บจก ย ม เรสเทอรองตส อ นเตอร เนช นแนล

ปัจจุบัน KFC เป็นแบรนด์ในเครือ บริษัท “Yum! Brands” หนึ่งในบริษัทเจ้าของแบรนด์อาหารที่เป็นที่นิยมและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

สำหรับในประเทศไทย ธุรกิจร้านอาหารจานด่วน (Quick Service Restaurant) มูลค่าตลาดกว่า 31,200 ล้านบาท ซึ่งมูลค่านี้มากที่สุดในบรรดาธุรกิจร้านอาหารรูปแบบต่างๆ

และแน่นอนว่า KFC ถือเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูง ในธุรกิจร้านอาหารจานด่วนของไทย

โดย KFC ในประเทศไทย มี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั­นแนล (ประเทศไทย) หรือ ยัม! ประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารแบรนด์ ทำการตลาด และโปรโมชัน

ต้องบอกก่อนว่า ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา บริษัท Yum! Brands มีนโยบายจะให้ร้านอาหารในเครือเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด จึงทำให้ร้าน KFC ในประเทศไทย จะมี ยัม! ประเทศไทย บริหารแบรนด์และทำการตลาดให้ ส่วนหน้าที่การบริหารจัดการร้าน จะเป็นหน้าที่ของผู้ที่ได้รับสิทธิ์การจัดจำหน่าย หรือที่เรียกว่า “แฟรนไชซี” เป็นผู้ดำเนินการ

โดยแฟรนไชซี จะต้องทำตามข้อตกลงที่ทำไว้กับ ยัม! ประเทศไทย ทั้งรูปแบบสาขา การปรับปรุงร้าน เมนูอาหาร และเครื่องดื่มที่จำหน่ายในร้าน ทุกอย่างต้องผ่านการยินยอมและอนุมัติจาก ยัม! ประเทศไทย ทั้งสิ้น

ซึ่งแฟรนไชซีของแบรนด์ KFC ในประเทศไทยตอนนี้ มีอยู่ทั้งหมด 3 ราย คือ 1. บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) 2. บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD) 3. บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA)

KFC เข้ามาเปิดสาขาแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 หรือ 35 ปีที่แล้ว ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว

ซึ่งเป็นการนำเข้ามาของ เครือเซ็นทรัล ที่เป็นเจ้าแรกที่ได้สิทธิ์เป็นแฟรนไชซีแบรนด์ KFC

ซึ่งปัจจุบัน KFC ก็อยู่ภายใต้การบริหารงานของเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG) บริษัทในเครือเซ็นทรัล

ผลประกอบการของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 11,007 ล้านบาท กำไร 681 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 11,288 ล้านบาท กำไร 570 ล้านบาท

ซึ่งต้องหมายเหตุว่า เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ไม่ได้ขายแค่ไก่ทอด KFC เท่านั้น แต่ยังมีแบรนด์อาหารอื่นๆ ในพอร์ตอีก เช่น Mister Donut, Auntie Anne’s รวมทั้งร้านอาหารไทยและร้านอาหารญี่ปุ่น รวมกว่า 15 แบรนด์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 ยัม! ประเทศไทย ได้มอบสิทธิ์แฟรนไชส์ KFC ให้กับแฟรนไชซีรายที่ 2 คือ บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD)

โดย RD เป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมทุนของผู้ลงทุนทั้งไทยและอาเซียน และได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งญี่ปุ่น

ผลประกอบการของบริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (RD) ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 4,067 ล้านบาท ขาดทุน 93 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 4,370 ล้านบาท ขาดทุน 127 ล้านบาท

และในปลายปี พ.ศ. 2560 ยัม! ประเทศไทย ก็มีแฟรนไชซีเพิ่มมาอีกหนึ่งราย บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือไทยเบฟเวอเรจ ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี

ผลประกอบการของบริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) ปี พ.ศ. 2561 รายได้ 6,117 ล้านบาท กำไร 169 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2562 รายได้ 7,745 ล้านบาท กำไร 108 ล้านบาท

โดยข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2562 KFC ในประเทศไทยมีทั้งหมด 826 สาขา แบ่งเป็น เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) 283 สาขา เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) 207 สาขา คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (QSA) 336 สาขา

จากข้อมูลผลประกอบการสองปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า KFC ภายใต้การดำเนินงานของ เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) ยังขาดทุนอยู่เมื่อเทียบกับแฟรนไชซีอีก 2 ราย

ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนสาขาที่น้อยกว่า ทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ที่น้อยกว่าแฟรนไชซีอีกสองเจ้า

สรุปแล้ว ถ้าถามว่า KFC ในประเทศไทย ใครเป็นเจ้าของ?

ก็ต้องตอบว่า ถ้าในมุมของการเป็นเจ้าของแบรนด์ ผู้ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ KFC ในไทย ก็คือ บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่­นแนล (ประเทศไทย) หรือ Yum! ประเทศไทย

ส่วนถ้าเป็นในแง่ของการเป็นเจ้าของสิทธิ์ในการบริหารร้าน KFC หรือที่เรียกว่า แฟรนไชซี ก็จะมีอยู่ทั้งหมด 3 ราย คือ เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป (CRG), เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ (RD) และ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย (QSA) นั่นเอง..

ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ Yum! Brands คือ บริษัทร้านอาหารที่เป็นที่นิยมและเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE)

โดย บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือเอไอเอส ในฐานะผู้นำที่ไม่เคยหยุดพัฒนาบริการที่ดีที่สุดด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ผ่านเว็บไซต์รวมสินค้าและบริการ จากผู้ประกอบการที่เชื่อถือได้ มีการตรวจสอบและยืนยันตัวตนจริง และครอบคลุมทุกหมวดธุรกิจมากที่สุดในประเทศ เราจะมอบบริการที่เหนือความคาดหมาย จากทีมงานคุณภาพ

25 ก.ค. 2020

รู้จัก Yum! Brands เจ้าของแบรนด์ KFC และ Pizza Hut /โดย ลงทุนแมน

เชื่อว่าคนไทยเกือบทุกคน ต้องคุ้นเคย และคุ้นชื่อ ไก่ทอด KFC และ Pizza Hut กันอยู่แล้ว

แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า เจ้าของแบรนด์ KFC และ Pizza Hut คือบริษัทเดียวกัน บริษัทนั้นชื่อว่า “Yum! Brands”

เรื่องราวของ Yum! Brands น่าสนใจอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง ╔═══════════╗ อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย Blockdit.com/download ╚═══════════╝ ก่อนจะมาเป็น Yum! Brands จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้ มาจาก PepsiCo บริษัทเจ้าของน้ำอัดลมเป๊ปซี่ และขนมเลย์ ที่เราก็คุ้นเคยกันดี

ในช่วงปี 1977 ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดกำลังได้รับความนิยมในสหรัฐฯ ทำให้ PepsiCo ที่มีธุรกิจหลักคือผลิตเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว เกิดสนใจและอยากที่จะรุกเข้าหาธุรกิจร้านอาหาร

PepsiCo เริ่มไล่ซื้อแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดชื่อดังมาเป็นเจ้าของ ซึ่งสามแบรนด์เด่นที่เข้ามาอยู่ในพอร์ตของ PepsiCo คือ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell

แต่เมื่อทำธุรกิจนี้ไปได้ 20 ปี PepsiCo ก็ตัดสินใจถอยออกมาจากวงการร้านอาหาร เพราะอยากกลับไปโฟกัสธุรกิจหลักของตัวเองให้เต็มที่เหมือนเดิม

ทำให้ในปี 1997 ธุรกิจส่วนร้านอาหารของ PepsiCo ถูกแยกออกมาเป็นบริษัทใหม่ มีชื่อว่า “Tricon Global Restaurants” โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองลุยส์วิลล์ รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา โดยที่มาของชื่อ Tricon ก็เพราะมี 3 แบรนด์หลักคือ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell

ทั้งสามแบรนด์ร้านฟาสต์ฟู้ดในเครือ Tricon Global Restaurants ได้รับความนิยมมากขึ้น จนขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐฯ

ในปี 2002 Tricon Global Restaurants ก็เปลี่ยนชื่อเป็น “Yum! Brands”

และจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ภายใต้ชื่อบริษัท Yum! Brands, Inc.

หลังจากระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้ง KFC, Pizza Hut และ Taco Bell ก็เริ่มขยายสาขามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสหรัฐฯ และออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะ KFC ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

ในปี 2013 Yum! Brands มีร้านอาหารทั่วโลกรวมกันถึง 40,000 สาขา และในประเทศจีน ร้านอาหารเครือ Yum! Brands เติบโตอย่างรวดเร็ว จนต้องแยกเป็นอีกบริษัทเพื่อดูแลตลาดจีนโดยเฉพาะ

ปี 2016 Yum China Holdings จดทะเบียนแยกออกมาจาก Yum! Brands โดยมีอิสระในการบริหารแบรนด์ในเครือ Yum! และทำตลาดด้วยตัวเองในจีน

ณ สิ้นปี 2019 Yum! Brands มีร้านทั่วโลก 50,170 สาขา แบ่งเป็น KFC 24,104 สาขา Pizza Hut 18,703 สาขา Taco Bell 7,363 สาขา

ที่น่าสนใจก็คือ Yum! Brands บริหารร้านด้วยตัวเองเพียง 2% เท่านั้น ที่เหลืออีก 98% คือร้านในรูปแบบ “แฟรนไชส์”

โดยผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการบริหารร้านอาหารในแฟรนไชส์ เราจะเรียกว่า “แฟรนไชซี”

ซึ่งแฟรนไชซีจะมีหน้าที่บริหารร้านอาหาร และเป็นเจ้าของร้านเพียงเท่านั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของแบรนด์ KFC, Pizza Hut หรือ Taco Bell แต่อย่างใด

โดย Yum! Brands จะเรียกเก็บส่วนแบ่งยอดขายประมาณ 5% และค่าธรรมเนียมอื่นในการส่งเสริมแบรนด์จากแฟรนไชซี

ผลประกอบการ ปี 2019 ของ Yum! Brands, Inc. รายได้ 176,585 ล้านบาท กำไรสุทธิ 40,826 ล้านบาท

โดยรายได้ทุก 100 บาท มาจาก ยอดขายของสาขาที่ Yum! Brands บริหารเอง 28 บาท รายได้จากส่วนแบ่งยอดขายจากแฟรนไชซี 48 บาท ค่าธรรมเนียมอื่นที่เก็บจากแฟรนไชซี 24 บาท

ทีนี้ลองมาดูในประเทศไทย..

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของ Yum! Brands ณ สิ้นปี 2019 ในไทยมีร้าน KFC, Pizza Hut และ Taco Bell รวมทั้งหมด 858 สาขา แบ่งเป็น KFC 717 สาขา, Pizza Hut 140 สาขา และ Taco Bell 1 สาขา

โดยรูปแบบการดำเนินงานในประเทศไทย ทุกสาขาเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ทั้งหมด

โดยมี บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล และบริหารแบรนด์ ทั้ง KFC, Pizza Hut และ Taco Bell ในประเทศไทย

ส่วนหน้าที่การบริหารร้านค้าและการบริการภายในร้าน เป็นหน้าที่ของแฟรนไชซี ที่ได้รับสิทธิ์บริหารร้านในประเทศไทย

ตัวอย่างเช่น แฟรนไชซีที่บริหารร้าน KFC ทั้ง 717 สาขา ในไทย มี 3 กลุ่มบริษัท คือ บริษัท เดอะ คิวเอสอาร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (บริษัทเครือไทยเบฟ) บริษัท เรสเทอรองตส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์กรุ๊ป จำกัด (บริษัทเครือเซ็นทรัล)

ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของเจ้าของแบรนด์ KFC, Pizza Hut และ Taco Bell ที่ต่อจากนี้ เราจะได้รู้ว่า ไม่ว่าจะเลือกกินอาหารร้านไหนจาก 3 ชื่อนี้