การท เม ดเล อดแดงไม ม น วเคล ยสม ประโยชน อะไร

เผยแพร่: 7 เม.ย. 2559 21:50 ปรับปรุง: 8 เม.ย. 2559 01:40 โดย: MGR Online

เอเจนซีส์ - นาซิมุดดิน ซามัด (Nazimuddin Samad) นักศึกษาด้านกฎหมายวัย 28 ปี และเป็นบล็อกเกอร์ชาวบังกลาเทศถูกกลุ่มคนร้ายอิสลามิสต์ 3 คนบนมอเตอร์ไซค์ใช้มีดฟันจนเสียชีวิต ก่อนยิงซ้ำบริเวณสี่แยกอีกรัมปูร์ (Ekrampur) กรุงธากา ในช่วงคืนดึกวันพุธ (6) ที่ผ่านมา หลังจากก่อนหน้านี้ซามัดได้โพสต์ข้อความ “ผมไม่นับถือศาสนาใด” ในช่องระบุศาสนาบนโซเชียลมีเดีย

บีบีซี สื่ออังกฤษรายงานวันนี้ (7) ว่า - นาซิมุดดิน ซามัด (Nazimuddin Samad) นักศึกษาด้านกฎหมายวัย 28 ปี และเป็นบล็อกเกอร์ชาวบังกลาเทศ ซึ่งเป็นผู้จัดการเดินขบวนสนับสนุนแนวคิดการแบ่งแยกรัฐและศาสนาออกจากกัน ในขบวนการกันจากรัน มันช์ (Ganajagran Manch)

โดยตำรวจบังกลาเทศให้ข้อมูลว่า ชาย 3 คนบนมอเตอร์ไซค์ขี่มุ่งหน้ามาหาซามัดในระหว่างที่เขาอยู่บริเวณสี่แยกอีกรัมปูร์ (Ekrampur) ย่านซูตราปูร์ (Sutrapur) เขตเมืองเก่ากรุงธากา ในเวลากลางดึก 20.30 น.ของคืนวันพุธ (6) โดยใช้มีดยาวฟันทำร้ายจนเสียชีวิต ก่อนจะยิงซ้ำอีกครั้งแล้วหลบหนี

ซึ่งธากาทริบูน สื่อบังกลาเทศรายงานว่า เชื่อว่าคนร้ายน่าจะเป็นกลุ่มอิสลามิสต์ โดยคนร้ายลอบดักทำร้ายในขณะที่นักศึกษากฎหมายภาคค่ำมหาวิทยาลัยจากานนาธ (Jagannath University) วัย 28 ปีผู้นี้เพิ่งเลิกจากชั้นเรียนที่อยู่ใกล้กับสวนสาธารณะ บาฮาดูร์ ชาห์ ปาร์ก (Bahadur Shah Park)

อย่างไรก็ตาม พบว่าเพื่อนของซามัดที่อยู่ในเหตุการณ์ด้วยกันได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยนับตั้งแต่เกิดเหตุ

สื่อบังกลาเทศให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เพื่อนคนอื่นๆ ของซามัดได้กล่าวถึงเขาว่า ก่อนเกิดเหตุ 1 วันซามัดได้ใช้เฟซบุ๊กเป็นที่แสดงความเห็นทางการเมืองโดยวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและการศาสนาของบังกลาเทศ ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่าซามัดใช้เฟซบุ๊กในการรณรงค์แนวคิดการแยกการเมืองกับการศาสนาออกจากกัน และรวมไปถึงยังกล่าววิจารณ์กลุ่มอิสลามิสต์ในบังกลาเทศ

และธากาทริบูนยังรายงานเพิ่มเติมว่า จากการรายงานของตำรวจบังกลาเทศพบว่า ในเบื้องต้นคนร้ายทั้งสามบนรถมอเตอร์ไซค์ได้ขี่รถมาโฉบซามัดและเพื่อนก่อน และภายหลังใช้มีดยาวฟันไปที่ซามัด และทำให้เขาล้มลงบนพื้นถนน หลังจากนั้นคนร้ายใช้ปืนยิงซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเสียชีวิตจริงก่อนที่จะหลบหนีไป

ทั้งนี้ พบว่าหลังจากเกิดเหตุห้างร้านบริเวณใกล้จุดเกิดเหตุได้ปิดตัวลงอย่างรวดเร็วหลังมีเสียงปืนดังขึ้น และในขณะที่คนร้ายลงมือสังหารซามัดได้ตะโกนออกมาว่า “Allahu Akbar” หรืออัลลาฮู อักบาร์

นักข่าวธากาทริบูนรายงานจากที่เกิดเหตุพบว่า ตำรวจได้ล้อมที่เกิดเหตุไว้ และร้านค้าใกล้เคียงปิดตัวลง นอกจากนี้ยังพบว่าตำรวจสามารถพบปลอกกระสุนสังหารจากที่เกิดเหตุ

ซึ่ง นูรูล อามิน (Nurul Amin) ผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจบังกลาเทศในเขตซาตราปูร์ได้เปิดเผยว่า เมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงจุดเกิดเหตุ พบร่างชายคนหนึ่งนอนจมกองเลือด และพบบัตรประจำตัวของซามัดในกระเป๋า และหลังจากนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข่าวไปยังมหาวิทยาลัยจากานนาธ และนำตัวซามัดส่งโรงพยาบาลเซอร์ ซาลิมูลลาห์ เมดิคอล คอลเลจ (Sir Salimullah Medical College)

โดยพบว่าซามัดถูกประกาศเสียชีวิตในเวลา 21.00 น.ของวันเดียวกัน

นาซิมุดดิน ซามัดเป็นบุตรของ Shamshul Haque ที่อาศัยในย่านเบียนิบาซาร์ (Bianibazar) เมืองซิลเฮ็ต (Sylhet) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบังกลาเทศ และยังพบว่าซามัดทำงานเป็นเลขาฯ ด้านการค้นคว้าและข้อมูลให้กับเขตซิลเฮ็ต ดิสตริก หน่วย Bangabandhu Jatiya Jubo Parishad

“ยุง” พยานเอกตัวใหม่ในเหตุอาชญากรรม

เผยแพร่: 11 ก.ค. 2560 13:02 โดย: MGR Online

ต่อให้ผู้ก่อเหตุอาชญากรรมระมัดระวังไม่ให้มีร่องรอยที่จะกลายเป็นหลักฐานมัดตัว ทั้งก่อเหตุในที่ไม่มีผู้พบเห็น ไม่ทิ้งรอยนิ้วมือ รอยเท้าหรือแม้แต่เส้นผม ทว่าเลือดในตัวยุงบริเวณที่เกิดเหตุสามารถระบุตัวคนร้ายได้

อนาคตยุงอาจเป็นพยานหลักฐานตัวใหม่ในคดีอาชญากรรม โดยเอเอฟพีได้รายงานการศึกษาของทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนาโกยา (Nagoya University) ในญี่ปุ่น ที่ตีพิมพ์ลงวารสารพลอสวัน (PLOS ONE) ซึ่งได้เผยให้เห็นว่า เลือดคนที่สกัดได้จากยุงนั้นสามารถบ่งชี้เจ้าของเลือดได้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังถูกยุงกัด

“เทคนิคนี้จะช่วยให้ตำรวจหาคำตอบได้ว่าใครอยู่ในเหตุอาชญากรรม ในอนาคตอาจจะเป็นหลักฐานที่ใช้เป็นหลักฐานมัดตัวผู้กระทำผิด” โทชิมิชิ ยามาโมโตะ (Toshimichi Yamamoto) นักวิทยาศาสตร์หลักในการศึกษาครั้งนี้แถลง

ทั้งนี้ไม่มีใครทราว่าเลือดคนที่เก็บไว้ในตัวยุงนั้นจะคงข้อมูลดีเอ็นเอที่ใช้จำแนกบุคคลได้นานแค่ไหน ดังนั้น ยามาโมโตะและทีมนักนิติวิทยาศาสตร์จึงตัดสินใจหาคำตอบนี้ โดยเอาเลือดออกจากยุงที่กินเลือดอาสาสมัคร แล้วทดสอบด้วยเทคนิคปฏิกิริยาสายโซ่พอลิเมอเรส (polymerase chain reaction) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เทคนิคพีซีอาร์ (PCR)

สำหรับเทคนิคพีซีอาร์นั้นเป็นเครื่องมือมาตรฐานในงานนิติวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มจำนวนชิ้นส่วนดีเอ็นเอให้มากขึ้นเป็นหลายพันเท่า ซึ่งนักวิจัยพบว่าพวกเขาสามารถตามร่องรอยเลือดคนจากยุงได้ตรงกับเลือดของอาสาสมัครที่สละเลือดตัวเองให้เป็นอาหารยุง แม้ว่ายุงจะดูดเลือดนั้นไปนานถึง 2 วันแล้วก็ตาม แต่เมื่อผ่านไป 3 วันเลือดก็ถูกย่อยแล้ว

สำหรับยุงที่ใช้ในการทดลองนั้นมี 2 สายพันธุ์คือ คูเลกซ์ ไพเพียนส์ พอลเลนส์ (Culex pipiens pallens) และ เอเดส อัลโบพิคตัส (Aedes albopictus) ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์พบมากในเขตร้อน (tropical) และเขตกึ่งร้อน (sub-tropical)

“เราหวังว่านี่จะช่วยหน่วยสืบสวนงานอาชญากรรมเก็บรวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้” ยามาโมโตะระบุ และบอกด้วยว่าหากวิจัยต่อไปอาจจะถึงขั้นระบุได้ชัดเจนว่ายุงเริ่มดูดเลือดจากคนที่อยู่บริเวณเกิดเหตุอาชญากรรมเมื่อไร

ทั้งนี้ ยุงส่วนใหญ่จะบินหากินในรัศมีไม่กี่ร้อยเมตรโดยขึ้นอยู่กับชนิดของยุงนั้นๆ โดยมีช่วงอายุยืนยาวตั้งแต่เพียงไม่กี่วันไปจนถึง 2-3 เดือน และโดยทั่วไปยุงตัวเมียซึ่งดูดเลือดเป็นอาหารนั้นจะมีชีวิตยืนยาวกว่ายุงตัวผู้