เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

วิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาผสมกับน้ำ(ชนิดเชื้อสด)

การเตรียมเชื้อราไตรโคเดอร์มาใช้ผสมกับน้ำ การผสมเชื้อรากับน้ำควรผสมในอัตราส่วน 100 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 250 กรัม(้เชื้อสด1ถุง) ต่อน้ำ 50 ลิตร 

ขั้นตอนการใช้เชื้อผสมน้ำ 

1.น้ำเชื้อสด 1 ถุง (250กรัม) เติมน้ำลงไปในถุงปริมาณ 300 ซีซี หรือพอท่วมเชื้อแล้วขยำเนื้อข้าว ให้แตกออกจนเชื้อกระจายตัวไปทั่วถุง(มีสีเขียวเข้มทั่วถุง)

2.กรองน้ำเชื้อด้วยผ้าหรือกระชอยตาถี่ ล้างเชื้อที่เหลือบนกระชอนด้วยน้ำอีกจำนวนหนึ่งก่อนนำไปใช้ให้ผสมน้ำเพิ่มเติมให้ครบ 50 ลิตร 

การฉีดเชื้อราไตรโคเดอร์มา

1.การฉีดพ่นลงในกระบะเพาะกล้า หรือถุงปลูก ในขณะที่ลงเมล็ดพันธุ์ หรือในระหว่างที่ต้นกล้ากำลังเจริญเติบโต ฉีดลงบนวัสดุปลูกให้ชุ่ม หรือเปียกชื้นเสมอ

2.ฉีดพ่นเชื้อสดลงบนโคนต้นพืชและวิสดุปลูกบริเวณรอบโคนต้นพืชให้ชุ่ม

3.การฉีดลงบนแปลงปลูกต้นพืชควรใช้ปริมาณ น้ำเชื้อสดในอัตรา 10-20ลิตรต่อ 100 ตารางเมตร และให้น้ำแก่พืชโดยทันที 

ข้อควรระวัง
-การใช้ไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสด ไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสดมีข้อจำกัดในเรื่องของความทนทานต่อสภาพแวดล้อมเพราะว่าเชื้อราชนิดเชื้อสดนั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมจะเจริญเติบโตได้ตลอดเวลา เมื่อเชื้อราเติบโตจะเกิดเส้นใยสีขาวขึ้นมาในส่วนของเส้นใยสีขาวนี้ จะอ่อนแอต่อสภาพแวดล้อม และจะสูญเสียคุณสมบัติและประสิทธิภาพได้ง่ายกว่าเชื้อราในรูปของสปอร์สีเขียว เชื้อราชนิดสดควรจะนำไปใช้ในทันทีเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

-ถ้าดินบริเวณที่เพาะต้นกล้าแห้งเกินไปก่อนฉีดพ่นเชื้อไตรโคเดอร์มาควรให้น้ำกับดืนให้มีความชื้นมากพอที่เชื้อไตรโคเดอร์มาจะซึมลงไปในดินได้ 

หลังจากที่ทราบวิธีการเตรียมเชื้อไตรโคฯ กันแล้วหากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูกเมล่อน หรือ สายพันธุ์คิโมจิ สอบถามได้ครับผม คลิ๊กได้เลยครับ

 สั่งซื้อเมล่อนคิโมจิและสินค้าอื่นๆ คลิ๊กที่นี่ครับ

ติดตามเกี่ยวกับไตรโคเดอร์มาตอนที่ 1-3 คลิ๊กเลยครับ

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

เมื่อกล่าวถึง “จุลินทรีย์กำจัดโรคพืช” เชื้อราไตรโคเดอร์มา ดูเหมือนจะเป็นเชื้อราที่เกษตรกรส่วนใหญ่คิดถึงเป็นลำดับต้นๆ ว่าแต่ เชื้อราชนิดนี้คืออะไร ช่วยกำจัดศัตรูพืชได้อย่างไร ทำไมเกษตรกรถึงหันมาพึ่งพาเชื้อราไตรโคเดอร์มากันมากขึ้น ลองไปดูคำตอบจากในบทความพร้อมๆ กันเลย

ไตรโคเดอร์มาคืออะไร ? 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Trichoderma harzianum
ชื่อสามัญ : Trichoderma
วงศ์ (Family) : Moniliaceae
อันดับ (Order) : Hypocreales

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

ไตรโคเดอร์มา คือ ปรสิตสำหรับเชื้อราชนิดอื่นๆ โดยเชื้อราไตรโครเดอร์มาจะดำรงชีวิตอยู่ในดิน อาศัยเศษซากพืช และซากสัตว์ และแหล่งอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร สามารถพบได้โดยทั่วไป เจริญได้รวดเร็วบนอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มา จะสร้างเส้นใยสีขาวและผลิตโคนิเดีย (Conidia) หรือสปอร์ รวมเป็นกลุ่มเห็นเป็นสีขาว เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ปฏิปักษ์ต่อเชื้อราอื่นที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายชนิด

ประโยชน์ของเชื้อไตรโคเดอร์มา

เชื้อไตรโคเดอร์มามีประโยชน์สำหรับเกษตรกรทั้งในด้านการบำรุงพืช และช่วยป้องกันโรคได้ดี ดังนี้

  1. สามารถลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุของโรคพืช โดยสามารถพันรัดเส้นใยแล้วปลดปล่อยเอนไซม์ จากภายในของเส้นใย ส่งผลให้เกิดการเจริญของเส้นใยของเชื้อโรคลดลงอย่างมาก
  2. สามารถลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเข้าไปทำลายส่วนที่เป็นกิจกรรมการเจริญ และการพัฒนาของเส้นใย เพื่อเข้าทำลายพืชอาศัยตลอดจนกิจกรรมเพื่อสืบพันธุ์หรือส่วนโครงสร้างเพื่อ ขยายพันธุ์ของเชื้อโรค ทำให้ส่งผลปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืชลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงกับพืชที่ปลูกได้
  3. สามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของพืชให้เร็วขึ้น ทำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อโรค
  4. เชื้อราไตรโคเดอร์มา ช่วยเร่งกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เร็วขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินให้แก่พืชได้อีกด้วย
  5. ช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกให้เมล็ดพันธุ์ และเป็นการป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับเมล็ดพันธุ์ที่นำมาเพาะ
  6. จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ด จะทำให้ต้นกล้าที่เพาะได้มีความต้านทานต่อโรคได้ดี และมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา

โรคพืชที่สามารถป้องกันกำจัดได้ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา

เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถใช้ควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุของโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  โรคโคนเน่า โรคเน่าระดับดิน (เน่าคอดิน) ของกล้าพืช และโรคเหี่ยว 

และยังช่วยควบคุมโรคอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

  • โรคผลเน่าของทุเรียน พริกไทย พืชตระกูลส้ม มะละกอ สับปะรด ยางพาราที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า ( Phytophthora)
  • โรคกล้าเน่ายุบตายในพืชตระกูลแตง มะเขือเทศ มะละกอ ถั่ว พริก ผักชนิดต่างๆ และไม้ดอกไม้ประดับ เกิดจากเชื้อราพิธเทียม (Pythium spp.) ไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) และสเคลอโรเทียม (Sclerotium spp.) 
  • โรคใบจุด โรคใบไหม้ เกิดจากเชื้อรา Phomopsis sp.
  • โรคใบขีดสีน้ำตาล เกิดจากเชื้อรา Cercospora oryzae I. Miyake
  • โรคเมล็ดด่าง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อรา Curvularia lunata, Cercospora oryzae, Bipolaris oryzae ,Fusarium semitectum, Trichoconis padwickii, Sarocladium oryzae
  • โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp.

กลไกในการควบคุมเชื้อราโรคพืชของเชื้อราไตรโคเดอร์มา

  1. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เจริญแข่งขัน แก่งแย่งอาหาร น้ำ แร่ธาตุ อากาศ และแหล่งที่อยู่กับเชื้อราสาเหตุโรคพืช จึงทำให้เชื้อโรคลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว
  2. เชื้อราไตรโคเดอร์มา เป็นปรสิต สร้างเส้นใยพันรัดและแทงดูดกินน้ำเลี้ยง จากเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยสลายลดการขยายเผ่าพันธุ์ลง
  3. เชื้อราไตรโคเดอร์มา สร้างสารพิษน้ำย่อ ไปทำลายเชื้อราโรคพืช ทำให้เส้นใยและส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราโรคพืช เหี่ยวสลายและตายในที่สุด

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา

ถึงแม้ว่า เชื้อไตรโคเดอร์มาจะมีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้งานเช่นกัน โดยเกษตรกรควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. การใช้งานเชื้อราไตรโครเดอร์มา ให้ได้ผล ควรใช้อย่างน้อยทุกๆ 7-10 วัน สำหรับในพื้นที่ปลูกพืชเป็นประจำหรือพืชยืนต้น ควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ปีละ 2 ครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณ เชื้อราไตรโคเดอร์มาในดิน ให้มีอยู่ตลอดไป
  2. กรณีฉีดพ่นควรเลือกฉีดพ่นเชื้อราในช่วงเวลาเย็นถึงค่ำ หรือช่วงที่แสงแดดไม่แรงเกินไป และแนะนำให้ใช้สารจับใบร่วมกับการฉีดพ่นเชื้อราจะทำให้การใช้ เชื้อราไตรโครเดอร์มา มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. ควรงดใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อราในช่วงที่มีการใช้งานเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาอยู่
  4. เชื้อราไตรโครเดอร์มา เป็นเชื้อราที่กินเชื้อราอื่นๆ เป็นอาหาร ดังนั้นควรงดใช้ เชื้อรา ไตรโครเดอร์มา นี้กับแปลงเพาะเห็ด (เนื่องจากเห็ดเป็นพืชอยู่ในกลุ่มราเช่นกัน)

สรุป

เชื้อราไตรโครเดอร์มา เป็นเชื้อราที่ไม่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะคน และสัตว์จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชปลอดสารพิษ จึงควรใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา เพื่อการป้องกันการเกิดโรคจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะใช้ทดแทนสารเคมีได้ดี อีกทั้งใช้ได้ผลกับพืชหลากหลายชนิดและมีประสิทธิภาพกับพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชสวน พืชไร่ ไปจนถึงไม้ดอกเลยทีเดียว

3,680

  • กำจัดโรคพืชจากเชื้อรา, เชื้อราไตรโคเดอร์มา, ไตรโคเดอร์มา

Add LINE friend
เพื่อปรึกษาโรคพืชฟรี!

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

บทความยอดนิยม

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • ศัตรูพืชและโรคพืช, เกษตรอินทรีย์

  • กุมภาพันธ์ 3, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • เกษตรอินทรีย์, เทคนิคเกษตร

  • กุมภาพันธ์ 3, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • เกษตรอินทรีย์, เทคนิคเกษตร

  • กุมภาพันธ์ 3, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • เกษตรอินทรีย์, เทคนิคเกษตร

  • มกราคม 7, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • เกษตรอินทรีย์, เทคนิคเกษตร

  • มกราคม 7, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • เกษตรอินทรีย์, เทคนิคเกษตร

  • กันยายน 24, 2021

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • ศัตรูพืชและโรคพืช, เกษตรอินทรีย์

  • กุมภาพันธ์ 3, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • เกษตรอินทรีย์, เทคนิคเกษตร

  • กุมภาพันธ์ 3, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • เกษตรอินทรีย์, เทคนิคเกษตร

  • กุมภาพันธ์ 3, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • Recommended, ปลูกสวนในเมือง, ศัตรูพืชและโรคพืช

  • มกราคม 21, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • ศัตรูพืชและโรคพืช

  • มกราคม 7, 2022

เชื้อรา ไตร โค เด อ ร์ มา วิธี ใช้

  • Recommended, เทคนิคเกษตร

  • มกราคม 7, 2022