ข อม ลขอบเขตการปกครอง ระบบภ ม สารสนเทศและการร บร ระยะไกล gis&rs

แผนผงั แสดงขอ้ มูลเส้นทางนำ้ ในรูปแบบของขอ้ มลู เชงิ พ้นื ท่ีเชอ่ื มโยงกับรายละเอียดของขอ้ มูลเชิงลกั ษณะ ทำใหเ้ กิดเปน็ ชัน้ ขอ้ มูล

รปู แบบที่ 2 การจดั เก็บขอ้ มลู แบบแรสเตอร์ เป็นการจัดเก็บข้อมูลแบบ แบ่งพืน้ ทีจ่ รงิ เป็นตารางรูปส่เี หลี่ยมจตุรัสเล็กๆ หรือกรดิ (grid) เต็มพ้ืนที่ แต่ละกริดมีค่าข้อมูลของพื้นที่จริง เรียกว่า พิกเซล (pixel) โดยมีพิกัด กำหนดตำแหน่งไว้ด้วยเช่นกัน ข้อมูลแบบนี้เมื่อทำสำเร็จเต็มพื้นที่ จะ ปรากฏเปน็ ภาพเหมอื นถา่ ยจากเครอ่ื งบนิ

2. การสรา้ งฐานขอ้ มลู เชงิ พื้นที่ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ข้อมูลเชิงพื้นที่สามารถแสดงรูปลักษณ์ได้เป็น 3

แบบ คอื แสดงเป็น จดุ เสน้ และรปู หลายเหล่ยี มหรือพนื้ ที่ ซึ่งรูปลักษณ์ แบบที่แสดงด้วยจุด มักจะมีขนาดเล็กมากในพื้นที่ เช่น ที่ตั้งของบ่อน้ำ บ้านเรือน โรงเรียน ส่วนรูปลักษณ์แบบที่แสดงด้วยเส้น มักเกิดจากการโยงระหว่างจุด 2 จุด หรือมากกว่าเข้า ด้วยกัน เช่น ถนน แม่น้ำ เส้นแนวสายไฟแรงสูง ในกรณีของข้อมูลท่ีแสดงรูปลักษณ์ ด้วยรูปหลายเหลี่ยม หรือเกดิ จากการลากเส้นปิดล้อมบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่พบมาก คือ บริเวณแหล่งน้ำ บริเวณป่าไม้ เขตการใช้ที่ดินทาง การเกษตร และเขตการปกครอง เช่น เขตของจังหวัด อำเภอ ตำบล เทศบาล เมื่อทราบลักษณะของข้อมูลเชิง พื้นที่ ในขั้นตอนต่อไปคือ การแปลงให้เป็นข้อมูลเชิงเลขเพื่อจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ กระบวนการนำเข้าข้อมูล ต้องอาศัยวิธีการ คือ

  1. การดิจไิ ทซ์ โดยใช้เคร่อื งมอื ท่ีเรียกวา่ เคร่ืองอา่ นพิกดั (digitizer)
  2. การกราดภาพ โดยใชเ้ ครอ่ื งมอื ท่ีเรยี กว่า เครอื่ งกราดภาพ (scanner)
  3. การใชแ้ ป้นพิมพค์ อมพวิ เตอร์ นำเข้าข้อมลู ท่ีเปน็ เอกสารตา่ งๆ ลงในเคร่อื งคอมพิวเตอร์

9*คัดจากโครงการสารนกุ รมไทยสำหรบั เยาวชน

สว่ นท่ี 1 ความรู้พืน้ ฐานเก่ียวกบั ระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร์

ทั้ง 3 วิธีการมีความสำคัญมากในการสร้างฐานข้อมูลให้แก่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพราะคุณภาพ ของข้อมูล ที่จัดเก็บเข้าไว้ในระบบ ย่อมมีผลต่อประสิทธิภาพที่จะรับได้ เมื่อนำข้อมูลนั้นๆ มาใช้กับการวิเคราะห์ ในลำดับต่อไป

สารสนเทศภูมิศาสตร์ที่รวมทั้งชนิดข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงลักษณะเมื่อนำเข้าสู่ระบบการจัดเก็บใน คอมพิวเตอร์แล้ว เรียกว่า ฐานข้อมูล (database) ซึ่งฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีรูปแบบที่ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบ หรือวัตถุประสงค์ของโครงการ ที่ต้องใช้ระบบดังกล่าว ข้อสำคัญ ที่ฐานข้อมูลต้องมี ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนข้อมูลได้คล่องตัวรวดเร็ว และ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้พน้ จากการสูญหาย หรอื การนำไปใชโ้ ดยไม่ได้รับอนญุ าต

ภาพถ่ายดาวเทียม สามารถมองเหน็ รายละเอยี ดของอาคาร รถยนต์ และส่งิ ตา่ งๆ

ข้อมูลทีจ่ ดั เก็บไวใ้ นฐานข้อมลู จะแสดงสมบตั แิ ละความสัมพนั ธ์ดังต่อไปน้ี - สามารถอา้ งองิ กับระบบพิกดั ท่เี ปน็ มาตรฐาน - สามารถบรรยายลกั ษณะและสมบตั ขิ องข้อมลู เชงิ พืน้ ที่ได้อย่างละเอียด อนั จะนำไปสู่ความเข้าใจของ

ลกั ษณะข้อมลู - สามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงตำแหน่งของข้อมูลและสงิ่ ทอ่ี ยู่ใกลเ้ คียง

3. การแสดงผลและการวิเคราะหข์ อ้ มลู การแสดงผลของข้อมูล ข้อมูลที่เกิดขึ้นในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เมื่อผ่านกระบวนการนำเข้า ในรูปแบบ

ของข้อมลู เชิงพื้นที่ ที่เชื่อมโยงกบั รายละเอียดของข้อมลู เชงิ ลักษณะ จะเกดิ เปน็ ชนั้ ข้อมลู (layer) ซง่ึ สามารถแสดง รายละเอียดของข้อมูลเฉพาะกลุ่ม ที่แยกประเภทออกได้ เช่น ชั้นข้อมูลของกลุ่มถนน ซึ่งเป็นข้อมูลเส้น ใน รายละเอยี ดของขอ้ มลู เชงิ ลักษณะแยกประเภทเปน็ ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ถนนลูกรัง และทางคนเดนิ พร้อม ทงั้ แสดงรายละเอยี ดของถนนว่ามชี ่องจราจรก่ีช่องจราจร เช่น มถี นนคอนกรีต 4 ช่องจราจร 2 ช่องจราจร ข้อมูล ที่แสดงเชิงพื้นที่นี้สามารถแยกสีและขนาดของเส้นได้ แม้แต่การแสดงผลข้อมูล พื้นที่ประชากร ก็สามารถทำได้ เช่นกนั

การวิเคราะห์ข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคำตอบตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้ตั้งไว้ การวิเคราะห์ทำได้ โดยใช้ ชั้นข้อมูลที่จัดเก็บไว้ ในฐานข้อมูล ออกมาวิเคราะห์ร่วมกัน ทั้งนี้ การจะใช้ชั้นข้อมูลกี่ชั้นในกระบวนการวิเคราะห์ ขึ้นอยู่กับคำถามว่า มีความซับซ้อนเพียงใด กระบวนการวิเคราะห์ทีใ่ ช้กันโดยทั่วไป ได้แก่ ค้นคืนข้อมูลที่จัดเก็บไว้ เพื่อหาคำตอบให้แก่คำถาม ที่แตกต่างออกไป คำตอบเหล่านั้นอาจเป็นการจำแนกซ้ำ การคำนวณ หรือการหา สถิตติ า่ งๆ การวางซอ้ นทับของชัน้ ข้อมลู กเ็ ป็นอีกวิธหี นึง่ ของการวเิ คราะห์ เพอื่ หาความเหมอื น หรือความแตกตา่ ง หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ กันได้ โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์โดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถใหค้ ำตอบใน 3 ลักษณะ ไดแ้ ก่

10 *คดั จากโครงการสารนกุ รมไทยสำหรับเยาวชน

สว่ นที่ 1 ความร้พู ื้นฐานเก่ียวกบั ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

- คำตอบทเี่ ป็นปัจจบุ นั (จากการค้นคืนข้อมลู ท่ีเก่ียวขอ้ งในฐานข้อมลู ) - คำตอบเกี่ยวกบั รูปแบบของข้อมูลปัจจุบนั (ตอบคำถามทมี่ เี ง่ือนไข) - การคาดการณ์ส่ิงทจี่ ะเกดิ ขึน้ ในอนาคต (โดยการจำลองเหตกุ ารณภ์ ายใต้สภาพปจั จบุ นั ทกี่ ำหนด) การพัฒนาข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ผู้ใช้ข้อมูลอาจไม่ทราบกระบวนการวิเคราะห์ว่ามีความ เป็นมาอย่างไร เพราะจะมีผู้เขียนโปรแกรมเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน ผู้ใช้จะรู้ผลขั้นสุดท้าย โดยจะแสดงผลเป็น ภาพแผนที่ ในอนาคต อาจได้เห็นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่มีการผสมผสานกับอุปกรณต์ ิดตั้งไว้ในยานพาหนะ หากเป็นเมืองใหญ่ จะมียานลอยฟ้า ที่ติดกล้องวงจรปิดที่สามารถ ขยายเห็นใบหน้าผู้ที่สัญจรไปมาตามท้องถนน หรือผู้ก่ออาชญากรรมจะถูกจับภาพ และติดตามตัว หรือเด็กและผู้สูงอายุที่เป็นโรคความจำเสื่อมอาจต้องพกพา เครื่อง GPS เพื่อส่งข้อมูลหาตำแหน่ง และมีระบบเตือนภัยแจ้งเข้ามา ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อเข้า ช่วยเหลือหรอื ปอ้ งกนั เหตรุ า้ ยทอ่ี าจเกดิ ขึน้ ในขณะเดียวกัน ด้วยข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับระบบสมองกลหรือคอมพิวเตอร์ พร้อมโปรแกรมวิเคราะห์ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถสร้างสถานการณ์ จำลอง ตามค่าตัวแปร พร้อมทั้งสร้างภาพ 3 มิติ ตามช่วงเวลาต่างๆ เพื่อทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การทำนายพายุที่กำลังพัดเข้ามาสร้างความเสียหาย หรือการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่จะส่งผลกระทบ อะไรในอนาคต เพอ่ื วางแผนปอ้ งกันและออกแบบ การเตอื นภัย เพอ่ื ลดความเสยี หายในอนาคตได้

ความสำคญั ของระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร์ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบกับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระดับ

ความสามารถสงู และขอ้ มลู จากภาพถ่ายดาวเทียม ทม่ี กี ารแสดงรายละเอยี ดสูง สามารถมองเห็นรายละเอียดของ สิ่งตา่ ง ๆ เชน่ อาคาร รถบรรทกุ ตน้ ไม้ อีกทง้ั ผใู้ ชส้ ามารถสบื คน้ ข้อมลู ตา่ ง ๆ ได้บนอนิ เทอรเ์ นต็ ทำใหผ้ ปู้ ฏบิ ตั งิ าน ในด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถสร้างข้อมูล และนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อให้เกิด นวัตกรรมมากมายตามความสามารถและศาสตร์ของผู้รู้ในแต่ละสาขา ภายหลังจากมีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งมีการพัฒนา รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง พร้อมท้ัง มีการสบื ค้นงา่ ยขึ้น ผู้ปฏิบัติงาน พบว่าชั้นข้อมูลและการผสมผสานข้อมูล ที่ดัดแปลงข้อมูล ซึ่งเคยจัดทำในอดีต นำมาเข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่มีระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นโปรแกรมปฏิบัติการ ทำให้สามารถตอบปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้ และสามารถ เรียกดูข้อมูลได้จากหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จัดเก็บไว้ในช่วงเวลาต่าง ๆ สามารถ เปรียบเทียบข้อมูล แล้วสร้างรูปแบบจำลองสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ผู้ปฏิบัติและผู้นำข้อมูลไปใช้ เกิด ความพึงพอใจ ข้อมูลที่ผา่ นการวิเคราะหส์ ามารถช่วยใหผ้ ู้บรหิ ารตดั สนิ ใจได้ใกล้เคียงความจริง และรวดเร็วทนั ต่อ เหตุการณ์ ทำให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยสามารถนำมาใช้จัดการข้อมูล ซึ่งเป็น ขอ้ มลู เชิงพ้นื ท่ี ขอ้ มลู เชงิ ภาพ และข้อมลู เชงิ ลกั ษณะ ในด้านต่าง ๆ ได้ดงั นี้

ดา้ นการประหยัดเวลาและการจดั การเอกสารอย่างเป็นระบบ ผลการพัฒนาคัดลอกข้อมูลกระดาษและข้อมูลภาคสนามเข้าสู่ชั้นข้อมูลระบบตำแหน่งบนสารสนเทศ

ภูมิศาสตร์ จากเดิม ที่จัดเก็บเอกสารแผนที่ไว้เป็นกระดาษ ก็ได้ถูกจัดเก็บด้วยเครื่องกราดภาพ เมื่อนำข้อมูลมา แสดงบนคอมพิวเตอร์ ขอ้ มลู ท่ีเป็นแผนทีก่ ระดาษจะถูกตรึงใหอ้ ยูบ่ นพิกัดโลกตามมาตรฐาน (ประเทศไทยใช้ UTM GRID WGS84) ข้อมูลรายละเอียดบนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ตำแหน่ง พิกัดที่ เก็บจากภาคสนาม และข้อมูลต่าง ๆ สามารถนำไปสร้างข้อมูลหลักทำให้เป็นชั้นข้อมูล คือ ข้อมูลที่แสดงจุด เช่น สถานทสี่ ำคญั เสาไฟฟา้ ข้อมลู ท่แี สดงเสน้ เช่น ถนน เสน้ ทางรถไฟ เส้นทางการไหลของน้ำและแหล่งน้ำ ช้นั ความ สูง ข้อมูลที่แสดงขอบเขตพื้นท่ี เช่น ตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งข้อมูลหลากหลายที่จัดเก็บได้เหล่านี้ สามารถนำมา รวบรวมเก็บไว้ในที่เดียวกัน เสมือนย่อโลกลงไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อบอกว่า ณ ตำแหน่งนั้นมีข้อมูลใด

11*คดั จากโครงการสารนุกรมไทยสำหรบั เยาวชน

สว่ นที่ 1 ความร้พู ้ืนฐานเก่ียวกบั ระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร์

ตลอดจนสามารถย่อหรือขยาย เพอ่ื ดรู ายละเอียดของข้อมลู ท่ไี ด้จัดเกบ็ ไว้อย่างรวดเร็ว และส่งิ ทีเ่ ชื่อมโยงกับระบบ คือ ข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของตำแหน่งนั้น ๆ เช่น เลขที่บ้าน หมายเลขเสาไฟฟ้า ขนาดพื้นที่ ให้ปรากฏบน ภาพหรือข้อมูลเชิงพื้นที่ที่แยกเป็นชั้น ๆ เหมือนขนมชั้น มาซ้อนทับกัน ทำให้สามารถพิจารณารายละเอียด ของ แตล่ ะชัน้ ข้อมลู รวมทง้ั การพจิ ารณารวมกันได้

การจัดเกบ็ ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ช่วยประหยัดเวลา และสะดวกรวดเรว็ ในการสืบคน้

ดา้ นการสบื คน้ ช้ันขอ้ มูล ลักษณะของข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่แยกเป็นชั้นข้อมูล โดยในแต่ละชั้นข้อมูล เป็นตัวแทนของวัตถุ

แต่ละประเภท และมีตำแหน่ง ทางภูมิศาสตร์บนพื้นโลก เช่น เส้นทางคมนาคม มีถนนหลายประเภท ทั้งถนน คอนกรีต ถนนลาดยาง และถนนลูกรัง หรือชั้นข้อมูล ของการใช้ที่ดิน มีการใช้ที่ดินหลายประเภท ทั้งพื้นที่ปลูก ข้าว พื้นที่ปลูกอ้อย พื้นที่ชุมชน ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ได้จัดเก็บไว้ในชั้นข้อมูล การสืบค้นข้อมูลแต่ละประเภท สามารถกระทำได้ ดว้ ยวิธกี ารคน้ หาขอ้ มูลเชิงพนื้ ท่ี ร่วมกบั ขอ้ มูลเชงิ ลักษณะ

การค้นหาจากขอ้ มลู เชิงพื้นท่ี .

ขอ้ มลู เชิงพื้นทเ่ี ปน็ ข้อมูลท่ีแสดงภาพแบบกราฟิก ข้อมูลที่ซ้อนกันหลายๆ ชั้น ณ ตำแหน่งนน้ั ไม่ว่าจะเป็นจุด เส้น

หรือพื้นที่ เมื่อทำการเลือกพื้นที่หรือตำแหน่งที่น่าสนใจแล้ว ระบบสามารถไปคัดเลือกและแสดงผลชั้นข้อมูลที่มี

ความเชื่อมโยงทางตำแหน่ง แล้วแสดงผลข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถสร้างข้อมูลเชื่อมโยงหลายมิติ เช่น ช้ัน

ข้อมูลกำหนดตำแหน่งที่เกิดการระบาด ของโรคไข้หวัดนก ระบบก็สามารถเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ของหมู่บ้าน ตำบล

อำเภอ และจงั หวัดท่เี กิดโรคได้ นอกจากน้ี ยังสามารถเชือ่ มโยงกบั เส้นทางคมนาคมท่ตี ้องผา่ นพ้ืนท่ีนั้น เพ่อื นำไปสู่

การวางแผนป้องกันตอ่ ไป

ขอ้ มูลเชงิ ลักษณะในรปู แบบตาราง

12 *คดั จากโครงการสารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน

ส่วนที่ 1 ความรูพ้ ้ืนฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภมู ิศาสตร์

การค้นหาจากขอ้ มูลเชิงลกั ษณะ การค้นหาจากข้อมูลเชิงลักษณะ เปน็ การสืบคน้ ข้อมลู ทีม่ อี ยูใ่ นฐานข้อมลู ชนิดเชิงสัมพันธ์ ในรูปแบบของ

ตาราง ที่มีระบบเชื่อมโยงข้อมูลเชิงลักษณะกับข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบช่วยสอบถาม (query) เช่น เมื่อพิมพ์คำว่า "วัดพระแก้ว" ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลลักษณะ ของวัดพระแก้ว กับตำแหน่งเชิง พื้นที่ และแสดงผลตำแหน่งกราฟิกตรงกัน หรือในกรณีที่ หากต้องการค้นข้อมูล ที่มีลักษณะเหมือนกัน ก็สามารถ สร้างฐานข้อมูล และกระบวนการเรียงลำดับข้อมูล จากข้อมูลน้อย ไปหาข้อมูลมาก และกำหนดช่วงข้อมูลท่ี ต้องการ เช่น ต้องการทราบว่า จังหวัดใดมีขอบเขตพื้นที่น้อยที่สุด หรืออยู่ในอันดับ 10 ของประเทศ ระบบ สามารถจัดลำดบั และแสดงผลไดอ้ ย่างชัดเจน และรวดเรว็ การคน้ หาขอ้ มลู เชงิ พื้นทร่ี ว่ มกบั ข้อมลู เชงิ ลักษณะ

ในการปฏิบัติงานจริงและเป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อน เช่น ต้องการตัดสินใจว่า มีถนนคอนกรีตในบริเวณ ใด ที่มีกำหนด จะต้องซ่อมแซม และจะใช้งบประมาณเท่าใด จำเป็นต้องใช้วิธีการค้นหาข้อมูลทั้ง 2 ระบบ ผสมผสานกัน โดยอาจทำการเลือกข้อมูลประเภทถนน ต่อจากนั้นให้ระบบแสดงเฉพาะท่ีเป็นถนนคอนกรีต เม่ือ ระบบแยกประเภทถนนคอนกรีตออกมาแล้ว ให้ระบบจำแนกช่องจราจร ว่าถนนคอนกรีตนั้น มี 6 ช่องจราจร 4 ช่องจราจร หรือ 2 ช่องจราจร และช่องจราจรช่องใดที่ถนนมีความเสียหาย เสร็จแล้วจึงนำไปวิเคราะห์พื้นที่ผิว จราจรว่ามีความเสียหายกี่ตารางเมตร ซึ่งการปฏิบัติงานที่มีรายละเอียดระดับนี้ในการจัดเก็บข้อมูลจะมีความผิด พลาดทางตำแหน่งไดไ้ ม่เกนิ 2 เซนตเิ มตร ด้านการซอ้ นทับและการตัดขอ้ มูลเชงิ พืน้ ท่ี (Merge and Clip)

การแปลงข้อมลู ท่ีเคยจัดทำในอดีตนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ทำใหท้ ราบถึงปญั หาทเี่ คยเกดิ ขน้ึ ในอดีตว่า พื้นที่ น้ัน มีความสัมพันธ์ต่อเนอื่ งกบั ข้อมูลอ่ืนอยา่ งไร เชน่ เม่อื มแี ผนท่ีชุดดิน ขอ้ มูลจะมแี ตร่ ายละเอียดเร่ืองของดิน แต่ ถ้าต้องการทราบว่า ชุดดินนั้นวางอยู่บนชุดหินอะไร จำเป็นต้องนำแผนที่ธรณีวิทยามาซ้อนทับ (merge) และหาก ตอ้ งการรายละเอียดลกึ ลงไปอีกว่า มีสภาพภูมปิ ระเทศแบบไหน และมีค่าความลาดชันของภูมปิ ระเทศเท่าไรในแต่ ละชุดดิน การซ้อนทับข้อมูล ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ก็สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ทำให้เกดิ ชั้นข้อมลู ใหม่ท่ี ผสมผสานข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ต่อจากนั้น จึงนำข้อมูลที่ได้ผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายไปจัดกลุ่มใหม่ เกิดเป็นแผนที่ชุด ใหม่ที่แสดงรายละเอียดของชุดดิน ผสมผสานกับสภาพทางธรณีวิทยา ค่าความลาดชัน และสภาพภูมิประเทศ ซ่ึง สามารถเลือกชุดข้อมูลที่ต้องการ โดยการตัดข้อมูล หรือขอบเขตที่ไม่ต้องการออกไปได้ด้วยกระบวนการตัดข้อมลู (clip) กระบวนการซ้อนทับและตัดข้อมูลเชิงพื้นที่ มีความหลากหลายในผลลัพธ์ และวิธีการที่จัดทำ ซึ่งเป็นการ ปฏิบตั ิงานพื้นฐานของการวิเคราะห์และสังเคราะหข์ ้อมลู ใหม่

ดา้ นการสรา้ งข้อมูลแนวกนั ชน (Buffer)

13*คัดจากโครงการสารนกุ รมไทยสำหรับเยาวชน

ส่วนที่ 1 ความรู้พ้นื ฐานเกี่ยวกบั ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถสร้างขอบเขตพื้นที่ แนวกันชน โดยการสร้างวงรอบจากจุด เส้น หรือ พ้นื ท่กี ำหนดได้ เชน่ การเกิดการระบาดของโรคไข้หวัดนก จะต้องกนั เขตพื้นที่ออกไปประมาณ 5 กิโลเมตร ระบบ จะสามารถตัดข้อมูลในพื้นที่ 5 กิโลเมตร ทำให้ทราบจำนวนสิ่งต่างๆ ในบริเวณดังกล่าว เช่น จำนวนเล้าไก่ หมู่บ้าน หลังคาเรือน ประชากรที่มีความเสี่ยง ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บและตัดออกมาเฉพาะบริเวณสามารถนำไปสู่ กระบวนการป้องกันได้ การประมาณค่าเชิงพ้ืนท่ี

การจัดเก็บข้อมูลในภาคสนาม ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทุกบริเวณ และเกือบทั้งหมดเป็น การสุ่มเก็บ ตามหลักการที่กำหนดไว้ เมื่อได้ข้อมูลมาใส่ลงในแผนที่ อาจพบช่องโหว่ของข้อมูล จึงจำเป็นต้อง ประมาณค่าข้อมูล ของส่วนที่ขาดไป โดยใช้หลักการประมาณค่าเชิงพื้นที่ เช่น การทำแผนที่ภูมิประเทศ การวัด ข้อมูลความสูงและความลึก การวัดเป็นจุดตำแหน่ง การหาความหนาแน่นของประชากร แนวโน้มการกระจายตัว ของโรคพืช สภาพภูมิอากาศ จำเป็นต้องสร้างข้อมูล เป็นพื้นที่ที่ต้องนำผลประมาณการนี้ไปสร้างข้อมูลอื่นต่อไป ซึ่งหลักการสร้างข้อมูล สามารถนำข้อมูลข้างเคียงมาหาค่าเฉลี่ย ของระยะทางจากจุดหลายๆ จุดที่อยู่รอบและ สัมพันธ์กัน

ข้อมูลที่ได้จากชั้นข้อมูลเชิงพื้นที่ และข้อมูลเชิงลักษณะ สามารถนำไปวิเคราะห์ และสร้างข้อมูลใหม่ได้ อย่างหลากหลาย ตามความชำนาญของแต่ละสาขาวิชา ซึ่งไม่จำกัดอยู่เฉพาะนักภูมิศาสตร์เท่านั้น แต่ยังขยายไป ถึงนักวิชาการด้านการเกษตร นักวิชาการด้านป่าไม้ นักธรณีวิทยา นักออกแบบและวางแผนชุมชนเมือง นัก เศรษฐศาสตร์ รวมทั้งแพทย์ที่กำกับ และควบคุมโรคระบาด แม้กระทั่งตำรวจที่ศึกษาในด้านอาชญาวิทยาก็นำ ข้อมูลไปใช้ และประสบผลสำเร็จ ทำให้ประหยัดเวลา ในการสืบค้น และสามารถติดตามวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่าง รวดเร็ว ดังนั้น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นับวันยิ่งมีการพัฒนา และนำมาประยุกต์ใช้ในศาสตร์ต่างๆ ได้ หลากหลายเพิม่ ข้ึน

ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตรม์ คี วามเกยี่ วข้องกบั ชวี ติ ประจำวนั ของมนษุ ย์ ในอดีต ในการปฏิบัติงาน คำถามที่มักพบเสมอๆ คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทำไม

เหล่านีเ้ ป็นคำถามทีค่ ำตอบ ไม่จำเปน็ ตอ้ งมีการวิเคราะห์ข้อมูลมากนัก ต่อมาเม่ือมีการคิดวเิ คราะห์ข้อมลู ทางสถิติ แผนที่กระดาษ การตรวจสอบภาคสนาม คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นคำตอบเฉพาะพื้นที่ และพิจารณาคำตอบ เฉพาะส่วน แต่เมื่อเกิดระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ขึ้น ลักษณะของคำตอบสามารถเชื่อมโยงกันได้หลายรูปแบบ โดยรูปแบบของข้อมูลสามารถเก็บบันทึกไว้ในระบบ และแสดงผลย้อนหลัง ไปในเหตุการณ์ ที่สามารถจำลอง ภาพเสมือนจริงในอดีต และเมื่อมีคำถามที่ถามต่อว่า จะมีผลอย่างไร แล้วจะวางแผน หรือหาวิธีแก้ไขอย่างไร เนื่องจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถแสดงผลในด้านสถิติ ข้อมูลความเหมือนหรือความแตกต่าง ของ สภาพพืน้ ท่ี เวลา สภาพแวดล้อม และข้อมูลต่าง ๆ ทจ่ี ัดเก็บไวใ้ นช่วงเวลาตา่ ง ๆ กนั แล้วนำมาแสดงผล ทำใหช้ ว่ ย เพิ่มข้อมูล ในการวางแผนและตัดสินใจบนพื้นฐานที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุดด้วยวิธีการที่ชัดเจน โดยมี กระบวนการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาจากค่าจริงและค่าสมมติ ทำให้สร้างสถานการณ์ เสมือนจริง ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ จึงมีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ โดยอาจอ้างอิงกับค่าพิกัด ทางภูมิศาสตร์ หรือไม่ไดเ้ กี่ยวขอ้ งกับทางภมู ศิ าสตร์ เช่น การศึกษาร่างกายมนษุ ย์ ที่มีการแยกชั้นข้อมูล ตั้งแต่ช้นั ผวิ หนังต่าง ๆ จนถึงชัน้ กระดูก

14 *คดั จากโครงการสารนุกรมไทยสำหรบั เยาวชน

ส่วนที่ 1 ความรพู้ ื้นฐานเก่ียวกับระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์

ในการนำข้อมูลด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ สามารถจำแนกชั้นข้อมูลได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้อมูลที่ไม่เปลี่ยนแปลง (static layer) และกลุ่มข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (dynamic) ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลอื่น ๆ จากแนวคิดนี้ จึงได้มีการ นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ไปใช้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่อง แผนที่ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว แต่เป็นแผนที่ที่มีชีวิต หรือมีการเคลื่อนไหว โดยมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล และนำข้อมูลไปใช้ในชีวิตประจำวัน ดัง ตัวอยา่ งการประยกุ ตใ์ ช้ ทีเ่ กดิ ขึ้นดงั น้ี

ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์นำไปใชว้ างแผนการท่องเทย่ี วได ้

ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตรเ์ พอ่ื งานด้านการเกษตร ประเทศไทยได้จัดทำฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน

การวางแผนด้านการเกษตร ประกอบกับข้อมูลจากดาวเทียมทีออส (THEOS) ที่สามารถติดตามการใช้ที่ดินอย่าง ต่อเนื่องทุกช่วงเวลาที่ต้องการ ระบบฐานข้อมูลการเกษตร ประกอบด้วย ฐานข้อมูลดิน นำมาใช้เป็นข้อมูลด้าน การเกษตร เพือ่ การจำแนกพื้นทดี่ ิน และทำเปน็ แผนทดี่ ิน พรอ้ มแสดงความเหมาะสมของพ้นื ทีใ่ นการปลูกพืชชนิด ต่าง ๆ แผนที่ป่าไม้ แผนที่การใช้ประโยชน์จากที่ดิน ฐานข้อมูลน้ำ ประกอบด้วย สภาพของแหล่งน้ำ พื้นท่ี ชลประทาน บริเวณพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้ง แหล่งน้ำผิวดิน และตำแหน่งหลุมเจาะน้ำบาดาล ของน้ำใต้ ดิน ฐานข้อมูลลม หรือ สภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วย แผนที่ สภาพภูมิอากาศ การรายงานปริมาณน้ำฝน ความชื้น อุณหภูมิ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงสถานการณ์ของน้ำในแต่ละช่วงฤดูกาล ค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำฝนในแต่ ละพื้นที่ บ่งบอกพื้นที่ซึ่งอาจได้รับผลกระทบรุนแรงจากภัยแล้ง หรือน้ำท่วม และเมื่อนำข้อมูลเหล่านี้ มาจัดชั้น แลว้ สรา้ งข้อมูลใหมผ่ สมผสานกบั ขอ้ มลู ทไ่ี ดจ้ ากภาพถา่ ยดาวเทยี ม กอ่ ใหเ้ กดิ การประยกุ ต์ใชใ้ นงานด้านการเกษตร และงานวจิ ัยคน้ คว้าได้มากมาย

ตัวอยา่ งของลกั ษณะงานท่ีนำมาประยุกต์ใช้ เชน่ - การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่ เหมาะสมด้านเกษตรกรรม การวิเคราะห์นี้ ใช้ชั้นข้อมูลต่าง ๆ มาผสมผสานกนั ผลการศกึ ษาสามารถแสดงความเหมาะสมของ พื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งแยกพื้นที่เป็นระดับความเหมาะสมมาก หรอื ความเหมาะสมปานกลาง - การประเมินที่ดินสำหรับการหาความเหมาะสมของพืช ผล การศึกษาจำแนกพื้นที่ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ และนำไปบูรณาการ กับคุณภาพของดิน ที่มีผลกระทบต่อพืชชนิดต่าง ๆ โดย เปรยี บเทียบความตอ้ งการของพชื กับคุณภาพของดิน - การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตร เป็น การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาวิเคราะห์ วางแผนการ ผลิต ด้านการเกษตร ให้สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศ แหลง่ น้ำ ตามประเภท ของเกษตรกรรม รายได้ และความต้องการ การใช้ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตรใ์ นการวางแผนดา้ นการเกษตร ของตลาด

เพอ่ื บง่ บอกพ้นื ที่ทำนา ท่อี าจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

15*คัดจากโครงการสารนุกรมไทยสำหรับเยาวชน

ส่วนที่ 1 ความรู้พ้นื ฐานเกี่ยวกบั ระบบสารสนเทศภมู ิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภมู ิศาสตรเ์ พื่อการคมนาคม ผลของการพัฒนาเทคโนโลยีระบบบอกตำแหน่งพิกัดด้วยดาวเทียม (Global Positioning System:

GPS) ทำให้สามารถรู้ตำแหนง่ ของรถ เรือ เครื่องบิน หรือสิ่งของที่มกี ารติดตั้งอุปกรณ์เครื่องวัดพิกัดด้วยดาวเทียม ซึ่งสามารถติดตามได้ว่า ขณะน้ีวัตถุหรือสิ่งของนั้นอยู่ ณ ที่ใดบนโลก อุปกรณ์ชุดนี้ทำงานควบคู่กับแผนที่ที่สร้าง ขึ้น โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ซึ่งแสดงรายละเอียดของเส้นทางคมนาคม หรือสถานที่ต่าง ๆ โดยใช้ ประกอบกับข้อมูลดาวเทียม ซึ่งผู้ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์สร้างขึ้นมา หรือจากผู้ใช้เป็นผู้ระบุความ ตอ้ งการเพ่มิ เติม

ในการสร้างแผนที่เส้นทางคมนาคมที่แสดงข้อมูลเป็นเส้น มีความละเอียดของการบอกตำแหน่ง สูงกว่า การสร้างข้อมูลด้านการเกษตร เพราะถนนจะมีช่องจราจรหลายช่อง ได้แก่ 2 ช่องจราจร 4 ช่องจราจร 6 ช่อง จราจร 8 ช่องจราจร และ 10 ช่องจราจร แต่ละชอ่ งห่างกนั 3.5 เมตร นอกจากนี้ยังมีทางต่างระดบั ยกข้ึนเหนือผิว ทางเดิม และทางแยกต่างระดับที่มคี วามซับซ้อน ของการสร้างแผนท่ีและการแสดงตำแหน่งของรถ โดยเฉพาะการ แจ้งตำแหน่งอุบัติเหตุ ผู้เข้าไปช่วยเหลืออาจอยู่คนละฝั่งถนนก็ได้ ทั้งนี้ บนเส้นทางสำคัญจะมีการติดตั้งกล้องซีซี ทีวี (CCTV: Closed-Curcuit Television) เพื่อรายงานการจราจร ระบบนี้ได้ถูกเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ สารสนเทศภมู ิศาสตร์ ทำใหส้ ามารถแสดงภาพเคลอ่ื นไหว และแผนทบ่ี ริเวณน้นั ได้

ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการคมนาคม

ขนส่ง ที่ติดตั้ง เครื่องบอกตำแหน่งจากดาวเทียม ภายใน

ระบบจะมีหลายรูปแบบ รูปแบบทั่วไปคือ ผู้ใช้มีเครื่องรับ

สัญญาณ GPS ที่แสดงตำแหน่งรถ ของตนเอง และแผนท่ี

ที่ติดตั้งมาด้วย หรือรับสัญญาณ จากทาง

โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถ

กำหนดตำแหน่งจากจุดเริ่มต้น ไปยังจุดหมายปลายทาง

ควบคมุ การจราจรโดยกล้องซีซีทีวี (CCTV) ว่า สามารถเดินทางไปเส้นทางใด อีกรูปแบบหนึ่งเป็น ระบบ เพื่อใช้การบริหารจัดการการขนส่ง เครื่องรับ

สัญญาณ GPS จะถูกติดตั้งไว้ในตัวรถ เพื่อดูว่าคนขับรถได้ไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้หรือไม่ ระบบสามารถ

ควบคุมการใช้น้ำมัน ช่วงเวลาที่ควรซ่อม เปลี่ยนเครื่อง และป้องกันการขโมยรถ โดยแจ้งไปยังศูนย์ควบคุม ให้

สามารถสัง่ ตดั ระบบนำ้ มันได้

การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ ในงานบริหารจัดการการขนส่ง หรือด้านการจัดส่งสินค้า

มีความสำคัญมากขึ้น ในด้านค่าใช้จ่าย โดยเป็นส่วนสำคัญ ต่อการวางแผนการจัดส่งสินค้า จากแหล่งผลิตไปยัง

โรงงาน จากโรงงานแปรรูป ส่งไปยังคลังสินค้า จากคลังสินค้า

ส่งไปยังตลาด และจากตลาดระบายออก สู่ผู้บริโภคได้ทันตาม

กำหนดเวลา ซึ่งช่วยลดความเสียหาย ของสินค้า อีกทั้งใน

กระบวนการ หากสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ จะทำให้ลด

ค่าใช้จ่าย และสามารถสร้างผลกำไรได้ จึงสามารถแข่งขันใน

ตลาด ท่ีนบั วนั จะต้องใชเ้ ทคโนโลยี เขา้ มาช่วยในการดำเนินงาน

ใชร้ ะบบสารสนเทศภมู ศิ าสตรช์ ว่ ยตอบปญั หาจราจร

16 *คัดจากโครงการสารนกุ รมไทยสำหรับเยาวชน

สว่ นท่ี 1 ความรพู้ น้ื ฐานเกี่ยวกบั ระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเ์ พื่อวเิ คราะห์และปอ้ งกนั สถานการณ์โรคระบาด ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ได้รับการพัฒนา และนำมาใช้ในการศึกษาด้านสถานที่ สถานการณ์การ

แพร่กระจายตัวของโรคระบาด และใช้ในการวางแผนงานการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยอาศัยฐานข้อมูล หลัก ซึ่งก็คือ ชั้นฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของขอบเขตการปกครองและประชากร สภาพภูมิประเทศ ตำแหน่งทต่ี ้ังของโรงพยาบาลและสถานท่ีบริการสาธารณสุข บรเิ วณท่เี กดิ โรคประจำถิน่ หรอื เกิดโรคระบาด เม่อื เกิดสถานการณ์โรคระบาดข้ึน กระบวนการทำงานของระบบ จะเริ่มจาก การกำหนดตำแหน่ง ของบริเวณท่ีเกิด โรคว่าอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอใด จำนวนผู้ป่วยเท่าใด ภาพเบื้องต้น จะแสดงเป็นระดับสี 5 ระดับ คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก สูง ปานกลาง เล็กน้อย และต่ำ จากนั้น จึงนำฐานข้อมูล ที่อาจเป็นปัจจัย เสี่ยงต่อการเกิดโรคมาพจิ ารณา ได้แก่ สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ อาชีพ สภาพแหลง่ น้ำ สภาพเส้นทาง คมนาคม ฟาร์มต่าง ๆ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่นักระบาดวิทยาได้กำหนดขึ้น เพื่อนำไปสู่กระบวนการป้องกัน และ ควบคุมการแพร่ระบาด โดยการกำหนดแนวพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ออกจากแหล่งระบาด 5 กิโลเมตร เช่น กรณีโรคไข้หวัดนก จากฟาร์มไก่ที่เกิดโรคระบาดในรัศมี 5 กิโลเมตร ถ้ามีฟาร์มอยู่ในพื้นที่จำเป็นต้องถูกควบคุม เพื่อตัดวงจร ของการแพร่กระจายของโรค กระบวนการ ที่กล่าวนี้เป็นกรณีฉุกเฉินที่เกิดในสถานการณ์โรคระบาด กระบวนการที่ตามมาอีกขั้นหนึ่ง คือ กระบวนการท่ี สิ้นสุดการระบาด พื้นที่ที่เกิดโรคระบาดจะถูกบันทึกใน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กลายเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง เพราะเชื่อว่า โรคอาจฝังตัวอยู่ในพื้นที่ เมื่อสภาพ เหมาะสมกอ็ าจยอ้ นกลับมาเกดิ ไดอ้ ีก

ในการศึกษากรณีโรคระบาดมีการนำระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ เช่น กรณีเกิดโรคไข้หวัดนก งานวิจยั ของ Tiensin, T., et al (2005) ทรี่ วบรวมข้อมูล โรคระบาดในประเทศไทย กรณีเกิดโรคฉี่หนู งานวิจัย แผนท่ีแสดงการกระจายตวั ของสัตว์ในประเทศไทย พ.ศ. 2546 ของ Moukomia, S., et al (2007) ท่ศี กึ ษา ในพ้นื ที่ จังหวัดนครราชสีมา

ระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตรเ์ พอ่ื ปอ้ งกันภยั พิบัติ นำ้ ท่วม ดนิ ถล่ม ภัยแล้ง ผลของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น และอยู่อาศัยรวมกัน เป็นจำนวน

มากในแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดภัยพิบัติ ความเสียหายจะมีความรุนแรงมากทั้งชีวิตและทรัพย์สินปัจจุบันยังไม่มี วิธกี ารหยุดยั้งไมใ่ ห้เกิดภัยพบิ ัติได้ แตเ่ ราสามารถทราบถึงพ้ืนที่ที่มีแนวโนม้ ท่ีจะเกิดภัยพิบัติได้ ด้วยการนำระบบ

สารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และสร้างสถานการณ์จำลอง เพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่เคย เกิดขึ้นมาแล้ว และนำตัวอย่างนั้น มาคาดคะเนพื้นท่ี ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก เพื่อสร้างระบบเตือนภัย และ วางแผนป้องกัน ทำให้ความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ลดลงได้ หลักการสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ต้อง จัดทำข้อมูล 3 สถานการณ์ คือ ก่อนเกิดสถานการณ์ ระหว่างเกิดสถานการณ์ และหลงั เกิดสถานการณ์

17*คัดจากโครงการสารนกุ รมไทยสำหรบั เยาวชน

สว่ นที่ 1 ความร้พู ้นื ฐานเกี่ยวกบั ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

การจัดทำข้อมูลก่อนเกิดสถานการณ์ ประกอบด้วยชั้นข้อมูลต่าง ๆ คือ สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ สภาพทางน้ำและแหล่งน้ำ ความ

ลึกของทะเล รอยเลื่อนแผ่นดินไหว ธรณีวิทยา พื้นที่ขาดแคลนน้ำ พื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดภัยพิบัติ เส้นทาง คมนาคม ขอบเขตการปกครอง สถานพยาบาลภาครัฐ รวมทั้งที่ตั้งของโรงเรียน วัด และโรงแรม ซึ่งเป็น ฐานข้อมูลพื้นที่ สำหรับเคลื่อนย้ายประชาชน ไปยังจุดปลอดภัย หรือจุดรวมตัว ฐานข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ถูก นำมาวเิ คราะหเ์ พือ่ สรา้ งระบบเตือนภัยของพ้นื ท่ที ่ีเกดิ ภัยพบิ ตั ิ และมคี วามรนุ แรงไมเ่ ท่ากัน

การจดั ทำข้อมูลระหว่างเกดิ สถานการณ์ ในระหว่างเกิดสถานการณ์ ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับข้อมูลจากภาคสนาม อาจเป็นข้อมูลจากการบิน

ถ่ายภาพ ภาพถ่ายจากดาวเทียม รายงานการสื่อสารทางใดทางหนึ่ง เพื่อดูสภาพพื้นที่ที่เสียหายว่า มีบริเวณ กว้าง-ยาวเท่าไร พื้นที่ใดยากต่อการเข้าถึง การส่งเสบียงอาหาร และการช่วยเหลือต้องใช้วิธีใด การซ้อนทับ ข้อมูลก่อนเกิดสถานการณ์ และข้อมูลปัจจุบัน สามารถพบสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ทราบถึงความรุนแรง และสามารถกำหนดตำแหน่งของผู้ประสบภัยในสถานการณ์นั้น ๆ ซึ่งอาจแจ้งภัยที่เกิดขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ พรอ้ มกบั แผนที่ งานช่วยเหลือภาคพนื้ ดินกจ็ ะเขา้ ถึงพน้ื ทไ่ี ด้อย่างรวดเร็ว

การจัดทำขอ้ มลู หลงั เกิดสถานการณ์ มักพบความเสียหายด้านชีวิตและทรพั ยส์ ิน โดยตำแหน่งในการจดั สง่ เสบียง และการช่วยเหลอื ประชาชน

ที่ตกค้าง สามารถตรวจสอบได้ จากการสร้างแผนท่ี การกำหนดตำแหนง่ ผู้เสียชีวติ พื้นที่เสียหาย พร้อมทั้งเขยี น ค่าพิกัดและบันทึก ลงในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และถ่ายภาพเส้นทางที่ถูกตัดขาด แหล่งน้ำที่ใช้ในพื้นที่ หมดสภาพ เพื่อการวางแผนด้านงบประมาณ และปรับคืนสภาพต่อไป ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้สามารถนำไปใช้ใน การวางแผนปอ้ งกัน และลดความเสยี หาย ทอี่ าจจะเกิดขึน้ ในอนาคต ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตรอ์ าจนำมาใช้ใน การประเมนิ พนื้ ทท่ี ไี่ ด้รับความเสียหาย จากภัยพบิ ตั ิ เพ่อื การชดเชยหรอื ชดใช้ค่าเสยี หายท่ีเกิดข้ึนอย่างเป็นธรรม ทง้ั ต่อฝ่ายท่ีไดร้ บั ความเสียหาย และฝ่ายทีต่ อ้ งจ่ายคา่ ชดเชย

ภาพถ่ายดาวเทยี มอิโคนอส (IKONOS) แสดงขอ้ มูลกอ่ นและหลังเกดิ สถานการณ์การเปล่ียนแปลงจากภัยพบิ ตั สิ ึนามิ บรเิ วณเขาหลกั จงั หวัดพังงา

18 *คัดจากโครงการสารนกุ รมไทยสำหรับเยาวชน

ส่วนที่ 1 ความร้พู ้นื ฐานเกี่ยวกบั ระบบสารสนเทศภมู ิศาสตร์

ทั้งหมดนี้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีส่วนช่วยในการค้นคว้าหาคำตอบได้เป็นอย่างดี ความสามารถใน การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาใช้ นับวันจะเพิ่มทวีตามข้อมูลที่เพิ่มขึ้นจากข้อมูลที่แสดงผลข้อมูลเป็นชั้น ๆ ที่ถูกแยกชนิดและประเภท เริ่มจากข้อมูลที่จัดเก็บในภาคสนามและเอกสารที่คัดลอกลงในระบบคอมพิวเตอร์ นำมาเชื่อมโยงกับข้อมูลรายละเอียด ที่อยู่ในตารางอธิบาย แล้วเชื่อมโยงเข้ากับข้อมูลตำแหน่งแสดงภาพจำลอง และจากข้อมลู 2 มิติ ได้รับการพัฒนามาเป็นข้อมูล 3 มิติ ที่สามารถเชื่อมโยงกับภาพถา่ ยและภาพจากวิดีโอ ทำ ให้เห็นรายละเอียด ตามมาตราส่วนต่าง ๆ ซึ่งสามารถย่อขยายและเปรียบเทียบ ศึกษาข้อมูลและเพิ่มข้อมูลท่ี เป็นจริงและที่สมมติขึ้น สามารถนำมาใช้ และช่วยเพิ่มข้อมูล เพื่อการบริหารงานและการตัดสินใจของผู้บริหาร สำหรับการแก้ไขปัญหาทก่ี ำลงั เกดิ ขึ้น บนพืน้ ฐานขอ้ มลู ทีถ่ กู ต้อง และใกล้เคยี งความจริงมากท่ีสดุ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นอกจากนำมาใช้ในกิจการดังกล่าวแล้วนั้น พบว่า ยังมีอีกหลาย หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ที่ได้นำมาศึกษา ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านป่าไม้ การทำแผนที่ท่องเที่ยว สถานี บริการน้ำมนั แผนทีอ่ าชญากรรม แผนที่รายได้ประชากร แผนทีภ่ าษีในระดับตำบล การวิเคราะห์ด้านการตลาด การขนส่ง และอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ ขึ้นกับการรวบรวมข้อมูล และการจัดเก็บข้อมูลใหม่ ทำให้เกิดแนวคิด พัฒนาอยา่ งตอ่ เน่ือง

ขอ้ เสนอแนะ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบ

หลัก 5 อย่าง คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ บุคลากร กระบวนการวิเคราะห์ และข้อมูล ทั้งหมดมีความสัมพันธ์และ ความต้องการของงานในระดับต่าง ๆ การเลือกใช้ จำเป็นต้องพิจารณางบประมาณและเป้าหมายที่ต้องการ ซ่ึง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องมีการพัฒนา ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อการค้าและ ความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเน่ือง การคัดเลือกอุปกรณ์จงึ ต้องมีความเหมาะสม กับขอบข่ายของงาน หากเปน็ การเรยี นรู้เบอ้ื งตน้ กไ็ ม่สมควรเลือกอุปกรณท์ ม่ี รี าคาสูงจนเกินไป แต่ถา้ เปน็ งานด้านการป้องกนั ดา้ นการวิจยั และ มีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ก็จำเป็นต้องเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีระดับความสามารถสูง อย่างไรก็ดี ต้องดทู ่ีระดบั ความสามารถของบุคลากรดว้ ย

องค์ประกอบในดา้ นฐานขอ้ มูลของบคุ ลากร และวิธกี ารก็เข้ามามสี ่วนสำคัญตอ่ ระบบการทำงานดว้ ย หาก หน่วยงานมีการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง มีวิธีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ วิจัย ติดตาม และสร้าง สถานการณ์จำลองขึ้น สำหรับทำนายเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ ฐานข้อมูลก็จะมีปริมาณมากขึ้น โดยฐานข้อมูลมี 2 ประเภทหลัก คือ ฐานข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น ภูเขา ที่อยู่อาศัย ถนน และ ฐานข้อมูล ที่มีการเปล่ียนแปลงอยา่ งต่อเนื่องรวดเร็ว เช่น สภาพภูมิอากาศ พายุ ฐานข้อมูลจราจร เมื่อนำ 2 ส่วน มาผสมผสานกัน สามารถทำนาย เหตุการณ์ บริเวณที่อาจเกิดภัยพิบัติ และการ แก้ไขปัญหาการจราจร ด้วยเหตุนี้ บุคลากรที่มี ความชำนาญแตล่ ะด้าน ได้แก่ ผชู้ ำนาญการด้าน ฮาร์ดแวร์ (hardware specialist) ผู้บริหาร ร ะ บ บ ( system administrator) ผ ู ้ จ ั ด ก า ร ฐานข้อมูล (database manager) จำเป็นต้อง พฒั นาตนเอง เพ่ือใช้ขอ้ มลู สารสนเทศภูมิศาสตร์ อย่างมีประสิทธิภาพ หรือกำหนดวิธีการ หรือ แนวคิด เพ่ือสรา้ งระบบวิเคราะห์ขน้ึ มารองรับใน แตล่ ะดา้ น

19*คดั จากโครงการสารนุกรมไทยสำหรบั เยาวชน

สว่ นที่ 1 ความรพู้ ้นื ฐานเก่ียวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทสรปุ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีศักยภาพ และประสิทธิภาพสูง ในการนำมาใช้ เพ่ือ การวางแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ต่างตระหนักถึงความสำคัญของระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นอย่างดี จึงทยอยดำเนินโครงการพัฒนา "โครงสร้างพื้นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของ ชาติ" (National Spatial Data Infrastructure: NSDI) ขึ้นมา เพื่อให้การดำเนินการด้านระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์เป็นไปอย่างเป็นเอกภาพในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับภาค จนถึงระดับประเทศ และในทุก ภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสถาบันการศึกษา ประเทศไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการเพ่ือ การพัฒนา NSDI นี้อย่างจริงจัง ให้เกิดผลทั่วประเทศ ทุกระดับ และทุกภาคส่วน หลักการของการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเชิงพื้นที่นี้ เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้ง ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยน และแบ่งปันข้อมูลระหว่างกลุ่มผู้ใช้ข้อมูล และให้มีความร่วมมือระหว่างองค์กรทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสถาบันการศึกษา เพื่อให้มีการปฏิบัติการในแนวเดียวกันอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยที่ ภาครัฐมีส่วนในการจัดหาและจัดให้มีแนวนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่อย่างรอบคอบและครอบคลุม ตลอดจน จัดหา และส่งเสรมิ ใหม้ ีการเขา้ ถงึ ข้อมลู ตามความตอ้ งการที่เป็นจริง ในขณะเดยี วกันกใ็ หค้ วามสำคัญในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เช่น ด้านความปลอดภัย ด้านการพัฒนาประเทศ รวมทั้งจัดหาและส่งเสริมให้มีมาตรฐานกลาง สำหรับนำไปใช้อย่างเป็นบรรทัดฐานเดียวกันทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการฝึกอบรม และถ่ายทอดความรู้ อย่างเหมาะสม และทั่วถึง เพื่อนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเพื่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดตอ่ ประเทศชาติ และสงั คมโลกโดยรวม

ความร่วมมือกันหลายภาคส่วนในการพัฒนาอย่างยั่งยนื โดยใชห้ ลักการโครงสรา้ งพ้นื ฐานภูมสิ ารสนเทศ

20 *คัดจากโครงการสารนกุ รมไทยสำหรับเยาวชน

ส่วนที่ 2 การประยกุ ต์ใช้ระบบฯ กับงานต่าง ๆ และการพัฒนาสังคม

ส่วนที่ 2

การประยกุ ตใ์ ชร้ ะบบฯ กับงานต่าง ๆ และการพฒั นาสงั คม

หลกั การประยกุ ตร์ ะบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร์กบั การพัฒนาสังคม ปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือจะประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการพัฒนาสังคมได้อย่างไร

ดังทไี่ ดท้ ราบจากบทความตอนต้นแลว้ ว่าพอสรุปได้ว่าระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร์ มีคณุ ลักษณะเดน่ อยู่ 3 ประการ คือ

1. การแสดงขอ้ มูลเชงิ พนื้ ที่ จากข้อมูลรูปแบบ “ตาราง” - ด้วยข้อมลู แบบจุดของตำแหนง่ ทส่ี นใจในพนื้ ท่เี ช่น ตำแหน่งบา้ น ตำแหน่งสถานท่สี ำคญั ตำแหนง่ หมบู่ า้ น เป็นต้น โดยใชค้ า่ พิกดั ฉากยทู เี อ็ม หรอื คา่ ละตจิ ดู ลองจจิ ูด ของตำแหนง่ น้นั ๆ - ด้วยขอ้ มูลแบบพ้นื ทีร่ ปู ปิด เชน่ ขอบเขตตำบล ,อำเภอ,จังหวดั หรือแผนทรี่ ูปปดิ อ่ืน ๆ ทสี่ ร้าง ขึ้นมาเองเชน่ ขอบเขตแปลงทดี่ นิ ขอบเขตพืน้ ที่เพาะปลกู เป็นตน้ - ดว้ ยขอ้ มลู ท่เี ปน็ เสน้ เช่น ถนน ลำน้ำ เส้นทางต่าง ๆ เปน็ ตน้

2. การใช้สูตรคำนวณประมวลผลข้อมูลในตาราง เช่น คำนวณค่าตัวแปรจากตาราง ในคอลัมน์ตั้งแต่ 1 คอลัมน์ขึ้นไปเพื่อให้ได้ค่าในคอลัมน์ที่ต้องการเหมือนการคำนวณสูตร Excel และสามารถนำค่าที่ได้นั้นแสดงบน แผนท่ไี ดด้ ว้ ย

3. เป็นเครื่องมือพยากรณ์แนวโน้มหรือเหตุการณ์เชิงพื้นที่ที่น่าจะเป็นเชิงพื้นที่ จากข้อมูลที่มีอยู่ใน ตาราง เช่น การคาดการณ์พื้นท่ีที่จะถกู นำ้ ท่วมเมื่อมีปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้นตามปริมาณท่ีคาดการณ์ กรณีนี้ข้อมูลท่ี จำเป็นจะประกอบด้วย ปริมาณน้ำฝน ประสิทธิภาพการระบาย แผนที่เส้นชั้นความสูง แผนที่แปลงถือครอง ทีด่ ิน เปน็ ตน้

ดังน้ันข้อสำคัญประการแรกจึงตอ้ งระบุวัตถุประสงค์หลักของการทำงานก่อนว่าต้องการใช้ ระบบ สารสนเทศภูมศิ าสตร์“เปน็ เคร่ืองมือ” เพือ่ ให้เกดิ ผลลัพธ์อะไร และจำเป็นตอ้ งใชข้ อ้ มลู อะไรบ้างในการ ประมวลผล พงึ ระลกึ เสมอว่าระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ เป็นเพยี งเคร่ืองมือเท่าน้นั และมีข้อจำกดั เหมือนระบบ คอมพิวเตอรท์ ่ัวไป คอื GIS ทำอะไรไดบ้ า้ งhttp://www.mahadthai.com/gis/basic_b.htm

1. Location What is at …?มอี ะไรอยทู่ ไี่ หน คำถามแรกที่ GIS สามารถตอบได้ คือ มีอะไรอยู่ที่ไหน หากผู้ถามรู้ตำแหน่งท่ีแน่นอน เช่น ทราบชื่อหมู่บ้านตำบล หรืออำเภอแตต่ ้องการรู้ว่าทีต่ ำแหนง่ นั้น ๆ ท่ีรายละเอียดขอ้ มูลอะไรบ้าง

2.Condition Where is it? สง่ิ ท่ีอยากทราบอย่ทู ่ไี หน คำถามนี้จะตรงกันข้ามกับคำถามแรก และต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการทราบว่าบริเวณ ใดมีดินที่เหมาะสมต่อการปลูกพืช อยู่ใกล้แหล่งน้ำ และไม่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ เป็นต้น 3. Trends What has changed since…?ในชว่ งระยะทผี่ า่ นมามีอะไรเปล่ยี นแปลงบา้ ง คำถามที่สามเป็นการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในระยะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งคำถามนี้จะเกี่ยวข้องกับคำถามที่ หนึ่งและคำถามที่สอง ว่าต้องการทราบการเปลี่ยนแปลงของอะไร และสิ่งที่ได้เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ไหน มีขนาดเทา่ ไร เปน็ ตน้

21

สว่ นที่ 2 การประยุกตใ์ ชร้ ะบบฯ กับงานต่าง ๆ และการพัฒนาสังคม

4. Patterns What spatial patterns exist? ความสมั พันธ์ดา้ นพืน้ ท่ีเป็นอยา่ งไร คำถามนี้ค่อนข้างจะซับซ้อนกว่าคำถามที่ 1-3 ตัวอย่างของคำถามนี้ เช่นเราอยากทราบว่าปัจจัยอะไรเป็นสาเหตุ ของการเกิดโรคทอ้ งร่วงของคนที่อาศยั อยู่เชิงเขา หรือเชื้อโรคมาจากแหล่งใด การตอบคำถามดังกลา่ ว จำเป็นต้อง แสดงที่ตั้งแหล่งมลพิษต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง หรืออยู่เหนือลำธาร ซึ่งลักษณะการกระจาย และตำแหน่งที่ตั้งของ สถานทด่ี งั กล่าวทำให้เราทราบถึงความสัมพนั ธข์ องปญั หาดงั กล่าว เปน็ ตน้

5. Modeling What if…? จะมอี ะไรเกิดขึ้นหาก คำถามนี้จะเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นหากปัจจัยอิสระ (independence factor) ซึ่งเป็นตัว กำหนดการเปลี่ยนแปลงไป ยกตัวอย่างเช่น จะเกิดอะไรขึ้นหากมีการตัดถนนเข้าไปในพื้นที่ป่าสมบูรณ์ การตอบคำถามเหล่านีบ้ างคร้งั ตอ้ งการขอ้ มลู อน่ื เพ่ิมเติม หรอื ใช้วธิ กี ารทางสถิตใิ นการวเิ คราะห์ เปน็ ต้น

GIS ทำอะไรไม่ได้บา้ ง GIS เป็นเพียงเครื่องมือ (tool) ที่ช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ สามารถทำได้รวดเร็ว และมี

ประสิทธิภาพแตอ่ ย่างไรกต็ าม GIS ไม่สามารถทำอะไรไดท้ ุกอย่าง เชน่ 1. GIS ไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลดิบ (raw data) ให้มีความถูกต้อง หรือแม่นยำขึ้นได้

ยกตัวอย่าง เช่น ได้นำข้อมูลแผนที่ดิน มาตราส่วน 1:100,000 ถึงแม้ว่า GIS สามารถพิมพ์แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 แต่ความแมน่ ยำของขอ้ มูลยงั คงเดมิ

2. GIS ไม่สามารถระบุความผิดพลาดของข้อมูลได้ ยกตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ GIS ได้นำเข้าข้อมูลดิน ทรายแต่ได้กำหนดข้อมูลดังกล่าวผิดพลาดเป็นดินร่วนปนทราย GIS ไม่สามารถบอกได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวให้ รายละเอยี ดข้อมลู ผดิ

3. GIS ไม่สามารถเปรียบเทียบคุณภาพของข้อมูล แต่ละชั้นข้อมูลหรือข้อมูลแต่ละแหล่งว่าข้อมูลชุดใด หรอื หน่วยงานใดผลิตข้อมลู ทีม่ ีคุณภาพมากนอ้ ยกวา่ กัน

4. GIS ไม่สามารถระบุได้ว่าแบบจำลองในการวิเคราะห์ หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่นักวิเคราะห์ GIS หรือผู้มี อำนาจตัดสินใจได้เลือกไปนั้น ถูกต้องหรือไม่ เพราะ GIS เป็นเพียงเครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เท่านัน้

5. GIS ไมท่ ราบมาตรฐานหรอื รปู แบบแผนทีท่ ี่เปน็ สากล ยกตัวอย่างเช่น ขอ้ มลู GIS ชุดเดยี วกนั แต่ถ้า นกั วเิ คราะห์ GIS 2 ทา่ น มาจดั ทำแผนที่ จะได้แผนที่ไม่เหมอื นกนั ความสวยงามแตกต่างกัน ข้ึนอยกู่ บั ประสบการณ์และความรูข้ องผูผ้ ลติ แผนท่ีเปน็ หลกั

6. GIS ไม่สามารถทดแทนความรู้ ความสามารถ ของผู้เชี่ยวชาญได้ ยกตัวอย่างเช่นการวิเคราะห์หาพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ยังมีความจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินและการวางแผนใช้ที่ดิน เป็นผู้ กำหนดปัจจัยหรือเงื่อนไขต่าง ๆ นักวิเคราะห์ GIS ถึงแม้ว่าจะมีประสบการ์ในการใช้โปรแกรม หรือมีข้อมูลเชิง พื้นที่และข้อมูลอธิบายครบถ้วน ไม่สามารถดำเนินการวิเคราะห์ดังกล่าวให้ได้ผลที่เป็นที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ได้ เพราะไมไ่ ดม้ คี วามรู้ในเรอ่ื งนั้น ๆ

จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่เท่านั้น ผู้ใช้จึงต้องมีความรู้ทั้งในภาพกว้างและลึกของงานที่จะทำ เพื่อจะได้จัดสรรทรัพยากรและใช้ข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสดุ น่ันเอง

22

ส่วนที่ 2 การประยกุ ตใ์ ช้ระบบฯ กบั งานตา่ ง ๆ และการพัฒนาสังคม

แหล่งขอ้ มูลของระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตรแ์ ละขอ้ ควรคำนงึ ดังที่ได้ทราบแลว้ ว่าหลกั ของระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตร์ คือการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปแบบตารางมา

ประมวลผลด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ จงึ ขอสรปุ ข้อมูลและแหลง่ ท่ีมา ดงั นี้ 1. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ข้อมูลประเภทตารางในการประมวลผลดังนั้นจำเป็นต้องแปลง ข้อมลู ในแบบสอบถามหรือแบบสำรวจข้อมลู เปน็ รปู แบบตารางกอ่ นหลักสำคญั คือ - ข้อมูลหนึ่งชุดข้อมูล จะต้องอยู่ในแถว(บรรทัด)เดียว ในตารางตัวอย่างเช่นข้อมูลของนาย ก จะมี เพียงบรรทัดเดียวในตาราง การบันทึกข้อมูลหนึ่งชุดข้อมูลในหลายแถว(บรรทัด)ระบบจะ ประมวลผลในแถว(บรรทัด)ที่มีคีย์หลักอยู่เท่านั้น เช่นในกรณีใชค้ อลัมน์ “ชื่อ สกุล” เป็นคีย์หลัก ระบบจะอ่านเฉพาะแถว(บรรทัด)ที่มีชื่ออยู่เท่านั้น แถวที่ไม่มีชื่อ สกุล (ว่าง-ไม่มีข้อมูล) ระบบจะ ไมอ่ ่านเป็นต้น - คุณสมบัติ/คุณลักษณะของคีย์หลักแต่ละแถว(ชุดข้อมูล)จะมีจำนวนเท่าใดก็ได้ไม่มีการกำหนด ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์/โปรแกรม แต่ขอแนะนำว่าควรจะมีไม่เกิน 30 คอลมั น์ทั้งน้ีเพ่ือสะดวกตอ่ การแสดงตารางการบันทกึ ข้อมลู และแกไ้ ขข้อมูล หากมีคุณสมบัติมาก เป็น 100 หรือ หลายร้อยคอลัมน์ จะพบปัญหาการบันทึกข้อมูลและแก้ไขข้อมูล อาจจะแก้ไขได้ โดยการสร้างตารางเป็นตารางย่อย ๆ หลายตารางและกำหนดคีย์หลักเพื่อเชื่อมโยงตาราง เหล่านั้นเขา้ ด้วยกนั ซงึ่ เปน็ เทคนิคคอ่ นขา้ งสูงและตอ้ งใช้ประสบการณเ์ พิ่มเตมิ 2. การกำหนดขอ้ มูลในตารางในคอลัมน์ต่าง ๆ ถ้าเป็นประเภทหรอื ลักษณะทจ่ี ดั กลุม่ ได้ควรกำหนดเป็น รหัส ซง่ึ จะงา่ ยต่อการบันทกึ ข้อมลู และประมวลผล 3. ในขั้นต้นเพื่อป้องกันความสับสน พึงระลึกไว้เสมอว่าแผนที่หนึ่งแผ่น(Layer) จะแสดงข้อมูลเพียง หนงึ่ คอลมั นเ์ ทา่ นัน้ ยกเวน้ ทา่ นทีม่ ีความชำนาญอาจจะประยุกต์ให้แสดงได้มากกว่าหนึง่ คอลมั นไ์ ด้ 4. การเลือกคอลัมนท์ จี่ ะนำเสนอ จึงควรเป็นคอลมั น์ท่ีน่าสนใจและสามารถนำไปขยายผล/ต่อยอดหรือ อธิบายหรือใชก้ ับงานทก่ี ว้างขวางโดดเด่นกวา่ คอลัมน์อนื่ 5. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จะแสดงผลการประมวลข้อมูลในรูปแผนที่แบบ จุด ,เส้น, รูปปิด เท่านั้น แต่สามารถเชื่อมโยงรูปภาพ หรือโปรแกรมชุดไมโครซอฟท์ออฟฟิส(Word, Excel, PowerPoint, etc) หรือภาพเคลื่อนไหว(Mpeg, Mp4)ได้โดยการใช้ Hyper Link ของโปรแกรมซึ่ง ทำใหก้ ารใช้ระบบมีความครอบคลุมกว้างขวางและน่าสนใจเพ่มิ ขน้ึ 6. แผนที่(Layer)มาตรฐานที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันประกอบด้วยชั้นแผนที่ต่าง ๆ สามารถใช้เพียงบางแผ่น หรือหลายแผ่นนำมาซอ้ นทบั กนั ได้ เช่น แผนที่ตำแหน่งหมู่บ้าน(เป็นจุด) แผนที่เขตตำบล,แผนที่เขต อำเภอ,แผนที่เขตจังหวัด (เป็นแผนที่รูปปิดแสดงขอบเขตของตำบล อำเภอ จังหวัด) เช่นอยาก ทราบวา่ บา้ นของกลุ่มเป้าหมายอยใู่ นตำบลใดบ้าง กส็ ามารถทราบไดโ้ ดยนำแผนทีเ่ ขตตำบลซ้อนทับ บนแผนที่บ้านกลุ่มเป้าหมายเป็นต้น ซึ่งแผนที่พื้นฐานเหล่านี้สามารถประสานขอได้จากสำนักงาน จังหวัด สำนักงานเกษตรจงั หวัด สำนักงานสถิติจังหวดั โยธาธิการและผังเมอื งจังหวัด ปฏิรูปที่ดิน จังหวัด ที่ดินจังหวัด หรือ สถาบันพัฒนาองค์กรเอกชน (พอช)ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวง การพฒั นาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ ที่มผี ู้แทนภาคครอบคลุมทกุ จงั หวัด 7. ค่าพิกัดฉาก ละติจูด ลองจิจูด สามารถใช้เครื่องมือค้นหาค่าพิกัดได้ เช่นเครื่องอ่านค่าพิกัด GPS , กล้องถ่ายรูประบบดิจิตอลหรือโทรศัพท์มือถือที่สามารถ Tag สัญญาณ GPSได้ หรือในกรณีที่รู้ บริเวณพื้นที่ที่จะดำเนินการ อาจอ่านค่าพิกัดได้จากแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth หรือ ระบบเทียบเคียงอื่น ๆ ได้ สำหรับท่านที่มีแผนที่รูปถ่ายทางอากาศมาตราส่วนต่าง ๆ เช่น 1:4000,1:5000 , 1:10000 1:50000 เปน็ ต้น สามารถอ่านค่าพิกัดไดจ้ ากแผนท่นี นั้ ๆ ได้

23

สว่ นที่ 2 การประยกุ ต์ใช้ระบบฯ กับงานต่าง ๆ และการพัฒนาสังคม

ตวั อย่างตารางทใี่ ช้บนั ทึกขอ้ มลู /ประมวลผล ในระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์

หวั ตาราง คยี ์หลกั คอลมั น์คณุ สมบตั ิ(Property)

ชุด ้ขอมูล(หนึ่งบรรทัดต่อหนึ่ง ้ขอมูล) คอลมั น์ระบตุ าํ แหนง่ ชดุ ข้อมลู

ตวั อย่างตารางข้อมลู ทีใ่ ช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โปรแกรม Quantum version 2.2

***ตารางนี้เป็นข้อมูลของประชาชนที่ประสบปัญหาสังคม เป็นข้อมูลระดบั บุคล/ครัวเรือน ซึ่งสามารถประมวลผล ด้วยระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์ (Quantum v.2.2) โดยคอลัมน์ที่ระบุตำแหน่งของประชาชน/ครัวเรือนเป้าหมาย จะเป็นคอลัมน์ “Lat” (ละติจูด) และ “ Long” (ลองจิจูด)รูปแบบของข้อมูลจะเป็น “องศา.ทศนิยมขององศา (D.DDDDDDDDDD)”

หวั ตาราง คยี ห์ ลกั คอลมั น์คณุ สมบตั (ิ Property)

ชุด ้ขอมูล(หน่ึงบรรทัดต่อหนึ่ง ้ขอมูล)

*** ข้อสงั เกตุ การเรียงตาํ แหนง่ คอลมั น์ของคณุ สมบตั ิในตาราง สามารถเรียงสลบั ตาํ แหนง่ ในชดุ ข้อมลู (แถว)ได้ แตใ่ นทาง ปฏิบตั คิ วรเรียงตามความสาํ คญั หรือองค์ประกอบหรือกลมุ่ ลกั ษณะเพ่อื สะดวกตอ่ การบนั ทกึ ข้อมลู /เรียกด ู

24

สว่ นที่ 2 การประยกุ ต์ใช้ระบบฯ กบั งานต่าง ๆ และการพัฒนาสังคม

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : GIS บทความของ พ.อ.รศ. ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณประจำกรมข่าวทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย จากท่ีกลา่ วมาทั้งหมดข้างต้นน้ัน แสดงใหเ้ ห็นถงึ ความหลากหลายในการนำมาใช้งานของระบบ GIS ซ่ึง

หลากหลายและมีประโยชน์รอบด้านมาก ซง่ึ จะแบง่ ออกเปน็ หวั ขอ้ ใหญ่ๆ ดงั นี้ 1. การอนุรักษ์ละจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management, Conservation) การจัดการทาง

พืชและสัตว์ในดิน (Flora and Fauna) สัตว์ป่า (Wild Life) อุทยานแห่งชาติ (National Park) การควบคุมและ ติดตามมลภาวะ (Pollution Control and Monitoring) และแบบจำลองด้านนิเวศวิทยา (Ecological Modelling)

2. การจัดการด้านทรัพยากร/การเกษตร (Resources Management / Agriculture) การจัดการระบบ ชลประทาน การพัฒนาและจัดการที่ดินเพ่ือการเกษตร การอนุรักษด์ ินและน้ำ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ป่า ไม้ และการทำไม้ ฯ

3. การวางแผนด้านสาธารณะภัย (Disaster Planning) การบรรเทาสาธารณะภัย การติดตามการ ปนเป้ือนของสารพิษ และแบบจำลองผลกระทบอทุ กภัย (Modelling Flood Impacts)

4. ด้านผังเมือง (Urban GIS) การวางแผนผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น ถนน เขือ่ น คลอง เป็นตน้ การตรวจสอบการเคล่อื นย้ายถ่ินฐานของประชากร การเปล่ยี นแปลงของการใช้พน้ื ท่ี การวาง ผังเมือง การวิเคราะห์ด้านอาชญากรรม ที่ดินและภาษีที่ดิน ระบบการระบายน้ำเสีย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ฯลฯ

5. การจัดการสาธารณปู โภค (Facilities Management) การจัดการดา้ นไฟฟ้า ประปา ทอ่ ส่งกา๊ ซ หน่วย ดบั เพลิง ระบบจราจรและโทรคมนาคม

6. การวิเคราะห์ด้านตลาด (Marketing Analysis) การหาที่ตั้ง ที่เหมาะสมในการขยายสาขา หรือ สำนกั งาน

7. ดา้ นการเดนิ ทาง แสดงแผนท่ี เสน้ ทาง จดุ สำคญั ในการเดินทาง เปน็ ประโยชนต์ ่อการทอ่ งเทยี่ ว 8. ด้านประโยชน์ทางการทหาร 9. ด้านสาธารณสุข เพ่อื ดกู ารแพรข่ ยายของโรคระบาดต่าง ๆ เช่น ไขห้ วัด 10. ดา้ นโบราณคดี

จากประโยชน์ต่าง ๆ ข้างต้นจะพบว่า ในปัจจุบันกิจกรรมต่าง ๆ ล้วนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ ประโยชน์จากแผนที่ และระบบ GIS ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเพื่อประกอบในกานตัดสินใจ จึงอาจกล่าวได้ว่า GIS เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับองค์กร ตลอดจนผู้บริหารและจ้าหน้าที่ทุก ๆ ส่วน ซึ่งสามารถมองภาพรวมของแผนที่ ต่าง ๆ และลักษณะองค์ประกอบของพื้นที่ได้อย่างชัดเจน จึงง่ายต่อการตัดสินใจวางโครงการ หรือประกอบ ธุรกรรมตา่ ง ๆ ไดเ้ ปน็ อย่างดี

GIS IN THE FUTURE ในปัจจุบัน GIS ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเป็น IT ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ช่วย

ให้สามารถเห็นภาพหรือพื้นที่ต่าง ๆ ได้ในมุมกว้างอย่างชัดเจน อีกทั้งสะดวกต่อการทำงานและช่วยให้การ วิเคราะห์พื้นที่ต่าง ๆ เป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะไม่จำเป็นต้องออกเดินทางไปยังพื้นที่นั้น ๆ ด้วยตนเอง หรือช่วย อำนวยความสะดวกในกรณีที่เราต้องออกเดินทางไปในที่ ๆ ยากต่อการเข้าถึง และมีข้อจำกัดด้านเวลา หรือ ระยะทางในการเดนิ ทาง เป็นตน้ ดังนัน้ GIS จึงช่วยลดต้นทุนในการเดนิ ทางไดเ้ ป็นอย่างดี

25

สว่ นที่ 2 การประยกุ ต์ใช้ระบบฯ กับงานต่าง ๆ และการพัฒนาสังคม

พัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีส่วนช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานต่าง ๆ ไปเป็นอย่าง สะดวกสบายมากขึ้น จึงไม่แปลกที่ GIS จะได้รับความนิยมและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความต้องการ ของแต่ละองค์กร ด้วยเหตุนี้เอง GIS จึงเป็นที่แพร่หลายมากในประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งยังถูกพัฒนา ความสามารถให้ดีและมีประสิทธิภาพมากข้นึ เร่ือย ๆ อย่างไมห่ ยดุ ยงั้

ดังนนั้ ในอนาคตคาดวา่ GIS คงมรี ะบบและข้ันตอนการทำงานทง่ี า่ ยและสะดวกสบายกับผู้ท่ีใช้งานมาก ขึ้น เพราะเทคโนโลยีจะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และได้รับการพัฒนาให้เป็นประโยชน์กับผู้ใช้โดยตรง มีตัวเลือกที่ช่วยในการวิเคราะห์ทำงาน หรือตอบคำถามที่เราสงสัยได้มากกว่านี้ สามารถแสดงภาพและลักษณะ ของพื้นที่ดังกล่าวได้ใกล้เคียงความเป็นจริง มีราคาต้นทุนการใช้ที่ถูกลง และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ อยา่ งแพร่หลายกับทุก ๆ หนว่ ยงานอกี ด้วย

CASE STUDY การขยายตวั ทางธุรกิจของ Levi Strauss & Co.

Levi Strauss & Co. แห่งอเมริกาเหนือ ได้จ้างพนักงานเพิ่มขึ้นถึง 3,100 คน และเตรียมการจะขยาย สาขาให้ทั่ว สหรัฐฯ แคนาดา และเม็กซิโก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดยหนึ่งในความ ท้าทายที่สำคัญคือ ทางบริษัทต้องการเครื่องมือที่แสดงได้ถึงสภาพทางพืน้ ที่และภมู ิศาสตร์ ที่สามารถแสดงพื้นท่ีที่ ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกที่สุด ทางบริษัทได้เลือกใช้ระบบ GIS ในการวางแผน โดยมีจุดมุ่งหมายในการ วางตำแหน่งที่ตั้งร้านและสาขาใหม่เพื่อเป็นจุด กระจายสินค้า และเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ทางต้นทุนท่จี ะเกดิ ขน้ึ ได้

ในการทำงาน ทางฝ่ายการตลาดของ บริษัทเลือกใช้ซอฟแวร์ทางระบบ Geographic Information System เพื่อช่วยในการจัดการและ วางตำแหน่งของสาขา เพื่อความสะดวกในการ เข้าถึงของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ในการทำงาน ระบบได้แสดงข้อมูลผ่านทางรายงานและแผนที่ได้ อย่างถูกต้องสมบูรณ์และครบถ้วน ไม่เพียงเท่าน้ี ระบบยังสามารถแสดงศูนย์กลางและจุดสำคัญต่าง ๆ ของพ้นื ทอ่ี ย่างละเอียดได้ในระยะ 1 - 5 ไมล์

ผลลพั ธจ์ ากการใช้ระบบ GIS ในการวางแผนขั้นตอนตา่ งๆ ประสบความสำเร็จเปน็ อย่างมาก เจ้าหน้าที่ ของบริษทั Levi Strauss & Co. ได้กล่าวเพยี งส้นั ๆ ว่า “จากเมื่อกอ่ นทางบรษิ ัทไมเ่ คยมรี ะบบที่ช่วยในการทำงาน ด้านนี้เลย แต่ระบบ GIS สามารถสร้างและออกแบบในสิ่งที่พวกเรากำลังต้องการได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงเท่าน้ี ระบบยังช่วยในการลดความผิดพลาดลงอีกด้วย” กล่าวโดยสรุปแล้ว ทางบริษัท Levi Strauss & Co. เชื่อว่าการ วางตำแหน่งสาขาที่ดีนั้น ต้องเป็นจุดที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญและละเลยไม่ได้ ฉะนน้ั แล้วระบบดังกลา่ วไมไ่ ด้ง่ายสำหรับการทำงานเท่าน้นั แต่ยังสามารถลดต้นทนุ ในการดำเนินการได้เป็นอย่างดี

การใช้ GIS เพมิ่ ประสทิ ธิภาพในการทำงานของ DHL Express บริษัทขนส่งสินค้า DHL Express ถือเป็นผู้นำทางธุรกิจการขนส่งทั่วโลกมากว่า 35 ปีแล้ว ปัจจุบันทาง

บริษัทมีพนักงานมากกว่า 550,000 คน และให้บริการกว่า 220 ประเทศ โดยจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงองค์กร

26

สว่ นที่ 2 การประยุกตใ์ ชร้ ะบบฯ กับงานต่าง ๆ และการพัฒนาสังคม

คร้งั นค้ี ือ การพัฒนาตัวเองให้ดขี ้ึนอย่างสมำ่ เสมอ ความท้าทายของ บริษัทคือ จุดรับส่งและรวมสินค้าของบริษัทอยู่ที่สวีเดน ซึ่งเป็นจุด รวมพาหนะที่ใช้ในการขนส่งมากถึง 1400 คัน หรือเป็น 40% ของ รายได้รวมของบริษทั ในแต่ละวัน ทุกๆ เชา้ คนขบั รถของบริษัทจะ ใช้เวลาในการเตรียมตัวเปลี่ยนกะ เข้ากะ และจัดการกับสินค้าที่ จะตอ้ งนำไปส่งประมาณ 30 นาที ซ่งึ แตล่ ะกลอ่ งจะถูกบรรจุและใส่ รหสั บาร์โคด้ ตัวเลข กองสุมรวมกนั อยู่ ทำใหย้ ากแกก่ ารค้นหา และ เสียเวลาที่มีค่าไปค่อนข้างมาก ยังไม่รวมความผิดพลาดที่อาจ เกิดขึ้นจากมนุษย์อีกด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัท DHL Express พยายามพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดที ี่สุด

วิธีการแก้ปัญหาของ DHL Express นั้น ทางบริษัทพัฒนาทั้งการแยกกล่องสินค้า และการขนส่งไป พร้อม ๆ กัน โดยใช้ ESRI® geographic information system (GIS) software โดยขอ้ มูลรวมทั้งหมดจะถกู เกบ็ ไว้ในระบบคอมพวิ เตอร์โดยอัตโนมัติ สามารถแยกแยะสินค้าไปตามแต่ละพืน้ ที่ที่จะทำการส่งไปให้ถึงมือผู้รบั ช่วย ลดความผิดพลาดในการทำงาน อีกทั้งยังสามารถแสดงพื้นที่ กำหนดโซนและเส้นทางให้กับพนักงานขนส่งอีกด้วย การใชร้ ะบบดังกล่าวจงึ ช่วยลดขน้ั ตอนการทำงานไปได้มาก

ผลจากการใช้ระบบ GIS ในการทำงานนั้น ช่วยลดเวลา ขั้นตอนในการทำงาน รวมทั้งลดจำนวน พนักงานไปมากถึง 50% ประหยัดเวลาไปได้มากถึง 30 นาที ต่อรอบ ต่อวัน ปัจจุบัน DHL Express สามารถทำ ธุรกิจได้มากถึง 1200 เส้นทางได้ในหนึ่งวัน ผู้บริหารของบริษัทยังกล่าวอีกว่า ด้วยเทคโนโลยี GIS สามารถสร้าง ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาดให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพราะสามารถสง่ สินคา้ ได้ถงึ มอื และตรงเวลานั่นเอง

การใช้ GIS เพือ่ ตรวจสอบขน้ั ตอนและความกา้ วหนา้ ของการทำงาน EastLinkTollway Project คือ โครงการการสร้างทางยกระดับจากออสเตรเลียฝั่งตะวันออกไปถึงฝ่ัง

ตะวันออกเฉียง ใต้ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเดินทาง ให้กับชาวเมลเบิร์นกว่า 200,000 คนต่อวัน สะพาน ยกระดับมีระยะทาง 45 กิโลเมตร อุโมงค์คู่ระยะทาง 1.6 กิโลเมตร 17 จุดเชื่อมต่อบนถนน 90 เส้น ช่องแคบ สะพานคนเดิน ทั้งหมดนี้ใช้เวลา 45 เดือนในการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทวิศวกร ซึ่งถือเป็นการทำงานที่ท้า ทายมาก เพราะเป็นโครงการใหญ่ที่ต้องทำงานทั้งคืน ใช้คนงาน 2500 คน 1 สำนักงานใหญ่ 6 สำนักงานย่อย 28 จุดก่อสร้างงาน ฉะนั้นในการทำงานดังกล่าว การติดต่อสื่อสารกันถือเป็นเรื่องสำคัญ มีการรับส่งข้อมูลกัน ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องของการออกแบบ การก่อสร้าง การสำรวจ สิ่งแวดล้อม การวางแผนต่างๆ ทั้งหมดถือเป็น เรอื่ งท่สี ำคัญ

สีเ่ ดอื นผ่านไปกบั การทำงานผดิ พลาด เสาใหญต่ ้นแรกถกู รอ้ื ทิ้ง ทางบริษัทวิศวกรจงึ เกดิ ความคิดที่จะใช้ GIS interoperability with computer-aided design [CAD] เพื่อช่วยในการทำงาน ซึ่งทำให้เกิดความท้าทายมากยิ่งขึ้น ต้องทำงานโดยใช้ คอมพิวเตอร์และระบบเป็นตัวช่วยอยู่ตลอดเวลา แต่ผลที่ออกมานั้น นับว่าประสบความสำเร็จตามความต้องการ เพราะการทำงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ นำมาซึ่งการทำงานตามกระบวนการครบทุกขั้นตอน สามารถแสดงแผนท่ี และการทำงานเชงิ เทคนิคตา่ ง ๆ ภายใตท้ รัพยากรที่มีอยูอ่ ย่างจำกดั

27

ส่วนที่ 2 การประยุกตใ์ ชร้ ะบบฯ กบั งานต่าง ๆ และการพัฒนาสังคม

ทางผู้จัดการโครงการได้กล่าวว่า การทำงาน โดยใช้ระบบ GIS มาช่วยนั้น จำเป็นที่จะต้องรู้คำศัพท์ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบ พื้นที่ ตัวต้นแบบ รวมท้ัง เทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบ ต้องคำนึงถึงความ ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมด้วย ฉะนั้นการใช้ GIS จึง จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย ต้องสอนพนักงาน ให้ทราบถึงขั้นตอนการใช้ GIS อีกทั้งยังต้องเตรียมตัว เพื่อกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวขึ้น กล่าวโดยสรุปแล้ว การนำ GIS มาใช้ช่วยให้งานสำเร็จไปได้อย่างรวดเร็ว มากถงึ 50% ลดข้นั ตอนตา่ ง ๆ ได้ เพราะระบบสามารถรายงานผลออกมาชัดเจน ทง้ั ในเร่อื งของภาพถา่ ย เสน้ ทาง ต่าง ๆ พนักงานที่ไม่เคยใช้ GIS ก็คุ้นเคยกับการใช้ระบบ GIS มากขึ้น เพราะระบบ GIS นั้นใช้งานง่ายและมี ประสทิ ธิภาพมาก จากท่ีประมาณการณ์ระยะเวลาโครงการไว้ 48 เดือนกใ็ ช้เวลาเพยี งแค่ 42 เดอื นเทา่ นัน้ เอง

THAI CASE STUDY โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศทางภมู ิศาสตร์สำหรบั โรคไข้หวดั นก ในพน้ื ท่ีเฉพาะ

โรคไข้หวัดนกเคยเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากโรคระบาด ดังกล่าว ไม่เพียงส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความ เชื่อมั่น สร้างความหวาดระแวงให้กับประชาชนจำนวนมากที่ไม่กล้าบริโภคสัตว์ปีกทั้ง ๆ ที่เป็นอาหารหลักของคน สว่ นใหญ่

เนื่องจากโรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากขึ้นในปัจจุบันและ อนาคต ในทุกภูมิภาคของโลก จึงจำเป็นต้องหาวิธีป้องกัน เพราะหากสามารถตรวจพบแหล่งแพร่เชื้อ หรือจุด กำเนดิ ของโรคและสามารถควบคุม จำกดั วงและขอบเขตความเสียหายของพื้นทไ่ี ด้รวดเร็วมากเท่าใด ก็ยงิ่ สามารถ ยบั ย้งั หรอื ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมปี ระสิทธภิ าพและทันท่วงที

การดำเนนิ งานตามแผนกลยุทธ์ดังกล่าว ย่อมต้องการขอ้ มลู เชิงพื้นท่ีของข้อมูลในด้านต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง กับการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซ้ำที่ครอบคลุมครบถ้วนและได้มาในเวลาที่รวดเร็วทันเวลา เพ่ือ นำมาวิเคราะห์และประเมินผลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถวางแผนการดำเนนิ งานและการตัดสินใจในการควบคุมโรคไข้หวัดนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

28

ส่วนท่ี 3

รูปแบบการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภมู ิศาสตรก์ ับการพัฒนาสงั คม

รปู แบบการประยกุ ต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการพัฒนาสงั คม เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จะประมวลและแสดงผลใน 3 รูปแบบ คือ

แบบจุด (POINT) แบบเส้นตรง (LINE) และแบบวงรอบรูปปิด (POLYGON) ซึ่งในการดำเนินงานด้านสังคม สามารถใช้รปู แบบทง้ั 3 มาวิเคราะห์ ประมวลผลและแสดงผลบนแผนท่ี ทถี่ กู ต้อง และชดั เจน ได้ดงั น้ี

1. การแสดงแบบจุด เป็นการแสดงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ บ้านผู้ประสบปัญหา หรือจุดต่าง ๆ ที่ ต้องการ เนื่องจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ใช้ระบบเส้นโครงแผนที่ในการประมวลผล ซึ่งเส้นโครงแผนที่มี หลายระบบซึ่งเหมาะกับงานแต่ละด้าน แต่ที่นิยมแพร่หลายในเมืองไทยและค่อนข้างเป็นมาตรฐานใช้ระบบ WGS 84 (Word Globeal system (84 หมายถึง ปี คศ 1984 ) ซึ่งแต่ละจุดต้องมีค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (N,E) เพื่อแสดงตำแหน่งที่แน่นอน โดยในแผนที่ (layer) แบบจุดในโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะมีตาราง ATTRIBUTE ของlayer เป็นคอลมั นแ์ สดงรายละเอยี ดของจุดน้ัน ๆ เช่น ชอื่ สกลุ ทีอ่ ยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เลข บัตรประจำตัวประชาชน13หลัก ตำแหน่งที่ตั้ง N,E เป็นต้น ซึ่งในคอลัมน์ของตารางดังกล่าว นอกจากคอลัมน์ N และ E ท่ีจำเป็นต้องมีแล้ว เราสามารถเพิ่มคอลัมน์รายละเอียดต่าง ๆของจุดนั้น ๆ ได้อย่างไม่จำกัดขึ้นอยู่ กบั ความสามารถของเครือ่ งคอมพิวเตอร์ แตใ่ นทางปฏบิ ัตไิ ม่ควรเกิน 30 คอลมั น์ เพื่อสะดวกแลคล่องตัวในการ ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น แผนที่จุดที่ตั้งของผู้ประสบปัญหาทางสังคม ในตารางแสดงคุณลักษณะ เราอาจใส่ คอลัมต่าง ๆ ดังนี้ รหัส ชื่อสกุล บ้านเลขที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด เบอร์โทรศัพท์ หมายเลข 13 หลัก อายุ ประเด็นปัญหา ลักษณะปัญหา การช่วยเหลือ วันเวลาที่พบ เวลาที่ดำเนินการช่วยเหลือ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งคอลัมน์ยิ่งมากก็จะมีรายละเอียดมากอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าถึงและทราบรายละเอียดของผู้ประสบ ปญั หาน้ัน ๆ

ในคอลมั ต่าง ๆ ถ้ามีข้อความที่ซ้ำกัน เราสามารถที่จะกำหนดเป็นรหัส เพื่อสะดวกต่อการจัดหมวดหมู่ และแสดงบนแผนที่ เช่น คอลัมน์เพศ อาจกำหนดรหัสด้วย 1,2 แทนเพศชาย เพศหญิง หรือประเภทความ พิการ ซึ่งมี 7 ประเภท ก็อาจแทนด้วย เลข 1 – 7 เป็นต้น อย่างไรก็ดีแม้จะไมม่ ีกฎหรือข้อบังคับตายตัวในการ กำหนดรหัสแต่การกำหนดระหัสก็ควรใช้รหัสที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐานเพื่อให้ข้อมูลเป็นมาตรฐานเดียวกันและ งา่ ยตอ่ การทำความเขา้ ใจ

ในการประมวลผลเบื้องต้นและแสดงบนแผนท่ี (layer) เราจะใช้ข้อมูลในคอลัมน์ใดคอลัมน์หนึ่งใน ตาราง (ATTRIBUTE ) ประมวลผลเพื่อแสดงบนแผนที่ (หนึ่งคอลัมน์ต่อหนึ่ง Layer) เช่น แสดงตำแหน่งของ ผู้พิการ ประเภทใดประเภทหนึ่งในแผนที่ได้ หรืออาจแสดงตำแหน่งบ้านของผู้พิการตามประเภทความของ พกิ ารบนแผนท่ี (1-7 ประเภท โดยใช้สัญลกั ษณ์หรอื สเี ปน็ ตัวบง่ บอกของความพกิ ารได)้

29

สว่ นท่ี 3 รปู แบบการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการพัฒนาสังคม

คอลมั น์ท่ใี ช้ประมวลผล เพ่ือแสดงบนแผนท่ี

ตัวอยา่ ง ตาราง ATTRIBUTE และคอลมั น์ทใี่ ช้ในการประมวลผล แสดงเพือ่ ทำความเขา้ ใจในการทำงานจรงิ จะ ใช้กำหนด เป็นเลขรหสั ลกั ษณะทอ่ี ยู่อาศัย

จะสังเกตได้ว่าแผนที่ 1 ฉบับ(หนึ่ง layer) จะแสดงด้วยข้อมูลคอลัมน์ใดคอลัมน์หนึ่งเพียงคอลัมน์เดียว แต่ใน การประมวลผลข้นั สงู โดยการใชส้ ูตร เราอาจสรา้ งเงอื่ นไข เพือ่ ใช้ขอ้ มลู หลายคอลมั น์ในตารางประกอบกนั ได้

นอกจากนี้ จุดยังใช้ในการแสดงตำแหน่งของสิ่งก่อสร้างหรือแสดงที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ เช่น จุดที่ตั้ง แทงค์น้ำ จุดที่ตั้งบริเวณวัด จุดที่ตั้งโรงเรียน จุดที่ตั้งที่การอำเภอ จุดที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ เทศบาล หรือจุดที่ตั้งหมู่บ้าน (ซึ่งโดยปกติจะยึดตำแหน่งทีทำการองค์การบริหารส่วนตำบล หรือเทศบาลหรือ ตำแหน่งบ้านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นสำคัญ) ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย และทำให้ แผนที่มีความสมบรู ณ์ครบถว้ นมากยิ่งขน้ึ

30

ส่วนท่ี 3 รูปแบบการประยุกต์ใชร้ ะบบสารสนเทศภมู ิศาสตรก์ ับการพัฒนาสังคม

2. เป็นการประมวลผลลักษณะของภูมิประเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏบนแผนที่ ที่เป็นเส้น เป็น แนว เชน่ ทาง ถนน แมน่ ้ำ ร้ัว ฯลฯ ซึง่ เราสามารถสรา้ งเส้นตา่ ง ๆ เหล่านบี้ นแผนท่ไี ด้โดยใชค้ ำสั่งในโปรแกรม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ใช้เมาส์คลิกจุดเชื่อมต่อ ๆ กันเป็นเส้น ตามลักษณะที่ต้องการ สร้างเป็นแผนที่ (LAYER) แบบเส้น (LINE) และเส้นเหล่านี้สามารถกำหนดความหนา ความกว้าง ลักษณะของเสน้ และสีต่าง ๆ ได้

3. แบบวงรอบรูปปิด เป็นการประมวลผล โดยใช้ลักษณะของพื้นที่ปิด เช่น พื้นที่แปลงที่ดิน เขตตำบล เขตอำเภอ เขตจังหวัด เขตประเทศ เป็นต้น ในทางสังคมเราสามารถใช้เขตพื้นที่ปิด แสดงผลการ ประมวลค่าต่าง ๆ เช่น จำนวนผู้ประสบปัญหา สถิติ จำนวนประชากร จำนวน ฯลฯ โดย ในแต่ละพื้นที่วงรอบปิด เราสามารถกำหนดสีได้อย่างอิสระ หรือจะกำหนดสีไล่ระดับตามความหมายของเลข เช่น ระดับความรุนแรง ทีเ่ ริม่ จากน้อยไปหามาก เราอาจใชส้ ีขาวไล่ระดบั ไปถงึ สแี ดงได้

และในทำนองเดียวการแสดงผลในในแผนที่วงรอบรูปปิด เราจะใช้คอลัมใดคอลัมหนึ่งเป็นหลักใน การแสดงผล เช่น ร้อยละของผู้ประสบปัญหาด้านสังคม จำแนก ตามพื้นที่ระดับตำบลก็จะเห็นได้ว่าแผนท่ี แผนที่จะแสดงสตี ่าง ๆ หรือความเข้มของสีท่ีเรากำหนดทำใหท้ ราบไดว้ ่าในแตล่ ะตำบล มีลักษณะความรุนแรง ผู้ประสบปัญหาทางสังคมมากน้อยเพียงใด ซึ่งในทางปฏิบัติการแสดงข้อมูลของพ้ืนที่ด้วยสีต่าง ๆ จะทำให้ สามารถวิเคราะห์และจำแนกข้อมูลได้ง่ายกว่าการแสดงเป็นตัวเลข ซึ่งในทางปฏิบัติโปรแกรมสามารถที่จะ แสดง สี และค่าทีเ่ ปน็ ตวั เลขในพนื้ ท่ีน้ันไดใ้ นทางเดยี วกัน

ตวั อย่าง แผนท่ีแสดงจำนวนผปู้ ระสบปญั หาสงั คมระดับตำบลของจังหวดั ชัยนาท โดยใช้สีเขียวเขม้ แทนตำบลที่มผี ู้ประสบปญั หานอ้ ยท่สี ุดและ เพม่ิ ขนึ้ เปน็ สีเขียวออ่ น สเี หลอื ง สีสม้ และสีแดงท่มี ีจำนวนมากท่สี ดุ

31

สว่ นที่ 3 รปู แบบการประยกุ ต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมศิ าสตร์กับการพัฒนาสังคม

การแสดงมลั ตมิ เี ดยี แทรกในแผนที่

โปรแกรมระบบสารสนเมภูมิศาสตร์ (GIS) ที่มีคุณลักษณะค่อนข้างดี ทั้งที่มีลิขสิทธิ์และไม่มีลิขสิทธิ์ คุณลกั ษณะประการหนึง่ คอื การเชือ่ มโยงข้อมลู ท่เี ป็นภาพถ่าย ภาพเคลือ่ นไหว และข้อมูลในชุด Office ตา่ ง ๆ ได้ ซึ่งจะช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้ข้อมูล และการเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้ด้วยความสะดวกและมีข้อมูล มากพอท่ีจะใช้ในการตัดสนิ ใจ

ตัวอย่างเช่น แสดงรูปผู้ประสบปัญหาด้านสังคม ผู้ประสบภัยด้านต่าง ๆ จะทำให้ทราบได้ว่าผู้ปะสบ ปัญหามีคุณลักษณะประเภทใดและมีความเที่ยงตรงหรือไม่ หรือใช้ภาพเคลื่อนไหวในการแสดงคุณลักษณะ พิเศษต่าง ๆ เช่น ความพิการทางการเคลื่อนไหว พฤติกรรมที่แสดงออก และอื่น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถแสดงได้ไม่จำกัด หรือในการเชื่อมโยงข้อมูลที่มากกว่าตารางในโปรแกรม เราสามารถ เชอ่ื มตำแหน่งบนแผนท่ีเข้ากับตารางในโปรแกรม Excel เช่อื มข้อมูลเชิงบรรยายกับเอกสาร Microsoft Word เชื่อมการอธบิ ายความต่าง ๆ ดว้ ยเอกสาร Microsoft PowerPoint ฯลฯ ได้

การเชือ่ มโยงจากแหล่งภายนอกนี้ เป็นประโยชนอ์ ย่างมากเพราะเราสามารถเชอ่ื มโยงเอกสารต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องบนแผนที่โดยไม่ต้องสร้างคอลัมในตารางของโปรแกรม ซึ่งมีความยุ่งยากไม่ยืดหยุ่นเท่าที่ควรอีกทั้ง ข้อมลู ตา่ ง ๆ ทางดา้ นสงั คมเกีย่ วข้องกบั ข้อมูลหลายภาคส่วน ซึง่ ทำให้สามารถพจิ ารณา Cast ใด Cast หน่ึงให้ แลว้ เสร็จได้ในโปรแกรมระบบสารสนเทศภมู ศิ าสตรเ์ พียงโปรแกรมเดียว

การเชือ่ มโยงโปรแกรมภูมศิ าสตร์กบั Google Earth

โดยปกติในทางปฏิบัติเราสามารถสร้างแผนทีท่ ีม่ ีความถูกต้องทางตำแหน่งเข้ากับแผนที่ใด ๆ ในโลกน้ี ได้ แต่ต้องยอมรับความจริงว่าแผนที่ที่เราสร้างขึ้นมีรายละเอียดไม่เพียงพอเพราะจะได้แต่ข้อมูลที่เราประมวล เท่านั้น เช่น จุด ตำแหน่งต่าง ๆ สี ของตำบล อำเภอ จังหวัด ฯลฯ แต่เราไม่สามารถที่จะสร้างแผนที่ที่มี รายละเอียดครบถ้วน เช่น ถนน หมู่บ้าน วัด ที่ทำการราชการ หน่วยงานภาคเอกชน แม่น้ำลำคลอง ฯลฯ ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่มีอยู่จริงในภูมิประเทศและเป็นบริบทสำคัญที่ใช้ประกอบแผนที่ที่เราสร้างขึ้น ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์ของโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จึงได้มีฟังก์ชั่น ในการเชื่อมโยงแผนที่ Google Earth เข้ากับโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ถึงแม้แผนท่ี Google Earth จะไม่ทันสมัยหรือปรับปรุง ข้อมูลได้รวดเร็วนักก็ตามแต่ในทางปฏิบัติพื้นที่ต่าง ๆ ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่ในพื้นท่ี เขตที่มีความเจริญ และมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก Google Earth ก็จะทำการปรับปรุงบริเวณนั้นให้มี ความถูกต้องทนั สมัย เพิ่มข้ึน

32

สว่ นที่ 3 รปู แบบการประยุกตใ์ ช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับการพฒั นาสังคม

ในทางปฏิบัติโปรแกรมจะดึงแผนท่ี Google Earth มาไว้เป็นแบล็คกราวมาใช้ให้เราได้ใช้ประโยชน์ โดยแผนที่ที่เราสร้างขึ้นจะไม่เกี่ยวข้องหรือเข้าไปแก้ไขในแผนที่แต่อย่างใด (เป็นการซ้อนกันของแผนที่) (Layer) โดยแผนที่ Google Earth Layer จะเป็นชั้นล่างสุด ซึ่งในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์รุ่นใหม่ๆ สามารถเชื่อมโยงแผนท่ี Google Earth ได้ สำหรับรุ่นเก่าอาจจะมีข้อจำกัดเนื่องจาก Google Earth ได้ เปล่ยี นแปลงโคด้ ในการออกแบบแผนท่ี ทำใหไ้ มส่ ามารถเชื่อมโยงแผนที่ Google Earth ได้

ข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฏบนแผนที่ Google Earth จะเป็นบริบทท่ีสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น พื้นที่ที่ประสบปัญหา เช่น โรคระบาด บริบทของพื้นที่โดยรวมอาจเป็นท้องที่ที่ห่างไกล เช่นโทรคมนาคม ห่างไกลสถานศกึ ษาหรือหนว่ ยงานราชการ ซึง่ สามารถใช้ในการวางแผนปอ้ งกนั อนั ตรายท่ีอาจเกิดข้นึ ได้ เปน็ ต้น การวเิ คราะหข์ อ้ มูลทางด้านสงั คม

การวิเคราะห์ข้อมูลประมวลข้อมูลด้านสังคมเพื่อแสดงข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ประเด็นท่จี ะวิเคราะหแ์ ละขอ้ มูลทใ่ี ชว้ ิเคราะหจ์ ะต้องมมี ากพอ โปแกรมสารสนเทศภูมศิ าสตรเ์ ป็นเพียงเครือมือ ที่ช่วยให้การวิเคราะห์และการแสดงผลง่ายขึ้น สมบูรณ์ขึ้น ดังนั้น พึงระลึกไว้เสมอว่าข้อมูลมีความสำคัญ ดงั นนั้ คณุ ลกั ษณะของข้อมูลจึงจะต้องมีความถูกต้อง ทนั สมยั สามารถเข้าถงึ ได้ง่าย และแกไ้ ข ค้น คืน ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่นไปกว่ากันคือการมีโมเดล (Model) ที่จะใช้แสดงผลข้อมูลที่เป็น มาตรฐานหรอื มีหลักคิดท่ถี กู ต้อง

การประมวลและการประมวลผลดว้ ยสารสนเทศภมู ิศาสตร์ แม้จะมีความสวยงาม ดูดี แตถ่ า้ ขาดซ่งึ ขอ้ มลู ทีไ่ มม่ ีคณุ ภาพ ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ใดได้เลย ดงั นั้นส่ิงสำคญั ท่ตี อ้ งระลกึ ถงึ อยู่เสมอคอื เปา้ หมายใน การแสดงผลและขอ้ มลู ทใ่ี ชป้ ระกอบ สว่ นระบบสารสนเทศภูมศิ าสตรเ์ ปน็ เพยี งเครื่องมือในการประมวลข้อมลู แค่นัน้ เอง

33

สว่ นที่ 4

การใชง้ านโปรแกรม QGIS V.3.4

1 เก่ียวกับโปรแกรม QGIS โปรแกรม QGIS เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้ในงาน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Geographic

Information System) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลาย ๆ โปรแกรมที่มีความสามารถคล้ายกัน เช่น ArcGis ArcView AutoCAD3D แต่โปรแกรม GQIS ถูกพัฒนามาในลักษณะฟรีแวร์ ซึ่งเผยแพรผ่านทางเว็บไซต์ http://qgis.org ผู้ใช้สามารถไปดาวโหลดไดฟ้ รี ซง่ึ ตัวโปรแกรมจะมี 2 สว่ น ส่วนแรกคือตวั โปรแกรม อีกสว่ นคอื ส่วนเพิ่มเตมิ (Plug In)

โปรแกรม QGIS ในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาหลายเวอร์ชั่น และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหน่วยงาน ราชการของไทย อันเนื่องมาจากการที่ตัวโปรแกรมไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งอาจเป็นปัญหาจากการใช้งานเหมือน โปรแกรมอื่น ๆ และยังมีส่วนเพิ่มเตมิ ที่ถูกพัฒนา โดยนักพัฒนาทั่วโลก ทำให้มีจดุ เด่นที่ความหลากหลายของส่วน เพิ่มเติมที่เราสามารถดาวโหลดมาใช้เพื่อให้ตรงกับการใช้งานของเราเอง เช่น Openlayer Plugin ใช้สำหรับเป็ด ภาพถ่ายดาวเทียมของ Google หรอื Point to One ใช้สำหรับการแปลงจุดตา่ งพิกัดเปน็ เส้นหรือรูปปดิ 2 การติดต้ังโปรแกรม

ในการติดตั้งโปรแกรม QGIS เราจำเป็นจะต้องติดตั้งให้ตรงกับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา วา่ ระบบของเคร่อื งเปน็ ระบบปฏิบัตกิ ารกี่บิต ซึง่ สามารถตรวจสอบโดย

2.1 ทำการตรวจสอบระบบปฏิบัติการของเคร่ือง การตรวจสอบระบบปฏิบัติการของเครื่อง สามารถทำได้โดย การคลิกขวาที่ My Computer ในไอคอน

หนา้ จอ (Desktop) แลว้ าทำการเลอื กแถมเมนูคุณสมบตั ิ (Properties)

เครื่องคอมพิวเตอร์ จะแสดงแถบหน้าต่างข้อมูลทั่วไปของคอมพวิ เตอร์ของเราขึ้นมา ให้เราทำการตรวจสอบ ระบบของเคร่ืองวา่ เปน็ ระบบก่บี ติ

34

สว่ นท่ี 4 การใชง้ านโปรแกรม QGIS V.3.4

32 bit

2.2 ทำการดาวโหลดและติดตั้งโปรแกรมดาวโหลดและติดตั้งโปรแกรม โดยเลือกตามชนิด ของระบบปฏิบัติการในเคร่ืองของเรา

ในกรณีที่ใช้ไฟล์จากการอบรม ซึ่งใช้เวอร์ชั่น 3.4 ทางผู้สอนได้จัดเตรียมไฟล์ไว้ 2 ชนิด ทั้งระบบ 64 บิต และ 32 บิต

32 bit 64 bit

ใหท้ ำการเลอื กไฟล์สำหรบั ติดตง้ั ให้ตรงกบั ระบบปฏบิ ตั กิ ารของเครื่องคอมพวิ เตอร์ของเรา โดย 2.2.1 ไฟล์ QGIS-OSGeoW-3.4.10-1 Setup-x86 สำหรบั ระบบปฏบิ ตั ิการ 32 บิต 2.2.2 ไฟล์ QGIS-OSGeoW-3.4.10-1 Setup-x86_64 สำหรับระบบปฏบิ ตั กิ าร 64 บติ และดำเนินการตอ่ ตามคำแนะนำในการติดตง้ั โปรแกรม จนแล้วเสรจ็

35

ส่วนที่ 4 การใช้งานโปรแกรม QGIS V.3.4

3 การติดต้ังส่วนเพ่ิมเติม (Plugins) โปรแกรม QGIS ได้รับการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมปลั๊กอิน ทำให้สามารถเพิ่มฟีเจอร์และฟังก์ชั่นใหม่ๆ

ลงในแอพพลิเคชั่นได้อย่างง่ายดาย ฟีเจอร์บางอย่างใน QGIS ถูกนำไปใช้เป็นปลั๊กอินปลั๊กอิน QGIS จะมีอยู่ 2 รปู แบบ ปลั๊กอินหลกั (Core Plugins) หรือปล๊กั อนิ ภายนอก(External Plugins)

Core Plugins ได้รับการดูแลโดยทีมพัฒนา QGIS และเป็นส่วนหนึ่งของการกระจาย QGIS โดย อัตโนมัติ พวกเขาจะเขียนในหน่ึงในสองภาษา คอื C ++หรือ Python

External Plugins ป ล ั ๊ ก อ ิ นภายนอกส่ วนใหญ่ เข ียนด้ วย Python ซ ึ ่ งสามารถดาวโหลดท่ี https://plugins.qgis.org/plugins/ หรือในที่เก็บภายนอกและได้รับการดูแลโดยผู้เขียนแต่ละคน เอกสาร รายละเอียดเกี่ยวกับการใช้งานเวอร์ชั่น QGIS ขั้นต่ำหน้าหลักผู้แต่งและข้อมูลสำคัญอื่น ๆ จะมีให้สำหรับปลั๊กอิน ในพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างเป็นทางการ สำหรับที่เก็บข้อมูลภายนอกอื่นเอกสารอาจมีให้พร้อมกับปล๊ักอินภายนอก ดว้ ยตนเอง เอกสารประกอบปล๊กั อินภายนอกไม่รวมอยูใ่ นคมู่ ือน้ี

การตดิ ตัง้ สว่ นเพิ่มเตมิ ทางอินเตอร์เนต็ เราสามารถให้โปรแกรม QGIS ตรวจสอบและดาวโหลดส่วนเพิ่มเติม ที่ต้องการทางอินเตอร์เน็ตได้ (ต้องมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต) ซึ่งวิธีการคือ เมื่อเราติดตั้งโปรแกรม และเข้าสู่ โปรแกรมแล้ว ให้ทำการเลือกแถบเมนูคำสั่ง “Plugins” -> “ Manage and Install Plugins” โปรแกรมจะ ทำการคน้ หาเคร่อื งแมข่ า่ ย เพอื่ ตรวจสอบวา่ ส่วนเพ่ิมเติมทมี่ ใี นระบบมอี ะไรบ้าง

เมื่อทำการตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะแสดงส่วนเพิ่มเติมทั้งหมดให้เราได้ทราบ ทั้งส่วนที่ทำ การติดตั้งภายในเครื่องเราเรียบร้อยแล้ว และส่วนเพิ่มเติมที่ยังไม่ได้ติดตั้ง พร้อมคำอธิบายการใช้ส่วนเพิ่มเติมว่า แต่ละอันใช้สำหรับการทำอะไรในโปรแกรม แท็บในกล่องโต้ตอบปลั๊กอินอนุญาตให้ผู้ใช้ติดตั้งถอนการติดตั้งและ อพั เกรดปลกั๊ อินได้หลายวิธี แต่ละปล๊กั อินมขี ้อมูลปรากฏอยใู่ นแผงดา้ นขวา:

 ขอ้ มลู ว่าปล๊กั อนิ ทดลองหรือไม่  ลกั ษณะ  คะแนนโหวต (เราสามารถโหวตใหก้ ับปลั๊กอินทต่ี อ้ งการ!)  แทก็

 ลงิ กท์ ี่มีประโยชน์บางอย่างไปยงั หนา้ แรกตวั ติดตามและท่เี ก็บรหัส

 ผเู้ ขยี น (s)  รนุ่ ท่ีมีอยู่

36

ส่วนท่ี 4 การใช้งานโปรแกรม QGIS V.3.4

ที่ด้านบนของกลอ่ งโตต้ อบ ฟังก์ชัน่ การ Search..จะชว่ ยเราคน้ หาปลั๊กอนิ ท่ใี ชข้ อ้ มลู เมตาดาตา้ (ผู้แตง่ ชื่อ คำอธิบาย ... ) มันมีอยใู่ นเกอื บทกุ แท็บ (ยกเวน้ Settings )

ในกลอ่ งโตต้ อบในการตดิ ต้งั Plugins จะมแี ท็บต่าง ๆ เพอ่ื ให้เราสามารถเลือกใช้ตามความตอ้ งการ 1. แทบ็ Settings เปน็ หน้าหลกั ทส่ี ามารถกำหนดคา่ ปลั๊กอิน มีตวั เลือกตอ่ ไปนี:้

Check for updates on startup ตรวจหาการปรับปรุงในการเริ่มต้น เมื่อใดก็ตามที่มีปลั๊กอิน ใหม่หรือการอัพเดตปลั๊กอินให้บริการ QGIS จะแจ้งให้ทราบ ‘ทุกครั้งที่ QGIS เริ่ม’, ‘วันละครั้ง’, ‘ทุก ๆ 3 วัน’, ‘ทกุ สัปดาห์’, ‘ทกุ 2 สัปดาห’์ หรือ ‘ทกุ เดอื น’

Show also experimental plugins QGIS จะแสดงปลั๊กอนิ ในชว่ งเริ่มต้นของการพัฒนาซึง่ โดยทั่วไปไม่เหมาะสมสำหรับการใชง้ านจริง

Show also deprecated plugins เน่อื งจากใชฟ้ ังก์ชันท่ีไมม่ ีใน QGIS อีกตอ่ ไปปลกั๊ อนิ เหลา่ น้จี งึ ถูกคัดคา้ นและไม่เหมาะสมสำหรบั การใชง้ านจรงิ จะปรากฏในรายการปล๊กั อินทไ่ี ม่ถูกตอ้ ง

ที่เก็บปลั๊กอินอย่างเป็นทางการคือ URLhttps://plugins.qgis.org/plugins/plugins.xml?qgis=3.0 (ในกรณีของ QGIS 3.0) ในส่วนPlugin repositories ในกรณีต้องการเพม่ิ ทเ่ี ก็บขอ้ มูลของผแู้ ตง่ ภายนอกใหค้ ลกิ Add ... และกรอกแบบฟอร์ม Repository Details ด้วยชื่อและ URL URL สามารถกำหนดเป็นโปรโตคอล http:// หรือ file://

หากไม่ต้องการที่เก็บทเ่ี พิ่มอย่างนอ้ ยหนึง่ ท่ีเกบ็ พวกเขาสามารถปดิ การใช้งานจากแทบ็ การต้งั คา่ ผ่านทาง ปุ่มEdit ...หรอื ลบออกอย่างสมบรู ณ์ดว้ ยปมุ่ Delete

37

สว่ นท่ี 4 การใช้งานโปรแกรม QGIS V.3.4

2. แท็บ All ในแท็บ All ปลั๊กอินทั้งหมดที่มีอยู่มีการระบุไว้รวมทั้ง Core Plugins และ External Plugins

ใช้ Upgrade All เพื่อค้นหาปลั๊กอินเวอร์ชันใหม่ นอกจากนี้เราสามารถใช้ Install Plugin หากมีรายการปลั๊ก อิน แต่ไม่ได้ติดตั้ง Uninstall Plugin รวมถึง Reinstall Plugin หากติดตั้งปลั๊กอินปลั๊กอินที่ติดตั้งสามารถ ยกเลกิ / เปดิ ใช้งานช่วั คราวโดยใชช้ อ่ งทำเครื่องหมาย

3. แทบ็ Installed ในแท็บนี้จะแสดง Plugins ที่ติดตั้งแล้ว ซึ่งจะพบรายการของ Core Plugins ซึ่งไม่สามารถถอนการติดตั้งได้

แต่ Plugins ที่เป็น External สามารถถอนการติดตั้งและติดตั้งใหม่ได้ตลอดเวลาโดยใช้ปุ่ม Uninstall Plugin และ Reinstall Plugin อีกครงั้ สามารถ Upgrade All Plugins ได้ดว้ ย

38

ส่วนที่ 4 การใช้งานโปรแกรม QGIS V.3.4

4. แทบ็ Not installed แท็บนี้จะแสดงรายการปลั๊กอินทั้งหมดพร้อมใช้งานที่ไม่ได้ติดตั้ง เราสามารถใช้ปุ่ม Install Plugin เพ่ือ

ติดต้งั ปลั๊กอินลงใน QGIS

5. แท็บ Install from ZIP แท็บยังมีเครื่องมือตัวเลือกไฟล์ที่จะนำเข้าปลั๊กอินในรูปแบบการบีบอัดเช่นปลั๊กอินดาวน์โหลดได้โดยตรง

จากพ้ืนท่ีเกบ็ ขอ้ มูล

39

ส่วนที่ 4 การใช้งานโปรแกรม QGIS V.3.4

4. ข้อมูลท่ัวไปกับโปรแกรม QGIS โปรแกรม QGIS มีการใช้งานคล้ายกับโปรแกรมทั่วไปที่เราใช้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งแถมคำสั่งจะมีสองส่วน

เหมือนโปรแกรมท่ัวไปคอื แถบเมนูคำส่ัง และไอคอนหรอื ปุ่มสำหรบั คำสั่งตา่ ง ๆ และส่วนสำหรบั แสดงผล

Menu Bar แถบเมนู 1. Toolbars แถบเครือ่ งมือ 2. Panels พาเนล 3. Map View มมุ มองแผนที่ 4. Status Bar แถบสถานะ 4.1 แถบเมนู แถบเมนูให้การเข้าถึงฟังก์ชั่น QGIS ต่างๆโดยใช้เมนูลำดับชั้นมาตรฐาน เมนูตัวเลือกไอคอนที่เกี่ยวข้อง และแปน้ พมิ พ์ลดั จะแสดงอยูด่ ้านลา่ ง แป้นพิมพ์ลัดเหลา่ น้ีเปน็ การต้งั ค่าเริ่มต้น แต่สามารถกำหนดค่าใหม่ได้โดยใช้ Keyboard Shortcuts ผ่านเมนูการ Settings ‣ ตัวเลือกเมนูส่วนใหญ่มีในแถบเครื่องมือด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เมนูจะไม่จัดระเบียบเหมือนแถบเครื่องมือ ตำแหน่งของตัวเลือกเมนูในแถบเครื่องมือจะระบุไว้ด้านล่างในตาราง ปลั๊กอินอาจเพิ่มตัวเลือกใหม่ให้กับเมนู สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องมือและแถบเครื่องมือให้ดู แถบ เครอื่ งมือProject โครงการ

4.1.1 เมนู Project ใหก้ ารเข้าถึงและออกจากจดุ ของแฟม้ โครงการ ซึ่งมีเครือ่ งมือ : - New สร้างไฟลใ์ หม่ตงั้ แต่เริ่มต้นหรือใชไ้ ฟลโ์ ครงการอื่นเปน็ เทมเพลต - Open… เปิดไฟลโ์ ครงการจากไฟล์เบราว์เซอร์หรอื ฐานขอ้ มูล PostgreSQL - Close ปิดโครงการหรือเปลีย่ นกลับเปน็ สถานะทบี่ ันทกึ ไวล้ า่ สดุ - Save บันทกึ โครงการใน.qgsหรอื .qgzรปู แบบไฟลไ์ ม่ว่าจะเปน็ ไฟลห์ รอื ภายในฐานขอ้ มลู PostgreSQL - Import/Export ‣ ส่งออกแผนทผ่ี นื ผ้าใบเป็นรปู แบบท่ีแตกต่างกันหรอื ใช้เคา้ โครงสำหรับ การพิมพท์ ีซ่ บั ซ้อนมากขน้ึ - Properties… ตั้งคา่ คุณสมบัติโครงการและตัวเลอื กการ Snap เมอื่ แกไ้ ข Layer

40

ส่วนที่ 4 การใชง้ านโปรแกรม QGIS V.3.4

Menu Option ตวั เลอื กเมนู ทางลดั

New ใหม่ Ctrl + N ใหมจ่ ากเทมเพลต‣ Ctrl + O New from template ‣ เปดิ … Ctrl + S Open… PostgreSQL เปดิ จาก‣ PostgreSQL Ctrl + Shift + S Open from ‣ Ctrl + Shift + P เปดิ ลา่ สดุ ‣ Open Recent ‣ ปดิ Ctrl + P Close บันทกึ บนั ทึกเปน็ … Ctrl + Q Save บนั ทึกลงใน‣ PostgreSQL Save As… ย้อนกลับไป ... คณุ สมบตั …ิ Save to ‣ PostgreSQL กำลังปดิ ตวั เลือก ... Revert… นำเขา้ ส่งออก ‣ Properties… ส่งออกแผนท่ีไปยังรปู ภาพ ... Snapping Options… สง่ ออกแผนท่เี ป็น PDF ... Import/Export ‣ ส่งออกโครงการเปน็ DXF ... Export Map to Image… นำเข้าเลเยอรจ์ าก DWG / DXF ... เคา้ โครงการพิมพใ์ หม่ ... Export Map to PDF… Export Project to DXF… รายงานใหม่ ... Import Layers from DWG/DXF… เครอ่ื งมือจัดการเลย์เอาต์ ... New Print Layout… เลย์เอาต์‣ New Report… ออกจาก QGIS

Layout Manager… Layouts ‣

Exit QGIS

4.1.2 Edit การแก้ไข เมนู Edit เป็นเครื่องที่พื้นฐานที่จำเป็นในการแก้ไขแอตทริบิวต์ชั้น หรือรูปทรงเรขาคณิต (ชนั้ ขอ้ มูล Vector)

Menu Option ตวั เลอื กเมนู ทางลัด Undo แก้ Ctrl + Z Redo ทำซ้ำ Ctrl + Shift + Z Cut Features คณุ สมบตั กิ ารตัด Ctrl + X Copy Features คณุ สมบัตกิ ารคดั ลอก Ctrl + C

41

ส่วนท่ี 4 การใชง้ านโปรแกรม QGIS V.3.4

Menu Option ตัวเลือกเมนู ทางลดั Paste Features วางคณุ สมบัติ Ctrl + V

Paste Features as ‣ วางคุณสมบตั เิ ปน็ ‣ Ctrl +. Ctrl +. Select ‣ เลือก‣ Ctrl +. เพมิ่ บนั ทึก Ctrl +. Add Record เพิ่มคณุ สมบัติจดุ Add Point Feature เพมิ่ คณุ สมบตั ิเส้น Add Line Feature เพิม่ คณุ สมบัตริ ปู หลายเหลี่ยม Add Polygon Feature เพิม่ Circular String Add Circular String เพิ่ม Circular String โดย Radius Add Circular String by Radius เพิม่ แวดวง‣ Add Circle ‣ เพม่ิ ส่ีเหลยี่ มผนื ผา้ ‣ Add Rectangle ‣ เพ่มิ รูปหลายเหลี่ยมปกติ‣ Add Regular Polygon ‣ เพ่ิมวงรี‣ Add Ellipse ‣ ย้ายสถานที่ คดั ลอกและย้ายคณุ สมบตั ิ Move Feature(s) ลบทเ่ี ลือก Copy and Move Feature(s) Delete Selected ปรับเปลี่ยนคณุ สมบตั ขิ องคณุ สมบตั ทิ ่เี ลอื ก Modify Attributes of Selected หมนุ คุณสมบตั ิ Features ลดความซับซอ้ นของคณุ สมบัติ Rotate Feature(s) เพิ่มแหวน Simplify Feature เพิม่ ส่วนหนึง่ Add Ring เติมแหวน Add Part ลบแหวน Fill Ring ลบสว่ นหนง่ึ Delete Ring กอ่ ร่างใหมค่ ุณสมบัติ Delete Part Offset Curve Reshape Features คุณสมบัติแยก Offset Curve แยกช้ินสว่ น Split Features ผสานคุณสมบตั ทิ ่ีเลือก Split Parts Merge Selected Features ผสานคณุ สมบตั ขิ องคุณสมบัตทิ ีเ่ ลอื ก Merge Attributes of Selected เคร่อื งมือ Vertex (ทกุ ช้ัน) Features เครื่องมอื เวอร์เท็กซ์ (เลเยอรป์ ัจจบุ นั ) Vertex Tool (All Layers) สัญลักษณ์การหมนุ Vertex Tool (Current Layer) สัญลกั ษณ์จุดตรงข้าม Rotate Point Symbols Offset Point Symbols

42

ส่วนท่ี 4 การใชง้ านโปรแกรม QGIS V.3.4

Menu Option ตวั เลือกเมนู ทางลัด Reverse Line Reverse Line

เคร่ืองมอื ทข่ี ึน้ อยกู่ บั ประเภทของ Layer แบบเรขาคณิตทเี่ ลอื กเชน่ จุด เส้น หรือรูปปิดจะถกู เปดิ ใช้งานตามลำดับ:

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) คืออะไร

GIS (geographic information system) หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ที่ทำงานโดยการป้อนข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่น ภาพแผนที่ ภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ตัวเลข ตัวอักษร ระยะทาง เข้าไปวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มักมีความถูกต้องแม่นยำสูง สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลายด้าน GIS มีประโยชน์หลายด้านโดยเฉพาะการจัดการ ...

GPS และ GIS แตกต่างกันอย่างไร

GIS and GPS คืออะไรกันแน่ GIS ย่อมาจาก ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System. GPS ย่อมาจาก Global Positioning System หรือแปลภาษาไทยก็คือ “ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ดังนั้นเวลาเราพูดถึง Solution โดยรวมที่เกี่ยวกับข้อมูลแผนที่เราจะใช้คำว่า GIS นะครับ ซึ่งตัว GIS เอง จะรวมถึงข้อมูลพิกัด GPS ด้วย

GIS คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทางาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียด ของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้

GIS คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ให้เรามอง ทำความเข้าใจ ตั้งคำถาม แปลผล และเห็นภาพโลกของเรา โดยเห็นถึงความสัมพันธ์ รูปแบบ และทิศทางแนวโน้มต่างๆ ในรูปแบบแผนที่ โลกจำลอง รายงาน และแผนภาพ ซอฟต์แวร์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ช่วยให้คุณตอบคำถามและแก้ปัญหาโดยการดูข้อมูลของคุณซึ่งเข้าใจได้รวดเร็วและใช้งานร่วมกันได้ง่ายบนแผนที่