การ เขียน paragraph writing ตัวอย่าง

หลายคนเวลาเริ่มเรียนภาษาอังกฤษนั้นอาจจะรู้สึกว่าตัวเองช่างมีปัญหาเสียเหลือเกิน โดยเฉพาะ Skill การเขียน ไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหน ไม่รู้ว่าจะต้องต่อคำต่อประโยคอย่างไรให้สวยงาม หรือบางคนอาจจะพาลไม่รู้เลยด้วยว่าควรจะจบ Paragraph แบบไหน วันนี้เราขออาสาพามาดู 5 ทริคเด็ดฉบับย่อที่รับรองว่าอ่านแล้วการเขียน Paragraph ของคุณจะดูง่ายขึ้นทันตาเห็นเชียวล่ะ

การ เขียน paragraph writing ตัวอย่าง

1. เขียนหัวข้อให้ถูกแบบฟอร์ม

ถึงแม้ว่าจะมีคำบอกว่า “อย่าตัดสินหนังสือจากปก” แต่สุดท้ายแล้วเราก็มองปกก่อนอยู่ดี การเขียน Paragraph นี้ก็เช่นกัน เราจะต้องเลือกหัวข้อให้น่าสนใจและกระชับ อาจจะเป็นเพียงคำไม่กี่คำ วลีสั้นๆ หรือประโยคเต็มที่ไม่ยาวเกินไปก็ได้ แต่ว่าการขึ้นต้นหัวข้อน่ะ มีข้อแม้อยู่ว่าเราจะขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่ก่อนทุกครั้งยกเว้น a/an/the, Verb to be และ preposition ที่ไม่ได้อยู่หน้าประโยค อาทิเช่น My Husband and His Characteristics หรือ Loneliness is Everyone’s Experiences เป็นต้น

ในการเขียน Paragraph นั้นเราก็จะต้องมีประโยค Hook เสียก่อน ซึ่งมันก็คือเจ้าประโยคที่ทำให้คนอ่านสนใจงานเขียนของเรานั่นเอง ทำหน้าที่คล้ายๆ กับคำนำเวลาเราเปิดหนังสืออ่านไงล่ะ เราอาจจะเริ่มต้นด้วยคำถามเช่น Have you ever been lonely before? (เคยรู้สึกเหงาบ้างรึเปล่า?)

เห็นไหมว่าถ้าเราตั้ง Hook ขึ้นมาแบบนี้คนอ่านก็จะรู้ทันทีเลยว่าเราจะมาพูดถึงความเหงากันนะ หรืออาจจะขึ้นด้วยการเล่าเรื่องก็ได้ เช่น I was seven years old when I first met my husband. ประโยคประมาณนี้ก็ทำให้ทราบเช่นกันว่าเราจะเล่าประสบการณ์ที่เราอยากจะแชร์ เป็น Hook แบบที่น่าสนใจไม่แพ้คำถามเลย หรืออาจจะขึ้นด้วย Opinion ก็ไม่ผิดนะ เช่น Dogs are cuter than cats. คนอ่านก็จะทราบทันทีว่าเราจะเปรียบเทียบหมาและแมวใน Paragraph ของเรา

3. ใช้ประโยคชี้ชัดให้เห็นแนวทางไปเลยว่าเราจะพูดถึงเรื่องอะไรใน Paragraph นี้

สำหรับ Paragraph ในภาษาอังกฤษนั้นมักจะมีประโยคชี้แจงหรือ Topic Sentence แฝงอยู่เสมอ ซึ่งเจ้าประโยคนี้มีประโยชน์มากๆ เลยทีเดียวล่ะ ถ้าเปรียบกับหนังสือเจ้าประโยคนี้ก็คล้ายๆ กับสารบัญที่จะมาแนะแนวทางว่าในเราจะพูดเกี่ยวกับอะไรและกี่หัวข้อ ขอยกตัวอย่างจากสามประโยคด้านบนก็แล้วกันนะ จะได้เห็นกันชัดๆ เช่น

  • Loneliness comes from three main reasons. There are…
  • He has four main characteristics.
  • The reasons why dogs are cuter are…

และหลังจากประโยคชี้แจงเหล่านี้เราก็จะเขียนคร่าวๆ เกี่ยวกับเนื้อหาค่ะ เป็นเหมือนกับ Intro ที่บอกคนอ่านว่าในบทความของเราจะมีเรื่องราวดังนี้นะ ตัวอย่างก็…

  • He has four main characteristics that I love. He is kind, warm, handsome and good at playing guitar.

นั่นแปลว่าในบทความที่เราจะเขียนนั้นเราจะไม่ออกนอกกรอบของสี่หัวข้อนี้ ซึ่งมันก็จะทำให้เราเขียนได้ Get to the point และครอบคลุมนั่นเอง

4. ใช้หลักการเดียวกับป้ายบอกทางเป็นวิธีที่ดีเลยล่ะ

อะไรคือหลักการเดียวกับป้ายบอกทางน่ะเหรอ? มันหมายความว่าเราในฐานะคนเขียนต้องบอกคนอ่านทุกครั้งว่าเราจะเปลี่ยนหัวข้อแล้วนะ ซึ่งคำจำพวกนี้ก็เรียกว่า Signal Word นั่นเอง ทำหน้าที่เหมือนกับป้ายบอกทางที่บอกให้รู้ว่าทางต่อไปที่เราจะไปคืออะไรอย่างไร ไม่รอช้ามาดูตัวอย่างกันเลย

  • “First, his kindness always makes me feel good.”

เรามักจะใช้คำว่า First สำหรับการกล่าวถึงประเด็นแรก แต่จริงๆ แล้วเราก็สามารถใช้คำอื่นหรือประโยคอื่นก็ได้เช่น Firstly, First of all, Let’s start with… หรือ Begin with… ก็แล้วแต่ชอบเลยนะ

ต่อมาเมื่อเราจะกล่าวถึงประเด็นต่อไปก็มีอีกหลายคำให้เลือกสรรนะ มาลองดูจากตัวอย่างกันเถอะ

  • “Next, he treats me warmly like I am a princess.”

ซึ่งคำว่า Next นั้นก็ใช้สำหรับเมื่อเราจะกล่าวถึงประเด็นต่อไปที่ไม่ใช่ประโยคแรก ซึ่งบางทีเราก็อาจจะเลือกใช้ Then, Moreover, In addition หรือ The second ก็ไม่เลวเหมือนกัน แต่ถ้าเราจะกล่าวถึงประเด็นสุดท้ายเราก็อาจจะใช้คำว่า Last, Lastly, Finally หรือ The last one ในตำแหน่งเดียวกับคำว่า Next ได้เลยนะ ตัวอย่างเช่น

  • “Lastly, his talent at guitar playing is amazing.”

หลังจากเราเขียนประโยคที่มีป้ายบอกทางหรือ Signal Words เรียบร้อยแล้วก็สามารถบรรยายรายละเอียดเพิ่มได้อีก 3-5 ประโยคนะ ซึ่งพอเขียนเสร็จเราก็จะได้เป็น Paragraph ที่มีความยาวกำลังดีเลยล่ะ

5. ทุกบทความจะต้องมีบทสรุป!

และสุดท้ายก็ขาดไม่ได้เลยสำหรับบทสรุปของบทความ ซึ่งการสรุปอย่างง่ายนั้นก็มีอยู่เช่นกัน เราจะเรียกวิธีนี้ว่าการ Restatement นั่นเอง วิธีการที่ว่านั้นก็คือแบบนี้

  • To sum up, my husband has four characteristics those are kind, warm, handsome and good at playing guitar.

วิธีการนี้ก็คือการนำเอาสิ่งที่เราเขียนใน Topic sentence มาเขียนซ้ำอีกครั้งเป็นการสรุปนั่นเอง

เป็นไงล่ะ? การเขียน Paragraph นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมล่ะ แค่จำทริคแบบนี้เอาไว้และฝึกฝนเรื่อยๆ วันหนึ่งเราก็จะสามารถเขียนได้ flow แน่นอน!

paragraph คือ กลุ่มของประโยคที่เขียนขึ้นภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน (Single Topic) โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  1. topic sentence: main idea หรือใจความสำคัญของ paragraph นั้น
  1. supporting sentence: ประโยคที่ช่วยขยายความ main idea ประโยคที่เป็นการการยกตัวอย่าง การแจกแจงรายละเอียด
  1. concluding sentence: ประโยคสรุปหรือประโยคเชื่อมโยงไปยังย่อหน้าถัดไป โดยจะเป็นการปิดจบ main idea นั้น ๆ

เทคนิคสุดเวิร์ค การทำ paragraph organization

ถ้าหา main idea เจอและแยก supporting ideas ของเรื่องได้ เราก็จะเห็น โครงสร้างของ paragraph ชัดเจนมากขึ้น

➡️พยายามหา topic sentence หรือ main idea ให้เจอ ส่วนใหญ่มักซ่อนอยู่ใน “ประโยคแรก” ของ paragraph (ความจริงแล้ว main idea จะอยู่ตอนต้น ตอนกลาง หรือตอนท้ายของ paragraph ก็ได้)

ลักษณะของประโยคแรก

  • ต้องไม่ขึ้นต้นด้วย คำสรรพนาม เช่น he, she, it, they
  • ต้องไม่ขึ้นต้นด้วย คำเชื่อม เช่น but, and, then

💡จำให้แม่น💡 main idea เป็นส่วนที่่สำคัญที่สุด ครอบคลุมเนื้อหาในพารากราฟ และมีแค่ประโยคเดียวเท่านั้น

➡️ หา supporting ideas และ supporting details ที่ทำหน้าที่ขยายรายละเอียดของ main idea ให้เข้าใจง่ายขึ้น

➡️1 พารากราฟ ต้องพูดแค่เรื่องเดียว (ไม่ออกนอกเรื่อง) เช่น พูดถึง "ประโยชน์ของไข่ไก่" ก็ต้องพูดถึงเรื่องนี้เรื่องเดียว ไม่ควรมีเรื่องแม่ไก่ หรือการทำฟาร์มไก่มาอยู่ในพารากราฟ

➡️สังเกต conjunctions/ transition words/ pronouns คำศัพท์ที่ช่วยลำดับเนื้อหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล 💡มี “เหตุ” ก็ต้องมี “ผล” ตามมา💡

Conjunctions คือ คำสันธาน หรือคำที่ใช้เชื่อม “คำกับคำ” หรือ “ประโยคกับประโยค” เข้าด้วยกันเพื่อให้ประโยคสละสลวยมากขึ้น

💡เทคนิคช่วยจำ คือคำว่า “fanboys”

f \= for สำหรับ, เพื่อ

a \= and และ

n \= nor ไม่ทั้งสองอย่าง

b \= but แต่

b \= or (หรือ) ใช้เชื่อมประโยคที่แสดงทางเลือก

y \= yet (แต่) ใช้เชื่อมประโยคที่ขัดแย้งกัน

s \= so (ดังนั้น) ใช้เชื่อมประโยคที่เป็นเหตุผลเป็นผลกัน

Transition words คือ คำหรือวลีที่ใช้เชื่อมส่วนต่าง ๆ ของบทความ เช่น ระหว่างประโยคหนึ่งไปอีกประโยคหนึ่ง หรือจากย่อหน้าหนึ่งไปยังอีกย่อหน้าหนึ่ง ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงกันมากขึ้น

💡กลุ่มคำเชื่อม transition words ที่แบ่งตามความหมาย

เพิ่มเติม

and then = แล้วก็

again = อีก

besides, furthermore, in addition, moreover = นอกเหนือจากนี้, ยิ่งไปกว่านั้น

equally important = สำคัญไม่แพ้กัน

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

เปรียบเทียบ (บอกความแตกต่าง)

on the other hand, in contrast = ในทางกลับกัน, ในทางตรงกันข้าม

however, yet, nevertheless, nonetheless = อย่างไรก็ตาม, แต่ถึงอย่างไร, แต่กระนั้น

at the same time, meanwhile = ในเวลาเดียวกัน, ในขณะเดียวกัน

similar to = คล้ายกับ, ราวกับ

just as = เช่นเดียวกับ

although = แม้ว่า

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

บอกลำดับ

first, second, third = ขั้นตอนที่ 1 2 3

and so forth = และอื่น ๆ ต่อไป

next = ต่อจากนั้น

then = แล้วก็, อีกประการหนึ่ง

at this time = ในตอนนี้

now = ตอนนี้, บัดนี้

simultaneously = พร้อมกัน

after = หลังจาก, ภายหลัง

previously = ก่อนหน้านี้

finally = ในที่สุด, ในตอนท้าย

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

เพื่อเน้นย้ำ

extremely = อย่างยิ่ง

obviously = อย่างชัดเจน

certainly, absolutely = อย่างแน่นอน

in fact = ในความเป็นจริง

indeed = โดยแท้จริง

in any case = ไม่ว่ากรณีใด ๆ

🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸

เพื่อสรุป

so, therefore, hence, thus, = ดังนั้น

as a result = ด้วยเหตุนั้น, ดังนั้น

consequently = จึงเป็นเหตุ

accordingly = ตามนั้น

in brief = โดยสังเขป

Pronoun คือ คำสรรพนาม ใช้แทนคำนาม คน สัตว์ สิ่งของ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำนามซ้ำซาก ใช้แทนสิ่งที่ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร และให้ประโยคกระชับ เข้าใจง่าย

Pronoun มี 8 ประเภท ดังนี้

  • Personal (บุรุษสรรพนาม) เช่น I, you, we, they, he, she, it
  • Possessive (สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ) เช่น mine, yours, ours, theirs, his, hers, its
  • Reflexive (สรรพนามเน้นตนเอง) เติม -self/ -selves ลงท้าย เช่น myself, yourself, ourselves, themselves
  • Definite (สรรพนามเจาะจง) เช่น this, that, these, those, one, such, the same
  • Indefinite (สรรพนามไม่เจาะจง) เช่น all, everybody, nobody, some, any, many, everything, either, few
  • Interrogative (สรรพนามคำถาม) เช่น who, which, what, whom, whose
  • Relative (สรรพนามเชื่อมความ) เช่น who, whom, whose, which, that, where, when, why
  • Distributive (สรรพนามแจกแจง) เช่น each, either, neither
  • Reciprocal (คำสรรพนามแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน) เช่น each other, one another

➡️ เมื่อหาประโยคแรกได้แล้ว ก็เริ่มตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ออก จากนั้นก็มองภาพทุกอย่างให้เป็นจิ๊กซอว์ แล้วจึงเรียงลำดับประโยคให้สมเหตุสมผล สมมติประโยคแรกเป็น D ประโยคต่อไปก็จะเป็น supporting ideas > ประโยคสรุปจบ

สิ่งสำคัญของการทำข้อสอบ "Paragraph Organization" คือการฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ จนชำนาญ จากนั้นทักษะต่าง ๆ และความมั่นใจก็จะตามมาเอง ติดตามสรุปเนื้อหา เคล็ดลับ และเทคนิคพิชิตคะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ใน "ห้องเรียนติวเข้ม ม.ปลาย TCAS66" (คลิก)