ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด ม.6 สรุป

เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
แบ่งเป็น ๓ คือ บทบาทของภาษาไทยในการพัฒนาความคิด วิธีคิดและการคิดเพื่อแก้ปัญหา
ภาษาพัฒนาความคิดและความคิดพัฒนาภาษาได้อย่างไร
ความคิด คือ ผลของกระบวนการคิด หรือ ผลของความคิด
มนุษย์แสดงความคิดออกมาได้โดยการกระทำและโดยการใช้ภาษา การกระทำบางอย่างคนอื่นอาจไม่เข้าใจว่าผู้กระทำคิดอย่างไร ผู้กระทำจึงต้องอธิบายให้เข้าใจด้วย
การใช้ภาษาเพื่อแสดงความคิดเห็นของเรานอกจากจะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจแล้วยังมีโอกาสได้ขัดเกลาความคิดของตนให้พัฒนายิ่งๆขึ้น
ในขณะที่คิดนั้นยังใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดโดยอัตโนมัติ หากความคิดอยู่ในวงจำกัด การใช้ภาษาก็ถูกจำกัดไปด้วย ถ้ามีความสามารถในการคิดสูงการใช้ภาษาก็สูงไปด้วย
การคิดวิเคราะห์มีลักษณะอย่างไร
คือระเบียบวิธีคิดพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยแยกแยะเป็นส่วนๆทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งและเข้าใจถึงความสัมพันธ์กันอย่างไร มีแนวทางดังนี้
๑ จะคิดวิเคราะห์เรื่องอะไร ๒ เพื่ออะไร ๓ ใช้เครื่องมืออะไร ๔ วิเคราะห์อย่างไร
๕ แล้วรายงานผลการวิเคราะห์ให้เป็นระเบียบ
จุดหมายปลายทางของการวิเคราะห์คือเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
วิธีคิดสังเคราะห์มีลักษณะอย่างไร
การวิเคราะห์ คือ แยกออกพิจารณา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
การสังเคราะห์ คือ เป็นการรวมส่วนต่างๆ ให้ประกอบกันเข้าด้วยกรรมวิธีที่เหมาะสม จนเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นสำหรับจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การคิดสังเคราะห์ คือ ระเบียบวิธีคิดรวมส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ได้สิ่งที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป มีแนวทางดังนี้
๑ เราจะสร้างอะไร
๒ เพื่อประโยชน์อะไรหรือเพื่ออะไร
๓ ใช้เครื่องมืออะไรในการรวมส่วน จึงจะเหมาะสม
๔ ผลของการสังเคราะห์ตรงกับจุดมุ่งหมายหรือไม่
วิธีคิดประเมินค่ามีลักษณะอย่างไร
คือการคิดโดยใช้ดุลยพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่า ดี เลว มีคุณ โทษ แค่ไหน เพียงไร ซึ่งจะต้องเข้าใจจากการวิเคราะห์ แล้วเลือกใช้เกณฑ์ที่เหมาะสม ชัดเจน เพื่อประเมินค่าได้แม่นยำ หากไม่ใช้เกณฑ์ อาจเปรียบเทียบกับหลักฐานอื่นที่มีความสมเหตุผลมาเปรียบเทียบได้
วิธีคิดแก้ปัญหามีลักษณะอย่างไร
เรามักจะประสบปัญหาอยู่เสมอดังนั้นจึงควรเรียนรู้หลักการคิดแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาอยู่ ๓ ประเภทคือ
๑ ปัญหาเฉพาะบุคคล ได้แก่ ปัญหาเกิดกับบุคคลใดคนหนึ่ง
๒ ปัญหาเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ ปัญหากลุ่มที่ประสบความยุ่งยากร่วมกัน
๓ ปัญหาสาธารณะ ได้แก่ ปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ และสังคมโดยตรงและโดยอ้อม
หลักการคิดเพื่อแก้ปัญหามีดังนี้
๑ วิเคราะห์ประเภทปัญหา สาเหตุ สภาพแวดล้อมของปัญหาเพื่อให้เข้าใจ
๒ วางเป้าหมายในการแก้ปัญหา
๓ คิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยใช้ระเบียบวิธีคิดเชิงสังเคราะห์
๔ ประเมินคุณค่าวิธีทางแก้ปัญหา แล้วเลือกวิธีที่ดีที่สุดไปใช้
แบบฝึกหัดท้ายบท
๑ ความคิดหมายถึงอะไร
๒ การพัฒนาความคิดมีความสัมพันธ์กับเรื่องใด
๓ “ระเบียบวิธีคิดโดยแยกพิจารณาเป็นส่วนๆ เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งและพิจารณาถึงสายสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน”เป็นความหมายของการคิดแบบใด
๔ “ระเบียบวิธีคิดโดยใช้ดุลยพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง”เป็นความหมายของการคิดแบบใด
๕ การคิดแก้ปัญหามีหลักสำคัญอย่างไร
๖ “ปัญหาคนขาพิการมาตั้งแต่กำเนิด”เป็นปัญหาแบบใด
๗ “ปัญหาบัณฑิตจบใหม่ตกงาน”เป็นปัญหาแบบใด
๘ คำว่า“แพงทั้งแผ่นดิน”เป็นปัญหาแบบใด
๙ “ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง”เมื่อฐิติมาได้ฟังกลอนบทนี้จากโทรทัศน์แล้วคิดว่า “กลอนบทนี้ไพเราะดีนะ ช่วยเตือนใจให้คนไทยมีความสามัคคี ฟังแล้วรู้สึกรักชาติเกิดความห่วงใย อยากจะรักษาเอกราชของชาติไทยไว้ตลอดไป”การที่ฐิติมาพูดเช่นนี้ แสดงว่าฐิติมาใช้ทักษะการคิดระดับใดได้

Show

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

          คำว่า สัตว์ ดุร้าย ไว้ใจไม่ได้ มันจะเข้ามากัด หมาบ้า ระวัง เหล่านี้ล้วนเป็นภาษา เมื่อรวมเข้ากับประสบการณ์เดิมคือ รู้ว่ามันไว้ใจไม่ได้และจะกัด การตอบสนองก็เกิดขึ้นคือ ระวังหรือเตรียมสู้หรือวิ่งหนี  ขณะเดียวกันเมื่อเรานำข้อสรุปที่ได้จากการคิดถ่ายทอดออกมาเป็นภาษา การใช้ภาษาก็ต้องขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่แน่นอนว่า เราจะไปเล่าเรื่องนี้ให้ใครฟัง เขาเป็นใคร เขาจะเข้าใจเหมือนเราหรือไม่ เราจะใช้คำอย่างไรที่จะทำให้ผู้รับสารหรือผู้ฟังเข้าใจสารหรือเกิดมโนภาพแบบเดียวกับของเรา นั่นก็คือทุกขั้นตอนของการใช้ภาษามนุษย์ต้องใช้ความคิดควบคุมไปด้วยตลอด ความคิดกับภาษาจึงสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ผู้ที่มีความคิดดี  ความคิดเป็นระบบ การใช้ภาษาก็จะดีด้วย และผู้ที่ใช้ภาษาได้ดีก็จะเป็นผู้ที่มีระบบคิดดีหรือเรียกว่ามีปฏิภาณไหวพริบรวดเร็วเฉลียวฉลาด (รังสรรค์ จันต๊ะ. ๒๕๔๑ : ๑๕-๑๖)

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด
    ภาษากับมีอิทธิพลต่อความคิดหรือความคิดควบคุมการใช้ภาษายังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างไม่มีข้อยุติว่า
แท้จริงแล้วภาษาเป็นตัวกำหนดความคิดของมนุษย์หรือความคิดเป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
อย่างไรก็ตามนักภาษาต่างเห็นตรงกันว่า
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกจากกันมิได้
ในระหว่างที่มนุษย์คิดก็ต้องอาศัยภาษาและในขณะที่ใช้ภาษาก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่ไปด้วย
ภาษากับความคิดมีความสัมพันธ์กันดังนี้คือ

1. ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความคิด
มนุษย์ติดต่อกันโดยอาศัยภาษาซึ่งเป็นระบบสัญลักษณ์อาจเป็นการพูด การเขียน
การแสดงท่าทาง และอื่นๆ ถ้ามนุษย์ไม่มีภาษาแล้วก็คงติดต่อกันด้วยความลำบากเพราะ
“การที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ภาษาขึ้นใช้ทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบัน
ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบความคิดให้มนุษย์คิดเป็นภาษา
และใช้ภาษาเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความคิดให้เป็นระบบระเบียบ” เช่น
การบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ทำให้คนรุ่นใหม่รู้เรื่องราวของคนรุ่นเก่าได้

2. ภาษาเป็นสิ่งสะท้อนความคิดให้ปรากฏ
ไม่ว่ามนุษย์จะใช้ภาษาลักษณะใดก็ตามในขณะที่ใช้ภาษาถ่ายทอดความต้องการของตนนั้น
จะทำให้ผู้รับสารรับรู้ว่า ผู้ส่งสารคิดอะไรอย่างไร
“ภาษาย่อมเป็นเครื่องสะท้อนความคิดอ่านของคนเรา ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียนเราย่อม

ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อเพื่อบอกสิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นได้เข้าใจหรือได้รับทราบสิ่งที่ต้องการนี้”
แต่ใน

บางครั้งการใช้ภาษาของมนุษย์ก็อาจไม่ได้สะท้อนความคิดที่แท้จริงออกมาก็ได้
ทั้งนี้เพราะมนุษย์รู้จักปกปิดบิดเบือนความคิดที่แท้จริงของตนเอง

3. ภาษามีอิทธิพลต่อความคิดและความคิดก็มีอิทธิพลต่อภาษา
แม้ว่าภาษาจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่มนุษย์กำหนดขึ้นใช้
แต่ส่วนหนึ่งมนุษย์ก็เข้าใจว่าภาษาคือสิ่งที่แทนนั้น
ทำให้การใช้ภาษามีส่วนช่วยกำหนดความคิดของมนุษย์ได้ด้วย
ด้วยเหตุนี้ภาษาจึงมีอิทธิพลต่อความคิด เช่น
การตั้งชื่อของคนไทยจะต้องเลือกชื่อที่มีความหมายดีเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในทางตรงข้ามความคิดก็เป็นตัวกำหนดการใช้ภาษาของมนุษย์
เมื่อมนุษย์ต้องการถ่ายทอดความต้องการของตนให้ผู้อื่นรับรู้
ก็จะต้องเลือกเฟ้นถ้อยคำที่มีความหมายสื่อความให้ตรงกับความคิดของตน

4. ภาษาช่วยพัฒนาความคิดและความคิดก็ช่วยพัฒนาภาษา
สมรรถภาพในการคิดและสมรรถภาพในการใช้ภาษาของบุคคลจะมีผลต่อเนื่องกันเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
ขณะที่มนุษย์คิดนั้นจะต้องอาศัยภาษาเป็นเครื่องมือในการคิดและจะต้องเลือกถ้อยคำนำมาเรียบเรียงถ่ายทอด
ซึ่งการทำเช่นนี้ความคิดจะถูกขัดเกลาให้ชัดเจนเหมาะสม
ความคิดก็จะพัฒนายิ่งขึ้นด้วยและขณะที่มีความคิดกว้างไกลก็จะรู้จักใช้ภาษาได้กว้างขวางขึ้น
ความคิดจึงช่วยพัฒนาภาษาเช่นกันเราจะเห็นอย่างชัดเจนว่าภาษาสัมพันธ์กับความคิด

แนวทางปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อช่วยสร้างเสริมความคิด อาจทำได้ดังนี้

1. ใฝ่ใจค้นคว้า ในเวลาที่คิดนั้นปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้น คือ คิดไม่ออก
ไม่รู้จะคิดว่าอย่างไร สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นดีพอ
ผู้ที่ต้องการสร้างเสริมความคิดจะต้องเป็นผู้ใฝ่ใจศึกษา ค้นคว้าหาความรู้
เก็บข้อมูลต่างๆ สะสมไว้ในสมอง ความรู้จะช่วยให้เข้าใจเรื่องราว
เกิดความคิดเชื่อมโยงสัมพันธ์กับเรื่องอื่นๆ ได้
ซึ่งการค้นคว้าหาความรู้อาจทำได้โดยการฟังหรือการอ่าน

2. หมั่นหาประสบการณ์ ประสบการณ์เป็นวัตถุดิบเบื้องต้นที่จะช่วยทำให้เกิดความ
คิดการได้สัมผัสกับสภาพความจริงจะช่วยก่อกำเนิดความคิดได้ดี
การมีความรู้คู่ประสบการณ์จะทำให้คิดได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ดังนั้นจึงควรสนใจหมั่นหาประสบการณ์อยู่เสมอเพื่อจะได้รู้จริง
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคิดอย่างมาก

3. มีความสามารถทางภาษา การรู้จักจัดลำดับความคิดให้เป็นระเบียบ
เลือกเฟ้นถ้อยคำที่เหมาะสมถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
ก็จะช่วยพัฒนาความคิดขึ้นโดยลำดับและขณะเดียวกันก็พัฒนาความคิดของผู้รับสารด้วย

4. ใช้ปัญญาสร้างภาพ วิธีที่จะช่วยสร้างความคิดอีกวิธีหนึ่ง คือ
การนึกเห็นภาพในใจก่อนภาพนี้ไม่ใช่ภาพประเภทเพ้อฝันไร้สาระ
แต่เป็นภาพที่ใช้ข้อมูลมาประกอบการสร้างความคิดจะทำให้สายตากว้างไกล
การสร้างภาพจะช่วยทำให้ความคิดแจ่มแจ้งชัดเจน เช่น
ในการแก้ไขปัญหาถ้าสร้างภาพนึกเห็นไว้ก่อนว่าสถานการณ์อย่างนี้จะแก้ไขอย่างไร
วิธีใด ความคิดก็จะบังเกิดควบคู่ไปกับการเห็นภาพ