ยู นิ ชา ร์ ม ทำ เกี่ยว กับ อะไร

เอาจริงคือ ผมอยากได้ unicharm มากกว่าเพราะใกล้บ้านผมมาก (บางวัว ฉะเชิงเทรา) ไม่ต้องลำบากไปหาหอพักที่กรุงเทพเลยได้อยุ่กับครอบครัวด้วย ประหยัดมาก สวัสดิการก็ดีกว่า แต่ปัญหาคือ ไม่มีความแน่นอนว่าผมจะสัมภาษณ์ผ่านหรือไม่

ส่วนทหารไทยได้แน่นอนอยู่แล้ว แต่ผมกังวลว่าถ้าผมเอาที่นี่ ผมจะเสียดายที่ unicharm มากๆ มันก็จะคิดเข้าข้างตัวเองว่า ถ้าผมเกิดได้ที่ unicharm ขึ้นมาล่ะ?

บริษัท ยูนิ. ชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท ยูนิ. ชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบธุรกิจประเภท การผลิต โดยให้บริการด้าน การผลิตผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษเพื่อใช้ในครัวเรือนและ สุขอนามัย

กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนใช้งาน หรือสมัครสมาชิก ฟรี

เข้าสู่ระบบ

ข้อมูลทั่วไปของ บริษัท ยูนิ. ชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด

ชื่อนิติบุคคล UNI.CHARM (THAILAND) CO., LTD. เลขทะเบียนนิติบุคคล 0105530035751 เลขทะเบียนนิติบุคคล (เดิม) 3573/2530 วันเดือนปีที่จดทะเบียน วันที่ 22 ก.ค. 2530 (36 ปี 5 เดือน 0 วัน) สถานภาพกิจการ รวมจากส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัท ยูนิ-ชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตสินค้าที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงโดยตลอดมาในด้านคุณภาพภายใต้ยี่ห้อผ้าอนามัย SOFY (โซฟี) และผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูป Mamy poko (มามี่ โพโค) ได้ รับรอง ระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9002 และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 โดยความสำเร็จที่ได้มาเป็นผล มาจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

สวัสดิการ

โบนัสประจำปี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เบี้ยขยัน ค่าเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน ค่าโทรศัพท์ (เฉพาะบางตำแหน่งงาน) เงินค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพกลุ่ม ประกันชีวิต

เงินแสดงความยินดีในกรณีต่างๆ เงินแสดงความเสียใจในกรณีต่างๆ สวัสดิการเงินวันเกิด ของขวัญวันเกิด Sport Day & New Year Party ท่องเที่ยวประจำปี ฯลฯ

เรื่องราวของแบรนด์ ‘ยูนิชาร์ม’ (Unicharm) เริ่มต้นจากชายญี่ปุ่นที่อยากให้ความเจ็บปวดของผู้หญิงได้รับการช่วยเหลือ จึงเกิดไอเดียเป็น ‘ผ้าอนามัย’ จากจุดเล็ก ๆ ที่สร้างเรื่องอย่างยิ่งใหญ่ จนถึงปัจจุบัน

‘ผ้าอนามัย’ คือสินค้าตัวแรก ๆ ที่ Unicharm ผลิตขึ้น หลังจากที่ผู้ก่อตั้งมีความคิดอยากช่วยผู้หญิง ‘เคอิชิโระ ทาคาฮาระ’ (Keiichiro Takahara) ชายที่มีความฝันอยากเปลี่ยนความทุกข์ทรมานของผู้หญิงให้ดีขึ้น สู่แบรนด์ที่มีสินค้าทั้งผู้หญิง เด็ก และอีกมากมาย

ก่อนหน้านี้เคยมีกระแสว่าคนเกาหลีเปิดประเด็นเกี่ยวกับ ‘ผ้าอนามัย’ ยี่ห้อหนึ่งที่เย็นจนตรงนั้นของผู้หญิงเกือบชา จากนั้นก็มีหลายคนเข้ามาคอมเมนต์ถึงฟังก์ชันของผ้าอนามัยในปัจจุบันที่มีมากขึ้นจนน่าตกใจ

หากย้อนไปเมื่อ 60 ปีก่อนในประเทศญี่ปุ่น ต้องบอกว่าผู้หญิงญี่ปุ่นก็ฮือฮากับสิ่งประดิษฐ์นี้อยู่พอสมควร นับตั้งแต่ที่มีแบรนด์ที่ชื่อว่า ‘ยูนิชาร์ม’ (Unicharm) แม้ว่าตอนนั้นยังไม่มีผ้าอนามัยแบบเย็นเหมือนกับตอนนี้

ถึงแม้ว่าจะมีหลายธุรกิจในญี่ปุ่นที่เคลมว่าเป็นรายแรกที่ผลิตผ้าอนามัยได้ในประเทศ แต่สำหรับ Unicharm เรียกว่าเป็นรายแรก ๆ เหมือนกันที่ผลิตออกมาในยุคนั้น และต่อมาได้พัฒนาสินค้าเกี่ยวกับสุขอนามัยออกมาเรื่อย ๆ จนทำให้เป็นหนึ่งในผู้นำของตลาดเอเชีย ทั้งยังมีมูลค่าธุรกิจเป็นหลักพันล้านดอลลาร์สหรัฐด้วย

ก่อนเป็น Unicharm

เส้นทางธุรกิจของ Unicharm ก็คือการผลิตผ้าอนามัยเป็นอย่างแรก แต่จริง ๆ แล้ว ‘เคอิชิโระ ทาคาฮาระ’ (Keiichiro Takahara) ผู้ก่อตั้งชาวญี่ปุ่นมีธุรกิจอื่นอยู่แล้วก่อนหน้านั้น ซึ่งก็คือ ‘ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง’ ที่ชื่อว่า Taisei Kako (หรือบริษัท Taisei Chemical Works) โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1961

เคอิชิโระ เกิดและโตในเมืองคาวาโนเอะ จังหวัดเอะฮิเมะ เมืองเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุ ซึ่งมีอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระดาษ เคมีภัณฑ์ และขุดเจาะน้ำมัน เป็นกลุ่มสินค้าขึ้นชื่อของเมืองนี้

จึงไม่แปลกหากตระกูลทาคาฮาระ จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตกระดาษตั้งแต่เขาเด็ก ๆ ซึ่งพ่อแม่ของ เคอิชิโระ เปิดบริษัทผลิตกระดาษซึ่งทำมาอย่างยาวนาน และก็ถือว่าเป็นธุรกิจครอบครัวที่หาเลี้ยงครอบครัวได้ดี แต่สำหรับ เคอิชิโระ เขาไม่อินกับการทำธุรกิจที่บ้าน แม้ว่าเขาจะใฝ่ฝันอยากเป็นนักธุรกิจเหมือนกับพ่อแม่ก็ตาม

เขาตัดสินใจลาออกและเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง ก็คือเป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายแผ่นเซลโลกรีต หรือแผ่นเส้นใยไม้อัดซีเมนต์ (wood wool cement board) หลังจากนั้นเขาก็ขยับขยายธุรกิจให้เป็น ‘วัสดุก่อสร้าง’ ที่มีสินค้าให้เลือกมากขึ้น

จุดเริ่มต้น Unicharm

ในระหว่างที่เขายังดำเนินธุรกิจวัสดุก่อสร้าง เขาก็เริ่มมองหาธุรกิจอื่นไปด้วย ซึ่งวันหนึ่งเขาได้สังเกตเห็นความทุกข์ทรมานของผู้หญิงกับการเป็น ‘ประจำเดือน’ ซึ่งต้องเจอแบบนี้ซ้ำ ๆ ทุกเดือน ถือว่าเป็นจุดเล็ก ๆ ที่ทำให้เขาเริ่มสนใจในโปรดักต์ที่เกี่ยวกับ ‘สุขอนามัย’ และนั่นเป็นครั้งแรกที่ เคอิชิโระ หันมาทำ ‘ผ้าอนามัย’ ในปี 1963

โดยผ้าอนามัยของเขาถูกขายในชื่อว่า ‘โซฟี’ (SOFY) ภายใต้บริษัทใหม่ก็คือ Charm Corporation (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Unicharm Corporation) ซึ่งชื่อแบรนด์ว่า SOFY ถูกขายผ่านชื่อนี้อย่างยาวนานตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี 1982 และก็เป็นสินค้าที่สร้างการรับรู้ให้กับคนญี่ปุ่นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของผู้หญิงมากขึ้นด้วย

อาจจะไม่ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับอุปสรรคหรือความท้าทายของ เคอิชิโระ ระหว่างที่เขาพยายามตีตลาดสินค้าเพื่อผู้หญิง แต่เรียกว่ามีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งผ้าอนามัยแบบสอด, กางเกงซับใน Charm Nap Mini พัฒนาไปจนถึง ‘ผ้าอ้อม’ ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคนรู้จักกันดีในชื่อยี่ห้อ ‘MamyPoko’

มีประโยคหนึ่งที่อธิบายในเว็บไซต์ของ Unicharm จากผู้ก่อตั้งว่า “เราหวังว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะช่วยให้ผู้หญิงหลุดพ้นจากข้อจำกัดทางร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน ตกขาว ซึ่งจะช่วยให้พวกเธอมีความสุขกับชีวิตที่สะดวกสบายโดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ”

ทั้งนี้แบรนด์ SOFY ได้เข้ามาในตลาดต่างประเทศครั้งแรกในปี 1993 ในไต้หวัน และขยายต่อมาที่ประเทศไทยในปี 1995 หลังจากนั้นก็อีกหลายประเทศในเอเชีย จนปัจจุบันสินค้าหลายตัวภายใต้บริษัท Unicharm ถือสัดส่วนใหญ่อันดับต้น ๆ ในประเทศเอเชีย โดยเฉพาะในจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จะเห็นว่าบางทีการฟูมฟักสิ่งแวดล้อมที่เติบโตมากับธุรกิจของครอบครัว ก็ไม่จำเป็นต้องลงเอยกับธุรกิจครอบครัวเสมอไป ซึ่งกรณีของ เคอิชิโระ ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัท Unicharm เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ เพียงเพราะเขาไม่อินกับสิ่งที่พ่อแม่ทำอยู่ และสังเกตว่าอะไรคือจุดเล็ก ๆ ที่คนมักมองข้าม เหมือนกับความคิดแรกที่ทำให้เขาอยากจะลองผลิตผ้าอนามัย จนตอนนี้กลายเป็นบริษัทที่ครองอันดับ 1 ในหลายประเทศ (บางผลิตภัณฑ์) และก็มีมูลค่าธุรกิจหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ