การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย

การพูดและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

[Text : Photo]

   นางสาวพิมพร  ศะริจันทร์ (18  มีนาคม  2553)

หากพูดถึง สิ่งที่คนกลัวในลำดับต้น ๆ  หนึ่งในนั้นก็คือ   การพูดหน้าชั้นเรียนหรือการพูดในที่สาธารณะ  ทำไมต้องกลัวกันหนักหนา  จากประสบการณ์หรือสอบถามหลายคน คำตอบได้ตรงกันข้อหนึ่งที่ว่า การศึกษาบ้านเราให้โอกาสในการพูดและแสดงความคิดเห็นน้อยมาก ดังนั้น การฝึกการพูดหรือการนำเสนอ จึงถูกละเลยและบดบังโดยผู้สอนไม่เห็นความสำคัญ ส่งผลต่อผู้เรียนในขณะที่เรียนมาจนถึงการทำงานและการเข้าสังคมในที่สุด

จากคำตอบที่ว่า  การพูดหรือการนำเสนอ หากได้รับการฝึกฝน  ทดลองทำ  หลาย ๆ ครั้ง ก็จะเกิดทักษะ   ดังนั้น หากผู้อ่านเรื่องนี้อยู่ในฐานะเป็นผู้สอน  หัวหน้างานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ต้องการให้โอกาสกับผู้เรียน ลูกน้อง  ซึ่งการเปิดโอกาสก็มีตั้งแต่ ส่งเข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ  หรือการฝึกฝน และการให้คำปรึกษา แนะนำ ค่อยเป็นค่อยไป และหาเวทีให้กับกลุ่มคนเหล่านี้

การส่งเข้าฝึกอบรมเป็นเรื่องที่ดี เพราะได้รับการฝึกจากผู้มีประสบการณ์โดยตรง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่อง งบประมาณ และหากมีจำนวนมากก็เท่ากับปิดโอกาสบางคนไปในที่สุด ขณะเดียวกัน การฝึกอบรมแค่เพียงครั้งเดียว ก็ไม่เท่ากับได้ฝึกฝนบ่อย ๆ จนเกิดทักษะ มีคนคอยให้คำปรึกษาแนะนำ  ซึ่งมีวิธีการง่าย ๆ เบื้องต้น ที่สามารถลองปฏิบัติได้ ดังนี้

uuการถือไมโครโฟน    ไม่ควรจับไมโครโฟนสองมือ จะด้วยความประหม่าหรือสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองก็ตาม  ห้ามเคาะไมโครโฟนเพราะหากมีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สถานที่ไว้เรียบร้อยแล้วก็สามารถพูดได้เลย  ไม่เล่นสายไมโครโฟน บิดไปมา ทำให้ยิ่งรู้ว่า ผู้พูดมีอาการเขิน  ให้สังเกตระยะปากกับไมโครโฟนที่เหมาะสม  ห่างเกินไปเสียงก็เบา ใกล้ไปก็ก้องฟังไม่รู้เรื่อง

uuการยืน  การนำเสนอด้วยการยืนนั้น จะสามารถมองเห็นผู้ฟังได้ชัดเจนและเห็นภาพมุมกว้าง มีคำกล่าวที่ว่า หากคนพูดยืน คนฟังก็ยังนั่งฟัง แล้วคนพูดนั่ง คนฟังจะเป็นอย่างไร ให้ลองคิดเอาเอง  การยืนนั้นเท่ากับกวาดสายตาไปทั่ว ๆ ได้ รับรู้ว่า มีคนสนใจหรือไม่เพียงใด  หากเป็นผู้พูดที่มีประสบการณ์ก็สามารถเปลี่ยนเรื่องหรือหาวิธีการอื่นเพื่อมาจูงใจผู้ฟังให้หันมาสนใจผู้พูดอีกครั้งได้

uuการยกมือประกอบการพูด   หลายครั้งการยกมือประกอบการพูดก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังสนใจ การยกมือนั้นพยายามให้อยู่ในระดับต่ำกว่าหัวไหล่ และอย่าให้บ่อยจนเกินไป ความสนใจจะไปอยู่ที่มือของผู้พูดแทน นอกจากว่า ผู้พูดต้องการจะชี้ไปยังจุดที่ต้องการนำเสนอ อาจจะมีไม้บรรทัดหรือพ้อยเตอร์ช่วย   การใช้นิ้วชี้ผู้ฟังเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ ให้ใช้วิธีการฝายมือไปยังผู้ฟังแทน

uuเอกสารหรือโน้ต    หากผู้พูดเกรงว่า จะจำหัวข้อหรือรายละเอียดที่ต้องการเน้นย้ำประกอบกับภาพ/รูป/ข้อความที่นำเสนอ ก็สามารถตัดกระดาษขนาดพอดี ทำเป็นบัตรคำหรือการ์ด แล้วบันทึกข้อความกันลืมเอาไว้  การนำชีททั้งแผ่นแล้วพลิกไปมา ทำให้จุดสนใจไปอยู่ที่กระดาษ แล้วยังแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้เตรียมตัวมาอย่างดีพอ

uuการทักทายผู้ฟัง   ไม่เริ่มต้นด้วยคำว่า  ค่ะ  หรือ  ครับ    ผู้ฟังเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียน หรือเพื่อนร่วมงาน ก็ใช้คำทักทายว่า   สวัสดี  แต่หากมีผู้ฟังเป็นผู้สอนหรือผู้ใหญ่ เจ้านาย ผู้บังคับบัญชา  ก็ใช้คำว่า   เรียน    สำหรับคำว่า  กราบเรียน  นั้นจะใช้ตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณได้แก่บุคคลดังต่อไป เช่น  นายกรัฐมนตรี  ประธานองค์มนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร์ เป็นต้น   ซึ่งระเบียบก็ระบุไว้ว่า  ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ให้ใช้คำว่า  เรียน 

ขั้นตอนวิธีการข้างต้น เป็นพื้นฐานง่าย ๆ ที่ผู้เรียนหรือผู้พูด จะทดลองปฏิบัติหรือฝึกฝนด้วยตนเองได้ โดยเฉพาะฝึกที่หน้ากระจก  แล้วการพูดหรือนำเสนอนี้ จะได้ผลดียิ่งขึ้น ก็ต้องได้รับการสนับสนุนและมีเวทีได้ฝึกฝน ให้โอกาสพวกเขาเหล่านั้นได้ฝึก อย่างสม่ำเสมอ   มีผู้สอนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการฝึกคอยให้คำชี้แนะ ปรึกษา ต่อไปเราก็ไม่ต้องห่วงว่า ลูกศิษย์ หรือลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน จะเป็นผู้ที่  พูดได้  มากกว่า  พูดเป็น 

การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง :

การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
Website อาชีพเลขานุการ 
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย

การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
Blog อาชีพเลขานุการ
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย

การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
การพูดและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
ทฤษฎีความต้องการกับอาชีพเลขานุการ
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
การเลือกของขวัญให้กับเจ้านาย
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
ความเกี่ยวข้องระหว่างตำแหน่ง Bodyman กับเลขานุการ
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
เลขานุการกับพนักงานสำนักงานแตกต่างกันอย่างไร
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
paperwork records information ในงานเลขานุการ
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
เลขานุการ! .. หรือคุณเป็นอีกคนหนึ่งแห่งต้นต่อ  Climate Change
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
คุณเป็นเลขานุการตามที่เขา swot กันหรือไม่
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
เลขานุการกับกระแสโลกร้อน
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
วิธีควบคุมค่าถ่ายเอกสารในสำนักงาน
การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
ผ่านมุมมอง "รูปแบบสำนักงาน (office)" แต่ละยุค


บทความอาชีพเลขานุการ ปี 2010
บทความอาชีพเลขานุการ ปี 20
09
บทความอาชีพเลขานุการ ปี 2008
บทความอาชีพเลขานุการ ปี 2007
 

การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย

ผลงานนี้ ใช้โดยพิมพร  ศะริจันทร์
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ
แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.


การพูดหน้าชั้นเรียน ภาษาไทย
หน้าหลัก