แบบฟอร์ม จัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่ จดทะเบียน

การจดทะเบียนให้หุ้นส่วนทุกคนไปจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นๆ ไปจดทะเบียน ก็ได้

ผลการจดทะเบียนเมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็จะได้รับเอกสาร หนังสือสำคัญการจดทะเบียน หนังสือรับรอง และต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป

www.avaccount.com > บอร์ดบัญชีและภาษี

(1/3) > >>

นุ่น:
การดำเนินการในเรื่องของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน  มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ค่ะ

กก:
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ เพราะก็บอกอยู่แล้วว่าไม่จดทะเบียนเพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องไปจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพียงแต่ต้องทำหนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญแล้วนำหลักฐานนั้นไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาที่ห้างตั้งอยู่ มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดาและมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้นค่ะ (วิธีนี้คือคุณเป็นผู้ดำเนินการเองถ้าให้สำนักงานบัญชีทำก็ไม่ทราบราคาค่ะ)

town:
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน  จะคล้ายๆ กับคณะบุคคล  ซึ่งมีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาเหมือนกัน  วิธีการจดจะเหมือนกับคณะบุคคลครับ

ลองอ่านกระทู้เหล่านี้ดูนะจ๊ะ

http://www.avaccount.com/wb/show.php?No=3282&c=act

http://www.avaccount.com/wb/show.php?No=3278&c=act

007:
ถ้าจัดตั้งเอง ก็มีค่าอากรแค่ 100 บาท

แต่ว่าจะทำธุรกิจอะไร ลองถามมาดูก่อนก็ได้ จะได้มีผู้รู้แนะนำให้นะ

เดือน:
อยากทราบว่าการได้รับเงินปันผลจากห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนต้องเสียภาษีหรือไม่

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

ไปที่เวอร์ชันเต็ม

สัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน (Partnership Agreement) คือสัญญาที่มีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้าทำสัญญากันเพื่อจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นและกำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนนั้นรวมถึงกำหนดความสัมพันธ์ หน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองนั้น โดยที่ห้างหุ้นส่วน คือรูปแบบองค์กรธุรกิจหนึ่งซึ่งมีลักษณะที่มีความซับซ้อนน้อยกว่าบริษัทจำกัดแต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนมากกว่ากิจการที่มีเจ้าของรายเดียว โดยแต่ละรูปแบบองค์กรก็มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป โดยห้างหุ้นส่วนจะมีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • บุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันเข้าเป็นหุ้นส่วน
  • ตกลงเข้าหุ้นกันทำกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน
  • มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันผลกำไรจากการดำเนินกิจการหรือธุรกิจนั้น

โดยที่ในการเข้าหุ้นนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำสินทรัพย์ของตนมาเข้าหุ้นเพื่อลงทุนและใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้น เช่น เงิน ทรัพย์ (เช่น อาคาร ที่ดิน อุปกรณ์) หรือ แรงงาน (เช่น การที่หุ้นส่วนรับทำงานให้กับกิจการของห้างหุ้นส่วน)

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนมี 3 ประเภทซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ไม่ได้จดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบกับความรับผิดใดๆ ที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้น (เช่น หนี้สิน)
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราภาษีก้าวหน้า)

(ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดต่อหน้าที่ความรับผิดที่ห้างหุ้นส่วนก่อขึ้นทั้งหมดทุกคนโดยไม่มีการจำกัดความรับผิดหรือแยกความรับผิด

(ค) ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • มีการจดทะเบียนธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
  • เป็นนิติบุคคลแยกออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน
  • เป็นหน่วยภาษีแยกจากผู้เป็นหุ้นส่วนและเสียภาษีเงินได้ในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล (อัตราภาษีที่คงที่)
  • มีผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดจะมีการแบ่งแยกความรับผิดระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวกับทรัพย์สินที่นำมาเข้าหุ้นในกิจการ และ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้เท่านั้นที่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนได้

การนำไปใช้

ในการจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ผู้จัดทำควรพิจารณา ดังต่อไปนี้

กำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน เช่น ชื่อและที่อยู่ของห้างหุ้นส่วน วัตถุประสงค์ รายละเอียดผู้เป็นหุ้นส่วน การเข้าหุ้น และการแบ่งผลกำไรและขาดทุน

กำหนดวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เช่น การบริหารจัดการ การออกเสียงหรือลงมติ การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การห้ามผู้เป็นหุ้นส่วนค้าแข่ง และการเลิกห้างหุ้นส่วน (ถ้ามี)

ผู้เป็นหุ้นส่วนควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน โดยอาจจัดทำสัญญาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนหุ้นส่วน เพื่อให้หุ้นส่วนแต่ละคนยึดถือสัญญาไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยคนละหนึ่งฉบับ รวมถึงเพื่อใช้ในการดำเนินการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยอีกหนึ่งฉบับ ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยในสัญญาดังกล่าวควรแนบเอกสารแสดงตัวตนของหุ้นส่วนทุกคนที่หุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของเอกสารนั้นลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาด้วย เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทาง

ผู้เป็นหุ้นส่วนติดอากรแสตมป์ที่หนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตามอัตราและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ ห้างหุ้นส่วนสามัญอาจสามารถเกิดขึ้นได้ หากบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันดำเนินกิจการหรือธุรกิจโดยมีเจตนาเพื่อแบ่งปันผลกำไรกัน แม้ไม่ได้มีการทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเอาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี หุ้นส่วนดังกล่าวก็ควรจัดทำสัญญาเข้าหุ้นส่วน เพื่อกำหนดข้อตกลงอันเป็นสาระสำคัญของห้างหุ้นส่วน รวมถึงวิธี หลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบที่ใช้ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างหุ้นส่วน ความสัมพันธ์ และหน้าที่ระหว่างหุ้นส่วนนั้นให้ชัดเจน เพื่อความสัมพันธ์อันดีและความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน ทั้งนี้ เพื่อความยั่งยืนของห้างหุ้นส่วนนั้น

อนึ่ง ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องไปดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย ห้างหุ้นส่วนจึงจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ความช่วยเหลือจากทนายความ

คุณสามารถเลือกที่จะปรึกษาทนายความได้ในกรณีที่คุณต้องการความช่วยเหลือ

ทนายความสามารถช่วยคุณได้โดยทำการตอบคำถามของคุณหรือให้ความช่วยเหลือในกระบวนการต่าง ๆ จะมีการเสนอตัวเลือกดังกล่าวไว้ให้คุณในตอนท้ายของเอกสาร

แก้ไขแบบฟอร์มได้อย่างไร

คุณกรอกแบบสอบถามสำหรับป้อนข้อมูลแล้วจะเห็นได้ว่าระบบของเราจะค่อย ๆ สร้างเอกสารขึ้นเองโดยอัตโนมัติตามคำตอบที่คุณกรอกเข้าไป