ว ธ การต ดกระด ม ช ดคอแบะตำรวจ yut

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา คณะศึกษาศาสตร์ มช. นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกียรติสุดา ศรีสุข คณบดี พร้อมคณาจารย์ ร่วมกับ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมี อาจารย์โกศล ปราคำ และ ผอ.นิมิตร ไทยดำรงค์ ทีมโค้ชในพื้นที่ พร้อมด้วย กองกำกับการตำรวจตะเวนชายแดนที่ 33 (กก.ตชด.33) พ.ต.ท.วัชรินทร์ ยศรุ่งโรจน์ ครู (สบ3) กก.ตชด.33 พร้อมคณะ และครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั้ง 5 แห่ง ประกอบด้วย

  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฮียงไทยธำรงค์
  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนอาโอยาม่า
  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 2
  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทุติยะโพธิอนุสรณ์
  • โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแขม

และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 3 และ ผู้อำนวยการโรงเรียนคู่ร่วมพัฒนาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั้ง 5 แห่ง เข้าร่วมการประชุมโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564 ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อทำความเข้าใจและสำรวจสภาพปัญหา วิเคราะห์ สาเหตุและหาความต้องการจำเป็นของโรงเรียนเพื่อใช้ในการออกแบบการพัฒนาครูของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564

การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) โครงการวิจัย ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ปี 2564

9 พฤษภาคม 2565


ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

ว ธ การต ดกระด ม ช ดคอแบะตำรวจ yut

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องทองกวาว สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) โครงการวิจัย ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ปี 2564 โดยมีศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และได้รับเกียรติจากพลตำรวจตรี สมกูล กาญจนอุดมการ ผู้บังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 ประธานเปิดฯ

กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาครูและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) ครั้งนี้ เพื่อให้เกิดระบบและกลไกลการพัฒนาสมรรถนะครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนนำร่อง 70 โรงเรียน โดยใช้โรงเรียนและหน่วยปฏิบัติงานในระดับพื้นที่เป็นฐาน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ครูใหญ่ ครู โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อาจารย์และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยที่เป็นภาคีร่วมพัฒนา ได้แก่ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียน ครูโรงเรียนร่วมพัฒนา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านพล.ต.ต.ดิเรก ธนานนท์นิวาส ผู้บังคับการศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5 สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้กล่าวถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในครั้งนี้ว่า “สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่มีแนวคิดพัฒนางานด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยระยะเวลาที่ผ่านมาผมได้ตระหนักมาตลอดว่างานด้านนิติวิทยาศาสตร์ของเรา ทั้งองค์ความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ในการทำงานจะสามารถแลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าและวิจัย และมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ปฎิบัติหน้าที่จริงและสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ และต่อยอดงานด้านวิชาการเกี่ยวกับงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ไปในอีกมิติหนึ่ง” และยังได้กล่าวทิ้งท้ายเอาไว้ด้วยว่า “การลงนามครั้งนี้จะเป็นนิมิตหมายอันดีต่อการประสานความร่วมมือ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการของทั้งสองฝ่ายเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศสืบไป” พิธีลงนามความร่วมมือด้านการควบคุมตรวจสอบบุคคลต่างด้าว ระหว่าง ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ กับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3 เมษายน 2566


ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

ว ธ การต ดกระด ม ช ดคอแบะตำรวจ yut

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงทางวิชาการด้านการควบคุมตรวจสอบบุคคลต่างด้าว เพื่อร่วมมือในภารกิจสำคัญด้านการให้บริการคนต่างด้าวหรือชาวต่างชาติ ที่ได้รับอนุญาตพักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดถึงการควบคุม การตรวจสอบป้องกัน มิให้มีการกระทำความผิดตามกฎหมายต่าง ๆ ในราชอาณาจักร

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวแสดงความยินดีการมีความร่วมมือกับตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และแถลงว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีนักศึกษา จำนวนประมาณ 37,000 คน ซึ่งมีบุคคลต่างด้าวในการดูแลกว่า 1,700 คน มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการอำนวยความสะดวกและกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์กับทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย เช่น ระบบ International Relations Supporting System (IRSS) ที่กองวิเทศสัมพันธ์พัฒนาขึ้นเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสำหรับการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับวีซ่า ใบอนุญาตการทำงานและหนังสือรับรองฉบับภาษาอังกฤษแบบอัตโนมัติ เป็นการทำงานในรูปของ Web-based Application โดยผู้ใช้จะต้องเข้าสู่ระบบด้วย CMU IT Account ซึ่งระบบดังกล่าว ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถ รวบรวมข้อมูล ตรวจสอบ ติดตามกำกับดูแลบุคคล ต่างด้าวได้อย่างเป็นระบบ ช่วยให้การตรวจสอบป้องกันคนต่างด้าวชาติภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำความผิดตามกฎหมายต่าง ๆ

พันตำรวจเอก ศราวุธ วะเท ผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่กล่าวแสดงความยินดีการมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแถลงว่าปัจจุบันภายหลังการเปิดประเทศ จังหวัดเชียงใหม่เป็นเป้าหมายของชาวต่างชาติที่มาพำนักทั้งระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว และผู้ที่มาใช้ชีวิตบั้นปลายหลังเกษียณ และให้ข้อมูลว่า ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่เป็นสถานที่ที่มีชาวต่างชาติมาขอรับการตรวจลงตราเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ จึงทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการให้บริการและตรวจสอบ ควบคุมดูแล ซึ่งได้มีการ ลงนามในบันทึกข้อตกลงทางวิชาการด้านการควบคุมตรวจสอบบุคคลต่างด้าวกับสถาบันการศึกษาหลักๆ มีมาตรการในการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และเพิ่มมาตรการสุ่มตรวจชาวต่างชาติให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ทราบว่าชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตพักอาศัยอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งภายหลังการลงนามผู้กำกับการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำทีมตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงใหม่ เข้าสุ่มตรวจบุคคลต่างด้าว ณ สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่