อุบาสกธรรม 5 ใช้ในชีวิตประจําวัน

ธรรมของอุบาสกที่ดี, สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม

๑. มีศรัทธา

๒. มีศีล

๓. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ; ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวังผลจากการกระทำ และการงาน มิใช่จากโชคลาง และถือสิ่งที่ตื่นกันว่าของขลังศักดิ์สิทธิ์

๔. ไม่แสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพุทธศาสนา

๕. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา

องฺ.ปญฺจก. ข้อ ๑๗๕

ที่มาแห่งสูตร

ธรรม ๕ อย่างนี้ ในบาลีที่มาเรียกว่า ธรรมของอุบาสกรัตนะ (อุบาสกแก้ว) หรืออุบาสกปทุม (อุบาสกดอกบัว), (เพราะเป็นอุบาสกที่ถึงพร้อมด้วยธรรม ๕ ข้อนี้), ใน องฺ.ปญฺจก. ข้อ ๑๗๕ ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายและยังได้แสดงถึงธรรม ๕ ที่ทำให้อุบาสกเป็นผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด คือ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ กระทำความสนับสนุนในศาสนาอื่น ๑

อุบาสกที่ดีนั้น นอกจากจะต้องประกอบด้วยอุบาสกธรรม ๕ นี้แล้ว ยังต้องประกอบในสัมมาชีพเว้นวณิชชา ๕ และอบายมุข ๖ เป็นต้น, แก้วคือ อุบาสก เพราะทำให้เกิดความยินดีแก่พุทธบริษัททั้ง ๔ จึงชื่อว่า อุบาสกแก้ว, บัวหลวงคืออุบาสก ด้วยความงาม ด้วยคุณ และความเป็นผู้มีกลิ่นหอมไปด้วยชื่อเสียงดี จึงชื่อว่า อุบาสกบัวหลวง, แม้ในที่นี้จะแสดงถึงอุบาสก แต่ก็พึงทราบว่า คุณสมบัติเหล่านี้เป็นของอุบาสิกาด้วยเช่นกัน (สารตฺถ. ๑/๖๓๖-๙)

ที่มา; ธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก

เรียบเรียงโดย อาจารย์ปัญญา ใช้บางยางและคณะ

ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงกัลยาณมิตรท่านหนึ่งที่เขียนเข้ามาเพื่อสื่อสารว่า

อุบาสกธรรม 5 ใช้ในชีวิตประจําวัน

วันนี้ต้องขออนุญาตเข้ามาโพสต์ถึงหน้าจอ รู้สึกซาบซึ้งและดีใจทุกครั้งที่คิดขึ้นมาได้ในข่าวสารที่ได้รับ ชีวิตคนเราประมาทไม่ได้แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน ใครบ้างจะรู้ว่าชีวิตนั้นเป็นชาติๆ หนึ่งของพระโพธิสัตว์ 
วันนี้เรามีบุญ เกิดเป็นมนุษย์ ในใจบอกตนเสมอว่า อย่าได้ประมาทกับผู้ร่วมทางเส้นนี้ ใครเลยจะรู้ว่าบุคคลใดคืออริยะ บางครั้งใกล้แค่เอื้อมแต่เราไม่รู้ตัว เพื่อความไม่ประมาทในการติดเศษกรรม เราพึงพยายามย้อนมองจิตเราทุกขณะ อย่าส่งจิตออกนอกและเพ่งโทษผู้อื่น 
พึงสังเกตง่ายๆ อีกข้อ หากท่านผู้ใดมีความเพียรต่อเนื่อง กริยาอ่อนนุ่ม มีเมตตา พึงระลึกนะคะว่าท่านผู้นั้นคือนักเดินทาง และเราพึงทำความไม่ประมาทในท่านผู้นั้น
อนุโมทนากับคุณน้องค่ะ
รัก
พี่ก้อย

บนเส้นทาง...

ที่เราเดินอยู่ตามท้องถนน

เรานั้นไม่อาจรู้ได้ว่า บุคคลใดคืออริยะบุคคล บุคคลใดคือปุถุชน...บุคคลใดคือเดรัจฉานในร่างของคน...นอกจากเราจะได้สัมผัสถึงจิตใจของบุคคลนั้น

บางครั้งเราอาจไปติดเพียงเครื่องแบบที่นุ่มห่ม หาได้เกิดปัญญาแห่งการเรียนรู้เข้าไปในจิตใจ เราจึงด้อยปัญญาที่แยกแยะหรือทำความเข้าใจ

อุบาสกรัตนะ หลายท่านได้เคลื่อนสภาวะจิตเข้าสู่ความเป็นอริยะบุคคล...ซึ่งความเป็นอริยะบุคคลนั้นอาจมีอยู่ในรูปของนักบวชหรือฆราวาสได้

ดังนั้นเพื่อความเป็นผู้ไม่ประมาท ...

เราจึงพึงนอบน้อมและสำรวมกาย วาจา ใจของเราต่อบุคคลทุกผู้ทุกนามโดยที่ไม่ต้องรอให้ทราบว่าใครคือ อริยะบุคคล

...

๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๕

อุบาสกธรรม 5 ใช้ในชีวิตประจําวัน

เราทั้งสองกำลังฝึกฝนการใช้ชีวิตแบบทวนกระแสโลก...

อุบาสกธรรม

อุบาสกธรรม 5 ใช้ในชีวิตประจําวัน

คุณสมบัติของอุบาสก มี 5 ประการ

         1. ประกอบด้วยศรัทธา คือ เชื่อในการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อในกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดีจริง ทำชั่วได้ชั่วจริง

         2. มีศีลบริสุทธิ์ คือ รักษาศีล 8 หรืออุโบสถศีลให้สะอาดบริสุทธิ์

         3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ไม่เป็นคนหูเบาเชื่อง่าย

       4. ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา คือ  ไม่ปฏิบัติกิจหรือพิธีกรรมต่าง ๆ อันไม่ใช่หลักพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

        5. บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา  คือ  แสวงหาหรือเข้าร่วมกิจกรรมงานบุญในพระพุทธศาสนา  เช่น ทำทาน รักษาศีล เป็นต้น


ผู้มีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
      เราเกิดมาเพื่อสร้างบารมี การสร้างบารมีเป็นงานที่แท้จริงของมวลมนุษยชาติ พระบรมโพธิสัตว์ในกาลก่อนท่านก็ทำอย่างนี้ คือสร้างบารมีไปจนกว่าบารมีจะเต็มเปียม ได้บรรลุจุดหมายปลายทางของชีวิต ดังนั้นเราเกิดมาภพชาติหนึ่ง ก็เพื่อสั่งสมบุญบารมีเท่านั้น บุญที่เราได้ทำไว้ดีแล้ว จะเป็นเสบียงในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดของชีวิต คือการทำใจให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะไปสู่อายตนนิพพาน ได้เข้าถึงบรมสุขอันเป็นนิรันดร์

         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องความศรัทธาไว้ว่า

         "สทฺธีธ วิตฺต ปุริสฺส เสฏฺฐํ

         ศรัทธาเป็นทรัพย์อันประเสริฐของคนในโลกนี้

         สทฺธาสาธุ ปติฏฺฐิตา

         เมื่อศรัทธาแน่วแน่แล้ว ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ

         สทฺธาย ตรติ โอฆํ

         บุคคลจะข้ามโอฆะได้ ด้วยศรัทธา"

     
      ความศรัทธาเป็นทางมาแห่งความดีทั้งหลาย ผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสในสิ่งที่ควรบูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเลื่อมใสในพระรัตนตรัย จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีทรัพย์อันประเสริฐ ถ้าหากว่ามีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหว บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นผู้ไม่ขัดสน ปรารถนาสิ่งใดจะสำเร็จประโยชน์ทุกเรื่อง จะเป็นผู้ที่เจริญอยู่ในกุศลธรรม และสามารถข้ามพ้นห้วงน้ำคือกิเลสอาสวะทั้งหลาย ไปสู่ฝังพระนิพพานได้

      เมื่อครั้งสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงประกาศพระศาสนาอยู่นั้น ผู้มีบุญท่านหนึ่งอาศัยอยู่ในกรุงหงสาวดี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดา และเห็นพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งอุบาสกท่านหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายที่มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยโดยไม่หวั่นไหว เมื่อได้เห็นดังนั้น ท่านเกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง จึงตั้งความปรารถนาที่จะเป็นอุบาสกผู้เลิศอย่างนั้นบ้าง

      ท่านจึงตั้งใจสั่งสมบุญบารมีอย่างเต็มที่ นับแต่ชาตินั้นเป็นต้นมา ด้วยบุญนั้นได้ส่งผลให้ท่านเวียนว่ายแต่ในสุคติภูมิ คือละจากโลกมนุษย์แล้วก็ไปบังเกิดในโลกสวรรค์ ได้เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ เมื่อจุติจากสวรรค์ก็ลงมาสร้างบารมีต่อในโลกมนุษย์ วนเวียนอยู่ในสองภูมินี้เท่านั้น ตลอดระยะเวลาหนึ่งแสนกัป จนมาถึงสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ท่านได้มาเกิดในตระกูลของมหาเศรษฐี มีชื่อว่า ปุรพันธะ เป็นผู้มีจิตใจดีงามขวนขวายในการทำความดีอย่างเนืองนิจ ในตอนแรก ๆ ท่านมีความเลื่อมใสในนักบวชนอกพระพุทธศาสนา และได้ปวารณาตนเป็นอุปัฏฐากของนักบวชเหล่านั้น

      วันหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงแผ่ข่ายพระญาณตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นว่าปุรพันธะมีบุญที่จะได้บรรลุธรรม พระองค์จึงเสด็จไปบิณฑบาตที่หน้าบ้าน เมื่อปุรพันธะแลเห็นพระพุทธองค์ก็คิดว่า พระสมณโคดมทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์ และเป็นผู้ที่มหาชนรู้จักกันเป็นอย่างดี การที่เราจะไม่ไปกราบนมัสการพระพุทธองค์นั้น เป็นการไม่สมควร ท่านจึงเข้าไปกราบที่พระยุคลบาทของพระบรมศาสดาพร้อมทั้งรับบาตร แล้วอาราธนาพระองค์ให้เสด็จเข้าไปในเรือน

      เมื่อพระบรมศาสดาประทับนั่งบนพุทธอาสน์แล้ว ปุรพันธะได้ถวายภัตตาหารแด่พระองค์เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่พอเหมาะกับจริตอัธยาศัยของท่าน เมื่อจบพระธรรมเทศนา ปุรพันธะได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบันบุคคล จากนั้นพระองค์จึงเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร

       ช่วงสายของวันนั้นเอง พญามารคิดว่า ที่ผ่านมา ปุรพันธะอยู่ในอำนาจของเรา แต่ในวันนี้พระบรมศาสดาเสด็จไปในเรือนของเขา เขาจะได้บรรลุธรรมอันใดจากการฟังธรรมของพระพุทธองค์หรือเปล่าหนอ เราควรตรวจสอบดูว่า ปุรพันธะพ้นจากอำนาจของเราหรือยัง ว่าแล้วพญามารก็เนรมิตกายให้เหมือนกับพระบรมศาสดาที่ทรงจีวร และถือบาตร เสด็จดำเนินโดยอากัปกิริยาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วไปยืนอยู่ที่ใกล้ประตูบ้านของปุรพันธะ

     ปุรพันธะเมื่อเห็นพระบรมศาสดาเสด็จกลับมาอีก จึงคิดว่า ธรรมดาการเสด็จไปอย่างไม่แน่นอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี เหตุไรหนอพระองค์จึงเสด็จกลับมาอีกท่านจึงรีบเข้าไปกราบพร้อมทั้งทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วเหตุใดจึงเสด็จกลับมาอีก พระเจ้าข้า" พญามารกล่าวว่า "ดูก่อนปุรพันธะ ตอนที่เราแสดงธรรมยังไม่ทันได้พิจารณา จึงแ ดงธรรมแก่เธอขาดไปข้อหนึ่ง"

       ปุรพันธะคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกประหลาดอย่างยิ่ง ตามธรรมดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีวาจาเป็นหนึ่ง ไม่ตรัสวาจาผิดพลาด จึงเกิดความเฉลียวใจขึ้นมาคิดใคร่ครวญว่า ธรรมดามารทั้งหลาย เป็นข้าศึกของพระพุทธองค์สงสัยบุคคลผู้นี้ ต้องเป็นมารแน่นอน จึงถามกลับไปว่า "ท่านเป็นมารหรือ" ถ้อยคำที่อริยสาวกกล่าวนั้น เป็นเสมือนหนึ่งขวานอันคมกริบที่ฟาดฟันพญามาร พญามารตอบว่า "ใช่แล้ว เราคือพญามาร เรามาที่นี่เพื่อทำศรัทธาของท่านให้หวั่นไหว"

       ปุรพันธะชี้หน้าพญามารด้วยใจที่ไม่หวาดหวั่น พร้อมกับกล่าวว่า "เจ้ามารร้าย ผู้มีใจอำมหิต อย่าว่าแต่เจ้าผู้เดียวเลย แม้พวกมารเช่นเจ้าตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ไม่อาจทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหวได้ เจ้าจงไปให้พ้นประตูเรือนของเราเดี๋ยวนี้" ท่านขับไล่พญามารออกไปด้วยความกล้าหาญ เมื่อมารฟังคำของอริยสาวกแล้ว ก็ถอยห่างออกไปเรื่อย ๆ ไม่อาจพูดจาโต้ตอบในที่สุดก็อันตรธานหายไปในที่นั้นเอง

     ครั้นถึงเวลาเย็น ท่านไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลเรื่องราวที่ได้เจอกับพญามาร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสดับเรื่องราวทั้งหมดด้วยความปลื้มปีติ ทรงสรรเสริญชื่นชมอนุโมทนา และได้สถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ผู้เป็นเลิศกว่าเหล่าอุบาสกผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยไม่หวั่นไหว

      ดังนั้น ชาวพุทธที่แท้จริง ต้องเป็นผู้ไม่หวั่นไหวดังเช่นท่านปุรพันธะ ที่มีศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ซึ่งข้อนี้เป็นคุณสมบัติประการแรกของสาธุชนในพระพุทธศาสนา คือจะต้องไม่คลอนแคลนในคำสอนของพระบรมศาสดา รู้จักใช้สติและปัญญา พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจในทุกสิ่งที่ทำ เพราะถ้าหากไม่ใคร่ครวญให้ดีอาจก่อให้เกิดความเสียหายตามมาในภายหลังได้

      การเป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์ตามพระพุทธประสงค์นั้น นอกจากจะเป็นผู้มีความศรัทธามั่นในพระรัตนตรัย จนได้เข้าถึงพระรัตนตรัยแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้มีศีล มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ เพราะศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมหอมฟุ้งไปทั่วสารทิศ ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยที่แท้จริงจะต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคงในการสร้างความดี ไม่เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เมื่อมีเรื่องราวเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ทั้งดีหรือไม่ดีก็ตาม ต้องทำใจให้เป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ยินดียินร้าย หรือหวั่นไหวไปตามกระแสโลก ถ้าเราไม่หวั่นไหวตามกระแสโลกโลกนี้ก็จะเป็นไปตามใจของเรา

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 007 พุทธธรรมทีปนี 1
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree