ฐาน ภาษีเงินได้ นิติบุคคลมี กี่ ฐาน

ถ้าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน ฿5,000,000 และรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการตลอดทั้งปี (รอบระยะเวลาบัญชี) ไม่เกิน ฿30,000,000 จะได้รับอัตราภาษีพิเศษสำหรับ SME ดังนี้12

กำไรสุทธิอัตราภาษีภาษีสะสม≤ ฿300,000ยกเว้น฿0> ฿300,000 – ฿3,000,00015%>฿0 – ฿405,000> ฿3,000,00020%> ฿405,000

อัตราทั่วไป

ในกรณีที่ไม่ใช่ SME จะเสียภาษีในอัตราคงที่ 20% ของกำไรสุทธิตั้งแต่บาทแรก

กำไรสุทธิอัตราภาษี> ฿020%

ติดต่อ iTAX sme เพื่อรับบริการวางแผนภาษีธุรกิจ ตั้งบริษัท ทำบัญชี จด VAT ภาษีเงินได้นิติบุคคล และอื่นๆ โทร. 062-486-9787

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ฐาน ภาษีเงินได้ นิติบุคคลมี กี่ ฐาน

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • ดูรีวิวจากลูกค้า
  • About me

สารบัญ

  1. ฐานภาษีคืออะไร
  2. ประเภทของฐานภาษี
  3. ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  4. ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล
  5. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม
  6. ฐานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  7. สรุป

ฐานภาษีคืออะไร

ฐานภาษีเป็นฐานจำนวนเงินที่ใช้ในการคำนวณเพื่อเสียภาษี ยกตัวอย่างเช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษีคือ เงินได้สุทธิซึ่งเกิดจากการนำเอาเงินได้พึงประเมินหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ฐานภาษี หรือกรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคือ มูลค่าของสินค้าและบริการ เป็นต้น

ประเภทของฐานภาษี

ฐานภาษีหากเราลองแบ่งตามที่มาในการจัดเก็บจะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทหลักๆดังนี้

  1. ฐานภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้ : กรณีนี้หากผู้ประกอบการมีรายได้มากก็จะต้องเสียภาษีมาก ยกตัวอย่างเช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เก็บภาษีจากฐานเงินได้สุทธิ หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่เก็บจากฐานกำไรสุทธิ
  2. ฐานภาษีจัดเก็บจากฐานการบริโภค : กรณีนี้หากผู้เสียภาษีบริโภคมาก ก็จะต้องเสียภาษีมาก เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เสียภาษีจากมูลค่าสินค้าหรือบริการ ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร
  3. ฐานภาษีจัดเก็บจากทรัพย์สิน : กรณีนี้หากผู้ประกอบการมีทรัพย์สินมากก็จะต้องเสียภาษีมาก เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีที่ดิน เป็นต้น

ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้สุทธิ ซึ่งมีวิธีในการคำนวณดังนี้

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

เมื่อได้เงินได้สุทธิแล้วก็ต้องคำนวณหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเอาเงินได้สุทธิไปเข้าไปคำนวณในตารางอัตราภาษีดังนี้

ฐาน ภาษีเงินได้ นิติบุคคลมี กี่ ฐาน

จะเห็นได้ว่ายิ่งมีเงินได้มาก ก็คือการมีฐานภาษีมาก ก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้นนั่นเอง

ศึกษาเพิ่มเติมวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร

ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล

ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากกำไรสุทธิทางภาษี ซึ่งมีวิธีในการคำนวณดังนี้

กำไรสุทธิทางบัญชี = รายได้ – ค่าใช้จ่าย

กำไรสุทธิทางภาษี = กำไรสุทธิทางบัญชี + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายทางภาษี – รายได้ที่ไม่ถือเป็นรายได้ทางภาษี

เมื่อได้กำไรสุทธิทางภาษีแล้วก็ต้องคำนวณหาภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยเอากำไรสุทธิทางภาษีไปคำนวณในตารางอัตราภาษีดังนี้

ฐาน ภาษีเงินได้ นิติบุคคลมี กี่ ฐาน

ตารางอัตราภาษีข้างต้นจะแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือกรณีที่เป็น SME และ Non SME

จะเห็นได้ว่ายิ่งมีกำไรสุทธิทางภาษีมาก ก็คือการมีฐานภาษีมาก ก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้นนั่นเอง

ศึกษาเพิ่มเติมวิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล : ภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากการอุปโภคบริโภค นั่นคือมูลค่าของสินค้าและบริการที่ขาย ยกตัวอย่างวิธีในการคำนวณดังนี้

ภาษีขาย = ยอดขาย x 7%

ภาษีซื้อ = ยอดซื้อ x 7%

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งสิ้นเดือน = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

จะเห็นได้ว่ายิ่งมียอดขายมาก ก็คือการมีฐานภาษีมูลค่าเพิ่มมาก ก็จะต้องเสียภาษีมากขึ้นนั่นเอง

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจะแบ่งออกได้เป็น 4 กรณีดังนี้

  1. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีทั่วไป
  2. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีส่งออก
  3. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีนำเข้า
  4. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีพิเศษ

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีทั่วไป – คือ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า หรือให้บริการ รวมไปถึงภาษีสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึง

  • ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้า
  • ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
  • ภาษีขาย
  • ค่าตอบแทนที่มีลักษณะ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีส่งออก – ราคา F.O.B + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีอื่นๆ +  ค่าธรรมเนียมอื่น แต่ไม่รวมอากรขาออก

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีนำเข้า – ราคา C.I.F + ภาษีสรรพสามิต + อากรขาเข้า 

หมายเหตุ : ราคา F.O.B. คือ ราคาสินค้า ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมกับค่าขนส่ง และค่าประกันภัย ราคา C.I.F. คือ ราคาสินค้ารวมประกันภัย  กับค่าระวางหรือค่าขนส่ง

ภาษีเงินได้นิติบุคคล มีกี่ฐาน อะไรบ้าง

(1) กำไรสุทธิ (2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย (3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลคิดจากฐานใด

ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล (1) กำไรสุทธิ (2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย (3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

ฐานภาษีที่นิยมใช้มากที่สุดในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร

1.ฐานกำไรสุทธิ เป็นฐานภาษีที่สำคัญเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นฐานที่จัดเก็บภาษีได้มากที่สุด จำแนกรายละเอียดเป็น 3 ประเด็น คือ 1.1 ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ ได้แก่

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิมีอะไรบ้าง

สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน ถ้าเป็นบริษัททั่วไป จะเสียภาษีอยู่ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากเป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับสิทธิประโยชน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก และได้รับสิทธิเสีย ...