หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตะวันออก

คลิกที่ภาพเพื่อเปิดอ่านในรูปแบบ E-Book

สมัยประวัติศาสตร์ เริ่มต้นเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น เพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรม จึงทำให้รับรู้เรื่องราวทางประวัติสาสตร์ให้มากขึ้น การบันทึกในระยะแรกจะปรากฏอยู่ในกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นหิน ใบลาน เป็นต้น

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออก

การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ตะวันออกจะแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามช่วงเวลาของแต่ละราชวงศ์หรือศูนย์กลางอำนาจเป็นเกณฑ์ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีนสามารถแบ่งออกได้เป็นประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ (2200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 220) ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 1368) ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1911) และประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1911 – ปัจจุบัน)

1.การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีน

ประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราณ

 ช่วงเวลาการเริ่มต้นจากรากฐานอารยธรรมจีนตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมหยางเซา (Yang Shao) วัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan) อันเป็นวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาและโลหะสำริดต่อมาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ต่าง ๆ ได้ปกครองประเทศ ได้แก่ราชวงศ์เซียะ ประมาณ 2,205 – 1,766 ปีก่อนคริสต์ศักราช และราชวงศ์ชางประมาณ 1,767 – 1,122 ปีก่อนคริสต์ศักราชช่วงเวลาที่จีนเริ่มก่อตัวเป็นรัฐที่มีรากฐานการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมราชวงศ์โจว ประมาณ 1,122 – 256 ปีก่อนคริสต์ศักราชซึ่งแบ่งออกเป็นราชวงศ์โจวตะวันตก และราชวงศ์โจวตะวันออกเมื่อราชวงศ์โจวตะวันออกเสื่อมลง เกิดสงครามระหว่างเจ้าผู้ครองรัฐต่าง ๆในที่สุดราชวงศ์ฉิน รวบรวมก่อตั้งราชวงศ์ช่วงเวลา 221 – 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช และสมัยราชวงศ์ฮั่น 206 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 220) เป็นสมัยที่รวมศูนย์อำนาจจนเป็นจักรพรรดิ

ประวัติศาสตร์จีนสมัยกลาง

อารยธรรมมีการปรับตัวเพื่อรับอิทธิพลต่างชาติเข้ามาผสมผสานในสังคมจีน ที่สำคัญคือพระพุทธศาสนาประวัติศาสตร์จีนสมัยกลางเริ่มสมัยด้วยความวุ่นวายจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น เรียกว่าสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 220 – ค.ศ. 589) เป็นช่วงเวลาการยึดครอบของชาวต่างชาติ การแบ่งแยกดินแดนก่อนที่จะมีการรวมประเทศในสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 – ค.ศ. 907) ช่วงเวลานี้ประเทศจีนเจริญรุ่งเรืองสูงสุดก่อนที่จะแตกแยกอีกครั้งในสมัยห้าราชวงศ์กับสิบรัฐ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 979) ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 – ค.ศ. 1279) สามารถรวบรวมประเทศจีนได้อีกครั้งและมีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมจนกระทั่งชาวมองโกลสามารถยึดครองประเทศจีนและสถาปนาราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1260 – ค.ศ. 1368)

ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่

ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่เริ่มใน ค.ศ. 1368 เมื่อชาวจีนขับไล่พวกมองโกลออกไป แล้วสถาปนาราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) ขึ้นปกครองประเทศจีน และถูกโค่นล้มอีกครั้งโดยราชวงศ์ซิง (ค.ศ. 1664 – ค.ศ. 1911) ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ซิงเป็นเวลาที่ประเทศจีนถูกคุกคามจากชาติตะวันตกและจีนพ่ายแพ้แก่อังกฤษในสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1839 – ค.ศ. 1842) จนสิ้นสุดราชวงศ์ใน ค.ศ. 1911

ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์จีนสมัยปัจจุบันเริ่มต้นในค.ศ. 1911 เมื่อจีนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐโดย ดร.ซุน ยัตเซน (ค.ศ. 1911 – ค.ศ. 1949) ต่อมาพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปฏิวัติและได้ปกครองจีนจึงเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1949 จนถึงปัจจุบัน

2.การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อินเดีย

ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ

ประวัติศาสตร์อินเดียโบราณตั้งแต่สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยมีพวกดราวิเดียน เมื่อ 2,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งอารยธรรมแห่งนี้ล่มสลายลงเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์สักราชเมื่อชนชาวอารยันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและก่อตั้งอาณาจักรหลายอาณาจักรในภาคเหนือของอินเดียมีการก่อตั้งศาสนาต่าง ๆ เรียกว่า สมัยพระเวท (1,500 – 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยมหากาพย์ (900 – 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)ต่อมาอินเดียรวมตัวกันในสมัยราชวงศ์มคธ (600 – 300 ปีก่อนคริสต์ศักราช)และมีการรวมตัวอย่างแท้จริงในสมัยราชวงศ์เมารยะ (321 – 184 ปีก่อนคริสต์ศักราช)ต่อมาราชวงศ์เมารยะล่มสลายอินเดียก็เข้าสู่สมัยแห่งการแตกแยกและการรุกรานจากภายนอกคือจากพวกกรีกและพวกกุษาณะระยะเวลานี้เป็นสมัยการผสมผสานทางวัฒนธรรมก่อนที่จะรวมเป็นจักรวรรดิได้อีกครั้งใน ค.ศ. 320 โดยราชวงศ์คุปตะ (สมัยคุปตะ ค.ศ. 320 – ค.ศ. 535)

ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง

อินเดียเข้าสู่สมัยกลาง ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1525 สมัยนี้เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวายทางการเมืองและการรุกรานจากต่างชาติ โดยพาะชาวมุสลิมสมัยกลางจึงเป็นสมัยที่อารยธรรมมุสลิมเข้ามามีอิทธิพลในอินเดียสมัยกลางแบ่งได้เป็นสมัยความแตกแยกทางการเมือง (ค.ศ. 535 – ค.ศ. 1200) และสมัยสุลต่านแห่งเดลลี (ค.ศ. 1200 – ค.ศ. 1526) หลักฐานประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง ได้แก่ ประวัติของซาห์ ฟีรุส งานวรรณกรรมของ     อะมีร์ คุสเรา

ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่

พวกโมกุลได้ตั้งราชวงศ์โมกุลถือว่าสมัยโมกุล (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1857) เป็นการเริ่มต้นสมัยใหม่จนกระทั่งอังกฤษเข้าปกครองอินเดียโดยตรงใน ค.ศ. 1585 จนถึง ค.ศ. 1947 อินเดียจึงได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษภายหลังได้รับเอกราชและถูกแบ่งออกเป็นประเทศต่าง ๆ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถานและบังคลาเทศ (ค.ศ. 1971) ประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมอินเดียขณะที่ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูได้ยึดมั่นในศาสนาของตนเองมากขึ้นและเกิดความแตกแยกในสังคมอินเดีย ดังนั้นประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่สามารถแบ่งได้เป็นสมัยราชวงศ์โมกุล    (ค.ศ. 1526 – ค.ศ. 1858) สมัยอังกฤษปกครองอินเดีย (ค.ศ. 1858 – ค.ศ. 1947)