มนุษย์เริ่มมีตัวอักษร

      ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาและยุคสมัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่ามนุษย์ในอดีตได้คิดอะไร และกระทำสิ่งใด อีกทั้งความคิดและการกระทำดังกล่าวมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ทั้งในช่วงเวลาดังกล่าว และช่วงเวลาต่อมาอย่างไร หากแต่อดีตของมนุษย์นั้นมีระยะเวลายาวนานมาก จึงจำเป็นจะต้องมีการแบ่งช่วงเวลาดังกล่าวออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอดีต ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และเพื่อให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของแต่ละช่วงเวลา

      ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์, สมัยกึ่งประวัติศาสตร์, และ สมัยประวัติศาสตร์ สำหรับสิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอายุคือ “ตัวอักษร” ดังนั้นแล้ว ในแต่ละสังคมหรือแหล่งอารยธรรมต่าง ๆ ในโลก จึงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับว่าสังคมหรืออารยธรรมใดสามารถประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ได้ก่อน

      สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistorical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราว ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่มีหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เช่น เอกสาร หรือจารึกที่บันทึกเรื่องราวให้มนุษย์ในยุคหลังทราบได้
      ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยการสันนิษฐาน และการตีความจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ, เครื่องประดับ, ภาพเขียนสีบนเพิงผาและผนังถ้ำ, หลุมฝังศพ เป็นต้น สำหรับตัวอย่างหลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โครงกระดูกของมนุษย์โครมันยอง, โครงกระดูกของมนุษย์ชวา, โครงกระดูกของมนุษย์ปักกิ่ง, แหล่งโบราณคดีชุมชนบ้านเชียง เป็นต้น
      สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ
      สมัยกึ่งประวัติศาสตร์ (Protohistorical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อใช้บันทึกเรื่องราว แต่ได้มีมนุษย์จากสังคมอื่น ๆ ซึ่งได้เดินทางผ่านมาเพื่อติดต่อค้าขาย และได้บันทึกเรื่องราวของมนุษย์จากสังคมเหล่านั้นเอาไว้    
      สมัยประวัติศาสตร์ (Historical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ในสังคมเริ่มรู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้มนุษย์ในยุคหลังสามารถเข้าใจเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าว ผ่านการศึกษาและตีความจากหลักฐานลายลักษณ์อักษรต่าง ๆ เช่น ศิลาจารึก พงศาวดาร หนังสือ เป็นต้น ดังนั้น แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน
      สมัยประวัติศาสตร์ หากแบ่งตามประวัติศาสตร์สากลแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 4 สมัยได้แก่ ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ และประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน 

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบบสากล
             นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เป็น 2 สมัย คือ
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่คนมีการศึกษาเรื่องราวต่างๆ จากเครื่องมือเครื่องใช้ยังไม่มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร สามารถแบ่งออกเป็นยุคย่อยๆ ตามพัฒนาการในการใช้เครื่องมือของมนุษย์ดังนี้
             1.1 ยุคหิน เป็นยุคที่ใช้หินเป็นเครื่องมือและอาวุธ แบ่งเป็น 3 ยุค คือ
                          - ยุคหินเก่า เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือจากหินหยาบๆ พบทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                           - ยุคหินกลาง เป็นยุคที่มนุษย์ได้เริ่มทำเครื่องมือที่มีความประณีตมากขึ้น เช่น เครื่องมือแบบบักโซ - ฮัวบินเหนียน ปัจจุบันพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อ่าวไทย และฝั่งตะวันตกของเกาะชวา
                           - ยุคหินใหม่ มนุษย์นำหินมาจัดทำให้เครื่องมือและอาวุธมีความละเอียดมากขึ้นบางครั้งเรียกว่า ยุคหินขัด พบมาก ในตะวันออกกลาง จีนและอินเดียในทวีปและหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              1.2 ยุคโลหะ เป็นยุคที่นำโลหะมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ระยะแรกใช้ทองแดงและดีบุกแบ่งออกเป็น ยุคย่อยๆ ดังนี้
                           - ยุคสำริด มีการนำทองแดงมาหลอมรวมกับดีบุกกลายเป็นสำริด ทำอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ เช่น กลองมโหรทึก
                           - ยุคเหล็ก เป็นมนุษย์กลุ่มแรกที่มีการใช้เหล็ก คือ ตะวันออกกลางเป็นการนำเอาของที่มีความแข็งและคงทนกว่ามาเป็น เครื่องมือเครื่องใช้
2. สมัยประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร ชาวตะวันตกแบ่งสมัยประวัติ- ศาสตร์ออกเป็นสมัยต่าง ๆ ดังนี้
             2.1 สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่มนุษย์สร้างเมืองบนลุ่มแม่น้ำไทกรีสยูเฟตีส และประดิษฐ์ตัวอักษรใช้ นอกจากนั้นยังมีชาวอียิปต์ สร้างความเจริญบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ คนอินเดียสร้างความเจริญลุ่มแม่น้ำสินธุ คนจีน สร้างความเจริญบริเวณลุ่มน้ำฮวงโห คน กรีกและโรมันสร้างความเจริญบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
             -เป็นดินแดนที่อยู่ลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทิส
             -ประดิษฐ์อักษรคูนิฟอร์ม
             -การสร้างซิกกูแรตใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
             -รู้จักขุดคลองระบายน้ำ
             -พวกอะมอไรต์ได้ตั้งจักรวรรดิบาบิโลนเนียนและจัดทำประมวลกฎหมาย "ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี" บทลงโทษแบบ รุนแรง
อารยธรรมอียิปต์
              -มีความเก่าแก่เทียบเท่าได้กับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
              -อยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ของอียิปต์
             -การประดิษฐ์ตัวอักษรภาพ "ไฮโรกลิฟิก"
             -พีระมิดเพื่อใช่เก็บพระศพของฟาโรห์>>>มัมมี่
              -รู้จักการชลประทาน การขุดคลองส่งน้ำ การทำปฏิทิน อารยธรรมกรีก
             -มีความเจริญรุ่งเรื่องในบริเวณคาบสมุทรบอลข่านทางตอนเหนือของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
             -ในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช "ยุคเฮเลนิสติก" สามารถขยายอาณาเขตไปถึงเอเชียไมเนอร์ เปอร์เซีย อียิปต์ จนถึง อินเดีย
             -หลังสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกรีกก็แตกแยกออกเป็นอาณาจักรต่างๆและตกอยู่ใต้ การยึดครองของโรมัน
             -ชาวกรีกนิยมปั้นรูปคนที่แสดงความรู้สึกและเคลื่อนไหว
             -วรรณกรรมคือ มหากาพย์อีเลียดและอริสโตเติล
อารยธรรมโรมัน
             - ชาวโรมันเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอิตาลี
             -โรมันได้รับอิธิพลจากอารยธรรมกรีก
             - การจัดทำกฎหมายสิบสองโต๊ะ
              -ด้านการปกครองใช้รูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐและแบบมีจักรพรรดิหรือซีซาร์ -ศาสนานับถือศาสนาคริสต์
             2.2 สมัยกลาง เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่อาณาจักรโรมันล่มสลาย ทำให้ดินแดนในยุโรปแบ่งแยกเป็นแคว้นเล็ก แคว้นน้อย คนหันไป สนใจศาสนาคริสต์ ทำให้ศาสนามีอิทธิพลต่อคนยุโรปสมัยนั้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน ศาสนาอิสลามก็เริ่มมีอิทธิพลใน ตะวันออกกลางด้วย
3. สมัยใหม่ เป็นสมัยที่มีการสำรวจทางทะเล มีความเจริญทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีมีการแข่งขัน ทางการค้า เกิดความคิด เรื่องชาตินิยมอย่างรุนแรง
4. สมัยปัจจุบัน เป็นช่วงตั้งแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิด สงครามเย็น และมีการล่ม สลายของสหภาพโซเวียตมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : https://ac127.wordpress.com/2011/02/07/การแบ่งยุคสมัยทางประวั/
ที่มา : http://kruattasit.wordpress.com/2010/11/04/