มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างไร

แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต้องมาจากส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วนที่มาจากตัวของวัยรุ่นเอง และ ส่วนที่มาจากองค์ประกอบของปัจจัยต่างๆ
1.การป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยตัวของวัยรุ่นเอง 
           1.) วัยรุ่นต้องรู้จักนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งและวิธีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์มาใช้ ด้วยการฝึกวิเคราะห์ให้มองเห็นถึงลักษณะความรุนแรง พฤติกรรมความรุนแรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกกระทำและผู้กระทำ ดังตัวอย่างตารางความเชื่อมโยงของลักษณะพฤติกรรมความรุนแรงและผลกระทบจากหน้า 64 เมื่อวิเคราะห์และมองเห็นถึงสิ่งที่จะขึ้นแล้ว ต้องพยายามปรับพื้นฐานทางด้านทัศนคติของตนเองให้เกิดคุณลักษณะที่ดีในตนเอง ได้แก่ คุณลักษณะที่ไม่นิยมการใช้ความรุนแรง มีเมตตากรุณา มีความเป็นธรรม รู้จักนับถือตนเองและผู้อื่น ฝึกการนำทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง เช่น การรู้จักพูดจาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การรู้จักปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
            2.) ต้องรู้จักป้องกันความรุนแรงที่เกิดจากอิทธิพลความเชื่อหรือค่านิยมบางอย่าง เช่น ค่านิยมในวิธีการแสดงความรักต่อสถาบันหรือเพื่อนร่วมสถาบันที่ผิดวิธี หรือค่านิยมในการฟุ้งเฟ้อตามกระแสนิยมของสังคม ในขณะที่สภาพความพร้อมทางด้สนเศรษฐกิจของตนเองยังไม่เอื้ออำนวยโดยใช้วิธีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ได้แก่ ความรักเพื่อนไม่ใช่การยอมทำตามใจเพื่อนทุกอย่าง ศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายไม่ใช่อยู่ที่วิธีการใช้ความรุนแรง ความผิดหวังเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต หรือการถอยคนละก้าวดีกว่าการเดินหน้าชนกัน

             3) ต้องพยายามฝึกตรวจสอบความเชื่อของตนเองโดยวิธีดึงข้อดีข้อเสียของความคิด ความเชื่อในเรื่องนั้น ๆ ออกมาพิจารณาหรือไตร่ตองให้ถี่ถ้วน
             4) ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ พยายามหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
             5) วัยรุ่นต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือสนับสนุนให้เกิดสถานการณ์ความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในทุกสถาน6) เมื่อประสบปัญหาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจนนำไปสู่พฤติกรรมการใช้ความรุนแรงต้องรู้จักแหล่งที่จะขอคำแนะนำหรือการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  เช่น  พอแม่ผู้ปกครอง  ครูอาจารย์ในสถานศึกษา แหล่งขอรับบริการทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตหรือสถานีตำรวจในท้องที่ประสบเหตุ

 2.การป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ปัจจัยสนับสนุน 
             สภาพพื้นฐานของครอบครัวสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา  สื่อสารมวรชนแหนงต่างๆตลอดจนสภาพทางเศรษฐกิจถือว่าเป็นปัจจัยสนับที่มีส่วนให้วัยรุ่นเกิดความขัดแย้งขึ้นในจิตใจ ดังนั้นการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นปัจจัยต่าง ๆ ในภาพรวม ดังนี้
                 1.) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว แนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่การสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดแก่สมาชิกในครอบครัว พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องหมั่นพูดคุย รับฟังปัญหา ให้คำปรึกษาที่ดีแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว และในกรณีที่สมาชิกอยู่ในระหว่างการศึกษาต้องให้ความสำคัญในการสื่อสารระหว่างสถานที่ศึกษากับบ้าน เพื่อรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสามชิก และปัญหาต่าง
                 2.) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา แนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ คณะครูทุกคนต้องคอยดูแลให้คำแนะนำนักเรียนในกรณีที่พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงทั้งในฐานะที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ ควรสอดแทรกความรู้ในเรื่องโทษของการใช้วิธีการรุนแรงหรือแสดงพฤติกรรมการใช้ความรุนแรง เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงผลเสียดังกล่าว หรือควรให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิต (life skills) ที่จำเป็นแก่นักเรียน การสร้างความเข้มแข็งระหว่างบ้าน ชุมชน และโรงเรียนให้เกิดขึ้น
                 3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับสื่อนั้นๆต้องมีจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการนำเสนอสื่อโดยเฉพาะภาพลักษณ์ของพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม นอกจากนี้รัฐควรออกมาตรการที่คอยดูแลควบคุมสื่อให้มีความเหมาะสมในการนำเสนอข่าวสาร กระตุ้นและชี้แนะให้วัยรุ่นได้เข้าใจถึงข้อดีข้อเสีย หรือการเลือกรับพิจารณาข้อเท็จจริงจากสื่อ
                4.) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ แนวทางปฏิบัติท่สำคัญ ได้แก่ ส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความเข้าใจ และรู้จักนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต ส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักการใช้ความสามารถของตนเอง หรือใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการนำมาซึ่งรายได้ที่ถูกต้องเหมาะสมโดยไม่ผิดศีลธรรม ประเพณี และกฎหมาย

เรียนรู้...สู่...ปฏิบัติ

1. ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้งจากปัจจัยจากตัวบุคคล การเลี้ยงดูของครอบครัว และสิ่งแวดล้อม แล้วนำมาสรุปผล
             2. หาข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดจากความขัดแย้ง แล้วนำมาวิเคราะห์สาเหตุ และแนวทางในการแก้ไขปัญหา
             3. แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ระดมสมองวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งของวัยรุ่นทั้งต่อตัวผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ

แหล่งสืบค้น ความรู้
• นักเรียนสามารถค้นคว้าความรู้เรื่อง ความขัดแย้งในวัยรุ่น เพิ่มเติมได้จากการสอบถามครู อาจารย์ นักจิตวิทยา หรือศึกษาจากสื่อ/เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง และที่เว็บไซต์
 http://www.thaimental.com หรือ http://www.kapook.com/hilight/education/3080.htm http://www.ffc.or.th/thml/docu/violent.htm

วิธีจัดการความขัดแย้งให้อยู่ร่วมกัน ได้แก่ อะไรบ้าง

การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) 5 รูปแบบ.
1. Accommodating การปรองดอง ... .
2. Avoiding การหลีกเลี่ยง ... .
3. Compromising การประนีประนอม ... .
4. Competing การแข่งขัน ... .
5. Collaborating การให้ความร่วมมือ.

ปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของความขัดแย้งมีอะไร บ้าง?.
2.1 ความขัดแย้งเนื่องจากความคิดเห็นแตกต่างกัน.
2.2 ความขัดแย้งเนื่องจากการรับรู้แตกต่างกัน.
2.3 ความขัดแย้งเนื่องจากค่านิยมหรือทัศนคติแตกต่างกัน.
2.4 ความขัดแย้งเนื่องจากมีอคติต่อกัน.
2.5 ความขัดแย้งเนื่องจากผลประโยชน์ขัดกัน.

ความขัดแย้งแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ อะไรบ้าง

1. ความขัดแย้งภายในบุคคล (Intrapersonal Conflict) 2. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Interpersonal Conflict) 3. ความขัดแย้งภายในกลุ่ม (Intragroup Conflict) 4. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (Intergroup Conflict) 5. ความขัดแย้งภายในองค์การ (Intra - organization Conflict)

การแก้ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวเป็นหน้าที่ของใครเพราะเหตุใด

พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี พ่อแม่ควรปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกเห็น เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ลูกจะจดจำว่าพ่อแม่มีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร หากพ่อแม่เลือกวิธีที่รุนแรง เช่น การใช้กำลัง การด่าทอ การส่งเสียงดัง ก็มีแนวโน้มที่ลูกจะเลียนแบบพฤติกรรม และแสดงออกเช่นเดียวกันเมื่อเกิดปัญหา จนอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตร่วมกันของคนใน ...