แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรียกสั้นๆว่า CSR นั้นช่วยให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมๆกับภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร ที่เป็นแนวคิดสำคัญในการทำธุรกิจสมัยนี้ด้วยการที่องค์กรทำสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง ที่นอกเหนือจากเรื่องของรายได้แต่ยังแสดงออกถึงความใส่ใจในสังคมกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสร้างให้เกิดความน่าเชื่อถือจากกลุ่มผู็บริโภคได้เป็นอย่างดี

CSR กลายเป็นหนึ่งกลยุทธ์ในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน ที่ไม่ใช่แค่เพียงการสร้างผลกำไรแต่ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อส่วนรวมทั้งชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกระแสของการทำเพื่อสังคมนั้นก็ได้กลายเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญและสนับสนุนองค์กรที่ทำประโยชน์ให้กับสังคมในทุกๆมิติ การทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้นจะช่วยสร้างให้เกิดความไว้ใจ ความน่าเชื่อถือ สร้างภาพลักษณ์ และการสนับสนุนในการทำสิ่งต่างๆเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่องค์กรใหญ่ๆหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เราลองมาดูตัวอย่างองค์กรระดับโลกว่าเค้ามีวิธีทำ CSR กันอย่างไร

TOMS – One for One Campaign

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

Source: jamesgood.co.uk/blog/exceptional-heart-sole

รองเท้าแบรนด์ TOMS นับเป็นแบรนด์รองเท้าที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่มีชื่อเสียงระดับโลกกับแคมเปญ One for One หรือซื้อรองเท้า 1 คู่ TOMS จะบริจาค 1 คู่ ซึ่งเกิดจาก Blake Mycoskie ผู้ก่อตั้งที่บังเอิญไปพบเห็นเด็กๆชาวอาเจนตินาเติบโตในชุมชนโดยไม่มีรองเท้าใส่ เลยเกิดเป็นความคิดดีๆในการทำรองเท้าคู่ใหม่ 1 คู่ ให้กับเด็กๆที่ขาดแคลนเมื่อมีลูกค้าซื้อรองเท้าของ TOMS 1 คู่

สิ่งที่ TOMS ทำนั้นเรียกได้ว่าสร้างให้เกิดผู้สนับสนุนในแนวคิดของการทำเพื่อผู้คนในสังคมที่ด้อยโอกาส จน ณ ปัจจุบัน TOMS ได้มอบรองเท้าให้กับเด็กทั่วทุกมุมโลกไปกว่า 60 ล้านคู่แล้ว แต่ว่าความพยายามของ Mycoskie ไม่ได้หยุดแค่รองเท้าเท่านั้น เค้ายังเดินหน้ามุ่งช่วยเหลือเด็กๆและชุมชนทั่วโลก อาทิ โครงการทำแว่นตาเพื่อการมองเห็นที่ดีขึ้นกับคนกว่า 400,000 คน โครงการส่งมอบน้ำสะอาดกับ 6 ประเทศ รวมถึงโครงการสนับสนุนบริการการคลอดที่ปลอดภัยด้วยการจัดอบรมผู้ดูแลการคลอดที่มีทักษะ และจัดจำหน่ายชุดเครื่องมือต่างๆที่ช่วยให้ผู้หญิงคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย


XEROX – Community Involvement Program

หนึ่งในธุรกิจระดับโลกด้านไอทีแบรนด์ XEROX สัญชาติอเมริกัน ที่ทำธุรกิจขายเครื่องปริ๊น เครื่องถ่ายเอกสาร และบิสิเนสโซลูชั่น ด้านอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับดิจิทัล เทคโนโลยี ได้ถูกจัดอันดับอยู่ใน 100 บริษัทที่ดีที่สุดในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม มาเป็นปีที่ 12 ติดต่อกัน จากนิตยสาร Corporate Responsibility Magazine

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

Source: xerox.com/en-us/about/corporate-social-responsibility

XEROX ได้ริเริ่มโครงการ CSR หลายๆโครงการโดยได้ทำโครงการการมีส่วนร่วมกับชุมชนขึ้น ด้วยการตั้งกองทุนรวมถึงการสนับสนุนให้พนักงานในประเทศต่างๆ เสนอโครงการที่สร้างความแตกต่างให้ชุมชนแต่ละแห่งดีขึ้น และออกไปทำกิจกรรมเหล่านั้น โดยตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา XEROX ได้สนับสนุนโครงการมามากกว่า 18,000 โครงการ และมีพนักงานกว่า 400,000 คนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ สาเหตุที่ XEROX ตั้งโครงการนี้ขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่าคนที่อยู่ในชุมชนจะรู้ว่าสิ่งที่ชุมชนนั้นต้องการอะไรมากที่สุด เพื่อที่จะได้ทำประโยชน์อย่างสูงสุดให้เกิดขึ้นกับชุมชนแต่ละแห่ง โดยในแต่ละโครงการก็จะอนุญาตให้พนักงานลางานเพื่อออกไปทำความดีโดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ

นอกจากนั้นก็ยังมีกิจกรรมอื่นๆ เช่น โครงการธนาคารอาหาร การเยียวยาผู้ประสบภัยจากภัยพิบัติ โครงการรณรงค์เรื่องมะเร็งทรวงอกในเมืองต่างๆ โครงการ You Print One We Plant One และอื่นๆอีกมากมาย


Levi Strauss – Workers Well Being

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

Source: levistrauss.com/how-we-do-business/worker-well-being

แบรนด์กางเกงยีนส์ Levi ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ให้ความสำคัญการความเป็นอยู่ของพนักงาน ที่มุ่งเน้นและทุ่มเทกับการส่งเสริมให้พนักงานมีฐานะทางการเงินที่ดี มีสุขภาพที่ดี รวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่กับครอบครัวที่ดีขึ้น จึงเกิดเป็นโครงการ Workers Well Being ในปี 2011 จากเจตนาของ Chip Bergh ซีอีโอ ของ Levi ที่ตั้งใจจะเปลี่ยนมาตรฐานของการทำงานในอุตสาหกรรมมามุ่งเน้นในเรื่องคุณค่าและคุณภาพชีวิตของพนักงาน

บริษัทเลยริเริ่มการถามความต้องการของพนักงานที่แท้จริงด้วยคำถามที่ว่า อะไรที่จะทำให้เกิดการทำงานอย่างราบรื่น มีการติดต่อสื่อสารที่ดี ทำให้สุขภาพดี และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากแนวทางการทำ CSR แบบอื่นๆที่บริษัทจะเน้นวางรูปแบบกิจกรรมมากกว่าการสอบถามความคิดเห็นจากพนักงาน และหลังจากได้ความคิดเห็นจากพนักงานแล้ว Levi ก็เริ่มพูดคุยและสร้างพันธมิตรกับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และ NGO’s หลายแห่งเพื่อเติมเต็มความต้องการของพนักงาน

นับตั้งแต่ปี 2011 โครงการ Workers Well Being ได้ขยายไปถึง 17 ประเทศ และเติมเต็มความต้องการของพนักงานไปได้กว่า 190,000 คน และสามารถเพิ่ม ประสิทธิภาพในการการผลิตสินค้าได้กว่า 65% ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับความยั่งยืนในการทำธุรกิจ และการสร้างประโยชน์ให้กับทุกๆกระบวนทำงาน สามารถช่วยให้ธุรกิจดีขึ้นได้ โดย Levi เองได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2020 จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าได้กว่า 80% และ ขยายไปสู่พนักงานกว่า 300,000 คนในปี 2025


Starbucks – C.A.F.E. Practices

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

Source: gcrmag.com

Starbucks เป็นแบรนด์หนึ่งที่ให้ความสำคัญกับจริยธรรมในการทำธุรกิจ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมตั้งแต่เริ่มธุรกิจในปี 1971 โดยได้เริ่มโครงการ Coffee and Farmer Equity (C.A.F.E.) ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมคุณค่าของเกษตรกร ด้วยการกำหนดแนวทางในการเพิ่มคุณภาพของสินค้า ความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางดังกล่าวประกอบไปด้วย

  • กาแฟทุกแก้วต้องได้มาตรฐานด้านคุณภาพ
  • ปลูกฝังแนวคิดความยั่งยืน
  • สนับสนุนเกษตรกรในทุกรูปแบบ
  • ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ทั้งความปลอดภัย ความยุติธรรม มีมนุษยธรรม ไม่เหยียดเพศและเชื้อชาติ และยังสนับสนุนด้านสภาพแวดล้อมในการอยู่อาศัยของพนักงาน

Starbucks ยังได้ร่วมมือกับบริษัท Ethos Water ในการอำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภคด้วยการลำเลียงน้ำสะอาดสู่คนกว่า 1 พันล้านคนที่เข้าไม่ถึงแหล่งน้ำในการทำมาหากิน ซึ่งนับเป็นการคิดถึงสังคมก่อนตัวเองที่ทำให้ Starbucks แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆในตลาด จนกลายเป็นแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ของการให้ความสำคัญกับคุณค่าของชุมชนและสังคม

นอกจากนั้นยังมีอีกหลายๆกิจกรรมที่ Starbucks ทำ เช่น

  • การจ้างทหารผ่านศึกจำนวน 25,000 นาย ภายในปี 2025 ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
  • ริเริ่มการจ้างงานคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งจบการศึกษา เพื่อช่วยให้นักศึกษาที่จบใหม่มีงานทำเป็นที่แรก
  • ร่วมกับค่ายผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ ในการจ้างงานผู้ลี้ภัยให้ได้ 10,000 คน ภายในปี 2022

LEGO – Build the Change

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

Source: tonsberg-og-faerder.vestfoldbibliotekene.no

โครงการ Build the Change ของแบรนด์ตัวต่อระดับโลก LEGO นั้นเกิดขึ้นจากไอเดียของเด็ก 9 ขวบ ที่ส่งจดหมายมาที่บริษัท แล้วบอกกับ LEGO ว่า “เมื่อผมโตขึ้น ผมอยากให้ลูกๆของผมเติบโตในโลกที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีงาม” จึงกลายเป็นไอเดียในการทำโครงการระดับโลกเพื่อให้เด็กๆเสนอไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ ในการทำให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น

Build the Change เป็นกิจกรรมระดับโลกที่เปิดโอกาสให้เด็กๆเสนอไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการรวมกลุ่มเด็กๆผ่านการจัดอีเว้นท์ในแต่ละประเทศ และให้เด็กทุกคนสร้างสรรค์ผลงานการต่อตัวต่อตามความคิด ส่งเสริมให้เด็กๆเกิดความสามัคคีและช่วยเหลือกัน ตลอดจนแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และให้เขียนรายละเอียดอธิบายถึงแนวคิดพร้อมนำเสนอผลงาน โดยแต่ละที่ก็จะมีแนวคิดหรือ Theme ที่แตกต่างกันออกไป เช่น โรงเรียนในฝัน เพื่อนบ้านน่าอยู่ เป็นต้น

นอกเหนือจากโครงการ Build the Change แล้ว LEGO ก็ยังมีกิจกรรมเพื่อสังคมอีกหลายอย่าง เช่น

  • การวางแผนลงทุนกว่า 150 ล้านเหรียญเพื่อเตรียมการรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและการลดปริมาณของเสีย ด้วยการลดขนาดบรรจุภัณฑ์ ลงทุนในพลังงานทางเลือก และการใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการผลิตรวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์

BMW – The Schools Environmental Education Development Project

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

Source: bmwgroup

BMW แบรนด์รถยนต์ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้ความสำคัญกับโครงการเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรถยนต์ และเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับท้องถนน รวมไปถึงความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเพื่อนมนุษย์ และหนึ่งในนั้น คือ โครงการ “The Schools Environmental Education Development Project” หรือ โครงการให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและพัฒนาการศึกษาในสถานศึกษา ที่เริ่มต้นมาเมื่อหลายสิบปีและยังคงทำอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ โดย ณ สิ้นปี 2019 ก็มีนักเรียนกว่า 400,000 คน เข้าร่วมโครงการและมีเป้าหมายให้ได้ถึง 1 ล้านคนในปี 2025

โครงการดังกล่าวได้สร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์ของ BMW ในฐานะแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่ทำให้กิจกรรมเพื่อสังคมของ BMW ในอีกหลายๆกิจกรรมประสบความสำเร็จ เช่น

  • Young Engineers Dream
  • Tech4Kids
  • BMW Scholars
  • Vehicles for research and education
  • BMW Joy Home
  • Livelihood for Youth
  • Kickstart for Life
  • Junior Campus
  • Robot Kids Eduacation
  • Safety Training
  • Be Safe Be Smart
  • Care4Water

Coca-Cola

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

Source: pinterest.com/pin/296604325452044832

แบรนด์น้ำดำอันดับหนึ่งอย่าง Coca-Cola มีการใช้รถบรรทุกเพื่อขนส่งสินค้าและปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่า 3.7 ล้านตัน ที่ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก และด้วยการให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม Coca-Cola ทำการลงทุนครั้งใหญ่ทั้งระบบ Supply Chain ในการศึกษาการใช้พลังงานทางเลือกกับรถบรรทุกทุกๆคันเพื่อลดปริมาณมลพิษ ด้วยความตั้งใจในการลดปริมาณคาร์บอนลง 25% ภายในปี 2020

นอกจากการตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนแล้ว กิจกรรมเพื่อสังคมของ Coca-Cola ยังมีอีกหลากหลายอย่าง เช่น

  • การสนับสนุนความสามารถของผู้หญิง ด้วยการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อสนับสนุนการเป็นผู้ประกอบการ มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการ 5 ล้านคนภายในปี 2020 โดยการฝึกอาชีพ สอนทักษะพิเศษ การสร้างเครือข่ายและการเป็นโค้ช รวมถึงการช่วยเหลือทางการเงิน

Ford Motor Company

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ตัวอย่าง

Source: punnajit.com/ford-fiesta-ecoboost-review

แบรนด์รถยนต์สัญชาติอเมริกันให้ความสำคัญกับการลดปริมาณไอเสียด้วยการพัฒนาเครื่องยนต์ EcoBoost เพื่อประสิทธิภาพในการจัดการด้านพลังงาน และยังวางแผนในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดภายในปี 2022 ด้วยงบลงทุนกว่า 11 พันล้านเหรียญ นอกจากนั้นในตัวแทนขายในประเทศอเมริกาบางแห่งก็เริ่มนำพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการบวนการทำงานเพื่อลดมลภาวะและปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางความยั่งยืนของ Ford นั้น ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ยกระดับเพื่อโลกที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนอนาคต โดยมีโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกกว่า 100 โครงการ

ทั้งหมดเป็นแค่ตัวอย่าง CSR ขององค์กรระดับโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมทำให้โลกใบนี้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น


Reference

https://www.prezly.com/academy/relationships/corporate-social-responsibility/10-examples-of-exemplary-csr-initiatives
https://digitalmarketinginstitute.com/blog/corporate-16-brands-doing-corporate-social-responsibility-successfully
https://blog.involvesoft.com/5-examples-of-socially-responsible-companies

Cover photo by Alicia Jo McMahan from FreeImages

แนวคิดการตลาดเพื่อสังคมมีอะไรบ้าง

การตลาดเพื่อสังคม หรือ Social Marketing คือแนวคิดที่จะใช้การตลาดเข้าไปจูงใจให้ผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อมอบประโยชน์ต่อตัวผู้บริโภคหรือสังคม และไม่เน้นการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งต่างการกลยุทธ์การตลาดแบบอื่นที่มักจะเน้นการสร้างกำไรหรือเพิ่มยอดขายนั่นเอง

กิจกรรมการตลาดเพื่อสังคม มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างของการตลาดทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ คือ การจัดหาสินค้าและบริการมาจำหน่ายตามกำลังซื้อของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ (เช่น การให้ส่วนลดพิเศษ หรือจำหน่ายในราคาทุน) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับความต้องการในช่วงเวลาของการฟื้นตัว สถาบันการเงินออกผลิตภัณฑ์เป็นการเฉพาะสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ บริษัทฝึก ...

แนวความคิดทางการตลาดแบบใด ที่มีประโยชน์แก่สังคม

แนวคิดการตลาดแบบ Social marketing ที่จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อองค์กร ของ Philip Kotler จะไม่เน้นการสร้างแบรนด์ให้คนรักแบรนด์ แต่เน้นการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อตนเองและสังคม จึงทำให้ผู้คนทั้งภายในและภายนอกองค์การ รวมทั้งผู้บริโภคให้ความสนใจจนกลายเป็นกระแสของประทำการตลาดแบบ Social Marketing.

การตลาดมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร

การตลาดมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคม คือ 1. สร้างร่ายได้ให้กับประเทศ เพราะการตลาดก่อให้เกิดการซื้อ-ขายสินค้า ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ 2. ทำให้มีการลงทุนและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ประชาชนมีงานทำ และส่งผลทำให้เพิ่มอำนาจซื้อให้กับประชาชน