19 2 นวลจ นทร 56 บ งก ม กร งเทพ

หลวงพ่อเดินเท้าจากพังงาสู่กรุงเทพฯ ร่วมแสดงความอาลัยพระบรมศพในหลวง

เผยแพร่: 5 พ.ย. 2559 17:34 ปรับปรุง: 5 พ.ย. 2559 20:43 โดย: MGR Online

ระนอง - “หลวงพ่อ” เดินเท้าจากจังหวัดพังงา ผ่านจังหวัดระนอง มุ่งสู่พระราชวัง เพื่อเข้าร่วมแสดงความอาลัยพระบรมศพในหลวง

วันนี้ (5 พ.ย .) พระวรวรรณ เขมวีโร อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองสีนวล จ.กำแพงเพชร (สละตำแหน่งเจ้าอาวาส) มาจำวัดอยู่ที่พักสงฆ์บ้านช้างเชื่อ ต.เหล อ.กะปง จ.พังงา ได้เดินเท้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยเริ่มเดินตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.59 จุดเริ่มต้นจากที่ว่าการ อ.กะปง จ.พังงา เป้าหมายให้เดินไปถึงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยได้แวะพักจำวัดพื้นที่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ในวันนี้ (5 พ.ย.) เดินทางถึง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มุ่งหน้าเข้าสู่ อ.เมืองระนอง คาดว่าใช้เวลาประมาณ 28 วัน ในการเดินเท้า โดยจะเดินเท้าประมาณวันละ 25 กิโลเมตร จึงจะถึงพระบรมมหาราชวัง เพื่อเข้าร่วมแสดงความอาลัยพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พระวรวรรณ เขมวีโร กล่าวว่า พ่อหลวงของเราทรงให้ทุกอย่างแก่ลูกๆ ประชาชนคนไทย ไม่แบ่งชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะเป็นพระ หรือเณร ทรงให้ความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา และถึงแม้พระองค์จะไม่ได้อยู่กับประชาชนคนไทยแล้ว ก็อยากจะให้พวกเราเอาคำสั่งสอนของพระองค์มาประพฤติปฏิบัติปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเรา และขอให้คนไทยทุกคนไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ทุกศาสนาก็สอนให้ทุกคนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่ได้สอนให้มาเข่นฆ่ากัน และรวมถึงพวกเราเกิดมาในผืนแผ่นดินไทย เป็นลูกของพ่อหลวงคนเดียวกัน ควรที่จะรัก และสามัคคีกันให้มาก “อาตมามีความรักพระองค์ท่าน ได้เห็นท่านทรงตรากตรำทำงานหนักเพื่อคนไทยมาตลอดระยะเวลา 70 ปี จึงอยากแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อพ่อหลวง และขอทำเพื่อพ่อหลวงสักครั้งหนึ่งในฐานะคนไทย” พร้อมทั้งได้นำมาสมุดเล่มหนึ่งที่เคยเขียนไว้มีรูปในหลวง พร้อมคำแสดงความอาลัยให้ดู “อาตมาภาพวาสนาบุญญาน้อย เมื่อครั้งพระองค์ท่านยังมีลมหายใจอยู่ไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าใกล้ชิด แต่ชีวิตก็ขอให้ได้ใกล้ชิดสักครั้งหนึ่ง ถึงแม้พระองค์ท่านจะไม่มีลมหายใจแล้ว ก็ถือว่าเป็นบุญกุศลที่สุดแล้ว เคยฝันว่าได้เข้าเฝ้าพระองค์ท่าน และก็มาตามที่เคยฝันไว้ ขอพระองค์ท่านสู่สวรรคาลัยนิรันดร”

บึงกุ่ม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที่

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตบึงกุ่มตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางเขนและเขตคันนายาว มีคลองตาเร่งและถนนรามอินทราเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคันนายาว มีคลองบางชวดด้วน คลองหลวงวิจิตร คลองลำชะล่า คลองหนองแขม คลองลำปลาดุก คลองระหัส ถนนเสรีไทย และคลองกุ่มเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตสะพานสูง มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกะปิและเขตลาดพร้าว มีคลองแสนแสบ ถนนศรีบูรพา ถนนนวมินทร์ คลองลำพังพวย คลองตาหนัง คลองลำเจียก คลองอ้ายหลาว คลองเกรียง และถนนประดิษฐ์มนูธรรมเป็นเส้นแบ่งเขต

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

ประมาณ พ.ศ. 2386 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้ยกทัพไปปราบกบฏที่เมืองนครจำปาศักดิ์และเมืองหลวงพระบางจนได้รับชัยชนะ และได้กวาดต้อนครอบครัวจากหัวเมืองรายทางเข้ามายังกรุงเทพมหานคร โดยให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่เขตบึงกุ่มและเขตคันนายาวในปัจจุบัน ในย่านนั้นมีคลองสายหนึ่งซึ่งแยกจากคลองแสนแสบและไหลผ่านบึงเก่าแก่ที่มีขนาดใหญ่ มีต้นกุ่มขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกแหล่งน้ำสองแห่งนั้นว่า "คลองกุ่ม" และ "บึงกุ่ม"

ประวัติ[แก้]

เมื่อมีผู้คนอพยพเข้าไปอาศัยและทำมาหากินในบริเวณนี้เพิ่มขึ้น ย่านคลองกุ่มและพื้นที่ใกล้เคียงจึงได้รับการจัดตั้งเป็น ตำบลคลองกุ่ม เป็นตำบลหนึ่งที่ขึ้นกับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร โดยกระทรวงมหาดไทยก็ได้ขยายเขตสุขาภิบาลบางกะปิให้ครอบคลุมถึงตำบลคลองกุ่มด้วยใน พ.ศ. 2506

ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ ตำบลคลองกุ่มได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงคลองกุ่ม อยู่ในการปกครองของเขตบางกะปิ

เนื่องจากเขตบางกะปิมีพื้นที่กว้างขวางมากและมีประชากรหนาแน่นขึ้น เพื่อความสะดวกในการบริหารราชการ ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยจึงเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองใหม่โดยแยกแขวงคลองกุ่ม แขวงคันนายาว และแขวงสะพานสูงมาจัดตั้งเป็นเขตใหม่โดยใช้ชื่อว่า เขตบึงกุ่ม เนื่องจากตั้งสำนักงานเขตอยู่ใกล้กับสวนสาธารณะบึงกุ่ม จนกระทั่ง พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยยกฐานะแขวงคันนายาวรวมกับพื้นที่บางส่วนของแขวงคลองกุ่ม ขึ้นเป็นเขตคันนายาว และยกฐานะแขวงสะพานสูงขึ้นเป็นเขตสะพานสูง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ได้ลงนามในประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงคลองกุ่ม และตั้งแขวงนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีเดียวกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน เขตบึงกุ่มแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง ได้แก่

หมาย เลข อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่ (ตร.กม.) จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565) ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2565) แผนที่

1.

คลองกุ่ม Khlong Kum

10.811

67,484

6,242.16

19 2 นวลจ นทร 56 บ งก ม กร งเทพ

4.

นวมินทร์ Nawamin

4.885

26,504

5,425.59

5.

นวลจันทร์ Nuan Chan

8.615

44,062

5,114.57

ทั้งหมด

24.311

138,050

5,678.50

หมายเลขที่หายไปปัจจุบันคือแขวงในเขตสะพานสูงและเขตคันนายาว

ประชากร[แก้]

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบึงกุ่ม ปี (พ.ศ.) ประชากร การเพิ่มและการลด 2535 211,740 ไม่ทราบ 2536 214,479 +2,739 2537 214,811 +332 2538 226,652 +11,841 2539 235,012 +8,360 2540 134,573 แบ่งเขต 2541 135,851 +1,278 2542 136,617 +766 2543 137,184 +567 2544 139,424 +2,240 2545 141,017 +1,593 2546 141,465 +448 2547 138,340 -3,125 2548 138,501 +161 2549 140,580 +2,079 2550 145,172 +4,592 2551 147,466 +2,294 2552 147,712 +246 2553 147,030 -682 2554 146,197 -833 2555 145,795 -402 2556 145,822 +27 2557 145,514 -308 2558 144,661 -853 2559 144,449 -212 2560 143,835 -614 2561 142,990 -845 2562 142,237 -753 2563 140,817 -1,420 2564 139,334 -1,483 2565 138,050 -1,284

ตราสัญลักษณ์ประจำเขต[แก้]

ตราสัญลักษณ์ประจำเขตบึงกุ่ม มีลักษณะเป็นตรารูปวงกลม มีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ และความหมายดังนี้

  • พื้นน้ำสีฟ้าคราม แทนความหมายของความสงบสุข ร่มเย็น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
  • ดอกกุ่มสามดอก แทนความหมายของประชาชนในพื้นที่เขตบึงกุ่มทั้งสามศาสนา ทั้งไทยพุทธ คริสต์ อิสลาม ที่อยู่ร่วมกันด้วยความรัก สามัคคี
  • นกสองตัวบินอยู่บนท้องฟ้าเหนือพื้นดิน ผืนน้ำ แทนความหมายของความเป็นอิสระในความคิด แสดงถึงการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความสอดคล้องและเดินไปในทิศทางเดียวกัน รูปวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายข้างต้นทั้งหมด แทนความหมายของความสมานสามัคคี ความกลมเกลียวกัน

การคมนาคม[แก้]

19 2 นวลจ นทร 56 บ งก ม กร งเทพ
ถนนนวมินทร์ ช่วงใกล้กับโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒

ในพื้นที่เขตบึงกุ่มมีทางสายหลัก ได้แก่

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 350 (รัชดาภิเษก–รามอินทรา)
  • ถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร–นวมินทร์–กาญจนาภิเษก)
  • ถนนนวมินทร์
  • ถนนเสรีไทย
  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู (กำลังก่อสร้าง)

ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่

  • ถนนโพธิ์แก้ว
  • ถนนนวลจันทร์
  • ถนนคลองลำเจียก
  • ถนนสุคนธสวัสดิ์
  • ซอยรามอินทรา 40 (นวลจันทร์)
  • ซอยนวลจันทร์ 36 (ผู้ใหญ่สุนทร)
  • ซอยนวลจันทร์ 36 แยก 5 / ซอยนวลจันทร์ 56 (โพธิ์สุวรรณ)
  • ซอยนวมินทร์ 42 (สุวรรณประสิทธิ์)
  • ซอยนวมินทร์ 70 (หมู่บ้านปัฐวิกรณ์ 1)
  • ซอยนวมินทร์ 74 และซอยนวมินทร์ 74 แยก 3 (สำนักสงฆ์)
  • ซอยนวมินทร์ 81 (โอฬาร 2)
  • ซอยนวมินทร์ 88 (ปัญจมิตร 2)
  • ซอยนวมินทร์ 111 (สมาคมแพทย์)
  • ซอยนวมินทร์ 145 (สวัสดี)
  • ซอยนวมินทร์ 157 (สิงหเสนี 2)
  • ซอยนวมินทร์ 163 (อมรวิวัฒน์)
  • ซอยเสรีไทย 57 (หมู่บ้านสหกรณ์)

สถานที่สำคัญ[แก้]

  • สวนเสรีไทย
  • พิพิธภัณฑ์เสรีไทยอนุสรณ์
  • พิพิธภัณฑ์บึงกุ่ม
  • สวนเฉลิมพระเกียรติ
  • โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
  • โรงเรียนวัดพิชัย
  • โรงเรียนพิชัยพัฒนา
  • โรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์
  • วัดสุวรรณประสิทธิ์
  • วัดพิชัย
  • วัดบางเตย
  • โลตัส สาขาสุขาภิบาล 1
  • สยามแม็คโคร สาขานวมินทร์ 70
  • สวนนวมินทร์ภิรมย์
  • วัดนวลจันทร์
  • ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพฯ
  • บริษัทสหฟาร์มจำกัด
  • สำนักงาน เขตบึงกุ่ม

อ้างอิง[แก้]

สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "จำนวนประชากรและบ้าน." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/xstat/popyear.html 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2556.