มาตราส่วนแผนที่มีกี่รูปแบบ

1.แผนที่(map)คืออะไร

แผนที่คึอการแสดงลักษณะของผิวโลกลงบนวัสดุแบนราบ โดยแทนสิ่งต่างๆที่เกิดตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามต้องการ

2.แผนที่แบ่งเป็นกี่ชนิด

1.จำแนกตามลักษณะการใช้ มี 3 ชนิด คือ
1.แผนที่อ้างอิง คือ คือแผนที่ที่ใช้สำหรับอ้างอิงข้อมูลในการทำแผนที่ชนิดอื่นๆ เช่นแผนที่ภูมิประเทศ แสดงลักษณะต่างๆบนพื้นผิวโลก
2.แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่จัดขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง เช่นแผนที่รัฐกิจ แสดงลักษณะทางการปกครองของประเทศ เช่นแผนที่แสดงการแบ่งเขตจังหวัดของประเทศไทย
3.แผนที่เล่ม(Atlast) เป็นแผนที่รวมแผนที่หลายๆชนิดไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่รัฐกิจ เป็นต้น

2.จำแนกตามขนาดหรือมาตราส่วน
ในกิจการทหารแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

1.แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ คือแผนที่ที่ใช้มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:75,000 สำหรับแสดงข้อมูลพื้นที่ขนาดเล็กเช่น หมู่บ้าน ตำบล เขตเทศบาลมาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:50,000
2.แผนที่มาตราส่วนขนาดกลาง คือ แผนที่ที่ใช้มาตราส่วน 1:75000ถึง 1:600,000 เพื่อแสดงข้อมูลของพื้นที่ที่กว้างใหญ่ขึ้น เช่น พื้นที่อำเภอ จังหวัด มาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:250,000
3.แผนที่มาตราส่วนขนาดเล็ก คือ แผนที่ที่ใช้มาตราส่วนเล็กกว่า 1:600,000 ใช้แสดงข้อมูลในพื้นที่ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ เช่น แผนที่ประเทศไทย แผนที่ทวีปเอเชีย มาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:1,000,000

แบ่งในทางภูมิศาสตร์ มี 3 ชนิด
– แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
– แผนที่มาตราส่วนปานกลาง ได้แก่แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 – 1:1,000,000
– แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่แผนที่มาตราส่วนเล็กกว่า 1:1,000,000

3.องค์ประกอบของแผนที่มีอะไรบ้าง

1.ขอบระวาง คือ เส้นกั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยมีตัวเลขแสดงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์กำกับไว้ที่เรียกว่าค่าละติจูด และค่าลองจิจูด

2.ชื่อของแผนที่ เช่น แผนที่ภูมิประเทศของประเทศไทย

3.ชื่อทางภูมิศาสตร์ คือ ตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่สำคัญในแผนที่นั้น เช่น ชื่อทวีป ชื่อประเทศ

4.พิกัดทางภูมิศาสตร์  เป็นการกำหนดที่ตั้งหรือตำแหน่งของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกลงในแผนที่ เช่น ที่ตั้งของจังหวัด โดยใช้ค่าละติจูด และลองจิจูด

5.ทิศ  กำหนดให้ส่วนบนของแผนที่เป็นทิศเหนือ ส่วนล่างเป็นทิศใต้ ทางขวาเป็นทิศตะวันออก ทางซ้ายเป็นทิศตะวันตก

6.มาตราส่วน คือ อัตราส่วนระหว่างระยะทางในภูมิประเทศจริงกับระยะทางในแผนที่  มาตราส่วนแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ1.มาตราส่วนเศษส่วน  ได้แก่ 1:500,000   2.มาตราส่วนเส้นหรือมาตราส่วนบรรทัด  3.มาตราส่วนคำพูด ใช้บอกมาตราส่วนในแผนที่โดยเขียนเป็นภาษาหนังสือ เช่น 1 ซ.ม.เท่ากับ 10 กิโลเมตร  เป็นต้น

7.สัญลักษณ์ คือสิ่งที่ใช้แสดงแทนข้อมูลของสิ่งต่างๆเช่น สัญลักษณ์แทนภูเขา แม่น้ำ  เป็นต้น

8.สี  ที่นิยมใช้ในแผนที่ มี  5 สี

1.สีดำ แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น โรงเรียน เขื่อน

2.สีแดง แทนถนน เส้นกั้นอาณาเขต 

3.สีน้ำเงิน แทนพื้นน้ำ 

4.สีน้ำตาล แทนความสูง เช่นเทือกเขา ที่ราบสูง

5.สีเขียว แทนพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ

4.ทิศเหนือซึ่งเป็นทิศหลักในแผนที่มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีรายละเอียดอย่างไร

ทิศเหนือในแผนที่มี 3 ชนิด คือ

1.ทิศเหนือจริง คือแนวที่ชี้ไปสู่ขั้วโลกเหนือตามทิศทางของเเนวของเส้นเมอริเดียนหรือลองจิจูด เส้นลองจิจูดทุกเส้นคือทิศเหนือจริง  สัญญลักษณ์ของทิศเหนือจริงคือรูปดาว โดยทั่วไปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนที่

2.ทิศเหนือแม่เหล็ก คือแนวที่ปลายลูกศรของเข็มทิศชี้ไปยังขั้วแม่เหล็กในซึกโลกเหนือ ใช้สัญญลักษณ์เป็นลูกศรครึ่งซีก  ใช้ประโยชน์ในการหาทิศเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง

3.ทิศเหนือกริด คือแนวทิศเหนือที่เกิดจากเส้นกริดหรือเส้นที่ลากในแผนที่ตัดกันเป็นมุมฉาก ใช้สัญญลักษณ์เป็นตัวอักษร GN  ใช้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนแผนที่ และมุมภาคของทิศ

5.การบอกทิศทางนอกจากใช้ทิศทั้ง4แล้วอาจใช้วิธีใดได้อีก

1.การบอกทิศทางแบบมุมอาซิมัท (Azimuth)เป็นมุมที่วัดจากทิศเหนือไปตามเข็มนาฬิกา มุมที่วัดได้มีค่าไม่เกิน360องศา    

2.มุมแบริง(Bearing)เป็นการบอกทิศทางโดยวัดค่ามุมในแนวราบ ซึ่งวัดจากทิศเหนือเป็นหลัก หรือวัดจากทิศใต้เป็นหลักก็ได้  โดยมีแนวเป้าหมายทางทิศตะวันออกหรือตะวันตก ขนาดของมุมแบริ่งที่วัดได้มีค่าไม่เกิน 90องศา

6.ระบบพิกัดในแผนที่ที่นิยมในปัจจุบันมีกี่แบบ ชื่ออะไร

มี 2 แบบ คือ 1.ระบบพิกัดภูมิศาสตร์  2. ระบบพิกัดกริด

7.จงอธิบายระบบพิกัดภูมิศาสตร์

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ คือ การอ้างอิงตำแหน่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ซึ่งเกิดจากการตัดกันระหว่างเส้นละติจูดและลองจิจูด

8.ค่าละติจูด มีลักษณะอย่างไร

  1. เป็นเส้นสมมุติลากรอบโลกในแนวนอน
  2. เส้นที่ยาวที่สุด คือ อีเควเตอร์ หรือเส้นศูนย์สูตร แบ่งโลกเป็น 2 ส่วนคือซีกโลกเหนือ-ใต้
  3. เริ่มต้นเส้นศูนย์สูตรที่ 0 องศา ขึ้นไปทางเหนือ 90 องศา และลงมาทางใต้ 90 องศา
  4. การกำหนดค่าละติจูด มีผลต่อการแบ่งเขตอากาศโลก เป็น 3 เขต  คือ                                          เขตร้อน   เขตอบอุ่น  เขตหนาว

9.ค่าลองจิจูด มีลักษณะอย่างไร

  1. เป็นเส้นสมมุติที่ลากในแนวตั้งจากขั้วโลกเหนือ -ขั้วโลกใต้
  2. เริ่มต้นเมอริเดียนแรกที่ ต.กรีนิช กรุงลอนดอน  สหราชอาณาจักร มีค่าเป็น 0 องศา แบ่งโลกเป็น ซึกโลกตะวันออก และซีกโลกตะวันตก และใช้กำหนดเป็นเวลามาตรฐานของโลก GMT  (Greenwich Mean Time )
  3. ค่าลองจิจูดจะนับไปทางตะวันออก 180 องศา  และทางตะวันตก 180 องศา  จนบรรจบกันที่ 180 องศา 
  4. เส้นลองจิจูดที่ 180 องศา เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากล  ลากผ่านกึ่งกลางมหาสมุทรแปซิฟิก  แต่ไม่ได้ลากตรง มีบางตอนลากอ้อม  เพื่อมิให้ดินแดนที่เป็นหมู่เกาะที่อยู่่ในรัฐเดียวกันต้องมีวันที่แตกต่างกัน

10.หลักการคำนวณเรื่องวันเวลาตามค่าลองจิจูด

  1. ถ้าข้ามเขตวันสากลไปทางซีกโลกตะวันออก เวลา เพิ่ม 1วัน
  2. ถ้าข้ามเขตวันสากลไปทางซีกโลกตะวันตก เวลาลด 1วัน
  3. ต้องดูว่าเขตนั้นอยู่ทางซีกโลกตะวันออกหรือตะวันตก ถ้าตะวันออกเวลาเร็วกว่า
  4. คำนวณตามสูตร    1  องศา  =  4  นาที่         15  องศา  =  1 =ชั่วโมง

11.จงอธิบายระบบพิกัดกริด

     พิกัดกริด UTM (Universal Transvers Mercator) เป็นระบบตารางกริดที่ใช้ช่วยในการกำหนดตำแหน่งและใช้อ้างอิงในการบอกตำแหน่ง ที่นิยมใช้กับแผนที่ในกิจการทหารของประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะเป็นระบบตารางกริดที่มีขนาดรูปร่างเท่ากันทุกตาราง และมีวิธีการกำหนดบอกค่าพิกัดที่ง่ายและถูกต้องเป็นระบบกริดที่นำเอาเส้นโครงแผนที่แบบ Universal Transvers Mercator Projection ของ Gauss Krugger มาใช้ดัดแปลงการถ่ายทอดรายละเอียดของพื้นผิวโลกให้รูปทรงกระบอก Mercator Projection อยู่ในตำแหน่ง Mercator Projection (แกนของรูปทรงกระบอกจะทับกับแนวเส้นอิเควเตอร์ และตั้งฉากกับแนวแกนของขั้วโลก)

12.วิธีอ่านระบบพิกัดกริด

ทางด้านละติจูด อยู่ระหว่าง ละติจูด 80 องศาใต้ –  84 องศาเหนือ แบ่งเป็น 20 ส่วนๆละ 8 องศา ส่วนทางด้านลองจิจูด อยู่ระหว่าง180 องศาตะวันตก  – 180 องศาตะวันออก แบ่งเป็น 60โซนๆละ 6 องศาวิธีการอ่าน คืออ่านไปทางขวาแล้วขึ้นบน

มาตราส่วนมี 3 ประเภทมีอะไรบ้าง

แผนที่ตามขนาดมาตราส่วน – แบ่งในทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็ก มีขนาดมาตราส่วนเล็กกว่า 1:1,000,000 แผนที่มาตราส่วนปานกลาง มีขนาดมาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000 และแผนที่มาตราส่วนใหญ่ มีขนาดมาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000.

มาตราส่วนมีกี่ขนาด

แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000. แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000. แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000. แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร

มาตราส่วนรูปภาพคืออะไร

มาตราส่วนรูปภาพ หรือมาตราส่วนบรรทัด ( Graphic Scale หรือ Bar Scale ) เป็นมาตราส่วนที่เป็นเส้นตรงซึ่งถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ และมีตัวเลขกำกับไว้ เพื่อบอกให้ทราบว่าระยะแต่ละส่วนในแผนที่นั้นแทนระยะในภูมิประเทศจริงเท่าไร

ประเภทของแผนที่มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

การแบ่งประเภทของแผนที่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่คือ.
แผนที่แบบแบนราบ (Planimetric Map) ... .
แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) ... .
แผนที่ภาพถ่าย (Photo Map).