เทคนิค การ ทำวิจัย บทที่ 2

การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) หมายถึง การค้นคว้าศึกษา รวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ เช่น ผลงานวิจัย บทความเอกสารทางวิชาการ และตำราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัย

ความสำคัญ

               บทนี้สำคัญมาก เพราะจะใช้ในการวิเคราะห์และอภิปรายผลการวิจัย เช่น

               ใช้อภิปรายสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้ในการเกิดผลวิจัยรูปแบบนี้ หรือ

   ใช้เขียนสนับสนุนผลการวิจัย ทำให้งานวิจัยเราดูหนักแน่นยิ่งขึ้น

               1. หลีกเลี่ยงการทำซ้ำซ้อน 

               2. เพื่อหาข้อเท็จจริง

               3.   เป็นการสร้างคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น

วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม

การแสวงหาพื้นฐานทางทฤษฎีหรือแนวคิดรองรับการวิจัยใหม่

การแสวงหาสถานภาพทางการวิจัยในเรื่องหรือหัวข้อนั้น การทบทวนวรรณกรรมจะช่วยให้เราทราบทิศทางของการวิจัย และสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ ในขณะที่เราทำวิจัย

การแสวงหาแนวทางการวิจัย

1.ขั้นค้นหา
ผู้วิจัยจะต้องจำกัดขอบเขตของเนื้อหาที่ต้องการศึกษาก่อนลงมือค้นคว้า เพื่อให้การค้นหาวรรณกรรมมีความเฉพาะเจาะจง จะช่วยประหยัดเวลาการรวบรวมวรรณกรรมต่างๆ จากนั้นผู้วิจัยจะต้องค้นหาข้อมูล วรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่จะทำทั้งหมด โดยพยายามให้ครอบคลุมทั้งเนื้อหา ประเด็นต่างๆ ที่ควรกำหนดไว้ในปัญหาและวัตถุประสงค์ รวมถึงครอบคลุมระยะเวลาของการวิจัยที่ทำมาแล้ว
ความครอบคลุมในแง่ของเวลาไม่สามารถกำหนดแน่นอนว่า ควรค้นหางานวิจัยย้อนหลังไปนานสักกี่ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาการวิจัยนั้นมีผู้เคยศึกษาไว้มากน้อยเพียงใด ถ้ามีผู้ศึกษาไว้มากและศึกษาติดต่อกันมาเรื่อยๆ คงใช้เวลาครอบคลุม 3 ถึง 5 ปี แต่ถ้ามีผู้ศึกษาไว้น้อย และเว้นระยะห่าง อาจใช้เวลาย้อนหลังไปมากกว่านั้น มีข้อสังเกต ว่าถ้าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีหรือแนวความคิดเชิงทฤษฎี หรือรูปแบบจำลอง ที่ผู้วิจัยจะต้องนำมาใช้ในงานวิจัย จำเป็นที่จะต้องรวบรวมวรรณกรรมที่เป็นต้นฉบับเหล่านั้นมาให้ได้ ไม่ว่าจะศึกษามานานแค่ไหนก็ตาม
การศึกษาค้นคว้ามาก-น้อย ขึ้นอยู่กับ
1. ภูมิหลังของผู้วิจัย
2. ความซับซ้อนของงานวิจัยที่จะทำ ถ้าเป็นเรื่องใหม่ไม่เคยมีคนทำ การค้นคว้าอาจไม่กว้างมาก
3. วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง มีการตีพิมพ์มากหรือน้อย ถ้ามีคนศึกษาวิจัยมาก ต้องค้นมาก
สิ่งสำคัญในการพิจารณา : ไม่เน้นจำนวน เน้นคุณภาพโดยดูจากการมีผู้รับรอง และเนื้อหามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับงานที่จะทำ

1.      แหล่งศึกษาค้นคว้าที่สำคัญคือ ห้องสมุด เพราะเป็นที่รวมของหนังสือ ตำรา วรรณกรรมต่างๆ รวมถึง วารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รายงานสถิติต่างๆ ผู้วิจัยสามารถค้นหาความรู้เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยจากแหล่งย่อยๆ ต่อไปนี้
3.1 หนังสือ ตำราเกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัย
3.2 ปทานุกรม ที่รวบรวมผลงานวิจัยสาขาต่างๆ และสารานุกรมที่เกี่ยวข้อง
3.3 วารสารทางการวิจัยสาขาต่างๆ ตลอดจนจุลสารและวรรณกรรมเผยแพร่
3.4 ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และเอก
3.5 หนังสือรวมบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์
3.6 หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อาจมีบทความบางเรื่องใช้อ้างอิงได้

แหล่งที่มาของการทบทวนวรรณกรรม

1.      บทความทางวิชาการสาขาวิชานั้นและสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.      งานวิจัย  วิทยานิพนธ์ 

แหล่งศึกษาค้นคว้า

สามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้จากแหล่งต่างๆ เช่น

1. ปฐมภูมิ (primary source) ศึกษาจากบทความ รายงานจากผู้ต้นคิดเขียนเอง เจ้าของทฤษฎี เจ้าของงานวิจัย

2. ทุติยภูมิ (secondary source) ได้แก่ ข้อความที่อ้างจากของผู้อื่นมาอีกครั้ง ในการทำวิจัยพยายามเลี่ยงข้อมูลทุติยภูมิ เพราะผู้อ้างจะมีความคิดเห็นของเขาปนเข้ามา การตีความของผู้อ้างอาจมีการบิดเบือนหรือตีความผิด แต่ อาจใช้ได้กรณีไม่สามารถหาข้อมูลปฐมภูมิได้ หรือ ผู้เขียนคนที่สอง มีข้อแสดงความคิดเห็นสามารถอ้างอิงได้และจะกลายเป็นข้อมูลปฐมภูมิ

 วิธีการเขียน

เวลามีใครถามถึงวิธีการเขียน Literature review ผมจึงบอกเพียงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการเขียน   ส่วนวิธีการเขียนผมให้เป็นหน้าที่ของเขา แน่นอนครับผมก็มี Style ของผม ผมจะพยายามไม่ให้กรอบแก่เขา ผมว่ามันเป็นศิลปะ และผมก็เห็นความสวยงามของความแตกต่างครับ พี่น้อง

รูปแบบที่ดีที่สุดของการเขียน Literature review ก็คืออย่าไปติดกับรูปแบบ แต่ควรเป็นการ"เล่าเรื่อง" ว่าเรา (และคนก่อนหน้าเรา) กำลังมายืนที่ทางแพร่งตรงนี้ได้อย่างไร โดยทุกคำล้วนมีหลักฐานหรือแจกแจงระบบคิดให้ชัด

               ควรเขียนแบ่งหัวข้อตามกลุ่มเนื้อหาที่เราได้วางกรอบแนววิจัยเอาไว้แล้ว

และในแต่ละหัวข้อหลักๆ เนื้อหาจะต้องเขียนโดยการอ้างทฤษฎีและประกอบด้วยหลักฐานทางงานวิจัยที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นข้อสนับสนุนหรือข้อโต้แย้ง

               นอกจากนี้ ในแต่ละย่อหน้าก็ต้องมีการเชื่อมประโยคเพื่อให้เห็นแนวการไหลของกระบวนการคิดอย่างสอดคล้อง

การทบทวนวรรณกรรมนี้ผู้ทำวิจัยควรสรุปงานวิจัยที่ตนกำลังทบทวน (Review) ด้วยถ้อยคำของตนเอง (Rewrite) ไม่ควรตัดตอน หรือคัดลอกข้อความมาจากต้นฉบับทั้งดุ้น หรือคัดลอกการทบทวนวรรณกรรมของคนอื่นมาเป็นการทบทวนของตนเองซึ่งถือว่าเป็นการขโมยผลงานหรือความคิดของผู้อื่น (Plagiarism)

วิธีการเขียนเสนอการทบทวนวรรณกรรม

                        1.   รูปแบบการเสนอเอกสาร อาจกล่าวว่าเป็นรูปสามเหลี่ยม คือ เริ่มจากฐานที่กว้างก่อน แล้วค่อยตีวงให้แคบ จนท้ายสุดมาหยุดตรงปัญหาทางการวิจัยของผู้วิจัยซึ่งเป็นยอดของรูปสามเหลี่ยม

                        2.   การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องควรจะวางไว้ตอนต้นของเค้าโครงการวิจัยเพราะการประมวลเอกสารจะช่วยให้ผู้วิจัยเขียนส่วนอื่นๆของเค้าโครงการวิจัยต่อไปได้

                        3.   ถ้าผู้วิจัยต้องการให้ทราบถึงพัฒนาการของแนวคิดหรือผลการวิจัย สามารถทำได้โดยเรียบเรียงปีพ..จากปีต้นๆ เรื่อยมาถึงปัจจุบันเพื่อดูพัฒนาการทางวิชาการ และตัวแปรที่สำคัญว่าเป็นเช่นไร และมีผลเป็นอย่างไร

2.ขั้นเขียนเรียบเรียง

ข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมาได้ทั้งหมดจากการอ่าน ผู้วิจัยต้องนำมาเรียบเรียงเชื่อมโยงประสานเข้าด้วยกัน เนื้อหาการเขียน แต่จะต้องมีโครงสร้างหลักในการเขียนเป็นของผู้วิจัยเอง ที่กำหนดโดยใช้ความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากการอ่าน ค้นคว้า ให้เข้าประเด็นปัญหาวิจัยของตน และเรียบเรียงเนื้อหาเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ มิใช่เป็นการนำข้อค้นพบที่บันทึกไว้ของแต่ละส่วนมาเรียงต่อกัน

ความยากของการเขียนเรียบเรียงสิ่งที่อ่านและวิเคราะห์ออกมาได้ทั้งหมดอยู่ที่การวางโครงสร้างของเรื่อง และการเชื่อมโยงให้เห็นประเด็นปัญหาการวิจัยอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นเทคนิคและศิลปะที่ผู้วิจัยต้องฝึกฝนเอง หลักสำคัญในการเขียน คือ ผู้วิจัยจะต้องแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ได้ศึกษามามีอะไรบ้าง ค้นพบความรู้ใหม่ๆอะไร สิ่งไหนเป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่แล้ว สิ่งไหนค้นพบใหม่ ยังมีช่องว่างตรงจุดไหนอีกในส่วนข้อมูลที่เป็นการแสดงความคิดเห็น การชี้จุดประเด็นสำคัญ และการสรุปผลของการวิจัย ต้องมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลกำกับไว้ด้วยเสมอ

การเขียนเรียบเรียง ผู้วิจัยต้องเขียนด้วยใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ เสนอข้อมูลทั้ง 2 ด้าน ทั้งสนับสนุนและคัดค้าน รูปแบบการเขียน ในส่วนของการศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่จะเขียนเป็นการเชื่อมโยงผลการวิจัยที่ค้นพบอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้มีการวิเคราะห์วิจารณ์เพิ่มเติม ทั้งนี้เพราะการเขียนเรียบเรียงในลักษณะที่มีการวิเคราะห์วิจารณ์เป็นเรื่องยาก ต้องยึดหลักทางวิชาการไว้เสมอ ไม่ใช้ความคิดส่วนตัวสอดแทรกเข้าไปในการวิจารณ์ ผู้ที่จะเขียนได้ในลักษณะนี้จึงเป็นผู้รู้หรือเกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยนั้นมานานและมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมากพอควร

แค่นี้ก่อนนะครับ พี่น้อง ง่วงแล้วครับ