ตัวอย่าง การเขียนในชีวิตประจำวัน

“ประโยคภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน”   เราจะมาแต่งประโยคกันนะครับ เริ่มจากตื่นนอนไปจนถึงเข้านอนเลยแล้วกัน แล้วเราก็จะมาเรียนรู้ประโยคภาษาอังกฤษสำหรับถามตอบในสถานการณ์ต่างๆ ที่คุณสามารถพบเจอได้ทั่วๆไปกันนะครับ

Show

ตัวอย่าง การเขียนในชีวิตประจำวัน

ประโยคภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน

คำว่า “กิจวัตรประจำวัน” ภาษาอังกฤษ คือ daily routine แต่บางคนก็จะบอกว่า daily life ก็ได้เช่นกัน เพราะมันแปลว่า “ชีวิตประจำวัน”

มาดูประโยคง่ายๆกันนะครับ เอาเป็นประโยคเดี๋ยว สำหรับคนเก่งๆก็นำไปเสริมคำเชื่อมเอาเองนะครับ

I usually wake up at 5 o’clock.
โดยปกติฉันตื่นนอนเวลา 5 นาฬิกา

I always get up at 6 o’clock.
ฉันลุกจากที่นอนเวลา 6 นาฬิกาเสมอๆ

After that I go to the bathroom and take a bath.
หลังจากนั้นฉันไปห้องน้ำและอาบน้ำ

I have breakfast with my family.
ฉันกินข้าวเช้ากับครอบครัวของฉัน

I drink milk every day.
ฉันดื่มนมทุกวัน

I get dressed and leave for school.
ฉันแต่งตัวแล้วไปโรงเรียน

I sometimes go to shcool by bus.
บางครั้งฉันไปโรงเรียนโดยรถบัส

My class starts at 8.30.
โรงเรียนของฉันเริ่มเวลา 8.30 นาที

I have lunch at the cafeteria with friends.
ฉันกินข้าวเที่ยงที่โรงอาหารกับเพื่อนๆ

My class ends at 4 o’clock.
โรงเรียนของฉันเลิกเรียนเวลา 4 โมงเย็น

I get home about 5 o’clock.
ฉันกลับถึงบ้านเวลา 5 โมงเย็น

I do homework and then watch TV.
ฉันทำการบ้าน แล้วดูทีวี

I eat dinner at 7 o’clock.
ฉันกินอาหารเย็นเวลา 19 นาฬิกา

I usually go to bed at 8.30.
โดยปกติฉันเข้านอนเวลา 20.30 นาที

ประโยคภาษาอังกฤษสำหรับการสนทนาถามตอบง่ายๆ

เราจะมาแต่งประโยคสำหรับการสนทนาในชีวิตประจำวันกันนะครับ ว่าในแต่ละวันเราทำอะไรบ้าง  ซึ่งเป็นประโยคสำหรับการสนทนาแบบง่ายๆ แต่ว่าใช้ได้จริงครับ พร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่า

  • What time do you wake up?
    คุณตื่นนอนเวลาเท่าไหร่
  • I usually wake up at 5 o’clock.
    โดยปกติฉันตื่นนอนเวลา 5 นาฬิกา
  • What time do you get up?
    คุณลุกจากที่นอนเวลาเท่าไหร่
  • I always get up at 6 o’clock.
    ฉันลุกจากที่นอนเวลา 6 นาฬิกาเสมอๆ
  • Do you have breakfast with your family?
    คุณกินอาหารเช้ากับครอบครัวของคุณใช่ไหม
  • Yes, I do.
    ใช่แล้ว
  • How often do you drink milk?
    คุณดื่มนมบ่อยแค่ไหน
  • I drink milk every day.
    ฉันดื่มนมทุกวัน
  • What time do you go to school?
    คุณไปโรงเรียนเวลาเท่าไหร่
  • I go to school at 7 o’clock.
    ฉันไปโรงเรียนเวลา 7 นาฬิกา
  • How do you go to school?
    คุณไปโรงเรียนอย่างไร
  • I sometimes go to shcool by bus.
    บางครั้งฉันไปโรงเรียนโดยรถบัส
  • What time does your class start?
    โรงเรียนคุณเริ่มเวลาเท่าไหร่
  • My class starts at 8.30.
    โรงเรียนของฉันเริ่มเวลา 8.30 นาที
  • Where do you have lunch?
    คุณกินอาหารเที่ยงที่ไหน
  • I ้have lunch at the cafeteria with friends.
    ฉันกินข้าวที่โรงอาหารกับเพื่อนๆ
  • What time does your class end?
    โรงเรียนของคุณเลิกเวลาเท่าไหร่
  • My class ends at 4 o’clock.
    โรงเรียนของฉันเลิกเรียนเวลา 4 โมงเย็น
  • What time do you go home?
    คุณกลับบ้านเวลาเท่าไหร่
  • I go home at 4.30.
    ฉันกลับบ้านเวลา 16.30 น.

 

ตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันนี้ เป็นของนักเรียนนะครับ สำหรับผู้ใหญ่ก็เปลี่ยนคำศัพท์เอานิดหน่อยก็โอเคแล้ว ประโยคเหล่านี้เป็นประโยคในการสนทนา ดังนั้นจึงใช้รูปแบบสั้นๆธรรมดา ไม่้ตองสละสลวยก็ได้คร๊าบ

    ปฏิบัติการเกี่ยวกับการเขียนโต้ตอบสังคม การเขียนข้อมูลบุคคลสั้นๆบันทึกย่อจดหมายส่วนตัว การเขียนบัตรอวยพร บัตรอวยพรอิเลฺ็กทรอนิกส์ในโอกาสต่างๆ จดหมายอิเลิกทรอนิกส์ การกรอกแบบฟรอม์ต่างๆการเลืกใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศ พัฒนาทักษะการเขียน การแสดงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย

การเขียนเป็นการสื่อสารวิธีหนึ่งของมนุษย์โดยใช้ตัวอักษร  การเขียนช่วยให้มนุษย์เกิดความเข้าใจในความรู้สึกนึกคิดต่อกันได้แทนการแสดงาการ ท่าทาง หรือการพูดจา นับเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารของมนุษยืหรือสถาบัน หน่วยงาน

นักเขียนกับผู้เขียนมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยปกติแล้วผู้เขียน จะหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ส่งสารหรือถ่ายทอดความรู้  ความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึก เลือสรรถ้อยคำถ่ายทอดเป็นข้อความเรื่องราวผ่านงานเขียนประเภทต่างๆ หรือรวมเรียกว่า วรรณกรรม

งานเขียนหรือววรณกรรมเรื่องหนึ่ง ย่อมบรรจุความรู้ ความคิด ความเห็น ถ่ายทอดผ่านคำที่เลือกสรรมาใช้เป็นข้อความร้อยเรียงเป็นเรื่องราว งานเขียนจึงเป็นสื่อที่ผู้ส่งสารหรือผู้เขียนส่งไปสู่ผู้รับสารหรือผู้อ่าน หากผู้เขียนรู้จักเลือกสรรถ้อยคำมาเขียนได้อย่าถูกหลักภาษา สละสลวยตรงตามวัตถึุประสงค์ และเหมาะสมกับผู้อ่านย่อมสร้างความรู้

เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน


 ความสำคัญของการเขียนในชีวิตประจำวัน

        ๑. ช่วยให้มนุษย์ถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจและประสบการณ์และความรู้สึกของตนเองสู่ผู้อื่น

        ๒. เพื่อบันทึกข้อมูล ข้อความ เรื่องราวที่ผ่านการกลั่นกรองความคิดและจัดระเบียบไว้ดีแล้วเป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญๆไว้ช่วยจำ

        ๓. เป็นลายลักษณ์อักษร ที่ใช้เป็นหลักฐานทางความคิดและเห็น  บันทึกเหตุการณ์ทางสังคมเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า

        ๔เป็นวิธีถ่ายทอดภูมิปัญญา ความคิด ความเชื่อ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่งเป็นเสมือนบันทึก              ทางวัฒนธรรมหรือมรดกทางวัฒนธรรม

       ๕. ผู้เขียนสามารถใช้การเขียนเป็นการพัฒนาความคิด การจัดลำดับความคิดและเพิ่มพูนทักษะในการสื่อสาร และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม


จุดประสงค์ของการเขียน


        ๑.ขียนเพื่อเล่าเรื่อง  เป็นการเขียนเพื่อให้ข้อมูล เล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง      ผู้เขียนต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความถูกต้องและการจัดลำดับข้อมูลให้ต่อเนื่อง เช่น เล่าเหตุการณ์ ประสบการณ์ ประวัติ ฯลฯ ๒. เขียนเพื่ออธิบาย   เป็นการเขียนเพื่อชี้แจง ให้ความเข้าใจที่กระจ่างชัดเจน ในเรื่องต่างๆ  ใช้ภาษาที่ชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย  และลำดับขั้นตอนการอธิบายให้ผู้อ่านสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง เช่น  การทำอาหาร คำนิยามต่างๆ ฯลฯ

         ๓. เพื่อโฆษณาจูงใจ  เป็นการเขียนเพื่อแสดงเหตุผล ให้ข้อคิด ตลอดจนข้อแนะนำที่ต้องการให้ผู้อ่านปฏิบัติตาม  แสดงเหตุผลที่สัมพันธ์กัน และมี  พลังในการเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้อ่าน  เช่น  โฆษณาสินค้า ภาพยนตร์  รายการโทรทัศน์ ฯลฯ

      ๔. เขียนเพื่อปลุกใจ เป็นการเขียนเพื่อสร้างความรู้สึกฮึกเหิม เข้มแข็ง เกิดพลังใจและมุ่งมั่นที่จะกระทำสิ่งต่างๆ หรือเกิดกำลังใจในการกระทำสิ่งต่างๆ   เช่น  บทความ  สารคดี เพลงปลุกใจ ฯลฯ   

          ๕. เพื่อแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ หรือแนะนำ เป็นการเขียนที่แสดงความคิดเห็น บอกข้อดี ข้อบกพร่องต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์  รวมไปถึงผลงานสร้างสรรค์ต่างๆ โดยใช้หลักการของเหตุและผลตามพื้นฐานของสิ่งที่วิพากษ์วิจารณ์ ผู้เขียนต้องคำนึงถึงการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่มีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีกลวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ

          ๖. เพื่อสร้างจินตนาการ  เป็นการเขียนเพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึกให้ผู้อ่านคล้อยตาม โดยเลือกใช้คำที่อ่านแล้วเห็นเป็นภาพในจินตนาการ หรือเรียกว่าภาษาภาพพจน์   เช่น       เรื่องสั้น  นิยาย  นวนิยาย ฯลฯ


ประเภทของงานเขียน

งานเขียน  แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ   ดังนี้
    
    ๑.  งานเขียนที่แบ่งประเภทตามรูปแบบ

         ๒.  งานเขียนที่แบ่งโดยใช้เนื้อหาเป็นเกณฑ์

         

๑. งานเขียนที่แบ่งประเภทตามรูปแบบ  มี   ๒   ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

     ๑.๑  ร้อยแก้ว  หมายถึง  ถ้อยคำที่ไม่จำกัดถ้อยคำและประโยค จะเขียนให้ยาว หรือสั้นสักเท่าใดก็ได้  ไม่มีกฎเกณฑ์ทางฉันทลักษณ์ ไม่มีการละคำ ละความ  เช่น เรียงความ  จดหมาย  บันทึก รายงาน  ประกาศ   เรื่องสั้น  นิยาย  นวนิยาย   


          การเขียนประเภทร้อยแก้ว  แบ่งลักษณะการเขียน เป็น ๔ แบบ ดังนี้
          ๑.๑  การพรรณนา                   ๑.๒  การบรรยาย
          ๑.๓  การอธิบาย                      ๑.๔  การโน้มน้าวใจ

       ๑.๒ ร้อยกรอง   ต่างจากร้อยแก้วตรงที่มีการบังคับจำนวนคำ สัมผัส เสียง หรือจังหวะในการอ่าน  มีชื่อตามลักษณะบังคับหรือฉันทลักษณ์   เช่น   โคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน   เป็นต้น      ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการใช้ถ้อยคำ และนำมาเรียบเรียงให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์   จึงจะทำให้เกิดความงามทางฉันทลักษณ์เหมือนสมัยก่อน แต่ยังคงมีเสียงสัมผัสที่ทำให้ไพเราะ

ตัวอย่าง การเขียนในชีวิตประจำวัน


ตัวอย่างการเขียนเล่าเรื่อง

         นักท่องเที่ยวต่างชาติได้เล่าถึงนาทีเฉียดตายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ในมณฑลเสฉวน ว่า    เธอได้ยินเสียงดังสนั่นหวั่นไหวที่สุดเท่าที่เคยได้ยินมาในชีวิต หลังจากนั้นก็มีเสียงดังจากใต้พื้นดินตามมาไม่หยุด ต้นไม้หักโค่น ก้อนหินมากมายพังถล่มลงมาจากภูเขาที่อยู่ใกล้เคียง   เธอจึงไปหาที่กําบัง และติดอยู่ในกองซากปรักหักพังนานถึง 80 ชั่วโมง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด  7.9 ริกเตอร์เมื่อหน่วยกู้ภัยช่วยดึงตัวเธอขึ้นมาได้ สภาพของเธออิดโรย มีแผลถลอกทั่วทั้งตัวและยังมีอาการหวาดกลัว เธอเห็นศพผู้เสียชีวิตกระจายเกลื่อน แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถขนย้ายได้ทัน   ทําให้ทหารต้องขุดหลุมฝังศพตรงนั้น  โดยศพที่กระจายเกลื่อนท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อน ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว

ตัวอย่าง การเขียนในชีวิตประจำวัน


                                                                   เรียบเรียงจากข้อมูลใน คมชัดลึก

                           http://news.mumuu.com/world/cat12/news23884/


ตัวอย่าง การเขียนในชีวิตประจำวัน


     ตัวอย่างการเขียนอธิบาย

เปรียบเทียบงานบุญบั้งไฟ   สมัยโบราณกับสมัยปัจจุบัน

    านบุญบั้งไฟตามที่ทำกันมาแต่โบราณ เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวพันกับชุมชนเกษตรกรรมขนาดเล็ก   

ตัวพิธีกรรมมีลักษณะผสมระหว่างงานเทศกาลของชุมชนกับพิธีกรรมทางความเชื่อหรือศาสนา ทุกคนที่ร่วมในงานต่างมีระบบความเชื่อเหมือนกันมีอาชีพอย่างเดียวกัน  ผู้ชายมีบทบาทเด่นในพิธีกรรมนับตั้งแต่การเตรียมการ   ผู้หญิงที่มีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร และนั่งชมขบวนเซิ้งของกลุ่มผู้ชายที่แวะเวียน มาเกี้ยวพาราสีกันเป็นที่สนุกสนาน    

    แต่งานบุญบั้งไฟในปัจจุบัน  เป็นงานบุญที่จัดร่วมกันระหว่างหมู่บ้านเจ้าภาพและเครือข่ายของหมู่บ้านนั้น  ผู้เข้าร่วมงานมาจากกลุ่มเครือข่ายที่กว้างขวาง  มุ่งนำเอาผู้หญิงเข้ามาเป็นผู้เซิ้งและฟ้อนในขบวน เพื่อโชว์เนื่องจากเห็นว่าผู้หญิงทำให้ขบวนแห่สวยงาม  นิยมให้ผู้หญิงที่ร่วมขบวนแต่งกายด้วยชุดที่สวยงาม ขบวนแห่บั้งไฟได้เปลี่ยนไปสู่การแสดงอย่างชัดเจน