ตัวอย่างการวิเคราะห์วิจารณ์

ในระหว่างที่ผมหาดูเรื่องการวิเคราะห์และวิจารณ์งานศิลป์เล่นๆอยู่นั้น ไปเจอบทความหนึ่งครับในเว็บ cheeranan.exteen.com ซึ่งเข้าเว็บไปไม่ได้แล้วแต่ทาง google ได้เก็บ cache ไว้อยู่ ผมเสียดายมากหากมันต้องหายไป เลยคัดลอกและกู้ข้อมูลหลายส่วนเพื่อมาไว้บนเว็บไซต์นี้ให้คนได้ศึกษาต่อไปครับ คงเป็นประโยชน์ต่อนักวิจารณ์ภาพถ่ายหรือแม้แต่ช่างภาพเอง


การวิเคราะห์วิจารณ์งานศิลปะ 

ความหมาย

การวิเคราะห์งานศิลปะ หมายถึง การพิจารณาแยกแยะศึกษาองค์รวมของงานศิลปะออกเป็นส่วนๆ ทีละประเด็น ทั้งในด้านทัศนธาตุ องค์ประกอบศิลป์ และความสัมพันธ์ต่างๆ  ในด้านเทคนิคกรรมวิธีการแสดงออก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลงานศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านความงาม ทางด้านสาระ และทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร

การวิจารณ์งานศิลปะ  หมายถึง การแสดงออกทางด้านความคิดเห็นต่อผลงานทางศิลปะที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นไว้ โดยผู้วิจารณ์ให้ความคิดเห็นตามหลักเกณฑ์และหลักการของศิลปะ ทั้งในด้านสุนทรียศาสตร์และสาระอื่นๆ ด้วยการติชมเพื่อให้ได้ข้อคิดนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงานศิลปะ หรือใช้เป็นข้อมูลในการประเมินตัดสินผลงาน และเป็นการฝึกวิธีดู วิธีวิเคราะห์ คิดเปรียบเทียบให้เห็นคุณค่าในผลงานศิลปะชิ้นนั้น ๆ

คุณสมบัติของนักวิจารณ์
1. ควรมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะทั้งศิลปะประจำชาติและศิลปะสากล
2. ควรมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ
3. ควรมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ช่วยให้รู้แง่มุมของความงาม
4. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และไม่คล้อยตามคนอื่น
5. กล้าที่จะแสดงออกทั้งที่เป็นไปตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกและประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ จัดเป็น 4 ลักษณะ  ดังนี้
1. นิยมการเลียนแบบ (Imitationalism Theory) เป็นการเห็นความงามในธรรมชาติแล้วเลียนแบบไว้ให้เหมือนทั้งรูปร่าง รูปทรง สีสัน ฯลฯ
2. นิยมสร้างรูปทรงที่สวยงาม (Formalism Theory) เป็นการสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ให้สวยงามด้วยทัศนธาตุ (เส้น รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก พื้นผิว บริเวณว่าง) และเทคนิควิธีการต่างๆ
3. นิยมแสดงอารมณ์ (Emotional Theory) เป็นการสร้างงานให้ดูมีความรู้สึกต่างๆ ทั้งที่เป็นอารมณ์อันเนื่องมาจากเรื่องราวและอารมณ์ของศิลปินที่ถ่ายทอดลงไปในชิ้นงาน
4. นิยมแสดงจินตนาการ (Imagination Theory) เป็นงานที่แสดงภาพจินตนาการ แสดงความคิดฝันที่แตกต่างไปจากธรรมชาติและสิ่งที่พบเห็นอยู่เป็นประจำ

แนวทางการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

การวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 3 ด้าน  ได้แก่

1. ด้านความงาม

       เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านทักษะฝีมือ การใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ และการจัดองค์ประกอบศิลป์ว่าผลงานชิ้นนี้แสดงออกทางความงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสมสวยงามและส่งผลต่อผู้ดูให้เกิดความชื่นชมในสุนทรียภาพเพียงใด ลักษณะการแสดงออกทางความงามของศิลปะจะมีหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของยุคสมัย ผู้วิเคราะห์และประเมินคุณค่าจึงต้องศึกษาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจด้วย เช่น

ตัวอย่างการวิเคราะห์วิจารณ์
ตัวอย่างการวิเคราะห์วิจารณ์

ภาพแม่พระมาดอนนา พระเยซู และเซนต์จอห์น
(The Madonna and Child with The infant St. John)
เทคนิคสีน้ำมันบนแผ่นไม้
ผลงานของราฟาเอล (Raphael)
แสดงรูปแบบความงามของภาพโดยใช้รูปคนเป็นจุดเด่น
มีความเวิ้งว้างของธรรมชาติเป็นฉากหลังแสดงความตื้นลึกใกล้ไกล
โดยใช้แนวทางของทัศนียวิทยาและการจัดองค์ประกอบภาพในแนวกรอบสามเหลี่ยม
ซึ่งเป็นลักษณะความงามในการจัดองค์ประกอบศิลป์ที่ศิลปินในสมัย
ฟื้นฟูศิลปวิทยานิยมทำกัน

ตัวอย่างการวิเคราะห์วิจารณ์
ตัวอย่างการวิเคราะห์วิจารณ์

ภาพองค์ประกอบศิลป์ (Composition)
เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ (พ.ศ.2472)
ผลงานของ พีต  มอนดรีอัน (Piet  Mondrian)
เน้นการออกแบบโดยเส้นที่ตัดกันเป็นมุมฉากระหว่างเส้นนอนกับเส้นตั้ง
เกิดเป็นบริเวณว่างให้มีความสัมพันธ์กันภายในกรอบสี่เหลี่ยม
ด้วยการใช้สีแดง เหลือง น้ำเงินที่สดใส รวมทั้งสีขาว ดำ และเทา
ในแบบนามธรรมที่ใช้เส้นเรขาคณิตเป็นหลัก

สรุปการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่าของงานศิลปะในด้านความงามจะตัดสินกันที่รูปแบบการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ หรือการเห็นคุณค่าทางความงามนั่นเอง

2. ด้านสาระ

เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของผลงานศิลปะแต่ละชิ้นว่ามีลักษณะส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนจุดประสงค์ต่างๆ ทางจิตวิทยาว่าให้สาระอะไรกับผู้ชมบ้าง ซึ่งอาจเป็นสาระเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม ศาสนา การเมือง ปัญญา ความคิด จินตนาการ และความฝัน เช่น

ตัวอย่างการวิเคราะห์วิจารณ์
ตัวอย่างการวิเคราะห์วิจารณ์

ภาพวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2351 (The Third of May 1808)
ผลงานของฟรันซิสโก โจเซ เด โกยา (Francisco Jose de Goya) จิตรกรชาวสเปน
แสดงคุณค่าด้านสาระให้เห็นถึงความเจ็บปวดจากการถูกย่ำยีและเข้ายึดครองประเทศสเปนของทหารฝรั่งเศส ในสมัยนโปเลียนที่มีการสังหารประชาชนผู้แสวงหาอิสรภาพอย่างเลือด็น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่มีคุณธรรมในการปกครองบ้านเมือง

3. ด้านอารมณ์ความรู้สึก

เป็นการคิดวิเคราะห์และประเมินคุณค่าในด้านคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกและสื่อความหมายได้อย่างลึกซึ้งของวัสดุ ซึ่งเป็นผลของการใช้เทคนิคแสดงออกถึงความคิด พลัง ความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน เช่น

     วรรณกรรมบางเรื่องอาจมีคุณสมบัติที่ไม่ครบถ้วนตามหลักดังกล่าว  ผู้อ่านสามารถวิจารณ์ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยได้เต็มที่  ส่วนวรรณคดีที่มีผู้วิจารณ์มาแล้วและตัดสินแล้วว่าแต่งดี  ผู้วิจารณ์อาจเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็ได้  แต่ทั้งนี้ผู้วิจารณ์ต้องชี้ให้เห็นว่าดีเด่น  หรือบกพร่องอย่างไร