Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด

คิดว่าคนที่ช่างสังเกตหน่อย น่าจะเคยเห็น Creative Commons ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์ต่างๆ กันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร มีไว้ทำไม บทความนี้ก็เลยอยากจะมาอธิบายให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ

Creative Commons ไม่ใช่ Intellectual property!

คนมักจะเข้าใจผิด คิดว่า Creative Commons เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) รูปแบบหนึ่ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่นะครับ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าทรัพย์สินทางปัญญา คือ อะไร?

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด

ภาพจาก https://pixabay.com/images/id-4054592/

ทรัพย์สินทางปัญญา คือ สิทธิ์ทางกฎหมายที่มอบให้เจ้าของสิทธิ์ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ์" มันเป็นสิ่งที่นานาประเทศเกือบทั้งโลกได้ร่วมกันสร้างมาตรฐานขึ้นมา เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับ "เจ้าของไอเดีย" สำหรับประเทศไทย เราสามารถแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และ ลิขสิทธิ์์ 

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะต้องไปจดทะเบียน หรือแจ้งที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาก่อนถึงจะได้มา

  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม แบ่งย่อยออกเป็น 8 ประเภท คือ

  1. สิทธิบัตร (Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น การประดิษฐ์รถยนต์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  2. อนุสิทธิ์บัตร (Petty Patent) จะเหมือนกับสิทธิ์บัตร แต่จะแตกต่างตรงที่ใช้กับการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย
  3. เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ สิทธิ์ตามกฎหมาย ในตราสินค้า (โลโก้) หรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า
  4. ความลับทางการค้า (Trade secret) คือ เป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ ยกตัวอย่างเช่น สูตรการทำน้ำ Pepsi หรือ Coca Cola ฯลฯ
  5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical indication)  เป็นชื่อหรือสัญลักษณ์เฉพาะที่ใช้บนผลิตภัณฑ์หรือสิ่งที่อิงไปถึงตำแหน่งหรือจุดเริ่มต้นทางภูมิศาสตร์ (เช่นเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ) ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้กับสินค้าบริโภค อ่านแล้วอาจจะงงๆ ลองนึกง่ายๆ ดังนี้ครับ ข้าวหลามหนองมน คนกรุงเทพที่เปิดร้านข้าวหลามทำเองไม่สามารถใช้ชื่อหนองมนได้ หรือจะไข่เค็มไชยา บุหรี่คิวบา ฯลฯ
  6. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit) คือ สิทธิ์ความคุ้มครองการออกแบบแผงวงจรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ไม่ซ้ำกับของเดิมที่มีอยู่
  7. คุ้มครองพันธุ์พืช (Plant Varieties Protection) เป็นสิทธ์คุ้มครองในพันธุ์พืชที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ จนมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างชัดเจน
  8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional knowledge) การคุ้มครองความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นพวก การทอผ้าไหม การสร้างหนังตะลุง การทำหัวโขน ฯลฯ

สำหรับลิขสิทธิ์์ ชิ้นงานของเราจะได้รับสิทธิ์์ความคุ้มครองทันทีที่งานปรากฏ โดยไม่ต้องจดทะเบียน แต่เจ้าของลิขสิทธิ์์ก็สามารถแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มความชัดเจนได้เช่นกัน

  ลิขสิทธิ์

  เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่มอบสิทธิ์ทางกฎหมายที่มอบให้ผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานที่สร้างสรรค์ โดยทั่วไปแล้ว งานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ เป็นงานสร้างสรรค์ทางปัญญาทุกรูปแบบ เช่น งานเขียน งานดนตรี งานนาฏศิลป์ งานศิลปะ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถมอบสิทธิ์์ให้แก่บุคคลอื่นได้ โดยอาจจะมอบสิทธิ์์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ เช่น สิทธิ์์การตีพิมพ์ สิทธิ์การแปล สิทธิ์การดัดแปลง เป็นต้น


แล้ว Creative Commons คืออะไร ?

ถึงบรรทัดนี้ เราน่าจะเข้าใจความหมายของทรัพย์สินทางปัญญากันไปแล้ว ซึ่งหากเราต้องการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เราก็จำเป็นต้องไปยื่นเรื่องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าทรัพย์สินทางปัญญาของเสียก่อน ปัญหามันก็อยู่ตรงนี้นี่แหละ

การเจรจาขอใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้น จะว่าง่ายมันก็เหมือนจะง่าย ก็แค่การติดต่อเจรจาระหว่าง "เจ้าของ" กับ "ผู้อยากใช้" แต่เอาเข้าจริง ระหว่างนั้นมันก็มีขั้นตอนที่ยุ่บยั่บอยู่นะ เช่น กว่าจะหาเบอร์ติดต่อ, นัดหมายเจรจา, ส่งเอกสาร, อนุมัติ ฯลฯ อย่าว่าแต่คนอยากใช้จะขี้เกียจเดินเรื่องเลย บางทีเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาก็ขี้เกียจมาเสียเวลากับเรื่องพรรค์นี้ด้วยซ้ำ

เนื่องจาก ผลงานที่มีทรัพย์สินทางปัญญาคุ้มครองอยู่ "บางส่วน" เจ้าของอาจจะมีความยินดีที่จะให้เผยแพร่ต่ออยู่แล้ว เช่น บทความเชิงให้ความรู้, ภาพ Clipart, รูปถ่าย ฯลฯ แต่ถึงเราจะบอกว่าเจ้าของใจดีแจกจ่าย แต่ส่วนใหญ่แล้ว เขาก็จะมีเงื่อนไขอย่างเช่น ต้องระบุแหล่งที่มา, ห้ามเอาไปดัดแปลง, ห้ามเอาไปหารายได้ต่อ ฯลฯ

Creative Commons จึงถูกสร้างมาเป็นพระเอกสำหรับแก้ปัญหานี้

Creative Commons (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ก่อตั้งขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายสนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญา โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเดิม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประมาณ 60 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

สัญญาครีเอฟทีฟคอมมอนส์ฉบับภาษาไทย จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของ สำนักกฎหมายธรรมนิติ สถาบัน ChangeFusion และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรองรับตามหลักเกณฑ์ Creative Commons 3.0 และปรับให้เข้ากับกฎหมายลิขสิทธิ์์ของประเทศไทย จึงสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายไทย

ประกาศเปิดตัวเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นลำดับที่ 51 ของโลก

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นสัญญาอนุญาตแบบเปิดรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาสามารถให้สิทธิ์บางส่วน หรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิ์อื่นๆ ที่ตนเองต้องการเอาไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ

เหตุผลการมีอยู่ของ Creative Commons (CC) ก็เพื่อช่วยให้เจ้าของสามารถบอกให้คนทั่วไปรู้ว่า ผลงานของตัวเขาสามารถนำไปใช้งานในลักษณะใดต่อได้บ้างอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ Creative Commons ยังช่วยปกป้องผู้ใช้ทั่วไปให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเผลอไปละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตราบใดที่เขาทำถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด

อย่างเว็บไซต์ Thaiware เองก็ยินดีให้เผยแพร่ หรือดัดแปลงบทความของเราต่อได้ แต่ต้องแสดงแหล่งที่มาด้วยทุกครั้ง

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด


รู้จัก Creative Commons ให้มากขึ้น

Creative Commons จะมีเงื่อนไขใบอนุญาตอยู่ 4 รูปแบบ และผสมผสานกันเป็นใบอนุญาต 6 ประเภท โดยเราสามารถแยกแยะได้จากสัญลักษณ์ที่กำหนด

เงื่อนไขใบอนุญาต (License Conditions)

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
 Attribution (by)

เงื่อนไขแรก Attribution (by) จะปรากฏอยู่ในใบอนุญาตทุกประเภท สำหรับเงื่อนไขนี้ เราจะนำงานไปใช้ได้โดยอิสระ แต่ต้องให้เครดิตเจ้าของผลงานตามที่เขาได้ร้องขอเอาไว้ด้วย หากเราต้องการใช้งานแบบไม่ให้เครดิต เราต้องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อนเท่านั้น

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
 ShareAlike (sa)

สำหรับเงื่อนไขนี้ คือ เจ้าของผลงานอนุญาตให้คุณนำผลงานของเขาไปทำซ้ำ, ดัดแปลง, เผยแพร่ต่อได้ แต่ว่าผลงานใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดิมเท่านั้น พูดง่ายๆ หากคุณได้มันมาฟรี แม้จะต่อยอดให้เจ๋งขึ้น คุณก็ห้ามขาย ต้องแจกฟรีต่อไป

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
 NonCommercial (nc)

ตามชื่อเลย คุณจะเอาผลงานไปทำอะไรต่อก็ได้ ยกเว้น นำผลงานดังกล่าวไป "แสวงหากำไร" โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของผลงาน

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
 NoDerivatives (nd)

หากเห็นสัญลักษณ์นี้ หมายความว่า คุณสามารถทำซ้ำ, เผยแพร่ ต่อได้ แต่ห้ามแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนโดยเด็ดขาด


ประเภทของใบอนุญาต (License Types)

จากเงื่อนไขทั้ง 4 ทาง Creative Commons ได้นำมาสร้างเป็นใบอนุญาต 6 ชนิด ดังนี้

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
  Attribution (CC BY)

ยินยอมให้เรานำผลงานไปเผยแพร่ต่อ, ผสมผสาน, ปรับปรุง หรือนำไปแสวงหาผลกำไรต่อได้ ตราบใดที่คุณให้เครดิตแหล่งที่มาของต้นฉบับเอาไว้ด้วย

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
  Attribution ShareAlike (CC BY-SA)

มีความคล้ายคลึงกับ Attribution (CC BY) เพียงแต่ว่าผลงานใหม่ที่คุณสร้างขึ้น จะต้องอยู่ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons รูปแบบเดิมกับต้นฉบับเท่านั้น อนึ่ง Wikipedia ก็ใช้เงื่อนไขนี้นะ

เงื่อนไขนี้มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ Copyleft อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tips.thaiware.com/1017.html

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
  Attribution-NoDerivs (CC BY-ND)

สามารถนำผลงานนี้ไปใช้งานต่อได้อย่างอิสระ รวมถึงการแสวงหาผลกำไร แต่ห้ามดัดแปลงโดยเด็ดขาด รวมถึงต้องให้เครดิตเจ้าของผลงานด้วย

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
  Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)

นำผลงานไปทำอะไรต่อได้อย่างอิสระ ตราบใดที่ให้เครดิตเจ้าของผลงานอย่างถูกต้อง และไม่นำไปใช้ในการแสวงหาผลกำไร

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
  Attribution-NonCommercial-ShareAlike (CC BY-NC-SA)

เงื่อนไขเหมือนกับ Attribution-NonCommercial (CC BY-NC) เพียงแต่มีเพิ่มตรงที่ผลงานใหม่ จะต้องอยู่ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons รูปแบบเดิมกับต้นฉบับเท่านั้น

Cc-by-nd คือรูปแบบสัญญาอนุญาตในข้อใด
  Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

นี่เป็นเงื่อนไขที่จำกัดด้านการใช้งานมากที่สุด โดยเราทำได้แค่เผยแพร่ และให้เครดิตด้วยเท่านั้น ห้ามดัดแปลงแก้ไข หรือนำไปแสวงหารายได้โดยเด็ดขาด


ใครที่คิดจะเผยแพร่ผลงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโลกอินเทอร์เน็ต Creative Commons ถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากๆ เลยล่ะ อย่างไรก็ตาม เราควรระวังในการเลือกใช้ประเภทของมันให้เหมาะสมกับผลงานของเราด้วยนะครับ เพราะใบอนุญาต CC ไม่สามารถเพิกถอนได้ แม้เจ้าของผลงานจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในภายหลัง แต่คนที่ใช้งานไปแล้ว ยังได้รับสิทธิ์์ตามใบอนุญาตเดิมอยู่ดี

CC BY ND คืออะไร

CC-BY-ND ให้อ้างอิงแหล่งที่มาและห้ามดัดแปลงเนื้อหาเดิม CC-BY-NC-SA ให้อ้างอิงแหล่งที่มาห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องอนุญาต ตามสัญญาอนุญาตเดิม

CC มีอะไรบ้าง

ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License).
1. Attribution (BY) สัญลักษณ์ที่แสดงว่า อนุญาตให้ผู้อื่นสามารถนำผลงานไปใช้ ทำซ้ำ แจกจ่าย หรือดัดแปลงงานนั้นได้ แต่ต้องให้เครดิตที่มาของเจ้าของผลงานนั้น.
2. NonCommercial (NC) ... .
3. NoDerivatives (ND) ... .
4. ShareAlike (SA).

การประกาศสิทธิ์ตามสัญลักษณ์ CC แบบ SA หมายถึงข้อใด?

ShareAlike (sa) สำหรับเงื่อนไขนี้ คือ เจ้าของผลงานอนุญาตให้คุณนำผลงานของเขาไปทำซ้ำ, ดัดแปลง, เผยแพร่ต่อได้ แต่ว่าผลงานใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดิมเท่านั้น พูดง่ายๆ หากคุณได้มันมาฟรี แม้จะต่อยอดให้เจ๋งขึ้น คุณก็ห้ามขาย ต้องแจกฟรีต่อไป

By NC ND มีความหมายว่าอย่างไร

สัญญาอนุญาตประเภทแสดงที่มา ไม่ใช้เพื่อการค้า และไม่แก้ไขต้นฉบับ (by-nc-nd) เป็นสัญญาที่อนุญาตให้ผู้อื่นเผยแพร่งานของเจ้าของผลงานได้ ตราบใดที่เขาให้เครดิตแก่เจ้าของผลงานในฐานะผู้สร้างต้นฉบับและลิงค์กลับไปที่สัญญาอนุญาตของเจ้าของ แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้เพื่อการค้าและดัดแปลงแก้ไขไม่ว่าด้วยวิธีใด