กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
หมายถึง การพูดเชิญชวน เกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา มีความคิดเห็นคล้อยตาม และปฏิบัติตาม เช่น การพูดโฆษณา การพูดหาเสียง การพูดเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม การพูดชักจูงให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ การพูดปลุกเร้าให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
ผู้พูดที่ดีย่อมจะพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความเชื่อไปในทางที่ดีอันจะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม โดยการใช้ความสามารถในการพูดชี้แนะให้ผู้ฟังเห็นสิ่งดีงาม ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งนั้น และช่วยกันรักษาสิ่งที่ดีงามนั้นไว้ เช่น พูดเชิญชวนให้รักภาษาไทย ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง พูดให้หันมานิยมรับประทานอาหารไทยแทนอาหารฟาสต์ฟูดของต่างชาติ พูดแนะนำให้เห็นความสำคัญของการเกณฑ์ทหารเพื่อรับใช้ชาติ
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
การพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเชื่อถือหรือกระทำตามนั้น ควรจะต้องเป็นไปโดยความสมัครใจหรือความยินยอมพร้อมใจของผู้ฟัง มิใช่การบีบบังคับหรือการใช้อุบายอย่างอื่น เช่น แจกเงินให้รางวัลหรือการข่มขู่ ทั้งนี้เพราะความเชื่อที่ถูกบังคับให้เชื่อหรือทำตามนั้น เป็นความเชื่อที่อยู่ได้ไม่นาน ย่อมสลายหายไปเมื่อขาดแรงจูงใจ การพูดโน้มน้าวใจที่ดีและมีประสิทธิภาพ จึงไม่ควรบังคับ แต่จะต้องพูดให้ผู้ฟังตระหนักถึงความเป็นจริง แล้วเกิดความเชื่อถือที่จะกระทำตามด้วยความสมัครใจ
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
กลวิธีการโน้มน้าวใจ
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
1. แสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล
การแสดงเหตุผลเป็นส่วนหนึ่งในการจูงใจ ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจ ทำให้เกิดความเชื่อถือและคล้อยตามได้ การให้เหตุผลจะต้องสมเหตุสมผล
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
2. เร้าให้เกิดความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
บุคคลที่มีความรู้สึกหรือมีอารมณ์ร่วมกัน เป็นแรงผลักดันสำคัญของมนุษย์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือประสบผลสำเร็จร่วมกัน
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
3. แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของผู้โน้มน้าวใจ
บุคลิกภาพหรือชื่อเสียงของผู้พูดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้การโน้มน้าวใจสัมฤทธิผล
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
4. เสนอแนะเพื่อโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจโดยการเสนอแนะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟัง ผู้อ่าน ใช้ความคิดก่อนที่จะเชื่อถือหรือกระทำตาม
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
https://my.dek-d.com/tinna-tin/blog/

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

การใช้ภาษาเพื่อการโน้มน้าวใจ

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
 การพูดโน้มน้าวประกอบด้วยคำ ๓ คำ คือ คำว่า การพูด การโน้มน้าว และ ใจ ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
 การพูดโน้มน้าวใจ หมายถึง การพูดเพื่อชักชวนให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ หรือเห็นด้วยทั้งทางความคิดและการกระทำ ตามความมุ่งหมายของการพูด

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
ความรู้เรื่องการโน้มน้าวใจ
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
การโน้มน้าวใจ คือ การพยายามเปลี่ยนแปลง ความเชื่อ ทัศนคติ การกระทำของบุคคล อื่นด้วยกลวิธีที่เหมาะสม ให้มีผลกระทบใจผู้นั้น จนเกิดการ ยอมรับและเปลี่ยนตามผู้โน้มน้าวใจต้องการ

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

วัตถุประสงค์ของการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจมีวัตถุประสงค์สำคัญโดยทั่วไป 4 ประการ คือ

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
1. เพื่อชักนำหรือโน้มน้าวใจให้เกิดความเชื่อถือ ศรัทธา ในเรื่องที่พูดหรือเขียน เช่น การชักนำให้ทำประกันชีวิต การโฆษณาคุณภาพของสินค้า การโน้มน้าวใจให้ศรัทธาในศาสนา เป็นต้น

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
2. เพื่อกระตุ้นหรือเร้าใจให้เห็นความสำคัญของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เช่น การพูดให้เห็นความสำคัญของป่าไม้ การพูดให้เห็นความสำคัญของวัฒนธรรมไทย การเขียนให้ประทับใจในการทำงานอย่างเสียสละของตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้น

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
3. เพื่อปลุกใจให้เกิดความสำนึกและปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
 เช่น การปลุกใจให้รักชาติ การปลุกใจใช้สินค้าไทย การปลุกใจให้รวมพลังสามัคคีเป็นต้น
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
 เช่น การปลุกใจให้รักชาติ การปลุกใจใช้สินค้าไทย การปลุกใจให้รวมพลังสามัคคีเป็นต้น

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
4. เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความเห็นคล้อยตามและนำไปปฏิบัติ
เช่น การโน้มน้าวใจให้รู้จักการวางแผนครอบครัว การโน้มน้าวใจให้รู้จักใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ การเชิญชวนให้เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

เนื้อหาที่ใช้ในการพูดโน้มน้าวใจ

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
ในการโน้มน้าวใจ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว การเลือกใช้เนื้อหาก็เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการพูดจะได้ผลหรือไม่อยู่ที่เนื้อเรื่อง เพราะฉะนั้นเนื้อหาที่ใช้ในการพูดโน้มน้าวใจ ควรมีลักษณะดังนี้

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
1. ใช้วิลีหรือประโยคที่สะดุดตา โอ่อ่า และเร้าความสนใจ เช่น สิ้นชาติ สิ้นแผ่นดินก็สิ้นคิด รักภาษาไทย ควรรู้รักษ์ภาษาไทย รู้บางสิ่งในทุกสิ่ง และรู้ทุกสิ่งในบางสิ่ง เกียรติยศและ ความซื่อสัตย์ เป็นต้น
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
2. ใช้คำขวัญ คำพังเพย หรือคำสอน เป็นจุดสนใจสำคัญในการพูด และแทรกข้อคิด ลงไปในเนื้อหาการโน้มน้าว เช่น สามัคคี คือพลัง ชาติจะรอดปลอดภัย ถ้าคนไทยสามัคคี สามัคคีกันไว้ ชาติไทยจะพัฒนา พุทธธรรมนำใจให้สงบ
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
3. ใช้เนื้อหาหรือชื่อที่เฉพาะเจาะจง ไม่ใช่ถ้อยคำที่มีความหมายกว้างเลือนลาง พยายามหลีกเลี่ยงการใช้เนื้อหาที่เป็นนามธรรมเข้าใจยาก ควรใช้ตัวอย่างเรื่องราวที่เป็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ผู้ฟังมองเห็นภาพได้ชัดเจน เช่น การกล่าวถึงบุคคลสำคัญของชาติไทย ก็กล่าวเชื่อเจาะจง เช่น วีรสตรีศรีสุริโยทัย สมเด็จพระนเรศวร กู้เอกราชชาติไทย รัชกาลที่ 2 ยุคทองของวรรณคดีไทย พ่อขุนรามคำแหง ท่านประดิษฐ์คิดอักษร เป็นต้น
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
4. ใช้สิ่งตรงกันข้ามเป็นเครื่องเร้าใจ เช่น ประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสน์ คนในชาติกลับขาดศีลธรรม สงครามหรือสันติภาพ ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป เยาวชนคนเก่ง นักเลงนักเรียน แด่มิตรและศัตรู เป็นต้น
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
5. ใช้การเร้าใจให้รุนแรง โดยใช้พื้นฐานความต้องการของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยความปลอดภัย ความต้องการทางสรีระ ความต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ จึงใช้ความต้องการพื้นฐานเหล่านี้มาเป็นเครื่องเร้าใจให้ความต้องการสัมฤทธิ์ผล เช่น ถนอมกายเจริญวัย ถนอมใจเจริญสุขหากขาดความสามัคคี ก็ไม่มีแผ่นดินจะอยู่ โอกาสและความยุติธรรม เราจะสู้ต่อไปจนกว่าจะได้ชัยชนะ เป็นต้น
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
6. ใช้เนื้อหาที่เร้าใจผู้ฟังเกิดจินตนาการอย่างแจ่มชัด จินตนาการที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกของผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเกิดความหวั่นไหว เช่น น้ำไหลเชี่ยวกราก บ้านเรือนจมอยู่ใต้กระแสน้ำ ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัย ขาดเครื่องนุ่งห่ม ขาดอาการและยา อากาศหนาวเหน็บ โปรดยื่นความช่วยเหลือเขา...โดยการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้แก่เขาเหล่านั้น...

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

ขั้นตอนในการพูดโน้มน้าวใจ
มี 5 ขั้นตอนดังนี้ คือ

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
1. ขั้นการสร้างความสนใจ ผู้พูดควรใช้ถ้อยคำ สำนวน ตลอดจนวิธีการพูดให้คมคายทำให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ และต้องการที่จะฟังต่อไป ท่วงทีท่าทางของผู้พูดต้องมีความกระตือรือร้น จะสามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในตัวผู้พูด
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
2. ขั้นสร้างความต้องการ เป็นการชี้ให้เห็นความจำเป็น หมายความว่า ผู้พูดพยายามให้ผู้ฟังตระหนักถึงความจำเป็นบางอย่างที่ต้องทำ หรือปฏิบัติตามที่ผู้พูด3
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
3. ขั้นสร้างความพอใจ เป็นขั้นที่ผู้พูดทำให้ผู้ฟังเห็นจริงตรงกับใจผู้ฟัง ผู้พูดจะเสนอข้อคิดต่างๆ ถ้าเป็นการโฆษณาสินค้า ก็จะเป็นการเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า "นี่เอง....คือผลิตภัณฑ์ที่ฉันต้องการ"
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
4. ขั้นสร้างมโนภาพ ผู้พูดพยายามใช้ถ้อยคำให้ผู้ฟังมองเห็นภาพมองเห็นประโยชน์หรือโทษของสิ่งนั้นๆ หรือผู้พูดพยายามยกตัวอย่าง อุปมาอุปไมย และเหตุการณ์ต่างๆ มาประกอบให้ผู้ฟังเห็นภาพตามที่ต้องการอย่างชัดเจน
กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย
5. ขั้นเรียกร้องให้เกิดการกระทำเป็นขั้นสุดท้ายที่ผู้พูดเรียกร้องให้ผู้ฟังเชื่อถือ เกิดความคิดเห็นคล้อยตาม และกระทำตามที่ผู้พูดต้องการ เช่น ตัดสินใจเลือกซื้อ

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย

http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter6-1.html

กลวิธีการโน้มน้าวใจ ภาษาไทย