หน่วยความจุของข้อมูล มีอะไรบ้าง

หน่วยความจุของข้อมูล มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันเราคงคุ้นกับคำว่า bit byte, Kb, Mb, Gb หรือ Tb กันอยู่บ้าง ซึ่งคำเหล่านี้ก็คือ หน่วยนับข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างว่าหน่วยวัดขนาดของข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแต่ละหน่วยนับนั้นมีความจุและการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์คือ บิต (bit) และหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบข้อมูลคือ ไบต์ (Byte)

การวัดขนาดหน่วยความจำ นิยมใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร 1 ตัว โดยที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้หน่วยความจำที่ใหญ่มาก เพื่อให้สะดวกจึงต้องคิดหน่วยที่ใหญ่ขึ้นไปอีกมาเรียก นั่นคือ หน่วยกิโลไบต์ (KB) เท่ากับ 1024 ไบต์ และเมกะไบต์ (MB) ซึ่งเท่ากับค่าประมาณ หนึ่งล้านไบต์ ดังนี้

1 Byte (ไบต์) = 1 ตัวอักษร

1 KB (กิโลไบต์) = 1024 ตัวอักษร

1 MB (เมกะไบต์) = 1024 KB

1 GB (กิกะไบต์) = 1024 MB

สำหรับเหตุผลที่ 1 KB มีค่าเท่ากับ 1024 ไบต์ก็เนื่องจากระบบจำนวนที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เป็นระบบเลขฐานสอง ทำให้การคำนวณค่าใช้เลข 2 เป็นฐาน แล้วยกกำลัง 10 เท่ากับ 210 เท่ากับ 1024 และเนื่องจาก 1024 มีค่าใกล้เคียงกับ 1000 จึงเป็นที่ยอมรับกันให้เรียกว่า กิโล “Kilo” เช่นกัน

ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก ส่งผลให้ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์มีจำนวนมาก หน่วยกิกะไบต์แทบจะไม่เพียงพอ จึงได้มีเพิ่มความจุ ดังนี้

Data Measurement

Bit = Single Binary Digit (1 or 0)

Byte = 8 bits

Kilobyte (KB) = 1,024 Bytes

Megabyte (MB) = 1,024 Kilobytes

Gigabyte (GB) = 1,024 Megabytes

Terabyte (TB) = 1,024 Gigabytes

Petabyte (PB) = 1,024 Terabytes

Exabyte (EB) = 1,024 Petabytes

ดังนั้น หน่วยที่เล็กที่สุดของระบบคอมพิวเตอร์คือ บิต(bit) และหน่วยที่เล็กที่สุดของระบบข้อมูลคือ ไบต์(Byte) ในปัจจุบันอุปกรณ์บันทึกข้อมูลและหน่วยความจำต่าง ๆ จะใช้หน่วยความจุเป็น KB, MB, GB , และTB เท่านั้น สำหรับหน่วย PB, EB, ZB, และYB ยังไม่มีอุปกรณ์หรือหน่วยความจำใดสามารถทำความจุได้มากขนาดนั้นจึงยังไม่มีการใช้ในปัจจุบัน

เรื่องของ IT ยกให้เป็นหน้าที่ของ ProOne IT ดูแล

ติดต่อสอบถามข้อมูลบริการได้ที่

Tel. 02 619 2161 กด 1 (ฝ่ายขาย)

Email :

Line@ : Proonesales หรือคลิกลิงก์

Website : https://www.poit.co.th/

ขอบคุณข้อมูลจาก

อพวช

เรื่องง่ายๆได้ใช้แน่ มารู้จักหน่วยนับข้อมูลทางคอมพิวเตอร์หรือหน่วยวัดความจำทางคอมพิวเตอร์กัน

    เวลาที่เพื่อนๆใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่ เพื่อนๆคงเคยคุ้นตากับคำว่า bit, byte, Kb, Mb หรือ Gb กันมาบ้างใช่รึปล่าว ใน ความจุของแฟรชไดร์ฟ ฮาร์ดดิส หรือขนาดของโปรแกรม เป็นต้น ซึ่งใช่แล้วล่ะครับคำเหล่านี้ก็คือ หน่วยนับข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างก็คือ หน่วยวัดความจำทางคอมพิวเตอร์ หรือภาษาชาวบ้านอย่างเราๆเรียกว่า สิ่งที่เอาไว้เรียกขนาดของข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเองครับ โดยแต่ละหน่วยนับนั้นจะมีความจุที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวันนี้ itnews4u จะมาแนะนำให้เพื่อนๆได้รู้จักกับหน่วยนับข้อมูลในคอมพิวเตอร์ที่พบเจอบ่อยๆ โดยจะเริ่มจากหน่วยนับที่เล็กที่สุดไปถึงหน่วยนับขนาดใหญ่ ดังต่อไปนี้เลยครับ

หน่วยความจุของข้อมูล มีอะไรบ้าง

ประเภทหน่วยนับข้อมูลในคอมพิวเตอร์

1. บิต (bit) คำศัพท์ตัวแรกที่จะแนะนำให้รู้จักก็คือคำว่า บิต โดยบิตเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในหน่วยนับข้อมูลที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้หลักการง่าย ๆ ด้วยเลขดิจิตอลเพียง 2 หลัก คือเลข 0 และ 1 นั่นเองครับ 

2. ไบต์ (Byte) 1 ไบต์ จะประกอบด้วยจำนวนบิต 8 บิต

3. กิโลไบต์ (Kilobyte) ตัวย่อคือ KB โดยขนาด 1 กิโลไบต์ เท่ากับ 1024 ไบต์
ส่วนมากไฟล์ที่เรามักจะเห็นหน่วยนับข้อมูลในระดับนี้คือไฟล์ประเภท ไฟล์เอกสารตัวหนังสือต่างๆ เช่น Microsoft Word หรือ Notepad เป็นต้นครับ

4. เมกกะไบต์ (Megabyte) ตัวย่อคือ MB โดยขนาด 1 เมกกะไบต์ เท่ากับ 1024 กิโลไบต์ 
ส่วนมากไฟล์ที่เรามักจะเห็นหน่วยนับข้อมูลในระดับนี้คือไฟล์ประเภททั่วๆไปที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เช่น รูปภาพความละเอียดสูง ไปจนถึงโปรแกรมขนาดเล็กต่างๆ นั่นเอง

5. กิกะไบต์ (Gigabyte) ตัวย่อคือ GB โดยขนาด 1 กิกะไบต์ เท่ากับ 1024 เมกกะไบต์ 
ส่วนมากไฟล์ที่เรามักจะเห็นหน่วยนับข้อมูลในระดับนี้คือไฟล์ประเภท ไฟล์ภาพยนต์ความละเอียดระดับ HD 720P, Full HD 1080P หรือไฟล์เกมส์ออฟไลน์หรือออนไลน์ 3D รุ่นใหม่ๆ ที่ตัวเกมส์มีความละเอียดสูงนั่นเองครับ

6. เทราไบต์ (Terabyte) ตัวย่อคือ TB โดยขนาด 1 เทราไบต์ เท่ากับ 1024 กิกะไบต์
หน่วยความจำประเภทนี้นั้นมักจะพบในอุปกรณ์ฮาร์ดดิสรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ฮาร์ดดิสเครื่อง PC หรือ Notebook ก็ตาม หรือที่พบทั่วไปก็คือความจุของพวก External Harddisk นั่นเองครับ

    เพียงเท่านี้เพื่อนๆก็สามารถนำความรู้ที่ได้ไปบอกขนาดของไฟล์ต่างๆในคอมพิวเตอร์ หรือขนาดความจุของฮาร์ดแวร์เช่น ฮาร์ดดิส, SSD, แฟรชไดร์ฟ ได้อย่างถูกต้องเสมือนกับเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ได้แล้วล่ะครับ