การ กระ ทํา ใน ข้อ ใด จัด ว่า เป็นการ บํา รุ ง รักษา วัด


                    สิ่งหนึ่งที่ชาวพุทธควรทำนอกจากการดำรงชีพก็คือการบำรุงพระพุทธศาสนา หมายถึงการทำให้พระพุทธศาสนามั่นคง เจริญ เป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกได้จริง ปัญหาว่าจะทำอย่างไรจึงจะบำรุงศาสนาได้จริง    วิธีปฏิบัติคือการที่ตัวเองปฏิบัติเองให้เป็นคนดีมีศีลธรรม หรือช่วยเหลือกิจพระศาสนา บำรุงวัดวาอาราม เลี้ยงพระเจ้าพระสงฆ์ เป็นต้น... 

                  ชาวพุทธส่วนมาก ทำกันแต่อย่างที่ 2 คือบำรุงให้พระเณรได้กินดีอยู่ดี แต่แล้วไม่สนใจว่า  ตัวแท้ของพระพุทธศาสนานั้น คืออะไร ธรรมะนั้นเป็นอย่างไร จะปฏิบัติอย่างไร เพราะมานอนดีใจว่า ได้บำรุงพระศาสนาเป็นอย่างดียิ่ง ได้บุญได้กุศลอย่างเหลือเฟือแล้วจะต้องทำอะไรอีกเล่า...

                   การปฏิบัติแบบนี้นี่แหละถือว่าเป็นการบำรุงพระศาสนาชนิดที่ถ้าเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับ การเลี้ยงไก่ไว้ไข่ให้สุนัขกิน  ถ้าสมมุติว่าเราจะมีแต่ตัววัดวาอารามเฉย ๆ ไม่มีพระที่เป็นเหมือนหมอ ไม่มีธรรมะที่เป็นเหมือนยา มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร                  

                    ตัวศาสนานั้นมัยอยู่ที่ตัวการดับทุกข์ หรือตัวการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์นั้นเอง ดังนั้นถ้าจะบำรุงศาสนากันให้ถูกตัวกันจริงแล้ว ก็ต้องบำรุงให้เกิดความดับทุกข์ขึ้นมาจริง ๆ ตามพระพุทธประสงค์ที่ว่า ภิกษุ ท. เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปสิ้นไม่เป็นธรรมดา ขอ ท. จงยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด 

                     การบำรุงศาสนาที่แท้จริงนั้นอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติเองจนได้รับผลเป็นความ สะอาด สว่าง สงบเย็นในชีวิตประจำวัน
                     ดังนั้นเราทุกคนจึงมีหน้าที่ที่ศึกษาและปฏิบัติ จนได้รับผลพอสมควร จึงนับว่าเราได้บำรุงพระศาสนาที่แท้จริง ปัญหาว่าเราจะมีวิธีปฏิบัติให้ลัดสั้นได้อย่างไร การทำวัตรสวดมนต์แปลก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง เพราะจะทำให้เราเกิดความรู้ทั้งทางด้านปัญญาและเกิดความสงบทางด้านจิตใจ จนได้รับผลเป็นความ สะอาด สว่าง สงบเย็นในชีวิตประจำวันได้ และเมื่อเกิดความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองแล้วก็แนะนำแก่ผู้อื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไป ก็จะเป็นการบำรุงพระศาสนาที่ถูกต้องแท้จริง...

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

หน่วยการเรียนรู้ที่

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

๑.การบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด

๒. การเรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุสงฆ์

๓. มารยาทชาวพุทธ

๔. การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อน
ตามหลักพระพุทธศาสนา

ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติและผสมผสานกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ดังนั้น ความเจริญหรือความเสื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทยด้วย

กล่าวคือ เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง บุคคลในสังคมย่อมมีศีลธรรม
อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข แต่ในทางกลับกัน ถ้าพระพุทธศาสนาเสื่อมลง ผู้คนก็จะขาดศีลธรรมอยู่อย่างเอารัดเอาเปรียบกัน สังคมก็ย่อมเดือดร้อน

ดังนั้น ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ เราจึงมีหน้าที่ที่จะ
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป โดยหมั่นศึกษา
หาความรู้ ปฏิบัติตามหลักธรรมและประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา
เผยแผ่ และปกป้องพระศาสนา

หน่วยการเรียนรู้ที่

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัด พระภิกษุสามเณร เช่น

  • ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน หาทุนทรัพย์ไปช่วยสร้างอุโบสถ วิหาร หรือศาสนสถานอื่นๆ
  • ให้ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร
  • จัดหาผู้เชี่ยวชาญช่วยอบรมวิธีการใช้สื่อ

และอุปกรณ์ที่ทันสมัย

  • ดูแลมิให้ผู้ใดใช้วัดเป็นสถานที่ประพฤติ

มิชอบ

  • ชักชวนกันไปทำบุญ รักษาศีล และเจริญ

ภาวนา

๑. การบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด

การบำเพ็ญประโยชน์

การบำรุงรักษาวัดมีหลายวิธี เช่น

  • ก่อสร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุง ตกแต่ง วางแบบแปลนศาสนสถานและศาสนวัตถุ รวมถึงการสร้างพระพุทธรูป ศาลาสวดศพ
  • ช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย จัดหาทุนสำหรับ

บำรุงรักษาศาสนสถานและศาสนวัตถุ

  • จัดให้มีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม
  • ส่งเสริม สนับสนุนวัดทั้งกำลังเงินและ

กำลังกาย

  • ช่วยทำความสะอาดวัดและบริเวณภายในวัด

การบำรุงรักษาวัด

๒. การเรียนรู้วิถีชีวิตของพระภิกษุสงฆ์

การศึกษา

การศึกษา หมายถึง การเรียนพุทธวจนะหรือพระไตรปิฎก
ในสมัยก่อนใช้วิธีท่องจำ เรียกว่า มุขปาฐะ ถ่ายทอดต่อกันมา
เมื่อเวลาล่วงเลยไปทำให้พระธรรมวินัยคลาดเคลื่อน พระสงฆ์จึงประชุมสังคายนา ภายหลังจึงมีการบันทึกไว้ การศึกษาเล่าเรียนนี้ต่อมาภายหลังเรียกว่า คันถธุระ

เรียกตามศัพท์ศาสนาว่า วิปัสสนาธุระ หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตใจให้เป็นสมาธิ เพื่อนำไปขจัดกิเลส คือ ความ เศร้าหมองแห่งจิตและให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง

การปฏิบัติ

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา

การแสดงธรรม ปาฐกถาธรรม

การแสดงธรรมหรือการแสดงพระธรรมเทศนาหรือการเทศน์ เป็นรูปแบบที่ทำกันมาแต่โบราณ มีระเบียบและวิธีปฏิบัติเป็นแบบอย่างเฉพาะ ส่วนการแสดงปาฐกถาธรรม เป็นการแสดงธรรม โดยใช้ภาษาธรรมดาที่สื่อความได้ง่าย ไม่มีรูปแบบและพิธีกรรม

การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง

พระภิกษุมีหน้าที่ทำให้ชาวบ้านเห็นว่า การมีชีวิตตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้นเป็นไปได้ ต้องมีชีวิตเรียบง่าย ไม่ยึดติดในลาภสักการะ มีเมตตา ไม่พยาบาท คิดร้ายต่อผู้อื่น

  • ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่ตกแต่งเครื่องประดับมากเกินไป
  • ถ้าไปร่วมพิธีในช่วงเช้า ควรมีภัตตาหารไปถวายพระภิกษุด้วย แต่ถ้าศาสนพิธีมีขึ้นตอนบ่ายหรือเย็น ควรมีน้ำผลไม้ไปถวายพระสงฆ์ด้วยจะเป็นการดี
  • ควรไปถึงวัดก่อนการประกอบศาสนพิธี
  • ขณะพระสงฆ์แสดงพระธรรมหรือให้ศีล ควรตั้งใจฟังอย่างสำรวม มีสมาธิ
  • ควรสนทนากับพระสงฆ์อย่างสำรวม
  • พึงรักษาเวลาในการสนทนากับพระ
  • ไม่ควรนำเรื่องทางโลกบางเรื่องไปสนทนากับพระ
  • ไม่กระทำการที่เป็นการรบกวนการประกอบศาสนพิธี

๓. มารยาทชาวพุทธ

การเข้าพบพระภิกษุ และการปฏิบัติตนในเขตวัด

การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย

การประนมมือ (อัญชลี)

การยกมือทั้งสองตั้งประนมขึ้นเป็นพุ่ม โดยให้ฝ่ามือทั้งสองชิดกันตั้งไว้ระหว่างอก นิ้วมือทั้งสิบชิดกัน แขนทั้งสองถอยห่างจากลำตัวพอสมควร เงยหน้ามองตรงต่อสิ่งที่เคารพ ลำตัวตั้งตรง

การไหว้ (นมัสการ)

การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผากพร้อมกับน้อมศีรษะลงเล็กน้อย ให้ปลายนิ้วจรดตีนผม ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดกลางหน้าผากหรือหว่างคิ้ว ไหว้ครั้งเดียวแล้วลดมือลง การไหว้ขณะยืนนั้น ผู้ชายควรยืนส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ผู้หญิงควรก้าวขาขวาออกมาข้างหน้า แล้วย่อตัวหรือค้อมตัวต่ำลงเล็กน้อย

การกราบ (อภิวาท)

การกราบพระรัตนตรัยใช้วิธีกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การกราบให้อวัยวะทั้ง ๕ ส่วนของร่างกายจรดกับพื้น คือ มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง และหน้าผากจรดพื้น การกราบมี ๓ ขั้นตอน คือ อัญชลี วันทา อภิวาท

  • ตั้งใจฟังโดยเคารพ
  • ถ้าไม่เข้าใจก็ส่งกระแสจิตไปตามเสียง
    สวด เพื่อสร้างสมาธิในการฟัง
  • ถ้าเข้าใจความหมายของบทสวด
    ก็ให้น้อมใจไปตามคำสวดนั้น
  • ควรนำเอาธรรมะในบทสวดไปเป็นแนว
    ทางในการดำเนินชีวิต

การฟังสวดพระอภิธรรม

  • ฝ่ายผู้ฟัง ให้รับศีลก่อน แล้วกล่าวคำอาราธนาธรรม เพื่ออัญเชิญให้พระแสดงพระธรรมเทศนา
  • พระขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ จับใบลานขึ้นประคองระหว่างอก มือทั้งสองประนม แค่อกแล้วตั้งนโม ๓ จบ
  • จากนั้นยกพระบาลีอุทเทศ แล้วอ่าน คำเทศน์ในใบลาน
  • ฝ่ายผู้ฟังให้นั่งประนมมือ ตั้งใจฟัง
  • เมื่อเทศน์จบ เจ้าภาพถวายไทยธรรมแก่ภิกษุ

การฟังพระธรรมเทศนา

  • ตั้งใจฟังด้วยความเคารพ
  • แม้ไม่เข้าใจความหมาย ก็ให้ส่งใจไปตามเสียงสวดนั้น น้อมรำลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
  • ถ้าเข้าใจความหมาย ก็จะยิ่งช่วยให้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยยิ่งขึ้น
  • เมื่อจิตเลื่อมใสศรัทธา จิตใจก็จะสะอาดบริสุทธิ์มากขึ้น

เท่ากับเป็นการชำระล้างขัดเกลากิเลส

การฟังเจริญพระพุทธมนต์

มิตรที่ดีพึงปฏิบัติต่อเราดังนี้

  • ป้องกันเราเมื่อเราอยู่ในความ
    ประมาท
  • รักษาทรัพย์สินของเราเมื่อเราอยู่ในความประมาท
  • เมื่อมีภัยเอาเป็นที่พึ่งได้
  • ไม่ละทิ้งเราในยามทุกข์ยาก
  • ให้ความนับถือตลอดถึงวงศ์
    ตระกูลของเรา

๔. การปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อเพื่อนตามหลักพระพุทธศาสนา

ทิศ ๖

มิตรแท้

มิตรแท้ มิตรเทียม

มิตรเทียม