ทักษะการอ่านออกเสียง หมายถึง

ความหมายของการอ่าน

               การอ่านเป็นกระบวนการพัฒนาทักษะ  การรับรู้ความหมายของคำ  สัญลักษณ์  ความรู้  ความคิด  ความรู้สึกและจินตนาการของผู้เขียน
  โดยสิ่งสำคัญคือความเข้าใจในการอ่าน
              พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๔๒ (๒๕๔๖: ๑๓๖๔)  ให้ความหมายของคำว่า “อ่าน” ไว้ว่า ว่าตามตัวหนังสือ
  ถ้าออกเสียงด้วยเรียกว่าอ่านออกเสียง  ถ้าไม่ออกเสียงเรียกว่า อ่านในใจ สังเกตหรือพิจารณาดูให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก  อ่านใจ....
  ศิริพร ลิมตระการ (๒๕๔๓ : ๕) ได้กล่าวว่าการอ่านคือ กระบวนการแห่งความคิด  ในการรับสารเข้าในขณะที่อ่านสมองของผู้อ่านจะต้องคิดตาม 
  ผู้เขียนหรือตีความข้อความที่อ่าน ไปด้วยตลอดเวลา  ผู้อ่านที่ดีนั้นจะต้องเข้าใจข้อความที่ตนอ่านได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง 
              สุพรรณี วราทร (๒๕๔๕: ๑๓) ได้อธิบายความหมายของการอ่านโดยสังเขปเปรียบเทียบการอ่านกับกระบวนการถอดรหัส    
  เป็นปฏิกิริยาอันเป็นผลจากการเห็นสัญลักษณ์ หรือข้อความ การอ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะทางความคิด เป็นกระบวนการทางสมองที่ซับซ้อน
ประกอบด้วยการเห็นและรับรู้ข้อความ (word perception) การเข้าใจ (apprehention) และการแปลความหมาย (interpretation) 
               บรรพต  ศิริชัย (๒๕๔๗ : ๒) กล่าวว่า การอ่าน หมายถึง กระบวนการทางความคิดในการรับสาร  ขณะที่อ่านสมองของผู้อ่านจะต้องแปลความหมาย   ตีความข้อความหรือเรื่องราวที่อ่านไปด้วยตลอดเวลา  ในระหว่างที่ผู้อ่านกำลังอ่านหนังสืออยู่นั้น จะต้องใช้กลวิธีหลาย ๆ อย่าง เพื่อช่วยให้เข้าใจ
เรื่องราวได้เร็วขึ้นได้แก่ ความรู้เดิมในคำศัพท์  เพื่อใช้อธิบายความหมาย แปลความ ตีความ และขยายความจากเรื่องที่อ่านได้  นอกจากนี้ผู้อ่านจะต้องมีความคิดเชิงวิจารณ์ และสร้างสรรค์  สามารถพิจารณาเหตุผลจากข้อความที่อ่าน  เข้าใจความคิดหรือความมุ่งหมายของผู้เขียน รวบรวมความคิดที่ได้จากการอ่าน   แล้วนำไปประสานกับประสบการณ์เดิมของตนเป็นความคิดใหม่ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
                  สรุปว่า  การอ่านเป็นกระบวนการทางความคิดในการรับสาร เป็นพฤติกรรมทางการใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะตัว เป็นการแปลความหมาย
ของตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพที่ได้ดูออกมาเป็นถ้อยคำและความคิด  ทำความเข้าใจสิ่งที่อ่านแล้วนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาตนเอง   ทั้งด้านสติปัญญา สังคมและอารมณ์

Reading Skill

การอ่านภาษาอังกฤษ  มี 2  ลักษณะ คือ  การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ  (Silent Reading )  การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy)  และความคล่องแคล่ว ( Fluency)  ในการออกเสียง  ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง  ต่างกันที่ การฟัง ใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้  ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ

1.   เทคนิควิธีปฏิบัติ

1.1 การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้

                (1)  Basic Steps of Teaching (BST)   มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้

              - ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง

             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม

             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)

             - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด

             - นักเรียนฝึกอ่านเอง

             - สุ่มนักเรียนอ่าน

(2)  Reading  for  Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน  โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่  เช่น ครูเรียก Chain-number One  นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51  จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด  ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่

(3)  Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว

(4)  Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ

(5)  Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading   มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไ

1.2  การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น  3   กิจกรรม  คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)   แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้

1)  กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)   การที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ

- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน

- ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ  อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด  เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ  หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย  หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ

2)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น  กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน  แต่เป็นการ ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ  กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้  ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ  เช่น  การฟัง  หรือ  การเขียน  อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย  เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา   กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน  ควรเป็นประเภทต่อไปนี้

- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ

- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง

- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค   ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน

- Correcting    คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน

- Deciding   คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice)   หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)

- Supplying / Identifying   คือ  อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic  Sentence)  หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion)  หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title)  หรือ ย่อเรื่อง (Summary)  หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific  Information)

3)  กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)  เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน  ทั้งการฟัง  การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว  โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์  สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้  ความถูกต้องของคำศัพท์  สำนวน  โครงสร้างไวยากรณ์  หรือฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่องแล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น  หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นต้น

3.    บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)   

การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น  จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน  ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี  จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน

ดังกล่าวสรุปได้คือ 

ทักษะการอ่านแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ การอ่านออกเสียง และการอ่านในใจ

1. การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้ มีเทคนิคดังนี้

1.1    Basic Steps of Teaching (BST)  ได้แก่ - ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง

- ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว) - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด - นักเรียนฝึกอ่านเอง - สุ่มนักเรียนอ่าน

1.2Reading  for  Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน  โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่

1.3 Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำ

1.4Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

1.5  Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation)

2 การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น  3   กิจกรรม  คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)  

2.1)  กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading) มีขั้นตอนดังนี้

- ขั้น Personalization เป็นขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน

- ขั้น Predicting เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์

2.2 กิจกรรมระหว่างการอ่าน  ( While-Reading)  มีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 

- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ

- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน

 - Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค

- Correcting    คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ

 - Deciding   คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice)   หรือ เลือกประโยคถูกผิด

 - Supplying / Identifying   คือ  อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic  Sentence)  หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion)  หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title)  หรือ ย่อเรื่อง (Summary) 

 3)  กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)  เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน 

ทักษะการอ่านออกเสียงมีอะไรบ้าง

นภดล จันทร์เพ็ญ (2537:78-80) กล่าวถึงทักษะการอ่านออกเสียงไว้ดังนี้ 1.ความชัดเจน หมายถึง ออกเสียงได้ชัดถ้อยชัดค า ทั้งเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การควบกล้า 2.ความถูกต้อง หมายถึง การอ่านได้ ออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขรวิธี 3.ความคล่องแคล่ว หมายถึง ความสามารถในการอ่านได้ต่อเนื่อง 4.การเว้นวรรคตอน หมายถึง การหยุดในช่วงของ ...

ความหมายของการอ่านออกเสียงคืออะไร

1. ความหมายของการอ่านออกเสียง การอ่านออกเสียง หมายถึง การอ่านข้อความโดยการเปล่งเสียงออกมา เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ ข้อความนั้น ๆ ด้วยการอ่านออกเสียงแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อย กรอง การอ่านออกเสียงเป็นศิลปะในการสื่อสาร โดยการแปลความหมายของตัวอักษร และความคิดของ ข้อความที่อ่าน โดยอาศัยอารมณ์ ...

ทักษะการอ่าน มีความสําคัญอย่างไร

ความสำคัญของการอ่าน ทำไมต้องฝึกการอ่านอย่างจริงจัง ทักษะการอ่านขั้นสูงจำเป็นต้องใช้ความพยายามและต้องทำตามขั้นตอนต่างๆ แต่ก็ทำให้เราได้เข้าใจ ได้ฝึกการตรวจสอบ การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ ซึ่งจะเปิดทางให้เราเข้าใจหนังสือที่มีเนื้อหายากๆ ได้ หนังสือที่มันจะสอนเราและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเรา

การอ่านทํานองเสนาะ หมายถึงอะไร

การอ่านทำนองเสนาะคือ วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ( พจนานุกกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 528 ) บางคนให้ความหมายว่า การอ่านทำนองเสนาะ คือ การอ่านตามทำนอง ( ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว ) เพื่อให้เกิดความเสนาะ ( เสนาะ , น่าฟัง , เพราะ , วังเวงใจ )