การแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีความสำคัญอย่างไร

  นอกจากโครงการที่กล่าวมาแล้ววัดพระธรรมกายยังมีโครงการอีกมากมายที่ส่งเสริมให้ชาวพุทธเป็พุทธมามกะที่แท้จริง ได้แก่ โครงการบวชพระ 100,000 รูป โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้าทั่วประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา มีนักเรียนร่วมสอบกว่า 5 ล้านคน โครงการมาวัดวันอาทิตย์ธรรมดาและอาทิตย์ต้นเดือน โครงการเผยแผ่ธรรมะผ่านจานดาวเทียม เป็นต้น โครงการที่กล่าวมานี้ทำให้ชาวพุทธมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมมากขึ้น จะทำให้เขาเหล่านั้นเป็นพุทธมามกะที่สมบูรณ์และดำรงชีพอย่างเป็นสุขภายใต้ร่มเงาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

1) ประวัติความเป็นมา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังมีปรากฏในวินัยปิฎกมหาวรรคเล่ม 4 ซึ่งสรุปโดยย่อ ดังนี้

  ยสกุลบุตรเป็นเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติมากมาย และได้รับการบำรุงบำเรออย่างเต็มที่ คืนวันหนึ่งเขาได้หลับก่อนบริวาร และตื่นขึ้นมาเห็นบริวารของตนหลับด้วยอาการต่างๆ
บางคนนอนผ้าหลุดลุ่ย บางคนนอนละเมอ น้ำลายไหล เมื่อยสะเห็นอาการต่างๆ เหล่านี้ จิตจึงตั้งอยู่ ในความเบื่อหน่าย เขาจึงเปล่งอุทานขึ้นในขณะนั้นว่า “ท่านผู้เจริญ ที่นี่วุ่นวายหนอ
ท่านผู้เจริญ ที่นี้ขัดข้องหนอ” และได้ออกจากเมืองไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
            ครั้นรุ่งเช้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้งได้ทอดพระเนตรเห็นยสกุลบุตรเดินมาแต่ไกล จึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้
 ขณะนั้นยสกุลบุตรได้เปล่งอุทานขึ้นว่า “ท่านผู้เจริญ ที่นี่ วุ่นวายหนอ ท่านผู้เจริญ ที่นี่ขัดข้องหนอ” พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับยสกุลบุตรว่า “ยสะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง
มาเถิดยสะ จงนั่งลงเราจักแสดงธรรมแก่เธอ” พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนปพพิกถา คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา กามาทินวกถา และเนกขัมมา นิสังสกถาไปตามลำดับ
ทำให้ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมและขอบรรพชาอุปสมบท ครั้นรุ่งเช้า เศรษฐีคหบดีผู้บิดาได้ส่งคนไปตามหายสะทั้ง4 ทิศ และตนเองไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวันได้พบรองเท้าทอง
วางอยู่ จึงเดินไปยังที่นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็น คหบดีเดินมาแต่ไกลจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ไม่ให้เศรษฐีคหบดีเห็นยสกุลบุตร เชิญท่านนั่งลงก่อนเกิด
บางที่ท่านสั่งที่นี่แล้วจะพึงพบยสกุลบุตรนั่งอยู่ที่นี่ก็ได้ เศรษฐีคหบดีจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสอนุปุพพิกถาเช่นเดียวกัน
เศรษฐีคหบดีได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุธรรมและได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนักพระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้ง
โดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ ผู้หลงทางหรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนตาดีจักเห็นรูป พระองผู้เจริญข้าพระองค์นี้
ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต” เศรษฐีคหบดีนี้จึงนับเป็นเตวาจิกอบาสก (ผู้กล่าวถึงรัตนะทั้ง 3 ว่าเป็นสรณะ)
เป็นคนแรกในโลก ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังนิเวศน์ของเศรษฐีคหบดี มารดาและ ภรรยาเก่าของท่านยสะ พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอนุปุพพิกถาเช่นเดียวกัน มาดาและภรรยาเก่าของท่านพระยสะได้ดวงตาเห็นธรรม
บรรลุธรรมและได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า เช่นเดียวกับเศรษฐีคหบดี และกล่าวว่า “หม่อมฉันทั้งสองนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้ง พระธรรมและพระสงฆ์
 เป็นสรณะของพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำหม่อมฉันทั้งสองว่าเป็นอุบาสิกา ผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
            จากข้อความที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนี้เป็นการยืนยันว่า อุบาสกผู้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นคนแรกของโลก คือ เศรษฐีคหบดี ผู้เป็นบิดาของพระยสะ
ส่วนอุบาสิกาผู้ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นคู่แรกของโลก คือ มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ

2) การเตรียมการ

1. ผู้จัดกำหนดวัน เวลา สถานที่ให้แน่นอน จะเป็นช่วงเช้าหรือบ่ายก็ได้ ถ้าจัดภาคเช้า ควรจัดใกล้เวลาเพล พอเสร็จพิธีจะได้ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์

  2. จัดหาคณะกรรมการร่วมมือเพื่อดำเนินการประมาณ 5-6 คน เช่น ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายถวายภัตตาหาร จัดเครื่องสักการะ เครื่องไทยทาน เครื่องไทยธรรม และฝ่ายควบคุมเสียง

3. จัดเครื่องสักการะ (กระทงดอกไม้ ธูปแพ เทียนแพ) ใส่พานเตรียมไว้ถวาย สักการะพระเถระที่มาในพิธี

4. นิมนต์พระ 7 หรือ 9 รูป ตามศรัทธา

5. สถานที่ควรจัดในหอประชุม ไม่ควรจัดกลางสนามและเตรียมจัดที่บูชาพระสงฆ์เท่าจำนวนพระที่นิมนต์มา

3) พิธีปฏิบัติ

1. ก่อนเวลากําหนด 15 นาที ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั่งประจำที่ เมื่อพระเถระและคณะสงฆ์มาถึงเรียบร้อยแล้ว ให้ตัวแทนผู้ที่จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะจุดธูปเทียนบูชาพระ
กราบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วนำสวดมนต์ ดังนี้

            อิมินา สกฺกาเรน พุทธํ ปูเชมิ ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)

            อิมินา สกฺกาเรน ธมฺมํ ปูเชมิ ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)

            อิมินา สกฺกาเรน สงฆํ ปูเชมิ ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้ (กราบ)

2. เสร็จแล้วตัวแทนผู้แสดงตนคลานเข้าถวายเครื่องสักการะ ดอกไม้ ธูปแพ เทียนแก่พระเถระ แล้วกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง (ขณะที่ตัวแทนคลานออกไป
 คนอื่นๆเปลี่ยนท่านั่งเป็นท่าพรหมหรือท่าเทพธิดาตามเพศและกราบ 3 ครั้ง พร้อมตัวแทน)

3. จากนั้นทุกคนกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า 3 ครั้ง ดังนี้

            นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส (ซ้ำ 3 ครั้ง)

            ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น (ซ้ำ 3 ครั้ง)

4. จากนั้นกล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ดังนี้

            (ผู้ชาย) เอเต มยํ (ผู้หญิง) เอตา มยํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปี ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉาม ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ พุทฺธมามกาติ โน สงฺโฆ ธาเรตุ

            คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานไปนานแล้ว ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะที่ระลึกนับถือ
ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าทั้งหลายไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน คือ ผู้นับถือพระพุทธเจ้า (กราบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ)

5.พระเถระให้โอวาท ขณะให้โอวาททุกคนพนมมือ จบแล้วยกมือขึ้นจบที่กลางหน้าผากพร้อมกล่าวว่า สาธุ และเปลี่ยนท่านั่งเป็นท่าพรหมและเทพธิดา และอาราธนาศีลดังๆ
พร้อมกัน ดังนี้

            มยํ ภนฺเต วิสุํ  วิสุํ รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม

            ทฺติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุํ วิสุํ รกฺขณตฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม

            ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุํ วิสุํ รกฺขณตฺถาย ติสมเณน สห ปญฺจ สีลานิ ยาจาม

            เมื่อพระให้ศีล และรับศีลจบแล้ว กราบ 3 ครั้ง

6. ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์

7. เมื่อพระสวด. ยถา วาริวหา...ตัวแทนกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

8. เมื่อพระสวด...สพฺพีตีโย.. รินน้ำลงภาชนะให้หมด แล้วพนมมือรับพรจากพระจบแล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง