ความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา แบบฝึกหัด

แบบทดสอบ

เรื่อง ความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมกับภาษา

คำชี้แจง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงหนึ่งข้อ

๑. ข้อใดไม่จัดว่าเป็นส่วนประกอบของวัฒนธรรม

ก. ภาษา ข. ค่านิยม ค.สถาบัน ง.สิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น
๒. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

ก. วัฒนธรรมได้แก่ ประเพณี สถาบัน ค่านิยม

ข. พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยเช่นกัน

ค. สื่อมวลชนมีบทบาทต่อการปลูกฝังคุณธรรมโดยเผยแพร่คุณ

งามความดี

ง. “ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด” ข้อความนี้แสดงถึง

เอกลักษณ์ของชาติไทย

๓. สาเหตุที่ทำให้วัฒนธรรมของมนุษย์แตกต่างกันมีหลายสาเหตุ

ยกเว้นข้อใด

ก. ที่ตั้ง ข . ภูมิอากาศ

ค.กลุ่มชนแวดล้อม ง.บุคลิกลักษณะของบุคคล

๔. การที่ภาษาไทยมีคำราชาศัพท์และระดับภาษาสะท้อนวัฒนธรรมไทย

ว่าเป็นอย่างไร

ก. มีการแบ่งชั้นวรรณะ
ข. นิยมลดหลั่นชั้นเชิง
ค. ไม่เจริญทางด้านธรรมชาติวิทยา

ง. ยกย่องภาษาอื่นให้เป็นภาษาสุภาพ

๕. เราควรศึกษาและรักษาภาษาและประเพณีท้องถิ่นของชนกลุ่ม

ต่างๆที่เป็นส่วนหนึ่งของชาติไว้เพื่ออะไร

ก.เพื่อเผยแพร่ผลงานของท้องถิ่น
ข.เพื่อเป็นหลักฐานทางการวิจัย

ค.เพื่อแสดงถึงความเจริญในอดีต

ง.เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้ศึกษาสูงขึ้น

๖. ข้อใดให้ความหมายของคำผิด

ก. ค่านิยม หมายถึง ความรู้สึก

ข. เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะที่เป็นหนึ่งไม่มีใครเหมือน

ค. สังคม หมายถึง คนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

ตามระเบียบกฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน

ง. สถาบัน หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมร่วมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็น

ประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน

๗. หลักฐานในข้อใดที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยนิยมใช้คำคล้องจองกัน

อย่างเห็นได้ชัดที่สุด

ก. ถ้อยคำที่ใช้ในชิตประจำวัน

ข.ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงฯ

ค. คำสุภาษิต ตำพังเพย และคำขวัญ

ง.ประเพณีการตั้งชื่อบุคคลและสถานที่สำคัญ

๘. การศึกษาภาษาถิ่นให้ประโยชน์ในด้านใดมากที่สุด

ก. ทำให้อ่านวรรณคดีเก่าเข้าใจ

ข.ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของคำ

ค.ทำให้เกิดความสามัคคีระหว่างคนในชาติ

ง.ทำให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน

๙. เอกลักษณ์ของกลุ่มชนหรือของชาติไทยโดยธรรมชาติคือข้อใด

ก. ศิลปะ ข. ภาษา ค. คุณธรรม ง. ธงชาติ

๑๐. ข้อใดคือภาษามาตรฐาน

ก. ภาษาราชการ ข. ภาษาสนทนา

ค. ภาษาของชาวเมืองหลวง ง. ภาษาที่นิยมใช้กันในภาคต่างๆ

เฉลยแบบทดสอบ
๑. ง
๒. ข
๓. ง
๔. ข
๕. ค
๖. ข
๗. ค
๘. ข
๙. ก
๑๐. ก