พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

Pyramid Chart (หรือ Triangle Diagram หรือ Triangle Chart) คือกราฟที่มีลักษณะคล้ายพีระมิด คือเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม มีฐานกว้าง และปลายยอดแหลม หลายท่านอาจคุ้นเคยกับรูปด้านล่างซึ่งเรียกว่า Food Pyramid วิธีการดูกราฟนี้คือ

  • แนวแกน X (แนวนอนหรือฐาน) แสดงปริมาณอาหารที่ควรรับประทาน
  • แนวแกน Y (แนวตั้ง) คือกลุ่มของข้อมูลตามประเภทอาหาร

จากรูปด้านล่างทำให้เห็นว่าใน 1 วัน เราควรรับประทานอาหารในแต่ละกลุ่ม มากน้อยแตกต่างกัน จากรูปเราควรรับประทานอาหารพวกแป้งมากที่สุด รองลงมาคือประเภทผักผลไม้ และที่ควรรับประทานน้อยที่สุดคือประเภทไขมันที่ทำให้อ้วน เป็นต้น

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

Pyramid Chart ยังนิยมนำไปแสดงข้อมูลเปรียบเทียบจำนวนประชากรตามช่วงอายุ อีกด้วย หลายท่านอาจสงสัยว่า จำนวนประชากรจะเป็นรูปพีระมิดได้อย่างไร?

แนวทางการแสดงผล

  1. เราจะใช้กราฟแท่ง (Bar Chart) เป็นตัวแสดงผล โดยเป็นกราฟแนวนอน
  2. เราจะแยกสีของแท่ง (Bar) ตามเพศ โดยเพศชายสีน้ำเงิน และเพศหญิง สีชมพู
  3. ความกว้างของกราฟแท่งนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนประชากร โดยทิศทางของเพศหญิงจะไปกว้างไปทางขวามือ ส่วนเพศชายจะไปกว้างไปทางซ้ายมือ (ทิศตรงข้ามกับเพศหญิง)
  4. แกน Y (แนวตั้ง) แทนช่วงอายุ โดยอาจแบ่งช่วงละ 5 ปี เริ่มจาก 0-4, 5-9, …, +100 ปี

รูปต่อไปนี้คือ Pyramid Chart แสดงจำนวนประชากรของ 2 ประเทศคือ Afghanistan (เลือกประเทศนี้เพราะเป็นประเทศแรกหากเรียงตามตัวอักษร) และประเทศญี่ปุ่น (เลือกประเทศนี้ เพราะประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอายุขัยเฉลี่ย (Life Expectancy) สูงระดับต้นของโลก) ท่านสามารถดูข้อมูลประเทศอื่นได้ที่ https://www.populationpyramid.net/

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

จะเห็นว่า Afghanistan นั้นมีรูปร่างคล้ายพีระมิด คือมีฐานกว้าง แสดงว่ามีเด็กเยอะกว่าผู้ใหญ่ ส่วน Japan นั้นรูปร่างไม่คล้ายพีระมิดแล้ว คือมีเด็กน้อยกว่าผู้ใหญ่ และช่วงอายุที่มีประชากรมากที่สุดคือ 45-49 ปี (ซึ่งค่อนข้างจะสูงวัย) กราฟนี้เป็นตัวบอกให้เราทราบว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศสังคมผู้สูงอายุมากเพียงใด

ระดับของสังคมผู้สูงอายุ (ที่มา https://www.exim.go.th/eximinter/e-news/11285/enews_july2014_tips.html) นั้นมีเกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 แบบคือ

  1. Aging Society: มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ
  2. Aged Society: มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ
  3. Super-Aged Society: มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ

กรณีประเทศญี่ปุ่นนั้น

  • หากนับจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีตัวเลข 34.01%
  • หากนับจำนวนประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีตัวเลข 28.0%

นั่นหมายความว่า ประเทศญี่ปุ่นถือเป็น Super-Aged Society แล้ว

แล้ว ประเทศไทยเรา เป็นอย่างไร? รูปร่างหน้าตาของพีระมิด จะคล้ายกับ Afghanistan หรือว่า Japan? แล้วไทยเราเป็นสังคมผู้สูงอายุหรือยัง? 

Analytics

บทความนี้ ผู้เขียนจะใช้ข้อมูลจำนวนประชากรของประเทศไทย โดย Download จาก Website ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตาม Link นี้ http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11101TH.xlsx  ข้อมูลดังกล่าวผ่านการ Reshape ให้เหมาะสมกับการนำไปวิเคราะห์ต่อเรียบร้อยแล้วซึ่งสามารถ Download ได้ที่นี่

Output-TB-Prep-Thailand-PopulationDownload

ข้อมูลที่สำคัญที่จะนำมาใช้สร้าง Pyramid Chart ก็ไม่ได้ใช้ข้อมูลที่เยอะจนเกินไป ข้อมูลที่สำคัญๆประกอบไปด้วย 1.ข้อมูลช่วงอายุ(ตัวเลข) 2.ข้อมูลช่วงอายุ(ตัวหนังสือ) 3.จำนวนประชากร(เพศชาย) 4.จำนวนประชากร(เพศหญิง) 5.จำนวนประชากร (รวม) เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะได้กราฟรูปแบบนี้

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

ผู้อ่านที่เป็นมือใหม่ด้านการใช้ Tableau สามารถดาวน์โหลดและเรียนรู้ หลักการสร้างกราฟด้วย Tableau ได้ที่ บทความ ‘หลักการสร้าง Graph, Chart หรือ Visualization ด้วย Tableau Desktop‘

หลังจากจัดการข้อมูลเรียบร้อยแล้วจะได้ข้อมูลดังรูปด้านล่างนี้ เมื่อได้ข้อมูลเรียบร้อยแล้วก็สามารถใช้ Tableau Desktop สร้าง Pyramid Chart ได้แล้ว ไปดูขั้นตอนการสร้างกัน

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

วิธีการทำดังนี้

  1. ให้ทำการลาก field ‘อายุตัวเลข’ จาก Measure ย้ายไปที่ Dimension วิธีการคือให้ ลาก ‘ช่วงอายุตัวเลข’ ไปปล่อยด้านบน

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

  1. จากนั้นให้ทำการลาก Field ‘ชาย’ และ field ‘หญิง’ ไปวางที่ Column Shelf

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

  1. จากนั้น ลาก Field ‘ช่วงอายุตัวเลข’ มาวางที่ Row Shelf

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

  1. สามารถเปลี่ยนสี เพศชายหรือเพศหญิงได้ โดยตัวอย่างผู้เขียนจะเปลี่ยนสี ผู้หญิงเป็นสีชมพู โดยวิธีการทำคือ ให้คลิกที่ Field ‘เพศหญิง’ที่ Mark Shelf จากนั้นคลิกที่ Color เลือกเปลี่ยนสีได้ตามใจชอบ

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

  1. ขั้นตอนต่อไปคือการ กลับแกน (เพศชาย ให้เป็นทรงพีระมิดมากขึ้น) วิธีการทำคือ ให้คลิกขวาที่แกน X ของเพศชาย จากนั้นเลือก Edit Axis จากนั้นให้ติ๊กเลือก Reversed จากนั้นกด OK

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

หมายเหตุ เนื่องจากข้อมูลชุดนี้ มีข้อมูลที่เป็น Null ด้วย สามารถขจัด Null โดยการคลิกขวาที่ Null จากนั้นเลือก Exclude

เมื่อทำขั้นตอนที่ 5 เสร็จแล้วจะเห็นว่ากราฟของเราจะแบ่งช่วงของแต่ละแท่งเป็น 1 ปี ดังรูปด้านล่างนี้ หากท่านไม่ต้องการให้แท่งโชว์ช่วง 1 ปี สามารถใช้ Bin เข้ามาช่วงในการจัดการช่วงเป็น 5 ปี หรือ 10 ปี ได้ตามที่ต้องการโดยมีวิธีทำดังข้อ 6

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

  1. วิธีการสร้าง Bin ให้คลิกขวาที่ Field ‘ช่วงอายุตัวเลข’ เลือก Create จากนั้นเลือก Bins จากนั้น ให้เปลี่ยน Size of bins เป็นจำนวนช่วงที่ต้องการ (จากตัวอย่าง Size of bins = 5)

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

  1. จากนั้นให้ทำการลาก Field ‘ช่วงอายุตัวเลข(Bins)’ ไปวางแทนที่ Field ‘ช่วงอายุตัวเลข’ ที่ Row Shelf จากนั้นให้ทำการ Sort ข้อมูลโดยให้เรียงจากมากไปน้อย วิธีการทำคือ คลิกขวาที่ Field ‘ช่วงอายุตัวเลข(Bins)’ จากนั้นเปลี่ยน Sort order เป็น ‘Descending’

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

  1. เรียบร้อยแล้วค่ะ สำหรับกราฟ พีระมิด แสดงจำนวนประชากรตามช่วงอายุ ถ้าต้องการขยายให้กราฟพีระมิดเต็มหน้าจอสามารถเลือก ‘Entire View’

พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ
พีระมิดประชากร รูป แบบ ต่างๆ

          จากข้อมูล Thailand Population เมื่อนำมาสร้าง Pyramid Chart จะสามารถวิเคราห์และเห็นภาพได้ว่า จำนวนประชากรในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ช่วงอายุ 40-50 แสดงให้เห็นว่า ประชากรในประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และ Pyramid Chart ยังแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างช้า ๆ และแสดงให้เห็นถึงอัตราการเกิด และ อัตราการตายของประชากรที่ค่อนข้างต่ำ

กรณีประเทศไทยนั้น หากนับจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีตัวเลข 17.15% ถือว่าเป็น Aging Society (มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ)

ท่านสามารถ Download Dashboard นี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้บน Tableau Public ทาง AiTeam ได้ Share Dashboards นี้ให้กับทุกท่านที่สนใจโดยคลิ๊กที่นี่ หรือคลิ๊กที่ไอคอนดาวน์โหลดมุมขวาล่างของแดชบอร์ดข้างล่างนี้

พีระมิดโครงสร้างประชากรมีกี่แบบ อะไรบ้าง

พีระมิดประชากรมนุษย์สามารถเขียนแสดงในรูปแบบต่างๆ ได้ 4 รูปแบบ ได้แก่ พีระมิดแบบขยายตัว พีระมิดแบบคงที่ พีระมิดแบบเสถียร และพีระมิดแบบหดตัว โดยแต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันดังนี้

พีระมิดประชากรของไทย เป็นแบบไหน

พีระมิดทรงกรวยปากแคบ หรือ พีระมิดแบบคงที่ (Stationary Pyramid) แสดงถึงโครงสร้างของประชากรที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ มีรูปแบบของอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ค่อนข้างต่ำ สามารถพบโครงสร้างอายุประชากรลักษณะนี้ได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และไทย เป็นต้น

ช่วงอายุของประชากรแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือข้อใด

การแบ่งกลุ่มประชากรตามแนวคิดนักเศรษฐศาสตร์ ที่ว่านี้คือ กลุ่ม 1 Baby Boomer หรืออีกนัยหนึ่งคือ กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งได้แก่ กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 54-72 ปี กลุ่มที่ 2 คือ Gen X ซึ่งได้แก่ กลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 38-53 ปี กลุ่มที่ 3 คือ Gen Y อายุระหว่าง 21-37 ปี กลุ่มที่ 4 คือ Gen Z อายุระหว่าง 8-20 ปี โดยแต่ละกลุ่ม ใน ...

พีระมิดอายุของประชากรแบบใดที่ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แบบ ก. พีระมิดฐานกว้าง ยอดแหลม แสดงถึงโครงสร้างประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พบโครงสร้างของประชากรแบบนี้ได้ในประเทศกัวเตมาลา ซาอุดิอาระเบีย และประเทศในแอฟริกา เช่น เคนยา และไนจีเรีย เป็นต้น