ความหมายของอาชญากรรมออนไลน์

1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ

2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ รวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเท
อร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์

3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต

4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – การเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว

5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
และการเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย

6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชน
จำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ

7. การหลอกค้าขายลงทุนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น การประกาศโฆษณา การชักชวนให้เข้าร่วมลงทุน

8. การแทรกแซงข้อมูลโดยมิชอบ โดยการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตน

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์และแนวทางการป้องกัน

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ง31241)  เวลา 2 คาบ ครูผู้สอน นายประทิน  ทับไทร

1.  อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

โลกปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่า ยุคไอที ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ในหลายด้าน เช่น การติดต่อสื่อสาร การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น นอกจากจะมีผลดีแล้วแต่ก็ยังเป็นช่องทางหนึ่ง ให้มิจฉาชีพเข้ามาแสวงหาประโยชน์อย่างผิดกฎหมาย หรือทำให้เกิดปัญหาการขยายตัวของอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงอาชญากรรมรูปแบบใหม่ ที่มีความซ้อน ซึ่งเรียกว่า ‘’ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ‘’ ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นปัญหาทางสังคมอย่างหนึ่งที่กำลังเพิ่มความรุนแรงและสร้างความเสียหายแก่สังคมทั่วไป

            1.1  ความหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

1.  การกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับประโยชน์ เช่น การลักทรัพย์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2.  การกระทำใด ๆ ที่เป็นความปิดทางอาญา ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดนั้น เช่น การบิดเบือนข้อมูล (Extortion) การเผยแพร่รูปอนาจารผู้เยาว์ (child pornography) การฟอกเงิน (money laundering) การฉ้อโกง (fraud) การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่ให้ผู้อื่นดาวน์โหลด เรียกว่า การโจรกรรมโปรแกรม (software Pirating) หรือการขโมยความลับทางการค้าของบริษัท (corporate espionage) เป็นต้น

            1.2 ประเภทของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

ปัจจุบันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นมีหลากหลายรูปแบบ ที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของชีวิตและระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งแบ่งได้ 9 ประเภท ดังนี้

1)  อาชญากรรมที่เป็นการขโมย โดยขโมยจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (internet service provider) หรือผู้ที่เป็นเจ้าของเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต รวมถึงการขโมยข้อมูล ของหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ เช่น การขโมยข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี เป็นต้น

2)  อาชญากรรมที่ใช้การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ขยายความสามารถในการกระทำความผิดของตน รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์ปกปิดหรือกลบเกลื่อนการกระทำของตนไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้ ด้วยการตั้งรหัสการสื่อสารขึ้นมาเฉพาะระหว่างหมู่อาชญากร ด้วยกันซึ่งผู้อื่นมาสามารถเข้าใจได้ เช่น อาชญากรค้ายาเสพติดใช้อีเมล์ในการติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายยาเสพติด เป็นต้น

3)  การละเมิดลิขสิทธิ์และการปลอมแปลง เช่น การปลอมแปลงเช็ค การปลอมแปลงสื่อมัลติมีเดีย รวมถึงการปลอมแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

4)  การใช้คอมพิวเตอร์เผยแพร่ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ลามกอนาจาร รวมถึงข้อมูลที่มีผลกระทบทางลบต่อวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ตลอดจนข้อมูลที่ไม่สมควรเผยแพร่ เช่น วิธีการก่ออาชญากรรม สูตรการผลิตระเบิด เป็นต้น

5)  การฟอกเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ทำให้สามารถเปลี่ยนทรัพย์สิน ที่ได้จากการประกอบอาชีพผิดกฎหมาย เช่น การค้ายาเสพติด การค้าอาวุธเถื่อน ธุรกิจสินค้าหนีภาษี การเล่นพนัน การละเมิดลิขสิทธิ์ การปลอมแปลงเงินตรา การล่อลวงสตรีและเด็กไปค้าประเวณี เป็นต้น ให้มาเป็นทรัพย์สินที่ถูกกฎหมาย

6)  อันธพาลทางคอมพิวเตอร์และผู้ก่อการร้าย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ตั้งแต่การรบกวนระบบจนกระทั่งการสร้างคมเสียหายให้กับระบบโดยการเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แล้วทำลาย ตัดต่อ ดัดแปลงข้อมูลหรือภาพ เพื่อรบกวนผู้อื่น สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ การเข้าไปแทรกแซงทำลาย ระบบเครือข่ายของสาธารณูปโภค เช่น การจ่ายน้ำ การจ่ายไฟ การจราจร เป็นต้น

7)  การหลอกค้าขายลงทุนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น การประกาศโฆษณา การชักชวนให้เริ่มลงทุนแต่ไม่ได้มีกิจการเหล่านั้นจริง เป็นต้น

8)  การแทรกแซงข้อมูลโดยมิชอบ โดยการนำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นประโยชน์ต่อตน เช่น การเจาะผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปแล้วแอบล้วงความลับทางการค้า การดักฟังข้อมูล เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ต่อกิจการของตน เป็นต้น

9)  การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ดัดแปลงข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือการโอนเงินจากบัญชีหนึ่ง เข้าไปอีกบัญชีหนึ่ง โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนถ่ายทรัพย์สินกันจริง

            1.3  ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

1)  ความยากง่ายในการตรวจสอบ ว่าอาชญากรรมจะเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ใด อย่างไร ทำให้เกิดความยากลำบากในการป้องกัน

2)  การพิสูจน์การกระทำผิดและการตามรอยของความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดที่เกิดขึ้นโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การที่มีผู้เจาะระบบเข้าไปฐานข้อมูลของโรงพยาบาล และแก้ไขโปรแกรมการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ทำให้แพทย์รักษาผิดวิธี ซึ่งตำรวจไม่สามารถสืบทราบและพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้กระทำความผิด

3)  ปัญหาการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่าง ไปจากหลักฐานของคดีอาชญากรรม แบบธรรมดาอย่างสิ้นเชิง

4)  ความยากลำบากในการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชยากรรมเหล่านี้มักเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งกฎหมายของแต่ละประเทศอาจครอบคลุมไปไม่ถึง

5)  ปัญหาความไม่รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของเจ้าพนักงาน หรือเจ้าพนักงานดังกล่าวมีงานล้นมือ โอกาสที่จะศึกษาเทคนิคหรือกฎหมายใหม่ ๆจึงทำได้น้อย

6)  ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากจนหน่วยงานที่รับผิดชอบตามไม่ทัน

            1.4   แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

1.  มีการวางแนวทางและเกณฑ์ในการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และช่วยให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการทราบว่าพยานหลักฐานเช่นใด้ควรนำเข้าสู่การพิจารณาของศาล จะได้ลงทาผู้กระทำความผิดได้

2.  จัดให้มีผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเข้าร่วมเป็นคณะทำงานในคดีอาชยากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินคดี

3.  จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะในการปราบปราม และการดำเนินคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

4.  บัญญัติกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ รวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่มีอยู่ให้ครอบคลุมการกระทำอันเป็นความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ทุกปะเภท

5.  ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศ ทั้งโดยสนธิสัญญาเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญาหรือโดยวิธีอื่นในการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี และการปราบปรามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

6.  เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ให้แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆให้เข้าใจแนวคิดและวิธีการ ของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันตนเองเป็นเบื้องต้น

7.  ส่งเสริมจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ทั้งโดยการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคคลทั่วไปในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง โดยการปลูกฝังเด็กตั้งแต่ในวัยเรียนให้เข้าในกฎเกณฑ์ มารยาทในการใช้คอมพิวเตอร์ อย่างถูกวิธีและเหมาสม

2. มารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต

1.  ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำร้ายหรือรบกวนผู้อื่น

2.  ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม

3.  ไม่เจาะระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของตนเองและผู้อื่น

4.  ไม่ใช้บัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้อื่นและไม่ใช้เครือข่ายที่ไม่ได้รับอนุญาต

5.  การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน

แนวทางการป้องกันอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ มี 4 ข้อดังนี้

1.  การป้องกันข้อมูลส่วนตัว โดยการตั้งรหัสเข้าข้อมูลชองไฟล์ข้อมูลที่ต้องการป้องกัน

2.  การป้องกันการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใส่ชื่อ Username และ password, การใช้สมาร์ทการ์ดในการควบคุมการใช้งาน หรือกุญแจเพื่อการป้องกันการใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต, การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ เช่น ตรวจสอบเสียง ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ ลายเซ็น ม่ายตา เป็นต้น

3.  การสำรองข้อมูล โดยไม่เก็บข้อมูลไว้ที่เดียว สามารถสำรองไว้ในอุปกรณ์ที่ใช้อ่านอย่างเดียว เช่น แผ่นซีดีและแผ่นวีดีโอ

4.  การตั้งค่าโปรแกรมค้นหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นการป้องกันที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ได้

อาชญากรรมออนไลน์ มีอะไรบ้าง

1. การหลอกลวงผ่านอีเมล (Email scam) ... .
2. การหลอกลวงขายสินค้า (Sales scam) ... .
3. การหลอกรักออนไลน์ (Romance Scam) ... .
4. การหลอกลวงลงทุน (Hybrid Scam) ... .
5. การหลอกลวงด้วยการโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Vishing Phishing) ... .
6. การหลอกให้ลงทุนแชร์ลูกโซ่ (Ponzi scheme).

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงข้อใด

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime) คือการกระทําความผิดกฎหมายโดยอาศัย คอมพิวเตอร์เป็น เครื่องมือในการผิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดวามเสียหายต่อระบบ คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางทางที่ผิด (Computer abuse) หมายถึงการกระทําที่เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ที่ไม่ผิดกฎหมายแต่ผิดด้านจริยธรรม

อาชญากรอิเล็กทรอนิกส์เรียกว่าอะไร

อาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-crime นั้นเกิดขึ้นมาในเวลาที่ไล่เลี่ยกับ e-mail, e-commerce1 , e-zines2 , e-tailer3 และ e-government4 อาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-crime หมายถึง การกระทำความผิดโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิด เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือเมื่อมีการกระทำความผิดและมีการนำ ...

อาชญากรรมหมายถึงอะไร

อาชญากรรม คือ การกระทำผิด โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ บุคคล เป็นการเรียกการกระทำทางคดีอาญาแบบทั่วไป ตัวอย่าง อาชญากรรม เช่น การฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ข่มขืน ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปของทุกสังคมมักกำหนดบทลงโทษของผู้ก่ออาชญากรรม (เรียกว่า อาชญากร)