กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

MOBILE

Show

ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pills)

✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว

KEY POINTS:


  • การกินยาคุมกำเนิดเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการคุมกำเนิด ตัวยามี 2 แบบ คือแบบฮอร์โมนคู่ที่มีทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน และแบบฮอร์โมนเดี่ยวที่มีเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสติน เหมาะกับผู้หญิงหลังคลอดหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
  • ยาคุมแบบ 21 เม็ดคือยาคุมที่ทุกเม็ดจะมีฮอร์โมนผสมอยู่ ส่วนยาคุมแบบ 28 เม็ด จะมี 21 เม็ดที่มีฮอร์โมนส่วนอีก 7 เม็ดจะเป็นเม็ดแป้ง ข้อดีคือช่วยป้องกันการลืมทานยาคุมและทำให้เริ่มกินแผงถัดไปได้ถูกวัน
  • ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์โดยการทำให้เกิดเมือกบริเวณปากมดลูก ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยากขึ้น รวมถึงทำให้ผนังมดลูกบางลงทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้ และยับยั้งการตกไข่


Table of Contents
ยาคุมกำเนิดคืออะไร?
ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดมีกี่ประเภท?
ยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด กับ 28 เม็ด ต่างกันอย่างไร?
หลักการเลือกยาคุมกำเนิด
วิธีกินยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์อย่างไร?
ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิด
หากลืมรับประทานยาคุมกำเนิดต้องทำอย่างไร?
ข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการกินยาคุมกำเนิด




ยาคุมกำเนิดคืออะไร?

ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pill) เป็นยาเม็ดชนิดหนึ่งเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ของสตรี ในตัวยาบรรจุฮอร์โมนเพศหญิงเอาไว้ 2 ชนิด ซึ่งก็คือเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสติน (Progestin)* เพราะฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ไม่ได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมคุมกำเนิดโดยรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด เพราะช่วยยับยั้งการตั้งครรภ์ได้ดี แถมยังหาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไป รวมถึงมีความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาวมากกว่าการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน ทำให้ยาคุมเป็นตัวเลือกที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกใช้

*โปรเจสติน คือฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อผลิตฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนเหมือนฮอร์โมนในร่างกาย


ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดมีกี่ประเภท?


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

ยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน มีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่


  • ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Pill): ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินรวมกันในหนึ่งเม็ด ฮอร์โมนทั้งสองชนิดจะช่วยยับยั้งการตกของไข่พร้อมกับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมดลูกและปากมดลูกที่ส่งผลต่อกระบวนการปฏิสนธิ ทำให้การป้องกันการตั้งครรภ์ได้ผลดีและยังทำให้ประจำเดือนมาปกติ
  • ยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestin-only Pill): ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เพื่อขัดขวางไม่ให้อสุจิกับไข่มาผสมกัน ยาคุมชนิดนี้เหมาะสำหรับสตรีผู้มีปัญหาสุขภาพหรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรหลังคลอด เพราะหากทานชนิดที่มีเอสโตรเจนจะส่งผลกระทบต่อการยับยั้งการไหลของน้ำนมและระบบของร่างกายบางส่วนด้วย

ยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด กับ 28 เม็ด ต่างกันอย่างไร?

ยาคุมกำเนิด 1 แผงจะมีจำนวนเม็ดไม่เท่ากัน มีจำหน่ายทั้งยาคุมแบบ 21 เม็ด และยาคุมแบบ 28 เม็ด ความแตกต่างที่ทำให้ยาคุมมีจำนวนเม็ดไม่เท่ากันก็คือ จำนวนวันที่ต้องรับประทาน วิธีกินยาคุมกำเนิด และสิ่งที่บรรจุอยู่ในตัวยาคุม โดยมีรายละเอียดดังนี้


  • ยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด จะเป็นยาที่มีฮอร์โมนบรรจุอยู่ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม ต้องรับประทานยาทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนครบ 21 วัน แล้วเว้นไว้ 7 วัน แล้วค่อยเริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่
  • ยาคุมกำเนิดแบบ 28 เม็ด จะประกอบด้วยยาฮอร์โมน 21 เม็ด และยาไม่มีฮอร์โมนอีก 7 เม็ด หรือที่เรียกว่า “เม็ดแป้ง” การรับประทานยาคุมเหมือนกับยาคุมแบบ 21 เม็ด เพียงแต่ช่วงที่เว้นยาไว้ต้องกินยาที่ไม่มีฮอร์โมนอีก 7 วัน วันละ 1 เม็ด รวมทั้งสิ้น 28 วัน จากนั้นก็เริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่ต่อได้เลย

หลักการเลือกยาคุมกำเนิด


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

การเลือกใช้ยาคุมกำเนิดจะต้องพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของยาคุมแต่ละชนิด รวมถึงสภาพร่างกายของสตรีเองด้วย เพราะผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้ระบบในร่างกายผิดปกติได้ เพื่อให้ได้ยาคุมที่เหมาะสมกับผู้ใช้ควรมีหลักการในการเลือกยาคุมกำเนิด ดังนี้


  1. ยาคุมที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ อย่างเช่น Mercilon, Meliane, Yaz เหมาะสำหรับผู้หญิงผู้มีผลข้างเคียงจากเอสโตรเจน ซึ่งจะมีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายจะวูบ คลื่นไส้อาเจียน คัดเต้านม ตัวบวมน้ำ รวมถึงผู้หญิงที่มีประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  2. ยาคุมที่มีส่วนประกอบของ Cyproterone Acetate, Drospirenone, Chlormadinone อย่างยาคุม Diane-35, Preme, Tina, Sucee, Yasmin, Yaz, Belala เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง ซึ่งจะมีสิว หน้ามัน ขนดก
  3. ยาคุมสูตร 24/4 (ยาคุมที่ประกอบด้วยยาฮอร์โมน 24 เม็ด และเม็ดแป้งอีก 4 เม็ด) เช่น Yaz, Synfonia เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีอารมณ์แปรปรวนและมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนมีประจำเดือน
  4. ผู้หญิงที่กลัวน้ำหนักขึ้นและไม่ต้องการรักษาสิวที่รุนแรง ควรใช้ยาคุมที่มีส่วนประกอบของ Drospirenone เช่น Yasmin, Yaz หรือ Synfonia


วิธีกินยาคุมกำเนิด

วิธีการกินยาคุมกำเนิดที่มีจำนวนยาไม่เท่ากันนั้น มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น จะขออธิบายวิธีกินยาคุมโดยแบ่งออกเป็นวิธีกินยาคุม 21 เม็ด และ 28 เม็ด


  • วิธีกินยาคุมแบบ 21 เม็ด: ยาคุมชนิดนี้จะมีวันระบุอยู่บนแผงยา ตั้งแต่วันจันทร์จะถึงวันอาทิตย์ โดยเริ่มกินเม็ดแรกภายใน 5 วันแรกที่มีประจำเดือน แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุดแนะนำให้กินวันแรกที่มีประจำเดือน วันที่กินตรงกับวันอะไรให้แกะยากินในวันนั้น หลังจากนั้นต้องกินเม็ดต่อไป “ทุกวัน” ในช่วงเวลาเดียวกันวันละ 1 เม็ด จนกว่ายาคุมจะหมดแผง เมื่อยาหมดแผงแล้ว ให้เว้นระยะการกินยาไว้ 7 วัน ซึ่งอาจจะมีเลือดออกคล้ายประจำเดือนกะปริดกะปรอย เมื่อถึงวันที่ 8 ของการเว้นว่างให้เริ่มกินยาคุมแผงใหม่ได้
  • วิธีกินยาคุมแบบ 28 เม็ด: บนแผงยาคุมจะมีตัวเลข 1-28 กำกับไว้ ไม่ต้องกินตามวันในปฏิทิน เพียงแต่กินยาคุมตามลำดับเม็ด โดยเริ่มต้นจากการแกะยาคุมเม็ดที่ 1 ซึ่งจะต้องกินภายใน 5 วันแรกที่มีประจำเดือนจากนั้นก็กิน “ทุกวัน” วันละ 1 เม็ดจนกว่าจะครบ 28 เม็ด พอหมดแผงแล้วก็เริ่มกินยาคุมแผงใหม่ได้เลย วิธีการกินยาคุมชนิดนี้สะดวกกว่ายาคุมแบบ 21 เม็ด เพราะไม่ต้องเว้นว่าง 7 วันซึ่งอาจจะทำให้หลงลืมวันที่กินได้

ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์อย่างไร?


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

ยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน จะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อขัดขวางการปฏิสนธิของอสุจิและไข่ ซึ่งการออกฤทธิ์ของยาคุมทั้งชนิดฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนเดียว จะทำให้เกิดเมือกที่ปากมดลูกหนาขึ้นเพื่อไม่ให้อสุจิเดินทางไปหาไข่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผนังมดลูกบางลงเพื่อไม่ให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้ รวมถึงยับยั้งการตกไข่เพื่อไม่ให้ไข่สุกหรือทำให้ไข่ออกจากรังไข่ยากขึ้น และยังทำให้ท่อนำไข่เกิดการเคลื่อนตัวเพื่อไม่ให้ตัวอ่อนที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วฝังตัวได้ในเวลาที่เหมาะสมตามธรรมชาติของร่างกาย ฉะนั้นแล้วเพื่อให้การออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรรับประทานยาคุมอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง


ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิด

ไม่ว่าจะรับประทานยาคุมชนิดไหนเข้าไป มักจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับร่างกายในระหว่างที่ต้องกินยาคุม มาดูกันดีกว่าว่ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง โดยจำแนกออกเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนเดี่ยว


  • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม
    เนื่องจากในตัวยามีฮอร์โมนอาจจะทำให้มีฮอร์โมนในร่างกายมากเกินไป ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ตัวบวมน้ำ มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน โรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยว
    ผลข้างเคียงจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่เริ่มรับประทานยาคุมเข้าไป แล้วถัดไป 2-3 เดือนผลข้างเคียงก็จะค่อยๆ บรรเทาลง ผู้หญิงบางคนอาจจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวน น้ำหนักตัวเพิ่ม มีสิวขึ้น หน้ามัน คลื่นไส้ อาเจียน มีจุดด่างปรากฏบนผิวหนัง คัดหน้าอกเหมือนเจ็บเต้านม

หากลืมรับประทานยาคุมกำเนิดต้องทำอย่างไร?


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าบางทีผู้ใช้อาจมีการหลงลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ้าง หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการรับประทานยาคุมให้ต่อเนื่องได้ ผู้หญิงหลายคนจึงต้องมีวิธีรับประทานยาคุมเวลาหลงลืมเพื่อรักษาประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ให้คงอยู่ได้


  • กรณีที่ลืมรับประทานยา 1 เม็ด
    หากนึกขึ้นได้ว่าลืมรับประทานยาคุมในช่วง 24 ชั่วโมง ให้รีบรับประทานยาทันที แต่ถ้าเกิน 1 วันไปแล้ว วันถัดไปให้รับประทานพร้อมกัน 2 เม็ด
  • กรณีที่ลืมรับประทานยาไปแล้ว 2 เม็ด
    และนึกขึ้นได้เมื่อเวลาเกินกว่า 48 ชั่วโมง ให้รีบรับประทานยา 2 เม็ดพร้อมกัน แล้วก็รับประทานอีก 2 เม็ดในวันถัดไป พร้อมกับคุมกำเนิดวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย
  • กรณีที่ลืมรับประทานยาคุมมากกว่า 2 วัน
    ควรทิ้งยาคุมแผงปัจจุบันไป แล้วต้องคุมกำเนิดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ด้วยทุกครั้งอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะถึงรอบเดือนใหม่ จึงจะเริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่ได้
  • หากลืมทานเม็ดที่เป็นแป้งให้แกะเม็ดนั้นทิ้งได้เลย แล้วทานเม็ดถัดไปเมื่อถึงเวลาตามปกติ

ข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิด


  • ผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินของเลือด หรือเคยมีประวัติรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตัน ห้ามรับประทานยาคุมโดยเด็ดขาด ยกเว้นว่าได้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
  • ห้ามสูบบุหรี่ระหว่างช่วงที่ต้องกินยาคุมเพราะจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำได้
  • ห้ามทานยาคุมหมดอายุโดยเด็ดขาด
  • ห้ามผู้หญิงที่ให้นมบุตรใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม ควรใช้ยาคุมประเภทโปรเจสตินอย่างเดียว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการกินยาคุมกำเนิด


1. กินยาคุมทำให้อ้วนจริงหรือไม่?

ยาคุมกำเนิดมีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายบวมน้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ ผู้หญิงคนไหนต้องการรับประทานยาคุมที่ไม่ทำให้อ้วน แนะนำให้เลือกใช้ยาคุมที่มีตัวยาดรอสไพรีโนน (Drospirenone) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดการบวมน้ำของร่างกายได้


2. การกินยาคุมทำให้เกิดมะเร็งจริงหรือไม่?

ยาคุมกำเนิดไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งแต่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้น ถ้าหากมีการรับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ทานยาคุมมากกว่า 1 ปี เนื่องจากมะเร็งเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงเกินไป อาจทำให้เซลล์มะเร็งในร่างกายเติบโตตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาคุมเป็นการสังเคราะห์ขึ้นมา อยู่ในร่างกายไม่นานก็สลายตามธรรมชาติ เมื่อหยุดกินยาคุมปริมาณฮอร์โมนก็จะน้อยลง ทำให้โอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลดลง ฉะนั้นแล้วยาคุมกำเนิดไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง การเป็นมะเร็งยังคงเกิดจากสาเหตุหลักอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร สภาพแวดล้อม


3. กินยาคุมแล้วท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สาเหตุที่ทำให้ตั้งครรภ์อาจจะมาจากการรับประทานยาคุมที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดวินัยในการรับประทานยาคุม จากบทความของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า การที่ร่างกายไม่ได้รับยาคุมอย่างสม่ำเสมอทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง 9% ทำให้เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ฉะนั้นแล้วการรับประทานยาคุมที่ถูกต้องและสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ


4. ยาคุมฮอร์โมนต่ำเหมาะกับใคร?

ยาคุมฮอร์โมนต่ำคือยาคุมที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ในขณะที่ยังคงมีฮอร์โมนโปรเจสตินในปริมาณปกติ อย่างเช่น ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหรือการไหลเวียนของเลือด และสำคัญที่สุดีผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมหลังคลอดไม่ควรรับประทานยาคุมฮอร์โมนรวมเด็ดขาด เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปยับยั้งการผลิตน้ำนมของแม่ ยาคุมฮอร์โมนต่ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุดนั่นเอง


5. กินยาคุมกี่วันถึงมีเพศสัมพันธ์ได้?

หากอยู่ในช่วงระหว่างการรับประทานยาคุมกำเนิดสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย ฉะนั้นแล้วต้องรับประทานยาคุมติดต่อกันเกิน 7 วันก่อน ถึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ และต้องรับประทานยาคุมในช่วงเวลาเดียวกันต่อไปจนกว่าจะหมดแผง


บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
อาการคนท้องในระยะเริ่มต้น และการดูแลตัวเองฉบับคุณแม่มือใหม่
ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
ยาเลื่อนประจำเดือน (Period Delay Tablets)
ตาบอดสี (Color Blindness)



✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม




แหล่งข้อมูล


ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pills)

✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว

KEY POINTS:


  • การกินยาคุมกำเนิดเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการคุมกำเนิด ตัวยามี 2 แบบ คือแบบฮอร์โมนคู่ที่มีทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน และแบบฮอร์โมนเดี่ยวที่มีเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสติน เหมาะกับผู้หญิงหลังคลอดหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
  • ยาคุมแบบ 21 เม็ดคือยาคุมที่ทุกเม็ดจะมีฮอร์โมนผสมอยู่ ส่วนยาคุมแบบ 28 เม็ด จะมี 21 เม็ดที่มีฮอร์โมนส่วนอีก 7 เม็ดจะเป็นเม็ดแป้ง ข้อดีคือช่วยป้องกันการลืมทานยาคุมและทำให้เริ่มกินแผงถัดไปได้ถูกวัน
  • ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์โดยการทำให้เกิดเมือกบริเวณปากมดลูก ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยากขึ้น รวมถึงทำให้ผนังมดลูกบางลงทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้ และยับยั้งการตกไข่


Table of Contents
ยาคุมกำเนิดคืออะไร?
ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดมีกี่ประเภท?
ยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด กับ 28 เม็ด ต่างกันอย่างไร?
หลักการเลือกยาคุมกำเนิด
วิธีกินยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์อย่างไร?
ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิด
หากลืมรับประทานยาคุมกำเนิดต้องทำอย่างไร?
ข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการกินยาคุมกำเนิด




ยาคุมกำเนิดคืออะไร?

ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pill) เป็นยาเม็ดชนิดหนึ่งเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ของสตรี ในตัวยาบรรจุฮอร์โมนเพศหญิงเอาไว้ 2 ชนิด ซึ่งก็คือเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสติน (Progestin)* เพราะฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ไม่ได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมคุมกำเนิดโดยรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด เพราะช่วยยับยั้งการตั้งครรภ์ได้ดี แถมยังหาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไป รวมถึงมีความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาวมากกว่าการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน ทำให้ยาคุมเป็นตัวเลือกที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกใช้

*โปรเจสติน คือฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อผลิตฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนเหมือนฮอร์โมนในร่างกาย


ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดมีกี่ประเภท?


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

ยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน มีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่


  • ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม (Combined Pill): ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินรวมกันในหนึ่งเม็ด ฮอร์โมนทั้งสองชนิดจะช่วยยับยั้งการตกของไข่พร้อมกับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมดลูกและปากมดลูกที่ส่งผลต่อกระบวนการปฏิสนธิ ทำให้การป้องกันการตั้งครรภ์ได้ผลดีและยังทำให้ประจำเดือนมาปกติ
  • ยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (Progestin-only Pill): ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เพื่อขัดขวางไม่ให้อสุจิกับไข่มาผสมกัน ยาคุมชนิดนี้เหมาะสำหรับสตรีผู้มีปัญหาสุขภาพหรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรหลังคลอด เพราะหากทานชนิดที่มีเอสโตรเจนจะส่งผลกระทบต่อการยับยั้งการไหลของน้ำนมและระบบของร่างกายบางส่วนด้วย

ยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด กับ 28 เม็ด ต่างกันอย่างไร?

ยาคุมกำเนิด 1 แผงจะมีจำนวนเม็ดไม่เท่ากัน มีจำหน่ายทั้งยาคุมแบบ 21 เม็ด และยาคุมแบบ 28 เม็ด ความแตกต่างที่ทำให้ยาคุมมีจำนวนเม็ดไม่เท่ากันก็คือ จำนวนวันที่ต้องรับประทาน วิธีกินยาคุมกำเนิด และสิ่งที่บรรจุอยู่ในตัวยาคุม โดยมีรายละเอียดดังนี้


  • ยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด จะเป็นยาที่มีฮอร์โมนบรรจุอยู่ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม ต้องรับประทานยาทุกวัน วันละ 1 เม็ด จนครบ 21 วัน แล้วเว้นไว้ 7 วัน แล้วค่อยเริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่
  • ยาคุมกำเนิดแบบ 28 เม็ด จะประกอบด้วยยาฮอร์โมน 21 เม็ด และยาไม่มีฮอร์โมนอีก 7 เม็ด หรือที่เรียกว่า “เม็ดแป้ง” การรับประทานยาคุมเหมือนกับยาคุมแบบ 21 เม็ด เพียงแต่ช่วงที่เว้นยาไว้ต้องกินยาที่ไม่มีฮอร์โมนอีก 7 วัน วันละ 1 เม็ด รวมทั้งสิ้น 28 วัน จากนั้นก็เริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่ต่อได้เลย

หลักการเลือกยาคุมกำเนิด


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

การเลือกใช้ยาคุมกำเนิดจะต้องพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของยาคุมแต่ละชนิด รวมถึงสภาพร่างกายของสตรีเองด้วย เพราะผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้ระบบในร่างกายผิดปกติได้ เพื่อให้ได้ยาคุมที่เหมาะสมกับผู้ใช้ควรมีหลักการในการเลือกยาคุมกำเนิด ดังนี้


  1. ยาคุมที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ อย่างเช่น Mercilon, Meliane, Yaz เหมาะสำหรับผู้หญิงผู้มีผลข้างเคียงจากเอสโตรเจน ซึ่งจะมีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายจะวูบ คลื่นไส้อาเจียน คัดเต้านม ตัวบวมน้ำ รวมถึงผู้หญิงที่มีประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  2. ยาคุมที่มีส่วนประกอบของ Cyproterone Acetate, Drospirenone, Chlormadinone อย่างยาคุม Diane-35, Preme, Tina, Sucee, Yasmin, Yaz, Belala เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง ซึ่งจะมีสิว หน้ามัน ขนดก
  3. ยาคุมสูตร 24/4 (ยาคุมที่ประกอบด้วยยาฮอร์โมน 24 เม็ด และเม็ดแป้งอีก 4 เม็ด) เช่น Yaz, Synfonia เหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีอารมณ์แปรปรวนและมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนมีประจำเดือน
  4. ผู้หญิงที่กลัวน้ำหนักขึ้นและไม่ต้องการรักษาสิวที่รุนแรง ควรใช้ยาคุมที่มีส่วนประกอบของ Drospirenone เช่น Yasmin, Yaz หรือ Synfonia


วิธีกินยาคุมกำเนิด

วิธีการกินยาคุมกำเนิดที่มีจำนวนยาไม่เท่ากันนั้น มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น จะขออธิบายวิธีกินยาคุมโดยแบ่งออกเป็นวิธีกินยาคุม 21 เม็ด และ 28 เม็ด


  • วิธีกินยาคุมแบบ 21 เม็ด: ยาคุมชนิดนี้จะมีวันระบุอยู่บนแผงยา ตั้งแต่วันจันทร์จะถึงวันอาทิตย์ โดยเริ่มกินเม็ดแรกภายใน 5 วันแรกที่มีประจำเดือน แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุดแนะนำให้กินวันแรกที่มีประจำเดือน วันที่กินตรงกับวันอะไรให้แกะยากินในวันนั้น หลังจากนั้นต้องกินเม็ดต่อไป “ทุกวัน” ในช่วงเวลาเดียวกันวันละ 1 เม็ด จนกว่ายาคุมจะหมดแผง เมื่อยาหมดแผงแล้ว ให้เว้นระยะการกินยาไว้ 7 วัน ซึ่งอาจจะมีเลือดออกคล้ายประจำเดือนกะปริดกะปรอย เมื่อถึงวันที่ 8 ของการเว้นว่างให้เริ่มกินยาคุมแผงใหม่ได้
  • วิธีกินยาคุมแบบ 28 เม็ด: บนแผงยาคุมจะมีตัวเลข 1-28 กำกับไว้ ไม่ต้องกินตามวันในปฏิทิน เพียงแต่กินยาคุมตามลำดับเม็ด โดยเริ่มต้นจากการแกะยาคุมเม็ดที่ 1 ซึ่งจะต้องกินภายใน 5 วันแรกที่มีประจำเดือนจากนั้นก็กิน “ทุกวัน” วันละ 1 เม็ดจนกว่าจะครบ 28 เม็ด พอหมดแผงแล้วก็เริ่มกินยาคุมแผงใหม่ได้เลย วิธีการกินยาคุมชนิดนี้สะดวกกว่ายาคุมแบบ 21 เม็ด เพราะไม่ต้องเว้นว่าง 7 วันซึ่งอาจจะทำให้หลงลืมวันที่กินได้

ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์อย่างไร?


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

ยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน จะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อขัดขวางการปฏิสนธิของอสุจิและไข่ ซึ่งการออกฤทธิ์ของยาคุมทั้งชนิดฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนเดียว จะทำให้เกิดเมือกที่ปากมดลูกหนาขึ้นเพื่อไม่ให้อสุจิเดินทางไปหาไข่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผนังมดลูกบางลงเพื่อไม่ให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้ รวมถึงยับยั้งการตกไข่เพื่อไม่ให้ไข่สุกหรือทำให้ไข่ออกจากรังไข่ยากขึ้น และยังทำให้ท่อนำไข่เกิดการเคลื่อนตัวเพื่อไม่ให้ตัวอ่อนที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วฝังตัวได้ในเวลาที่เหมาะสมตามธรรมชาติของร่างกาย ฉะนั้นแล้วเพื่อให้การออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรรับประทานยาคุมอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง


ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิด

ไม่ว่าจะรับประทานยาคุมชนิดไหนเข้าไป มักจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับร่างกายในระหว่างที่ต้องกินยาคุม มาดูกันดีกว่าว่ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง โดยจำแนกออกเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนเดี่ยว


  • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม
    เนื่องจากในตัวยามีฮอร์โมนอาจจะทำให้มีฮอร์โมนในร่างกายมากเกินไป ทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ตัวบวมน้ำ มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน โรคหัวใจและหลอดเลือดได้
  • ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนเดี่ยว
    ผลข้างเคียงจะเกิดขึ้นในช่วงแรกที่เริ่มรับประทานยาคุมเข้าไป แล้วถัดไป 2-3 เดือนผลข้างเคียงก็จะค่อยๆ บรรเทาลง ผู้หญิงบางคนอาจจะรู้สึกวิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวน น้ำหนักตัวเพิ่ม มีสิวขึ้น หน้ามัน คลื่นไส้ อาเจียน มีจุดด่างปรากฏบนผิวหนัง คัดหน้าอกเหมือนเจ็บเต้านม

หากลืมรับประทานยาคุมกำเนิดต้องทำอย่างไร?


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม

เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าบางทีผู้ใช้อาจมีการหลงลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ้าง หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการรับประทานยาคุมให้ต่อเนื่องได้ ผู้หญิงหลายคนจึงต้องมีวิธีรับประทานยาคุมเวลาหลงลืมเพื่อรักษาประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ให้คงอยู่ได้


  • กรณีที่ลืมรับประทานยา 1 เม็ด
    หากนึกขึ้นได้ว่าลืมรับประทานยาคุมในช่วง 24 ชั่วโมง ให้รีบรับประทานยาทันที แต่ถ้าเกิน 1 วันไปแล้ว วันถัดไปให้รับประทานพร้อมกัน 2 เม็ด
  • กรณีที่ลืมรับประทานยาไปแล้ว 2 เม็ด
    และนึกขึ้นได้เมื่อเวลาเกินกว่า 48 ชั่วโมง ให้รีบรับประทานยา 2 เม็ดพร้อมกัน แล้วก็รับประทานอีก 2 เม็ดในวันถัดไป พร้อมกับคุมกำเนิดวิธีอื่นควบคู่ไปด้วย
  • กรณีที่ลืมรับประทานยาคุมมากกว่า 2 วัน
    ควรทิ้งยาคุมแผงปัจจุบันไป แล้วต้องคุมกำเนิดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ด้วยทุกครั้งอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะถึงรอบเดือนใหม่ จึงจะเริ่มรับประทานยาคุมแผงใหม่ได้
  • หากลืมทานเม็ดที่เป็นแป้งให้แกะเม็ดนั้นทิ้งได้เลย แล้วทานเม็ดถัดไปเมื่อถึงเวลาตามปกติ

ข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิด


  • ผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินของเลือด หรือเคยมีประวัติรักษาโรคลิ่มเลือดอุดตัน ห้ามรับประทานยาคุมโดยเด็ดขาด ยกเว้นว่าได้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว
  • ห้ามสูบบุหรี่ระหว่างช่วงที่ต้องกินยาคุมเพราะจะทำให้เสี่ยงเป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำได้
  • ห้ามทานยาคุมหมดอายุโดยเด็ดขาด
  • ห้ามผู้หญิงที่ให้นมบุตรใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม ควรใช้ยาคุมประเภทโปรเจสตินอย่างเดียว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการกินยาคุมกำเนิด


1. กินยาคุมทำให้อ้วนจริงหรือไม่?

ยาคุมกำเนิดมีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายบวมน้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ ผู้หญิงคนไหนต้องการรับประทานยาคุมที่ไม่ทำให้อ้วน แนะนำให้เลือกใช้ยาคุมที่มีตัวยาดรอสไพรีโนน (Drospirenone) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดการบวมน้ำของร่างกายได้


2. การกินยาคุมทำให้เกิดมะเร็งจริงหรือไม่?

ยาคุมกำเนิดไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งแต่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้น ถ้าหากมีการรับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ทานยาคุมมากกว่า 1 ปี เนื่องจากมะเร็งเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงเกินไป อาจทำให้เซลล์มะเร็งในร่างกายเติบโตตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาคุมเป็นการสังเคราะห์ขึ้นมา อยู่ในร่างกายไม่นานก็สลายตามธรรมชาติ เมื่อหยุดกินยาคุมปริมาณฮอร์โมนก็จะน้อยลง ทำให้โอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลดลง ฉะนั้นแล้วยาคุมกำเนิดไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง การเป็นมะเร็งยังคงเกิดจากสาเหตุหลักอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร สภาพแวดล้อม


3. กินยาคุมแล้วท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สาเหตุที่ทำให้ตั้งครรภ์อาจจะมาจากการรับประทานยาคุมที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดวินัยในการรับประทานยาคุม จากบทความของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า การที่ร่างกายไม่ได้รับยาคุมอย่างสม่ำเสมอทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง 9% ทำให้เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ฉะนั้นแล้วการรับประทานยาคุมที่ถูกต้องและสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ


4. ยาคุมฮอร์โมนต่ำเหมาะกับใคร?

ยาคุมฮอร์โมนต่ำคือยาคุมที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ในขณะที่ยังคงมีฮอร์โมนโปรเจสตินในปริมาณปกติ อย่างเช่น ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหรือการไหลเวียนของเลือด และสำคัญที่สุดีผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมหลังคลอดไม่ควรรับประทานยาคุมฮอร์โมนรวมเด็ดขาด เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปยับยั้งการผลิตน้ำนมของแม่ ยาคุมฮอร์โมนต่ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุดนั่นเอง


5. กินยาคุมกี่วันถึงมีเพศสัมพันธ์ได้?

หากอยู่ในช่วงระหว่างการรับประทานยาคุมกำเนิดสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย ฉะนั้นแล้วต้องรับประทานยาคุมติดต่อกันเกิน 7 วันก่อน ถึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ และต้องรับประทานยาคุมในช่วงเวลาเดียวกันต่อไปจนกว่าจะหมดแผง


บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
อาการคนท้องในระยะเริ่มต้น และการดูแลตัวเองฉบับคุณแม่มือใหม่
ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
ยาเลื่อนประจำเดือน (Period Delay Tablets)
ตาบอดสี (Color Blindness)



✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย


กินยาคุมพร้อมกัน4เม็ดได้ไหม




แหล่งข้อมูล


กินยาคุม 4 เม็ดได้ไหม

การกินยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ไม่ควรเกิน 3 วันหรือ 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรกินมากกว่า 2 แผง (4 เม็ด) ภายในรอบเดือนเดียว เนื่องจากยาจะส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์สร้างฮอร์โมนผิดปกติ หากหลังจากรับประทานยาไปแล้วมีเลือดออกทางช่องคลอด หรือประจำเดือนขาดหายไป รวมถึงสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยภาวะผิดปกติ

กินยาคุมกี่เม็ดถึงจะคุมได้

โดยทั่วไปยาคุมกำเนิดจะเริ่มออกฤทธิ์ตั้งแต่วันแรกที่รับประทานยา ซึ่งหากรับประทานยาในช่วง 5 วันแรกของการมีประจำเดือนอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีอื่นในการคุมกำเนิดร่วมด้วยก็ได้ เนื่องจากเป็นระยะที่ร่างกายยังไม่ได้เตรียมพร้อมต่อการตั้งครรภ์ กรณีที่เริ่มรับประทานยาหลังจากวันที่ 5 ของรอบเดือน (วันอื่นๆ ที่ไม่ใช่ในช่วง 5 วันนับจาก ...

ยาคุมแบบ 24 เม็ด กินยังไง

ให้รับประทานเริ่มต้นจากเม็ดที่ 1 เรียงลำดับตามลูกศร ไปเรื่อย ๆ จนถึงเม็ดที่ 28 นะคะ ในกรณีที่เริ่มใช้ใหม่ ให้รับประทานเม็ดแรกภายในวันที่ 1 – 5 ของวันที่มีประจำเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์อยู่ ซึ่งการใช้ในช่วงเวลานี้ จะถือว่ามีผลในการคุมกำเนิดได้ตั้งแต่เม็ดแรกที่รับประทาน

ต้องกินยาคุมก่อนมีเพศสัมพันธ์กี่วัน

โดยทั่วไปผู้ที่มีประจำเดือนมาปกติและสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเป็นครั้งแรก แนะนำให้เริ่มในวันแรกที่มีประจำเดือนหรือไม่เกินวันที่ 5 นับตั้งแต่วันแรกที่มีประจำเดือนโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วยเมื่อมีเพศสัมพันธ์