เศรษฐศาสตร์มีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตอย่างไร

บทที่ 1 เป็นการเกริ่น นำถึงการบูรณาการมิติทางเศรษฐศาสตร์กับการดำเนินชีวิตที่ดี  ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจระดับต่างๆ  ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี  และการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ  ทางเศรษฐกิจที่มีต่อการดำเนินชีวิตที่ดี
บทที่ 2 เป็น การอธิบายความเป็นมนุษย์และบทบาทในสังคมเศรษฐกิจ  และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมเศรษฐกิจ
บทที่ 3 ครอบ คลุมแนวคิดเบื้องต้นว่าด้วยเศรษฐศาสตร์  ปัญหาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานและความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจ  เศรษฐศาสตร์กระแสหลักและกระแสทางเลือก
บทที่ 4 เป็น การอธิบายถึงองค์กรและกิจกรรมในแบบจำลองระบบเศรษฐกิจเบื้องต้น  ความเชื่อมโยงระหว่างองค์กร  กิจกรรมและการทำงานของระบบเศรษฐกิจเบื้องต้นในระดับชุมชนและขยายไปสู่ระดับ ประเทศ  ความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับการดำรงชีวิตที่ดี
บทที่ 5 กล่าวถึงรูปแบบเศรษฐกิจสำคัญในปัจจุบัน  จากเศรษฐกิจการแข่งขันไปสู่เศรษฐกิจอีกด้านหนึ่งที่เน้นความเป็นเศรษฐศาสตร์ ความร่วมมือ  รวมทั้งรูปแบบร่วมสมัย  เช่น  เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นต้น
บทที่ 6  และ  บทที่ 7 ชี้ให้เห็นถึงเศรษฐกิจระดับต่างๆ  ทั้งในเศรษฐกิจระดับชุมชนและสังคม  และระดับครัวเรือน  ตามลำดับ  และครอบคลุมประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง  เช่น  การจัดการเศรษฐกิจ  การสร้างความร่วมมือ  แนวคิดพื้นฐานด้านรายได้  ค่าใช้จ่าย  การออม  และการกู้ยืมของครัวเรือน
บทที่ 8 กล่าวถึง ปัจจัย  องค์ประกอบ  เงื่อนไขต่างๆ  ที่มีความสำคัญ  ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสังคมไทย
บทที่ 9 เป็นการอธิบายองค์ประกอบทางธุรกิจ  การบริหารและหน้าที่ต่างๆ  ที่สำคัญในองค์การธุรกิจ  และการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้
บทที่ 10 ศึกษาถึง  ความหมาย  บทบาท  ประเภท  คุณสมบัติของผู้ประกอบการ  และการจัดทำแผนธุรกิจ
บทที่ 11 ความเข้าใจในที่มา  ความหมายของจริยธรรมและธรรมาภิบาล  และบทบาทของจริยธรรมและธรรมาภิบาลในการดำเนินชีวิตที่ดี  ครอบคลุมทั้งในระดับบุคคล  ชุมชนและสังคม  ในบทสุดท้ายคือ
บทที่ 12 เป็นการยกประเด็นร่วมสมัยที่สำคัญและควรรู้ในทาง เศรษฐศาสตร์และการจัดการ  ได้แก่  โลกาภิวัตน์  การพัฒนาอย่างยั่งยืน  ผลิตภาพแรงงาน  การเพิ่มผลผลิตกับความสามารถในการแข่งขัน  มูลค่าเพิ่มและนวัตกรรม  ตลอดจนวิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของประเด็นเหล่านี้กับการดำเนินชีวิต ที่ดีของมนุษย์

top uk online casinos welcome bonus codes and promotions ukonlinecasinobonus.co.uk uk online casino welcome bonus at first deposit

ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์

1. ช่วยให้สามารถซื้อหรือใช้ บริโภคสินค้าที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด รู้จักใช้ รู้จักออม
2. เจ้าของปัจจัยการผลิต ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ตัดสินใจใช้ปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำแต่เกิดกำไรสูงสุด
3. เข้าใจสถานการณ์ปัญหาเศรษฐกิจและปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
4. ใช้ความรู้ในการจัดสรรทรัพยากร กำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน การค้ากับต่างประเทศได้

กล่าวโดยสรุปวิชาเศรษฐศาสตร์มีความสำคัญก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มบุคคล
อย่างน้อย 3 กลุ่ม คือ

(1) ในฐานะนักศึกษา : ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทและเป็นความหวังของสังคม
โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา วิชาเศรษฐศาสตร์ย่อมช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในปัญหาและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ มีความรู้ที่จะนำไปแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ ทั้งของตนเองและประเทศชาติ
(2) ในฐานะผู้ใช้วิชาชีพ : นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีความรู้จากวิชาเศรษฐศาสตร์ย่อม
สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการวิเคราะห์ คาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจได้ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานทั้งของภาคธุรกิจและภาครัฐ สามารถนำข้อเสนอแนะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
(3) ในฐานะผู้บริหารงาน : ทั้งของภาคเอกชนและภาครัฐ การได้รับข้อมูล ข่าวสาร
ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่ถูกต้อง สามารถที่จะนำใช้ประกอบในการกำหนดเป้ าหมาย แผนงานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจการมีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง

อ้างอิง : ธนพัต จันดาโชติ, “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ,” ใน เอกสารประกอบการสอน
วิชาเศรษฐกิจกับการดำเนินชีวิต (Economy and Living) บทที่ 1 คณะการบัญชีและการจัดการ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2558.
เข้าถึงได้จาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0001065/admin/learn.html

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ในชีวิตประจำวันของมนุษย์  ย่อมมีเรื่องที่ต้องคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งมีให้พิจารณาอยู่มากมายหลายชนิด หลายราคา และหลายยี่ห้ออยู่ตลอดเวลาดังนั้น  วิชาเศรษฐศาสตร์จึงสามารถนำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้  โดยมีปัจจัยหลายประการเข้ามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจดังกล่าว  เช่น  ราคาของสินค้า จำนวนเงินที่มีอยู่  รสนิยม  ความพึงพอใจต่างๆ  เป็นต้น    ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่เหมาะสมตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์  รวมทั้งแสดงถึงรสนิยมที่เหมาะสมในการรู้จักเลือกบริโภค และยังเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติในทางอ้อมอีกด้วย

          ครอบครัวหรือแม้แต่รัฐบาลก็เช่นเดียวกัน  จึงจำเป็นต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายสิ่งต่างๆ  ในลักษณะคล้ายคลึงกับการตัดสินใจของแต่ละคน  ในระดับครอบครัวนั้น  พ่อ  แม่ หรือผู้นำของครอบครัวควรคำนึงถึงบัญชีรายรับ-รายจ่ายว่ารายได้โดยรวมของครอบครัวเป็นอย่างไรทั้งนี้   เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่า   ครอบครัวมีกำลังในการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการได้มากน้อยเพียงใด

          สำหรับรัฐบาลก็มีรายรับ-รายจ่ายเช่นเดียวกันกับระดับครอบครัว  แต่รัฐบาลเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่  และมีหน่วยงานบางหน่วยงานทำหน้าที่แสวงหารายได้เข้าประเทศ  เช่น กรมสรรพากร  มีหน้าที่เก็บภาษีรายได้จากประชาชน  กรมสรรพสามิต  มีหน้าที่เก็บภาษีสินค้าหรือกรมศุลกากร  มีหน้าที่เก็บภาษีมินค้านำเข้าจากต่างประเทศ  เป็นต้น  ซึ่งรัฐบาลต้องอาศัยรายได้เหล่านี้สำหรับซื้อสินค้าและอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อนำมาใช้บริหารปกครองประเทศ  รวมทั้งจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งสำหรับเป็นค่าจ้างและเงินเดือนของพนักงานและข้าราชการทั่วไป

                                                                                                 

เศรษฐศาสตร์มีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตอย่างไร
                                        
เศรษฐศาสตร์มีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตอย่างไร