นักเทคนิคการแพทย์ ภาษาอังกฤษ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557

สารบัญ

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย     :   หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ  :   Bachelor of Science Program in Medical Technology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย  :  วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
ชื่อย่อภาษาไทย   :  วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ  :  Bachelor of Science (Medical Technology)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ   :  B.Sc. (Medical Technology)

ผลการเรียนรู้ที่คาดว่าผู้เรียนจะได้รับจากหลักสูตร

เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรบัณฑิตจะเป็นผู้ที่

  1. มีความรู้และทักษะในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์วิชาวิทยาศาสตร์รวมทั้งศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานชีวิตและพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่าข้อกำหนดมาตรฐานวิชาชีพสามารถค้นคว้าและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีความเปลี่ยนแปลงของสังคมเพื่อนำมาใช้กับการทำงานในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์การวิจัยหรือการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
  2. มีคุณธรรมจริยธรรมปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองผู้ใช้บริการเพื่อนร่วมงานและมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยยึดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ
  3. มีทักษะทางปัญญาในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์มีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาพัฒนาตนและพัฒนางานให้กับองค์กรชุมชนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมีภาวะผู้นำสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพสามารถทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพและชุมชน
  5. มีทักษะความสามารถด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการวิจัยการจัดการเพื่อสนับสนุนและพัฒนาการปฏิบัติงานในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตลอดจนให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. มีทักษะความสามารถด้านการประมวลความรู้ภาคทฤษฎีบูรณาการสู่การปฏิบัติในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

รูปแบบของหลักสูตร

รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชาเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ.หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต
⠀⠀1.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 21 หน่วยกิต 21 หน่วยกิต
⠀⠀1.2 หมวดวิชาศึกษาทั่วไปเลือก 9 หน่วยกิต 9 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต 109 หน่วยกิต
⠀⠀2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 42 หน่วยกิต
⠀⠀⠀⠀⠀2.1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 23 หน่วยกิต
⠀⠀⠀⠀⠀2.1.2 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพเฉพาะด้าน 19 หน่วยกิต
⠀⠀2.2 กลุ่มวิชาเอก 67 หน่วยกิต
⠀⠀⠀⠀⠀2.2.1 วิชาเอกบังคับ 65 หน่วยกิต
⠀⠀⠀⠀⠀2.2.2 วิชาเอกเลือก 2 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต
รวม (หน่วยกิต) ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต 145 หน่วยกิต

การรับเข้าศึกษา

  • รับนิสิตไทย หรือต่างชาติ ที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
  • เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในแผนการเรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นโรคตาบอดสี ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา

ให้ปริญญา วท.บ. (เทคนิคการแพทย์) เพียงสาขาวิชาเดียว

แผนการรับนิสิตต่อปีการศึกษา

การจัดการศึกษา

เป็นระบบทวิภาค และมีการศึกษาในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3

กระบวนการเรียนการสอน

ใช้กลยุทธ์การสอนที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาผลการเรียนรู้ ตามที่หลักสูตรคาดหวังไว้อย่างครบถ้วนทุกด้าน อาทิเช่น

  • ด้านคุณธรรมจริยธรรม: สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมและจรรณยาบรรณวิชาชีพในการสอนทุกรายวิชาที่เกี่ยวข้อง เน้นเรื่องสิทธิผู้ป่วยและศักดิ์ศรีคุณค่าของความเป็นมนุษย์
  • ด้านความรู้: ออกแบบการสอนที่ช่วยให้นิสิตได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองทั้งที่เป็นหลักการทางทฤษฎีและแนวทางประยุกต์เพื่อการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ได้แก่ เรียนรู้โดยออกให้บริการแก่ชุมชนเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาสอน
  • ทักษะทางปัญญา: จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ออกแบบการสอนที่ช่วยให้นิสิตเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งความรู้ที่เป็นหลักการทางทฤษฎีและแนวทางประยุกต์เพื่อการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
  • ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ: จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการทำงานเป็นทีมเพื่อส่งเสริมการแสดงบทบาทของการเป็นผู้นำและผู้ตาม รวมถึงกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามสาขา
  • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ: จัดกิจกรรมที่เน้นให้นิสิตได้ฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งการพูด การฟัง และการเขียน ในกลุ่มผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และบุคคลที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ที่หลากหลาย
  • สุนทรียภาพ: ให้นิสิตบริการตรวจสุภาพทางเทคนิคการแพทย์ในสถานการณ์จริงกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือประชาชนในชุมชน
  • สุขภาพและบุคลิกภาพ: ให้นิสิตได้ฝึกทักษะวิชาชีพในชั่วโมงปฏิบัติการด้วยการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจที่เป็นของตนเองเพื่อเรียนรู้สุขภาวะของตน และเกิดความระวังสังวรในการรักษาสุขภาพ รวมถึงตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันตนเองแบบทั่วไป (universal precaution)
  • ทักษะการปฏิบัติการทางวิชาชีพ: จัดให้มีการฝึกปฏิบัติสถานการณ์จำลองในห้องปฏิบัติการ และการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ณ สถานบริการที่เป็นแหล่งฝึกงาน

วิธีการประเมินผล

ใช้วิธีการประเมินหลากหลายวิธี เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและเนื้อหาของหลักสูตร อาทิ

  • ด้านคุณธรรมจริยธรรม: ประเมินจากพฤติกรรมการเสียสละ และรู้จักการให้ ในกิจกรรมบริการวิชาการต่างๆ ที่แทรกเสริมในรายวิชา
  • ด้านความรู้: ประเมินจากการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ และประเมินการนำเสนองานในชั้นเรียน
  • ทักษะทางปัญญา: ประเมินจากการนำเสนอรายงานและการตอบข้อซักถามในชั้นเรียน รวมถึงการออกข้อสอบแบบกรณีศึกษาที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา
  • ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ: ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนิสิตในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ
  • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ: ประเมินผลงานตามกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้แบบประเมินทักษะการนำเสนอ การฟัง และการเขียน
  • สุนทรียภาพ: ประเมินจากคะแนนฝึกปฏิบัติของนิสิตโดยอาจารย์ผู้คุมฝึกงาน ณ โรงพยาบาลที่นิสิตไปฝึกงานหรือคะแนนความพึงพอใจของประชาชนผู้มารับบริการในชุมชน
  • สุขภาพและบุคลิกภาพ: ประเมินจากการสังเกตของอาจารย์ผู้สอน ทั้งเวลาเรียนและเวลาฝึกปฏิบัติหรือเวลาออกให้บริการในชุมชน
  • ทักษะการปฏิบัติการทางวิชาชีพ: ประเมินทักษะที่บูรณาการทั้งความรู้ เจตนคติ และการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลในองค์กรและผู้รับบริการ โดยการสอบปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง ณ ห้องปฏิบัติการ และสถานการณ์จริง ณ แหล่งฝึกงาน

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

  • ต้องมีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.00

อาชีพที่สามารถปฏิบัติได้หลังสำเร็จการศึกษา และสอบได้ใบประกอบวิชาชีพจากสภาเทคนิคการแพทย์

  1. นักเทคนิคการแพทย์ ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือเปิดคลินิกเทคนิคการแพทย์
  2. นักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิจัย หรือผู้ช่วยนักวิจัยในสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัย
  3. ตัวแทนบริษัทจำหน่ายเครื่องมือ อุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
  4. นักวิชาการด้านการประเมินสภาวะสุขภาพในบริษัทประกันชีวิต
  5. ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ ได้หลากหลายสาขาวิชา อาทิ เทคนิคการแพทย์ ชีวเวชศาสตร์ ชีวเคมี พยาธิวิทยาคลินิก พิษวิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ นิติวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ

การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557)

โดยสภามหาวิทยาลัย

อนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 3/2557 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2557

โดย สกอ.

เห็นชอบหลักสูตร วันที่ 17 มีนาคม 2558

โดยสภาเทคนิคการแพทย์

รับรองหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557

ปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุด