แผนที่แต่ละประเภท

แผนที่คึอการแสดงลักษณะของผิวโลกลงบนวัสดุแบนราบ โดยแทนสิ่งต่างๆที่เกิดตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยการย่อส่วนให้เล็กลงตามต้องการ

2.แผนที่แบ่งเป็นกี่ชนิด

1.จำแนกตามลักษณะการใช้ มี 3 ชนิด คือ
1.แผนที่อ้างอิง คือ คือแผนที่ที่ใช้สำหรับอ้างอิงข้อมูลในการทำแผนที่ชนิดอื่นๆ เช่นแผนที่ภูมิประเทศ แสดงลักษณะต่างๆบนพื้นผิวโลก
2.แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่จัดขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง เช่นแผนที่รัฐกิจ แสดงลักษณะทางการปกครองของประเทศ เช่นแผนที่แสดงการแบ่งเขตจังหวัดของประเทศไทย
3.แผนที่เล่ม(Atlast) เป็นแผนที่รวมแผนที่หลายๆชนิดไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น แผนที่ภูมิประเทศ แผนที่ภูมิอากาศ แผนที่รัฐกิจ เป็นต้น

2.จำแนกตามขนาดหรือมาตราส่วน
ในกิจการทหารแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

1.แผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่ คือแผนที่ที่ใช้มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:75,000 สำหรับแสดงข้อมูลพื้นที่ขนาดเล็กเช่น หมู่บ้าน ตำบล เขตเทศบาลมาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:50,000
2.แผนที่มาตราส่วนขนาดกลาง คือ แผนที่ที่ใช้มาตราส่วน 1:75000ถึง 1:600,000 เพื่อแสดงข้อมูลของพื้นที่ที่กว้างใหญ่ขึ้น เช่น พื้นที่อำเภอ จังหวัด มาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:250,000
3.แผนที่มาตราส่วนขนาดเล็ก คือ แผนที่ที่ใช้มาตราส่วนเล็กกว่า 1:600,000 ใช้แสดงข้อมูลในพื้นที่ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ เช่น แผนที่ประเทศไทย แผนที่ทวีปเอเชีย มาตราส่วนที่นิยมใช้คือ 1:1,000,000

แบ่งในทางภูมิศาสตร์ มี 3 ชนิด
– แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
– แผนที่มาตราส่วนปานกลาง ได้แก่แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 – 1:1,000,000
– แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่แผนที่มาตราส่วนเล็กกว่า 1:1,000,000

3.องค์ประกอบของแผนที่มีอะไรบ้าง

1.ขอบระวาง คือ เส้นกั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยมีตัวเลขแสดงค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์กำกับไว้ที่เรียกว่าค่าละติจูด และค่าลองจิจูด

2.ชื่อของแผนที่ เช่น แผนที่ภูมิประเทศของประเทศไทย

3.ชื่อทางภูมิศาสตร์ คือ ตัวอักษรที่ใช้บอกชื่อเฉพาะที่สำคัญในแผนที่นั้น เช่น ชื่อทวีป ชื่อประเทศ

4.พิกัดทางภูมิศาสตร์  เป็นการกำหนดที่ตั้งหรือตำแหน่งของสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลกลงในแผนที่ เช่น ที่ตั้งของจังหวัด โดยใช้ค่าละติจูด และลองจิจูด

5.ทิศ  กำหนดให้ส่วนบนของแผนที่เป็นทิศเหนือ ส่วนล่างเป็นทิศใต้ ทางขวาเป็นทิศตะวันออก ทางซ้ายเป็นทิศตะวันตก

6.มาตราส่วน คือ อัตราส่วนระหว่างระยะทางในภูมิประเทศจริงกับระยะทางในแผนที่  มาตราส่วนแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ1.มาตราส่วนเศษส่วน  ได้แก่ 1:500,000   2.มาตราส่วนเส้นหรือมาตราส่วนบรรทัด  3.มาตราส่วนคำพูด ใช้บอกมาตราส่วนในแผนที่โดยเขียนเป็นภาษาหนังสือ เช่น 1 ซ.ม.เท่ากับ 10 กิโลเมตร  เป็นต้น

7.สัญลักษณ์ คือสิ่งที่ใช้แสดงแทนข้อมูลของสิ่งต่างๆเช่น สัญลักษณ์แทนภูเขา แม่น้ำ  เป็นต้น

8.สี  ที่นิยมใช้ในแผนที่ มี  5 สี

1.สีดำ แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น โรงเรียน เขื่อน

2.สีแดง แทนถนน เส้นกั้นอาณาเขต 

3.สีน้ำเงิน แทนพื้นน้ำ 

4.สีน้ำตาล แทนความสูง เช่นเทือกเขา ที่ราบสูง

5.สีเขียว แทนพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ

4.ทิศเหนือซึ่งเป็นทิศหลักในแผนที่มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีรายละเอียดอย่างไร

ทิศเหนือในแผนที่มี 3 ชนิด คือ

1.ทิศเหนือจริง คือแนวที่ชี้ไปสู่ขั้วโลกเหนือตามทิศทางของเเนวของเส้นเมอริเดียนหรือลองจิจูด เส้นลองจิจูดทุกเส้นคือทิศเหนือจริง  สัญญลักษณ์ของทิศเหนือจริงคือรูปดาว โดยทั่วไปจะไม่ใช้ทิศเหนือจริงในการอ่านแผนที่

2.ทิศเหนือแม่เหล็ก คือแนวที่ปลายลูกศรของเข็มทิศชี้ไปยังขั้วแม่เหล็กในซึกโลกเหนือ ใช้สัญญลักษณ์เป็นลูกศรครึ่งซีก  ใช้ประโยชน์ในการหาทิศเมื่ออยู่ในภูมิประเทศจริง

3.ทิศเหนือกริด คือแนวทิศเหนือที่เกิดจากเส้นกริดหรือเส้นที่ลากในแผนที่ตัดกันเป็นมุมฉาก ใช้สัญญลักษณ์เป็นตัวอักษร GN  ใช้ประโยชน์ในการหาค่าพิกัดบนแผนที่ และมุมภาคของทิศ

5.การบอกทิศทางนอกจากใช้ทิศทั้ง4แล้วอาจใช้วิธีใดได้อีก

1.การบอกทิศทางแบบมุมอาซิมัท (Azimuth)เป็นมุมที่วัดจากทิศเหนือไปตามเข็มนาฬิกา มุมที่วัดได้มีค่าไม่เกิน360องศา    

2.มุมแบริง(Bearing)เป็นการบอกทิศทางโดยวัดค่ามุมในแนวราบ ซึ่งวัดจากทิศเหนือเป็นหลัก หรือวัดจากทิศใต้เป็นหลักก็ได้  โดยมีแนวเป้าหมายทางทิศตะวันออกหรือตะวันตก ขนาดของมุมแบริ่งที่วัดได้มีค่าไม่เกิน 90องศา

6.ระบบพิกัดในแผนที่ที่นิยมในปัจจุบันมีกี่แบบ ชื่ออะไร

มี 2 แบบ คือ 1.ระบบพิกัดภูมิศาสตร์  2. ระบบพิกัดกริด

7.จงอธิบายระบบพิกัดภูมิศาสตร์

ระบบพิกัดภูมิศาสตร์ คือ การอ้างอิงตำแหน่งต่างๆบนพื้นผิวโลก ซึ่งเกิดจากการตัดกันระหว่างเส้นละติจูดและลองจิจูด

8.ค่าละติจูด มีลักษณะอย่างไร

  1. เป็นเส้นสมมุติลากรอบโลกในแนวนอน
  2. เส้นที่ยาวที่สุด คือ อีเควเตอร์ หรือเส้นศูนย์สูตร แบ่งโลกเป็น 2 ส่วนคือซีกโลกเหนือ-ใต้
  3. เริ่มต้นเส้นศูนย์สูตรที่ 0 องศา ขึ้นไปทางเหนือ 90 องศา และลงมาทางใต้ 90 องศา
  4. การกำหนดค่าละติจูด มีผลต่อการแบ่งเขตอากาศโลก เป็น 3 เขต  คือ                                          เขตร้อน   เขตอบอุ่น  เขตหนาว

9.ค่าลองจิจูด มีลักษณะอย่างไร

  1. เป็นเส้นสมมุติที่ลากในแนวตั้งจากขั้วโลกเหนือ -ขั้วโลกใต้
  2. เริ่มต้นเมอริเดียนแรกที่ ต.กรีนิช กรุงลอนดอน  สหราชอาณาจักร มีค่าเป็น 0 องศา แบ่งโลกเป็น ซึกโลกตะวันออก และซีกโลกตะวันตก และใช้กำหนดเป็นเวลามาตรฐานของโลก GMT  (Greenwich Mean Time )
  3. ค่าลองจิจูดจะนับไปทางตะวันออก 180 องศา  และทางตะวันตก 180 องศา  จนบรรจบกันที่ 180 องศา 
  4. เส้นลองจิจูดที่ 180 องศา เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากล  ลากผ่านกึ่งกลางมหาสมุทรแปซิฟิก  แต่ไม่ได้ลากตรง มีบางตอนลากอ้อม  เพื่อมิให้ดินแดนที่เป็นหมู่เกาะที่อยู่่ในรัฐเดียวกันต้องมีวันที่แตกต่างกัน

10.หลักการคำนวณเรื่องวันเวลาตามค่าลองจิจูด

  1. ถ้าข้ามเขตวันสากลไปทางซีกโลกตะวันออก เวลา เพิ่ม 1วัน
  2. ถ้าข้ามเขตวันสากลไปทางซีกโลกตะวันตก เวลาลด 1วัน
  3. ต้องดูว่าเขตนั้นอยู่ทางซีกโลกตะวันออกหรือตะวันตก ถ้าตะวันออกเวลาเร็วกว่า
  4. คำนวณตามสูตร    1  องศา  =  4  นาที่         15  องศา  =  1 =ชั่วโมง

11.จงอธิบายระบบพิกัดกริด

     พิกัดกริด UTM (Universal Transvers Mercator) เป็นระบบตารางกริดที่ใช้ช่วยในการกำหนดตำแหน่งและใช้อ้างอิงในการบอกตำแหน่ง ที่นิยมใช้กับแผนที่ในกิจการทหารของประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน เพราะเป็นระบบตารางกริดที่มีขนาดรูปร่างเท่ากันทุกตาราง และมีวิธีการกำหนดบอกค่าพิกัดที่ง่ายและถูกต้องเป็นระบบกริดที่นำเอาเส้นโครงแผนที่แบบ Universal Transvers Mercator Projection ของ Gauss Krugger มาใช้ดัดแปลงการถ่ายทอดรายละเอียดของพื้นผิวโลกให้รูปทรงกระบอก Mercator Projection อยู่ในตำแหน่ง Mercator Projection (แกนของรูปทรงกระบอกจะทับกับแนวเส้นอิเควเตอร์ และตั้งฉากกับแนวแกนของขั้วโลก)

12.วิธีอ่านระบบพิกัดกริด

ทางด้านละติจูด อยู่ระหว่าง ละติจูด 80 องศาใต้ –  84 องศาเหนือ แบ่งเป็น 20 ส่วนๆละ 8 องศา ส่วนทางด้านลองจิจูด อยู่ระหว่าง180 องศาตะวันตก  – 180 องศาตะวันออก แบ่งเป็น 60โซนๆละ 6 องศาวิธีการอ่าน คืออ่านไปทางขวาแล้วขึ้นบน

แผนที่มีกี่ประเภท ป.5

1) แผนที่รัฐกิจ (political map) 2) แผนที่ภูมิอากาศ (climatic map) 3) แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) 4) แผนที่การถือครองที่ดิน (cadastral map)

แผนที่เฉพาะเรื่องมีอะไรบ้าง

แผนที่เฉพาะเรื่อง (thematic map) เป็นแผนที่ที่แสดงรายละเอียดเฉพาะเรื่อง แผนที่รัฐกิจ (political map) แผนที่ภูมิอากาศ (climatic map) แผนที่ธรณีวิทยา (geologic map) แผนที่การถือครองที่ดิน (cadastral map) แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ (natural vegetation map) แผนที่ท่องเที่ยว (tourist map) แผนที่รัฐกิจ (political map)

แผนที่แบ่งเป็นกี่ชนิด มีอะไรบ้าง ป.4

สามารถแบ่งแผนที่ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น ๒ ชนิด คือ แผนที่ อ้างอิง และแผนที่เฉพาะเรื่อง 4 5 Page 6 แผนที่เฉพาะเรื่องเป็นแผนที่แสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้ดูหรืออ่านท าความเข้าใจได้ง่าย เช่น

แผนที่อ้างอิงทั่วไป มีอะไรบ้าง

3.1 แผนที่อ้างอิง คือแผนที่ที่ใช้เป็นหลักหรือเป็นพื้นฐานในการทำแผนที่ชนิดอื่นๆ แผนที่อ้างอิงที่สำคัญและนิยมใช้มากที่สุดคือ แผนที่ภูมิประเทศ ( Topographic Map ) เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะภูมิประเทศบนพื้นผิวโลก เช่นที่ราบ ที่ราบสูง เทือกเขา แม่น้ำ ฯลฯ โดยแสดงภูมิลักษณ์ของพื้นโลกตามแนวดิ่งหรือแสดงความสูงต่ำของพื้นที่ โดยใช้ ...