หลักการ ทำงาน และมารยาทในการ ทำงาน ร่วมกับผู้อื่น

หลักการ ทำงาน และมารยาทในการ ทำงาน ร่วมกับผู้อื่น

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง มารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การทำงานร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างมีมารยาท ช่วยให้สมาชิกในครอบครัวรักใคร่สามัคคีกัน สร้างนิสัยที่ดี และบ้านสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย

เนื้อหาการศึกษา เรื่อง มารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว

  1. นักเรียนสังเกตภาพแม่และลูกกำลังสนทนากัน แล้วร่วมกันสนทนาโดยตอบคำถาม ดังนี้
    • นักเรียนเห็นสิ่งใดในภาพบ้าง
    • นักเรียนคิดว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
    • การกล่าวขอโทษเมื่อทำผิด และการให้อภัยกัน แสดงให้เห็นถึงการมีสิ่งใด
    • หากนักเรียนทำผิด นักเรียนจะทำอย่างไร
    • หากเพื่อนทำกล่องดินสอของนักเรียนหล่นโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วมาขอโทษนักเรียนนักเรียนจะทำอย่างไร
หลักการ ทำงาน และมารยาทในการ ทำงาน ร่วมกับผู้อื่น
  1. นักเรียนศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัวจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น หนังสือเรียน ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต

มารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว

  • มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ไม่เกี่ยงกันทำงาน
  • ให้ความช่วยเหลือหรือทำงานแทนสมาชิกในครอบครัวตามความสามารถของตนเอง เมื่อเจ้าของงานเจ็บป่วยหรือต้องการให้งานเสร็จเร็วขึ้น
  • กล่าวคำ “ขอบคุณ” เมื่อผู้มีอายุมากกว่าช่วยงาน หรือ “ขอบใจ” เมื่อผู้มีอายุน้อยกว่าช่วยงานทุกครั้ง
  • กล่าวคำ “ขอโทษ” ทุกครั้งที่ทำงานผิดพลาด และปรับปรุงแก้ไขการทำงานของตนเองให้ดีขึ้น
  • รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน
  1. นักเรียนบอกการปฏิบัติตนที่แสดงถึงมารยาทที่ดีในการทำงานบ้านกับสมาชิกในครอบครัว แล้วบันทึกเป็นแผนภาพความคิดลงในกระดาษสำหรับทำกิจกรรม
หลักการ ทำงาน และมารยาทในการ ทำงาน ร่วมกับผู้อื่น
  1. นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับมารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว โดยตอบคำถามกระตุ้นความคิด ดังนี้
    • ถ้านักเรียนเห็นพี่สาวกำลังทำความสะอาดบ้านเพียงคนเดียว นักเรียนจะทำอย่างไร     

สรุปความคิดรวบยอด

การมีมารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว จะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และให้ความร่วมมือทำงานจนสำเร็จได้

หลักการ ทำงาน และมารยาทในการ ทำงาน ร่วมกับผู้อื่น

  • มารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

22 มารยาทที่ทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพในการทำงาน เพื่อทำให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและพัฒนางานของทุกคนได้อย่างเต็มที่ ซึ่งการทำงานร่วมกันก็เหมือนเล่นกีฬาต้องมีกติกาการเล่นร่วมกัน จึงจะนำความสำเร็จมาสู่ทีมได้ http://winne.ws/n4448

หลักการ ทำงาน และมารยาทในการ ทำงาน ร่วมกับผู้อื่น

โดย Pansasiri

20 มิ.ย. 2559 - 13.44 น. , แก้ไขเมื่อ 15 ม.ค. 2561 - 11.00 น.

3.3 หมื่น ผู้เข้าชม

Tags :

5 มารยาทในที่ทำงานที่คุณไม่ควรมองข้าม

          เราจำเป็นต้องทำงานอย่างมืออาชีพเพื่อทุกคนที่ทำงานร่วมกับเรา เกิดความเคารพในตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่ผู้จัดการ แม้ว่าชีวิตการทำงานจะพบกับความเครียด แต่เราก็ต้องควบคุมอารมณ์ของเราให้ดีที่สุดเพราะเมื่อเราแสดงความโกรธและระบายความไม่พอใจของเราออกไป คนรอบข้างจะเกิดความรู้สึกไม่ดี และรู้สึกอึดอัดที่จะพูดคุยติดต่อกับคุณ

          ทุกคนจึงควรได้รับการปลูกฝังในเรื่องการรู้จักตนเอง เพื่อให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น ด้วยหลัก 5 ประการในการสร้างมารยาทในการทำงาน ดังนี้

1. ไม่ควรนินทาลับหลังเพื่อนร่วมงาน เพราะมันไม่ส่งผลดีต่อตัวคุณเลย อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง และไม่ลงรอยกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกัน

2. ไม่ควรพูดคุยถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานในเวลางาน เจ้านายของคุณอาจมองว่าคุณเอาแต่คุย และไม่เป็นอันทำงาน ดังนั้น ควรเก็บเรื่องส่วนตัวของคุณไว้คุยในช่วงพักกลางวัน หรือหลังเลิกงานจะดีกว่า

3. ไม่ควรให้คำแนะนำแก่เพื่อนร่วมงานโดยที่เขาไม่ได้เรียกร้อง และไม่ควรเข้าไปข้องเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของผู้อื่น

4. ไม่ควรพูดถึงปัญหาสุขภาพของตนเอง เพราะมันอาจส่งผลกระทบต่อโอกาสในการเลื่อนขั้นของคุณ หากจำเป็นต้องพูดถึงเรื่องปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน คนเดียวที่คุณจะพูดด้วยก็คือ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล

5. ในยุคที่ social network กำลังแพร่หลาย คุณควรระวังการโพสต์ข้อความต่าง ๆ ในเฟซบุ๊ค หรือบล็อกของคุณ และควรมั่นใจว่าข้อความหรือรูปที่อัพโหลดขึ้นไปจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อหน้าที่การงานของคุณ

          มารยาทในการทำงานที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตการทำงานของทุก คน คงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่คุณจะรักษามารยาททั้ง 5 ข้อนี้ไว้ให้มั่น เพื่อให้ชีวิตการทำงานของคุณนั้นราบรื่นและยาวนาน

17 มารยาทที่ทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพในที่ทำงาน

17 มารยาทที่ทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพในที่ทำงาน

บิสเนซอินไซเดอร์ (BusinessInsider) ตีพิมพ์เรื่อง '17 Essential Office Etiquette Tips' = "17 เคล็ดลับ (ทิปส์) กฎ-กติกา-มารยาทดี (ที่จำเป็น) ในที่ทำงาน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ ที่ทำงานก็คล้ายกับกีฬาที่จะต้องมี "กฎ_กติกา_มารยาท" หลายอย่างที่ถือกันว่า จะทำให้คนทำงานอยู่ร่วมกันได้อย่าง "มืออาชีพ" 

อ.แคตเตอรีน เพาเมียร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับสมัครงานจาก Adam Personnel, และ อ.ไลอิดไมลา บลอช ผู้เชี่ยวชาญด้าน "กฎ_กติกา_มารยาท" ในที่ทำงานกล่าวว่า คนที่เป็นมืออาชีพ และเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานมักจะมีลักษณะสำคัญ 17 ประการได้แก่

(1). ไม่ขัดคอ หรือพูดแทรกตอนคนอื่นพูด การรู้จักรอให้คนอื่นพูดจบประโยค หรือจบเรื่องก่อนมักจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีกับคุณ

(2). ไม่พูดไร้สาระมากเกิน การพูดเพ้อเจ้อ หรือพูดคุยกับคนโน้นคนนี้ไปเรื่อยทำให้ลูกค้า หรือคนที่มาใช้บริการรู้สึกว่า คนให้บริการไม่ค่อยสนใจลูกค้า... ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่อยากเป็นฝ่ายพูดมากกว่า และอยากให้ "มืออาชีพ" เป็นฝ่ายฟังมากขึ้น

(3). ไม่พูดดัง การพูดเสียงดังในที่ทำงานบ่งชี้ถึงความ "ไม่เกรงใจ" คนรอบข้าง และ "ไม่เกรงใจ" ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการ วิธีที่น่าจะดี คือ พูดให้ดังพอที่คู่สนทนาจะได้ยิน ไม่ดังไปไกลกว่านั้น เพราะคนอื่นจะรู้สึกว่า คุณกำลังก้าวร้าว รุกล้ำเข้าไปในขอบเขตส่วนตัว (personal space)

(4). ไม่กินอาหารกลิ่นแรง อาหารกลิ่นแรง เช่น ทุเรียน ฯลฯ เป็นของต้องห้ามสำหรับการทำงาน "ข้ามวัฒนธรรม" หรือสถานที่ที่มีคนต่างชาติ ต่างภาษาทำงานอยู่ด้วย ถ้าอยากจะทานจริงๆ... คงต้องออกไปนอกอาคาร กินกันในที่โล่งแจ้งอะไรทำนองนี้แทน

(5). ไม่ใช้ศัพท์สแลง (ภาษาพูดเล่น ไม่เป็นทางการ) หรือภาษาวิชาการแบบสุด ๆ

ถ้าจะส่งจดหมาย หรืออีเมล์ (emails), ขอให้ใช้ภาษาเขียนกลางๆ ที่ดูน่าเชื่อถือเป็นหลัก และหลีกเลี่ยงภาษาสแลง หรือภาษาวิชาการสุดๆ (text-speak) ที่คนส่วนใหญ่อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือทำให้คนอื่นหมั่นไส้ได้ จดหมายหรืออีเมล์ ควรเขียนแบบกลาง ๆ ให้คนส่วนใหญ่ในหน่วยงานอ่านง่าย เช่น ลายมืออ่านออก เข้าใจได้ง่าย ไม่เขียนจนอ่านแล้วปวดหัว ฯลฯ หน่วยงานหรือคนบางคนในหน่วยงานอาจเก็บจดหมาย หรืออีเมล์ของคุณไว้หลายปี และนั่นอาจเป็นหลักฐานทำร้ายคุณได้ในบางโอกาส

(6). ให้เครดิต คนเก่งในโลกยุคใหม่ไม่ควรจะเป็น "ฮีโร่" ประเภท "ข้าฯ มาคนเดียว" ทำราวกับว่า ถ้าหน่วยงานขาดข้าฯ แล้วจะล่มสลายไปทันที...ถ้าเป็นโลกยุคหินใหม่, การทำงานแบบ "ข้าฯ มาคนเดียว" ดูจะใช้การได้ดี ทว่า... "คนเก่งจริง" ในโลกสมัยใหม่จะต้องรู้จักการ "ทำงานเป็นทีม" มากขึ้น ทำให้คุณสมบัติการ "ให้เกียรติการทำดี หรือผลงานคนอื่น (acknowledging) เป็นเรื่องสำคัญ

วิธีฝึกให้เกียรติคนอื่นง่าย ๆ คือ กล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอบใจ" คนรอบข้างให้เป็น... อย่างน้อย 1 วันต้องชมคนอื่นในที่ทำงานให้ได้สัก 1 คน และเมื่อเห็นคนอื่นทำดี... ขอให้ฝึกชม 2 ครั้ง โดยชมต่อหน้า 1 ครั้ง, ชมลับหลัง 1 ครั้ง เพื่อให้กำลังใจคนทำดี การดูประเทศหรือชาติต่าง ๆ ว่า เจริญไปถึงไหน หรือไปไม่ถึงไหน, ท่านว่า ให้ดูว่า คนในชาตินั้นชื่นชอบ "คนได้ดี (เช่น รวย มีลาภ_ยศ_สรรเสริญ_สุข ฯลฯ)" หรือ "คนทำดี คนที่ดูแลคุณแม่คุณพ่อดี ฯลฯ)" ชาติที่เจริญมักจะชื่นชม "คนทำดี" มากกว่า "คนได้ดี", ชาติที่ล้าหลังมักจะชื่นชม "คนได้ดี" มากกว่า "คนทำดี" เพราะการชื่นชม "คนทำดี" จะทำให้คนอื่นพลอยทำดีตาม คล้ายแสงที่เกิดจากการจุดเทียนไปเป็นทอดๆ จนเกิดเป็น "คลื่นของการทำดี (Doing good wave)" แพร่กระจายไปทั่ว

(7). ไม่ใช้น้ำหอมกลิ่นแรง และไม่ทำตัวเหม็นด้วย การหลีกเลี่ยงน้ำหอมกลิ่นแรง โดยเฉพาะที่ทำงานติดแอร์ จะช่วยลดการรบกวนเพื่อนร่วมงานและตรงกันข้าม... อย่าทำตัวเหม็น เช่น ไปไหนกลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นรักแร้ไปถึงนั่น ฯลฯ มีหมอท่านหนึ่งกินกระเทียมเข้าไป ห้องตรวจก็ร้อนจนเหงื่อแตก แล้วรู้สึกว่า คนไข้รายที่ 1 กลิ่นตัวแรง, รายที่ 2-3-4 ก็กลิ่นตัวแรง, กว่าจะรู้ตัวว่า กลิ่นที่แรงจริง ๆ มาจากตัวหมอก็ตรวจคนไข้ไป 5 รายแล้ว (ไม่ได้ว่าใคร ผู้เขียนนี่เอง) นี่ก็เป็นข้อควรระวังที่ว่า วันไหนเป็นวันทำงาน... อย่ากินอาหารที่ทำให้กลิ่นตัวแรง

(8). แต่งกายให้สุภาพ การศึกษาหนึ่งทำในออสเตรเลียพบว่า คนไข้ส่วนใหญ่ชื่นชอบ และไว้วางใจหมอที่แต่งกายดีมากกว่าหมอที่่แต่งกายไม่ดี การแต่งกายให้ดูน่าเชื่อถือเป็น 1 ในคุณสมบัติของมืออาชีพ ซึ่งหลายๆ อาชีพทำได้ดีมาก เช่น คุณครู พยาบาล ฯลฯ ทำให้ดูเป็นอาชีพชั้นนำ

(9). อย่าตั้งเสียงมือถือดัง การทิ้งมือถือไว้ในกระเป๋า หรือล็อคเกอร์ (ตู้เก็บของส่วนตัว) แล้วตัวไปอยู่ที่อื่น หรือตั้งเสียงเตือนมือถือดังมักจะรบกวนคนรอบข้าง วิธีที่น่าจะดี คือ เลือกเสียงเตือนให้สุภาพ เบาลงหน่อย หรือใช้แบบสั่นแทนเสียง โดยเฉพาะเมื่อเข้าประชุม หรือติดต่อเรื่องสำคัญ

(10). รักษาความสะอาด หนังสือเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเล่มหนึ่งกล่าวว่า สุนัข (น้องหมา) มักจะชอบคุ้ยของให้รก กระจายไปทั่ว เพื่อแสดงอาณาเขต การวางของส่วนตัวไว้ในที่ทำงาน ตู้เก็บของ หรือตู้เย็น อาจเป็นเรื่องของการแสดงอาณาเขต หรือความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของอย่างหนึ่ง ทว่า... นั่นเป็นเรื่องที่บอกว่า เรายังไม่ค่อยเป็นมืออาชีพมากเท่าไร วิธีที่น่าจะดี คือ ทิ้งร่องรอย (ของใช้ ของส่วนตัว ฯลฯ) ไว้ในที่ทำงานให้น้อยที่สุด

(11). ไม่ทำอะไรที่ "ส่วนตัว" เกินไป สำนักบริการสุขภาพอังกฤษ (NHS) ให้พยาบาลท่านหนึ่งออกจากงาน เนื่องจากห้อยไม้กางเขนไว้นอกเครื่องแบบตลอดเวลา เตือนให้ถอดออกแล้วก็ไม่ฟัง ทาง NHS ให้เหตุผลว่า การทำอะไรเป็น "ส่วนตัว" เกินไป อาจทำให้ผู้มารับบริการ ซึ่งมีศาสนา วัฒนธรรมต่างกันไม่สบายใจ หรืออึดอัดได้ วิธีที่มืออาชีพทำกัน คือ ทำให้งานเป็นเรื่องส่วนรวม ไม่ทำอะไรที่เป็น "ส่วนตัว" เกินไป

(12). ตรงเวลา การไปทำงานให้ตรงเวลาเป็นเรื่องของมืออาชีพ และที่สำคัญมาก คือ งานสมัยใหม่มีอะไรที่สำคัญกว่า "เวลา" ด้วย เช่น ไปถึงแล้วต้องทำงานให้มี "ผลงาน" ออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน ฯลฯ

(13). ไม่รับสาย-ไม่โทรศัพท์ในที่ทำงาน มารยาทที่ดี คือ ขออนุญาตคนรอบข้าง แล้วเดินออกไปรับสาย หรือพูดโทรศัพท์ในที่โล่ง นอกที่ทำงาน

(14). ไม่ใส่รองเท้าแตะ ชาวตะวันตก (ฝรั่ง) มีธรรมเนียมในการสวมรองเท้าให้สุภาพตามลักษณะของงาน คนเอเชียส่วนใหญ่ (ยกเว้นพม่า) ถือว่า ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ หรือรองเท้าสีฉูดฉาดเข้าที่ทำงาน ซึ่งคุณคงต้องปรับให้เข้ากับที่ทำงาน

(15). ไม่สั่งน้ำมูก ชาวตะวันตก (ฝรั่ง) ถือว่า การสั่งน้ำมูกในที่ทำงานเป็นเรื่องไม่สุภาพ วิธีที่ดี คือ ถ้าไม่สบาย เช่น มีน้ำมูก คัดจมูก ฯลฯ ให้กินยาแก้แพ้ หรือยาลดน้ำมูก, สวมหน้ากาก (mask) กันเชื้อโรคแพร่กระจายให้เรียบร้อย และถ้าจะสั่งน้ำมูกก็ควรออกไปในที่โล่ง นอกที่ทำงาน ก่อนสั่งน้ำมูกในกระดาษทิชชู หลังสั่งน้ำมูก... อย่าลืมล้างมือด้วยสบู่ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคนรอบข้างเสมอ หนังสือ "สมบัติผู้ดี" สมัยก่อนเขียนไว้ดี คือ "ผู้ดีย่อมไม่ล้วง แคะ แกะ เกาในที่สาธารณะ", นี่ก็เป็นมารยาทที่ดีเช่นกัน

(16). ไม่ลูบผม สบัดผม หรือแต่งหน้าในที่ทำงาน เรื่องนี้เป็นมารยาทด้วย เนื่องจากชาวตะวันตก (ฝรั่ง) ถือว่า การสบัดผมเป็นเรื่องของการ "ให้ท่า (ดึงดูดความสนใจทางเพศ)" และอย่าลืมเรื่องการแบ่งสรรทรัพยากรด้วย โดยเฉพาะการไม่ใช้ห้องน้ำนานเกินไป เช่น บางคนแต่งหน้าในห้องน้ำ บางคนรีบไปที่ทำงานเพื่อถ่ายหนักตอนเช้า ฯลฯ ทำให้เพื่อนร่วมงานต้องรอเข้าห้องน้ำนาน

(17). ไม่นำโรคติดต่อไปที่ทำงาน ถ้าคุณป่วยด้วยโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ก็ควรจะลาป่วย หน่วยงานหรือโรงงานก็ลดการแพร่โรคติดต่อได้ด้วยการส่งเสริมการล้างมือด้วยสบู่ก่อนเข้าที่ทำงาน และเตรียมที่ล้างมือ-สบู่ไว้หลายๆ แห่งให้มากพอ เช่น หน้าโรงงานหรือหน่วยงาน หน้าโรงอาหาร หน้าจุดดื่มน้ำ หน้าห้องน้ำ ฯลฯ ห้องน้ำที่ออกแบบผนังแบบซิกแซก จะช่วยลดการสัมผัสลูกบิดประตู ทำให้โอกาสแพร่เชื้อจาก "มือ-สู่-มือ" ลดลง

  • Thank BusinessInsider > http://www.businessinsider.com/tips-on-office-etiquette-2013-3 
  • Read more: http://www.businessinsider.com/tips-on-office-etiquette-2013-3#ixzz2O5OBI4Uf

ที่มา http://board.postjung.com/677949.html

ที่มา https://th.jobsdb.com/th-th/arthicle/5่มารยาทในที่ทำงานที่ไม่ควรมองข้าม

ขอบคุณภาพจากwww.google.com

มารยาทในการทำงานร่วมกับครอบครัวและผู้อื่นมีอะไรบ้าง

มารยาทในการทำงาน การรักษามารยาทในการทำงานร่วมกับสมาชิกในครอบครัว จะทำให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และทำงานสำเร็จอย่างรวดเร็ว ซึ่งมารยาทที่ดี ในการทำงานควรปฏิบัติดังนี้ 1. มีความรับผิดชอบและทำงานในหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่างรอบคอบและ มีสติ 2. มีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีและร่วมมือร่วมใจในการทำงาน

มารยาทในการทำงานร่วมกับคนอื่นมีความสำคัญอย่างไร

การมีมารยาทดีในที่ทำงาน จะทำให้คุณกลายเป็นคนที่ดูโดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานในระดับเดียวกัน และยิ่งหากรู้จักใส่ใจความรู้สึกของเพื่อนร่วมงาน คุณก็จะเป็นที่ชื่นชอบ กลายเป็นคนน่าคบหา และได้รับการสนับสนุนให้เลื่อนตำแหน่ง” Jacqueline Whitmore ผู้ก่อตั้งโรงเรียนด้านการสื่อสาร แห่งเมืองปาล์ม บีช รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกากล่าว ...

กิริยามารยาทมีอะไรบ้าง

มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอัน ...