ตัวอย่าง การ วัด และ ประเมิน ผล ตาม สภาพ จริง

การประเมินตามสภาพจริง เป็นการประเมินการแสดงออกถึงกระบวนการทำงานผ่านการปฏิบัติ เพื่อค้นหาศักยภาพหรือคุณลักษณะที่แท้จริงของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรม เรื่องราว เหตุการณ์ สถานการณ์ ภาระงาน ชิ้นงาน ที่นักเรียนได้ประสบในชีวิตประจำวัน หรือจากงาน/สถานการณ์ที่เป็นจริงในชีวิต (Real Life) ซึ่งเป็นงาน/สถานการณ์ซับซ้อน (Complexity) เป็นองค์รวม (Holistic) โดยดำเนินการต่อเนื่องตลอดการเรียนการสอน ผสานทั้งการเรียนการสอน (Teaching) การเรียนรู้ (Learning) และการประเมิน (Assessing) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยเครื่องมือและวิธีการประเมินที่หลากหลาย มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากกระบวนการเรียนรู้ (process) การปฏิบัติงาน (Performance) และผลผลิตที่ได้จากการเรียนรู้ ที่จะช่วยสะท้อนถึงความรู้ ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในตัวของผู้เรียน ตลอดจนการนำไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาจุดแข็งหรือข้อบกพร่องในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ตรงจุด

ลักษณะสำคัญของการประเมินตามสภาพจริงนั้น เป็นการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนและการแสดงออกของผู้เรียนรายบุคคลผ่านการปฏิบัติจริงด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย มุ่งเน้นพัฒนาการของผู้เรียน รวมทั้งเนื้อหาสาระทั้งในภาพกว้างและภาพรวมของการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมาย สนองความต้องการ และเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ลักษณะสำคัญของการประเมินสภาพจริง คือ ภาระงาน (Tasks) ซึ่งต้องเป็นงานที่สอดคล้องกับชีวิตจริงในบริบทที่หลากหลาย เป็นการประเมินความก้าวหน้า (Formative Assessment) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกลยุทธ์ที่ผู้เรียนใช้ในการเรียนรู้ ออกแบบการประเมินสำหรับระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันและมีลักษณะเฉพาะสำหรับผู้เรียนแต่ละบุคคล ตลอดจนให้สารสนเทศที่ช่วยสะท้อนความร่วมมือระหว่างนักเรียนและครู มีคำแนะนำในการประเมินที่มุ่งเน้นว่าผู้เรียนมีความรู้และสามารถทำอะไรได้

การประเมินตามสภาพจริงเป็นการประเมินรอบด้านทั้งด้านกระบวนการในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกัน และแรงจูงใจ ผ่านภาระงาน (Tasks) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการประเมินที่ช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะเพิ่มขึ้นและสามารถเชื่อมโยงไปใช้ในบริบทต่าง ๆ ดังนั้นในการประเมินตามสภาพจริงผู้สอนควรกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวัดประเมินให้ชัดเจน กำหนดสิ่งที่มุ่งวัดประเมิน พัฒนาการที่เกิดขึ้นหรือสมรรถนะที่แสดงออก ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีใด ใครบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ช่วงเวลาที่วัดประเมิน การเข้าถึงข้อมูลที่มุ่งวัดประเมิน และเกณฑ์การประเมินเป็นอย่างไร

ตัวอย่าง การประเมินตามสภาพจริงด้วยภาระงาน (Tasks)

ทักษะนิยาม/คำจำกัดความภาระงาน (Tasks)เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลกระบวนการในการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งความรู้Ÿ กระบวนการคิด Ÿ การใช้คอมพิวเตอร์ Ÿ กระบวนการด้านความปลอดภัย Ÿ การขับรถยนต์ Ÿ การรวบรวมประสบการณ์ Ÿ การแก้ไขปัญหาในขณะทำงานŸ แบบสัมภาษณ์ Ÿ แบบสังเกต Ÿ แบบสอบถาม Ÿ แบบประเมินชิ้นงาน Ÿ แบบประเมินการปฏิบัติ Ÿ แบบบันทึกการเรียนรู้ Ÿ แฟ้มสะสมผลงานการแก้ปัญหาใช้การคิดวิเคราะห์และทักษะการตัดสินใจ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาŸ การทดสอบสมมติฐาน Ÿ การเขียน Ÿ การพิจารณาและตัดสินคุณค่า Ÿ การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ Ÿ การพิจารณาความน่าเชื่อถือจากหลักฐาน Ÿ การให้เหตุผลแบบนิรนัย Ÿ การทำแผนที่ความคิดเพื่อระบุตัวแปรของปัญหาŸ แบบสัมภาษณ์ Ÿ แบบสังเกต Ÿ แบบสอบถาม Ÿ แบบประเมินชิ้นงาน Ÿ แบบประเมินการปฏิบัติ Ÿ แบบบันทึกการเรียนรู้ Ÿ แฟ้มสะสมผลงานการทำงานร่วมกันการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อมุ่งไปสู่ความสำเร็จร่วมกันŸ การฟัง (การสบตา การใช้คำถาม การตอบสนอง) Ÿ ความร่วมมือ (การแบ่งปัน ความสุภาพ) Ÿ การผลิตชิ้นงานร่วมกัน Ÿ การนำเสนอเป็นกลุ่มŸ แบบสัมภาษณ์ Ÿ แบบสังเกต Ÿ แบบสอบถาม Ÿ แบบประเมินชิ้นงาน Ÿ แบบประเมินการปฏิบัติ Ÿ แบบบันทึกการเรียนรู้ Ÿ แฟ้มสะสมผลงานแรงจูงใจระดับความเต็มใจที่มีต่อบางสิ่งŸ การกำหนดเป้าหมาย Ÿ การวางแผนเพื่อไปสู่เป้าหมาย Ÿ การประเมินความสำเร็จของตนเอง Ÿ การแสดงออกถึงความมุ่งมั่นŸ แบบสัมภาษณ์ Ÿ แบบสังเกต Ÿ แบบสอบถาม Ÿ แบบประเมินชิ้นงาน Ÿ แบบประเมินการปฏิบัติ Ÿ แบบบันทึกการเรียนรู้ Ÿ แฟ้มสะสมผลงาน

ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Thinglink ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน สามารถเชื่อมโยงไฟล์ เสียง วิดีโอ แผนที่ ไปยังแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ไว้บนภาพเดียวกัน โดยจะเปลี่ยนภาพนิ่งให้เป็นสื่อประสม เชิงโต้ตอบ (Interactive) ที่จะมีฟีเจอร์สำหรับ เพิ่มภาพประกอบ คำอธิบาย บทความ และลิงก์วีดีโออื่น ๆ เป็นต้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ อย่างมีความหมายและก่อให้เกิดประกายแห่งความคิด สร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ผ่านทางรูปภาพ ซึ่งผู้สอนสามารถบรรจุเนื้อหาข้อมูลจำนวนมากลงในรูปภาพที่มีขนาดเล็กได้ นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถ embed ไปใส่ไว้ในเว็บไซด์ บล็อก (Blog) หรือแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้ อีกด้วย

การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงนั้น ภาระงานของผู้เรียนที่ผู้สอนให้ไปจะต้องสามารถปฏิบัติได้ในชีวิตจริงมีความหมาย และเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน ซึ่งในหนังสือ ตำราส่วนใหญ่ ต่างยอมรับว่า “วิธีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงเป็นวิธีที่ดีที่สุด”

ตัวอย่างการประเมินทั่วไปและการประเมินตามสภาพจริง

ในการประเมินทั่วไป เมื่อต้องการประเมินผลการเรียนจะต้องหยุดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสอบประเมินผลการเรียน แต่สำหรับการประเมินตามสภาพจริง การประเมินผลไม่จำเป็นต้องหยุดการเรียนการสอน แต่สามารถประเมินผลในระหว่างการเรียนการสอน

ในการประเมินทั่วไป ผู้เรียนจะทราบผลคะแนนจากการประเมินผลการเรียน เช่น ได้ 3 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 เป็นต้น แต่สำหรับการประเมินตามสภาพจริงนั้น ผู้สอนจะต้องแสดงคะแนน และข้อความในการสื่อสารว่าผู้เรียนต้องปรับปรุง แก้ไขในส่วนใด

ในการประเมินผลทั่วไป ผู้สอนจะเป็นผู้บอกว่าสิ่งใดถูกหรือผิด แต่ในการประเมินผลตามสภาพจริงนั้น ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้ และตอบได้ว่าสิ่งใดถูกหรือผิด เพราะอะไร เช่น ครูเล่นโน้ตเพลงผิด ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าผิด และผิดอย่างไร

ในการประเมินผลทั่วไปจะมุ่งเน้นไปที่การสอบเท่านั้น แต่สำหรับการประเมินผลตามสภาพจริงนั้น ไม่มีเครื่องมือในการประเมินผลชิ้นเดียว แต่จะต้องประเมินหลายครั้ง ติดตามเป็นระยะ ทั้งในรูปแบบการสังเกต สัมภาษณ์ การสอบ ปฏิบัติ และอื่น ๆ จากนั้นนำมาประเมินในตอนสุดท้ายอีกครั้ง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลนั้นมีหลากหลาย

ประเภทของการทดสอบ (Type of Tests)

  1. Performance Test การวัดประเมินผลงานปฏิบัติ โดยดูจากกระบวนการและชิ้นงาน
  2. Paper-pencil Test การสอบในรูปแบบต่างๆ เช่น Essay, Short Answer, True-False, Completion, Matching และ Multiple choice
  3. Oral Test การสอบปากเปล่า เช่น สอบวิทยานิพนธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ (OLE)

(Ralph W.Tyler,1930)

ประกอบด้วย O: Objective จุดมุ่งหมาย L: Learning Experience การจัดประสบการณ์เรียนรู้ E: Measurement and Evaluation การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยทั้ง 3 ส่วนประกอบจะมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

(Fink,2003:62) มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ทันสมัยและดียิ่งขึ้นโดยเปลี่ยนจาก

O: Objective เปลี่ยนเป็น Learning Goals จุดมุ่งหมาย L: Learning Experience เปลี่ยนเป็น Teaching and Learning Activities การจัดประสบการณ์เรียนรู้ E: Measurement and Evaluation เปลี่ยนเป็น Feedback and Assessment การให้ข้อมูลป้อนกลับและประเมินผลการเรียนรู้

เกณฑ์การให้คะแนน: การประเมินตามสภาพจริง

ตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินของผู้สอนว่าเป็นไปตามการประเมินตามสภาพจริงหรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากเกณฑ์ 9 ด้าน ดังนี้

ตัวอย่าง การ วัด และ ประเมิน ผล ตาม สภาพ จริง

Formative VS Summative

สำหรับการประเมินแบบ Formative จะเป็นการติดตามความก้าวหน้าระหว่างกระบวนการทำงาน ส่วน Summative เป็นการดูจากผลสรุปในตอนสุดท้าย ซึ่งผู้สอนจะต้องติดตามความก้าวหน้าแบบ Formative Assessment เป็นที่ละขั้นเหมือนการปีนขึ้นบันไดและวัดประเมินผลในตอนสุดท้าย (Summative Assessment)

ซึ่งผู้สอนจะต้องติดตามความก้าวหน้าแบบ Formative Assessment เป็นที่ละขั้นเหมือนการปีนขึ้นบันได (ดังรูป) และวัดประเมินผลในตอนสุดท้าย (Summative Assessment) ซึ่งจุดประสงค์ของการวัดประเมินผลในชั้นเรียน แบ่งได้ 3 จุดประสงค์ ได้แก่

  1. Assessment for learning จะเป็นการวัดประเมินผลที่เป็นผลดีต่อผู้เรียนและผู้สอน เมื่อผู้สอนวัดประเมินหลังการสอน แล้วนำมาปรับปรุง พัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
  2. Assessment as learning จะเป็นการวัดประเมินผลขณะที่เกิดการเรียนรู้ (Formative Assessment) ซึ่งจะเกิดผลดีต่อผู้เรียนเป็นหลัก โดยผู้เรียนนั้นจะสามารถกำกับการเรียนรู้ของตนเองได้ว่าทำถูกต้องหรือไม่ ผิดพลาดและแก้ไขอย่างไร
  3. Assessment of learning จะเป็นการวัดประเมินผลในตอนสุดท้ายจากผลงาน (Summative Assessment)

ในอดีตจะนิยมวัดและประเมินผลในรูปแบบ Assessment of learning ซึ่งจะเป็นการวัดประเมินผลในตอนสุดท้ายจากผลงาน (Summative Assessment) ส่วนในปัจจุบันได้ปรับฐานความคิดเป็นการวัดและประเมินผลในรูปแบบ Assessment as Learning จะเป็นการวัดประเมินผลขณะที่เกิดการเรียนรู้ (Formative Assessment) ซึ่งจะต้องเกิดผลดีต่อผู้เรียนเป็นหลัก จากนั้น ผู้สอนนำ Assessment for Learning มาปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเอง และวัดและประเมินผล Assessment of Learning สุดท้ายของผลงาน

ประเภทของการประเมินความก้าวหน้า Formative Assessment

  1. รูปแบบทางการ (Formal): ควิซ, แบบทดสอบ, คะแนน 0 – 100
  2. รูปแบบไม่ทางการ (Informal): การถามคำถาม, การสังเกต, การรับฟัง, การตรวจงานของผู้เรียนขณะเรียนรู้

ประเภทของคำถาม (Powerful Types of Questions)

ในห้องเรียนรูปแบบเดิม ผู้สอนยังคิดยึดติดกับคำถามปลายปิด ใช่ หรือ ไม่ใช่? ซึ่งเป็นการปิดโอกาสการคิด วิเคราะห์ของผู้เรียน ผู้สอนสามารถใช้คำถามด้วย อะไร? (What?) ทำไม (Why?) เมื่อไร (When?) อย่างไร (How?) ที่ไหน (Where?) ใคร (Who?) จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์มากยิ่งขึ้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวัดประเมินผล

เครื่องมือที่ใช้ในการวัดประเมินผลนั้นมีการนำมาเลือกใช้ที่แตกต่างกัน เครื่องมือที่เหมาะสมกับ Summative Assessment เช่น การทดสอบเมื่อจบบทเรียน, การสอบปลายภาค, ควิซ, แบบทดสอบ เครื่องมือที่เหมาะสมกับ Formative Assessment เช่น การอภิปรายในชั้นเรียน, ติดตามความคืบหน้าชิ้นงาน

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่สามารถประเมินร่วมกันได้ทั้ง Formative และ Summative เช่น การมอบหมายงาน Project ผู้สอนสามารถประเมินความก้าวหน้าจากการปฏิบัติระหว่างทางได้ และเมื่อจบ Project ก็สามารถประเมินเพื่อตัดเกรดได้

รูบริคประเมินคุณภาพของการประเมินเพื่อติดตามความก้าวหน้า (Formative Assessment)

ตัวอย่างเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินของผู้สอนว่าเป็นไปตามการประเมินเพื่อติดตามความก้าวหน้าหรือไม่ สามารถพิจารณาได้จากเกณฑ์ 7 ด้าน ดังนี้

ตัวอย่าง การ วัด และ ประเมิน ผล ตาม สภาพ จริง

หลักการในการให้ Feedback

1.เมื่อตอนเริ่ม จะต้องทำการบอกผู้เรียนก่อนว่าจะไปไหน ทำอะไร (Feed Up) 2.จากนั้น ระหว่างทางจะต้องบอกผู้เรียนว่าทำแล้วเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ (Feed Back) 3.เมื่องานเสร็จเรียบร้อย จะทำอะไรต่อไป (Feed forward)

ซึ่งในการ Feed Up, Feed Back และ Feed Forward สามารถกระทำได้ 4 ระดับ ได้แก่

  1. Task level การให้ Feedback ต่องานหรือชิ้นงานว่าเป็นอย่างไร ดีหรือไม่
  2. Process Level กระบวนการทำงาน
  3. Self-regulation Level คุณลักษณะพึงประสงค์ต่างๆ ของตนเอง
  4. Self-level ประเมินตนเอง

“แซนด์วิชฟีดแบค” (Sandwich Feedback Technique)

เทคนิคการให้ Feedback ใน 3 กระบวนการคือ ยกย่อง ติเตียน ยกย่อง

ตัวอย่าง ผมได้อ่านรายงานของคุณเมื่อเช้า สำนวนการเขียนดีมาก ๆ อ่านแล้วเข้าใจง่าย สรุปครบ ตรงประเด็นดี ผมชอบ (ชม) ติดที่ส่งช้าไปหน่อย ถ้าเร็วกว่านี้จะเยี่ยมเลย (ติ) ยังไงก็พัฒนาต่อไป เพื่อน ๆ ก็บอกว่าคุณมีความสามารถด้านนี้นะ (ชม/ให้กำลังใจ)

หลักการให้ Assignment

  1. บอกผู้เรียนให้ชัดเจนว่าจะต้องทำอะไร
  2. แสดงให้เห็นว่ามีวิธีการปฏิบัติงานอย่างไร
  3. ทำให้ผู้เรียนเห็นว่าทำไมเขาถึงควรทำงานนี้
  4. เชื่อมโยงบทเรียนก่อนหน้าและบทเรียนใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมของรายวิชา
  5. สร้างทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
  6. 6. คาดคะเนถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและแนะนำวิธีการแก้ไขแก่ผู้เรียน
  7. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

กรณีศึกษา Assessment for Learning in KS3/4 Science – Andy and Physics

จากกรณีศึกษา ครู Andy เป็นครูที่ให้กำลังใจแก่ผู้เรียนได้อย่างดีมาก

ในระหว่างการสอนในห้องเรียน ครู Andy จะใช้เกมวงล้อความพิโรธในการดำเนินการสอน ซึ่งลักษณะเกมนั้นผู้เรียนจะสุ่มหยิบกระดาษมาคนละ 1 แผ่น ในกระดาษจะมีคำถาม 1 ข้อ และคำตอบ 1 ข้อ ซึ่งเป็นคำตอบของคำถามข้ออื่น เมื่อเพื่อนร่วมชั้นอ่านคำถามจบ คำตอบของใครตรงกับคำถามนั้นจะยกมือตอบและอ่านคำถามของตนเองวนต่อไปเรื่อย ๆ จบครบทั้งห้อง

ส่วนอีกเกมที่ครู Andy ได้นำมาใช้ระหว่างการสอนในห้องเรียนคือเกมแต่งประโยค บนกระดานมีกระดาษ 30 ชิ้น ใต้แผ่นกระดาษจะมีคำศัพท์ใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้เรียนไปในปีนี้ จากนั้นให้ผู้เรียนเลือกสุ่มมา 1 แผ่น และทำการแต่งประโยค ซึ่งเกมต่างๆ นี้จัดเป็น Formative Assessment

กรณีศึกษา Assessment for learning in KS3/4 Science – Anita and Biology

ในระหว่างการสอนครู Anita เมื่อครูตั้งคำถามในชั้นเรียนจะให้ผู้เรียนเขียนคำตอบแล้วยกให้ดู วิธีนี้เป็นการติดตามผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระหว่างเรียน (Formative Assessment)

ครู Anita ประกาศเกณฑ์การให้คะแนนผู้เรียนตั้งแต่คาบแรก คือการใช้เทคนิค “ขั้นบันได” เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจการเรียนรู้ของตนเอง ครู Anita ได้ให้ผู้เรียนมีโอกาสประเมินผลงานของผู้เรียนรุ่นก่อนโดยใช้ระบบขั้นบันได ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เห็นในแบบที่ครูเห็น ซึ่งเมื่อผู้เรียนปฏิบัติงานของตนเองก็จะเข้าใจและสามารถประเมินผลงานของตนเองได้ รวมถึงทราบว่าทำอย่างไรถึงจะไปยังขั้นบันไดที่สูงขึ้นได้

ครู Anita ได้ใช้ประสบการณ์จากการทำงานกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจวิทยาศาสตร์ รวมถึงการสร้างสถานการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงเมื่อประกอบอาชีพและเชื่องโยงไปสู่งานปฏิบัติงานในชั้นเรียน

การประเมินผลตามสภาพจริง มีอะไรบ้าง

การวัดและประเมินตามสภาพจริง มีกระบวนการวัดผลการเรียนรู้ตามแนวทาง 3 ประการ คือ 1. วัดครบถ้วนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง วัดความสามารถทางความรู้ ความคิดได้จริง (Cognitive Ability) วัดความสามารถในการปฏิบัติได้จริง (Performance/Practice Ability) และวัดคุณลักษณะทางจิตใจได้จริง (Affective Characteristics)

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินตามสภาพจริงมีอะไรบ้าง

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือแบบสัมภาษณ์ และแบบทดสอบในการเรียนการ สอนส่วนใหญ่เป็นแบบทดสอบ เช่น แบบทดสอบแบบเลือกตอบ แบบจับคู่ แบบเติมค า ในช่องว่าง และแบบความเรียง ในการประเมินตามสภาพจริงใช้แบบเลือกตอบที่จัดท าเป็น แบบทดสอบมาตรฐานและแบบความเรียง ทั้ง 2 แบบนี้จะประเมินตามสภาพจริงได้สร้าง ข้อค าถามต้องประเมินความสามารถ ...

เกณฑ์การวัดประเมินตามสภาพจริงมีกี่แบบ *

การให้คะแนนการประเมินตามสภาพจริง มี 2 แนวทาง คือ การประเมินในลักษณะภาพรวม และการประเมินในลักษณะการวิเคราะห์ส่วนย่อย

หลักการของการประเมินผลตามสภาพจริงมีความสำคัญอย่างไร

ประโยชน์ของการประเมินผลตามสภาพจริง (ต่อ) เป็นปฏิบัติการที่เด่นชัดและแสดงให้เห็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีความสลับ ซับซ้อนและยุ่งยากได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมให้มีการใช้วิธีการประเมินผลที่หลากหลาย และบันทึกผลการเรียนรู้ในภาพกว้างที่ได้มาจากสถานการณ์ต่าง ๆ กัน สามารถใช้ได้กับทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม