ว ธ เข ยนหล กการเสนออน ม ต โครงการ

หลกั การเขียนโครงการ

นางสาววรรณวิศา หนูราม

รายงานฉบบั น้เี ปน็ ส่วนหน่ึงของรายวิชา ETH0101 วาทวทิ ยาสำหรบั ครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลยั ราชภฏั สุราษฎร์ธานี

หลักการเขยี นโครงการ

นางสาววรรณวศิ า หนูราม รหสั นักศกึ ษา 6401103001213

รายงานฉบบั นเี้ ป็นส่วนหนง่ึ ของรายวิชา ETH0101 วาทวิทยาสำหรบั ครู ภาคเรียนท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564 มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสรุ าษฎร์ธานี

คำนำ

รายงานเรื่อง “หลักการเขียนโครงการ” ฉบับน้ีเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ETH0101 วาท วิทยาสำหรับครู ระดับปริญญาตรี ปีที่1 สาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุ ราษฎรธ์ านี โดยมีจุดประสงค์เพ่ือศึกษาหาความรู้เก่ยี วกับหลักการเขียนโครงการ ซึง่ รายงานฉบับน้ีมี เนื้อหาเกี่ยวกับ ความหมายของโครงการ ประเภทของการเขียนโครงการ ประเภทของโครงการ ความสำคัญของโครงการ ลักษณะสำคัญของโครงการ ลักษณะที่ดีในการเขียนโครงการ ขั้นตอนใน การเขียนโครงการ กระบวนการก่อนวางโครงการ ส่วนประกอบของโครงการ องค์ประกอบของ โครงการ ปัญหาในการเขียนโครงการ และการใช้ถอ้ ยคำ สำนวนในการเขียนโครงการ

การจดั ทำรายงานฉบบั น้ีสำเร็จตามวตั ถุประสงคไ์ ปด้วยดี ข้าพเจา้ ขอขอบพระคุณอาจารย์ อชั นา ปลอดแก้ว ที่ได้ให้คำแนะนำในการเขียนรายงานจนทำใหร้ ายงานฉบับนี้สมบรู ณ์ได้ ข้าพเจ้าหวงั เป็นอยา่ งย่งิ วา่ เนื้อหาในรายงานฉบับน้ีที่ได้เรียบเรียงมาจะเปน็ ประโยชน์ต่อผู้สนใจเป็นอย่างดี หากมี สิง่ ใดในรายงานฉบบั นี้ท่ตี อ้ งปรับปรงุ ข้าพเจา้ ขอนอ้ มรับข้อชแี้ นะและนำไปแกไ้ ขหรอื พฒั นาใหถ้ ูกต้อง สมบูรณ์ต่อไป

วรรณวศิ า หนูราม

14 กนั ยายน 2564

สารบัญ เรื่อง หนา้

ความหมายของโครงการ...................................................................................................................1 ประเภทของการเขยี นโครงการ.........................................................................................................1 ประเภทของโครงการ........................................................................................................................2 ความสำคัญของโครงการ..................................................................................................................4 ลกั ษณะสำคัญของโครงการ..............................................................................................................5 ลักษณะของโครงการท่ีดี...................................................................................................................5 ขนั้ ตอนการเขียนโครงการ.................................................................................................................6 กระบวนการก่อนวางโครงการ..........................................................................................................7 สว่ นประกอบของโครงการ................................................................................................................7 องคป์ ระกอบของโครงการ................................................................................................................8 ปัญหาในการเขยี นโครงการ.............................................................................................................12 การใชถ้ ้อยคำ สำนวน ในการเขยี นโครงการ....................................................................................13 บทสรุป.............................................................................................................................................14 บรรณานุกรม....................................................................................................................................15

1

หลักการเขยี นโครงการ

ความหมายของโครงการ

โครงการ คือ การวางแผนอย่างเปน็ ระบบ ประกอบด้วยกจิ กรรมย่อยหลายกิจกรรมทตี่ ้อง อาศัยทรัพยากรในการดาเนนิ งาน เพ่อื ให้เกดิ ผลสัมฤทธ์ติ ามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายตามที่แผนวาง ไว้ การเขียนโครงการจงึ เป็นส่วนสำคัญสว่ นหนง่ึ ของการวางแผน ทีจ่ ะทำใหอ้ งค์กรหรอื หน่วยงาน บรรลผุ ลสำเรจ็ ตามเป้าหมาย

โครงการมีตง้ั แตข่ นาดใหญ่ มงี บประมาณหลักแสนลา้ น ซง่ึ ประกอบดว้ ยกิจกรรมย่อย ๆ มากมาย มีผลกระทบในวงกวา้ งเชน่ โครงการท่ีผา่ นมาของรัฐบาล เกี่ยวกบั การบรหิ ารจดั การน้ำ เป็น ต้น หรือ โครงการเลก็ ๆ งบประมาณหลักพนั หลกั หมื่น มีกจิ กรรมเดยี ว ข้นั ตอนการดำเนินงานไม่ ซบั ซ้อน ใชค้ นไม่เยอะ แตผ่ ลลพั ธส์ ูงมี impact ต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ เชน่ โครงการ ประหยัดพลังงานในองค์กร ซง่ึ ตอ้ งใช้จิตสำนึก และความร่วมมอื ของคนในองคก์ รจึงจะสำเร็จได้ เป็น ตน้

ประเภทของการเขยี นโครงการ

โครงการแบง่ ออกเปน็ 2 ประเภท ดังน้ี

1. การเขียนโครงการแบบดั้งเดิม หรือการเขียนโครงการแบบประเพณนี ิยม (Conventional Method) เป็นโครงการที่นำมาใช้ตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน รายละเอียดของโครงการจะแจกแจงตาม หัวข้อที่กำหนดไว้ ได้แก่ ชื่อโครงการ ชื่อบุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ หลักการและเหตุผล วัตถปุ ระสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินการ สถานที่ดำเนนิ การ วิธีดำเนนิ การ งบประมาณ ผลท่ีคาด ว่าจะไดร้ บั และการประเมินผล

2. การเขียนโครงการเชิงเหตุผล หรือการจัดทำโครงการแบบเหตุผลเชิงตรรกวิทยา (Logical Framework Method) เป็นโครงการที่มีรายละเอียดเป็นขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผลสัมพันธ์กันและ ประสานกันทงั้ ในแนวตั้งและแนวนอน ขององค์ประกอบท่เี ป็นโครงสรา้ งพ้นื ฐาน

รูปแบบหรือหัวขอ้ ในการเขียนโครงการขา้ งตน้ อาจจะมีหวั ข้อและรายละเอียดแตกต่างกันไป ตามลักษณะหรือประเภทของโครงการ บางโครงการมีรายละเอียดมาก บางโครงการมีรายละเอียด น้อย บางโครงการอาจต้องเพิ่มเติมหัวข้อที่มีความสำคัญเข้าไป เช่น โครงการทางด้านวิชาการ อาจ ต้องมีการเพิ่มหัวข้อเอกสารอ้างอิง เป็นต้น ทั้งนี้แล้วแต่ผู้เขียนโครงการจะพยายามจัดทำขึ้นหรือ ยดึ ถอื โดยมงุ่ หวงั ใหผ้ ้อู ่านโครงการหรือผปู้ ฏิบัติตามโครงการมีความชัดเจนและเข้าใจโดยง่ายท่ีสุดเพื่อ ความเขา้ ใจทีช่ ัดเจนในเรอื่ งของรูปแบบ หรอื โครงสร้างในการเขียนโครงการโดยละเอยี ด

2

ประเภทของโครงการ

1. แบ่งโดยใช้เกณฑ์ลักษณะโครงการต่าง ๆ เป็นหลักว่ามีประเภทไหนบ้างและวัตถปุ ระสงค์พืน้ ฐาน ของการจัดทำโครงการคืออะไร

1.1. โครงการด้านการวจิ ยั และทดลอง

โครงการประเภทนี้จะเน้นเร่ืองของการต้ังสมมุติฐานแล้วพยายามหาแนวทางแก้ปัญหาด้วย วิธีต่าง ๆ โดยเฉพาะการทดลอง ออกแบบ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจหรือเป็นไปตามการต้ัง สมมตุ ิฐานข้นึ มาในเบ้ืองต้น (มักเรียกวา่ การทดสอบสมมุติฐาน) และสามารถนำไปพัฒนาเพื่อต่อยอด ความสำเร็จในอนาคตได้ มีการศึกษาตัวแปรต่าง ๆ รวมถึงการควบคุมตัวแปรเพื่อให้อยู่ในผลของ โครงการตรงกับวัตถปุ ระสงค์มากทีส่ ุด

1.2. โครงการดา้ นทฤษฎี

เป็นการนำเอาทฤษฎีต่าง ๆ มาตั้งเป็นสมมุติฐานขึ้นมา แล้วพยายามใช้แนวคิดอีกหลาย ๆ ด้านเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเป็นโครงการอันน่าสนใจ ประเด็นสำคัญคือคนที่เลือกทำโครงการ ลกั ษณะนีจ้ ะต้องมคี วามเชี่ยวชาญในภาคทฤษฎีน้ัน ๆ อย่างเข้าถงึ และละเอียดสุด ๆ เพราะถือว่าเป็น การศกึ ษาแบบเฉพาะทางลว้ น ๆ

1.3. โครงการดา้ นสง่ิ ประดษิ ฐ์ นวตั กรรมใหม่

ถือเป็นประเภทโครงการที่มักเกิดขึน้ อยู่บ่อยครัง้ หลัก ๆ คือ พยายามนำเอาองค์ความรู้ตา่ ง ๆ ที่มีมาศึกษาและพัฒนาให้เกิดเป็นสิ่งของชิ้นใหม่ในโลกที่ยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ทั้งนี้ในด้าน วัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการประเภทดังกล่าวอาจมีความหลากหลายมาก ไล่ตั้งแต่ทำเพื่อ พัฒนาส่ิงทีม่ อี ย่เู ดมิ ให้ดีขึน้ อีก, ต้องการสรา้ งสง่ิ ของใหม่ ๆ เพอื่ ตอบโจทยก์ ารใช้งาน, จัดทำโครงการ เพือ่ หวังสร้างความเจรญิ กา้ วหนา้ เปน็ ต้น

1.4. โครงการด้านการสำรวจ

โครงการแนวน้จี ะเน้นการใช้แหลง่ ข้อมูลและการลงพื้นท่ีจริงในการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง ไม่จำเป็นต้องสร้างตัวแปรหรือสมมุติฐานใด ๆ ขึ้นมา เนื่องจากมองเห็นผลกันตอนลง สำรวจอยู่แลว้ เมื่อไดข้ ้อมูลกจ็ ับแยกออกเปน็ หมวดหมู่ พอถึงช่วงของการนำเสนอก็มักจะใช้รูปแบบที่ มีความชดั เจน เข้าใจง่าย สำหรับการนำไปใช้เพื่อศกึ ษาข้อมูลสำหรับคนที่สนใจในโครงการดังกล่าวน้ี ตอ่ ไป

3

1.5. โครงการด้านพฒั นาธุรกจิ

หลาย ๆ ธุรกิจโดยเฉพาะภาคเอกชนมักร่วมมือกบั หน่วยงานวจิ ัยหรือผู้สนับสนุนตา่ ง ๆ ใน การจัดทำโครงการเพื่อหวังจะช่วยพัฒนาธุรกิจในกลุ่มของตนเองก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง โครงการลักษณะนี้ต้องเน้นเรื่องของสถิติเก่า ๆ, แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยอื่น ๆ ทาง ธรุ กิจเขา้ มาเก่ยี วขอ้ ง เมอื่ เสรจ็ สิ้นแล้วจะทำให้คนในแวดวงมีข้อมูลในการตอ่ ยอดมากขน้ึ กวา่ เดมิ

2. แบ่งตามลักษณะเป้าหมาย ได้แก่ โครงการบนฐานนโยบาย โครงการบนฐานปัญหา และโครงการ ฐานความคิดสร้างสรรค์

2.1 โครงการบนฐานนโยบาย (Policy-based Project) หมายถงึ โครงการทีม่ ีเป้าหมายเพื่อ ทำให้แผนงานของหนว่ ยงาน เช่น แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติราชการประจำปี ฯลฯ บรรลุเป้าประสงค์ ของแผน กล่าวคือ เป็นโครงการที่เกิดจากการแปลงแผนกลยุทธ์มาเปน็ แผนปฏิบัติ สิ่งที่ได้คือ "แผน ดำเนินการ" ซ่งึ ประกอบดว้ ยโครงการต่าง ๆ

2.2 โครงการบนฐานปญั หา (Problem-based Project) หมายถงึ โครงการท่ีมีเป้าหมายเพ่ือ แกป้ ัญหา สำคัญว่าต้องมีการศึกษา สำรวจ และวเิ คราะห์ปญั หาอย่างดี ให้ไดป้ ญั หาทแ่ี ทจ้ รงิ ปัญหาท่ี เข้าท่า เป็นสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาสำคัญ คือ เมื่อแก้ปัญหานั้นแล้วไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้น ตามมา โครงการบนฐานปัญหานี้ อาจแบ่งแยกย่อยไปอีกตามเป้าหมายเน้นของโครงการ ได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

2.2.1. โครงการเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะด้าน คือ โครงการทีม่ ุ่งแก้ปัญหาน้ัน ๆ ให้ดีข้ึน ในระยะเวลาไม่นาน โดยการลงมือทำเพียงครั้งเดียว เป็นโครงการระยะสั้น เช่น โครงการฝึกอบรม โครงการค่ายอาสาสร้าง หรือ โครงการบริการชุมชนและสังคม (Service-based Project) หรือ โครงการบริการวิชาการ ท่มี ่งุ แก้ปญั หาของชุมชนโดยการถา่ ยทอดองค์ความรหู้ รือเทคโนโลยี เป็นต้น

2.2.2. โครงการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ หรือเรียกว่า "โครงงาน" หรือ Project for Learning คือ โครงการทีม่ ุ่งศึกษา ค้นคว้า เพื่อพัฒนาทักษะการเรยี นรู้ของผูท้ ำโครงงานเอง มัก ใชก้ ับการเรียนการสอนในรายวชิ าต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนทกั ษะการเรียนร้ดู ้วยตนเอง

2.2.3 โครงการเพื่อการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ใหม่ หรือเรียกว่า "โครงการวิจัย" หรือ Research-based Project คือ โครงการที่มุ่งศึกษาค้นคว้าหาทางแก้ปัญหาที่กำหนดอย่างเปน็ ระบบ

2.3 โครงการบนฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative-based Project) หมายถึง โครงการที่ เกิดขนึ้ จากความคิดสร้างสรรค์ ผ้ตู อ้ งการทำโครงการมฉี ันทะที่จะพฒั นาสงิ่ หนึ่งส่งิ ใดข้ึนใหม่ หรือนำ สิ่งใหม่ๆ นำนวัตกรรม หรือมองไปในอนาคตและทำนายด้วยข้อมูลท่ีน่าเชือ่ ถือว่าจะเกิดสิง่ ใดขึ้น จึง เขยี นโครงการขนึ้ เพ่ือป้องกนั หรือสรา้ งสรรค์นวตั กรรมนั้น ๆ ขึน้ ฯลฯ

4

ความสำคญั ของโครงการ เนื่องจากโครงการ เป็นสารที่เรียบเรียงขึ้นเป็นขั้นตอน และมีแผนปฏิบัติเพื่อบรรลุ

วตั ถุประสงค์ ดงั นนั้ โครงการจึงเปน็ ส่วนประกอบที่สำคญั ของแผนการดำเนนิ งานของทกุ หน่วยงาน ดังนน้ั โครงการจงึ มคี วามสำคัญต่อแผนการการปฏบิ ัตงิ านดงั ตอ่ ไปนี้

1. ชว่ ยชใ้ี ห้เห็นถงึ ปญั หา และภมู หิ ลังของการทางาน 2. ชว่ ยให้การปฏิบัติงานตามแผนเปน็ ไปอย่างมปี ระสิทธภิ าพ 3. ชว่ ยให้แผนงานมคี วามชดั เจน โดยบุคคลท่ีเก่ียวขอ้ งมคี วามเขา้ ใจและรับรู้ถงึ ปัญหาร่วมกัน 4. ชว่ ยให้แผนงานมที รัพยากรใช้อยา่ งเพยี งพอ เหมาะสมกับสภาพปฏบิ ัตจิ ริง เพราะมีรายละเอยี ดการ ใช้ทรพั ยากรท่ีชัดเจน 5. ช่วยให้แผนงานมคี วามเปน็ ไปไดส้ งู เพราะมผี ู้รับผิดชอบ และมีความเขา้ ใจในการดาเนินงาน 6. ช่วยลดความขัดแย้ง และขจัดความซ้ำซ้อนในหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน เพราะแต่ละ หน่วยงาน มีโครงการที่ได้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของบุคคลใน หน่วยงาน 7. สร้างทัศนคติที่ดีต่อบุคลากรในหน่วยงานเป็นการเสริมสร้างความสามัคคี และความรับผิดชอบ ร่วมกนั ตามความรู้ ความสามารถ และศักยภาพของแต่ละบคุ คลอยา่ งเตม็ ท่ี 8. สรา้ งความมั่นคงใหก้ บั แผนงาน และสร้างความมน่ั ใจในการดาเนินงานให้กับผมู้ หี นา้ ทร่ี บั ผิดชอบ 9. สามารถควบคุมการทางานได้สะดวก ไม่ซ้ำซ้อน เพราะงานได้แยกออกเป็นส่วน ๆ ตาม ลักษณะเฉพาะของงาน

5

ลกั ษณะสำคัญของโครงการ โครงการหนึ่ง ๆ จะต้องประกอบด้วยคณุ ลักษณะสำคัญ ๆ คอื

1. ประกอบดว้ ยกจิ กรรมย่อย ๆ ทเี่ ก่ยี วขอ้ งและสอดคลอ้ งกนั ภายใต้วัตถุประสงคเ์ ดียวกนั 2. มีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน วัดได้ และปฏิบัติได้ โครงการหนึ่ง ๆ อาจมีมากกว่าหน่ึง วัตถปุ ระสงคก์ ไ็ ด้ 3. ต้องมีการกำหนดระยะเวลาวา่ จะเร่ิมตน้ เมอ่ื ไร และสิ้นสุดเม่ือไร ถา้ หากไมม่ ีการกำหนดระยะเวลา ในการดำเนินกจิ กรรมหรอื ไม่มกี ารกำหนดขอบเขตของเวลา ไม่ถอื วา่ เปน็ โครงการ แตจ่ ะเปน็ ลกั ษณะ ของงานประจำ หรืองานปกติ 4. มีสถานทต่ี ้ังของโครงการ หรอื สถานที่ดำเนินงาน จะต้องระบุใหช้ ัดเจนว่าโครงการนี้ดำเนินการท่ี ใด เพอื่ สะดวกในการดำเนินงาน การติดตามและการปรพเมินผลโครงการ 5. โครงการจะตอ้ งมหี นว่ ยงานหลกั หรอื บุคคลรบั ผิดชอบโครงการน้ันใหช้ ัดเจน 6. การเขียนโครงการจะต้องระบุงบประมาณให้ชัดเจน ว่าเราจะใช้จ่ายค่าอะไรบา้ ง เชน่ ค่าวิทยากร ค่าท่พี กั ค่าอาหาร ฯลฯ ท้ังน้จี ะใหง้ า่ นต่อการดำเนนิ การและควบคุมตรวจสอบการใช้งบประมาณให้ เกดิ ประโยชน์

ลกั ษณะของโครงการที่ดี 1. ต้องมคี วามชัดเจน

ความชัดเจนของโครงการ หมายถึง ตอ้ งตอบคำถามของผู้ทอี่ ่านโครงการได้ ทัง้ ด้านเน้อื หา ของโครงการ และความชดั เจนของภาษา 2. มคี วามเปน็ ไปได้

หมายถงึ วธิ กี ารตอ้ งมคี วามชดั เจน เมื่อมกี ารดเนนิ โครงการตามลำดบั ขั้นแล้วมคี วามเปน็ ไป ไดส้ ูงว่าโครงการจะประสบความสำเรจ็ หรือบอกได้ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหวงั มากนอ้ ยเพียงใด 3. ประหยัด

การแก้ปัญหามีหลายวิธีที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งแต่ละวิธีการต้องมีค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงาน มีระยะเวลาที่ใช้ รวมถึงทรัพยากร ดังนั้น การที่มีหลายวิธีการในการตอบปัญหาเดียวกนั จงึ ควรทีจ่ ะเลือกทางเลือกทเี่ สียคา่ ใชจ้ ่ายนอ้ ยท่สี ดุ ประหยดั เวลา และทรพั ยากรมากทีส่ ุด

6

4. มีประสิทธิภาพ การดำเนินโครงการท่ีประหยดั ท้งั เวลา ทรัพยากร และไดผ้ ลลัพธ์ตามที่ตอ้ งการ หรอื ตามที่ตั้ง

วัตถปุ ระสงคไ์ ว้ เรยี กว่าเป็นการทำโครงการที่มีประสทิ ธิภาพ 5. มีความเชื่อมน่ั สงู

โครงการท่ีดีตอ้ งมคี วามเชอ่ื มน่ั สูงว่า มคี วามเปน็ ไปได้ และหากเปลี่ยนผู้ดำเนินโครงการหรอื ผ้จู ัดการโครงการก็สามารถดำเนินการไดป้ ระสบผลสำเร็จไดใ้ กล้เคยี งกนั หรือเกดิ ผลลัพธ์เท่าเดิมหาก นำโครงการนน้ั ไปดำเนินการที่อื่น ๆ 6. มกี ารประเมนิ ผลได้

โครงการที่ดี ตอ้ งสามารถประเมนิ ผลไดว้ ่าผลลพั ธท์ ่ีเกิดข้ึนจากการดาเนินโครงการ มคี วาม แตกตา่ งมากน้อยเพียงใดกับวตั ถปุ ระสงค์ทตี่ ้งั ไว้ ดงั นนั้ การกำหนดผลลพั ธจ์ งึ ควรตง้ั เป็นสงิ่ ที่สามารถ วดั ได้จรงิ อันจะเปน็ ตวั บง่ บอกผลสัมฤทธิข์ องโครงการในท่ีสุด

ขั้นตอนการเขยี นโครงการ 1. วิเคราะห์ปัญหาหรอื ความตอ้ งการ ดำเนินการโดย - ศกึ ษาสภาพแวดลอ้ มเพ่ือคน้ หาปัญหา - กาหนดสภาพแหง่ การหมดปัญหา - กำหนดแนวทางแกไ้ ข 2. การเขยี นโครงการ มีเทคนคิ ดงั นี้ - กอ่ นลงมอื ต้องตงั้ คำถามและตอบคำถาม 5 W 1 H (What Where When Why Who How) - ศกึ ษาเกณฑ์การคัดเลอื กโครงการ กรณที ่ตี อ้ งนำเสนอโครงการเพ่อื การขออนมุ ตั ิ - ลงมือเขยี นโครงการ โดยใชภ้ าษาเขียนท่กี ระชับ สอ่ื ความหมายได้ชดั เจน และครบตามส่วนประกอบ ทด่ี ขี องโครงการ - ปรึกษาผู้ทเ่ี ชี่ยวชาญในการเขียนโครงการ หรอื ประเมนิ ผลโครงการเพอื่ ลดปัญหา หรืออุปสรรค ระหวา่ งทีท่ ำการเขียน นำเสนอ และตดิ ตามประเมนิ ผลโครงการ

7

กระบวนการก่อนวางโครงการ 1. ปญั หาความตอ้ งการ 2. รวบรวมข้อมูล 3. วิเคราะห์ปัญหา 4. จดั ลำดับความสำคญั ของปัญหา/คัดเลือกปัญหา 5. วิเคราะหส์ าเหตุ 6. กำหนดวัตถุประสงคเ์ ปา้ หมาย 7. กำหนดกิจกรรม/ทรพั ยากร 8. วางโครงการ

ส่วนประกอบของโครงการ ในการเขียนโครงการ ผู้เขียนจำเป็นต้องเข้าใจส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การเขียน

โครงการเป็นไปตามลำดับขั้นตอน มีเหตุผลน่าเชื่อถือ และการเขียนส่วนประกอบของโครงการ ครบถ้วนช่วยให้การลงมือปฏิบัติตามโครงการ เปน็ ไปโดยราบร่นื รวดเรว็ และสมบรู ณ์ ส่วนประกอบ ของโครงการ จำแนกได้ 3 ส่วน ดงั ต่อไปนี้

1. ส่วนนำ หมายถงึ ส่วนทีใ่ ห้ขอ้ มูลเบื้องต้นเก่ยี วกับโครงการนนั้ ๆ ส่วนนำของโครงการมุ่ง ตอบคำถามต่อไปนี้ คือ โครงการนั้นคือโครงการอะไร เกี่ยวข้องกับใคร ใครเป็นผู้เสนอหรือดำเนิน โครงการ โครงการนั้นมีความเป็นมา หรือความสำคญั อย่างไร ทำไมจึงจัดโครงการน้ันขึ้นมา และมี วตั ถุประสงคอ์ ยา่ งไร

จะเห็นได้ว่า ความในส่วนนำต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่จะให้ผู้อ่าน และผู้เกี่ยวข้องได้ เขา้ ใจขอ้ มลู พนื้ ฐาน ก่อนจะอา่ นรายละเอียดในโครงการตอ่ ไป

การเขียนส่วนนำของโครงการต้องทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของ โครงการนั้น พร้อมตัดสินใจว่าเป็นโครงการที่นา่ สนใจหรือไม่ หากผู้อ่านเป็นกลุ่มบคุ คลที่มีหน้าท่ี ตอ้ งพจิ ารณาอนมุ ัติ หรอื ใหก้ ารสนับสนนุ ก็อาจจะเกิดแนวคิดว่าจะใหค้ วามช่วยเหลือโครงการนั้นแค่ ไหน เพียงใด ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดอื่น ๆ ต่อไป ดังนั้น ผู้เขียนโครงการต้องพิถีพิถันในการใช้ ภาษาให้ถกู ต้องชัดเจน รัดกมุ และเหมาะสม โดยช้ีแจงเหตผุ ลสำคัญ ๆ ที่เก่ียวข้องให้ชดั เจน

8

2. ส่วนเนื้อความ หมายถึง ส่วนที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ได้แก่ วิธีดำเนินการซึ่ง กล่าวถงึ ลำดับข้ันตอนต่าง ๆ ในการปฏบิ ัติงาน รวมทั้งพื้นทีก่ ารปฏบิ ัตงิ าน ซึง่ ครอบคลุมปรมิ าณ และ คุณภาพ ตลอดจนการดำเนนิ งานตาม วนั เวลา และสถานที่

วิธีดำเนินการจัดเป็นหัวใจสำคัญของโครงการ ผู้เขียนต้องพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ทำให้ ผู้อ่านเกิดความสับสน วิธีดำเนินการควรแยกอธิบายเป็นข้อๆให้ชัดเจนตามลำดับขัน้ ตอนการทำงาน อาจทำแผนผังสรปุ วธิ ีดำเนนิ การตาม วนั เวลา เพือ่ ความชดั เจนดว้ ยก็ได้

3. ส่วนขยายความ หมายถึง ส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับโครงการได้แก่ ประโยชน์ หรือผลที่คาดว่าจะได้รับงบประมาณดำเนินการ หรือแหล่งเงินทุนสนับสนุนตลอดจนการ ติดตามและประเมนิ ผล

ในส่วนขยายความ อาจจะเพิ่มเติมผู้เสนอโครงการไว้ในตอนท้ายของโครงการ ในกรณีที่ เป็นโครงการที่ต้องเสนอผ่านตามลำดับขั้นตอน และผู้อนุมัติโครงการลงนามในตอนท้ายสุดของ โครงการ

องค์ประกอบของโครงการ องคป์ ระกอบพน้ื ฐานในโครงการแต่ละโครงการนน้ั ควรจะมีดังนี้ 1. ชือ่ แผนงาน เปน็ การกำหนดชอ่ื ให้ครอบคลมุ โครงการเดยี วหรอื หลายโครงการทมี่ ีลกั ษณะงานไปในทศิ

ทางเดียวกนั เพ่อื แกไ้ ขปัญหาหรอื สนองวตั ถุประสงคห์ ลกั ทีก่ ำหนดไว้ 2. ชือ่ โครงการ ให้ระบุชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจนและเรียกเหมือนเดิมทุกครั้ง

จนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ

9

3. หลักการและเหตุผล

ใช้ชี้แจงรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจงถึง ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการและหากเป็นโครงการที่จะดำเนินการ ตาม นโยบาย หรอื สอดคลอ้ งกับแผนจังหวดั หรอื แผนพฒั นาเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ หรือแผน อืน่ ๆ ก็ ควรช้แี จงดว้ ย ท้งั น้ีผ้เู ขียนโครงการ

บางท่านอาจจะเพิ่มเติมข้อความว่าถ้าไม่ทำโครงการดังกล่าวผลเสียหายโดยตรง หรือผล เสียหายในระยะยาวจะเป็นอยา่ งไร เพื่อให้ผู้อนุมัตโิ ครงการได้เห็นประโยชนข์ องโครงการกว้างขวาง ขึ้น

4. วัตถปุ ระสงค์

โครงการทุกโครงการจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเป็นเครื่องชี้แนวทางในการ ดำเนินงานของโครงการ โดยวัตถุประสงค์จะเป็นข้อความทีแ่ สดงถึงความต้องการท่ีจะกระทำส่ิงตา่ ง ๆ ภายในโครงการให้ปรากฏผลเป็นรูปธรรม ซึ่งข้อความที่ใช้เขียนวัตถุประสงค์จะต้องชัดเจนไม่ คลุมเครอื สามารถวดั และประเมนิ ผลได้ โครงการแต่ละโครงการสามารถมีวตั ถุประสงค์ได้มากกว่า 1 ข้อ ลักษณะของวัตถุประสงคข์ ึน้ อยูก่ ับระดับและขนาดของโครงการ เช่น ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ วัตถุประสงค์ก็จะมีลักษณะที่กว้างเป็นลักษณะวัตถุประสงค์ทั่วไป หากเป็นโครงการขนาดเล็ก สามารถลงปฏิบัติการในพื้นที่เป้าหมายหรือปฏิบัติงานในลักษณะที่แคบเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่าง วัตถุประสงค์ก็จะมีลักษณะเฉพาะ หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าวัตถุประสงค์เฉพาะถึงอย่างไรก็ตามการ เขียนวัตถุประสงค์ในโครงการแต่ละระดับ แต่ละขนาดจะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน วัตถปุ ระสงคข์ องโครงการย่อย จะตอ้ งสมั พันธแ์ ละสอดคลอ้ งกับวัตถปุ ระสงคข์ องโครงการขนาดใหญ่

การเขียนวัตถุประสงค์ควรจะตอ้ งคำนงึ ถงึ ลกั ษณะท่ีดี 5 ประการ หรอื จะต้องกำหนดขนึ้ ดว้ ย ความฉลาด (SMART) ซง่ึ ประชมุ (2535) ไดอ้ ธบิ ายความหมายไวด้ งั นี้

S = Sensible (เป็นไปได)้ หมายถึง วัตถุประสงค์จะตอ้ งมีความเป็นไปได้ ในการดำเนนิ งานโครงการ

M = Measurable (วดั ได)้ หมายถึง วตั ถปุ ระสงค์ทีด่ จี ะตอ้ งสามารถวดั และประเมนิ ผลได้

A = Attainable (ระบุสง่ิ ทต่ี ้องการ) หมายถึง วตั ถปุ ระสงคท์ ด่ี ีต้องระบุส่งิ ทต่ี อ้ งการดำเนนิ งาน อย่าง ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากทส่ี ุด

R = Reasonable (เปน็ เหตุเปน็ ผล) หมายถึง วัตถปุ ระสงค์ทด่ี ีตอ้ งมคี วามเป็นเหตุเป็นผลในการปฏิบัติ

T = Time (เวลา) หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ดจี ะต้องมขี อบเขตของเวลาที่แน่นอนในการปฏิบัตงิ าน

10

คำที่ควรใช้ คำท่ีควรหลีกเลย่ี ง เพอ่ื กลา่ วถงึ เพอื่ เข้าใจถงึ เพอ่ื ธบิ ายถึง เพ่ือทราบถงึ เพ่ือพพิจารณาถึง เพอ่ื คุ้นเคยกับ เพ่อื เลือกสรร เพื่อซาบซึง้ ใน เพื่อระบุ เพอื่ รู้ซง้ึ ถงึ เพอ่ื จำแนกแยกแยะ เพอ่ื สนใจใน เพ่อื ลำดับ หรอื เพ่ือแจกแจง เพอ่ื เคยชินกบั เพอ่ื ประเมิน เพื่อยอมรบั ใน เพอ่ื สรา้ งเสริม เพอ่ื เช่อื ถอื ใน เพื่อกำหนดรปู แบบ เพอ่ื สำนึกใน

5. เปา้ หมาย

ใหร้ ะบุว่าจะดำเนินการส่งิ ใด โดยพยายามแสดงใหป้ รากฏเป็นรปู ตัวเลขหรอื จำนวนทีจ่ ะทำได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด การระบเุ ป้าหมาย ระบเุ ปน็ ประเภทลกั ษณะและปริมาณ ให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และความสามารถในการทำงานของผูร้ ับผิดชอบโครงการ

6. วิธีดำเนนิ การหรอื กิจกรรมหรือข้ันตอนการดำเนนิ งาน

คืองานหรือภารกจิ ซง่ึ จะตอ้ งปฏิบัตใิ นการดำเนนิ โครงการให้บรรลตุ ามวัตถุประสงค์ ในระยะ การเตรยี มโครงการจะรวบรวมกจิ กรรมทุกอย่างไวแ้ ลว้ นำมาจัดลำดับวา่ ควรจะทำสิง่ ใดกอ่ น-หลงั หรือ พรอ้ ม ๆ กัน แล้วเขียนไว้ตามลำดับ จนถึงข้นั ตอนสดุ ทา้ ยท่ที ำให้โครงการบรรลวุ ตั ถุประสงค์

7. ระยะเวลาการดำเนนิ งานโครงการ

คอื การระบรุ ะยะเวลาตั้งแต่เร่ิมต้นโครงการจนเสร็จสิน้ โครงการปจั จุบนั นยิ มระบุ วัน-เดือน-ปี ท่เี ริ่มต้นและเสร็จสน้ิ การระบจุ ำนวน ความยาวของโครงการเช่น 6 เดอื น 2 ปี โดยไม่ระบุเวลาเร่ิมต้น- ส้นิ สดุ เปน็ การกำหนดระยะเวลาที่ไม่สมบูรณ์

11

8. งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จา่ ยทั้งสนิ้ ของโครงการ ซึ่งควรจำแนกรายการค่าใชจ้ ่ายไดอ้ ยา่ งชัดเจน งบประมาณอาจแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ - เงินงบประมาณแผ่นดิน - เงนิ กูแ้ ละเงินชว่ ยเหลือจากตา่ งประเทศ - เงนิ นอกงบประมาณอ่นื ๆ เช่น เงนิ เอกชนหรอื องคก์ ารเอกชน เป็นตน้ การระบยุ อดงบประมาณ ควรระบแุ หล่งทมี่ าของงบประมาณด้วย นอกจากนห้ี วั ขอ้ น้สี ามารถ ระบุทรพั ยากรอื่นที่ต้องการ เชน่ คน วสั ดุ ฯลฯ งบประมาณเปน็ ประมาณการค่าใช้จา่ ยท้งั สิ้นของโครงการ ซ่ึงตอ้ งจำแนกรายการคา่ ใชจ้ า่ ยให้ ชดั เจนและต้องคำนึงถงึ หลกั สำคัญ 4 ประการในการจัดทำโครงการ คือ

1. ประหยัด การเสนองบบระมาณจะต้องเป็นไปโดยมีความบระหยัด ใช้ทรัพยากร ทุกอยา่ งให้คุ้มคา่ ทส่ี ดุ และไดค้ ณุ ภาพของผลงานดที ส่ี ดุ

2. ความมีประสิทธิภาพ โครงการจะต้องมีคุณค่าเป็นที่ยอมรับและทุกคนมีความจึง พอใจในผลงานทีเ่ กดิ ข้นึ โดยใชท้ รพั ยากรนอ้ ยท่ีสดุ ประหยัดทส่ี ุด และไดร้ บั ผลตอบแทนคุ้มคา่ ขึ้น

3. ความมีประสิทธิผล โครงการจะต้องดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์และ เปา้ หมายทกี่ ำหนดไว้ นำผลทเี่ กดิ ขึ้นเทยี บกบั วตั ถุประสงคท์ ตี่ ้องไว้หากได้ตามวัตถุประสงค์ทีต่ ั้งไว้ก็ถือ ว่ามีประสทิ ธิผล

4. ความยุติธรรม การจัดสรรทรัพยากรทุกชนิด หรือการใช้จ่ายทรัพยากรจะต้อง เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ท้ังนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง คล่องตัว และมี ประสิทธภิ าพสงู สุด

9. เจา้ ของโครงการหรือผูร้ บั ผิดชอบโครงการ เปน็ การระบเุ พื่อให้ทราบวา่ หน่วยงานใดเปน็ เจา้ ของหรือรบั ผิดชอบโครงการ โครงการยอ่ ย ๆ บางโครงการระบเุ ป็นช่ือบคุ คลผรู้ ับผดิ ชอบเปน็ รายโครงการได้ 10. หนว่ ยงานทใี่ ห้การสนับสนุน เป็นการให้แนวทางแก่ผู้อนุมัติและผู้ปฏิบัติว่าในการดำเนินการโครงการนั้น ควรจะ ประสานงานและขอความร่วมมอื กบั หนว่ ยงานใดบา้ ง เพื่อบรรลวุ ัตถปุ ระสงคท์ ตี่ ั้งไว้

12

11. การประเมินผล

บอกแนวทางวา่ การตดิ ตามประเมนิ ผลควรทำอยา่ งไรในระยะเวลาใดและใชว้ ิธกี าร อยา่ งไรจงึ จะเหมาะสม ซ่งึ ผลของการประเมนิ สามารถนำมาพจิ ารณาประกอบการดำเนินการ เตรยี มโครงการท่ี คล้ายคลงึ หรือเก่ยี วข้องในเวลาต่อไป

12. ผลประโยชนท์ ่ีคาดวา่ จะได้รบั หรอื ตัวชวี้ ัด

เมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไรบ้างใครเป็นผู้ได้รับเรื่องนี้สามารถเขียนท้ัง ผลประโยชน์โดยตรงและผลประโยชนใ์ นดา้ นผลกระทบของโครงการด้วยได้

ปัญหาในการเขยี นโครงการ

ในการเขียนโครงการนั้นเป็นการกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่จะทำในอนาคตโดย อาศัยข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นตัวกำหนดกิจกรรมในโครงการ เมื่อเป็นเช่นนี้หากเป็น โครงการทด่ี ีย่อมนำมาซึง่ คุณภาพและประสิทธภิ าพของหนว่ ยงาน โครงการบางโครงการเม่ือเขียนข้ึน มาแล้วไมส่ ามารถนำไปใชป้ ฏบิ ัติได้ เนอ่ื งจากปญั หาตา่ ง ๆ ซึง่ สามารถสรุปไดด้ ังน้ี

1. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถท่ีแท้จริงในการเขียนโครงการ โครงการจำนวนไม่ น้อยที่เขียนขึ้น โดยบุคคลท่ไี ม่มีความรู้ความสามารถในเรอ่ื งน้ัน ขาดขอ้ มูลทม่ี คี วามเปน็ จริง หรือขาด ขอ้ มลู ที่จะตอ้ งใช้จรงิ ผ้เู ขียนโครงการเขียนโครงการโดยได้รับการมอบหมายจากผ้บู ังคับบญั ชาผลจาก การเขียนโครงการในลักษณะนี้จะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ปฏิบัติโครงการในการจะนำเอาโครงการไป ปฏิบัติใหเ้ กิดเปน็ ผลไดอ้ ยา่ งมคี ณุ ภาพและประสิทธิภาพ

2. ระยะเวลาที่ใช้ในการเขียนโครงการ หลายโครงการประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำ โครงการในระยะอันสัน้ ทำให้ไม่สามารถทีจ่ ะศกึ ษาข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อยา่ งละเอียด ขอ้ มลู บางชนิดขาดการวิเคราะห์ท่ดี พี อ เมอ่ื เขยี นโครงการข้นึ มาแลว้ จงึ ขาดความชัดเจนของข้อมูล จึง เป็นปัญหายงุ่ ยากในการนำเอาโครงการไปปฏิบตั ิ

3. ขาดวัตถปุ ระสงค์ท่ีชัดเจน ในการเขียนโครงการบางโครงการขาดวัตถุประสงค์ท่ีชัดเจนใน การเขียนโครงการ เป็นผลให้เกิดความยุ่งยากต่อการตรวจสอบ ควบคุมและติดตามการดำเนินงาน และมผี ลสืบเน่อื งถึงการประเมินผลโครงการดว้ ย

4. การเขยี นโครงการเปน็ เรือ่ งของอนาคต ท่ีอาจมคี วามไม่แนน่ อนเกิดขึน้ อันเป็นผลมาจาก ตัวแปรต่าง ๆ ที่ผู้เขียนโครงการไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภัยธรรมชาติต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่ไม่ คาดคิด ไดแ้ ก่ การเมือง เศรษฐกจิ สิ่งตา่ ง ๆ เหลา่ น้ีลว้ นมีผลกระทบต่อการดำเนินงานท้ังสิ้นและเป็น สิ่งทไี่ ม่สามารถควบคุมได้ จงึ เป็นปัญหาอยา่ งสำคญั ของการเขยี นโครงการ

13

5. ขาดการสนับสนนุ จากผู้บรหิ ารองคก์ าร ในบางครัง้ การเขียนโครงการ แม้จะเขียนดเี พียงใด หากผู้บรหิ ารไมใ่ ห้ความสนใจขาดการสนับสนนุ ในเรือ่ งงบประมาณ และทรพั ยากรต่าง ๆ ทีจ่ ำเป็นต่อ การทำโครงการอยา่ งเพียงพอ ยอ่ มจะสร้างปญั หาใหแ้ ก่การดำเนินโครงการได้เชน่ เดียวกนั

6. ขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โครงการบางโครงการจำเป็นที่ จะต้องมีการประสานงานกบั องค์กรหรือหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้โครงการที่ทำอยู่บรรลุวัตถุประสงค์ ท่ตี ้งั ไว้ โครงการท่จี ะสำเรจ็ ไดจ้ ะต้องไดร้ ับความร่วมมือจากองคก์ รหรอื หนว่ ยงานท่มี ีส่วนเกี่ยวข้องใน การปฏิบตั ิตามโครงการด้วย หากขาดการประสานงานและร่วมมือจากผู้มีส่วนเกยี่ วข้องแลว้ ก็จะทำให้ เกิดปัญหาในการทำโครงการ โครงการดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ได้ยากหรืออาจจะไม่บรรลุ วตั ถุประสงค์ก็ได้

การใชถ้ อ้ ยคำ สำนวน ในการเขยี นโครงการ ผู้เขียนโครงการต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษาเป็นอย่างดี

เพราะโครงการจะบรรลุเปา้ หมาย หรือประสบผลสำเร็จข้ึนอยู่กบั การใช้ถ้อยคำภาษาเป็นสำคัญ ถ้า ใช้ถ้อยคำภาษาถูกต้อง ชัดเจน สละสลวย ย่อมสื่อความหมายได้ง่าย และรวดเร็ว ดังนั้นผู้เขียน โครงการจึงต้องรู้จักเลอื กใชถ้ ้อยคำ ทม่ี ีลักษณะดงั ตอ่ ไปนี้

1. ใช้ภาษาใหถ้ กู ตอ้ ง คอื ใช้ให้ถูกต้องตรงตามความหมาย และเขียนใหถ้ ูกต้องตามอักษรวิธี ท้งั ตัวพยญั ชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และการนั ต์

2. ใหภ้ าษาให้กะทดั รดั คือ ใชถ้ อ้ ยคำกระชับ รดั กมุ ไม่เยิ่นเย้อ ยดื ยาว ประหยดั ถ้อยคำ แต่ ต้องไดใ้ จความสมบูรณ์

3. ให้ภาษาให้ชัดเจน คือ ใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงไปตรงมา หรือตรงตามตวั ทำให้ผ้รู บั สารเข้าใจทนั ที ไม่ใช้ถอ้ ยคำคลุมเครือ หรอื กำกวม

4. ใชภ้ าษาให้เหมาะสม คือใชภ้ าษาใหเ้ หมาะสมกับเนือ้ ความ หรือเหมาะสมกบั กาลเทศะ 5. ใช้ภาษาให้สุภาพ คือใช้ภาษาเขียน เป็นภาษาที่มีแบบแผน ไม่ใช้ภาษาพูดในการเขียน โครงการ

14

บทสรปุ

อย่างไรก็ตามการเขยี นโครงการของแต่ละบุคคลอาจมีลำดบั ขัน้ ตอนที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่ กับการพิจารณา แม้กระท่ังความหมายของโครงการก็อาจแตกต่างกนั ออกไปตามความคิดและความ เข้าใจของแต่ละคน และประเภทของโครงการสามารถไปได้หลากหลายเช่นกัน แต่ไม่ว่าจะเป็น ประเภทไหนกต็ ามทุกรปู แบบลว้ นมีความนา่ สนใจทัง้ สิน้ เพราะจุดมุ่งหมายสำคัญคือตอ้ งการพฒั นาสิ่ง รอบตัวให้ดีขน้ึ ในทกุ ๆ รปู แบบตามความเหมาะสมของโครงการนั้น ๆ

15

บรรณานกุ รม

การเขยี นโครงการ. (2564). คน้ เม่อื 14 กันยายน 2564 จาก https://sites.google.com/site/thaicommunication83/bth-thi-2-kar-tha- khorngkar/kar-kheiyn-khorngkar

ฤทธไิ กร ไชยงาม. (2561). การเขยี นโครงการ. ค้นเมื่อ 15 กนั ยายน 2564 จาก https://www.gotoknow.org/posts/658138

Giggu. (2555). การเขียนโครงการ. ค้นเมอื่ 14 กันยายน 2564 จาก http://xn-- 12c8bf2alc8bdc1ad1dfb8d6l3b.blogspot.com/2012/09/2_16.html

Tiger. (2564). โครงการคอื อะไร และ มีกป่ี ระเภทกันนะ? (Project). คน้ เมือ่ 15 กันยายน 2564 จาก https://thaiwinner.com/what-is-project/