หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

  • 新宿区ホーム
  • 防災・防犯
  • 防災
  • 防災活動の支援・啓発
  • 外国語による防災関連情報
  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ควรทราบ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ควรทราบ

最終更新日:2017年2月17日

หากมีคนในครอบครัวหรือคนในละแวกบ้านได้รับบาดเจ็บ กรุณาทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้เร็วที่สุด

วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)

หากพบเห็นคนได้รับบาดเจ็บนอนอยู่

ตบที่ไหล่ของผู้ประสบภัยพร้อมพูดกับเขา
หากไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ให้ขอให้คนที่อยู่ใกล้ๆแจ้งไปที่หมายเลข 119 และขอให้นำส่ง AED และตรวจสอบลมหายใจโดยไม่ต้องเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง (ดูการเคลื่อนไหวของหน้าอกและบริเวณท้องประมาณ 10 วินาที)

การช่วยฟื้นคืนชีพ

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

หากไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ให้กดหน้าอก 30 ครั้ง

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

เมื่อกดหน้าอกเสร็จแล้ว ให้ดัดคางขึ้นร่วมกับการกดหน้าผากให้หน้าแหงนเพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่งแล้วจึงทำการผายปอด 2 ครั้ง
หลังจากนั้นให้กดหน้าอก 30 ครั้งและทำการผายปอด 2 ครั้งโดยทำซ้ำไปมา

กรณีที่เกรงว่าจะติดโรคจากเลือดหรืออาเจียน ให้กดหน้าอกต่อไปโดยไม่ต้องผายปอด

แผลไฟลวก

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

แช่บริเวณที่ถูกไฟลวกในน้ำมากกว่า 15 นาทีเพื่อให้อุณหภูมิลดลง
ไม่พยายามถอดชุดชั้นในหรือถุงเท้าออก ให้ราดน้ำเบาๆจากบนชุดชั้นในหรือถุงเท้า
ระมัดระวังอย่าแกะแผลพุพองให้แตกเพราะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย

บาดแผล

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

หากมีเลือดออกไม่มาก ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และพันด้วยผ้าก๊อซ

เลือดออก

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

หากมีเลือดออกมาก ให้ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซกดปากแผลให้แน่น
หากกดแผลแล้วเลือดยังไม่หยุดไหล ให้กดบริเวณจุดห้ามเลือดที่ใกล้กับหัวใจ

กระดูกหัก

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

ถอดรองเท้าและตัดเสื้อผ้าออก เพราะจะมีอาการบวมขึ้นหลังจากกระดูกหัก
ใช้นิตยสาร กระดาษแข็ง แผ่นไม้มัดส่วนที่กระดูกหักไว้แทนการใส่เฝือก
ให้ผู้ป่วยนอนราบ ไม่พยายามเคลื่อนย้าย

สิ่งที่แนะนำข้างต้นเป็นการอธิบายเพียงคร่าวๆ

ภายในสำนักงานดับเพลิงโตเกียวมีการจัดอบรมการช่วยชีวิตและการปฐมพยาบาลในแต่ละท้องที่
ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตร
กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานดับเพลิงโตเกียว
http://www.tfd.metro.tokyo.jp/

本ページに関するお問い合わせ

本ページに関するご意見をお聞かせください

防災・防犯

  • 防災
  • 防犯、安心・安全
  • 避難場所・ターミナル駅周辺の防災対策
  • 気象情報
  • 救急医療
  • 被災地・被災者支援
  • 災害・緊急時関連情報
  • 空家等対策

แนวทางการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

การประเมินสถานการณ์

        1.ตรวจดูสภาพแวดล้อมที่เกิดเหตุว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ ถ้าไม่ ปลอดภัย ไม่ควรเสี่ยงอันตรายเข้าไปช่วยเหลือ

        2.แจ้งเหตุ/ขอความช่วยเหลือหน่วยงานที่ชำนาญเฉพาะโดยให้การข้อมูล

                -มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น/สถานการณ์เป็นอย่างไร

                -สถานที่เกิดเหตุ

                -จำนวนผู้บาดเจ็บ/สภาพผู้บาดเจ็บ

                -ชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

         3.ประเมินความรุนเรงของการบาดเจ็บ โดยตรวจ

                -ระดับความรู้สึกตัว (รู้สึกตัวดี / ซึม / รู้สึกตัวบ้าง ไม่รู้สึกตัวบ้าง)

                -ทางเดินหายใจและการหายใจ ลักษณะและอัตราการหายใน

                -ชีพจร ลักษณะการเต้น และจำนวนครั้ง

                -การบาดเจ็บ (กระดูกหัก บาดแผล ฯลฯ) หรือการเจ็บป่วยอื่นที่ดำเนินอยู่

          4.ให้การปฐมพยาบาล

                -การช่วยฟื้นคืนอชีพชั้นพื้นฐาน

                -การห้ามเลือด/การทำแผล

                -การเคลื่อนย้าย/การนำส่งโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาชีวิตผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ

 

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

หลักเบื้องต้นของการปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล
            เป็นการช่วยเหลือแรกสุดเพื่อให้คนได้รับอุบัติเหตุปลอดภัยโดยมีข้อควรคำนึงถึงดังนี้ 
1. เพื่อป้องกันอันตราย 
2. เพื่อช่วยชีวิต 
3. เพื่อลดความเจ็บปวด 
4. นำส่งโรงพยาบาล 
            เราต้องเก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยดูจากผู้ป่วย ผู้อยู่ในเหตุการณ์ อาการเป็นอย่างไร และประเมินสถานการณ์ ดังนี้
         1 . เมื่อพบเห็นผู้บาดเจ็บ ควรดูให้แน่นอนว่าผู้ป่วยมีเลือดออกหรือไม่ ออกจากที่ใดบ้าง มีความรุนแรงของบาดแผลแค่ไหน ถ้ามีเลือดออก ควรทำการห้ามเลือดเป็นอันดับแรก 
         2 . ถ้าผู้ป่วยไม่มีเลือดออก ให้ตรวจดูว่าร่างกายอบอุ่นหรือไม่ ถ้าร่างกายเย็นชื้น แสดงว่าผู้ป่วยมีอาการช็อค ควรห่มผ้าให้อบอุ่น ให้นอนศีรษะต่ำกว่าลำตัวเล็กน้อย 
         3 . ควรตรวจดูปากผู้ป่วยว่ามีสิ่งอาเจียน หรือสิ่งอื่นใดอุดตันหรือไม่ ถ้ามี ให้รีบล้วงออกเสียเพื่อมิให้อุดตันทางเดินหายใจหรือมิให้สำลักเข้าปอด 
         4 . ตรวจดูให้แน่ว่าผู้ป่วยหายใจขัดหรือหยุดหายใจหรือไม่ ถ้าหยุดหายใจให้รีบทำการผายปอด และตรวจ คลำชีพจรของเส้นเลือดใหญ่บริเวณลำคอว่ายังเต้นเป็นจังหวะหรือไม่ ถ้าคลำชีพจรไม่พบหรือเบามาก ให้จัดการนวดหัวใจด้วยวิธีกดหน้าอกต่อไป 
         5 . ตรวจดูส่วนต่าง ๆ ของร่างกายว่ามีบาดแผล รอยฟกช้ำ กระดูกหัก ข้อเคลื่อนหรือไม่ ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ให้ปฏิบัติการปฐมพยาบาลแล้วแต่กรณี เช่น ปิดบาดแผล เข้าเฝือกชั่วคราว เป็นต้น 
         6 . ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ถ้าหากต้องการเคลื่อนย้ายควรทำให้ถูกวิธี และมีผู้ช่วยเหลือ หลายคนช่วยกัน 
         7 . คลายเสื้อผ้าที่รัดร่างกายออก 
         8 . อย่าให้คนมามุงดุ เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก 
         9 . พยายามปลอบใจผู้ป่วยอย่างให้ตื่นเต้นตกใจ อย่าให้ผู้ป่วยมองเห็นบาดแผลและรอยเลือดของตน 
       10 . ตามแพทย์มาสถานที่เกิดเหตุ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
 

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

การปฐมพยาบาลบาดแผลเบื้องต้น 

       การปฐมพยาบาลบาดแผลอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันอันตรายและลดอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้โดยปฏิบัติดังนี้

          ชนิดของบาดแผล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

          ชนิดของบาดแผลบาดแผลปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง เช่น แผลฟกช้ำ ห้อเลือด ข้อเท้าพลิก ข้อแพลง

          การดูแล

                -  ใน 24 ชั่วโมงแรก ใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำเย็นประคบ เพื่อไม่ให้เลือดออก และช่วยระงับอาการปวด 

                -  หลัง 24 ชั่วโมง ควรประคบด้วยน้ำอุ่น เพื่อช่วยละลายลิ่มเลือด

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

          บาดแผลเปิด หมายถึง บาดแผลที่ทำให้เกิดรอยแยกของผิวหนังแบ่งเป็น 5 ชนิดคือ
  
              -  แผลถลอก  ผิวหนังถลอก เลือดออกเล็กน้อย
                -  แผลฉีกขาดขาด  เกิดจากวัตถุไม่มีคมแต่มีแรงพอ  ให้่ผิวหนังฉีกขาด ขอบแผลมักขาดกระรุ่งกระริ่ง
                -  แผลตัด  เกิดจากวัตถุมีคมตัด บาดแผลมักแคบ ยาว ขอบแผลเรียบ
                -  แผลถูกแทง เกิดจากวัตถุปลายแหลมแทงเข้าไปบาดแผลจะลึก 
                -  แผลถูกยิง เกิดจากกระสุนปืน อันตรายมากน้อยขึ้นอยู่กับอวัยวะภายในที่ถูกกระสุนปืน

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

          การปฐมพยาบาล บาดแผลเลือดออก

                -  กรณีเลือดไหลมาก ๆ ควรจะรีบกดบาดแผลด้วยผ้าสะอาดให้เลือดหยุดก่อนต้องกดให้แน่นอยู่นาน 5-10นาที อาจใช้ผ้ายืดพันทับก่อนที่จะไป
โรงพยาบาล

                -  กรณีปากแผลแยกควรปิดปากบาดแผลด้วยพลาสเตอร์

                -  แผลถลอกหรือแผลฉีกขาดที่ผิวหนังและมีเลือดออกมาไม่มาก ใช้ผ้าสะอาดกดบริเวณเลือดออกให้กระชับแน่ พอประมาณเลือดจะหยุดภายใน 2-3 นาที ใช้น้ำประปา เปิดให้ไหลผ่านแผล

                -  ชะล้างแผลและทำความสะอาดรอบๆ แผล ถ้าแผลสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่

                -  ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้ากอซสะอาด ซับบริเวณแผลให้แห้ง

                -  ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน (Betadine) ไม่จำเป็นต้องปิดแผล ถ้าเป็นแผลถลอก หากมีเลือดซึม ควรใช้ผ้ากอซสะอาดปิดแผลไว้

                -  ถ้าบาดแผลมีขนาดใหญ่ กว้างและลึก มีเลือดออกมาก ให้ห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาล

           การดูแลบาดแผลที่เย็บ

                -  ดูแลแผลไม่ให้สกปรก ไม่ควรให้ถูกน้ำเพราะจะทำให้แผลที่เย็บไม่ติด และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

                -  การเปลี่ยนผ้าปิดแผลควรทำให้น้อยที่สุดหรือทำเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ถ้าแผลสะอาดไม่ต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผลจนถึงกำหนดตัดไหม ยกเว้น แผลสกปรก อาจต้องล้างแผลบ่อยขึ้น

                -  ตามปกติ จะตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน แต่ถ้าแผลยังอักเสบ หรือยังไม่แน่ใจว่าแผลติดแล้ว อาจต้องรอต่อไปอีก 2 – 3 วัน ให้แผลติดกันดีจึงค่อยตัดไหม ยกเว้นรายที่มีการติดเชื้อ แผลเป็นหนอง จำเป็นจะต้องตัดไหมออกก่อนกำหนด

           แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หมายถึง การที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน ที่อุณหภูมิสูงกว่า 50 C ได้แก่ เปลวไฟ ไอน้ำร้อน น้ำเดือด สารเคมี กระแสไฟฟ้า และรังสีต่างๆ

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

 

หลักสําคัญในการปฐมพยาบาล9ข้อ

 ชนิดของแผลไหม้

              เฉพาะชั้นผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ลักษณะแผลแห้ง แดง และถ้าลึกถึงหนังแท้จะพองเป็นตุ่มน้ำใสและบวม

           การดูแล

                 -  ระบายความร้อนออกจากแผล โดยใช้ผ้าชุบน้ำ หมั่นประคบบริเวณบาดแผล หรือเปิดให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผลตลอดเวลา นานประมาณ 10 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย

                 -  ทาด้วยยาทาแผลไหม้

                 -  ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดหนังส่วนที่พองออก

                 -  ปิดด้วยผ้าสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและพันผ้าไว้

                 -  ถ้าแผลไหม้เป็นบริเวณกว้างหรือเป็นอวัยวะที่สำคัญต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

               ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ได้แก่ ไขมัน กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก เป็นต้น ลักษณะแผลมีสีน้ำตาลเทาหรือดำ ผิวหนังรอบๆ จะซีด มีกลิ่นไหม้ อาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อน ถึงเสียชีวิตได้

            การดูแล

                 - ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากบาดแผลเพราะจะยิ่งทำให้แผลติดเชื้อมากขึ้น

                 -  ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล

                 -  ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณแผลเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก ให้ความอบอุ่น และรีบนำส่งโรงพยาบาล

      * ห้ามใช้น้ำปลา ยาสีฟัน ยาหม่อง ทาแผล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อทำให้แผลอักเสบได้

            อันตรายจากสารเคมี

           เมื่อถูกสารเคมีหกราดผิวหนังหรือลำตัวให้ปฏิบัติตัวดังนี้

                  -  ใช้น้ำล้าง โดยใช้วิธีตักราด หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่านนานประมาณ 10 นาที หรือนานจนแน่ใจว่าล้างออกหมด

                  -  ถอดเสื้อผ้าเครื่องประดับที่เปื้อนสารเคมีออกให้หมด

                  -  นำส่งโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บสาหัส

            สิ่งสำคัญ

                  -  ถ้าสารเคมีเป็นผง ให้ถอดเสื้อผ้า และเครื่องประดับที่เปื้อนออกให้หมด แล้วล้างด้วยน้ำ เพราะถ้าใช้น้ำล้างทันที สารเคมีจะละลายน้ำทำให้ออกฤทธิ์ เพิ่มขี้น 

           สารเคมีเข้าตา

                  ต้องรีบให้การช่วยเหลือเพราะอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนี้

                  -  ล้างด้วยน้ำสะอาด นานประมาณ 20 นาที โดยเปิดน้ำจากก๊อกเบาๆ ล้าง หรือเทน้ำจากแก้วล้างระวังอย่าให้น้ำเข้าตาอีกข้างหนึ่ง

                  -  ปิดตาด้วยผ้าสะอาด ห้ามขยี้ตา 
                  -  นำส่งโรงพยาบาลทันที

           การปฐมพยาบาล หน้ามืดเป็นลม

                   หน้ามืดเป็นลม เป็นสภาวะที่อาจเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง หรือจากสาเหตุที่ร้ายแรงก็เป็นได้

           ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ควรจะต้องทราบและเรียนรู้ ที่จะช่วยเหลือผู้ที่มีอาการหน้ามืดเป็นลมนั้นๆ ได้ทันท่วงที
           อาการ

                   มีอาการหมดสติไปชั่วขณะประมาณ 1-2 นาที ภายหลังหน้ามืดเป็นลม แล้วรู้สึกตัวดีขึ้นในเวล าต่อมา ส่วนใหญ่แสดงว่าไม่น่าจะมีอะไรร้ายแรง

           เช่น พวกที่ยืนกลางแดดเป็นเวลานานอาจเสียเหงื่อมากทำให้มีอาการเป็นลมแดดได้แต่หากว่าหมดสติไปนานกว่านี้ควรพาคนไข้ไปพบแพทย์จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
           การปฐมพยาบาล
                   -  ควรให้คนไข้นอนราบลงพื้นยกปลายขาสูงเพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมอง
                   -  คลายเสื้อผ้าให้หลวม
                   -  อยู่ในที่อากาศถ่ายเท
                   -  ดมแอมโมเนียหรือยาหม่อง(ถ้ามี)

           การปฐมพยาบาล ตะคริว

 ตะคริว คือภาวะที่กล้ามเนื้อหดเกร็งเองโดยที่เราไม่ได้สั่งให้เกร็งหรือหดตัว โดยที่เราไม่สามารถควบคุมให้กล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ คลายตัวหรือหย่อนลงได้
กว่าจะหายคนที่เป็นตะคริวก็จะมีความเจ็บปวดค่อนข้างมาก
                   สาเหตุของตะคริว อาจเกิดความล้ากล้ามเนื้อจากการใช้งานติดต่อเป็นเวลานาน หรืออาจเกิดจากการกระแทก ทำให้เกิดการฟกช้ำต่อกล้ามเนื้อหรือบางท่านเชื่อว่าอาจเกิดจากภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย กล้ามเนื้อที่พบว่าเป็นตะคริวได้บ่อยคือกล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลังและกล้ามเนื้อหลัง แต่ที่คนส่วนใหญ่เป็นกันคือ กล้ามเนื้อน่อง 
          
 การปฐมพยาบาล

                   -  ยืดกล้ามเนื้อออกตามความยาวปกติของกล้ามเนื้อใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที ปล่อยมือดูอาการว่ากล้ามเนื้อนั้นยังเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ให้ทำซ้ำอีกจนไม่มีการเกร็งตัว
                   -  เกิดตะคริวที่น่อง รีบเหยียดเข่าให้ตรง กระดกปลายเท้าขึ้นทำเองหรือให้คนที่อยู่ใกล้ ๆ ช่วยก็ได้ ถ้าทำเองก้มเอามือดึงปลายเท้าเข้าหาตัว1-2นาที

 การปฐมพยาบาล เป็นไข้

 เป็นไข้ปกติคนเราจะมีอุณหภูมิของร่างกายอยู่ที่ " 37 องศาเซนเซ๊ยส "และจะถือว่ามีไข้เมื่ออุณหภูมิของร่างกาย " เกินกว่า 38 องศาเซนเซ๊ยส " ถ้าเกิดจากระบบทางเดินหายใจจะมีไข้ตัวร้อน ร่วมกับอาการไอเจ็บคออาจมีสาเหตุมาจาก คออักเสบหรือต่อมทอนซิลอักเสบ ถ้ารุนแรงมากขึ้นกว่านั้น  คือ มีเสมหะสีเขียวหรือ เหลือง ปนออกมา พร้อมกับมีอาการไอมากขึ้น เหนื่อย หายใจขัด อาจมีสาเหตุจากหลอดลมอักเสบ หรือ  ปอดบวม  ก็เป็นได้ เป็นไข้ปกติคนเราจะมีอุณหภูมิของร่างกายอยู่ที่  " 37 องศาเซนเซ๊ยส "และจะถือว่ามีไข้เมื่ออุณหภูมิของร่างกาย " เกินกว่า 38 องศาเซนเซ๊ยส " ถ้าเกิดจากระบบทางเดินหายใจจะมีไข้ตัวร้อน ร่วมกับอาการไอเจ็บคออาจมีสาเหตุมาจาก คออักเสบหรือต่อมทอนซิลอักเสบ ถ้ารุนแรงมากขึ้นกว่านั้น  คือ มีเสมหะสีเขียวหรือ เหลือง ปนออกมา พร้อมกับมีอาการไอมากขึ้น เหนื่อย หายใจขัด อาจมีสาเหตุจากหลอดลมอักเสบ หรือ  ปอดบวม  ก็เป็นได้ 

           การปฐมพยาบาล 
                   -  เช็ดตัวเพื่อลดไข้โดยเช็ดบริเวณซอกคอ ขาหนีบ และแขนขา จะช่วยลดไข้และป้องกันการชักก็ได้
                   -  รับประทานยาลดไข้เช่น พาราเซตามอล
                   -  ดื่มน้ำเพื่อทดแทนภาวะสูญเสียน้ำจากภาวะไข้
                   -  สวมเสื้อผ้าที่สบายไม่หนาจนเกินไป
                   -  นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
                   -  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  

             เทคนิคการจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ 
             การเตรียมการ
                     

           1. เจ้าหน้าที่ต้องประเมินผู้ป่วยมีพฤติกรรมเป็นอย่างไร รุนแรงมากน้อยเพียงใด โดยใช้วิธีการพูดคุยกับผู้ป่วย
           2. ประเมินความพร้อมของทีม โดยผู้ปฏิบัติในการจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วยนั้นต้องตั้งสติ โดยวิธีการใดก็ตาม เช่นการหายใจลึก ๆ แต่ต้องไม่ให้ผู้ป่วยเห็น หรือแสดงออกอย่างชัดเจน
           3. ประเมินสถานการณ์ เพื่อเตรียมสถานที่ รวมทั้งปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ ทั้งเสียง และผู้ป่วยอื่น 
           4. กรณีที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมจะทำร้ายผู้อื่น และ/หรือมีอาวุธ ต้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออก

การปฏิบัติ ในขณะประเมินผู้ป่วย
               1. เรียกชื่อของผู้ป่วย ด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน นุ่มนวล หนักแน่น
               2. พูดคุยกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล
               3. พูดคุยในลักษณะเป็นกันเอง
               4. ให้สะท้อนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมตรง ๆ โดยไม่เป็นการตำหนิ เช่น “ เวลาโกรธ คุณจะทำร้ายผู้อื่นไม่ได้ ” และบอกพฤติกรรมที่เหมาะสมที่ต้องการให้ผู้ป่วยกระทำ แต่ถ้าผู้ป่วยยังก้าวร้าวอยู่ ก็จำเป็นต้องจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วย
               5. ปล่อยให้ผู้ป่วยระบายความก้าวร้าวทางวาจา

เทคนิคการเจรจาก่อนการเข้าควบคุมผู้ป่วย

1. เจ้าหน้าที่พูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อถ่วงเวลา ระหว่างเตรียมทีม
               2. กรณีที่มีญาติอยู่บริเวณนั้น ก่อนการเข้าจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วย ต้องบอกญาติให้เข้าใจก่อน และอาจให้ญาติออกจากบริเวณนั้น
               3. ในผู้ป่วยบางราย เช่นผู้ป่วยปัญญาอ่อน อาจใช้ขนมเป็นตัวสื่อให้ลดหรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ 
               4. ในบางกรณีอาจใช้ผ้าห่มคลุมตัวผู้ป่วยได้ โดยเข้าทางด้านหลังของผู้ป่วย เพราะจะทำให้ทราบตำแหน่ง แขน และ ขา ของผู้ป่วย แต่ใช้ได้ในบริเวณที่เข้าประชิดตัวผู้ป่วยไม่ได้ เช่นที่แคบ หรือมุม ซอก

การเข้าควบคุมตัวผู้ป่วย และผูกมัด
               1. ให้เข้าควบคุมตัวผู้ป่วยโดยการจับมือด้านมีอาวุธก่อน ซึ่งต้องเป็นผู้มีความชำนาญ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยอาจใช้ผ้าหรือวัสดุอื่น ๆ ในการช่วยปัด หรือเอาอาวุธออกจากตัวผู้ป่วย โดยต้องมีความระมัดระวัง และใช้จังหวะที่เหมาะสม
               2. วางแผนทำงานเป็นทีม และให้เข้าควบคุมผู้ป่วยพร้อม ๆ กัน อาจแบ่งทีมเป็นเข้าด้านหน้า และด้านหลัง ให้ด้านหลังจับที่แขน และขา
               3. เมื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องมีทักษะที่ดี กรณีที่มีเจ้าหน้าที่คนเดียว สามารถจับนิ้วใดนิ้วหนึ่ง หรือจับนิ้วโป้งของผู้ป่วยพับไว้ โดยระวังน้ำหนักที่กดลงบนนิ้วด้วย 
               4. ในระหว่างการผูกมัด ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูผู้ป่วยเป็นระยะ ทุก 15 – 30 นาที และเปลี่ยนท่าให้ผู้ป่วยด้วย
เทคนิคพิเศษ
               1. การให้ผู้ป่วยทำวัตรเช้า – เย็น จะลดความเครียดของผู้ป่วยได้
               2. การที่เจ้าหน้าที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย จะสามารถโน้มน้าวผู้ป่วยได้ เพราะผู้ป่วยจะมีความไว้วางใจ
               3. กรณีที่ผู้ป่วยวิ่งหนีออกจากโรงพยาบาลไปบนท้องถนน ให้เดินตามผู้ป่วยไปก่อน จนกว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัย จึงเข้าควบคุมผู้ป่วย