจากอวัยวะใด เช่น น้ำเหลืองที่มาจากบริเวณลำไส้เล็กซึ่งเป็นอวัยวะที่มีการดูดซึมไขมันสูง ทำให้น้ำเหลืองมีลักษณะคล้ายน้ำนม ขณะที่น้ำเหลืองที่มาจากบริเวณต่อมน้ำเหลือง จะมีเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์จำนวนมาก

หลอดน้ำเหลือง (Lymph vessel) เป็นท่อตันมีอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยมีทิศทางมุ่งเข้าสู่หัวใจ เริ่มจากท่อน้ำเหลืองฝอยจากบริเวณต่าง ๆ มารวมเป็นท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่ขึ้น ไหลเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองหลักของร่างกาย ได้แก่ ท่อน้ำเหลืองทางด้านซ้าย (Left lymphatic duct) หรือท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct)  และท่อน้ำเหลืองทางด้านขวา (Right lymphatic duct) ก่อนไหลเข้าสู่หลอดเลือดดำ จนถึงหลอดเลือดดำใหญ่ เวนาคาวา (Venacava) และเข้าสู่หัวใจ

หลอดน้ำเหลืองมีลักษณะคล้ายกับหลอดเลือดดำ โดยมีลิ้นกั้นป้องกันการไหลกลับของน้ำเหลือง การไหลของน้ำเหลืองจะไปอย่างช้า ๆ จากการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบ ๆ หลอดน้ำเหลือง จากความแตกต่างของความดันระหว่างหลอดน้ำเหลืองเล็กและหลอดน้ำเหลืองใหญ่ รวมถึงการหายใจเข้าทำให้ปอดขยายตัว