ใบงานที่ 3.1 เรื่อง กฎหมายอาญาที่ควรรู้

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 กฎหมายอาญาเป็นกรอบควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ที่มีบทลงโทษเด็ดขาด และไม่สามารถงดเว้นได้ ตลอดจนมีระดับความรุนแรงตามความผิดอย่างมีเหตุผล

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส 2.1 ม.3/1 อธิบายความแตกต่างของการกระทำความผิดระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่ง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถบอกความหมายของกฎหมายอาญาได้ถูกต้อง

2. นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะการกระทำความผิดทางอาญาได้ถูกต้อง

3. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ลักษณะการกระทำผิดทางอาญาได้ถูกต้อง

4. นักเรียนอภิปรายถึงความสำคัญของกฎหมายอาญาได้ถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

  1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

  1.2 ถาม – ตอบ

  1.3 ทำใบงานที่ 20

2. เครื่องมือ

   2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

   2.2 คำถาม

   2.3 ใบงานที่ 20

 3. เกณฑ์

  3.1 ตอบคำถามถูกต้อง

  3.2 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 กฏหมายในชีวิตประจำวัน 

      

รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                                                                         เวลาเรียน  8  ชั่วโมง

Œ   มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

         ส 2.1         ม 4-6/1      วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน                                                                                           ประเทศชาติ และสังคมโลก

   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

            การปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา กฎหมายอาญา กฎหมายที่สำคัญของประเทศ และข้อตกลงระหว่างประเทศ ย่อมส่งผลดีต่อความสงบเรียบร้อย                ในสังคมระดับประเทศ และสังคมโลก

Ž   สาระการเรียนรู้

         3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                  1.        กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว

                  2.        กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา เช่น ซื้อขาย ขายฝาก เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ กู้ยืมเงิน

                                จำนำ จำนอง

                   3.        กฎหมายอาญา เช่น ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย

                    4.        กฎหมายอื่นที่สำคัญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน กฎหมายการรับ

                                ราชการทหาร กฎหมายภาษีอากร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

                        5.        ข้อตกลงระหว่างประเทศ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กฎหมายมนุษยธรรม

                                ระหว่างประเทศ

         3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                        -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

         4.1    ความสามารถในการสื่อสาร

         4.2    ความสามารถในการคิด

                  -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

         4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                  -      กระบวนการปฏิบัติ

                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

            1.        มีวินัย

            2.        ใฝ่เรียนรู้

            3.        มุ่งมั่นในการทำงาน

‘   ชิ้นงาน / ภาระงาน (รวบยอด)

      1.        รายงาน เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

            2.        บันทึกการปฏิบัติตนตามกฎหมาย

’   การวัดและการประเมินผล

      7.1    การประเมินก่อนเรียน

            -      แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

      7.2    การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

            1.        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ครอบครัวและมรดก

                        2.        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก

                        3.        ใบงานที่ 2.2 เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

                        4.        ใบงานที่ 2.3 เรื่อง กู้ยืมเงิน จำนำ จำนอง

                        5.        ใบงานที่ 3.1 เรื่อง กฎหมายอาญาที่ควรรู้

                        6.        ใบงานที่ 4.1 เรื่อง กฎหมายอื่นที่ควรรู้

                        7.        สังเกตการแสดงบทบาทสมมุติ

                        8.        สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

         7.3    การประเมินหลังเรียน

                  -      แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

         7.4    การประเมินชิ้นงาน / ภาระงาน (รวบยอด)

                  1.        ประเมินรายงาน เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

              2.        ประเมินบันทึกการปฏิบัติตนตามกฎหมาย

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

แบบประเมินรายงาน เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1. ความสมบูรณ์ของ 

    เนื้อหา

เนื้อหาของกฎหมายถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วนตามที่กำหนดจำนวน 5-6 หัวข้อ

เนื้อหาของกฎหมายถูกต้อง สมบูรณ์ ครบถ้วนตามที่กำหนด จำนวน 3-4 หัวข้อ

เนื้อหาของกฎหมายถูกต้อง ตามที่กำหนดจำนวน 2 หัวข้อ

เนื้อหาของกฎหมายถูกต้อง ตามที่กำหนดจำนวน 1 หัวข้อ

2. การเรียงลำดับ

    ขั้นตอนของเนื้อหา

เรียงลำดับเนื้อหาก่อนหลังเป็นระบบ

ทุกตอน

เรียงลำดับเนื้อหาก่อนหลังเป็นระบบเป็นส่วนใหญ่

เรียงลำดับเนื้อหาก่อนหลังเป็นระบบบางตอน

เรียงลำดับเนื้อหา

ไม่เป็นระบบ

3. ส่วนประกอบของ

    รายงาน

มีภาพ หรือแผนภูมิประกอบเนื้อเรื่อง พร้อมคำบรรยายที่สื่อความหมายชัดเจน จำนวน 5-6 ภาพ / แผนภูมิ

มีภาพ หรือแผนภูมิประกอบเนื้อเรื่อง พร้อมคำบรรยายที่สื่อความหมายชัดเจน จำนวน 3-4 ภาพ / แผนภูมิ

มีภาพ หรือแผนภูมิประกอบเนื้อเรื่อง พร้อมคำบรรยายที่สื่อความหมายชัดเจน จำนวน 1-2 ภาพ / แผนภูมิ

มีภาพ หรือแผนภูมิประกอบเนื้อเรื่อง

แต่ไม่มีคำบรรยาย

4. การเขียนสะกดคำ

เขียนถูกต้องทุกแห่ง ไม่มีคำผิด

เขียนผิด 1-5 คำ

วรรคตอนผิด

1-5 แห่ง

เขียนผิด 6-10 คำ

วรรคตอนผิด

1-5 แห่ง

เขียนผิด 10-15 คำ วรรคตอนผิด             1-10 แห่ง

5. รูปเล่ม

ปกสวยงาม แสดงความคิดริเริ่ม การเข้าเล่มแน่นหนา

ปกสวยงาม แสดงความคิดริเริ่ม การเข้าเล่มไม่แน่นหนา

ปกสวยงาม แต่ไม่แปลกใหม่ การเข้าเล่มแน่นหนา

ปกไม่สวยงาม

การเข้าเล่มแน่นหนา

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

17 - 20

ดีมาก

13 - 16

ดี

9 - 12

พอใช้

5 - 8

ปรับปรุง

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

แบบบันทึกการปฏิบัติตนตามกฎหมาย

คำชี้แจง      ให้นักเรียนบันทึกผลการปฏิบัติตนตามกฎหมายตามหัวข้อที่กำหนด

ชื่อ-นามสกุล                                                                                         ชั้น                                         เลขที่                    

ลำดับที่

พฤติกรรม

ผลดีต่อตนเอง

ผลดีต่อสังคมและประเทศชาติ

เกณฑ์การประเมิน

ปฏิบัติได้               8 10    พฤติกรรม             4        คะแนน   =  ดีมาก

ปฏิบัติได้               6 7      พฤติกรรม             3        คะแนน   =  ดี

ปฏิบัติได้               4 5      พฤติกรรม             2        คะแนน   =  พอใช้

ปฏิบัติได้               1 3      พฤติกรรม             1        คะแนน   =  ปรับปรุง

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ระดับ     2              พอใช้                =  ผ่านเกณฑ์ประเมิน

“   กิจกรรมการเรียนรู้

            Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

กฎหมายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว และมรดก

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการเรียนร่วมกัน

เวลา  2  ชั่วโมง

            1.        นักเรียนแต่ละคนผลัดกันเล่าประสบการณ์ความรู้เดิมในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง

                    ที่เคยเรียนมาแล้ว เช่น

                    -      กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล

                    -      กฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน

                    -      กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์

            2.        นักเรียนและครูช่วยกันแสดงความคิดเห็นถึงความสำคัญของกฎหมาย

            3.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ ให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้

                    ในใบความรู้ เรื่อง กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

            4.        นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ครอบครัวและมรดก โดยแบ่งงานกันทำ ดังนี้

                    -      สมาชิกคนที่ 1   มีหน้าที่อ่านคำสั่ง กรณีศึกษาคำถาม แยกแยะให้ชัดเจน 

                    -      สมาชิกคนที่ 2   ฟังขั้นตอน รวบรวมข้อมูล หาแนวทางเสนอแนะการตอบคำถาม

                    -      สมาชิกคนที่ 3   ตอบคำถามหรือตอบปัญหา

                    -      สมาชิกคนที่ 4   ตรวจสอบความถูกต้อง

            5.        สมาชิกในแต่ละกลุ่มหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่กันในการตอบคำถาม

            6.        นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งใบงาน แล้วให้แต่ละกลุ่มผลัดกันตรวจกระดาษคำตอบตามที่ครูเฉลย

            7.        นักเรียนและครูช่วยกันสรุปสาระสำคัญของกฎหมายแพ่งที่ควรรู้

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw)

เวลา  2  ชั่วโมง

            1.        ครูนำกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกผู้อื่นเอาเปรียบในเรื่อง การซื้อขาย การขายฝาก การกู้ยืมเงิน                                         และการเช่าซื้อ มาให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์สาเหตุของการถูกเอาเปรียบและแนวทางป้องกันแก้ไข

            2.        ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการมีความรู้กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรม                                          สัญญา

            3.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน  คละกันตามความสามารถ มีทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน                                       เรียกว่า กลุ่มบ้าน (Home Groups) ให้สมาชิกแต่ละคนเลือกหมายเลขประจำตัวตามความสมัครใจ                                    ตั้งแต่หมายเลข 1, 2 และ 3

            4.        นักเรียนจากกลุ่มบ้านแยกย้ายกันไปหากลุ่มใหม่ที่มีหมายเลขเดียวกัน เรียกว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ                                           (Expert Groups) ร่วมกันศึกษาความรู้ในใบความรู้ เรื่อง นิติกรรมและสัญญา ดังนี้

                    -      หมายเลข 1  ศึกษาความรู้เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก และทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก                                  -                          หมายเลข 2  ศึกษาความรู้เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ และทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

                    -      หมายเลข 3  ศึกษาความรู้เรื่อง กู้ยืมเงิน จำนำ จำนอง และทำใบงานที่ 2.3 เรื่อง กู้ยืมเงิน จำนำ                                                         จำนอง

            5.        นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญช่วยกันทบทวนความรู้และความถูกต้องของใบงาน

            6.        นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลับไปยังกลุ่มเดิมหรือกลุ่มบ้าน (Home Groups) แล้วผลัดกันเล่าความรู้                                         เรื่องที่ตนได้ศึกษามาและการทำใบงานให้เพื่อนในกลุ่มบ้านฟัง

            7.        ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความรู้กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับ นิติกรรมสัญญา

กฎหมายอาญา

วิธีสอนแบบบรรยาย  วิธีสอนแบบกรณีศึกษา  วิธีสอนแบบการแสดงบทบาทสมมุติ

เวลา  2  ชั่วโมง

            1.        นักเรียนดูภาพข่าว / วีซีดี เกี่ยวกับการประกอบอาชญากรรมในความผิดประเภทต่างๆ และให้                                           นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ผลของการกระทำดังกล่าว

            2.        ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำผิดกฎหมายอาญา

                    ซึ่งผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษ

            3.        ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญา ในหัวข้อต่อไปนี้

                    1)        ลักษณะของการกระทำผิดทางอาญา

                    2)        ความผิดทางอาญา

                            -      ความผิดต่อชีวิต

                            -      ความผิดต่อทรัพย์สิน

            4.        นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ตามความสมัครใจ ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์กรณีตัวอย่าง

                    ตามใบงานที่ 3.1 เรื่อง กฎหมายอาญาที่ควรรู้ แล้วตอบคำถามตามที่กำหนด

            5.        นักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงานโดยมีครูตรวจสอบความถูกต้อง

            6.        ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาข่าว ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาในสังคมปัจจุบัน                                            และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแบบการแสดงบทบาทสมมุติ

            7.        ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปลักษณะของการกระทำผิดทางอาญา สาระสำคัญเกี่ยวกับกฎหมาย                                           อาญาที่นักเรียนควรรู้

กฎหมายสำคัญที่ควรรู้

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง, เทคนิคโต๊ะกลม  วิธีสอนแบบบรรยาย

เวลา  2  ชั่วโมง

            1.        ครูเล่าเรื่องการกระทำความผิดของบุคคลในลักษณะต่างๆ แล้วให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่า

                    การกระทำผิดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกฎหมายใด และมีผลเสียต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ                                   อย่างไร

            2.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง                                          ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน

            3.        ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้ในใบความรู้ เรื่อง กฎหมายอื่นที่ควรรู้ กลุ่มละ 4 เรื่อง โดยให้                                      นักเรียนแต่ละคู่ศึกษาคู่ละ 1 เรื่อง ตามความสนใจ ดังนี้

                    -      กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร

                    -      กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร

                    -      กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค

                    -      กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา

            4.        นักเรียนแต่ละหมายเลขผลัดกันเล่าเรื่องรอบวงในเรื่องที่ตนศึกษาตามประเด็น ดังนี้

                    -      ความสำคัญของกฎหมาย

                    -      สาระสำคัญ

            5.        ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปสาระสำคัญของกฎหมายที่ควรรู้ จนมีความเข้าใจกระจ่างชัด

            6.        ครูแจกใบงานที่ 4.1 เรื่อง กฎหมายอื่นที่ควรรู้ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม

            7.        สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มเขียนคำตอบจากคำถามในใบงาน แล้วส่งใบงานไปยังคนต่อไป

            8.        สมาชิกคนต่อไปอ่านคำตอบของสมาชิกที่เขียนไว้ แล้วตอบคำถามเพิ่มเติม

            9.        สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะได้มีโอกาสอ่านและเขียนคำตอบหมุนเวียนกันไปเรื่อยๆ จนเสร็จ                                                             สามารถตอบคำถามได้ครบ

            10.  ครูสุ่มเรียกตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกไปเฉลยคำตอบในแต่ละข้อ

            11.  ครูอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจว่ากฎหมายสำคัญที่นักเรียนควรรู้อีก คือ กฎหมายระหว่าง                                                ประเทศหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ

                    -      ความหมายของข้อตกลงระหว่างประเทศ

                    -      ความสำคัญของข้อตกลงระหว่างประเทศ

                    -      กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ

            12.  ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และงานเป็นรายบุคคล ดังนี้

                    -      งานกลุ่ม : ให้นักเรียนรายงานเรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวันโดยสรุปเป็นประเด็นสั้นๆ

                            ให้ครอบคลุมหัวข้อ กฎหมายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว มรดก สัญญา กฎหมายอาญา                                                                                           กฎหมายอื่นที่ควรรู้ กำหนดเวลา 2 สัปดาห์

                    -      งานเดี่ยว ให้นักเรียนรายงานการปฏิบัติตนตามกฎหมายในแบบบันทึกการปฏิบัติตน

                            ตามกฎหมาย กำหนดเวลาปฏิบัติ 1-2 เดือน หรือตามความเหมาะสม

            Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

”   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

      9.1    สื่อการเรียนรู้

              1.        หนังสือเรียน หน้าที่พลเมืองฯ  ม.4-ม.6

              2.        ตัวอย่างข่าว

                        3.        ใบความรู้เรื่อง กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

                        4.        ใบความรู้เรื่อง นิติกรรมและสัญญา

                        5.        ใบความรู้เรื่อง กฎหมายอื่นที่ควรรู้

                        6.        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ครอบครัวและมรดก

                        7.        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก

                        8.        ใบงานที่ 2.2 เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

                        9.        ใบงานที่ 2.3 เรื่อง กู้ยืมเงิน จำนำ จำนอง

                        10.  ใบงานที่ 3.1 เรื่อง กฎหมายอาญาที่ควรรู้

                        11.  ใบงานที่ 4.1 เรื่อง กฎหมายอื่นที่ควรรู้

         9.2    แหล่งการเรียนรู้

                  1.        ห้องสมุด

                        2.        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-Civil2.htm

                                http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=1142759

                                http://www.dnp.go.th/mfcd10/knowlage/law.doc

                                http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=LW302(47)                                                         http://www.oknation.net/blog/daffodillaw/2008/02/22/entry-1/comment#                                                    http://gto38saebaryo62.spaces.live.com/blog/cns!DAEC34827FE3073D!466.entry

                                http://online.benchama.ac.th/social/aiII/aiII_files/frame.htm#slide0002.htm

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 7

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.        ข้อความที่กล่าวว่า ความไม่รู้กฎหมายไม่อาจยกมาแก้ตัวให้พ้นจากความรับผิดได้ มีผลสำคัญ

            ในเรื่องใดมากที่สุด

            ก.        การแก้ตัวให้พ้นจากความผิดนั้นทำได้ยาก

            ข.    บุคคลทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

            ค.    เมื่อทำความผิดต้องรับโทษ

            ง.        บุคคลทุกคนต้องรู้กฎหมาย

2.        บุคคลผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุเท่าไร จะต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน

            ก.        15  ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน  60 ปีบริบูรณ์

            ข.    15  ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน  70 ปีบริบูรณ์

            ค.    15  ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน  75 ปีบริบูรณ์

         ง.        15  ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน  80 ปีบริบูรณ์

3.        การที่กฎหมายกำหนดให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองนั้น      มีผลดีต่อผู้เยาว์อย่างไร

            ก.        ป้องกันการถูกเอาเปรียบจากผู้อื่น

         ข.    ผู้เยาว์ได้รับการปกป้องและคุ้มครอง

            ค.    ทำให้ผู้เยาว์มีความเคารพยำเกรงบิดามารดา ผู้ปกครอง

            ง.        บิดามารดาและผู้ปกครองต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้เยาว์

4.      ข้อใดจัดเป็นอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย

            ก.        สิทธิจำนำ                                                                              ข.  ลิขสิทธิ์

            ค.    รถยนต์ บ้าน                                                                         ง.        สิทธิครอบครองที่ดิน

5.        เก่ง อายุ 20 ปีบริบูรณ์ แต๋ว อายุ 17 ปีบริบูรณ์ ต้องการสมรสกันจะกระทำได้อย่างไร

            ก.        เก่งและแต๋วต้องไปจดทะเบียนสมรสกันที่อำเภอ

            ข.    แต๋วต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง

            ค.    เก่งและแต๋วต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง

            ง.        เก่งและแต๋วอายุเกิน 17 ปีบริบูรณ์แล้วสามารถทำการสมรสกันได้

6.        ข้อความเกี่ยวกับเรื่องการสมรสข้อใดถูกต้อง

            ก.        ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมสมรสกันได้

         ข.    ชายหญิงทำการสมรสกันได้เมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

            ค.    หญิงที่สามีตายจะทำการสมรสใหม่ได้เมื่อเวลาผ่านพ้นไปไม่น้อยกว่า 90 วัน

            ง.        ชายหรือหญิงจะทำการสมรสกันจะต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

7.        นายแสงชัยมีที่ดิน 3 ไร่ เงินสด 5 แสนบาท ต่อมาเขาได้ทำการสมรสกับนางสาวพอใจเจ้าของร้านเสริมสวย

            ทั้งสองอยู่กินกันฉันสามีภรรยาและได้ซื้อโรงงานทอผ้า 1 แห่ง ต่อมาทั้งสองหย่ากันและมีการแบ่งทรัพย์สิน

            ข้อใดเป็นสินสมรส

            ก.  ร้านเสริมสวย

            ข.    ที่ดิน 3 ไร่   เงินสด 5 แสนบาท

            ค.    โรงงานทอผ้า และดอกเบี้ยของเงินสด 5 แสนบาท

            ง.        ที่ดิน 3 ไร่ เงินสด 5 แสนบาท โรงงานทอผ้า ร้านเสริมสวย

8.        สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมา

            เกินกว่ากี่ปี จึงจะสามารถอ้างเป็นเหตุการณ์หย่าได้

            ก.        เกิน 5 ปี                                                                                 ข.    เกิน 4 ปี

            ค.    เกิน 3 ปี                                                                                 ง.        เกิน 2 ปี

9.        เด็กที่เกิดภายในเวลากี่วันนับตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นบุตร

            ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เคยเป็นสามี

            ก.  120 วัน                                                                                  ข.    310 วัน

            ค.    320 วัน                                                                                  ง.        360 วัน

10.      นายโตมร อายุ 36 ปี ต้องการรับนางสาวหวานใจ อายุ 20 ปี เป็นบุตรบุญธรรมจะทำได้หรือไม่

            เพราะเหตุใด

            ก.        ได้           เพราะหวานใจบรรลุนิติภาวะแล้ว

            ข.    ได้        เพราะโตมรอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และแก่กว่าหวานใจเกิน 15 ปี

            ค.    ไม่ได้      เพราะหวานใจบรรลุนิติภาวะแล้ว

            ง.        ไม่ได้      เพราะทั้งโตมรและหวานใจอยู่ในวัยหนุ่มสาว

11.      ข้อความเกี่ยวกับการรับบุตรบุญธรรมข้อใดไม่ถูกต้อง

            ก.        บุตรบุญธรรมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของผู้รับบุตรบุญธรรม

            ข.    บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม

            ค.    ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม

            ง.    บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น

12.      นายสมัยและนางเกตุ เป็นสามีภรรยากับทั้งสองมีบุตร 2 คน คือ เก๋และกุ้ง สมัยมีบิดาชื่อก้อน

            มารดาชื่อแก้ว ส่วนเกตุมีบิดาชื่อแม้น มีมารดาชื่อม้วน สมัยและเกตุซื้อที่ดินมาทำการเกษตร 100 ไร่

            ต่อมาสมัยถึงแก่กรรม ให้นักเรียนแบ่งสินสมรสและมรดกของสมัย

            ก.        เกตุ เก๋ กุ้ง ก้อน แก้ว ได้ที่ดินเท่ากันคือคนละ 20 ไร่

            ข.    เกตุ เก๋ กุ้ง ก้อน แก้ว แม้น ม้วน ได้ที่ดินคนละเท่าๆ กัน

            ค.    เกตุได้ที่ดิน 60 ไร่ ก้อน แก้ว กุ้ง และเก๋ได้ที่ดินคนละ 10 ไร่

            ง.        เกตุ ได้ที่ดิน 50 ไร่ เก๋ กุ้ง ก้อน แก้ว ได้ที่ดินคนละ 10 ไร่ ส่วนแม้นและม้วนได้รวมกัน 10 ไร่

13.      นายถนอมศักดิ์ตกลงซื้อสวนผลไม้จากนายเสริมสร้าง จำนวน 5 ไร่ เป็นเงินห้าล้านบาท โดยนายถนอมศักดิ์

            ได้วางเงินมัดจำไว้ ห้าพันบาท ต่อมานายเสริมสร้างไม่ยอมขายสวนผลไม้ให้นายถนอมศักดิ์ นายถนอมศักดิ์

            จะฟ้องร้องนายเสริมสร้างให้ทำตามสัญญาได้หรือไม่

            ก.        ได้       เพราะได้วางเงินมัดจำไว้แล้ว

            ข.    ได้       เพราะได้ตกลงกันเรียบร้อยแล้ว

            ค.    ไม่ได้  เพราะยังไม่ได้ให้เงินครบตามจำนวน

            ง.        ไม่ได้  เพราะชำระเงินไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์สิน

14.      นายชายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดเวลาใช้สิทธิไถ่คืนสูงสุดไว้ไม่เกินกี่ปี

            ก.        3  ปี                     ข.    5 ปี                         ค.    8  ปี                            ง.        10 ปี

15.      สัญญาขายฝากทรัพย์สินในข้อใด ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่   

            ก.        บ้าน  ที่ดิน  สัตว์พาหนะ                                                   ข.    รถยนต์  รถบรรทุก  โรงงาน

            ค.    โรงงาน  ที่ดิน  รถจักรยานยนต์                                       ง.        เรือ  รถยนต์  เครื่องจักรกล

16.      นางสาวตากลม ทำสัญญาเช่าห้องแถวของนายใจเพชร เพื่อทำเป็นร้านขายหนังสือ โดยทำสัญญา

            เป็นหนังสือต่อหน้าพยาน 2 คน กำหนดเวลา 5 ปี เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี นายใจเพชรยกเลิกสัญญาเช่า

            นางสาวตากลมจะฟ้องร้องบังคับตามสัญญาเช่าได้หรือไม่

            ก.        ได้       เพราะทำสัญญาเป็นหนังสือ

            ข.    ได้       เพราะมีพยาน 2 คน

            ค.    ไม่ได้      เพราะสัญญานานเกิน 3 ปี

            ง.        ไม่ได้      เพราะนางสาวตากลมและนายใจเพชรไม่ได้ทำสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

17.      ข้อความเกี่ยวข้องกับการเช่าซื้อข้อใดไม่ถูกต้อง

            ก.        เป็นสัญญาที่มีลักษณะของสัญญาเช่ากับสัญญาซื้อขายผสมกัน

            ข.    ผู้ให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่นำออกให้เช่า

            ค.    สัญญาเช่าซื้อมีความเหมือนกันหรือคล้ายกันกับสัญญาซื้อขายผ่อนส่ง

            ง.        เมื่อผู้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ชำระค่าเช่าซื้อจนครบตามสัญญาแล้วจะต้องจดทะเบียนการได้มา

                    ของอสังหาริมทรัพย์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์

18.      การกู้ยืมเงินเกินกว่าจำนวนใดจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลายมือชื่อผู้กู้จึงจะบังคับคดีได้

            ก.        50   บาท                                                                            ข.    500     บาท

            ค.    1,000 บาท                                                                        ง.        2,000 บาท

19.      ทรัพย์สินในข้อใดสามารถนำไปจำนำได้

            ก.        บ้าน                        ข.    ห้องแถว                ค.    สวนผลไม้             ง.        แหวนเพชร

20.      นายกล้าหาญตกลงจำนองบ้านพร้อมที่ดินให้แก่นายคล่องแคล่ว การจำนองจะสมบูรณ์เมื่อใด

            ก.        กล้าหาญและคล่องแคล่วไปทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองบ้านพร้อมที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

            ข.    กล้าหาญและคล่องแคล่วทำสัญญาจำนองบ้านหรือที่ดินเป็นหนังสือและมีพยานรับรองสองคน

            ค.    กล้าหาญมอบให้คล่องแคล่วไปทำหนังสือสัญญาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

            ง.        กล้าหาญรับเงินจากคล่องแคล่ว และคล่องแคล่วรับมอบบ้านพร้อมที่ดินจากกล้าหาญ

                                                1.        ข             2.        ข             3.        ก             4.        ง              5.        ข

                                                6.        ง              7.        ค             8.        ค             9.        ข             10.  ข

                                                11.  ค             12.  ค             13.  ก             14.  ง              15.  ก

                                                16.  ง              17.  ค             18.  ง              19.  ง              20.  ก

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  กฎหมายในชีวิตประจำวัน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-6

เรื่อง  กฎหมายเกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว และมรดก

เวลา  2  ชั่วโมง

Œ   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

      การปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว ย่อมส่งผลให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างปกติสุข

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

      2.1    ตัวชี้วัด

              ส 2.1    ม 4-6/1      วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน                                                                                              ประเทศชาติ และสังคมโลก

         2.2    จุดประสงค์การเรียนรู้

              1.        วิเคราะห์การกระทำตามกฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล บัตรประจำตัวประชาชนและความสามารถ                                                        ของผู้เยาว์ได้

                        2.        วิเคราะห์การกระทำที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดกได้

Ž   สาระการเรียนรู้

         3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง 

                    -      กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว

            3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                  -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

         4.1    ความสามารถในการสื่อสาร

         4.2    ความสามารถในการคิด

                -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

            4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                      กระบวนการทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

      1.        มีวินัย

            2.        ใฝ่เรียนรู้

            3.        มุ่งมั่นในการทำงาน

‘   กิจกรรมการเรียนรู้

            (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการเรียนร่วมกัน

            Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

            1.        ครูให้นักเรียนแต่ละคนผลัดกันเล่าประสบการณ์ความรู้เดิมในเรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง

                    ที่เคยเรียนมาแล้ว เช่น

                    -      กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล

                    -      กฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน

                    -      กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์

                            ฯลฯ

            2.        ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบ ดังนี้

                    1)        ถ้านักเรียนต้องการเปลี่ยนชื่อตัวจะต้องไปยื่นคำขอการเปลี่ยนชื่อที่ใด และสามารถเปลี่ยนชื่อ

                            ด้วยตนเองได้หรือไม่

                            แนวคำตอบ     นายทะเบียนท้องที่ซึ่งตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และต้องให้บิดามารดาหรือ                                                                                          ผู้ปกครองให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรเสียก่อน

                    2)        ถ้านักเรียนมีความประสงค์จะเปลี่ยนชื่อสกุลจะต้องเตรียมหลักฐานใดบ้าง

              แนวคำตอบ      ทะเบียนบ้านพร้อมด้วยสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ บัตรประจำตัวประชาชน

                                                       พร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ

                    3)        ตัวบุคคลยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่ออายุเท่าไร และมีอายุการใช้กี่ปี

                            ตั้งแต่วันออกบัตร

                            แนวคำตอบ      เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ และมีอายุใช้ได้ 6 ปี ตั้งแต่วันออกบัตร

                    4)        ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมด้วยตนเองได้ในกรณีใดบ้าง

                            แนวคำตอบ     กิจกรรมอันเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวไม่มีทางเสีย กิจการที่จะต้องทำ

                                                        เอาเฉพาะตัว เช่น การสอบชิงทุนการศึกษา การรับเด็กเป็นบุตร กิจการที่เป็นการ                                                                                   สมควรแก่ฐานานุรูป เช่น ซื้อของกินของใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ การทำพินัยกรรม

                                                        เมื่ออายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์

            3.        นักเรียนและครูช่วยกันแสดงความคิดเห็นถึงความสำคัญของกฎหมาย

            4.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง

                    ปานกลาง  ค่อนข้างอ่อน และอ่อน ทุกคนร่วมมือกันศึกษาความรู้จากใบความรู้เรื่อง กฎหมายแพ่ง

                    เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก อภิปรายสร้างความเข้าใจในประเด็นสำคัญในเรื่องที่ศึกษา ในหัวข้อ

                    ดังนี้

                    1)        กฎหมายครอบครัว

                            -      การหมั้น

                            -      การสมรส

                            -      ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร

                            -      สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา

                            -      สิทธิและหน้าที่ของบุตร

                    2)        กฎหมายเรื่องมรดก

            1.        ครูและนักเรียนช่วยกันทบทวนความรู้เรื่อง กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

            2.        นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ครอบครัวและมรดก โดยให้สมาชิกในกลุ่ม                                                               แบ่งหน้าที่กันทำงาน ดังนี้

                    -      สมาชิกคนที่ 1  มีหน้าที่อ่านกรณีศึกษา คำถาม แยกแยะประเด็นให้ชัดเจน

                    -      สมาชิกคนที่ 2  ฟังขั้นตอน รวบรวมข้อมูล เสนอแนะแนวทางการตอบคำถาม

                    -      สมาชิกคนที่ 3  ตอบคำถาม

                    -      สมาชิกคนที่ 4  ตรวจสอบความถูกต้อง

            3.        สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่กัน

                    -      สมาชิกคนที่ 2  เลื่อนมาทำหน้าที่แทนคนที่ 1

                    -      สมาชิกคนที่ 3  เลื่อนมาทำหน้าที่แทนคนที่ 2

                    -      สมาชิกคนที่ 4  เลื่อนมาทำหน้าที่แทนคนที่ 3

                    -      สมาชิกคนที่ 1  เลื่อนมาทำหน้าที่แทนคนที่ 4

                    สมาชิกทุกคนหมุนเวียนกันทำหน้าที่ตอบคำถามในใบงานจนครบทุกข้อ

4.             ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งใบงานต่อครูผู้สอน ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันตรวจใบงานตามที่             ครูเฉลย และให้คะแนน

            5.        ครูประกาศชมเชยนักเรียนกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับ

            6.        นักเรียนและครูช่วยกันสรุปสาระสำคัญของกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

’   การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวัน

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

“   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

         8.1    สื่อการเรียนรู้

                  1.        หนังสือเรียน หน้าที่พลเมืองฯ  ม.4-ม.6

              2.        ใบความรู้เรื่อง กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

                        3.        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ครอบครัวและมรดก

            8.2      แหล่งการเรียนรู้

              1.        ห้องสมุด

                        2.        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-Civil2.htm

                   http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=1142759

ใบความรู้เรื่อง กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก

                กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติเป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐไว้ เพื่อให้รัฐต้อง ส่งเสริมและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว รับรองสิทธิของบุคคลในครอบครัว และกำหนดให้เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรง และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม เด็กและเยาวชนที่ไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดู และการศึกษาอบรมจากรัฐ

                1กฎหมายครอบครัว บัญญัติข้อกำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางครอบครัวตั้งแต่การหมั้นไปจนถึงการสมรส ความสัมพันธ์ในครอบครัว และการขาดจากความสัมพันธ์ในครอบครัว ได้แก่  

                1.1  การหมั้น เป็นการทำสัญญาระหว่างชายกับหญิงว่าต่อไปจะสมรสกัน ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิง มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้าชายหรือหญิงยังเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือผู้ปกครองเสียก่อน ในการหมั้นฝ่ายชายจะให้ของหมั้นแก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักฐานและประกันว่าจะสมรสกับหญิงด้วยของหมั้นนี้ เมื่อสมรสแล้วของหมั้นจะตกเป็นของฝ่ายหญิงแต่ถ้าไม่มีการสมรสอันเนื่องมาจากความผิดของฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย การผิดสัญญาหมั้นฝ่ายที่เสียหายสามารถเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้ เพราะว่าการสมรสนั้นขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้จะสมรสเท่านั้น

                                1.2  การสมรส เป็นการทำสัญญาตกลงเป็นสามีภริยากันระหว่างชายกับหญิง กฎหมายกำหนดเงื่อนไขของการสมรสไว้ ดังนี้

                                1)  การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องให้ศาลอนุญาต ซึ่งจะต้องมีเหตุผลอันสมควร

                                2)  ชายหรือหญิงที่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถจะทำการสมรสไม่ได้

                                3)  ชายหรือหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตกัน เช่น พ่อหรือแม่กับลูก พี่น้องร่วมบิดามารดากัน หรือเป็นพี่น้องร่วมแต่เพียงบิดาหรือมารดากันจะสมรสกันไม่ได้

                                4)  ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้

                                5)  ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วไม่ได้

                                6)  หญิงที่เคยสมรสแล้วแต่สามีตาย หรือการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดลงโดยเหตุอื่น เช่น การหย่าจะสมรสใหม่ได้ ก็ต่อเมื่อการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่จะสมรสกับคู่สมรสเดิม คลอดบุตรระหว่างนั้น มีใบรับรองแพทย์ว่ามิได้ตั้งครรภ์หรือมีคำสั่งของศาลให้สมรสได้

                                7)  ถ้าชายหรือหญิงฝ่ายใดอายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์ ฝ่ายนั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียก่อน

                                8)  การสมรสจะต้องจดทะเบียน โดยมีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอและเป็นนายทะเบียน

                                9) ชายหญิงจะต้องแสดงความยินยอมเป็นสามีภริยากัน โดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและนายทะเบียนต้องบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย

                การสมรสที่ถูกต้องตามเงื่อนไขของกฎหมายก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา 2 ประการ ดังนี้

                 1.  ความสัมพันธ์ทางครอบครัว กฎหมายกำหนดให้สามีภริยาต้องอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยา ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถของฐานะของตน และในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ สามีหรือภริยาย่อมได้เป็นผู้อนุบาลหรือหรือผู้พิทักษ์และต้องให้การอุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร

                2.  ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน กฎหมายแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นสินส่วนตัวและสินสมรส

                                1)  สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินที่สามีหรือภริยามีอยู่ก่อนสมรสเป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว หรือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส โดยการยกให้หรือรับมรดก สำหรับภริยาของหมั้นจะถือเป็นสินส่วนตัวของภริยาด้วยสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด ฝ่ายนั้นย่อมเป็นผู้มีอำนาจจัดการ

                                2)  สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการยกให้หรือโดยพินัยกรรม ซึ่งระบุให้เป็นสินสมรส รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากสินส่วนตัวด้วย สามีภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน โดยการจัดการจะต้องได้รับความยินยอมร่วมกัน เว้นแต่จะตกลงไว้เป็นอย่างอื่นโดยสัญญาก่อนสมรส หรือศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นผู้จัดการแต่ฝ่ายเดียว และเมื่อการสมรสสิ้นสุดลงจะต้องมีการแบ่งสินสมรสระหว่างชายกับหญิง โดยนำสินสมรสมาแบ่งเท่าๆ กัน แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายสินสมรสไปโดยมิได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งต้องนำสินส่วนตัวของตนเองมาใช้สินสมรสที่ตนจำหน่ายไป

                ในทางกฎหมาย การสมรสจะสิ้นสุดลงด้วยปัจจัยที่สำคัญ ดังนี้

                1.  ศาลพิพากษาว่า การสมรสเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ หรือให้เพิกถอนการสมรสเพราะทำการสมรสโดยผิดเงื่อนไข

                2.  คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย

                3.  การหย่า ได้แก่ การหย่าโดยความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อย 2 คน โดยต้องมีการจดทะเบียนหย่า และการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ได้แก่ คู่สมรสไม่อาจตกลงหย่ากันโดยความยินยอมได้ ฝ่ายที่ต้องการหย่าจะฟ้องต่อศาลให้ศาลพิพากษาให้หย่า โดยต้องอ้างเหตุหย่า ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้หลายประการด้วยกัน เช่น สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี เป็นต้น

                                1.3  ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

                                1)  การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและการรับรองบุตร เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งจดทะเบียนสมรสกัน แม้จะมีการเพิกถอนภายหลังก็ตาม หรือเกิดภายใน 310 วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง กฎหมายสันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เคยเป็นสามี เว้นแต่จะมีการฟ้องคดีไม่รับเด็กนั้นเป็นบุตรภายในหนึ่งปี นับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็กหรือฟ้องเสียหายภายในสิบปี นับแต่วันเกิดของเด็ก เด็กซึ่งเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน ย่อมเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของมารดาฝ่ายเดียวเท่านั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาด้วยต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันภายหลัง โดยมีผลนับตั้งแต่วันสมรส หรือเมื่อบิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็กและจะมีผลนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาไม่ให้ความยินยอม หรือคัดค้านว่าผู้ที่ขอจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ใช่บิดา หรือในกรณีที่ต้องมีการฟ้องชายเพื่อขอให้รับเด็กเป็นบุตร หากศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย่อมมีผลนับแต่วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เป็นบุตรนั้นมีสิทธิ เช่น ใช้ชื่อสกุลของบิดา รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้ เป็นต้น ส่วนผู้รับรองบุตรก็สามารถใช้อำนาจปกครอง รวมทั้งต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้นต่อไป

                                2) การรับบุตรบุญธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบิดาหรือมารดากับบุตรอาจเกิดขึ้นนอกเหนือจากกรณีข้างต้น โดยการรับบุตรบุญธรรม หมายถึง การจดทะเบียนรับรองบุตรของผู้อื่นมาเลี้ยงดูเป็นบุตรของตนเอง โดยดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขพื้นฐาน รวมทั้งความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมไว้ประกอบกับพระราชบัญญัติการรับบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมยิ่งขึ้น เช่น ในกรณีที่ขอรับบุตรบุญธรรมของผู้ที่มิใช่เครือญาติกับเด็กจะมีการทดลองเลี้ยงดู มีการตรวจสอบคุณสมบัติและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และความเหมาะสมของผู้รับเด็กเป็นบุตร              บุญธรรม เป็นต้น

                                เงื่อนไขพื้นฐานของการรับบุตรบุญธรรม ประกอบด้วย อายุและความยินยอม คือ บุคคลที่จะรับผู้อื่นเป็นบุตรบุญธรรมได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ และต้องแก่กว่าผู้ที่ตนจะรับเป็นบุตร              บุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี และถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาโดยกำเนิดของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม และต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนด้วย

                                การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมีผลให้บุตรบุญธรรมมีฐานะเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม เช่น มีสิทธิใช้ชื่อสกุล มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม

ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครองและมีหน้าที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูแต่ไม่มีสิทธิรับมรดกในส่วนของบุตรบุญธรรม และจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้ ส่วนบิดามารดาโดยกำเนิดเป็นอันหมดอำนาจปกครอง

                                อย่างไรก็ตาม บุตรบุญธรรมไม่สูญเสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมาเช่น มีสิทธิรับมรดกของบิดามารดาโดยกำเนิด การรับบุตรบุญธรรมมีทางเลิกได้โดยการจดทะเบียนเลิก ตามความยินยอมของบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้วกับผู้รับบุตรบุญธรรม หรือเมื่อมีการสมรสระหว่างบุตร            บุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม

                                1.4  สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดา บิดามารดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรระหว่างที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์ หรือแม้บุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นผู้ทุพพลภาพ และหาเลี้ยงตนเองไม่ได้บิดามารดาก็ยังมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูต่อไป ระหว่างที่บุตรเป็นผู้เยาว์บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรโดยมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรทำโทษบุตรตามสมควร หรือว่ากล่าวสั่งสอนให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป มีสิทธิเรียกบุตรคืนจากผู้อื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร ในการฟ้องคดีและมีสิทธิจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย ถ้าบุตรมีเงินได้ บิดามารดามีสิทธินำมาใช้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู และการศึกษาของบุตร ส่วนที่เหลือต้องเก็บรักษาไว้เพื่อมอบแก่บุตรภายหลัง เว้นแต่บิดามารดาจะยากจนไม่มีเงินได้พอแก่การครองชีพจึงอาจนำเงินนั้นมาใช้ได้

                                ในกรณีที่บิดามารดาตาย หรือถูกศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง เพราะวิกลจริตหรือ

ประพฤติไม่เหมาะสม ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองให้บุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์ เพื่ออุปการะเลี้ยงดูและให้ความคุ้มครองแก่ผู้เยาว์นั้นแทนบิดามารดาได้

                                1.5  สิทธิและหน้าที่ของบุตร บุตรมีสิทธิใช้ชื่อ สกุลของบิดาเว้นแต่ไม่ปรากฏบิดาให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา บุตรมีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู และได้รับการศึกษาตามสมควรจากบิดามารดา แต่บุตรมีหน้าที่ต้องดูแลบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทนบุญคุณโดยบุตรจะฟ้องบิดา มารดา รวมทั้งบุพการีอื่นของตนเป็นคดีแพ่ง หรือคดีอาญาไม่ได้ ต้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีขึ้นว่ากล่าวให้

                2. กฎหมายเรื่องมรดกมีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของมรดกและผู้ที่จะมีสิทธิรับมรดก หรือทายาท โดยมรดกหรือกองมรดก ได้แก่ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆของผู้ตาย หรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อผู้ใดถึงแก่ความตาย มรดกของเขาย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีเว้นแต่สิ่งที่กฎหมายหรือตามสภาพแล้วถือเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ย่อมไม่ตกทอดเป็นมรดก เช่น สิทธิรับราชการ เป็นต้น กรณีที่บุคคลใดหายไปจากที่อยู่โดยไม่ได้ข่าวคราวเป็นเวลานาน ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ซึ่งกฎหมายถือเสมือนว่าถึงแก่ความตาย และมรดกของผู้สาบสูญย่อมตกทอดแก่ทายาทเหมือนกรณีตายจริงๆทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกในทางกฎหมาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

                                1)  ทายาทโดยธรรมหรือทายาทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ คู่สมรส และญาติสนิทของผู้ตาย ซึ่งสิทธิได้รับมรดกและส่วนแบ่งที่จะได้รับจะลดลงตามความห่างของญาติๆนั้น เช่น ถ้าคู่สมรส บุตร และบิดามารดาของผู้ตายยังอยู่ ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายโดยเท่าเทียมกันโดยคู่สมรสมีสิทธิได้รับหนึ่งส่วน บุตรแต่ละคนมีสิทธิได้รับคนละส่วน และบิดามารดาของผู้ตายมีสิทธิได้รับคนละหนึ่งส่วน กล่าวคือบิดาหนึ่งส่วนและมารดาหนึ่งส่วน ในกรณีเช่นนี้ญาติอื่นไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายอีก เพราะได้ถูกตัดโดยญาติสนิทกว่าของเจ้าของมรดกแล้ว

                                2)  ทายาทตามพินัยกรรม ได้แก่ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามที่พินัยกรรม ซึ่งเป็นหนังสือแสดงความประสงค์สั่งการเผื่อตายของผู้ตายระบุไว้ โดยทายาทพวกนี้อาจเป็นญาติของผู้ตายหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ผู้ตายจะตั้งใจยกมรดกของตนให้แก่ผู้ใดบ้างในกรณีที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกมรดกของตนให้ทายาทตามพินัยกรรมทั้งหมดทายาทโดยธรรมย่อมไม่มีสิทธิได้รับมรดกเลย แต่บุคคลจะทำพินัยกรรมยกมรดกได้เฉพาะทรัพย์สินของตนเท่านั้น ในกรณีที่ตนมีคู่สมรสก็จะต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาก่อน ส่วนของตนจึงเป็นมรดกตกทอดต่อไปได้

เรียบเรียงโดย  สุคนธ์ สินธพานนท์

ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ครอบครัวและมรดก

ตอนที่ 1 

 คำชี้แจง   ให้นักเรียนอ่านกรณีศึกษา แล้วตอบคำถาม

กรณีศึกษาที่ 1

                โจ้อายุ 16 ปี จอย อายุ 15 ปี ทั้งสองรักใคร่กัน ไปมาหาสู่กัน ต่อมาจอยมีปัญหาพ่อแม่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต จอยไปอาศัยอยู่กับครอบครัวของโจ้ ต่อมาจอยตั้งครรภ์ จำเป็นจะต้องทำการสมรสเพื่อบุตรจะได้มีบิดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

คำถาม  โจ้และจอยควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

กรณีศึกษาที่ 2

                โดม อายุ 19 ปี รักใคร่ชอบพอกับดาว อายุ 18 ปี เมื่อทั้งคู่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีงานทำมีรายได้พอเลี้ยงตนเองได้แล้ว ต้องการสมรสกับดาว

คำถาม  โดมและดาวควรปฏิบัติตนอย่างไร

กรณีศึกษาที่ 3

                ไกรและเก๋ตกลงใจจดทะเบียนสมรสกันหลังจากเรียนจบระดับปริญญาตรีแล้ว ไกรมีทรัพย์สินคือ รถยนต์ เงินสด 1 แสนบาท ที่ดิน 1 แปลง ส่วนเก๋มีแหวนเพชร 1 วง สายสร้อยทอง 1 เส้น นาฬิกา 1 เรือน โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง เมื่อทั้งสองคนอยู่กินด้วยกันมา 15 ปี มีทรัพย์ร่วมกัน ดังนี้ เงินสด 5 ล้าน 1 แสนบาท พ่อแม่ของเก๋ให้ที่นาแก่เก๋จำนวน 10 ไร่ ต่อมาทั้งสองคนไม่ประสงค์จะอยู่ด้วยกัน จึงหย่ากัน

คำถาม   1. ไกรและเก๋มีทรัพย์สินส่วนตัว คืออะไรบ้าง

                2. สินสมรสของไกรและเก๋ มีอะไรบ้าง

กรณีศึกษาที่ 4

                โชติอายุ 35 ปี มีภรรยาชื่อแวว อายุ 28 ปี ทั้งสองคนต้องการรับเด็กหญิงเก๋ ซึ่งอายุ 14 ปี บุตรของนายสายและนางสวยมาเป็นบุตรบุญธรรม

คำถาม   1. โชติและแววสามารถรับเก๋เป็นบุตรบุญธรรมได้หรือไม่ อธิบายเหตุผล

                2. เก๋จะเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลผู้รับบุตรบุญธรรมได้อย่างไร

กรณีศึกษาที่ 5

                เกริกสมรสกับดวง ทั้งสองทำมาหากินกันจนมีทรัพย์สินเป็นที่ดิน 50 ไร่ เกริกมีบิดาชื่อมั่น มารดาชื่อม้วน ดวงมีบิดาชื่อเด่น มารดาชื่อดี เกริกและดวงมีบุตร 2 คน คือ แก้วและก้อย ต่อมาเกริกประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

คำถาม   ถ้าท่านเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งสินสมรสและมรดกของเกริก จะแบ่งอย่างไร

ตอนที่ 2 

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.        บิดามารดามีหน้าที่ต่อบุตรอย่างไรบ้าง

2.        สิทธิและหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา มีอะไรบ้าง

3.        ทายาทแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ครอบครัวและมรดก

ตอนที่ 1 

 คำชี้แจง   ให้นักเรียนอ่านกรณีศึกษา แล้วตอบคำถาม

กรณีศึกษาที่ 1

                โจ้อายุ 16 ปี จอย อายุ 15 ปี ทั้งสองรักใคร่กัน ไปมาหาสู่กัน ต่อมาจอยมีปัญหาพ่อแม่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต จอยไปอาศัยอยู่กับครอบครัวของโจ้ ต่อมาจอยตั้งครรภ์ จำเป็นจะต้องทำการสมรสเพื่อบุตรจะได้มีบิดาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

คำถาม  โจ้และจอยควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามกฎหมาย

              จอยและโจ้ต้องร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ทำการสมรสได้                          

กรณีศึกษาที่ 2

                โดม อายุ 19 ปี รักใคร่ชอบพอกับดาว อายุ 18 ปี เมื่อทั้งคู่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานและมีงานทำมีรายได้พอเลี้ยงตนเองได้แล้ว ต้องการสมรสกับดาว

คำถาม  โดมและดาวควรปฏิบัติตนอย่างไร

                โดมและดาวต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเสียก่อนจึงทำการสมรส หรือจดทะเบียนสมรส                กันได้                                                                                                                                                                    

กรณีศึกษาที่ 3

                ไกรและเก๋ตกลงใจจดทะเบียนสมรสกันหลังจากเรียนจบระดับปริญญาตรีแล้ว ไกรมีทรัพย์สินคือ รถยนต์ เงินสด 1 แสนบาท ที่ดิน 1 แปลง ส่วนเก๋มีแหวนเพชร 1 วง สายสร้อยทอง 1 เส้น นาฬิกา 1 เรือน โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง เมื่อทั้งสองคนอยู่กินด้วยกันมา 15 ปี มีทรัพย์ร่วมกัน ดังนี้ เงินสด 5 ล้าน 1 แสนบาท พ่อแม่ของเก๋ให้ที่นาแก่เก๋จำนวน 10 ไร่ ต่อมาทั้งสองคนไม่ประสงค์จะอยู่ด้วยกัน จึงหย่ากัน

คำถาม   1. ไกรและเก๋มีทรัพย์สินส่วนตัว คืออะไรบ้าง

                2. สินสมรสของไกรและเก๋ มีอะไรบ้าง

                1. สินส่วนตัวของไกรและเก๋ มีดังนี้                                                                                                                                   ไกร    รถยนต์  เงินสด 1 แสนบาท  ที่ดิน 1 แปลง                                                                                                             เก๋        แหวนเพชร 1 วง สายสร้อยทอง 1 เส้น นาฬิกา 1 เรือน โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง                       2. สินสมรสของทั้งสอง คือ เงินสด 5 ล้าน 1 แสนบาท                                                                                                                                                                                                                                                                           

กรณีศึกษาที่ 4

                โชติอายุ 35 ปี มีภรรยาชื่อแวว อายุ 28 ปี ทั้งสองคนต้องการรับเด็กหญิงเก๋ ซึ่งอายุ 14 ปี บุตรของนายสายและนางสวยมาเป็นบุตรบุญธรรม

คำถาม   1. โชติและแววสามารถรับเก๋เป็นบุตรบุญธรรมได้หรือไม่ อธิบายเหตุผล

                2. เก๋จะเป็นบุตรบุญธรรมที่ชอบด้วยกฎหมายของบุคคลผู้รับบุตรบุญธรรมได้อย่างไร

                1. โชติสามารถรับเก๋เป็นบุตรบุญธรรมได้ เพราะอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี บริบูรณ์ และมีอายุแก่กว่าเก๋      เกินกว่า 15 ปี ส่วนแววอายุแก่กว่าเก๋ไม่ถึง 15 ปี จึงไม่สามารถรับเก๋เป็นบุตรบุญธรรมได้                                 2. เก๋จะเป็นบุตรบุญธรรมของโชติได้ต่อเมื่อโชติจดทะเบียนรับเก๋เป็นบุตรบุญธรรม และต้องให้                   นายสายบิดาและนางสวยมารดาของเก๋ให้ความยินยอม                                                                        

กรณีศึกษาที่ 5

                เกริกสมรสกับดวง ทั้งสองทำมาหากินกันจนมีทรัพย์สินเป็นที่ดิน 50 ไร่ เกริกมีบิดาชื่อมั่น มารดาชื่อม้วน ดวงมีบิดาชื่อเด่น มารดาชื่อดี เกริกและดวงมีบุตร 2 คน คือ แก้วและก้อย ต่อมาเกริกประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต

คำถาม   ถ้าท่านเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งสินสมรสและมรดกของเกริก จะแบ่งอย่างไร

                1.  เกริกและดวงได้สินสมรสเป็นที่ดินคนละ 25 ไร่                                                                                                  2.  ผู้ได้รับมรดก คือ มั่น ม้วน แก้ว ก้อย และดวง ได้รับคนละ 5 ไร่                                                           

ตอนที่ 2 

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.        บิดามารดามีหน้าที่ต่อบุตรอย่างไรบ้าง

            1.  อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควรระหว่างบุตรเป็นผู้เยาว์                                        

            2.  อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะบรรลุนิติภาวะแล้ว               

            3.  ใช้อำนาจปกครองบุตร โดยมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร ทำโทษบุตรตามสมควร หรือว่ากล่าว      

                    สั่งสอนให้บุตรทำงานตามความเหมาะสมแก่ความสามารถและฐานานุรูป                                      

            4.  มีสิทธิเรียกบุตรคืนจากผู้อื่น ซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย                                                       

            5.  เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรในการฟ้องคดี                                                                                     

            6.  มีสิทธิจัดการทรัพย์สินของบุตร ถ้าบุตรมีเงินได้ และมีสิทธินำมาใช้เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดู และ

                  การศึกษาของบุตร ส่วนที่เหลือเก็บรักษาไว้เพื่อมอบแก่บุตรภายหลัง                                

2.        สิทธิและหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา มีอะไรบ้าง

            1.  บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา เว้นแต่ไม่ปรากฏบิดาให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา                                   

            2.  บุตรมีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูและได้รับการศึกษาตามสมควรจากบิดามารดา                          

            3.  บุตรมีหน้าที่ต้องดูแลบิดามารดาของตนเป็นการตอบแทนบุญคุณ                                                        

            4.  บุตรจะฟ้องบิดามารดา รวมทั้งบุพการีอื่นของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ ต้องให้พนักงาน

                  อัยการคดีขึ้นว่ากล่าวให้                                                                                                                

3.        ทายาทแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

            มี 2 ประเภท คือ                                                                                                                                                     

            1.  ทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรสและญาติ                                                                                                   

            2.  ทายาทตามพินัยกรรม ได้แก่ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมกำหนด ซึ่งเป็นหนังสือแสดงความ

                 ประสงค์สั่งการเผื่อตายของผู้ตายระบุไว้ อาจเป็นญาติของผู้ตายหรือไม่ใช่ก็ได้                                                                                                                                                                                                                 

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ลำดับที่

ชื่อ สกุล

ของผู้รับการประเมิน

ความร่วมมือ

การแสดงความคิดเห็น

การรับฟังความคิดเห็น

การตั้งใจทำงาน

การร่วมปรับปรุงผลงานกลุ่ม

รวม

20คะแนน

4

3

2

1

4

3

2

1

4

3

2

1

4

3

2

1

4

3

2

1

      ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน

ดีมาก                      =              4

ดี                             =              3

พอใช้                      =              2

ปรับปรุง                                =              1

 

                                                                                         ............../.................../................

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

17 – 20

13 – 16

9 – 12

5 – 8

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

 

หมายเหตุ     ครูอาจใช้วิธีการมอบหมายให้หัวหน้ากลุ่ม

เป็นผู้ประเมิน  หรือให้ตัวแทนกลุ่มผลัดกันประเมิน 

หรือให้มีการประเมินโดยเพื่อน  โดยตัวนักเรียนเอง

ตามความเหมาะสมก็ได้

 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 กฎหมายในชีวิตประจำวัน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-6

เรื่อง  กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา

เวลา  2  ชั่วโมง

Œ   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

      การปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรม สัญญา ย่อมส่งผลให้ดำรงชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุขไม่ถูกผู้อื่นเอาเปรียบ

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

       2.1    ตัวชี้วัด

              ส 2.1     ม 4-6/1      วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน                                                                                           ประเทศชาติและสังคมโลก

         2.2    จุดประสงค์การเรียนรู้

                -      วิเคราะห์การปฏิบัติตนตามกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญาได้

Ž   สาระการเรียนรู้

      3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                -      กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา เช่น ซื้อขาย ขายฝาก เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ กู้ยืมเงิน                                                                     จำนำ จำนอง

            3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                  -

   สมรรถนะของผู้เรียน

         4.1    ความสามารถในการสื่อสาร

         4.2    ความสามารถในการคิด

                  -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

         4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                  -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

-       ใฝ่เรียนรู้

‘   กิจกรรมการเรียนรู้  

            (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw))

            1.        ครูนำกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกเอาเปรียบ เช่น

            -      ชาวนาถูกนายทุนครอบครอง / ยึดที่นาที่นำไปขายฝากไว้

                    -      คนจนยอมเสียดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ผู้ให้เงินกู้ในอัตราร้อยละยี่สิบบาทต่อเดือน

                    -      การเช่า ซื้อรถยนต์ แต่ไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อได้สองงวดติดต่อกัน แล้วถูกผู้ให้เช่าซื้อริบ                                                    ทรัพย์สิน คือ รถยนต์

                    -      การให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินโดยไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้รับผิด

            2.        ครูให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุของการถูกเอาเปรียบหรือการเสียเปรียบผู้อื่นและ                                      แนวทางป้องกันแก้ไข

            3.        ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการมีความรู้กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรม                              และสัญญา ในเรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ กู้ยืมเงิน จำนำ จำนอง

            4.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน คละกันตามความสามารถ มีทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน

                    เรียกว่า กลุ่มบ้าน (Home Groups)ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มเลือกหมายเลขประจำตัวตั้งแต่หมายเลข                           1, 2 และ 3 ตามลำดับ

            5.        นักเรียนจากกลุ่มบ้านแยกย้ายกันไปหาสมาชิกกลุ่มใหม่ที่มีหมายเลขเดียวกัน เรียกว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ                                     (Expert Groups)

            6.        สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละหมายเลข ร่วมมือกันศึกษาความรู้ในใบความรู้ เรื่อง นิติกรรมและ                                            สัญญา แล้วอธิบายสรุปร่วมกันจนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจน และร่วมกันทำใบงาน ดังนี้

                    -      หมายเลข 1  ศึกษาความรู้ เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก และทำใบงานที่ 2.1  เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก

                    -      หมายเลข 2  ศึกษาความรู้ เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ และทำใบงานที่ 2.2  เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

                    -      หมายเลข 3  ศึกษาความรู้ เรื่อง กู้ยืมเงิน จำนำ จำนอง และทำใบงานที่ 2.3 เรื่อง กู้ยืมเงิน จำนำ

                            จำนอง

            7.        สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups) ร่วมมือกันสรุปทบทวนความรู้และความถูกต้องของใบงาน                                  ช่วยอธิบายเสริมเพิ่มเติมเพื่อให้สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทุกคนมีความกระจ่างชัด พร้อมที่จะไปเล่า                                           ความรู้ให้แก่สมาชิกในกลุ่มบ้านฟัง

            1.        ครูสนทนาซักถามนักเรียนถึงความพร้อมของนักเรียนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่ม ในการนำ

                    ความรู้ไปถ่ายทอดให้แก่สมาชิกในกลุ่มบ้าน และตอบข้อสงสัยของนักเรียน

            2.        นักเรียนกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของแต่ละกลุ่มกลับไปยังกลุ่มเดิม (กลุ่มบ้าน) สมาชิกแต่ละหมายเลข

                    นำความรู้ที่ได้ศึกษามาพร้อมผลงานในใบงานไปอธิบายให้สมาชิกหมายเลขอื่นฟัง ดังนี้

                    -      สมาชิกหมายเลข 1  สรุปความรู้จากใบงานที่ 2.1  เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก

                    -      สมาชิกหมายเลข 2  สรุปความรู้จากใบงานที่ 2.2  เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

                    -      สมาชิกหมายเลข 3  สรุปความรู้จากใบงานที่ 2.3  เรื่อง กู้ยืมเงิน จำนำ จำนอง

            3.        เมื่อสมาชิกทุกคนผลัดแลกเปลี่ยนความรู้กันและสร้างความกระจ่างในความรู้ที่ได้รับระหว่างกัน

                    แล้วครูสุ่มเรียกนักเรียนแต่ละกลุ่มออกไปเล่าความรู้ของตนในเรื่อง นิติกรรมและสัญญา

            4.        ครูและนักเรียนสรุปประเด็นสำคัญของนิติกรรมและสัญญา ในเรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

                    กู้ยืม จำนำ จำนอง

’   การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.1

ใบงานที่ 2.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.2

ใบงานที่ 2.2

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.3

ใบงานที่ 2.3

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

“   สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

         8.1    สื่อการเรียนรู้

                  1.        หนังสือเรียน หน้าที่พลเมืองฯ  ม.4-ม.6

                  2.        ใบความรู้ เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก

                  3.        ใบความรู้ เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

                  4.        ใบความรู้ เรื่อง กู้ยืมเงิน จำนำ จำนอง      

         8.2    แหล่งการเรียนรู้

                  1.        ห้องสมุด

                        2.        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                http://www.dnp.go.th/mfcd10/knowlage/law.doc

ใบความรู้เรื่อง นิติกรรมและสัญญา

                นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมายที่จะเกิดขึ้นอันได้แก่ การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ การก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ์ และระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย ขายฝาก เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ สัญญากู้ยืมเงิน จำนำ จำนอง เป็นต้น นิติกรรมสัญญาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

                1. นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว และมีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง เป็นต้น

                2. นิติกรรมสองฝ่าย (หรือนิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างตกลงยินยอมระหว่างกัน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน จึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้น หรือเรียกกันว่าสัญญาเช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝากจำนอง จำนำ เป็นต้น นิติกรรมสัญญาจะพบบ่อยและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของบุคคล เนื่องจาก

ทำให้เราหาสิ่งที่ต้องการมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ หรือหลักประกันความมั่นคงในการติดต่อระหว่างเรากับผู้อื่น

1.1       สัญญาซื้อขาย

สัญญาซื้อขาย ได้แก่ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของเหนือทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อโดยผู้ซื้อตกลงจะให้ราคาทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ขาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453) ปกติสัญญาซื้อขายทำได้โดยผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน โดยผู้ซื้อชำระราคาทรัพย์สินแก่ผู้ขายและผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อ ทรัพย์สินบางอย่างมีความสำคัญหรือราคาสูงมากในทางกฎหมาย

 ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร สวนผลไม้ หรือการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ประเภทเรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพที่ใช้อยู่อาศัยหรือเรือนแพ และสัตว์พาหนะ ซึ่งมีการจดทะเบียนหรือตั๋วรูปพรรณ ที่เรียกกันว่าสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษรวมทั้งสังหาริมทรัพย์ที่มีราคา 20,000 บาทหรือกว่านั้นขึ้นไป กฎหมายบังคับให้ต้องตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการวางมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วนไว้ล่วงหน้า จึงจะฟ้องร้องให้ทำตามสัญญากันได้

                นอกจากนี้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มีการจดทะเบียนหรือที่เรียกว่าสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ยังต้องไปจดทะเบียนการซื้อขายกับเจ้าหน้าที่ด้วย มิฉะนั้น สัญญาจะเป็นโมฆะ คือเสียเปล่าไม่มีผลทางกฎหมาย ถ้าคู่สัญญาไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ปกติกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน ย่อมโอนจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อเมื่อทำสัญญากัน ดังนั้น หากผู้ขายยังไม่พร้อมที่จะโอนหรือกลับกันถ้าผู้ซื้อยังไม่พร้อมจะรับโอน อาจตกลงกันเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งมีผลให้ต้องทำการซื้อขายเสร็จสิ้นในอนาคตก็ได้ หรือหากผู้ซื้อไม่พร้อมจะชำระราคาทรัพย์สินเต็มจำนวนอาจทำเป็นสัญญาซื้อขายเงินผ่อน โดยตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินเป็นงวดจนกว่าจะครบหรือทำสัญญาซื้อขายเงินเชื่อ เพื่อชำระราคาภายหลังก็ได้สาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย คือ การตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างบุคคล เพื่อแลกเปลี่ยนกับเงิน ผู้ขายจึงจำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน เพื่อจะโอนให้แก่ผู้ซื้อได้ ทรัพย์สินที่โอนต้องไม่มีผู้อื่นมาอ้างได้ว่ามีสิทธิดีกว่ากับผู้ซื้อได้ และผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขายตามที่ตกลงกันไว้หากผู้ขายหรือผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องร้องให้ปฏิบัติตามสัญญารวมทั้งเรียกค่าเสียหายจากฝ่ายที่ผิดสัญญาได้

                1.2  สัญญาขายฝาก

                สัญญาขายฝาก ได้แก่ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยที่เรือ ถือเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ โดยเมื่อต้องการทำสัญญาขายฝากจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนที่กรมเจ้าท่าข้อตกลงขณะซื้อขายกันว่า ผู้ขายอาจไถ่หรือซื้อทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน

(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491) ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ต้องกำหนดเวลา

ใช้สิทธิไถ่คืนสูงสุดไว้ไม่เกิน 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่มีการซื้อขายฝากกัน หากเริ่มต้นคู่สัญญาตกลงกันไว้ต่ำกว่ากำหนดเวลาสูงสุด อาจตกลงกันภายหลังเพื่อขยายเวลาใช้สิทธิไถ่คืนได้อีก แต่รวมทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดเวลาสูงสุด

                สัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้แก่ เรือ แพ สัตว์พาหนะ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา สำหรับเรือจดทะเบียนที่กรมเจ้าท่า เป็นต้น มิฉะนั้นจะถือเป็นโมฆะ คือ ไม่มีผลตามกฎหมายการขายฝากสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีการวางมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วน จึงจะฟ้องร้องกันได้ เช่นเดียวกับกรณีการซื้อขายที่กล่าวมาแล้ว โดยที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อฝาก ซึ่งอาจนำไปขายให้แก่ผู้อื่นได้ หากไม่ต้องการให้ผู้ซื้อฝากทำเช่นนี้ต้องตกลงห้ามกันไว้ เมื่อตกลงกันแล้วหากผู้ซื้อฝากนำไปขายให้แก่ผู้อื่นทำให้ผู้ขายฝากเสียหาย จะต้องรับผิดชอบต่อผู้ขายฝาก

                การทำสัญญาขายฝากเป็นวิธีการให้หลักประกันอย่างหนึ่งแก่ผู้ซื้อฝาก ซึ่งเอาเงินของผู้ซื้อฝากไปใช้ โดยได้ทรัพย์สินที่ขายฝากไว้เป็นหลักประกัน และเมื่อผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ก็จะได้ประโยชน์โดยกำหนดสินไถ่ไว้ในอัตราที่สูงพอเป็นการตอบแทนกฎหมายระบุว่าให้กำหนดสินไถ่ได้สูงสุดไม่เกินราคาที่ขายฝากรวมกับประโยชน์ตอบแทนไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี เพื่อมิให้ผู้ซื้อฝากกำหนดสินไถ่สูงจนเป็นการเอาเปรียบผู้ขายฝากเกินไปและถ้าตกลงกันไว้เกินกว่านั้น ผู้ขายฝากสามารถใช้สิทธิไถ่ได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี

หากไม่ได้กำหนดว่าสินไถ่มีอัตราเท่าใดให้ผู้ขายฝากไถ่ได้ตามราคาที่ขายฝากไว้

                หากผู้ซื้อฝากไม่ยอมให้ผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ ผู้ขายฝากสามารถนำเงินสินไถ่ไปวางต่อสำนักงานวางทรัพย์ เช่น สำนักงานวางทรัพย์กลาง สังกัดกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมซึ่งกฎหมายถือว่าทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกลับคืนมาเป็นของผู้ขายฝากทันที

                แม้ผู้ซื้อฝากจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามสัญญาขายฝาก แต่หากระหว่างการขายฝากนั้นทรัพย์สินเกิดดอกผลขึ้น เช่น ต้นไม้มีผลระหว่างอายุสัญญาหรือสัตว์ที่ซื้อฝากออกลูก ดอกผลนั้นจะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก แต่เมื่อผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินแล้ว ผู้ซื้อฝากก็ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายฝากกลับคืนให้แก่ผู้ขายฝากในสภาพที่เป็นอยู่ขณะที่มีการไถ่ หากทรัพย์สินนั้นถูกทำลายหรือเสื่อมเสียไป เพราะความผิดของผู้ซื้อฝาก

ผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ขายฝาก

                1.3 สัญญาเช่าทรัพย์

                สัญญาเช่าทรัพย์ ได้แก่ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่าตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันจำกัดโดยผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537) การเช่าทรัพย์ต่างกับการซื้อขาย คือ มิได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และมีกำหนดเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เช่น ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าได้ไม่เกิน 30 ปี ดังนั้น ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เพียงแต่มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้นก็นำไปให้เช่าได้ แต่ผู้เช่าทรัพย์สินจากผู้อื่นไว้จะนำไปให้เช่าต่อ ซึ่งเรียกว่าให้เช่าช่วงไม่ได้ เว้นแต่ว่าจะมีข้อตกลงในสัญญาเช่าอนุญาตไว้ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของฝ่ายที่จะต้องรับผิดตามสัญญา (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นรูปแบบสัญญา เพียงมีข้อความแสดงว่ามีการตกลงกันหรือยอมให้ใช้ หรือรับประโยชน์ในทรัพย์สินตอบแทนกับค่าเช่าก็พอแล้ว) มิฉะนั้นจะฟ้องเรียกให้

ปฏิบัติตามสัญญาไม่ได้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นานเกินกว่า 3 ปี หรือมีกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น เช่าที่ดินหรือบ้านต้องจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดิน

                ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่าในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้เช่า รวมทั้งชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าต้องใช้ไปเพื่อรักษาทรัพย์สินเว้นแต่ที่ต้องทำเพื่อบำรุงรักษาตามปกติหรือซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินในสภาพที่ไม่เหมาะสำหรับผู้เช่าใช้ประโยชน์ตามสัญญา ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าได้ ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องใช้ทรัพย์สินที่เช่าตามที่ตกลงในสัญญา หรือตามประเพณีนิยมปกติต้องชำระค่าเช่าตามที่ตกลงกันไว้ ต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่าเหมือนเช่นที่บุคคลทั่วไปจะทำกับทรัพย์สินของตนเอง ต้องยอมให้ผู้ให้เช่าหรือตัวแทนตรวจตราทรัพย์สินที่เช่าได้ตามสมควรเป็นครั้งคราว ไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมทรัพย์สินที่เช่า เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่าก่อนต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลาย ซึ่งเกิดกับทรัพย์สินที่เช่าเนื่องจากความผิดของผู้เช่าหรือบริวารของผู้เช่า รวมทั้งต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วแก่ผู้ให้เช่าเมื่อสัญญาเช่านั้นสิ้นสุดลง

                สัญญาเช่าระงับลงเมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ หรือเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาล่วงหน้าก่อนกำหนดชำระค่าเช่าที่ตกลงกันระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย เช่น ถ้ากำหนดค่าเช่าเป็นรายเดือนก็บอกเลิกล่วงหน้าเดือนหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องบอกเลิกล่วงหน้าเกินกว่า 2 เดือนไม่ว่ากรณีใด นอกจากนี้ สัญญาเช่ายังระงับไปเมื่อทรัพย์สินที่เช่านั้นสูญหายไปทั้งหมดด้วย

                1.4  สัญญาเช่าซื้อ

                สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของนำเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิของผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าได้ใช้หรือชำระเงินเป็นจำนวนครั้งตามที่ตกลงกัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572)

                จะเห็นได้ว่าสัญญาเช่าซื้อมีลักษณะของสัญญาเช่ากับสัญญาซื้อขายผสมกัน โดยผู้ให้เช่าซื้อต้องเป็นเจ้าของหรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่นำออกให้เช่า และตกลงให้ผู้เช่าซื้อนำไปใช้ประโยชน์ พร้อมกับผู้ให้เช่าซื้อต้องให้คำมั่นว่าจะยอมให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้เช่าในที่สุดเมื่อผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อเป็นคราวหรือเป็นงวดจนครบตามที่ตกลงกัน ซึ่งทำให้ผู้ไม่สามารถซื้อสินค้าที่มีราคาสูงได้ทันทีสามารถทำสัญญานี้เพื่อให้ได้ทรัพย์สินมาใช้ก่อน และค่อยๆ ชำระราคาเป็นงวดไปได้จนครบ ซึ่งผู้ให้เช่าซื้อจะคิดราคาไว้สูงกว่าราคาในการซื้อขายด้วยการชำระเงินรวดเดียวตามปกติ โดยคำนวณดอกเบี้ยรวมเข้าเป็นผลประโยชน์ที่ผู้ให้เช่าซื้อจะได้รับด้วย ขณะเดียวกันการเช่าซื้อก็ต่างกับสัญญาซื้อขายผ่อนส่ง เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังอยู่กับผู้ให้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อเพียงแต่ได้ครอบครอง และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินเท่านั้น

                สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือหรือทำเป็นลายลักษณ์อักษร ลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย มิฉะนั้น จะตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันคู่กรณี สำหรับการเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์นอกจากทำสัญญาเป็นหนังสือแล้ว แม้ผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อจนครบตามสัญญาก็จะต้องจดทะเบียนการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย มิฉะนั้น การได้มาไม่สมบูรณ์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299)

                ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองงวดติดต่อกันและสามารถกลับเข้าครอบครองทรัพย์สิน รวมทั้งริบเงินซึ่งผู้เช่าซื้อชำระมาแล้วได้ แต่ถ้าผู้เช่าซื้อทำผิดสัญญาโดยไม่ชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์สินกลับคืนและริบเงินที่ชำระแล้วได้ต่อเมื่อเวลาผ่านไปอีกงวดหนึ่งแล้ว อนึ่ง ถ้าผู้เช่าซื้อทำผิดสัญญาในข้อที่สำคัญ เช่น ใช้ทรัพย์สินนั้นไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข

ผู้ให้เช่าซื้อก็บอกเลิกสัญญาได้ โดยยึดทรัพย์สินกลับคืนและริบค่าเช่าซื้อที่ชำระไว้แล้วได้เช่นกัน

                ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อและมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ โดยส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนและให้ค่าเช่าซื้อเฉพาะที่ยังค้างชำระในงวดชำระเงินที่ผ่านมาแก่ผู้ให้เช่าซื้อผู้เช่าซื้อต้องสงวนและบำรุงรักษาทรัพย์สินระหว่างที่ตนเช่าซื้อ รวมทั้งยังต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง

ในที่สุดหลังจากได้ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาครบถ้วนแล้ว ผู้เช่าซื้อมีสิทธิเรียกร้อง

ต่อผู้ให้เช่าซื้อให้เปลี่ยนแปลงทะเบียนสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ให้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์

ให้แก่ผู้เช่าซื้อต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นต้น

                1.5  สัญญากู้ยืม

                สัญญากู้ยืม หมายถึง สัญญาซึ่งผู้ที่ต้องการเงิน เรียกว่าผู้กู้ตกลงยืมเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ให้กู้เพื่อนำไปใช้ตามความต้องการ และตกลงว่าจะคืนเงินตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้โดยผู้กู้ให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้เป็นค่าตอบแทน สัญญากู้ยืมเงินจึงต่างกับสัญญายืมโดยทั่วไปซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ให้ยืมยอมให้ผู้ยืมใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินได้โดยไม่เรียกค่าตอบแทน

                การกู้ยืมเงินจะมีผลต่อเมื่อมีการส่งมอบเงินให้แก่ผู้กู้และกฎหมายบังคับว่าการกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้เงินกันจริง ซึ่งขอให้เป็นเพียงหนังสือแสดงว่ามีการรับเงินยืมไปจริง ลงลายมือชื่อผู้กู้ หรือในกรณีที่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ต้องมีลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้ประทับในหนังสือดังกล่าว โดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั้นอย่างน้อยสองคน หลักฐานดังกล่าวนี้อาจทำขึ้นภายหลังการมอบเงินให้แก่กัน เช่น เป็นหนังสือขอผัดผ่อนการชำระเงินได้

                และในกรณีที่ตกลงกันว่าให้เรียกดอกเบี้ยได้แต่มิได้ระบุอัตราไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิได้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7) ถ้ามีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ผู้ให้กู้จะเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าผู้ให้กู้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่านี้แม้ผู้กู้จะยินยอมก็ไม่มีผล หมายความว่า การเรียกดอกเบี้ยเป็นอันใช้ไม่ได้ทั้งหมด และผู้ให้กู้มีความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 ยกเว้นการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารหรือบริษัทเงินทุนหรือบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งมีกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.. 2523 ยอมให้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้

                ในการชำระหนี้เงินกู้แต่ละครั้ง ผู้กู้มีสิทธิเรียกให้ผู้ให้กู้ออกหลักฐานการใช้เงินให้ เช่น ออกใบรับเงินและเมื่อชำระหนี้หมดแล้ว มีสิทธิเรียกสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้กลับคืนมา หรือให้ระบุในสัญญาว่าได้มีการชำระเงินกู้และดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วด้วย แต่ถ้าผู้กู้บิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ให้กู้มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยที่ยังค้างชำระได้ตามสัญญา โดยกฎหมายกำหนดอายุความไว้ให้ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินคืน

                1.6  สัญญาจำนำ

                สัญญาจำนำ ได้แก่ สัญญาซึ่งผู้จำนำส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ได้ให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อประกันการชำระหนี้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747) ซึ่งหมายความว่าสัญญานี้เกิดขึ้นเพื่อให้เจ้าหนี้มีหลักประกันการชำระหนี้ยึดถือไว้ เช่น ลูกหนี้อาจนำนาฬิกาของตนจำนำไว้กับเจ้าหนี้ เป็นต้น

                การจำนำไม่ต้องมีหลักฐานหรือทำตามแบบแต่อย่างใด เมื่อมอบทรัพย์สินที่จำนำแก่ผู้รับจำนำแล้วเขาก็มีสิทธิยึดทรัพย์สินนั้นไว้ จนกว่าจะได้รับการชำระหนี้ครบถ้วน ซึ่งรวมทั้งเงินต้น ดอกเบี้ยค่าเสียหายจากการไม่ชำระหนี้ ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินที่จำนำรวมทั้งค่าทดแทนความเสียหาย ซึ่งเกิดจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่จำนำ ซึ่งผู้รับจำนำมองไม่เห็นเมื่อรับจำนำไว้

                ผู้รับจำนำมีหน้าที่ต้องเก็บรักษาและสงวนทรัพย์สินที่จำนำให้ปลอดภัยไม่สูญเสีย หรือเสียหายไป หากผู้รับจำนำใช้สอย หรือให้ผู้อื่นใช้สอย หรือเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นและเกิดเสียหายขึ้นจะต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าผู้รับจำนำต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทรัพย์สินที่จำนำนั้นไปตามปกติ ผู้รับจำนำมีสิทธิเรียกจากผู้จำนำได้

                เนื่องจากสัญญาจำนำทำขึ้น เพื่อใช้ประกันการชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้ (ผู้จำนำ) ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิบังคับจำนำ โดยต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือแก่ลูกหนี้ให้ชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ (ถ้ามี) ภายในกำหนดเวลาอันสมควร หลังจากนั้นหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนำมีสิทธิเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาด คือ การขายทรัพย์สินที่ทำโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์จะซื้อสู้ราคากันผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอดตลาดตกลงรับเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น โดยจะต้องแจ้งเป็นหนังสือบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบกำหนดเวลาและสถานที่ซึ่งจะขายทอดตลาดด้วยอย่างไรก็ตามหากผู้จำนำค้างชำระหนี้เกินกว่าหนึ่งเดือน และไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้

ผู้รับจำนำก็นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน การบังคับจำนำต้องทำโดยการขายทอดตลาดเท่านั้น ผู้รับจำนำจะทึกทักว่าทรัพย์สินที่จำนำหลุดเป็นของตนโดยพลการไม่ได้ ถึงแม้จะตกลงกันไว้ล่วงหน้ายกเว้นการบังคับจำนำข้อตกลงนั้นก็ใช้ไม่ได้

                เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนำแล้วได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักมาใช้หนี้ได้จนครบ หากยังมีเงินเหลือต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ แต่เมื่อขายทอดตลาดแล้วเงินยังขาดอยู่เท่าใดผู้จำนำยังต้องใช้คืนจนครบ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 767)

                การบังคับจำนำจะทำได้ต่อเมื่อยังมีทรัพย์สินที่จำนำอยู่กับผู้รับจำนำ ดังนั้น หากผู้รับจำนำคืนทรัพย์สินนั้นให้ผู้จำนำไปแล้ว การจำนำเป็นอันระงับไป ผู้รับจำนำไม่มีทางบังคับกับทรัพย์สินนั้นอีก คงทำได้เพียงฟ้องบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ที่ค้าง ดังเช่น การเรียกให้ชำระหนี้ที่ไม่มีหลักประกันอย่างปกติเท่านั้น

                1.7 สัญญาจำนอง

                สัญญาจำนอง คือ สัญญาซึ่งผู้จำนองเอาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน เป็นต้น หรือสังหาริมทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ของตนเองไปตราไว้แก่ผู้รับจำนองโดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองนั้นให้ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งอาจเป็นตัวผู้จำนองเองหรือบุคคลอื่นก็ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702)

                การนำทรัพย์สินไปตราไว้ในที่นี้ หมายถึง การเอาทรัพย์สินนั้นไปทำหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนอง ณ สำนักงานที่ดิน เป็นต้น สำหรับสังหาริมทรัพย์ที่จำนองได้ ได้แก่ สิ่งที่จดทะเบียนได้ เช่น เรือ แพ สัตว์พาหนะ หรือที่เรียกกันว่าสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ รวมทั้งสังหาริมทรัพย์อื่นที่กฎหมายให้จดทะเบียนจำนองได้ เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น แม้จำนองสังหาริมทรัพย์แล้ว เจ้าของก็ยังครอบครองต่อไปได้อีกไม่ต้องส่งมอบแก่เจ้าหนี้เหมือนกับการจำนำเนื่องจากการจำนองมีหลักฐานปรากฏอยู่ในทะเบียนหรือหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นให้ผู้อื่นสามารถตรวจพบได้นั่นเอง อนึ่ง การเพียงแต่มอบโฉนดที่ดินหรือหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้ยังไม่ใช่การจำนอง เพราะการจำนองจะเกิดขึ้นโดยการจดทะเบียน

                การชำระหนี้จำนองไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม การสิ้นสุดหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ ในการจำนองก็ตาม ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย มิฉะนั้นจะนำไปใช้อ้างกับบุคคลภายนอกไม่ได้

                การจำนองมีผลเป็นหลักประกันการชำระหนี้ ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย ค่าเสียหาย จากการไม่ชำระหนี้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถาม รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนองทำให้ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ แม้มีการโอนทรัพย์สินจำนองให้แก่บุคคลภายนอกแล้วผู้รับจำนองก็ยังบังคับจำนองจากทรัพย์สินนั้นได้ การบังคับจำนองทำโดยผู้รับจำนองมีหนังสือแจ้งลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร มิฉะนั้นจะใช้สิทธิบังคับจำนองต่อไป หากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนองต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาล โดยขอต่อศาลว่าหากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินจำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับจำนอง หรือให้มีการขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้นต่อไป อย่างไรก็ตามเมื่อลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง 5 ปี และผู้จำนองแสดงต่อศาลไม่ได้ว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระ รวมทั้งทรัพย์สินนั้นไม่ได้จดทะเบียน การจำนองรายอื่นหรือบุริมสิทธิ์ (คือ สิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น) ไว้ ผู้รับจำนองขอต่อศาลให้ทรัพย์สินนั้นหลุดเป็นสิทธิได้โดยไม่ต้องมีการขายทอดตลาด

                หลังจากมีการขายทอดตลาดแล้ว หากได้เงินสุทธิต่ำกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ตามหลักลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ในเงินที่ยังขาดอยู่อีก แต่ถ้าตกลงยกเว้นไว้ในสัญญาจำนองว่าให้ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดชอบหลังการบังคับจำนองแล้วจนมีการชำระเงินครบถ้วน เมื่อได้มีการบังคับจำนองแล้ว ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดชอบในเงินที่ค้างอยู่

เรียบเรียงโดย  สุคนธ์ สินธพานนท์

ใบงานที่ 2.1  เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก

คำชี้แจง    ให้นักเรียนอ่านกรณีศึกษา แล้วตอบคำถาม

กรณีศึกษาที่ 1

                ธนาตกลงซื้อบ้านพร้อมที่ดินของประวัติ เป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท ธนาวางมัดจำให้ประวัติเป็นจำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาท โดยนัดจะไปทำสัญญาและจดทะเบียนกับเจ้าพนักงานที่ดินที่สำนักงานที่ดินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทำสัญญา ต่อมามีคนให้ราคาบ้านพร้อมที่ดินของประวัติเป็นจำนวนเงิน 8 ล้านบาท ดังนั้นประวัติจึงไม่ยอมขายบ้านให้กับธนา

คำถาม  ธนาจะฟ้องบังคับให้ประวัติขายที่ดินพร้อมบ้านให้แก่ตนเองหรือเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ อธิบายเหตุผล

คำตอบ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 

กรณีศึกษาที่ 2

                ธารีทำสัญญาขายฝากรถยนต์ให้แก่มณีเป็นเวลา 3 ปี เป็นจำนวนเงินแปดแสนบาท โดยทำสัญญากันเองไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อครบกำหนดเวลา 3 ปี ธารีไม่สามารถนำเงินไปคืนแก่  ธารีได้

คำถาม  มณีมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่และธารีมีสิทธิไถ่รถยนต์คืนได้หรือไม่

คำตอบ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                

ใบงานที่ 2.1  เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก

คำชี้แจง    ให้นักเรียนอ่านกรณีศึกษา แล้วตอบคำถาม

กรณีศึกษาที่ 1

                ธนาตกลงซื้อบ้านพร้อมที่ดินของประวัติ เป็นจำนวนเงิน 5 ล้านบาท ธนาวางมัดจำให้ประวัติเป็นจำนวนเงินหนึ่งหมื่นบาท โดยนัดจะไปทำสัญญาและจดทะเบียนกับเจ้าพนักงานที่ดินที่สำนักงานที่ดินภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันทำสัญญา ต่อมามีคนให้ราคาบ้านพร้อมที่ดินของประวัติเป็นจำนวนเงิน 8 ล้านบาท ดังนั้นประวัติจึงไม่ยอมขายบ้านให้กับธนา

คำถาม  ธนาจะฟ้องบังคับให้ประวัติขายที่ดินพร้อมบ้านให้แก่ตนเองหรือเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ อธิบายเหตุผล

คำตอบ  ธนาสามารถฟ้องบังคับให้ประวัติขายที่ดินพร้อมบ้านหรือเรียกค่าเสียหายได้ เพราะเข้าองค์           

ประกอบของสัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไว้ว่าต้องตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีการวางมัดจำ       

หรือมีการชำระหนี้บางส่วนไว้ จึงจะฟ้องร้องให้ทำตามสัญญากันได้ กรณีนี้ธนาได้มีการวางมัดจำ              

ไว้แล้ว                                                                                                                                                                                   

กรณีศึกษาที่ 2

                ธารีทำสัญญาขายฝากรถยนต์ให้แก่มณีเป็นเวลา 3 ปี เป็นจำนวนเงินแปดแสนบาท โดยทำสัญญากันเองไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อครบกำหนดเวลา 3 ปี ธารีไม่สามารถนำเงินไปคืนแก่  ธารีได้

คำถาม  มณีมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์หรือไม่และธารีมีสิทธิไถ่รถยนต์คืนได้หรือไม่

คำตอบ  มณีมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์เป็นไปตามสัญญาขายฝาก คือ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของผู้ซื้อ

ตั้งแต่วันทำสัญญา แต่มีข้อตกลงว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ภายในเวลาที่ตกลงกัน แต่ธารีไม่ได้ไถ่รถยนต์

คืนจากนายมณีภายในเวลาที่กำหนด นายธารีจึงไม่มีสิทธิไถ่คืน                                                                             

ใบงานที่ 2.2  เรื่อง เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ

คำชี้แจง    ให้นักเรียนอ่านกรณีศึกษา แล้วตอบคำถาม

กรณีศึกษาที่ 1

                สมเจตน์ทำสัญญาเช่าห้องแถวของวาเรศ เป็นเวลา 4 ปี ทั้งสองคนทำสัญญาเป็นหนังสือที่บ้านของวาเรศ โดยมีเก่งและก้านลงลายมือชื่อเป็นพยาน ต่อมาเมื่อสัญญาครบ 3 ปี วาเรศเปลี่ยนใจไม่ยอมให้สมเจตน์เช่าต่อ

คำถาม  สมเจตน์จะฟ้องบังคับให้วาเรศเช่าต่อให้ครบ 4 ปีได้หรือไม่ อธิบายเหตุผล

คำตอบ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 

กรณีศึกษาที่ 2

                สันติทำสัญญาเช่าซื้อรถจักรยานยนต์จากธาดาเป็นจำนวนเงิน 3 หมื่นบาท โดยมีข้อตกลงว่าสันติจะชำระค่าเช่าซื้อจำนวน 30 งวด งวดละ 1 พันบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าสันติผิดนัดไม่ชำระสองงวดติดต่อกัน ธาดามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ สันตินำรถจักรยายนต์ไปใช้ในการทำงานและส่งเงินชำระค่าเช่าซื้อให้แก่ธาดาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสันติส่งค่าเช่าซื้อไปได้ 25 งวด แต่สันติประสบอุบัติเหตุไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกัน 3 งวด

คำถาม  ธาดาสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อสันติได้หรือไม่ และจะริบเงินพร้อมเอารถจักรยานยนต์คืนได้หรือไม่ อธิบายเหตุผล

คำตอบ