ผู้ผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น

การผลิตสินค้าและบริการ

        การผลิต หมายถึง กระบวนการในการแปรสภาพปัจจัยการผลิตต่างๆ ให้เป็นผลผลิต ที่เรียกว่า สินค้าและบริการ

        สินค้าและบริการ คือ สิ่งที่ได้จากการทำงานร่วมกันของปัจจัยการผลิตต่างๆ เป็นสิ่งที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

            1. เศรษฐทรัพย์ หมายถึง สินค้าและบริการที่มีต้นทุนในการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าและบริการประเภทเศรษฐทรัพย์นั้นมาครอบครอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                (1) สินค้าเอกชน เป็นสินค้าและบริการที่แยกการบริโภคออกจากกันได้ เช่น รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้า

                (2) สินค้าสาธารณะ เป็นสินค้าและบริการที่สามารถบริโภคร่วมกันได้ เช่น การป้องกันประเทศ สวนสาธารณะ ไฟฟ้า ถนน สะพานลอย

            2. ทรัพย์เสรี หมายถึง สินค้าและบริการที่ไม่มีต้นทุนในการผลิต เช่น สายลมที่มีีตามธรรมชาติ แสงแดดที่มีตามธรรมชาติ น้ำในแม่น้ำลำคลอง

        การบริการ เรียกอีกหนึ่งว่า สินค้าที่ไม่มีตัวตน หมายถึง สิ่งที่จับต้องไม่ได้ เกิดจากการกระทำเกี่ยวกับแรงงานของบุคคล ความรู้ความชำนาญ หน้าที่ หรือการงานใดๆ ที่เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่บุคคลอื่น เช่น การขนส่ง การสื่อกสารโทรคมนาคม การักษาพยาบาล การประกันภัย การธนาคาร การท่องเที่ยว

ปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ

        ปัจจัยการผลิต (Favtors of production) หมายถึง ทัพยากรที่นำมาผลิตสิค้าและบริการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

            1. ที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ แร่ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ผลตอบแทนที่ได้รับ คือ ค่าเช่า

            2. แรงงาน หมายถึงแรงงานมนุษย์ ได้แก่ สติปัญญา ความรู้ความสามารถ แรงกายและแรงใจของมนุษย์ ผลตอบอทนที่ได้รับ คือ ค่าจ้าง

                (1)แรงงานฝีมือ - นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ พยาบาล

                (2)แรงงานกึ่งมีฝีมือ - ช่างไม้ ช่างปูน ช่างเทคนิค

                (3)แรงงานไม่มีฝีทือ - กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน

            3. ทุน หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการลิตอื่นๆ เช่น เครื่องจักร โรงงาน รถไถนา อุปกรณ์การผลิต ผลตอบแทนที่ได้รับ คือ ดอกเบี้ย

            4. ผู้ประกอบ เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินการรวบรวมปัจจัยการผลิต คือ ที่ดิน แรงงาน และทุน เพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการ คือ กำไร

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการ

วงจรเศรษฐกิจประกอบไปด้วยบุคคล 2 กลุ่ม คือ หน่วยธุรกิจ และหน่วยครัวเรือน

หน่วยครัวเรือน ประกอบไปด้วย สมาชิกในสังคมที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริโภค และเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

            หน่วยธุรกิจ หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่นำปัจจัยการผลิต คือ ทรัพยากรธรรมชาติ แรงงาน และทุน มาดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ

            หน่วยรัฐบาล เป็นองค์กรที่มีหน้าที่บทบาทในระบบเศรษฐกิจ ทั้งผู้บริโภค ผู้ผลิต และเจ้าของปัจจัย โดยมุ่งหวังให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุด

แผนภาพวงจรเศรษฐกิจขั้นมูลฐานแบบใช้เงินเป็นสื่อกลาง

ผู้ผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น

ที่มา : https://sites.google.com/site/outenzaa/1-neuxha-bth-reiyn/3-wngcr-sersthkic

หลักการการผลิตสินค้าและบริการ นอกจากผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงปัจจัยการผลิตแล้ว ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสินค้าและบริการก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ผลิตต้องนำมาพิจารณา ดังนี้

            ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ เทคโนโลยี

            ปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ทัศนคติ ค่านิยมทางสังคม ประเพณี และวัฒนธรรม ระบอบการเมืองการปกครอง นโยบายของประเทศ สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมการผลิตหรือเป็นอุปสรรคต่อการผลิตได้ในบางโอกาศ

หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีคุณภาพ มีกระบวนการดังนี้

            1. การวางแผนงานในการผลิต

            2. การปฏิบัติตามขั้นตอนของแผนงานในการผลิต

            3. การตรวจสอบเพื่อประเมินผลการปฏิบัติ

            4. การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา

การนำเทคนิคการผลิตที่จะทำให้สินค้าและบริการมีประสิทธิภาพ

            1. การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการโดยใช้ปัจจัยการผลิตคงที่

            2. การลดปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการมีคุณภาพคงที่

            3. กระบวนการสร้างสรรค์โดยใส่คุณค่าลงไปในสินค้าและบริการ