Ted talk เร องราวช ว ตจากคนไม ม อะไร

TED Talks: The Official TED Guide to Public Speaking • ทิพย์นภา หวนสุริยา แปล จากเรื่อง TED Talks: The Official TED Guide to Public Speaking โดย Chris Anderson พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, สิงหาคม 2560 ราคา 365 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ อภิรดา มีเดช ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ยุทธภูมิ ปันฟอง ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภาคย์ มหิธิธรรมธร • บรรณาธิการเล่ม ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ พิสูจน์อักษร สิริกัญญา กาญจนประกร ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 30 e m a i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @ gmail.com f a c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m /openw or lds t w i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p enw or ldsB K K w e b s i t e : w w w . o p e n w o r l ds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารที ซี ไ อเอฟทาวเวอร์ ชั้ น ที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 39 -8 000 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6- 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - ed.com/

สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ Em a il: o p e n w o rld st h a ila [email protected] om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ แอนเดอร์สัน, คริส. TED Talks: The Official TED Guide to Public Speaking. -- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2560. 352 หน้า. 1. ความสำ�เร็จ. I. ทิพย์นภา หวนสุริยา, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 158 ISBN 978-616-7885-57-5 • Copyright © 2016 by Chris Anderson. All rights reserved. This edition published by arrangement with Brockman, Inc. Thai language translation copyright © 2017 by Openworlds Publishing House •

สารบัญ

อารัมภบท: กองไฟในยุคสมัยใหม่

12

รากฐาน 1. ความสามารถในการน�ำเสนอ: ทักษะที่คุณสร้างได้ 2. การก่อร่างความคิด: ของขวัญสุดพิเศษในทุกปาฐกถาอันยิ่งใหญ่ 3. กับดักที่พบบ่อย: สไตล์การพูดสี่แบบที่ควรหลีกเลี่ยง 4. แก่นเรื่อง: ประเด็นของคุณคืออะไร?

22 34 48 58

เครื่องมือในการพูด 5. การสร้างความสัมพันธ์: สร้างความใกล้ชิด 6. การเล่าเรื่อง: เสน่ห์อันยากจะต้านทานของเรื่องเล่า 7. การอธิบาย: จะอธิบายแนวคิดยากๆ ได้อย่างไร? 8. การโน้มน้าวใจ: เหตุผลสามารถเปลี่ยนจิตใจไปตลอดกาล 9. การเผยให้เห็น: น่าทึ่งจนลืมหายใจ!

78 98 110 128 144

กระบวนการเตรียมตัว 10. ภาพ: เห็นสไลด์นี้แล้วปวดใจ! 11. การเขียนบท: จะท่องจ�ำหรือไม่ท่องจ�ำดี? 12. การซ้อม: เดี๋ยวสิ นี่ฉันต้องซ้อมด้วยเหรอ? 13. เปิดฉากและปิดท้าย: คุณอยากสร้างภาพจ�ำแบบไหนในใจผู้ฟัง?

164 184 206 218

บนเวที 14. เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย: ฉันจะใส่อะไรดี? 15. เตรียมความพร้อมทางใจ: ฉันจะควบคุมความประหม่าได้อย่างไร? 16. การจัดรูปแบบบนเวที: แท่นบรรยาย จอบอกบท กระดาษโน้ต หรือ (เอ่อ) ไม่มีอะไรเลย? 17. เสียงและท่าทาง: ให้ชีวิตแก่ถ้อยค�ำของคุณอย่างที่มันควรจะเป็น 18. นวัตกรรมของรูปแบบการพูด: ความหวัง (และอันตราย) ของ การพูดที่เข้าถึงทุกประสาทสัมผัส สะท้อนความคิด 19. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการปาฐกถา: ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของ ความรู้ 20. ท�ำไมเรื่องนี้จึงส�ำคัญ: ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างผู้คน 21. ถึงตาคุณบ้างละ: ความลับของนักปรัชญา กิตติกรรมประกาศ ภาคผนวก: ปาฐกถาที่อ้างถึงในหนังสือเล่มนี้ รู้จักผู้เขียน รู้จักผู้แปล

244 250 260 272 286

308 322 334 342 346 350 351

ค�ำน�ำผู้แปล

หากคุณมีเวลาพูด 18 นาที คุณคิดว่าคุณจะสร้างผลกระทบต่อ ผู้ฟังได้มากแค่ไหน ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ติดตาม TED Talk คุณอาจเคยชมปาฐกถา สักเรื่องที่ท�ำให้คุณประหลาดใจ ทึ่ง ตื่นเต้นแทบลืมหายใจ น�้ำตาไหลโดย ไม่รตู้ วั เปลีย่ นความคิด ความเชือ่ พฤติกรรม หรือบางคนอาจถึงกับเปลีย่ น เป้าหมายบางเรื่องในชีวิตไปเลย คุณไม่ใช่คนเดียวที่รู้สึกเช่นนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่า TED Talk และ ปาฐกถารูปแบบคล้ายๆ กันนี้ ได้รบั ความนิยมในวงกว้างขึน้ เรือ่ ยๆ ทัว่ โลก แสดงให้เห็นว่าการพูด 18 นาทีนั้นสร้างผลกระทบต่อผู้ฟังได้มากจริงๆ แต่ต้องเป็นการพูดที่เตรียมการมาอย่างดีเยี่ยม และคงไม่ มี ใ ครถอดรหั ส หลั ก การและเทคนิ ค การพู ด ในที่ สาธารณะอันยอดเยีย่ มได้ดไี ปกว่าคริส แอนเดอร์สนั ผูจ้ ดั และภัณฑารักษ์ ของ TED Talk ซึ่งคอยดูแลและได้เห็นเบื้องหลังความส�ำเร็จของผู้พูด หลายคนบนเวทีนี้มายาวนานนับตั้งแต่ปี 2001 หนังสือ TED Talks: The Official TED Guide to Public Speaking เล่มนี้ ซึ่งเขียนโดยคริส แอนเดอร์สัน จึงเป็นหนังสือว่าด้วยวิธีสร้างสรรค์ และพัฒนาการพูดในที่สาธารณะที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของยุคปัจจุบัน ผู้แปลขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds ที่ให้โอกาสแปล หนังสือเล่มนี้ และคุณณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ บรรณาธิการเล่ม ที่ได้ 6

T ED Talks

กรุณาปรับปรุงแก้ไขส�ำนวนแปลให้สละสลวยยิง่ ขึน้ ผูแ้ ปลหวังว่าหลักการ และเทคนิคที่น�ำเสนอในหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผู้อ่านสามารถใช้พลังของ การพูดในที่สาธารณะ ลุกขึ้นมาเผยแพร่ความคิดดีๆ ที่จะสร้างผลกระทบ ทางบวกต่อผู้ฟังและสังคมได้มากขึ้น ทิพย์นภา หวนสุริยา มิถุนายน 2560

Chris Anderson

7

บันดาลใจโดย โซอี แอนเดอร์สัน (1986-2010) ชีวิตช่างแสนสั้น แต่ความคิด แรงบันดาลใจ และความรักนั้นยืนยง

TALKS The Official TED Guide to Public Speaking

.

Chris Anderson

แปลโดย

ทิพย์นภา หวนสุริยา

อารัมภบท

กองไฟในยุคสมัยใหม่ แสงไฟในหอประชุมหรี่สลัว หญิงสาวคนหนึ่งก้าวออกมาบนเวที ฝ่ามือเธอเหงื่อออก ขาสั่นเล็กน้อย แสงไฟสาดต้องใบหน้าของเธอ และ สายตา 1,200 คู่จับจ้องมาที่เธอ ผู้ฟังรู้สึกได้ว่าเธอหวั่นวิตก สัมผัสได้ถึง ความตึงเครียดภายในห้อง เธอกระแอมเล็กน้อย แล้วเริ่มพูด สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นช่างน่าทึ่ง สมองทัง้ 1,200 ก้อนในศีรษะของคน 1,200 คนทีเ่ ป็นอิสระจากกัน เริ่มแสดงพฤติกรรมแปลกประหลาด มันเริ่มประสานสอดคล้องกัน มนตร์ วิเศษที่หญิงสาวคนนั้นร่ายมาตกต้องผู้ฟังแต่ละคน พวกเขาอ้าปากค้าง ไปพร้อมกัน หัวเราะด้วยกัน ร้องไห้ด้วยกัน และขณะเดียวกันนั้นยังมี อย่างอื่นเกิดขึ้นอีก แบบแผนข้อมูลมหาศาลที่เข้ารหัสทางระบบประสาท ในสมองของหญิงสาวคนนัน้ ได้ถกู ท�ำส�ำเนาและส่งต่อไปสูส่ มอง 1,200 ก้อน ของผู้ฟังด้วยวิธีการบางอย่าง แบบแผนที่ว่านี้จะคงอยู่ในสมองเหล่านั้น ตราบชั่วชีวิต และมีศักยภาพที่จะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ฟัง ไปอีกหลายปีในอนาคตข้างหน้า หญิงสาวบนเวทีสร้างปาฏิหาริย์ ไม่ใช่เวทมนตร์คาถาของแม่มด 12

T ED Talks

แต่ทักษะของเธอก็แข็งแกร่งไม่แพ้วิชาอาคมของหมอผีใดๆ มดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกันและกันโดยการแลกเปลี่ยน สารเคมี ส่วนมนุษย์เราใช้วิธียืนเผชิญหน้ากัน จ้องเข้าไปในตาของกัน และกัน โบกไม้โบกมือและส่งเสียงแปลกๆ ออกมาจากปาก การสื่อสาร ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์นั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอย่างแท้จริง เราใช้ มันทุกวันโดยไม่รู้ตัว โดยส�ำแดงรูปแบบอันเข้มข้นที่สุดบนเวทีสาธารณะ เป้าประสงค์ของหนังสือเล่มนี้คือเพื่ออธิบายว่าความมหัศจรรย์ ของการพูดในทีส่ าธารณะนัน้ สร้างขึน้ ได้อย่างไร และเพือ่ ช่วยให้คณ ุ พร้อม ที่จะกล่าวปาฐกถาที่ดีที่สุด ทว่ามีสิ่งหนึ่งที่ต้องเน้นย�้ำก่อนตั้งแต่แรกเริ่ม วิธีกล่าวปาฐกถาที่ดีไม่ได้มีวิธีเดียว โลกของความรู้กว้างใหญ่ เกินไป อีกทั้งผู้พูด ผู้ฟัง และกาลเทศะของปาฐกถาก็หลากหลายเกินไป ความพยายามใดๆ ที่จะใช้สูตรชุดเดียวกันหมดนั้นมักเกิดผลตรงกันข้าม ผู้ฟังจะมองเห็นทะลุปรุโปร่งและรู้สึกว่าเราจงใจควบคุมเขา จริงอยูว่ า่ อาจมีสตู รส�ำเร็จทีใ่ ช้ได้ในช่วงเวลาหนึง่ แต่มนั จะประสบ ความส�ำเร็จได้ไม่นานหรอกครับ นัน่ เป็นเพราะส่วนส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ปาฐกถา อันยิ่งใหญ่ดึงดูดใจผู้ฟังได้คือความสดใหม่ มนุษย์เราไม่ชอบอะไรเก่าๆ ซ�้ำซาก ถ้าปาฐกถาของคุณฟังเหมือนปาฐกถาที่เขาเคยได้ยินมาแล้ว มัน ก็จะมีอิทธิพลน้อยลง สิ่งสุดท้ายที่เราต้องการคือการที่ผู้พูดทุกคนพูด เหมือนๆ กันไปหมด หรือการที่ค�ำพูดของบางคนช่างฟังดูเสแสร้ง ดังนั้นคุณไม่ควรคิดว่าค�ำแนะน�ำในหนังสือเล่มนี้เป็น กฎ ซึ่ง ก�ำหนดวิธพี ดู ทีถ่ กู ต้องเพียงวิธเี ดียว แต่ขอให้คดิ ว่ามันมอบเครือ่ งมือชุดหนึง่ ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความหลากหลาย ขอให้เลือกใช้ขอ้ ทีเ่ หมาะสม กับคุณและโอกาสที่คุณเผชิญอยู่ หน้าที่อันแท้จริงข้อเดียวของคุณคือ กล่าวบางสิ่งซึ่งควรค่าที่จะพูด และพูดมันออกไปอย่างเป็นธรรมชาติด้วย วิธีที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณเอง คุณอาจพบว่ามันเป็นธรรมชาติมากกว่าที่คุณคิด การพูดใน ที่สาธารณะเป็นศิลปะเก่าแก่ ฝังลึกอยู่ในจิตใจของเรา นักโบราณคดี Chris Anderson

13

ค้นพบว่า ย้อนกลับไปนับแสนปี คนในชุมชนมักมารวมตัวพบปะกันรอบ กองไฟ ในทุกวัฒนธรรมบนโลกนี้ เมือ่ ภาษาค่อยๆ พัฒนาขึน้ ผูค้ นเรียนรู้ ที่จะแบ่งปันเรื่องราว ความหวัง และความฝันให้แก่กัน ลองจินตนาการฉากทีค่ นุ้ เคย เมือ่ ราตรีแผ่ปกคลุม กองไฟลุกโชน ท่อนฟืนแตกปะทุใต้ฟ้าประดับดาว ผู้เฒ่าคนหนึ่งลุกขึ้น ทุกสายตาหันมา จับจ้องผู้รอบรู้ ใบหน้าเหี่ยวย่นต้องแสงจากประกายไฟที่เต้นระริก และ เรื่องเล่าก็เริ่มต้นขึ้น เมื่อนักเล่าเรื่องเอ่ยค�ำ ผู้ฟังแต่ละคนจินตนาการ เหตุการณ์ที่เขาก�ำลังบรรยาย จินตนาการนั้นก่อให้เกิดอารมณ์บางอย่าง ร่วมกับตัวละครในเรื่องเล่า นี่เป็นกระบวนการที่ทรงพลังอย่างลึกซึ้ง มันคือการจัดการให้จติ ใจของหลายๆ คนมีสำ� นึกรับรูร้ ว่ มกัน คนทีเ่ ข้าร่วม วงแคมป์ไฟแสดงออกราวกับพวกเขาเป็นหนึง่ เดียวกันในชัว่ ขณะ พวกเขา ลุกขึ้นพร้อมกัน เต้นร�ำและร้องเพลงไปด้วยกัน เพียงก้าวเล็กๆ จากฉาก เหตุการณ์ท่ีแบ่งปันกันนี้ พวกเขามุ่งไปสู่ความปรารถนาที่จะท�ำอะไร บางอย่างร่วมกัน การตัดสินใจว่าจะร่วมเดินทาง ต่อสู้ ก่อร่างสร้างสรรค์ หรือเฉลิมฉลองไปด้วยกัน ทุกวันนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้น ในฐานะผู้น�ำหรือผู้สนับสนุนประเด็น บางอย่ า ง การพู ด ในที่ ส าธารณะเป็ น กุ ญ แจส� ำ หรั บ ปลดล็ อ กความ เห็นอกเห็นใจ กระตุ้นความตื่นเต้น เผยแพร่ความรู้และความเข้าใจอัน ลึกซึ้ง และส่งเสริมความฝันที่มีร่วมกัน ปัจจุบันค�ำพูดมีพลังรูปแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ตอนนี้แคมป์ไฟ ของเราคือโลกทั้งใบ อินเทอร์เน็ตอาจท�ำให้ปาฐกถาในโรงละครแห่งหนึ่ง มีผู้ชมหลายล้านคน เหมือนกับแท่นพิมพ์ที่ขยายพลังของนักเขียนออก ไปอย่างมหาศาล เว็บไซต์เองก็ขยายผลกระทบของผู้พูดออกไปมหาศาล เช่นกัน มันช่วยให้ใครสักคนจากที่ไหนสักแห่งซึ่งสามารถเข้าถึงโลก ออนไลน์มีโอกาสเชื้อเชิญครูที่เก่งที่สุดในโลกมาที่บ้านแล้วเรียนจากครู เหล่านั้นได้โดยตรง (และภายในหนึ่งทศวรรษข้างหน้า คาดว่าแทบทุก หมูบ่ า้ นบนโลกนีจ้ ะสามารถเชือ่ มต่อโลกออนไลน์ได้) ทันใดนัน้ ศิลปะเก่าแก่ 14

T ED Talks

ก็กลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ทั่วโลก การปฏิวตั นิ จี้ ดุ ประกายยุคฟืน้ ฟูศลิ ปะการพูดในทีส่ าธารณะ พวกเรา จ�ำนวนมากเคยทนทุกข์ทรมานกับช่วงเวลาหลายปีที่ต้องฟังบรรยาย ยืดยาวน่าเบื่อในมหาวิทยาลัย ค�ำเทศนาซึ่งไม่รู้จักจบสิ้นที่โบสถ์ หรือ สุนทรพจน์ทางการเมืองซ�้ำซากสุดเซ็งที่คุณคาดเดาได้ แต่มันไม่จ�ำเป็น ต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป ถ้าท�ำได้ดี ปาฐกถาเรื่องหนึ่งอาจท�ำให้ห้องสว่างไสวเหมือนเปิด สวิตช์ไฟและปฏิรปู โลกทัศน์ของผูฟ้ งั การเขียนถ่ายทอดออกมาเป็นถ้อยค�ำ ส่วนการพูดมอบเครือ่ งมือชุดใหม่แก่คณ ุ ทัง้ ชุด เมือ่ เรามองเข้าไปในดวงตา ของผูพ้ ดู ฟังน�ำ้ เสียง สัมผัสความเปราะบาง ความเฉลียวฉลาด และความ หลงใหลของเธอ เราก�ำลังใช้ทักษะในจิตใต้ส�ำนึกที่ขัดเกลามายาวนาน กว่าแสนปี ทักษะทีส่ ามารถกระตุน้ ให้เกิดการกระท�ำ มอบพลังอ�ำนาจ และ สร้างแรงบันดาลใจ ที่ ม ากกว่ า นั้ น คื อ เราสามารถเสริ ม ทั ก ษะดั ง กล่ า วให้ มี พ ลั ง มากขึน้ อย่างทีค่ นโบราณไม่อาจจินตนาการได้ อันได้แก่ความสามารถทีจ่ ะ น�ำภาพใดๆ ก็ตามในจินตนาการหรือในภาพถ่ายมาแสดงให้เห็นบนเวที ด้วยความละเอียดสูง ความสามารถทีจ่ ะสอดแทรกวิดโี อหรือดนตรีเข้ามา ระหว่างบรรยาย ความสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือค้นคว้า ที่น�ำเสนอองค์ความรู้ทั้งหมดของมนุษย์ให้ใครก็ตามที่มีสมาร์ตโฟน ข่าวดีคอื ทักษะเหล่านีส้ อนกันได้อย่างสมบูรณ์ นัน่ หมายความว่า เรามีสุดยอดพลังแบบใหม่ที่คนทุกวัยสามารถใช้ประโยชน์ได้ มันเรียกว่า ความสามารถในการน�ำเสนอ (Presentation literacy) เราอยู่ในยุคสมัย ซึ่งหนทางดีที่สุดที่จะสร้างผลกระทบต่อโลกอาจไม่ใช่การเขียนจดหมาย ถึงบรรณาธิการหรือตีพิมพ์หนังสือ แต่อาจเป็นแค่การยืนขึ้นพูดอะไร บางอย่าง เพราะปัจจุบันทั้งถ้อยค�ำและความหลงใหลที่แสดงออกมา สามารถแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ด้วยความเร็วสูง ส�ำหรับศตวรรษที่ 21 นี้ เราควรสอนความสามารถในการน�ำเสนอ Chris Anderson

15

ในทุกโรงเรียน อันทีจ่ ริงก่อนยุคของหนังสือ การพูดนับเป็นแก่นส�ำคัญของ การศึกษา1 แม้จะอยู่ภายใต้ชื่อที่ฟังดูโบราณอย่าง วาทศาสตร์ (rhetoric) ทุกวันนีใ้ นยุคทีโ่ ลกเชือ่ มต่อถึงกัน เราน่าจะฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาการชัน้ สูงนี้ และ บรรจุเป็นวิชาหลักของการศึกษาร่วมกับการอ่าน การเขียน และเลขคณิต ความหมายหลักของค�ำว่าวาทศาสตร์คอื “ศิลปะการพูดให้ได้ผล” ซึ่งเป็นเป้าประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ โดยมุ่งปรับโฉมวิชาวาทศาสตร์ ให้เหมาะกับยุคสมัยใหม่ และเสนอขัน้ ตอนทีม่ ปี ระโยชน์เพือ่ ก้าวไปสูค่ วาม สามารถในการน�ำเสนอรูปแบบใหม่ ประสบการณ์ของเราที่ TED ตลอดสองสามปีหลังนี้ช่วยชี้ทาง ให้เรา TED เริ่มต้นขึ้นในฐานะงานประชุมประจ�ำปีที่เชื่อมโยงวงการ เทคโนโลยี ความบันเทิง และการออกแบบให้มาบรรจบกัน (ที่มาของชื่อ TED ก็มาจากสามค�ำนี้คือ Technology, Entertainment และ Design) แต่ในปีหลังๆ เราได้ขยายขอบเขตไปครอบคลุมทุกหัวข้อที่เป็นประเด็น สาธารณะ ผู้พูดของ TED พยายามท�ำให้ความคิดของเขาเข้าใจง่าย ส�ำหรับคนอื่นที่อยู่นอกวงการ โดยน�ำเสนอปาฐกถาสั้นกระชับที่เตรียม มาอย่างรอบคอบ และเราก็ปลื้มปีติมากที่การพูดในที่สาธารณะรูปแบบนี้ ได้รบั ความนิยมในโลกออนไลน์ ถึงขนาดทีว่ า่ ในปี 2015 ยอดผูช้ มปาฐกถา TED ออนไลน์ต่อปีสูงกว่าหนึ่งพันล้านครั้ง ผมกับเพือ่ นร่วมงานท�ำงานร่วมกับผูพ้ ดู ของ TED หลายร้อยคน เราช่วยพวกเขาขัดเกลาข้อความและวิธนี ำ� เสนอ บุคคลน่าทึง่ เหล่านีเ้ ปลีย่ น วิธีที่เรามองโลกไปโดยสิ้นเชิง ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เราอภิปรายกัน อย่างเข้มข้นในวงสนทนาของเราเองว่าผู้พูดเหล่านี้ประสบความส�ำเร็จ ในสิ่งที่เขาท�ำได้อย่างไร เราเฝ้ามองจากที่นั่งติดเวทีที่เราโชคดีได้นั่ง ทัง้ ทึง่ โกรธเกรีย้ ว ได้รบั รูข้ อ้ มูล และเกิดแรงบันดาลใจ เรายังมีโอกาสถาม ผูพ้ ดู โดยตรงเพือ่ ขอค�ำแนะน�ำเรือ่ งการเตรียมและน�ำเสนอปาฐกถาทีน่ า่ ทึง่ 1

ร่วมกับตรรกะ ไวยากรณ์ เลขคณิต เรขาคณิต ดาราศาสตร์ และดนตรี

16

T ED Talks

ด้วย ความฉลาดเฉียบแหลมของผูพ้ ดู เหล่านีช้ ว่ ยให้เราเรียนรูผ้ ลึกความคิด ทีล่ กึ ซึง้ จ�ำนวนมากมายภายในเวลาไม่กนี่ าที และได้รบั รูว้ า่ เขาบรรลุความ ส�ำเร็จที่ไม่ธรรมดาเหล่านั้นได้อย่างไร หนังสือเล่มนีจ้ งึ เป็นผลของความพยายามร่วมกัน โดยร่วมมือกับ ผูพ้ ดู ทัง้ หลายและเหล่าเพือ่ นร่วมงานผูม้ พี รสวรรค์ของผม โดยเฉพาะเคลลี สเตตเซล (Kelly Stoetzel) บรูโน จูสซานี (Bruno Giussani) และทอม ไรล์ลี (Tom Rielly) ซึ่งเป็นผู้รวบรวมและจัดงานประชุมหลักๆ ของ TED ร่วมกับผม พวกเขามีบทบาทหลักตลอดหลายปีที่ผ่านมาในการปรับปรุง แนวทางและรูปแบบของ TED Talk ทั้งยังน�ำเสียงที่โดดเด่นมากมาย มาสู่เวทีของเรา นอกจากนีเ้ รายังได้รบั ภูมปิ ญ ั ญาจากผูจ้ ดั งานประชุมอิสระ TEDx2 นับพันคน เนื้อหาที่เกิดขึ้นจากผู้จัดเหล่านี้มักท�ำให้เราประหลาดใจและ ปลื้มปีติ ทั้งยังขยายขอบเขตความเข้าใจของเราว่าอะไรบ้างที่เป็นไปได้ ส�ำหรับการพูดในที่สาธารณะ พั น ธกิ จ ของ TED คื อ มุ ่ ง หล่ อ เลี้ ย งการเผยแพร่ ค วามคิ ด ที่ ทรงพลัง เราไม่สนใจว่าสิ่งนี้จะท�ำผ่านสิ่งที่เรียกว่า TED หรือ TEDx หรือ การพูดในที่สาธารณะรูปแบบใดก็ตาม เราตื่นเต้นดีใจเมื่อได้ยินว่ามีงาน ประชุมอื่นๆ ที่อยากจัดเวทีปาฐกถาในรูปแบบเดียวกับ TED Talk เพราะ ถึงที่สุดแล้ว ความคิดไม่ได้มีเจ้าของ มันมีชีวิตของมันเอง เราปลาบปลื้ม ที่ได้เห็นการฟื้นฟูศิลปะการพูดในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนและ ใครเป็นคนท�ำก็ตาม ดังนั้นเป้าประสงค์ของหนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่แค่เพื่อบรรยายว่า จะกล่าวปาฐกถา TED Talk อย่างไร ทว่ากว้างกว่านั้นมาก เป้าประสงค์

ส�ำหรับการประชุม TEDx ผู้จัดในท้องถิ่นจะยื่นสมัครขอลิขสิทธิ์ฟรีเพื่อจัดงานประชุมที่มี ลักษณะคล้าย TED ในท้องถิน่ ของเขา ในแต่ละวันมีการประชุม TEDx จัดขึน้ แปดถึงเก้างาน ในที่ต่างๆ ทั่วโลก 2

Chris Anderson

17

ดังกล่าวคือเพื่อสนับสนุนการพูดในที่สาธารณะทุกรูปแบบที่พยายาม อธิบาย สร้างแรงบันดาลใจ ให้ข้อมูล หรือโน้มน้าวใจ ไม่ว่าจะเป็น ในแวดวงธุรกิจ การศึกษา หรือบนเวทีสาธารณะ ใช่ครับ ตัวอย่างจ�ำนวนมาก ในหนังสือเล่มนีม้ าจากเวที TED Talk แต่ไม่ใช่เพียงเพราะมันเป็นตัวอย่าง ใกล้ตัวที่เราคุ้นเคย TED Talk สร้างความตื่นเต้นมากมายในช่วงไม่กี่ปี ที่ผ่านมา และเราคิดว่าปาฐกถาจากเวทีนี้สามารถมอบอะไรบางอย่าง ให้แก่โลกของการพูดในทีส่ าธารณะอันกว้างใหญ่ยงิ่ กว่า เราคิดว่าหลักการ ที่อยู่เบื้องหลังปาฐกถา TED เป็นพื้นฐานอันทรงพลังพอที่จะสร้างความ สามารถในการน�ำเสนอได้ในวงกว้าง ดังนั้นคุณจะไม่พบเคล็ดลับจ�ำเพาะส�ำหรับกล่าวอวยพรในงาน แต่งงาน หรือน�ำเสนอการขายของบริษทั หรือบรรยายในมหาวิทยาลัย แต่ คุณจะพบเครื่องมือและผลึกความคิดอันลึกซึ้งที่อาจมีประโยชน์ในโอกาส เหล่านั้น หรือการพูดในที่สาธารณะทุกรูปแบบ ยิ่งไปกว่านั้น เราหวังว่า จะสามารถโน้มน้าวให้คุณคิดถึงการพูดในที่สาธารณะในมุมที่แตกต่าง ซึ่งคุณจะพบว่าน่าตื่นเต้นและเสริมสร้างพลังให้คุณ แคมป์ไฟสมัยโบราณได้ก่อให้เกิดไฟแบบใหม่ ไฟที่แพร่กระจาย จากจิตใจสู่จิตใจ จากหน้าจอสู่หน้าจอ เวลาของการจุดประกายความคิด มาถึงแล้ว สิง่ นีส้ ำ� คัญนะครับ ทุกองค์ประกอบทีม่ คี วามหมายซึง่ ท�ำให้มนุษย์ ก้าวหน้าเกิดขึ้นเพียงเพราะมนุษย์แบ่งปันความคิดซึ่งกันและกัน ก่อน จะประสานงานกันเพื่อเปลี่ยนความคิดนั้นให้เป็นความจริง จากครั้งแรก ที่บรรพบุรุษของเรารวมกลุ่มกันเพื่อล้มช้างแมมมอธ ไปจนถึงก้าวแรก บนดวงจันทร์ของนีล อาร์มสตรอง ผูค้ นได้เปลีย่ นค�ำพูดให้กลายเป็นความ ส�ำเร็จอันน่าทึ่งร่วมกัน ตอนนี้ เ ราต้ อ งการสิ่ ง นี้ ม ากยิ่ ง กว่ า ที่ เ คยเป็ น มา ความคิ ด ทีส่ ามารถแก้ปญ ั หาทีย่ ากทีส่ ดุ มักไม่มใี ครมองเห็น เพราะคนเฉลียวฉลาด ที่มีความคิดดีๆ เหล่านั้นซ่อนอยู่ขาดความเชื่อมั่น หรือไม่รู้วิธีแบ่งปัน 18

T ED Talks

ความคิดอย่างมีประสิทธิผล และนั่นคือโศกนาฏกรรม เมื่อเราน�ำเสนอ ความคิดดีๆ ด้วยวิธีที่ถูกต้อง มันสามารถสร้างแรงกระเพื่อมทั่วโลกด้วย ความเร็วแสง แพร่ส�ำเนาของตัวมันไปสู่จิตใจคนนับล้าน การคิดค้นว่า จะท�ำอย่างไรให้เกิดกระบวนการนี้ขึ้นจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งต่อ ตัวคุณเอง ผู้พูดที่รอจะแบ่งปันความคิด และส�ำหรับพวกเราที่เหลือซึ่ง อยากรู้ว่าคุณมีอะไรดีๆ จะพูดให้เราฟังบ้าง คุณพร้อมไหมครับ เราไปก่อไฟกันเถอะ คริส แอนเดอร์สัน กุมภาพันธ์ 2016

Chris Anderson

19

รากฐาน

Chris Anderson

21

1 ความสามารถในการนำ�เสนอ ทักษะที่คุณสร้างได้

คุณตื่นเต้นใช่ไหมครับ การก้าวออกมาบนเวทีสาธารณะและมีสายตาหลายร้อยคู่จ้อง มองมานั้นเป็นเรื่องน่าหวั่นกลัว คุณกลัวที่จะยืนขึ้นนำ�เสนอโครงการใน ที่ประชุมของบริษัท ถ้าเกิดคุณตื่นเต้นและพูดผิดๆ ถูกๆ ล่ะ ถ้าเกิดคุณ ลืมสิ่งที่จะพูดไปหมดเลยล่ะ คุณอาจจะถูกเยาะเย้ยให้ขายหน้าก็เป็นได้! เส้นทางอาชีพของคุณอาจพังทลาย! ความคิดทีค่ ณ ุ เชือ่ อาจถูกฝังไว้ตลอดไป! ความคิดเหล่านี้ทำ�ให้คุณนอนไม่หลับทั้งคืน แต่ รู้ ไ หมครั บ แทบทุ ก คนเคยสั ม ผั ส ความกลั ว การพู ด ในที่ สาธารณะมาแล้ว อันทีจ่ ริงในการสำ�รวจทีใ่ ห้ผคู้ นตอบว่าสิง่ ทีพ่ วกเขากลัว มากทีส่ ดุ คืออะไร เราพบว่าการพูดในทีส่ าธารณะเป็นคำ�ตอบทีค่ นมักเลือก ตอบมากที่สุด มากกว่างู ความสูง หรือแม้แต่ความตาย เป็ น ไปได้ อ ย่ า งไร ไม่ มี แ มงมุ ม พิ ษ ทารั น ทู ล าซ่ อ นอยู่ ห ลั ง ไมโครโฟนเสียหน่อย ความเสีย่ งทีค่ ณ ุ จะพลัดตกเวทีตายก็เท่ากับศูนย์ ผูฟ้ งั ก็คงไม่โจมตีคุณด้วยสามง่ามหรอก แล้วทำ�ไมคุณต้องวิตกกังวลด้วยเล่า Chris Anderson

23

นัน่ ก็เพราะเดิมพันมันสูงมาก ไม่ใช่แค่ประสบการณ์ในชัว่ ขณะนัน้ แต่ยงั รวมถึงชือ่ เสียงของเราในระยะยาวด้วย คนอืน่ จะมองเราอย่างไรนัน้ เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะเราเป็นสัตว์สังคม เราปรารถนาความรัก ความ เคารพ และการค้ำ�จุนจากผู้อื่น ความสุขในอนาคตของเราขึน้ อยู่กับความ เป็นจริงเหล่านี้อย่างมากจนน่าตกใจ และเราก็รับรู้ได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นบน เวทีสาธารณะจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ทางสังคมเหล่านี้ ไม่ว่าใน ทางดีหรือร้ายก็ตาม แต่ด้วยกรอบความคิดที่ถูกต้อง คุณสามารถใช้ความกลัวของ คุณเป็นสินทรัพย์ทน่ี า่ ทึง่ มันเป็นแรงขับดันทีจ่ ะจูงใจให้คณ ุ เตรียมการพูด ที่เหมาะสม นัน่ คือสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ โมนิกา ลูวนิ สกี (Monica Lewinsky) มาพูด ที่ TED สำ�หรับเธอ เดิมพันครั้งนี้สูงจนไม่มีอะไรเทียบเทียมได้ สิบเจ็ดปี ก่อนหน้านั้น เธอเคยถูกสาธารณชนดูหมิ่นเหยียดหยามอย่างโหดร้าย ที่สุดที่จะจินตนาการได้ ประสบการณ์นั้นตึงเครียดเสียจนเกือบทำ�ให้ เธอเสียสติ ตอนนี้เธอกำ�ลังพยายามกลับมาใช้ชีวิตในสายตาสาธารณชน เพื่อทวงคืนเสียงที่จะเล่าเรื่องราวจากมุมมองของเธอบ้าง แต่เธอไม่ใช่นักพูดในที่สาธารณะผู้มากประสบการณ์ และเธอรู้ดี ว่ามันจะกลายเป็นหายนะหากเธอทำ�พลาดในครั้งนี้ เธอบอกผมว่า ค�ำว่าหวั่นวิตกยังเบาไปที่จะใช้บรรยายความรู้สึกของฉัน มัน เหมือนกับ ... ถูกฉีกทึ้งด้วยความประหม่า ด้วยสายฟ้าแห่งความ กลัว และไฟฟ้าแรงสูงของความวิตกกังวล ถ้าเราสามารถน�ำพลัง จากความหวั่นวิตกของฉันในเช้าวันนั้นไปใช้ได้ ฉันว่าเราคงแก้ ปัญหาวิกฤตพลังงานได้เลยละ ฉันไม่ได้แค่เดินออกมายืนบนเวที ต่อหน้าฝูงชนที่ทรงเกียรติและฉลาดล�้ำเลิศ แต่ทีมงานยังถ่าย วิดีโอไว้ และมีโอกาสสูงมากที่จะน�ำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนบน ช่องทางที่มีผู้ชมในวงกว้าง เสียงสะท้อนของจิตใจที่ยังคงร่องรอย บอบช�้ำจากค�ำเยาะเย้ยถากถางอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะได้กลับ 24

T ED Talks

มาเยือนฉันอีกครั้ง ความรู้สึกไม่มั่นคงลึกๆ ภายในรบกวนจิตใจ ฉัน บอกว่าฉันไม่คู่ควรกับเวที TED นั่นคือประสบการณ์ภายใน ที่ฉันต้องต่อสู้

แต่กระนัน้ โมนิกาก็ได้พบหนทางพลิกความกลัวให้เป็นประโยชน์ เธอใช้เทคนิคทีท่ ำ�ให้เราแปลกใจ ซึง่ ผมจะเล่าให้ฟงั ในบทที่ 15 แต่ขอบอก ไว้ตรงนีเ้ ลยว่ามันได้ผล ปาฐกถาของเธอทำ�ให้ผฟู้ งั ลุกขึน้ ยืนปรบมือชืน่ ชม ยอดรับชมผ่านเว็บไซต์พุ่งทะลุหนึ่งล้านภายในแค่สองสามวัน และได้รับ เสียงวิจารณ์ทางบวกมากมายในโลกออนไลน์ นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ เอริกา จง (Erica Jong) นักเขียนแนวสตรีนิยมที่เคยวิพากษ์วิจารณ์เธอ ในอดีตออกมาขอโทษต่อหน้าสาธารณะ ผู้หญิงฉลาดล้ำ�ที่ผมแต่งงานด้วยอย่างแจ็กเกอลีน โนโวแกรตซ์ (Jacqueline Novogratz) ก็เคยถูกหลอกหลอนด้วยความกลัวการพูด ในที่สาธารณะ ตั้งแต่ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย จนกระทั่งย่างเข้าวัย ยี่สิบกว่า โอกาสที่ต้องเจอไมโครโฟนและสายตาที่จับจ้องนั้นน่ากลัวมาก จนทำ�ให้เธออ่อนเปลีย้ เพลียแรง แต่เธอรูว้ า่ หากจะขับเคลือ่ นงานของเธอ ที่มุ่งมั่นต่อสู้เพื่อขจัดความยากจน เธอต้องโน้มน้าวใจผู้อื่นให้ได้ เธอ จึงเริ่มบังคับตัวเองให้พูดในที่สาธารณะ ทุกวันนี้เธอไปกล่าวปราศรัย มากมายหลายครั้งในแต่ละปี และมักได้รับการชื่นชมจากบรรดาผู้ชม ที่ยืนขึ้นปรบมือให้ อันที่จริงไม่ว่าคุณจะมองไปทางไหนก็ล้วนมีเรื่องราวของคนที่ หวั่นกลัวการพูดในที่สาธารณะ แต่พบหนทางซึ่งทำ�ให้ตนเองเก่งกาจใน เรือ่ งนีไ้ ด้ ตัง้ แต่เอเลนอร์ รูสเวลต์ (Eleanor Roosevelt) วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ไปจนถึงเจ้าหญิงไดอานา ทีพ่ วกเรารูจ้ กั ในฉายา “ไดอานา ผูข้ อี้ าย” และทรงเกลียดการกล่าวปราศรัย แต่พระองค์กท็ รงค้นพบวิธพี ดู แบบไม่เป็นทางการด้วยเสียงของพระองค์เอง แล้วคนทัว่ โลกก็ตกหลุมรัก พระองค์ Chris Anderson

25

ถ้าคุณพูดได้ดี อาจก่อเกิดผลด้านบวกอันน่าทึ่ง เช่น สุนทรพจน์ ของอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้ประกอบการแห่งบริษัทสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ที่พูดกับพนักงานของเขาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2008 มัสก์ไม่ได้เป็นที่รู้จักในฐานะนักพูดในที่สาธารณะผู้เก่งกาจ แต่ คำ�พูดของเขาในวันนัน้ เป็นจุดเปลีย่ นสำ�คัญของบริษทั สเปซเอ็กซ์ลม้ เหลว ในการปล่อยจรวดสู่อวกาศมาแล้วสองครั้ง วันนั้นเป็นวันปล่อยจรวดครั้ง ที่สาม และทุกคนรู้ว่าหากครั้งนี้ล้มเหลว บริษัทอาจต้องปิดตัวลง จรวด ฟอลคอน (Falcon) ทะยานขึ้นจากฐาน แต่เมื่อปลดจรวดท่อนที่หนึ่ง ออกเพื่อลดมวลและเพิ่มความเร่ง หายนะก็เกิดขึ้น จรวดทั้งลำ�ระเบิด สัญญาณภาพจากวิดีโอที่ติดไปกับจรวดดับลง พนักงานราว 350 คนมา รวมตัวกัน ดอลลี ซิงห์ (Dolly Singh) หัวหน้าฝ่ายสรรหาทรัพยากรบุคคล ผู้มีศักยภาพบรรยายไว้ว่า ทุกคนอยู่ในอารมณ์หนักอึ้งด้วยความสิ้นหวัง มัสก์ลกุ ขึน้ กล่าวกับพนักงานว่า ทุกคนรูม้ าตลอดว่างานนีจ้ ะยากลำ�บาก แต่ ถึงแม้จะเจอกับเหตุการณ์ทเี่ พิง่ เกิดขึน้ วันนีพ้ วกเขาก็ได้ทำ�อะไรบางอย่าง สำ�เร็จลุลว่ ง เป็นสิง่ ทีอ่ ย่าว่าแต่บริษทั ต่างๆ เลย แม้แต่ระดับประเทศก็มแี ค่ สองสามประเทศเท่านัน้ ทีท่ ำ�ได้ นัน่ คือพวกเขาปล่อยจรวดขัน้ ตอนแรกและ นำ�ยานอวกาศออกไปนอกชัน้ บรรยากาศได้สำ�เร็จ พวกเขาเพียงแต่ตอ้ งลุก ขึน้ มาใหม่และกลับไปทำ�งาน ซิงห์บรรยายตอนสำ�คัญของคำ�กล่าวครัง้ นัน้ ว่า แล้วอีลอนก็เอ่ยขึ้นด้วยพลังอันเข้มแข็งและดุดันที่สุดเท่าที่เขา จะรวบรวมได้ หลังจากที่ไม่ได้นอนมายาวนานกว่ายี่สิบชั่วโมง “ส�ำหรับผม ผมจะไม่มีวันยอมแพ้ และผมหมายความอย่างนั้น จริงๆ ... ไม่มีวัน” ผมคิดว่าหลังจากค�ำพูดนั้น พวกเราส่วนใหญ่ แทบจะยอมพกครีมกันแดดแล้วเดินตามเขาไปสู่ประตูนรกเลย ด้วยซ�ำ้ นัน่ เป็นการแสดงความเป็นผูน้ ำ� ทีน่ า่ ประทับใจทีส่ ดุ ทีผ่ มเคย เห็นมา ภายในชัว่ วินาทีนนั้ พลังงานในอาคารเปลีย่ นจากหดหูส่ นิ้ หวัง และพ่ายแพ้เป็นกระหึม่ ด้วยความมุง่ มัน่ เมือ่ ผูค้ นเริม่ มุง่ ความสนใจ ไปยังการเดินต่อไปข้างหน้า แทนที่จะมองกลับไปข้างหลัง 26

T ED Talks

นัน่ คือพลังของคำ�กล่าวแค่ครัง้ เดียว คุณอาจไม่ได้เป็นผูน้ ำ�องค์กร แต่กระนั้นคำ�กล่าวครั้งหนึ่งก็อาจเปิดประตูบานใหม่หรือปฏิรูปเส้นทาง อาชีพของใครสักคนได้เลยทีเดียว ผู้พูดของ TED หลายคนบอกเล่าเรื่องราวอิ่มเอมใจเกี่ยวกับ ผลกระทบจากปาฐกถาของเขา ใช่ครับ บางทีก็มีข้อเสนอให้เขียนหนังสือ หรือนำ�เรื่องราวไปทำ�หนัง ได้ค่าตอบแทนการบรรยายสูงขึ้น และได้รับ เงินสนับสนุนโดยไม่คาดคิด แต่เรื่องราวที่น่าสนใจที่สุดคือเรื่องราวของ ความคิดที่ก้าวหน้าและชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เอมี คัดดี (Amy Cuddy) กล่าวปาฐกถาเรือ่ งการเปลีย่ นภาษาท่าทางของคุณช่วยเพิม่ ความมัน่ ใจได้ อย่างไร ซึง่ เป็นปาฐกถาทีผ่ คู้ นชืน่ ชอบกันมาก เธอได้รบั ข้อความมากกว่า 15,000 ข้อความจากคนทั่วโลกที่บอกว่าข้อคิดจากปาฐกถานั้นช่วย พวกเขาได้อย่างไรบ้าง และยังมีปาฐกถาเปี่ยมแรงบันดาลใจจากวิลเลียม คัมความบา (William Kamkwamba) หนุ่มน้อยนักประดิษฐ์ชาวมาลาวี ที่พูดถึงการ สร้างกังหันลมในหมู่บ้านของเขาตอนเขาอายุ 14 ปี ซึ่งจุดประกายให้ เกิ ด เหตุการณ์ต่อเนื่องจนนำ�ไปสู่คำ�ตอบรับ ให้เขาเข้าเรียนหลักสูตร วิศวกรรมศาสตร์ที่วิทยาลัยดาร์ตมัธ วันที่ TED เกือบจะตาย นี่เป็นเรื่องราวจากชีวิตผมเอง เมื่อผมเข้ามารับบทบาทผู้นำ�ของ TED เมือ่ ปลายปี 2001 ผมกำ�ลังซวนเซเนือ่ งจากบริษทั ซึง่ ผมใช้เวลาสร้าง มา 15 ปีเกือบจะพังทลายลง และผมก็กลัวมากว่าจะล้มเหลวครั้งใหญ่ ต่อหน้าสาธารณชนอีกครัง้ ผมดิน้ รนเพือ่ โน้มน้าวชุมชน TED ให้สนับสนุน วิสัยทัศน์ของผมในการบริหาร TED และผมหวั่นเกรงว่ามันจะล้มเหลว สมัยนั้น TED เป็นการประชุมประจำ�ปีในแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งและจัดขึ้น โดยสถาปนิกผู้มีบุคลิกจับใจคนนามว่าริชาร์ด ซอล เวอร์แมน (Richard Chris Anderson

27

Saul Wurman) ซึ่งบารมีของเขาแทรกซึมอยู่ในทุกแง่มุมของการประชุม ดังกล่าว ผู้คนราว 800 คนเข้าร่วมประชุมทุกปี และส่วนใหญ่ดูจะยอมรับ ชะตากรรมว่า TED คงไปไม่รอดเมื่อเวอร์แมนจากไป การประชุม TED ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2002 เป็นครั้งสุดท้ายที่จัดโดยมีเขาเป็นผู้นำ� ผม มีโอกาสหนึ่งครั้งและเป็นครั้งเดียวเท่านั้นที่จะโน้มน้าวผู้เข้าร่วมการ ประชุม TED ให้เชื่อมั่นว่าการประชุมจะดำ�เนินต่อไปด้วยดีเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ผมไม่เคยจัดงานประชุมใหญ่ๆ มาก่อน และแม้ผมจะทุ่มเท ความพยายามอย่างดีที่สุดตลอดหลายเดือนเพื่อทำ�การตลาดสำ�หรับงาน ประชุมในปีถัดไป แต่ก็มีคนลงชื่อว่าจะเข้าร่วมแค่ 70 คนเท่านั้น เช้าวันสุดท้ายของการประชุมครั้งนั้น ผมมีเวลา 15 นาทีที่จะ อธิบายจุดยืนเพื่อเรียกความเชื่อมั่น และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับผม โดยธรรมชาติแล้วผมไม่ใช่คนพูดเก่ง ผมพูด เอ่อ และ แบบว่า บ่อยเกินไป ผมมักจะหยุดตรงกลางประโยค พยายามหาคำ�ที่เหมาะสมมาต่อ เวลา ผมพูดจะฟังดูคร่ำ�เคร่งจริงจังเกินเหตุ เสียงแผ่วเบา และพูดเรือ่ งนามธรรม มากเกินไป นอกจากนี้คนอื่นยังไม่ค่อยเข้าใจอารมณ์ขันแบบอังกฤษ ที่แปลกประหลาดของผมเท่าใดนัก ผมหวั่นวิตกกับช่วงเวลานั้นมาก และกังวลเหลือเกินว่าจะดู เงอะงะบนเวที จนผมไม่สามารถแม้แต่จะฉุดตัวเองให้ยืนขึ้นได้ ผมจึง ไปลากเก้าอี้จากหลังเวทีมาข้างหน้า นั่งลง แล้วเริ่มพูด ตอนนี้พอย้อนกลับไปดูสิ่งที่พูดในวันนั้นแล้วผมอับอายมาก ถ้า ให้ผมวิจารณ์มันวันนี้ จะมีสิ่งที่ผมอยากเปลี่ยนเป็นร้อยอย่าง เริ่มตั้งแต่ เสื้อยืดสีขาวยับๆ ที่ผมใส่ แต่กระนั้น ... ผมก็ได้เตรียมสิ่งที่ผมอยากพูด มาอย่างถีถ่ ว้ น และรูว้ า่ อย่างน้อยต้องมีผฟู้ งั บางคนทีอ่ ยากให้ TED อยูร่ อด ถ้าผมสามารถให้เหตุผลแก่ผสู้ นับสนุนเหล่านัน้ ว่าทำ�ไมเขาจึงควรตืน่ เต้น ไปกับผม บางทีพวกเขาอาจจะมาช่วยพลิกสถานการณ์กไ็ ด้ และเนือ่ งจาก เหตุการณ์ธุรกิจดอตคอมฟองสบู่แตกที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นไม่นาน ผู้ฟัง หลายคนคงได้เผชิญความทุกข์จากการสูญเสียทางธุรกิจที่เลวร้ายพอๆ 28

T ED Talks

กับผม บางทีผมอาจสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงกับพวกเขาด้วยเรื่องนี้ได้ ผมพูดจากใจ ด้วยท่าทีเปิดเผยและมุง่ มัน่ ทีส่ ดุ เท่าทีผ่ มจะสามารถ รวบรวมออกมาได้ ผมบอกผูฟ้ งั ว่าผมเพิง่ ผ่านเหตุการณ์ลม้ เหลวทางธุรกิจ ครั้งใหญ่ บอกว่าผมเคยมองตัวเองเป็นคนล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ทางเดียว ที่จิตใจผมจะอยู่รอดได้คือพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางโลกของความคิด และ TED ได้กลายมาเป็นโลกทั้งใบสำ�หรับผม มันเป็นสถานที่พิเศษ ซึ่งเราสามารถแลกเปลี่ยนแบ่งปันความคิดจากทุกสาขาวิชา และผมจะ ทำ�ทุกอย่างด้วยอำ�นาจทั้งหมดที่มีเพื่อรักษาคุณค่าสูงสุดของ TED เอาไว้ ผมบอกพวกเขาว่างานประชุมนี้ได้นำ�แรงบันดาลใจอันแรงกล้าและการ เรียนรู้ที่เข้มข้นมาสู่พวกเราจนเราไม่อาจปล่อยให้มันตายลงไปได้ ... จริงไหม อ้อ และผมทลายบรรยากาศตึงเครียดด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย น่าเหลือเชื่อที่เล่าต่อกันมาเกี่ยวกับมาดาม เดอ กูล แห่งฝรั่งเศส ที่ทำ�ให้ แขกในงานเลี้ยงทางการทูตอึ้งตะลึงไปหลังจากท่านกล่าวว่าปรารถนา จะได้ “a penis” ผมกล่าวต่อไปอีกว่าในอังกฤษ เรามีความปรารถนาเดียวกันนั้น แต่เรา ออกเสียงว่า happiness หรือความสุข และ TED ก็ได้นำ�ความสุขที่แท้ มาให้ผม หลังจากผมพูดจบ ผมก็ประหลาดใจสุดๆ เมือ่ เจฟฟ์ เบซอส (Jeff Bezos) ผู้นำ�ของบริษัทแอมะซอน (Amazon) ซึ่งนั่งอยู่ท่ามกลางผู้ฟัง ลุกขึน้ ยืนและเริม่ ปรบมือ จากนัน้ คนทัง้ ห้องก็ลกุ ขึน้ ยืนร่วมกับเขา ราวกับ ชุ ม ชนชาว TED ได้ ตั ด สิ น ใจร่ ว มกั น ภายในไม่ กี่ วิ น าที นั้ น ว่ า ในที่ สุ ด พวกเขาตกลงจะสนับสนุนเรือ่ งราวบทใหม่ของ TED และในช่วงพัก 60 นาที หลังจากนัน้ คนราว 200 คนก็ลงชือ่ ว่าจะซือ้ บัตรเข้าร่วมประชุมในปีตอ่ ไป ซึ่งเป็นการรับประกันความสำ�เร็จแล้ว ถ้าสุนทรพจน์ความยาว 15 นาทีนั้นล้มเหลว TED อาจจะตาย Chris Anderson

29

ไปแล้วตั้งแต่สี่ปีก่อนที่จะเริ่มต้นนำ�ปาฐกถาขึ้นเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต และคุณก็คงไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ในบทต่อไป ผมจะเล่าให้ฟังว่าทำ�ไมผมจึงคิดว่าการพูดครั้งนั้น ประสบความสำ�เร็จแม้จะดูเงอะงะเก้ๆ กังๆ เรื่องนี้เป็นความรู้ที่ตกผลึก ซึ่งสามารถนำ�ไปปรับใช้ในการพูดใดๆ ก็ตาม ไม่ ว่ า วั น นี้ คุ ณ จะเชื่ อ มั่ น ในความสามารถด้ า นการพู ด ในที่ สาธารณะของคุ ณ น้ อ ยแค่ ไ หน คุ ณ สามารถทำ�อะไรบางอย่ า งเพื่ อ เปลี่ยนแปลงมันได้เสมอ การพูดในที่สาธารณะไม่ใช่พรสวรรค์ที่ติดตัวมา แต่เกิดสำ�หรับผูโ้ ชคดีไม่กคี่ น มันเป็นชุดของทักษะอันหลากหลาย การพูด นัน้ มีหลายร้อยวิธี ซึง่ ทุกคนสามารถค้นพบแนวทางทีเ่ หมาะกับตนเองและ เรียนรู้ทักษะที่จำ�เป็นเพื่อขัดเกลามันให้ดี เด็กหนุ่มหัวใจสิงห์ สองสามปีก่อน ผมกับเคลลี สเตตเซล ผู้อำ�นวยการด้านเนื้อหา ของ TED เดินทางไปรอบโลกเพื่อค้นหานักพูดที่โดดเด่น ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา เราพบริชาร์ด ทูเรเร (Richard Turere) เด็กชายชาวมาไซ วัย 12 ปี ซึ่งสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่น่าทึ่งขึ้นมา ครอบครัวของเขาเลี้ยงวัว และหนึ่งในความท้าทายที่สำ�คัญที่สุดคือการปกป้องวัวจากสิงโตที่มา โจมตีตอนกลางคืน ริชาร์ดสังเกตว่าแสงจากกองไฟนิ่งๆ ไล่สิงโตไม่ได้ แต่ดเู หมือนว่าหากเดินกวัดแกว่งไฟฉายไปมาจะช่วยได้ เห็นได้ชดั ว่าสิงโต กลัวแสงไฟทีเ่ คลือ่ นไหว! ริชาร์ดเรียนรูเ้ รือ่ งอิเล็กทรอนิกส์เองจากการลอง เล่นกับชิน้ ส่วนทีม่ าจากวิทยุของพ่อแม่ เขาใช้ความรูน้ น้ั ประดิษฐ์ระบบไฟ ทีเ่ ปิดปิดต่อเนือ่ งเป็นลำ�ดับ ทำ�ให้ดเู หมือนกำ�ลังเคลือ่ นไหว สิง่ ประดิษฐ์นี้ สร้างขึน้ จากชิน้ ส่วนต่างๆ ในโรงเก็บเครือ่ งยนต์เก่าๆ ทัง้ แผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรีร่ ถยนต์ และชุดไฟของรถจักรยานยนต์ เขาติดตัง้ ระบบไฟ และแล้ว ก็สำ�เร็จ! สิงโตไม่มาโจมตีววั อีก ข่าวเรือ่ งสิง่ ประดิษฐ์ของเขาแพร่สะพัดไป 30

T ED Talks

และชาวบ้านคนอืน่ ๆ ก็อยากได้บา้ ง พวกเขาเลิกพยายามฆ่าสิงโตอย่างที่ เคยทำ�และติดตัง้ “ไฟไล่สงิ โต” ของริชาร์ดแทน ทัง้ ชาวบ้านและนักอนุรกั ษ์ สิ่งแวดล้อมที่ปกป้องสิงโตต่างก็พึงพอใจ นัน่ เป็นความสำ�เร็จทีน่ า่ ประทับใจ แต่จากแวบแรกทีเ่ ห็น แน่นอน ว่าริชาร์ดดูไม่นา่ จะเป็นผูพ้ ดู บนเวที TED ได้ เขายืนหลังค่อมอยูท่ มี่ มุ ห้อง ดูขี้อายสุดขีด เขาพูดภาษาอังกฤษตะกุกตะกัก พยายามอย่างหนักที่จะ อธิบายสิง่ ประดิษฐ์ของเขาให้รเู้ รือ่ ง เป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะจินตนาการภาพเขา ปรากฏตัวต่อหน้าคน 1,400 คนบนเวทีในแคลิฟอร์เนีย พร้อมๆ กับเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) และบิลล์ เกตส์ แต่เรื่องราวของริชาร์ดนั้นน่าสนใจมากจนเราเดินหน้าเชิญเขา มาพูดที่ TED Talk หลายเดือนก่อนถึงวันจัดประชุม เราทำ�งานร่วมกับเขา เพื่อวางกรอบเรื่อง โดยหาจุดเริ่มต้นที่เหมาะสมและพัฒนาลำ�ดับเรื่องเล่า ที่เป็นธรรมชาติ สิ่งประดิษฐ์ของริชาร์ดทำ�ให้เขาได้รับทุนการศึกษาให้ เข้าเรียนในโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของเคนยา เขามีโอกาสฝึกปาฐกถา สำ�หรับ TED ต่อหน้าผูฟ้ งั ทีโ่ รงเรียนนัน้ หลายครัง้ ซึง่ ช่วยเพิม่ ความมัน่ ใจ จนบุคลิกภาพที่แท้จริงของเขาเปล่งประกายออกมา ริชาร์ดขึ้นเครื่องบินเป็นครั้งแรกในชีวิต และบินมาที่ลองบีช แคลิฟอร์เนีย ขณะทีเ่ ขาเดินขึน้ มาบนเวที TED คุณบอกได้เลยว่าเขากำ�ลัง หวัน่ วิตก แต่นนั่ กลับทำ�ให้เขาดึงดูดความสนใจจากผูฟ้ งั มากขึน้ ระหว่างที่ ริชาร์ดพูด ผูฟ้ งั ติดตามเขาทุกถ้อยคำ� และทุกครัง้ ทีเ่ ขายิม้ ผูฟ้ งั ก็ใจละลาย เมื่อเขาพูดจบ ผู้ฟังพากันลุกขึ้นส่งเสียงชื่นชม เรื่องราวของริชาร์ดสร้างกำ�ลังใจให้เราเชื่อว่าทุกคนสามารถ กล่าวปาฐกถาทีด่ ไี ด้ เป้าหมายของคุณไม่ใช่วนิ สตัน เชอร์ชลิ ล์ หรือเนลสัน แมนเดลา แต่คอื การเป็นตัวคุณเอง ถ้าคุณเป็นนักวิทยาศาสตร์ ก็จงเป็น นักวิทยาศาสตร์ อย่าพยายามเป็นนักรณรงค์เคลื่อนไหว ถ้าคุณเป็น ศิลปิน ก็จงเป็นศิลปิน อย่าพยายามเป็นนักวิชาการ ถ้าคุณเป็นคนธรรมดา ก็ไม่ตอ้ งเสแสร้งด้วยท่าทางแบบผูม้ สี ติปญ ั ญาล้ำ�เลิศ ขอแค่เป็นตัวคุณเอง Chris Anderson

31

คุณไม่จำ�เป็นต้องทำ�ให้ฝูงชนลุกขึ้นยืนด้วยคำ�ปราศรัยที่ทรงพลัง การ สนทนาแลกเปลี่ยนอาจเป็นรูปแบบที่ได้ผลดีเช่นกัน ที่จริงสำ�หรับผู้ฟัง ส่วนใหญ่ มันดีกว่าด้วยซ้ำ� ถ้าคุณรูว้ ธิ พี ดู คุยกับเพือ่ นระหว่างรับประทาน อาหารค่ำ� คุณก็มีความรู้เพียงพอที่จะพูดในที่สาธารณะแล้ว นอกจากนี้ เทคโนโลยียังเปิดทางเลือกใหม่ๆ เรามีชีวิตอยู่ในยุค ทีค่ ณ ุ ไม่ตอ้ งพูดต่อหน้าคนทีละหลายพันคนเพือ่ สร้างผลกระทบอันยิง่ ใหญ่ คุณอาจพูดแบบเป็นกันเองต่อหน้ากล้องวิดีโอ แล้วปล่อยให้อินเทอร์เน็ต ทำ�หน้าที่ที่เหลือแทนคุณ ความสามารถในการนำ�เสนอไม่ใช่พรสวรรค์พิเศษสำ�หรับคน บางคน มันเป็นทักษะหลักสำ�หรับศตวรรษที่ 21 เป็นวิธีที่ได้ผลสูงสุดเพื่อ บอกเล่าว่าคุณเป็นใครและใส่ใจเรื่องอะไร ถ้าคุณเรียนรู้ทักษะนี้ได้ ความ มัน่ ใจในตนเองของคุณจะงอกงามขึน้ และคุณอาจทึง่ เมือ่ ได้เห็นผลกระทบ ทางบวกที่มันมีต่อความสำ�เร็จในชีวิตคุณ ไม่ว่าคุณจะนิยามความสำ�เร็จ ดังกล่าวไว้อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณยืนหยัดในตัวตนที่แท้จริง ผมเชื่อมั่นว่าคุณจะสามารถนำ� ศิลปะเก่าแก่ทตี่ ดิ ตัง้ อยูใ่ นตัวเรานับแต่แรกเริม่ ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ได้ เพียงแต่คุณต้องรวบรวมความกล้าเพื่อลองทำ�ดู

32

T ED Talks

2 การก่อร่างความคิด ของขวัญสุดพิเศษในทุกปาฐกถาอันยิ่งใหญ่

ในเดือนมีนาคม 2015 นักวิทยาศาสตร์ชอื่ โซฟี สก็อตต์ (Sophie Scott) ก้าวขึ้นบนเวที TED และภายในสองนาที ผู้ฟังทั้งหมดก็หัวเราะลั่นอย่าง ควบคุมไม่อยู่ โซฟีเป็นหนึ่งในนักวิจัยชั้นน�ำของโลกเรื่องการหัวเราะ เธอเปิดคลิปเสียงหัวเราะของมนุษย์ และแสดงให้เห็นว่าปรากฏการณ์นี้ มัน ประหลาด ขนาดไหน เธอใช้ค�ำว่า “เหมือนเสียงร้องของสัตว์มากกว่า ค�ำพูด” ปาฐกถาของเธอเป็นช่วงเวลา 17 นาทีที่เต็มไปด้วยความรื่นเริง เมื่อถึงตอนจบ ทุกคนรู้สึกเอิบอาบไปด้วยไออวลของประสบการณ์ที่ เพลิดเพลินอย่างลึกซึ้ง แต่ยังมีอีกอย่างหนึ่งคือ เราทุกคนจะไม่มีวัน มองการหัวเราะในแบบเดิมอีกเลย ความคิด หลักของโซฟีเกี่ยวกับการ หัวเราะแทรกซึมเข้ามาในหัวของเรา นั่นคือความคิดที่ว่าวัตถุประสงค์ ทางวิวัฒนาการของการหัวเราะคือเพื่อเปลี่ยนความตึงเครียดทางสังคม ให้กลายเป็นการสอดประสานเข้ากันอย่างเพลิดเพลิน และตอนนี้เมื่อใด ก็ ต ามที่เ ห็น กลุ่ม คนก�ำลังหัว เราะกัน ผมจะมองปรากฏการณ์นี้ด้วย Chris Anderson

35

มุมมองใหม่ ใช่ครับ ผมรู้สึกปีติสุข อยากเข้าไปร่วมวง และผมยังเห็น สายสัมพันธ์ทางสังคม รวมถึงปรากฏการณ์ทางชีววิทยาโบราณอันแปลก ประหลาดทีก่ ำ� ลังด�ำเนินไป ซึง่ ท�ำให้กระบวนการทัง้ หมดนีย้ งิ่ ดูมหัศจรรย์ ขึ้นไปอีก โซฟีให้ของขวัญผมอย่างหนึ่ง ไม่ใช่แค่ความเพลิดเพลินเมื่อได้ ฟังเธอบรรยาย แต่คอื ความคิดซึง่ จะกลายเป็นส่วนหนึง่ ในตัวผมตลอดไป1 ผมอยากบอกว่า ของขวัญของโซฟีคืออุปมาอุปไมยที่งดงาม ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการบรรยายทุกรูปแบบ พันธกิจอันดับหนึ่ง ของคุณในฐานะผูพ้ ดู คือหยิบยกอะไรบางอย่างทีม่ คี วามหมายกับคุณอย่าง ลึกซึ้ง และสร้างมันซ�้ำอีกครั้งในใจผู้ฟัง เราเรียกสิ่งนั้นว่า ความคิด เป็น ความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจที่เรายึดถือ เก็บจ�ำไว้ ให้คุณค่า และบางกรณี ก็เปลี่ยนแปลงเราได้ด้วย นั่ น เป็ น เหตุ ผ ลหลั ก ที่ ท� ำ ให้ ป าฐกถาอั น น่ า กลั ว ที่ สุ ด ส� ำ หรั บ ผมกลับกลายเป็นได้ผลดีเยี่ยม อย่างที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ว่า ผมมีเวลา 15 นาทีที่จะพยายามเกลี้ยกล่อมผู้ฟัง TED ให้สนับสนุน เรื่ อ งราวบทใหม่ ข อง TED ภายใต้ ก ารน� ำ ของผม ปาฐกถานั้ น มี ข ้ อ บกพร่องมากมาย แต่มนั ส�ำเร็จในจุดส�ำคัญทีส่ ดุ นัน่ คือมันได้ปลูกความคิด อย่างหนึ่งในใจของผู้ฟังว่าความพิเศษของ TED ไม่ใช่เพียงตัวผู้ก่อตั้งที่ ผมไปซือ้ กิจการเขามา แต่เอกลักษณ์ของ TED คือ นีเ่ ป็นสถานทีท่ คี่ นจาก ทุกสาขาวิชาอาชีพสามารถมารวมตัวกันและเข้าใจซึง่ กันและกัน การผสม ผสานข้ามศาสตร์นี่แหละที่ส�ำคัญต่อโลก ดังนั้นผมจะเปลี่ยนสถานะของ การประชุมนีใ้ ห้กลายเป็นงานไม่แสวงก�ำไร และจัดขึน้ ด้วยความเชือ่ มัน่ ใน คุณประโยชน์ตอ่ สาธารณะ อนาคตของ TED นัน้ เป็นไปเพือ่ พวกเราทุกคน

แน่นอนว่างานวิจัยอื่นในอนาคตอาจขัดเกลาหรือโต้แย้งความคิดของโซฟี สก็อตต์ นั่น หมายความว่าความคิดนั้นเป็นสิ่งไม่ถาวรและเปลี่ยนแปลงได้ แต่เมื่อความคิดก่อตัวขึ้น ในใจเราแล้ว ไม่มีใครลบมันออกไปจากใจเราได้ถ้าเราไม่ยินยอม 1

36

T ED Talks

ความคิดนี้เปลี่ยนมุมมองของผู้ฟังเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านของ TED แม้ผกู้ อ่ ตัง้ จะจากไปก็ไม่ใช่เรือ่ งใหญ่ สิง่ ส�ำคัญคือเราจะรักษารูปแบบ อันแสนพิเศษในการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ให้คงอยู่ต่อไป เริ่มต้นจากความคิด แนวคิ ด หลั ก ของหนั ง สื อ เล่ ม นี้ คื อ ใครก็ ต ามที่ มี ค วามคิ ด อั น ควรค่าแก่การเผยแพร่ยอ่ มสามารถกล่าวปาฐกถาทีท่ รงพลังได้ สิง่ เดียวทีม่ ี ความหมายแท้ จ ริ ง ของการพู ด ในที่ ส าธารณะไม่ ใ ช่ ค วามมั่ น ใจ การ ปรากฏกายที่ดูดีบนเวที หรือวิธีพูดที่ลื่นไหล แต่คุณต้องมีอะไรบางอย่าง ซึ่งควรค่าที่จะพูดออกมา ในทีน่ ผี้ มใช้คำ� ว่า ความคิด แบบกว้างๆ มันไม่ตอ้ งเป็นการค้นพบ อันยิ่งใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งประดิษฐ์อัจฉริยะ หรือทฤษฎีกฎหมายที่ ซับซ้อน แต่อาจเป็นวิธีท�ำอะไรง่ายๆ หรือการหยั่งรู้ของมนุษย์ที่อาศัย พลังของเรื่องเล่าเพื่อถ่ายทอดให้เห็นภาพ อาจเป็นภาพอันสวยงามที่มี ความหมาย เหตุการณ์ทคี่ ณ ุ อยากให้เกิดขึน้ ในอนาคต หรืออาจจะเป็นเพียง ข้อเตือนใจว่าสิ่งใดส�ำคัญที่สุดในชีวิต ความคิดคืออะไรก็ได้ทสี่ ามารถเปลีย่ นวิธมี องโลกของผูค้ น ถ้าคุณ ใส่ความคิดที่มีพลังโน้มน้าวลงไปในจิตใจผู้คนส�ำเร็จ นั่นแปลว่าคุณได้ท�ำ สิง่ มหัศจรรย์บางอย่าง คุณให้ของขวัญทีไ่ ม่อาจประเมินค่าได้แก่เขา ชิน้ ส่วน หนึ่งของคุณได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเขาไปแล้วจริงๆ คุณ มีความคิดทีส่ มควรมีคนฟังในวงกว้างกว่านีไ้ หม คนเราตอบ ค�ำถามนี้ผิดพลาดกันมากอย่างไม่น่าเชื่อ ผู้พูดจ�ำนวนมาก (มักจะเป็น ผู้ชาย) ดูจะหลงรักเสียงของตัวเองและชอบพูดเป็นชั่วโมงๆ โดยไม่ได้ แบ่งปันข้อมูลอะไรที่มีคุณค่านัก แต่ก็มีคนอีกมากมาย (มักจะเป็นผู้หญิง) ทีป่ ระเมินคุณค่าของงาน การเรียนรู้ หรือปัญญาความคิดทีต่ กผลึกของตน ต�่ำกว่าความเป็นจริงไปมาก Chris Anderson

37

ถ้าคุณหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพียงเพราะคุณชอบที่จะได้เดิน วางมาดบนเวทีและเป็นดาวเด่นของ TED Talk สร้างแรงบันดาลใจให้ผฟู้ งั ด้วยท่าทางทรงบารมีของคุณ ได้โปรดเถอะครับ วางมันลงเดี๋ยวนี้เลย ไป ท�ำงานอะไรสักอย่างที่มีคุณค่าควรแก่การเผยแพร่ก่อนเถอะ มีสไตล์แบบ ไร้แก่นสารน่ะไม่เท่หรอกครับ แต่ส่วนใหญ่แล้วคุณมักมีอะไรในตัวที่ควรค่าน่าแบ่งปันมากกว่า ที่คุณคิด คุณไม่ต้องประดิษฐ์ไฟไล่สิงโตก็ได้ คุณใช้ชีวิตที่เป็นของคุณ คนเดียวเท่านัน้ ประสบการณ์หลายอย่างเป็นเรือ่ งพิเศษเฉพาะตัวคุณ และ มีความรูบ้ างอย่างทีต่ กผลึกจากประสบการณ์เหล่านี้ ซึง่ ควรค่าน่าเผยแพร่ อย่างแท้จริง คุณแค่ต้องเลือกว่าจะแบ่งปันเรื่องไหน คุณเครียดในเวลาแบบนี้หรือเปล่าครับ อาจเป็นตอนที่คุณต้อง น�ำเสนองานหน้าชั้นเรียน หรือน�ำเสนอผลวิจัยในการประชุมเล็กๆ หรือ คุณมีโอกาสเล่าเรื่ององค์กรของคุณให้สโมสรโรตารีท้องถิ่นฟังเพื่อขอให้ ช่วยสนับสนุน คุณอาจรูส้ กึ ว่าคุณไม่เคยท�ำอะไรทีค่ วรค่าให้เอ่ยถึง ไม่เคย ประดิษฐ์อะไรเลย ไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์มากนัก ไม่ได้มองว่าตัวเอง ฉลาดล�้ำเลิศ ไม่มีความคิดแจ่มๆ ส�ำหรับอนาคต คุณอาจจะไม่แน่ใจเลย ด้วยซ�้ำว่ามีเรื่องอะไรที่คุณหลงใหลจริงๆ หรือเปล่า อืม ผมเข้าใจนะ จุดเริ่มต้นนั้นยาก การพูดที่คุ้มค่ากับเวลาของ ผู้ฟังส่วนใหญ่ต้องตั้งอยู่บนสาระบางอย่างที่ลึกซึ้งพอสมควร หากว่ากัน ตามทฤษฎี สิ่งดีที่สุดที่คุณท�ำได้ตอนนี้น่าจะเป็นการเดินทางต่อไปบน เส้นทางของคุณ แสวงหาบางอย่างที่จับใจคุณจริงๆ และท�ำให้คุณอยาก ค้นลึกลงไปอีก แล้วสองสามปีข้างหน้าค่อยมาอ่านหนังสือเล่มนี้อีกที แต่ก่อนที่จะสรุปอย่างนั้น คุณควรตรวจสอบซ�้ำว่าคุณประเมิน ตัวเองได้ถูกต้องแม่นย�ำหรือเปล่า บางทีคุณอาจจะแค่ขาดความมั่นใจใน ตัวเอง นี่อาจฟังดูขัดแย้งอยู่บ้าง คุณเป็นตัวเองมาตลอดชีวิต และเห็น ตัวเองจากข้างในเท่านัน้ แต่สว่ นทีค่ นอืน่ มองว่าโดดเด่นในตัวคุณอาจเป็น สิ่งที่คุณมองไม่เห็นโดยสิ้นเชิงก็ได้ เพื่อค้นหาส่วนที่โดดเด่นเหล่านั้น คุณ 38

T ED Talks

อาจจ�ำเป็นต้องพูดคุยอย่างจริงใจกับคนที่รู้จักคุณดีที่สุด พวกเขาจะรู้จัก บางมุมของคุณดียิ่งกว่าที่คุณรู้จักตัวเอง ไม่วา่ กรณีใดๆ ย่อมมีสงิ่ หนึง่ ทีไ่ ม่มใี ครอืน่ ในโลกนีไ้ ด้ครอบครอง นอกจากคุณ สิ่งนั้นก็คือประสบการณ์ชีวิตจากมุมมองของตัวคุณเอง เมื่อวานนี้ คุ ณ เห็ น สิ่ ง ต่ า งๆ และสั ม ผั ส สารพั ด อารมณ์ ที่ มี ล� ำ ดั บ และ แบบแผนไม่ เ หมื อ นใครเลยจริ ง ๆ คุ ณ เป็ น มนุ ษ ย์ เ พี ย งหนึ่ ง เดี ย วใน 7,000 ล้านคนที่มีประสบการณ์นี้ ดังนั้น … คุณน�ำมันมาใช้อะไรได้ไหม ปาฐกถาที่ดีที่สุดหลายเรื่องเป็นเพียงประสบการณ์ส่วนตัวและบทเรียน ง่ายๆ ที่ถอดออกมาจากเรื่องราวเหล่านั้น คุณสังเกตเห็นอะไรที่ท�ำให้ ประหลาดใจไหม คุณอาจเคยมองเด็กๆ เล่นอยู่ในสวน หรือเคยพูดคุยกับ คนไร้บา้ น มีอะไรบางอย่างทีค่ ณ ุ เห็นซึง่ อาจจะน่าสนใจส�ำหรับคนอืน่ ไหม ถ้าไม่ ลองจินตนาการดูว่าคุณจะใช้เวลาสองสามสัปดาห์ข้างหน้าเดินไป ตามสถานที่ต่างๆ ด้วยสายตาที่เปิดกว้าง ตระหนักถึงความเป็นไปได้ว่า บางส่วนของการเดินทางทีไ่ ม่ซำ�้ ใครของคุณอาจน่าสนใจและเป็นประโยชน์ กับผู้อื่น คนเราชอบเรื่องเล่า และทุกคนสามารถเรียนรู้ที่จะเล่าเรื่องให้ดี แม้บทเรียนที่คุณถอดออกมาจากเรื่องเล่านั้นจะไม่แปลกใหม่ก็ไม่เป็นไร เราเป็นมนุษย์นะ! เราต้องการให้คนย�ำ้ เตือน! เพราะเหตุนศ้ี าสนาต่างๆ จึง มีกจิ กรรมเข้าวัดฟังเทศน์ฟงั ธรรมเรือ่ งเดิมซ�ำ้ ๆ แต่นำ� เสนอในรูปแบบใหม่ ทุกสัปดาห์ ความคิดดีๆ ทีน่ ำ� เสนอผ่านเรือ่ งเล่าสดใหม่จะกลายเป็นปาฐกถา ที่ยอดเยี่ยมได้หากเล่าอย่างถูกวิธี ลองนึกย้อนไปถึงงานที่คุณท�ำในช่วงสามสี่ปีนี้ มีอะไรโดดเด่น ออกมาไหมครับ เรื่องล่าสุดที่ท�ำให้คุณตื่นเต้นหรือโกรธอย่างจริงจังคือ อะไร ผลงานสักสองสามอย่างทีค่ ณ ุ เคยท�ำและภาคภูมใิ จมากทีส่ ดุ คืออะไร ครัง้ สุดท้ายทีค่ ณ ุ คุยกับใครสักคนแล้วเขาพูดว่า “น่าสนใจจริงๆ” คือเมือ่ ไร ถ้าคุณมีคทาวิเศษ ความคิดหนึ่งเดียวที่คุณอยากเสกเข้าไปสู่จิตใจของ คนอื่นคืออะไร Chris Anderson

39

เลิกผัดวันประกันพรุ่งได้แล้ว คุณสามารถใช้โอกาสจากการพูดในที่สาธารณะเป็น แรงจูงใจ ให้ค้นคว้าลึกลงไปในบางหัวข้อ เราทุกคนล้วนมีปัญหาจากการผัดวัน ประกันพรุง่ หรือความขีเ้ กียจในรูปแบบใดรูปแบบหนึง่ ไม่มากก็นอ้ ย มีอะไร มากมายที่เราอยากท�ำและเรียนรู้ แต่ก็อย่างที่รู้กันว่าอินเทอร์เน็ตนั้นมีสิ่ง เบี่ยงเบนความสนใจเยอะมาก โอกาสที่ได้พูดต่อหน้าสาธารณะอาจเป็น ตัวกระตุ้นที่คุณต้องการเพื่อเริ่มต้นค้นคว้าวิจัยอะไรสักเรื่องอย่างจริงจัง ใครก็ตามทีม่ คี อมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่าง ในโลกนี้ ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะขุดค้นและมองเห็นสิ่งที่คุณสามารถค้นพบ ได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง อันทีจ่ ริงค�ำถามทีค่ ณ ุ ถามตัวเองขณะค้นคว้าเรือ่ งต่างๆ สามารถ ใช้เป็นพิมพ์เขียวส�ำหรับการพูดของคุณได้เลย ประเด็นส�ำคัญทีส่ ดุ มีอะไร บ้าง มันเกีย่ วข้องสัมพันธ์กนั อย่างไร จะอธิบายง่ายๆ ได้อย่างไร ปริศนาใด ที่ผู้คนยังไม่มีค�ำตอบที่ดีพอ ประเด็นขัดแย้งที่ส�ำคัญคืออะไร คุณสามารถ ใช้การเดินทางค้นหาของตนเองเป็นแนวทางว่าควรจะเผยประเด็นส�ำคัญ ณ จังหวะไหนในการพูดของคุณ ดังนั้นถ้าคุณคิดว่า อาจ มีอะไรบางอย่างจะพูด แต่ไม่แน่ใจว่า คุณรู้เรื่องนั้นดีพอ ท�ำไมไม่ลองใช้โอกาสที่จะพูดต่อหน้าสาธารณะเป็นสิ่ง จูงใจให้คุณค้นหาค�ำตอบนั้นล่ะครับ ทุกครั้งที่รู้สึกว่าความใส่ใจของคุณ เฉือ่ ยชาลง แค่จำ� ไว้วา่ คุณจะต้องยืนบนเวทีโดยมีสายตานับร้อยๆ คูจ่ อ้ งเขม็ง ก็จะท�ำให้คุณพยายามต่อไปได้เป็นชั่วโมงเลยละครับ! ในปี 2015 เราท� ำ การทดลองอย่ า งหนึ่ ง ที่ ส� ำ นั ก งานใหญ่ ของ TED ทุกๆ สัปดาห์ทสี่ องของเดือน เราให้วนั หยุดพิเศษแก่พนักงาน ทุกคนหนึ่งวันเพื่ อ ไปศึ ก ษาอะไรก็ ไ ด้ เราเรี ย กมั น ว่ า วั น พุ ธ แห่ ง การ เรียนรู้ แนวคิดเบื้องหลังก็คือ เพราะองค์กรของเรายึดมั่นในการเรียนรู้ ตลอดชีวิต เราจึงควรท�ำตามที่เราพร�่ำบอก โดยส่งเสริมให้ทุกคนในทีม 40

T ED Talks

ใช้เวลาเรียนรู้สิ่งที่เขาหลงใหล แต่เราจะป้องกันไม่ให้มันกลายเป็นวัน นั่งขี้เกียจอยู่หน้าจอโทรทัศน์ได้อย่างไรล่ะ เราจึงต้องมีเงื่อนไขตอนจบ นั่นคือมีข้อตกลงว่า วันใดวันหนึ่งในระหว่างปี ทุกคนต้องบรรยายใน รูปแบบ TED Talk ให้คนอื่นในองค์กรฟังว่าตนได้เรียนรู้อะไรบ้าง นั่น หมายความว่าเราทุกคนจะได้ประโยชน์จากความรู้ของกันและกัน และ นอกจากนั้น สิง่ ทีส่ ำ� คัญมากคือ วิธนี ชี้ ว่ ยสร้างแรงจูงใจให้เราลงมือเรียนรู้ อย่างจริงจัง คุณไม่จ�ำเป็นต้องมีวันพุธแห่งการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงจูงใจนี้ โอกาสใดๆ ทีค่ ณ ุ จะได้พดู ต่อหน้ากลุม่ คนทีค่ ณ ุ เคารพนับถือย่อมสามารถ สร้างแรงจูงใจให้คุณลุกขึ้นมาท�ำอะไรสักอย่างที่แตกต่างไม่ซ�้ำใคร! พูด อีกอย่างก็คือ คุณไม่จ�ำเป็นต้องมีความรู้สมบูรณ์พร้อมอยู่ในหัวนับตั้งแต่ วันนี้หรอกครับ แต่จงใช้โอกาสนี้เป็นเหตุผลเพื่อน�ำคุณไปค้นพบมัน และถ้าท�ำทุกอย่างที่ว่ามาแล้ว คุณยังคงดิ้นรนอย่างยากล�ำบาก งั้นคุณก็อาจจะคิดถูกแล้ว บางทีคุณน่าจะปฏิเสธค�ำเชิญไปบรรยาย นั่น อาจจะดีกับทั้งตัวคุณเองและผู้เชิญ แต่ส่วนใหญ่แล้ว คุณจะค้นพบอะไร สักอย่างซึ่งมีแต่คุณคนเดียวเท่านั้นที่จะแบ่งปันให้ผู้อื่นรับรู้ได้ บางอย่าง ที่คุณตื่นเต้นอยากเห็นมันเผยแพร่ออกไปในโลกและมีคนรับรู้มากขึ้นอีก สักนิด เนื้อหาส่วนใหญ่ที่เหลือในหนังสือเล่มนี้ ผมจะถือว่าคุณมีอะไร บางอย่างที่อยากพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่คุณหลงใหลมาตลอดชีวิต หัวข้อ ที่คุณกระหายอยากด�ำดิ่งลงไปศึกษาให้ลึกกว่าเดิม หรือโครงการที่คุณ ต้องน�ำเสนอในที่ท�ำงาน ในบทต่อๆ ไป ผมจะเน้นเรื่อง ท�ำอย่างไร ไม่ใช่ ท�ำอะไร แต่ในบทสุดท้าย เราจะกลับมาที่ค�ำถามว่าท�ำอะไรอีกครั้ง เพราะ ผมมัน่ ใจว่า ทุกคน มีสงิ่ ส�ำคัญบางอย่างทีส่ ามารถแบ่งปันและควรแบ่งปัน ให้พวกเราที่เหลือรับรู้

Chris Anderson

41

พลังอันน่าอัศจรรย์ของภาษา โอเค คุณอยากจะพูดอะไรบางอย่างทีม่ คี วามหมาย และเป้าหมาย ของคุณคือต้องการสร้างแก่นความคิดนั้นขึ้นอีกครั้งในใจผู้ฟัง แล้วคุณจะ ท�ำอย่างไรล่ะ เราไม่ค วรประเมิน ความท้า ทายนี้ต�่ำเกินไป ถ้าเราสามารถ วาดภาพโครงร่ า งของแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การหั ว เราะที่ อ ยู ่ ใ นสมองของ โซฟี สก็อตต์ จะพบว่ามันอาจมีเซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์เข้ามา เกี่ยวข้อง โดยเชื่อมต่อถึงกันและกันในแบบแผนที่ซับซ้อนเหลือเชื่อ แบบแผนที่ว่าจะต้องรวมเอาภาพของผู้คนที่ก�ำลังสรวลเสเฮฮา เสียง หัวเราะของพวกเขา แนวคิดเรือ่ งจุดมุง่ หมายทางวิวฒ ั นาการ ความหมาย ของการบรรเทาความเครียด และอืน่ ๆ อีกมากมาย เราจะสร้างโครงสร้าง ทั้งหมดนี้ขึ้นใหม่ในความคิดของคนแปลกหน้ากลุ่มหนึ่งภายในเวลา ไม่กนี่ าทีได้อย่างไร มนุษย์สร้างเทคโนโลยีที่ท�ำให้เรื่องนี้เป็นไปได้ สิ่งนั้นเรียกว่า ภาษา มันช่วยให้สมองของคุณท�ำสิ่งต่างๆ ที่เหลือเชื่อ ผมขอให้คณ ุ จินตนาการภาพช้างตัวหนึง่ งวงของมันทาสีแดงสด โบกไปมาเข้ากับจังหวะลากเท้าของเจ้านกแก้วยักษ์สีส้มที่เต้นร�ำอยู่บน หัวของช้าง พลางส่งเสียงร้องแหลมซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่าว่า “มาเต้นฟันดังโกกัน”

ว้าว คุณเพิ่งสร้างภาพภาพหนึ่งขึ้นในใจคุณ เป็นภาพที่ไม่เคย ปรากฏในประวัติศาสตร์ใดๆ มีอยู่เพียงในใจของผมและคนอื่นที่อ่าน ประโยคเมื่อกี้ ประโยคเพียงประโยคเดียวสามารถท�ำสิ่งนี้ได้ แต่มัน ขึ้นอยู่กับผู้ฟังอย่างคุณว่ามีมโนทัศน์ (concept) ชุดหนึ่งอยู่แล้วหรือเปล่า คุณต้องรู้จักว่าช้างและนกแก้วคืออะไร มโนทัศน์ของสีแดงและสีส้มเป็น แบบไหน และ ทาสี เต้นร�ำ กับ เข้าจังหวะ หมายถึงสิง่ ใด ประโยคนีก้ ระตุน้ ให้คุณคิดถึงมโนทัศน์เหล่านี้ในแบบแผนใหม่เอี่ยม 42

T ED Talks

ถ้าผมพูดว่าอย่างนี้แทน “ผมอยากให้คุณจินตนาการสัตว์ที่เป็น สมาชิกในสปีชีส์ ล็อกโซดอนตาไซโคลทิส ที่มีนาสิกยาว ปกคลุมด้วย สีแพนโทนรหัส 032U ก�ำลังแสดงอาการกวัดแกว่ง” คุณคงไม่สามารถสร้าง ภาพนัน้ ขึน้ มาได้ แม้วา่ ประโยคนีจ้ ะพูดด้วยภาษาทีเ่ ฉพาะเจาะจงมากกว่า ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ภาษาสามารถท�ำหน้าที่แสนวิเศษของมันได้ ก็ต่อเมื่อคนพูดและคนฟังเข้าใจตรงกัน หัวใจส�ำคัญที่จะท�ำให้ความ มหัศจรรย์ของการสร้างความคิดคุณในสมองของผู้อื่นบังเกิดขึ้นได้คือ คุณต้องใช้เฉพาะเครื่องมือที่ผู้ฟังของคุณเข้าถึงได้เท่านั้น ถ้าคุณใช้ แต่ภาษา ของคุณ มโนทัศน์ ของคุณ ข้อสันนิษฐาน ของคุณ และค่านิยม ของคุณ เอง คุณคงล้มเหลวแน่ แทนที่จะท�ำอย่างนั้น คุณต้องเริ่มจาก ภาษา มโนทัศน์ ข้อสันนิษฐาน และค่านิยมของผูฟ้ งั ต้องเริม่ จากสิง่ ทีเ่ ข้าใจ ตรงกันเสียก่อน ผู้อื่นจึงจะสร้างความคิด ของคุณ ขึ้นในใจ ของเขา ได้ ด็อกเตอร์ยูริ แฮสสัน (Uri Hasson) แห่งมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ได้บุกเบิกงานวิจัยใหม่แหวกแนวเพื่อค้นหาว่ากระบวนการนี้ท�ำงาน อย่างไร เราสามารถจับภาพขณะสมองท�ำกิจกรรมซับซ้อนต่างๆ ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การสร้ า งมโนทั ศ น์ ห รื อ จดจ� ำ เรื่ อ งราว โดยต้ อ งอาศั ย เทคโนโลยีที่เรียกว่า การประมวลภาพการท�ำงานของอวัยวะภายในด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (functional magnetic resonance imaging – fMRI) ในการทดลองหนึ่งเมื่อปี 2015 ด็อกเตอร์แฮสสันให้อาสาสมัคร กลุ่มหนึ่งเข้าเครื่อง fMRI แล้วเปิดภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องยาว 50 นาที ขณะที่อาสาสมัครรับรู้เรื่องราวในภาพยนตร์ ผู้วิจัยวัดแบบแผนการ ตอบสนองในสมองของพวกเขา และพบว่ามีแบบแผนบางอย่างเหมือนกัน ในอาสาสมัครแทบทุกคน จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ทางกายภาพว่า พวกเขามีประสบการณ์แบบเดียวกัน จากนั้นเขาขอให้อาสาสมัครเล่า เรือ่ งทีต่ นจ�ำได้จากภาพยนตร์ดงั กล่าวและอัดเสียงไว้ เสียงทีบ่ นั ทึกไว้ของ หลายคนเต็มไปด้วยรายละเอียดและยาวถึง 20 นาที คราวนี้ส่วนที่ น่าอัศจรรย์ใจคือ ผูว้ จิ ยั เปิดบันทึกไฟล์เสียงทีเ่ ล่าเรือ่ งเหล่านีใ้ ห้อาสาสมัคร Chris Anderson

43

อีกกลุม่ หนึง่ ซึง่ ไม่เคยดูภาพยนตร์เรือ่ งนีฟ้ งั และเก็บข้อมูลการตอบสนอง ของพวกเขา ผ่านเครื่อง fMRI ผลที่ได้คือ แบบแผนที่ปรากฏในสมองของ อาสาสมัครชุดทีส่ องซึง่ ฟังเรือ่ งราวเล่าใหม่ผา่ นไฟล์เสียงเท่านัน้ เหมือนกับ แบบแผนในสมองของอาสาสมัครกลุม่ แรกขณะดูภาพยนตร์! พูดอีกอย่าง คือ พลังของภาษาเพียงอย่างเดียวสามารถสร้างประสบการณ์ทางความคิด แบบเดียวกับที่คนอื่นประสบตอนดูภาพยนตร์ได้ นี่คือหลักฐานอันน่าทึ่งซึ่งแสดงพลังของภาษา เป็นพลังที่ผู้พูด ในที่สาธารณะทุกคนสามารถน�ำมาใช้ได้ ใช่ ถ้อยค�ำนั้นส�ำคัญ โค้ชผู้สอนการพูดในที่สาธารณะบางคนพยายามลดความส�ำคัญ ของภาษา เขาอาจจะอ้างงานวิจัยของศาสตราจารย์อัลเบิร์ต เมราเบียน (Albert Mehrabian) ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1967 ซึ่งอ้างว่าประสิทธิผลของการ สือ่ สารขึน้ อยูก่ บั ภาษาเพียง 7 เปอร์เซ็นต์ขนึ้ อยูก่ บั น�ำ้ เสียง 38 เปอร์เซ็นต์ และอีก 55 เปอร์เซ็นต์มาจากภาษากาย งานวิจัยนี้ท�ำให้บรรดาโค้ช สอนการพูดให้น�้ำหนักมากเกินไปกับการพัฒนาสไตล์การพูดอย่างมั่นใจ เปี่ยมบารมี ฯลฯ โดยไม่ใส่ใจกับถ้อยค�ำมากนัก น่าเสียดายว่านี่เป็นการตีความสิ่งที่เมราเบียนค้นพบผิดไปโดย สิ้นเชิง ที่จริงการทดลองของเขามุ่งเน้นศึกษาว่าคนเราสื่อสาร อารมณ์ อย่างไร เช่น เขาทดสอบว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าใครสักคนพูดว่า “ก็ดีนะ” แต่ พูดด้วยน�ำ้ เสียงโกรธหรือด้วยท่าทางคุกคาม แน่นอนละว่าในสถานการณ์ เหล่านั้น ถ้อยค�ำไม่มีความหมายมากนัก แต่มันไม่สมเหตุสมผลเลยที่จะ น�ำหลักการนีไ้ ปใช้กบั การพูดโดยรวมทัง้ หมด (และเมราเบียนก็เอือมระอา ทีผ่ คู้ นน�ำงานวิจยั ของเขาไปประยุกต์ใช้ผดิ ๆ จนเว็บไซต์ของเขามียอ่ หน้า หนึง่ ทีพ่ มิ พ์ดว้ ยอักษรตัวหนาและมีเนือ้ ความขอร้องผูค้ นว่าอย่าท�ำแบบนี)้ ใช่ครับ การสือ่ สารอารมณ์นนั้ ส�ำคัญ และในแง่การสือ่ สารอารมณ์ 44

T ED Talks

ยามทีเ่ ราพูด น�ำ้ เสียงและภาษากายเป็นสิง่ ส�ำคัญมากจริงๆ เราจะคุยเรือ่ งนี้ โดยละเอียดในบทหลังๆ แต่แก่นสารของการพูดนั้นขึ้นอยู่กับถ้อยค�ำเป็น หลัก ถ้อยค�ำท�ำหน้าที่เล่าเรื่อง สร้างความคิด อธิบายเนื้อหาซับซ้อน ให้ เหตุผลสนับสนุนจุดยืนของตน หรือเรียกร้องให้ลงมือท�ำอะไรสักอย่าง ดังนัน้ ถ้าคุณได้ยนิ ใครบอกว่าภาษากายส�ำคัญกว่าวัจนภาษาส�ำหรับการพูดในที่ สาธารณะ โปรดรูไ้ ว้วา่ เขาตีความข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ผดิ ไป (หรือเพือ่ ให้สนุกยิ่งขึ้น คุณลองขอให้เขาทวนประเด็นที่จะพูดโดยใช้ท่าทางเพียง อย่างเดียวดูก็ได้!) เราจะใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ในครึ่งแรกของหนังสือเล่มนี้เพื่อขุดค้น ลงไปในวิธีที่ท�ำให้ภาษาสร้างผลลัพธ์อันน่ามหัศจรรย์ได้ ข้อเท็จจริงที่ว่า เราสามารถถ่ายโอนความคิดด้วยวิธีนี้เป็นเหตุผลว่าท�ำไมการพูดคุย กันระหว่างมนุษย์จึงส�ำคัญ เราใช้วิธีดังกล่าวสร้างโลกทัศน์ของตนและ ปรับแต่งมัน ความคิดของเราท�ำให้เราเป็นเรา และผู้พูดที่หาทางเผยแพร่ ความคิดของตัวเองไปสูจ่ ติ ใจของคนอืน่ ได้กจ็ ะสามารถสร้างแรงกระเพือ่ ม ของผลลัพธ์อีกมากมายนับไม่ถ้วน การเดินทาง มีอุปมาอุปไมยที่สวยงามอีกอย่างหนึ่งส�ำหรับการบรรยายที่ ยอดเยีย่ ม นัน่ คือ การเดินทาง ทีผ่ พู้ ดู และผูฟ้ งั ร่วมทางไปด้วยกัน เทียร์นยี ์ ธีส์ (Tierney Thys) ผู้พูดคนหนึ่งของเรากล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า การพูดที่ยอดเยี่ยมนั้นเปรียบเหมือนการเดินทาง เช่นเดียวกับ ภาพยนตร์หรือหนังสือดีๆ เราชอบออกไปผจญภัย เดินทางไป สถานที่ใ หม่ๆ พร้อมกับผู้น�ำทัวร์ ที่มีค วามรู ้ ห รื ออาจจะแปลก แหวกแนว ซึ่งสามารถแนะน�ำให้เรารู้จักสิ่งที่เราไม่เคยรู้ว่ามีอยู่ ยุให้เราป่ายปีนออกนอกหน้าต่างไปสู่โลกที่แปลกใหม่ สวมเลนส์ ใหม่ให้เราได้เห็นสิ่งธรรมดาๆ ในมุมมองที่ไม่ธรรมดา ... ท�ำให้เรา Chris Anderson

45

อิ่มเอมใจ และกระตุ้นหลากหลายส่วนของสมองเราให้ท�ำงาน พร้อมๆ กัน เพราะเหตุนี้ฉันจึงมักออกแบบวิธีพูดของตัวเองให้อยู่ ในรูปของการเดินทาง

อุปมาอุปไมยนี้ทรงพลัง เพราะมันบอกชัดเจนว่าผู้พูดก็เปรียบ เหมือนผู้นำ� ทัวร์ กล่าวคือต้องเริ่มต้นตรงจุดที่ผู้ฟังยืนอยู่ และต้องไม่เล่า กระโดดข้ามจุดที่ไม่ควรข้าม หรือเปลี่ยนทิศทางโดยไม่อาจหาค�ำอธิบาย ไม่ว่าการเดินทางนั้นจะเป็นการส�ำรวจ อธิบาย หรือโน้มน้าวใจ ผลลัพธ์สทุ ธิคอื การพาผูฟ้ งั ไปสูส่ ถานทีใ่ หม่อนั งดงาม และนัน่ คือของขวัญ เช่นเดียวกัน ไม่ว่าคุณจะใช้อุปมาอุปไมยใดก็ตาม จงมุ่งความสนใจไปยังสิ่ง ที่คุณจะ มอบให้ แก่ผู้ฟัง นั่นคือพื้นฐานที่สมบูรณ์แบบส�ำหรับการเตรียม ปาฐกถาของคุณ

46

T ED Talks

3 กับดักที่พบบ่อย สไตล์การพูดสี่แบบที่ควรหลีกเลี่ยง

วิธีกล่าวปาฐกถาที่ยอดเยี่ยมมีอยู่นับไม่ถ้วน แต่เรามาเริ่มจาก เคล็ดลับความปลอดภัยที่เป็นหัวใจส�ำคัญก่อน เพราะมีสไตล์การพูด บางอย่างทีน่ า่ เกลียด เป็นอันตรายต่อทัง้ ชือ่ เสียงของผูพ้ ดู และสุขภาวะของ ผู้ฟัง ต่อไปนี้คือสไตล์การพูดสี่แบบที่ควรหลีกเลี่ยงทุกวิถีทาง พูดเพื่อขายของ บางทีผู้พูดบางคนก็มีความคิดกลับหัวกลับหาง โดยวางแผนจะ ฉกฉวยผลประโยชน์ ไม่ใช่มอบของขวัญให้ผู้ฟัง หลายปีกอ่ น ทีป่ รึกษาทางธุรกิจและนักเขียนผูม้ ชี อื่ เสียงคนหนึง่ มาที่ TED ผมตื่นเต้นมากที่จะได้ฟังเขาพูดเรื่องการคิดนอกกรอบ แต่ สิ่งที่เกิดขึ้นกลับท�ำให้ผมขยาด เขาเริ่มพูดถึงธุรกิจต่างๆ ที่ล้วนเติบโต อย่างก้าวกระโดดจากการกระท�ำอย่างหนึ่ง ท�ำอะไรน่ะหรือ ก็ใช้บริการ ให้ค�ำปรึกษาของบริษัทเขาไงล่ะ Chris Anderson

49

ผ่านไปห้านาที ผูฟ้ งั เริม่ กระสับกระส่าย แล้วผมก็หมดความอดทน ผมยืนขึน้ และขัดจังหวะเขา ทุกสายตามองมาทีผ่ ม ผมเหงือ่ ตก ไมโครโฟน ของผมเปิดอยู่ ทุกคนจึงได้ยินทุกอย่าง ผม: ขออนุญาตนะครับ ผมอยากให้คุณช่วยเล่าว่าวิธีคิดที่คุณ แนะน�ำให้องค์กรเหล่านั้นท�ำคืออะไรครับ พวกเราอยากรู้ว่ามัน ท�ำงานอย่างไร เราจะได้เก็บข้อคิดนี้กลับบ้าน ตอนนี้มันดูเหมือน โฆษณามากเกินไปหน่อยน่ะครับ [มีเสียงปรบมือแบบหวั่นวิตก ตามด้วยความเงียบที่น่าอึดอัด] ผู้พูด: มันต้องใช้เวลาเล่าสามวันนะครับ ไม่มีทางที่จะเล่าให้คุณ ฟังได้ทงั้ หมดภายใน 15 นาที วัตถุประสงค์ของผมวันนีค้ อื บอกคุณ ว่าสิ่งเหล่านี้ได้ผล และจูงใจให้คุณหาข้อมูลเรื่องนี้เพิ่มเติม ผม: เราเชื่อว่ามันได้ผลครับ คุณเป็นดาวเด่นเรื่องนี้อยู่แล้ว กรุณา เล่าตัวอย่างสักเรื่อง หรือแค่เกริ่นให้เราฟังเฉพาะช่วง 15 นาทีแรก ของเรื่องเหล่านั้นก็ได้ครับ

ถึงจุดนี้ ผู้ฟังเริ่มส่งเสียงเชียร์ และผู้พูดก็ไม่มีทางเลือก ในที่สุด เขาจึงเริ่มเล่าความรู้บางอย่างที่เราน�ำไปใช้ได้ ท�ำให้ทุกคนโล่งอกในที่สุด ช่างน่าขันที่การพูดด้วยความโลภไม่แม้แต่จะสร้างผลประโยชน์ ให้ผู้พูดด้วยซ�้ำ ผมคงแปลกใจถ้ามีใครแม้เพียงคนเดียวคิดจ้างเขา และ ต่อให้เขาได้งานสักงาน แต่มนั ก็แลกมาด้วยการทีค่ นอืน่ ในห้องประชุมนัน้ เสือ่ มศรัทธาในตัวเขา และคงไม่ตอ้ งบอกว่าเราไม่เผยแพร่ปาฐกถาของเขา ออนไลน์แน่นอน ชือ่ เสียงของคุณคือทุกสิง่ ทุกอย่าง คุณย่อมอยากสร้างชือ่ ในฐานะ ผู้มีใจเอื้อเฟื้อที่น�ำสิ่งล�้ำค่ามามอบให้ผู้ฟัง ไม่ใช่มาโฆษณาตัวเองอย่าง น่าร�ำคาญ มันน่าเบื่อและชวนหงุดหงิดเวลาคนพยายามขายของใส่คุณ โดยเฉพาะเมื่อคุณคาดหวังจะได้ฟังอย่างอื่น แน่ น อนว่ า ส่ ว นมากการน� ำ เสนอเพื่ อ ขายของมั ก สอดแทรก 50

T ED Talks

มาอย่างแนบเนียนกว่านี้มาก เช่น สไลด์แสดงภาพปกหนังสือ หรือวิธี ที่ผู้พูดเอ่ยสั้นๆ ถึงการขาดแคลนเงินทุนในองค์กร ถ้าอยู่ในบริบทของ การพูดทีย่ อดเยีย่ ม คุณอาจจะรอดตัวไปได้ (และแน่นอนว่าถ้าผูจ้ า้ งขอให้ คุณพูดถึงหนังสือหรือองค์กรของคุณ นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง) แต่คุณจะเสี่ยง มากทีเดียว นัน่ คือเหตุผลทีใ่ นกรณีของ TED เราจะบอกผูพ้ ดู ตรงๆ ว่าเรา ไม่สนับสนุนให้ท�ำสิ่งเหล่านี้ หลักการส�ำคัญคือจงจ�ำไว้ว่างานของผู้พูดคือ ให้ บางสิ่งแก่ผู้ฟัง ไม่ใช่ขอจากพวกเขา (แม้แต่ในบริบททางธุรกิจที่คุณต้องเสนอขายจริงๆ เป้าหมายของคุณก็ควรเป็นการให้ พนักงานขายทีม่ ปี ระสิทธิภาพจะสมมติ ว่าตัวเองเป็นผู้ฟัง และจินตนาการว่าจะตอบสนองความต้องการของเขา ได้อย่างไร) ในงานประชุมเสวนา ผูค้ นไม่ได้มาฟังปาฐกถาเพือ่ ให้คนอืน่ มา ขายของใส่พวกเขา ทันทีที่เขาเข้าใจว่านั่นอาจเป็นวาระซ่อนเร้นในใจคุณ เขาก็จะหนีไปสู่พื้นที่ปลอดภัยด้วยการหยิบโทรศัพท์มาเช็กอีเมล เหมือน กับเวลาที่คุณตกลงไปดื่มกาแฟกับเพื่อน แล้วพบว่าที่จริงเธอต้องการ อธิบายแผนการลงทุนอสังหาริมทรัพย์แบบไทม์แชร์ ที่น่าลงทุน สุดๆ ให้คุณฟัง คุณย่อมจะหนีออกจากที่นั่นทันทีที่มีโอกาส เป็นไปได้ทเี่ ราอาจจะเข้าใจไม่ตรงกันว่าเส้นแบ่งระหว่างการแบ่งปัน ความคิดกับการขายของอยู่ตรงไหน แต่หลักการส�ำคัญที่สุดคือต้องเป็น ผู้ให้ ไม่ใช่หาผลประโยชน์ และผมขอบอกไว้เลยนะครับ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นกระตุ้น ให้คนเราตอบสนองได้เป็นอย่างดี เมื่อตอนที่ไบรอัน สตีเวนสัน (Bryan Stevenson) ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนมาพูดที่ TED องค์กรของ เขาก�ำลังต้องการเงินหนึ่งล้านดอลลาร์อย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้คดีส�ำคัญใน ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปาฐกถาของเขา ไบรอันไม่ได้เอ่ยถึง เรื่องนี้เลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่เขาได้เปลี่ยนแปลงวิธีคิดที่เรามีต่อความ อยุติธรรมในอเมริกา โดยเล่าเรื่องราวต่างๆ ความคิดที่ตกผลึกจาก Chris Anderson

51

ประสบการณ์ อารมณ์ขนั และการเปิดเผยข้อมูลทีเ่ ราไม่รมู้ าก่อน ในตอนจบ ผู้ฟังยืนขึ้นอย่างพร้อมเพรียงและปรบมือนานหลายนาที แล้วรู้ไหมครับ ว่าเกิดอะไรขึ้น เขากลับจากการประชุมครั้งนั้นพร้อมเงินสนับสนุนจาก ผู้เข้าร่วมประชุมมากกว่าหนึ่งล้านสามแสนดอลลาร์ พูดเรื่อยเปื่อย ในการประชุม TED ที่ผมมาเป็นผู้จัดเป็นครั้งแรก หนึ่งในผู้พูด เริ่มต้นว่า “ขณะที่ผมขับรถมาที่นี่พลางคิดว่าจะพูดอะไรกับคุณดี…” แล้ว ตามด้วยรายการข้อสังเกตสะเปะสะปะเกี่ยวกับอนาคตที่เป็นไปได้ ไม่มี อะไรน่ารังเกียจ ไม่มีอะไรเข้าใจยาก แต่ก็ไม่มีความคิดที่ทรงพลังเช่นกัน ไม่มีเรื่องราวที่เผยให้เห็นสิ่งที่ผู้ฟังยังไม่รู้ ไม่มีชั่วขณะที่เกิดปิ๊งความคิด ใดๆ ขึ้นมา ไม่มีข้อคิดอะไรให้เก็บกลับบ้าน ผู้ฟังปรบมืออย่างสุภาพ แต่ ไม่มีใครได้เรียนรู้อะไรเลย ผมโกรธจนควันออกหู ที่เขาเตรียมตัวมาไม่ดีนั่นก็เรื่องหนึ่งแล้ว แต่ถึงขนาดโอ้อวดว่าเตรียมตัวมาไม่ดีด้วยเนี่ยนะ นั่นเท่ากับดูถูกคนอื่น ชัดๆ เป็นการบอกผู้ฟังว่าเวลาของพวกเขาไม่มีค่า และงานประชุมนี้ไม่มี ความหมาย ปาฐกถาหลายเรือ่ งเป็นอย่างนี้ วกวน ไม่มที ศิ ทางทีช่ ดั เจน ผูพ้ ูด อาจหลอกตัวเองว่า แค่เพียงเขาไล่ส�ำรวจความคิดบรรเจิดของตัวเองไป เรื่อยเปื่อยก็คงท�ำให้คนอื่นตื่นตาตื่นใจได้ แต่ถ้าคน 800 คนตั้งใจจัดสรร เวลา 15 นาทีในหนึ่งวันของเขาเพื่อฟังสิ่งที่คุณพูดแล้วละก็ คุณจะมา ด้นสดไม่ได้จริงๆ นะครับ อย่างที่บรูโน จูสซานี เพื่อนร่วมงานของผมกล่าวไว้ว่า “เมื่อ ผู้คนเข้ามานั่งในห้องเพื่อฟังผู้พูด เท่ากับว่าคนเหล่านั้นสละบางอย่างที่มี คุณค่าสูงสุด เป็นสิง่ ทีใ่ ห้แล้วเอาคืนไม่ได้ นัน่ คือเวลาและความสนใจในช่วง ไม่กี่นาที สิ่งที่ผู้พูดต้องท�ำคือใช้เวลาเหล่านั้นอย่างดีที่สุด” 52

T ED Talks

ดังนัน้ ถ้าคุณจะมอบความคิดทีน่ า่ มหัศจรรย์ของคุณเป็นของขวัญ แก่ผู้คน อันดับแรกคือคุณต้องใช้เวลาเตรียมตัว จะพูดเรื่อยเปื่อยไม่ได้ เด็ดขาดเลยครับ แต่ปรากฏว่านักพูดเรื่อยเปื่อยคนนี้ได้ให้ของขวัญแก่ TED ไว้ อย่างหนึง่ เพราะนับตัง้ แต่นนั้ มา เราพยายามทุม่ เทให้กบั ขัน้ ตอนเตรียมตัว ของผู้พูดมากขึ้นอีกทวีคูณ โม้เรื่ององค์กรตัวเอง ส�ำหรับคนทีท่ ำ� งานอยูใ่ นองค์กรแห่งหนึง่ เรือ่ งราวขององค์กรนัน้ ย่อมน่าสนใจ แต่มันจะน่าเบื่อสุดๆ ส�ำหรับคนอื่นแทบทุกคน ขอโทษ นะครับ แต่นคี่ อื ความจริง การบรรยายใดๆ ทีว่ นเวียนอยูก่ บั ประวัตศิ าสตร์ ไม่ธรรมดา หรือโครงสร้างที่ซับซ้อนแต่น่าทึ่งสุดๆ ของบริษัท องค์กร ไม่แสวงก�ำไร หรือแล็บของคุณเอง รวมไปถึงรูปลักษณ์สวยหล่อขึ้นกล้อง ของทีมงานระดับเทพทีท่ ำ� งานกับคุณ และค�ำสาธยายว่าผลิตภัณฑ์ของคุณ ประสบความส�ำเร็จมากขนาดไหน ทัง้ หมดทีว่ า่ มาจะท�ำให้ผฟู้ งั ผล็อยหลับ ตัง้ แต่ตอนออกตัวเริม่ ต้น มันอาจจะน่าสนใจส�ำหรับคุณและทีมของคุณ แต่ คุณเอ๋ย เราไม่ได้ท�ำงานที่นั่นด้วยนะครับ ทว่าทุกอย่างจะพลิกผันถ้าคุณมุ่งความสนใจไปยังลักษณะงาน ที่คุณท�ำและพลังของความคิดที่แทรกซึมอยู่ในงานนั้น ไม่ใช่ที่ตัวองค์กร หรือผลิตภัณฑ์ ฟังดูง่ายแต่จริงๆ ท�ำยากนะครับ บ่อยครั้งผู้น�ำขององค์กรก็เป็น โฆษกขององค์กรไปโดยปริยาย เขาจึงอยู่ในโหมดการขายตลอดเวลา ทั้ง ยังเชือ่ ว่าเป็นหน้าทีข่ องตนทีต่ อ้ งยกย่องให้เกียรติทมี งานผูท้ มุ่ เทท�ำงานอยู่ รอบตัวเขา และเพราะว่างานทีเ่ ขาอยากพูดถึงนัน้ เกิดขึน้ ในองค์กร ฉะนัน้ วิธเี ล่าทีง่ า่ ยทีส่ ดุ คือผูกกับกิจกรรมในองค์กร “ในปี 2005 เราตัง้ แผนกใหม่ ในอาคารส�ำนักงานที่ดัลลัส [ฉายสไลด์ภาพตึกกระจก] โดยมีเป้าหมาย Chris Anderson

53

เพื่อศึกษาว่าเราจะลดต้นทุนค่าพลังงานได้อย่างไร ผมจึงมอบหมายให้ แฮงก์ บอร์แฮม รองประธานบริษัทจัดการงานนี้…” ขอหาวหน่อยเถอะ เปรียบเทียบกับประโยคแบบนี้นะครับ “เมื่อปี 2005 เราค้นพบ บางอย่างที่น่าประหลาดใจ นั่นคือความเป็นไปได้ที่ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ส�ำนักงานต่างๆ สามารถลดต้นทุนค่าพลังงานลงได้ถึงร้อยละ 60 โดย ไม่เห็นว่าประสิทธิภาพการผลิตจะลดลงเลย ผมขอเล่าให้ฟังถึงวิธี...” รูปแบบหนึ่งตรึงความสนใจ อีกรูปแบบหนึ่งฆ่ามันทิ้ง รูปแบบ หนึง่ เปรียบดังของขวัญ อีกรูปแบบหนึง่ เป็นการอวยตัวเองแบบคนขีเ้ กียจ การแสดงเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ตอนแรกผมลังเลว่าจะใส่ตวั อย่างนีเ้ ข้ามาดีไหม แต่กค็ ดิ ว่าจ�ำเป็น ต้องพูดถึง เรามาท�ำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน สิง่ ทีม่ พี ลังทีส่ ดุ ทีค่ ณ ุ สามารถ สัมผัสได้เมื่อชมปาฐกถาคือ แรงบันดาลใจ ถ้อยค�ำและผลงานของผู้พูด กระทบความรู้สึกคุณ และเติมเต็มคุณให้รู้สึกถึงความเป็นไปได้และความ ตืน่ เต้นทีแ่ ผ่ขยาย ท�ำให้คณ ุ อยากเป็นคนทีย่ อดเยีย่ มกว่าเดิม ความส�ำเร็จ และการเติบโตของ TED ได้รับเชื้อเพลิงมาจากปาฐกถาหลายๆ เรื่อง ซึ่ง สร้างแรงบันดาลใจอย่างลึกล�้ำให้ผู้ฟัง อันที่จริงนี่แหละคือเหตุผลที่ดึงดูด ให้ผมเข้าร่วมการประชุม TED ตัง้ แต่แรก ผมเชือ่ ในพลังของแรงบันดาลใจ แต่มันเป็นพลังที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เมื่อผู้พูดที่ยอดเยี่ยมพูดจบแล้วผู้ฟังทั้งหมดยืนขึ้นปรบมือ มัน เป็นช่วงเวลาน่าขนลุกส�ำหรับทุกคนที่อยู่ในห้อง ผู้ฟังตื่นเต้นกับสิ่งที่ตน ได้ยนิ ส่วนผูพ้ ดู ก็พงึ พอใจอย่างเหลือเชือ่ ทีไ่ ด้รบั การยอมรับอย่างเปีย่ มล้น ขนาดนั้น (หนึ่งในช่วงจังหวะกระอักกระอ่วนที่เคยเกิดขึ้นที่ TED คือ เมื่อผู้พูดคนหนึ่งเดินลงจากเวทีโดยได้รับเสียงปรบมือแบบแกนๆ แล้ว กระซิบกับเพื่อนของเธอหลังเวทีว่า “ไม่มใี ครยืนขึน้ เลย!” เป็นค�ำพูดทีเ่ รา 54

T ED Talks

เข้าใจได้ แต่แย่ตรงที่ไมโครโฟนของเธอยังเปิดอยู่ และทุกคนได้ยิน น�้ำเสียงเจ็บปวดของเธอ) ไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่ แต่ผู้พูดในที่สาธารณะหลายคนฝันอยาก ให้ผู้ชมส่งเสียงเชียร์เมื่อเขาเดินลงจากเวที ตามด้วยทวีตเต็มหน้าจอ เพื่อยืนยันว่าทักษะการสร้างแรงจูงใจของเขานั้นสุดยอด และนั่นละคือ กับดัก ความหอมหวานของการทีผ่ ฟู้ งั ยืนขึน้ ปรบมือชืน่ ชมอาจท�ำให้ผพู้ ดู ที่ปรารถนาจะได้รับประสบการณ์นั้นท�ำสิ่งเลวร้าย เช่น เขาอาจไปศึกษา ปาฐกถาของนักพูดผู้สร้างแรงบันดาลใจแล้วพยายามลอกเลียนแบบ ... ทว่าได้มาแต่เปลือก ผลที่ออกมาอาจแย่ไปเลย กลายเป็นการไล่ท�ำตาม ทุกกลเม็ดในหนังสืออย่างบ้าคลั่งเพื่อบงการความคิดและความรู้สึกของ ผู้ฟัง มีเหตุการณ์น่าหงุดหงิดใจแบบนี้ที่ TED เมื่อไม่กี่ปีก่อน1 ชาย ชาวอเมริกันวัยสี่สิบกว่าปีคนหนึ่งซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ของ TED ได้ส่ง วิดโี อออดิชนั่ ทีน่ า่ สนใจมากๆ มาถึงเรา และรบเร้าให้เรายอมให้เขาขึน้ พูด ประเด็นหลักในปาฐกถาของเขาตรงกับหัวข้องานที่เราตั้งไว้ในปีนั้นพอดี และเขาท�ำการบ้านมาดีมาก เราจึงตัดสินใจให้เขาขึ้นพูด ช่วงแรกๆ ของปาฐกถานั้นน่าฟังมาก บุคลิกท่าทางของเขาดูดี เขาเปล่งประกายต่อหน้าผู้ฟัง มีประโยคเปิดที่น่าทึ่ง วิดีโอเด็ด และภาพ ประกอบตืน่ ตาตืน่ ใจ ราวกับเขาศึกษา TED Talk ทุกตอนมาอย่างละเอียด และน�ำสิ่งที่ดีที่สุดจากแต่ละตอนมาใส่ไว้ในปาฐกถาของเขา ผมนั่งเฝ้าดู อย่างมีความหวังว่าเราน่าจะมีปาฐกถายอดนิยมอยู่ในมือแล้ว แต่ แ ล้ ว ... ผมก็ เ ริ่ ม รู ้ สึ ก อึ ด อั ด มี อ ะไรบางอย่ า งที่ ไ ม่ เ ข้ า ท่ า ดูเหมือนเขาจะชอบที่ได้อยู่บนเวที ชอบมากเกินไปหน่อย เขาหยุดพูด บ่อยครั้งเพื่อรอเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะจากผู้ฟัง เมื่อได้รับ เขาจะ หยุดและพูดว่า “ขอบคุณ” และเค้นเพือ่ ให้ได้เสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะ 1

ผมขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็กน้อยเพื่อรักษาหน้าเขานะครับ Chris Anderson

55

มากขึน้ อีก เขาเริม่ แทรกค�ำพูดนอกบทเพือ่ เรียกเสียงหัวเราะ ซึง่ เห็นได้ชดั ว่าตัวเขาน่ะข�ำ แต่คนอืน่ ไม่คอ่ ยจะข�ำด้วย และทีเ่ ลวร้ายทีส่ ดุ คือ เขาไม่ได้ ถ่ายทอดประเด็นส�ำคัญของปาฐกถาที่ตั้งเอาไว้เลย เขาอ้างว่าตนท�ำงาน เพื่อสาธิตให้เห็นว่าความคิดส�ำคัญข้อหนึ่งเป็นจริง แต่กรณีตัวอย่างที่เขา น�ำมาเล่าล้วนแต่เป็นประสบการณ์สว่ นตัวเล็กๆ น้อยๆ ทีด่ พู ลิ กึ ไร้แก่นสาร มีอยูช่ ว่ งหนึง่ เขาถึงกับตัดต่อภาพภาพหนึง่ เพือ่ ให้สอดคล้องและสนับสนุน ความเห็นของเขา และเนื่องจากเขาลืมตัวทั้งยังมัวแต่เพลิดเพลินอิ่มเอม ที่ได้เป็นจุดสนใจ เขาจึงพูดเกินเวลาไปมาก ในช่วงท้ายของปาฐกถา เขาเริม่ บอกผูฟ้ งั ว่า ผูฟ้ งั มีอำ� นาจทีจ่ ะน�ำ ภูมปิ ญ ั ญาของเขาไปปรับใช้ จากนัน้ เขาพูดถึงความฝันและแรงบันดาลใจ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการผายมือออกไปสู่ผู้ฟัง ผู้ฟังจ�ำนวนหนึ่งลุกขึ้นยืน ปรบมือให้เขา เพราะมันชัดเจนว่าปาฐกถานั้นมีความหมายกับเขามาก ส่วนผมน่ะเหรอ ผมรู้สึกปั่นป่วนมวนท้อง นี่แหละคือเปลือกอันซ�้ำซาก ไร้ความหมายของ TED ซึ่งเราพยายามอย่างหนักที่จะก�ำจัดออกไป มีแต่ รูปแบบ แต่แทบไม่มีแก่นสาร ปัญหาของปาฐกถาแบบนี้ไม่ใช่แค่มันหลอกลวงเท่านั้น แต่ มันยังท�ำให้ปาฐกถารูปแบบเดียวกันพลอยเสื่อมเสียไปหมด ท�ำให้ผู้ฟัง ไม่ค่อยเปิดใจรับเมื่อผู้พูดที่สร้างแรงบันดาลใจได้อย่างแท้จริงปรากฏตัว แต่ถงึ กระนัน้ ก็ยงั มีผพู้ ดู มากต่อมากทีเ่ สพติดเสียงชืน่ ชมจากผูฟ้ งั พยายาม จะใช้วิธีนี้ต่อไป ได้โปรดอย่าเป็นหนึ่งในคนเหล่านั้นเลยนะครับ ความจริงเกี่ยวกับแรงจูงใจคือ คุณต้องท�ำอะไรบางอย่างเพื่อให้ ได้ ม าซึ่ ง สิ่ ง นั้ น คนบางคนสร้า งแรงจูงใจให้ผู้อื่นได้ ไม่ใช่เพราะเขา จ้องมองคุณด้วยตาที่เบิกกว้างและขอให้คุณเชื่อในความฝันของเขาด้วย หัวใจ แต่เพราะเขามีความฝันที่น่าตื่นเต้นจริงๆ และความฝันนั้นไม่ได้ เสาะหามาง่ายๆ มันแลกมาด้วยเลือด หยาดเหงื่อ และน�้ำตา แรงบันดาลใจก็เหมือนความรัก เราไม่อาจได้มาด้วยการไขว่คว้า 56

T ED Talks

โดยตรง ที่จริงเรามีค�ำเรียกคนที่ไขว่คว้าความรักด้วยวิธีตรงๆ เกินไป ด้วยนะครับ ก็ค�ำว่า สตอล์กเกอร์ หรือพวกโรคจิตที่คอยสะกดรอยตาม คนที่แอบชอบไงล่ะครับ ในกรณีที่ไม่สุดโต่งขนาดนั้น ถ้อยค�ำที่เราใช้ ก็แย่ไม่ตา่ งกันอยูด่ ี อย่างค�ำว่า พวกหวานเลีย่ นน่าแหวะ ไม่รจู้ กั กาลเทศะ สิ้นหวัง น่าเศร้าที่พฤติกรรมเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดผลตรงกันข้ามกับ ที่ปรารถนา เพราะมันกลับกระตุ้นให้คนยิ่งถอยหนี เช่นเดียวกับแรงบันดาลใจ ถ้าคุณพยายามใช้ทางลัดและเอาชนะ ใจผู้อื่นด้วยบุคลิกอันจับใจเพียงอย่างเดียว คุณอาจประสบความส�ำเร็จ สักครั้งหรือสองครั้ง แต่ไม่นานคุณก็จะถูกจับได้ และผู้ฟังก็จะถอยหนี ในตัวอย่างข้างต้น แม้จะมีบางคนยืนขึน้ ปรบมือ แต่ผพู้ ดู คนนัน้ ได้รบั เสียง ตอบรับแย่มากในการส�ำรวจหลังงานประชุม และเราไม่โพสต์ปาฐกถา ของเขาออนไลน์เลย ผู้คนรู้สึกถูกปั่นหัว ซึ่งเขาก็ท�ำอย่างนั้นจริงๆ ถ้าคุณฝันอยากเป็นนักพูดต่อหน้าสาธารณะที่โด่งดัง ท�ำให้ ผู้ฟังตื่นเต้นเมื่อคุณก้าวขึ้นบนเวทีและประกาศความเจิดจรัสของคุณ ผมขอร้องให้คุณคิดใหม่ อย่าฝันแบบนั้นครับ ขอให้ฝันถึงอะไรที่ยิ่งใหญ่ กว่าตัวคุณเอง ไปท�ำตามความฝันนั้นจนกว่าจะบรรลุอะไรบางอย่างที่ มีคุณค่า แล้วจึงมาเล่าสิ่งที่คุณได้เรียนรู้อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน แรงบันดาลใจนัน้ ไม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ะปัน้ แต่งแสดงขึน้ ได้ มันเป็นปฏิกริ ยิ า ตอบสนองของผู้ฟังที่มีต่อความจริงใจ ความกล้าหาญ การท�ำงานโดยไม่ เห็นแก่ตนเอง และภูมปิ ญ ั ญาทีจ่ ริงแท้ จงน�ำคุณสมบัตเิ หล่านีม้ าใส่ในการพูด ของคุณ แล้วคุณจะทึ่งกับสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องง่ายที่จะอธิบายว่าท�ำไมการพูดจึงล้มเหลว ถ้าเช่นนั้น เราจะสร้างให้มนั ประสบความส�ำเร็จได้อย่างไรล่ะ ทุกอย่างเริม่ จากความคิด ที่กระจ่างชัดครับ

Chris Anderson

57

4 แก่นเรื่อง ประเด็นของคุณคืออะไร?

“บ่อยครัง้ เหลือเกินทีค่ ณ ุ นัง่ อยูท่ า่ มกลางผูฟ ้ งั ขณะฟังใครสักคนพูด คุณรู้ว่าผู้พูดคนนั้นมีปาฐกถาที่ยอดเยี่ยมยิ่งกว่านั้นซ่อนอยู่ภายใน เพียง แต่มันไม่ใช่สิ่งที่เขาก�ำลังพูดออกมา” นั่นคือความเห็นของบรูโน จูสซานี แห่ง TED ผูท้ นไม่ได้เมือ่ เห็นผูม้ ศี กั ยภาพทีจ่ ะกล่าวปาฐกถาอันยอดเยีย่ ม พลาดโอกาสทองนั้นไป จุดส�ำคัญของปาฐกถาคือ ... จงพูดอะไรที่มีความหมาย แต่ช่าง น่าประหลาดใจว่ามีปาฐกถามากมายแค่ไหนที่ไม่สามารถท�ำอย่างนั้น ได้ แน่นอนว่ามีประโยคค�ำพูดต่างๆ มากมาย แต่ไม่รทู้ ำ� ไมมันกลับไม่ได้ ทิ้งอะไรให้ผู้ฟังเก็บจ�ำเลย ภาพสไลด์สวยงามและการน�ำเสนอบนเวที ทีจ่ บั ใจล้วนเป็นสิง่ ดีงามทัง้ สิน้ แต่ถา้ ปราศจากข้อคิดอันจริงแท้ สิง่ ทีผ่ พู้ ดู ลงแรงไปทั้งหมด อย่างมากก็ท�ำได้แค่สร้างความบันเทิง เหตุผลข้อแรกของโศกนาฏกรรมนี้คือ ผู้พูดไม่มีแผนการพูดที่ดี ในภาพรวม ผู้พูดอาจเตรียมปาฐกถามาเป็นข้อๆ หรืออาจถึงขั้นประโยค ต่อประโยค แต่ไม่ได้ใช้เวลาร้อยเรียงมันเข้าด้วยกันอย่างจริงจัง Chris Anderson

59

มีค�ำศัพท์หนึ่งที่มีประโยชน์เวลาวิเคราะห์ละคร ภาพยนตร์ และ นิยาย ซึ่งใช้กับการพูดได้เช่นกัน นั่นคือค�ำว่า แก่นเรื่อง เป็นแนวคิดหลัก ที่เชื่อมโยงกันและขมวดองค์ประกอบแต่ละชิ้นของเรื่องเล่าเข้าด้วยกัน ทุกการพูดหรือปาฐกถาย่อมต้องมีแก่นเรื่อง เพราะเป้าหมายของคุณคือสร้างอะไรบางอย่างที่มหัศจรรย์ขึ้น ในใจของผูฟ้ งั ฉะนัน้ คุณต้องมองว่าแก่นเรือ่ งเปรียบเหมือนสายหรือเชือก ทีแ่ ข็งแรง ซึง่ คุณจะใช้ผกู องค์ประกอบทัง้ หมดทีเ่ ป็นชิน้ ส่วนของความคิด ที่คุณก�ำลังสร้างขึ้น นีไ่ ม่ได้หมายความว่าในทุกปาฐกถาคุณจะพูดได้หวั ข้อเดียว เล่า เรื่องได้เรื่องเดียว หรือพูดไปในทิศทางเดียวโดยไม่มีความหลากหลาย ไม่ใช่เลย มันแค่หมายความว่าทุกๆ ชิ้นส่วนของเรื่องเล่าต้องเชื่อมต่อกัน นี่คือตัวอย่างช่วงเปิดของการพูดที่โยนอะไรต่างๆ มาผสมกัน โดยไม่มีแก่นเรื่อง “ผมอยากเล่าให้คุณฟังถึงประสบการณ์บางอย่างที่ผม ได้สัมผัสระหว่างเดินทางไปเมืองเคปทาวน์เมื่อไม่นานมานี้ จากนั้นผม จะพูดถึงข้อสังเกตสองสามอย่างเกี่ยวกับชีวิตบนเส้นทางดังกล่าว” ลองเปรียบเทียบกับแบบนี้น ะครับ “ระหว่างการเดินทางไป เคปทาวน์ครั้งล่าสุดของผม ผมเรียนรู้อะไรใหม่ๆ เกี่ยวกับคนแปลกหน้า เมื่อใดที่คุณไว้วางใจคนแปลกหน้าได้ และเมื่อใดที่ไม่ควรไว้ใจ ผมจะเล่า ประสบการณ์สองเรื่องที่แตกต่างกันสุดๆ ให้คุณฟัง...” แบบแรกอาจใช้ไ ด้กับครอบครัว ของคุณ แต่แบบที่ส องซึ่งมี แก่นเรื่องให้เห็นชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นนั้นเย้ายวนใจกว่าส�ำหรับผู้ฟังทั่วไป แบบฝึกหัดที่ดีอย่างหนึ่งคือ ลองพยายามรวบแก่นเรื่องของคุณ ให้ยาวไม่เกิน 15 ค�ำ และทั้ง 15 ค�ำนี้ต้องสื่อถึงเนื้อหาที่ชัดเจนและมีพลัง แค่เพียงวางเป้าหมายว่า “ฉันอยากสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน” หรือ “ฉัน อยากได้รับแรงสนับสนุนเพื่อท�ำงานต่อไป” นั้นยังไม่พอ คุณต้องมีจุดเน้น ที่ชัดเจนกว่านั้น ความคิดอะไรกันแน่ที่คุณต้องการสร้างขึ้นในสมองของ ผู้ฟัง และพวกเขาจะได้อะไรกลับไป 60

T ED Talks

ที่ส�ำคัญคือแก่นเรื่องต้องไม่เดาง่ายหรือพื้นๆ จนเกินไป เช่น “ความส�ำคัญของการท�ำงานหนัก” หรือ “โครงการทั้งสี่ที่ฉันก�ำลังท�ำอยู่” ง่วงเลยครับ ... คุณท�ำได้ดกี ว่านัน้ นะ! นีค่ อื ตัวอย่างของแก่นเรือ่ งจาก TED Talk ยอดนิยมจ�ำนวนหนึ่ง ขอให้สังเกตว่าแต่ละเรื่องมีองค์ประกอบที่ คนฟัง ไม่คาดคิด อยู่ในตัว • ทางเลือกที่มากขึ้นท�ำให้เรามีความสุขน้อยลง • ความอ่อนแอเปราะบางเป็นสิง่ ทีเ่ ราควรให้คณ ุ ค่า ไม่ใช่เก็บซ่อน เอาไว้ • เราจะปฏิรปู ศักยภาพการศึกษาได้ ถ้าคุณมุง่ เน้นไปยังความคิด สร้างสรรค์ที่น่าทึ่ง (และสุดฮา) ของเด็กๆ • คุณสามารถเสแสร้งแสดงออกด้วยภาษากาย จนคุณกลายเป็น คนที่มีลักษณะนิสัยตามท่าทางที่คุณแสดงออกมา • ประวัตศิ าสตร์ของจักรวาลใน 18 นาที แสดงให้เห็นเส้นทางจาก ความไร้ระเบียบไปสู่ความมีระเบียบ • ธงประจ�ำเมืองที่หน้าตาห่วยๆ อาจเผยเคล็ดลับการออกแบบ ที่น่าประหลาดใจ • การเดิ น ทางด้ ว ยสกี ไ ปขั้ ว โลกใต้ ที่ คุ ก คามชี วิ ต และเปลี่ ย น เป้าหมายในชีวิตของฉันไปโดยสิ้นเชิง • มาก่อปฏิวัติเงียบกันเถอะ เพื่อออกแบบโลกใหม่ส�ำหรับคน เก็บตัว • การผสมผสานเทคโนโลยีทเี่ รียบง่ายสามอย่างเข้าด้วยกันท�ำให้ เกิดสัมผัสที่หกอันน่าทึ่ง • วิดีโอออนไลน์สามารถปฏิวัติการศึกษาและท�ำให้ห้องเรียน มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น

Chris Anderson

61

แบร์รี ชวาร์ตซ์ (Barry Schwartz) คือเจ้าของปาฐกถาว่าด้วย ความขัดแย้งในตัวเองเมื่อคุณมีทางเลือก ซึ่งเป็นปาฐกถาแรกในรายการ ข้างต้น เขาเชื่ออย่างจริงจังว่าแก่นเรื่องนั้นส�ำคัญ ผูพ้ ดู จ�ำนวนมากตกหลุมรักความคิดของตัวเอง และพบว่าเป็นเรือ่ ง ยากที่จะจินตนาการว่า ท�ำไมความคิดนี้จึงซับซ้อนในสายตาของ คนอื่นที่ไม่เคยคลุกคลีกับเรื่องนี้ หลักส�ำคัญคือ จงน�ำเสนอเพียง แค่ความคิดเดียวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทสี่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ภายในเวลา จ�ำกัด อะไรคือสิง่ ทีค่ ณ ุ ต้องการให้ผฟู้ งั เข้าใจกระจ่างแจ้งไร้ขอ้ กังขา หลังจากคุณพูดจบ

แก่นเรื่องล�ำดับสุดท้ายในรายการข้างต้นมาจากซัลมาน คาห์น (Salman Khan) นักปฏิรูปการศึกษา เขาบอกผมว่า คาห์นอะคาเดมี (Khan Academy) ท�ำอะไรน่าสนใจหลายอย่าง มาก แต่ถ้าผมเล่าเรื่องพวกนั้นก็จะดูสนองแต่ความต้องการของ ตัวเอง ผมอยากเล่าความคิดที่ใหญ่กว่านั้น เช่น ความคิดเรื่องการ เรียนรู้เพื่อสร้างความช�ำนาญ (mastery-based learning) และ การปรับเปลี่ยนช่วงเวลาในห้องเรียนให้มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น โดยเลิกบรรยายแบบเลกเชอร์เสีย ค�ำแนะน�ำที่ผมอยากบอกผู้พูด ทัง้ หลายคือ ขอให้มองหาความคิดบางประการทีย่ งิ่ ใหญ่กว่าตัวคุณ และองค์กรของคุณ แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ประสบการณ์ของคุณ มาแสดงให้เห็นว่าความคิดนัน้ ไม่ได้เป็นแค่การคาดเดาทีก่ ลวงเปล่า

แก่นเรือ่ งของคุณไม่จำ� เป็นต้องยิง่ ใหญ่ทา้ ทายเท่าตัวอย่างข้างต้น แต่ก็ควรมีแง่มุมที่แยบคายและน่าสนใจ แทนที่จะพูดถึงความส�ำคัญของ การท�ำงานหนัก ลองเปลีย่ นมาพูดว่าท�ำไมบางครัง้ การท�ำงานหนักก็ ไม่ได้ น�ำไปสูค่ วามส�ำเร็จอย่างแท้จริง และเราจะท�ำอะไรกับมันได้บา้ ง หรือแทนที่ 62

T ED Talks

จะวางแผนพูดถึงโครงการหลักทั้งสี่ที่คุณท�ำอยู่ ลองวางโครงสร้างเนื้อหา ให้เกี่ยวกับเฉพาะสามโครงการที่เชื่อมโยงกันอย่างน่าแปลกใจดีไหมครับ ที่ จ ริ ง แล้ ว ตอนโรบิ น เมอร์ ฟ ี (Robin Murphy) มาพู ด ที่ TEDWomen เธอใช้แก่นเรื่องแบบนี้เลย นี่คือบทเปิดปาฐกถาของเธอ ภายในเวลาไม่นาน หุ่นยนต์ได้กลายมาเป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เบือ้ งต้นในพืน้ ทีป่ ระสบภัย ท�ำงานเคียงบ่าเคียงไหล่มนุษย์เพือ่ ช่วย บรรเทาสาธารณภัย การน�ำเครื่องจักรอันซับซ้อนมาใช้ในเรื่องนี้ ช่วยเพิ่มศักยภาพที่จะปฏิรูปงานบรรเทาสาธารณภัย ช่วยชีวิตคน และยังประหยัดเงินด้วย วันนีฉ้ นั อยากเล่าเรือ่ งหุน่ ยนต์ใหม่สามตัว ที่ฉันก�ำลังพัฒนาอยู่ เพื่อแสดงให้คุณเห็นศักยภาพที่ว่านี้

เราไม่จ�ำเป็นต้องบอกแก่นเรื่องตั้งแต่ต้นปาฐกถาแบบนี้ทุกครั้ง นะครับ หลังจากนี้เราจะได้เห็นว่ายังมีวิธีอื่นๆ อีกมากมายที่จะดึงความ สนใจของผู้คนอย่างแยบคาย และเชื้อเชิญให้เขาร่วมเดินทางไปกับคุณ แต่เมื่อผู้ฟังรู้ว่าคุณก�ำลังจะมุ่งไปทางไหน ย่อมท�ำให้เขาติดตามคุณ ได้ง่ายกว่ามาก ลองนึกถึงอุปมาเรื่องการพูดกับการเดินทางอีกครั้งนะครับ เมื่อ ผู้พูดและผู้ฟังร่วมเดินทางไปด้วยกัน โดยมีผู้พูดเป็นคนน�ำทาง ถ้าคุณ ในฐานะผู้พูดอยากให้ผู้ฟังเดินทางไปกับคุณ คุณน่าจะต้องบอกเขาว่า คุณก�ำลังจะไปไหน และคุณต้องเตรียมพร้อมให้มั่นใจว่าแต่ละก้าวเดิน จะช่วยพาคุณไปสูจ่ ดุ หมายดังกล่าว ในอุปมาเรือ่ งการเดินทางนี้ แก่นเรือ่ ง คือรอยทางที่การเดินทางจะมุ่งไป มันช่วยย�้ำให้มั่นใจว่าเราจะไม่กระโดด ข้ามเส้นทางอย่างไม่สมเหตุสมผล และเมือ่ ปาฐกถาจบลง ผู้พูดและผู้ฟัง ก็ได้ร่วมทางกันจนมาถึงจุดหมายปลายทางที่ทั้งคู่พึงพอใจ หลายคนเตรียมปาฐกถาโดยคิดว่าจะเล่าคร่าวๆ ถึงงานของ ตนเอง หรือบรรยายลักษณะองค์กรที่ตนท�ำงาน ไม่ก็ส�ำรวจประเด็น บางอย่าง แต่นั่นไม่ใช่แผนการที่ดี เพราะมีแนวโน้มสูงที่ปาฐกถาดังกล่าว Chris Anderson

63

จะไม่มีจุดเน้นชัดเจนและไม่สร้างผลกระทบอะไรนัก โปรดจ�ำไว้นะครับว่าแก่นเรื่องไม่ใช่สิ่งเดียวกับหัวข้อ ค�ำเชิญ ของคุณอาจชัดเจนสุดๆ เช่น “แมรีที่รัก เราอยากให้คุณมาพูดเรื่อง เทคโนโลยีใหม่ของคุณที่ใช้แยกเกลือออกจากน�้ำทะเล” หรือ “จอห์นครับ คุณช่วยเล่าเรือ่ งการผจญภัยในคาซัคสถานด้วยเรือคายักให้เราฟังหน่อยสิ” แม้ว่า หัวข้อ จะชัดเจนแบบนี้ คุณก็ยังควรคิดถึง แก่นเรือ่ ง อยูด่ ี ปาฐกถา เรือ่ งเรือคายักอาจมีแก่นเรื่องที่ตั้งอยู่บนความอดทน พลวัตของกลุ่ม หรือ อันตรายจากน�ำ้ วนในแม่นำ�้ อันเชีย่ วกราก ปาฐกถาเรือ่ งการแยกเกลือออก จากน�ำ้ ทะเลอาจมีแก่นเรือ่ งเกีย่ วกับนวัตกรรมเปลีย่ นโลก วิกฤตการณ์นำ�้ ทั่วโลก หรือความเหนือชั้นของวิศวกรรมศาสตร์ที่สง่างาม แล้วคุณจะหาแก่นเรื่องได้อย่างไร ขั้นแรกคือหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ฟังของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะหา ได้ ผู้ฟังเป็นใคร มีความรู้เรื่องนี้มากเพียงใด คาดหวังอะไร ใส่ใจเรื่องไหน ผู้พูดคนก่อนหน้านี้พูดอะไรไปแล้วบ้าง คุณสามารถมอบความคิดเป็น ของขวัญให้แก่ใจที่พร้อมรับความคิดประเภทดังกล่าวเท่านั้น ถ้าคุณ จะพูดกับผูฟ้ งั ทีเ่ ป็นคนขับแท็กซีใ่ นกรุงลอนดอนว่าเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (sharing economy) ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นน่าทึ่งแค่ไหน คงช่วยได้มากทีเดียวหากคุณรู้ล่วงหน้าว่า ช่องทางท�ำมาหากินของเขา ก�ำลังถูกท�ำลายโดยอูเบอร์ (Uber) แต่อุปสรรคยิ่งใหญ่ที่สุดในการก�ำหนดแก่นเรื่อง และเป็นสิ่งที่ ผูพ้ ดู ทุกคนโวยวายเหมือนกันในช่วงแรกๆ คือ ฉันมีเรือ่ งพูดเยอะมาก แต่ เวลาไม่พอ! เราได้ยินเสียงบ่นเรื่องนี้บ่อยมาก TED Talk ให้เวลาสูงสุดแค่ 18 นาที (ท�ำไมต้อง 18 นาทีนะ่ หรือ เพราะมั น สั้ น พอที่ ค นเราจะยั ง คง ความสนใจไว้ได้ รวมทั้งกรณีที่ชมปาฐกถาบนอินเทอร์เน็ตด้วย และยัง เป็นระยะเวลาพอเหมาะพอเจาะที่เราจะใส่ใจเรื่องนั้นๆ อย่างจริงจัง ขณะ เดียวกันก็ยาวพอที่จะสาธยายเนื้อหาสาระ) แต่ผู้พูดส่วนมากคุ้นเคยกับ 64

T ED Talks

การพูดนาน 30-40 นาทีหรือยาวกว่านั้น ส�ำหรับพวกเขาจึงยากที่จะ จินตนาการว่าจะพูดให้ดีภายในเวลาอันสั้นแบบนั้นได้อย่างไร ที่แน่ๆ การพูดที่สั้นกว่าไม่ได้ใช้เวลาเตรียมน้อยลงตามไปด้วย เคยมีคนถามประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) ว่าเขา ใช้เวลาเตรียมสุนทรพจน์นานแค่ไหน เขาตอบว่า ขึ้นอยู่กับความยาวของสุนทรพจน์ ถ้ายาวสิบนาที ผมต้องใช้เวลา เตรียมตลอดสองสัปดาห์ ถ้าสุนทรพจน์ยาวครึ่งชั่วโมง ผมใช้เวลา หนึ่งสัปดาห์ ถ้าผมพูดยาวแค่ไหนก็ได้เท่าที่ต้องการ ผมไม่ต้อง เตรียมเลย ผมพร้อมพูดตั้งแต่ตอนนี้

กรณีนี้ท�ำให้ผมนึกถึงค�ำคมที่ว่ากันว่ามีนักคิดนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ หลายคนกล่าวไว้ นั่นคือ “ถ้าฉันมีเวลามากกว่านี้ ฉันจะเขียนจดหมาย ที่สั้นกว่านี้” ดังนั้นเราคงต้องยอมรับครับว่า การเตรียมปาฐกถาที่ยอดเยี่ยม ภายในระยะเวลาจ�ำกัดต้องอาศัยความพยายามอย่างจริงจัง แต่ก็มีทั้งวิธี ที่ถูกต้องกับวิธีที่ผิด วิธีที่ผิด วิธีย่อปาฐกถาที่ผิดคือ ใส่ทุกอย่างที่คิดว่าต้องพูดเข้ามาแล้ว ตัดทั้งหมดให้สั้นลง ที่ตลกคือคุณสามารถเขียนบทพูดแบบนี้ได้จริงๆ เสียด้วย มีหวั ข้อหลักครบทุกข้อแต่อยูใ่ นรูปสรุปย่อ คุณพูดถึงงานของคุณ ได้ครบถ้วนเลย! คุณอาจคิดด้วยว่าบทพูดนีม้ แี ก่นเรือ่ งทีเ่ ชือ่ มโยงทุกอย่าง เข้าด้วยกัน นั่นคือรากฐานกว้างๆ บางอย่างในงานของคุณ คุณอาจรู้สึก เหมือนว่าได้ทุ่มเทเต็มที่และท�ำดีที่สุดแล้วเพื่อให้เหมาะสมกับเวลาของ ปาฐกถาที่ก�ำหนดไว้ Chris Anderson

65

แต่แก่นเรื่องซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดจ�ำนวนมากๆ นั้นไม่ค่อยได้ผล เมือ่ คุณเร่งพูดถึงหลายๆ หัวข้อแบบย่นย่อ ผลทีต่ ามมามักจะเลวร้ายสุดขีด นั่นคือการพูดนั้นจบลงโดยไม่มีพลัง คุณรู้เบื้องหลังและบริบทของสิ่งที่ พูด ดังนั้นความคิดตกผลึกที่คุณน�ำเสนอจึงดูลึกล�้ำส�ำหรับคุณ แต่ส�ำหรับ ผูฟ้ งั ซึง่ ไม่เคยรูจ้ กั งานทีค่ ณ ุ ท�ำมาก่อน ผลทีไ่ ด้คอื ปาฐกถาของคุณจะมีแต่ แนวคิดนามธรรม แห้งแล้ง และผิวเผิน สมการง่ายๆ ครับ ถ้าอัดเนื้อหามากเกินไป ก็จะอธิบายได้ ไม่ละเอียด หากต้องการจะพูดให้น่าสนใจ อย่างน้อยคุณต้องใช้เวลาท�ำ สองข้อนี้ • แสดงให้เห็นว่าท�ำไมมันจึงส�ำคัญ ... ค�ำถามอะไรทีค่ ณ ุ พยายาม ตอบ ปัญหาอะไรที่คุณพยายามแก้ ประสบการณ์อะไรที่คุณ ต้องการแบ่งปัน • ให้รายละเอียดในแต่ละประเด็นทีต่ อ้ งการเน้น โดยเสริมตัวอย่าง ที่เกิดขึ้นจริง เรื่องเล่า และข้อเท็จจริง นี่ คื อ วิ ธี ที่ คุ ณ จะสามารถสร้ า งความคิ ด ที่ คุ ณ รั ก และยึ ด มั่ น ให้ถือก�ำเนิดขึ้นในจิตใจของคนอื่น ปัญหาคือต้องใช้เวลาไม่น้อยเพื่อ อธิบายเหตุผลและยกตัวอย่าง นั่นท�ำให้คุณเหลือเพียงทางเลือกเดียว วิธีที่ถูก ถ้าต้องการพูดให้มีประสิทธิผล คุณต้องตัดหัวข้อที่หลากหลาย ออกไป แล้วพูดแค่หัวข้อชุดเดียวที่เชื่อมโยงกัน นั่นก็คือแก่นเรื่องที่ สามารถพัฒนาต่อไปอย่างเหมาะสม เรียกได้ว่าแม้คุณจะพูดครอบคลุม เนื้อหาน้อยกว่า แต่ก่อให้เกิดผลกระทบสูงกว่าอย่างชัดเจน 66

T ED Talks

นักเขียนชื่อริชาร์ด บาค (Richard Bach) กล่าวว่า “งานเขียน ที่ยอดเยี่ยมขึ้นอยู่กับพลังของค�ำที่ลบทิ้งไป” ซึ่งใช้ได้กับการพูดด้วย เช่นกัน เคล็ดลับของปาฐกถาที่ประสบความส�ำเร็จมักซ่อนอยู่ในสิ่งที่ ละเอาไว้ พูดน้อยแต่ได้ความมาก ผู้พูดของ TED หลายคนบอกเราว่า นี่เป็นกุญแจส�ำคัญในการ สร้างปาฐกถาที่ดี นักดนตรีชื่ออแมนดา พาล์มเมอร์ (Amanda Palmer) กล่าวว่า ฉันพบว่าฉันติดกับดักอัตตาของตนเอง ถ้า TED Talk ของฉัน เผยแพร่ไปจนกลายเป็นไวรัลขึ้นมา ฉันก็อยากให้คนรู้ว่าฉันเป็น นักเปียโนที่เก่งแค่ไหน! และรู้ว่าฉันเป็นจิตรกรด้วย! แถมยังเขียน เพลงได้สดุ ยอดมาก! และฉันยังมีพรสวรรค์อนื่ ๆ อีก! นีค่ อื โอกาส ของฉัน! แต่ไม่ละ มีทางเดียวที่จะท�ำให้ปาฐกถาฮิตติดลมบนได้ นั่นคือถอดอัตตาออกไป และใช้ตัวคุณเป็นพาหนะส่งต่อความคิด ไปยังผู้ฟัง ฉันจ�ำได้ถึงตอนที่ไปรับประทานอาหารค�่ำกับขาประจ�ำ ของ TED อย่างนิโคลัส นีโกรพอนตี (Nicholas Negroponte) ฉัน ถามเขาว่ามีค�ำแนะน�ำอะไรส�ำหรับปาฐกถาบ้างไหม เขาพูดสิ่งที่ พี่ เ ลี้ ย งของฉั น ผู ้ นิ ย มปรั ช ญาพุ ท ธพู ด มาตลอดหลายปี นั่ น คื อ จงเว้นพื้นที่ว่างและพูดให้น้อยลง

นักเศรษฐศาสตร์ชื่อนิก มาร์กส์ (Nic Marks) เสนอให้ฟังค�ำ แนะน�ำทีค่ นมักบอกกับนักเขียนหน้าใหม่วา่ “ฆ่าสุดทีร่ กั ของคุณซะ ผมต้อง เตรียมตัวที่จะไม่พูดถึงสิ่งต่างๆ ที่ผมรักสุดใจและอยากแทรกเอาไว้ใน เนื้อหา ทว่ามันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าหลัก สิ่งนี้ท�ำได้ยากมาก แต่มันจ�ำเป็นจริงๆ” เบรเน บราวน์ (Brené Brown) หนึ่งในผู้พูดยอดนิยมที่สุด คนหนึง่ ของ TED ก็ประสบปัญหาเกีย่ วกับเงือ่ นไขเรือ่ งเวลาทีเ่ ข้มงวดของ TED เช่นกัน เธอแนะน�ำสูตรง่ายๆ ว่า “วางแผนปาฐกถาของคุณ แล้วตัดมัน Chris Anderson

67

ให้เหลือครึง่ หนึง่ หลังจากคุณคร�ำ่ ครวญทีต่ อ้ งสูญเสียเนือ้ หาครึง่ หนึง่ ของ ปาฐกถาแล้ว ให้ตัดมันลงอีกครึ่งหนึ่ง เรามักถูกล่อหลอกให้คิดว่าเราจะ ใส่เนื้อหาเข้าไปได้มากแค่ไหนใน 18 นาที ส�ำหรับฉัน ค�ำถามที่ดีกว่านั้น คือ อะไรที่คุณจะขยายความออกมาได้อย่าง มีความหมาย ใน 18 นาที” ประเด็นเดียวกันนีใ้ ช้ได้กบั การพูดอืน่ ๆ ไม่วา่ จะยาวแค่ไหนก็ตาม ผมจะลองเล่าตัวอย่างของผมให้คณ ุ ฟัง สมมติมคี นขอให้ผมพูดแค่สองนาที เพื่อแนะน�ำตัว นี่คือแบบที่หนึ่ง แม้วา่ ผมจะเป็นคนอังกฤษ แต่ผมเกิดในปากีสถาน พ่อของผมเป็น จักษุแพทย์ที่สอนศาสนาด้วย ผมใช้ชีวิตช่วงวัยเด็กที่นั่น รวมทั้งที่ อินเดียและอัฟกานิสถาน ตอนอายุ 13 ปี ผมถูกส่งไปอยู่โรงเรียน ประจ�ำในอังกฤษ หลังจากนัน้ ก็เข้าเรียนทีม่ หาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในสาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ผมเริ่มงานเป็น นักข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในรัฐเวลส์ แล้วย้ายไปท�ำงานที่สถานี วิทยุเถื่อนบนเกาะเซเชลส์อยู่สองสามปี ท�ำหน้าที่เขียนและอ่าน ข่าวจากทั่วโลก พอกลับมาที่อังกฤษตอนกลางทศวรรษ 1980 ผมตกหลุมรัก คอมพิวเตอร์ และเริ่มก่อตั้งนิตยสารหลายฉบับที่อุทิศเนื้อหาให้ พวกมัน ช่วงนั้นเป็นจังหวะที่ดีมากในการออกนิตยสารเฉพาะทาง และบริษทั ของผมก็เติบโตสองเท่าทุกปีเป็นเวลาเจ็ดปีตดิ ต่อกัน ผม ขายบริษัท ย้ายมาอเมริกา แล้วลองเริ่มใหม่อีกครั้ง ภายในปี 2000 ธุรกิจของผมโตจนมีพนักงาน 2,000 คน กับ นิตยสารและเว็บไซต์อกี 150 ชือ่ แต่ฟองสบูเ่ ทคโนโลยีกำ� ลังจะแตก และเมือ่ มันเกิดขึน้ มันเกือบท�ำลายล้างบริษทั ผม นอกจากนี้ ใครจะ ต้องการนิตยสารในเมื่อคุณมีอินเทอร์เน็ตแล้ว ผมจึงจากบริษัทมา ตอนปลายปี 2001 แต่โชคดีที่ผมได้น�ำเงินมาก่อตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลก�ำไร ผม ใช้ชอ่ื องค์กรนีม้ าซือ้ กิจการ TED ซึง่ ตอนนัน้ คืองานประชุมประจ�ำปี ในแคลิฟอร์เนีย และได้กลายเป็นงานประจ�ำทีผ่ มหลงใหลตัง้ แต่นนั้ มา 68

T ED Talks

ส่วนนี่คือแบบที่สอง ผมอยากชวนคุ ณ ตามผมมาที่ ห ้ อ งพั ก นั ก ศึ ก ษาห้ อ งหนึ่ ง ใน มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเมื่อปี 1977 คุณเปิดประตู แวบแรก ดูเหมือนไม่มีใครอยู่ในนั้น แต่เดี๋ยวก่อน เมื่อมองตรงไปที่มุมห้อง มีเด็กหนุ่มคนหนึ่ง นอนหงายอยู่บนพื้นพลางจ้องมองเพดาน เขานอนอยู่อย่างนั้นมา นานกว่าเก้าสิบนาทีแล้ว นั่นคือผมเอง ตัวผมในวัยยี่สิบ ผมก�ำลัง ใช้ความคิดอย่างหนัก ผมพยายามที่จะ ... อย่าหัวเราะนะครับ ... ผมพยายามแก้ปญ ั หาเรือ่ งเจตจ�ำนงอิสระ (free will) นัน่ มันปริศนา สุดลึกลับทีท่ ำ� ให้นกั ปรัชญาระดับโลกงุนงงมายาวนานกว่าสองพันปี นี่นา ใช่แล้วครับ ผมก�ำลังพยายามไขปริศนานี้ ใครก็ตามทีม่ องภาพนัน้ ด้วยสายตาไร้อคติคงสรุปได้วา่ เด็กหนุม่ คนนี้คือส่วนผสมที่แปลกประหลาดระหว่างความหยิ่งยโส เพ้อเจ้อ หรืออาจจะแค่เงอะงะเข้าสังคมไม่เก่งและโดดเดี่ยว ชอบอยู่กับ ความคิดมากกว่าอยู่กับผู้คน แต่ถ้าเล่าจากมุมมองของผมเอง ผมคือนักฝัน ผมคลั่งไคล้ ในพลังของความคิดมาตลอด และค่อนข้างแน่ใจว่าการที่ผมมุ่ง ความสนใจสู่ภายในคือสิ่งที่ช่วยให้ผมข้ามผ่านชีวิตที่ต้องเติบโต ในโรงเรียนประจ�ำทีอ่ นิ เดียและอังกฤษ ซ�ำ้ ยังอยูห่ า่ งไกลจากพ่อแม่ ที่เป็นหมอสอนศาสนา สิ่งนี้สร้างความมั่นใจให้ผมพยายามสร้าง บริษัทด้านสื่อ แน่นอนว่านักฝันในตัวผมนี่เองที่ตกหลุมรัก TED อย่างลึกซึ้ง ล่าสุดผมฝันเกี่ยวกับการปฏิวัติวิธีพูดในที่สาธารณะ และฝันว่า มันจะน�ำไปสู่อะไรที่ยิ่งใหญ่ต่อไปได้บ้าง ...

เอาละ แบบไหนท�ำให้คุณรู้จักผมมากกว่าครับ แบบแรกมีข้อ เท็จจริงมากกว่าแน่นอน สรุปเรื่องราวส่วนใหญ่ของชีวิตผมได้ดีทีเดียว เป็นประวัติย่อในสองนาที แบบที่สองมุ่งความสนใจอยู่เพียงช่วงเวลา Chris Anderson

69

เสี้ยวเดียวในชีวิตของผม แต่กระนั้น เมื่อผมทดลองเล่าเรื่องสองแบบนี้ ให้ผู้คนฟัง พวกเขาบอกว่าแบบที่สองน่าสนใจและเผยตัวตนของผมได้ มากกว่าเยอะ ไม่ว่าคุณจะมีเวลาแค่ 2 นาที 18 นาที หรือหนึ่งชั่วโมง ขอให้ เริ่มจากเข้าใจตรงกันเสียก่อนว่า คุณจะพูดครอบคลุมเฉพาะอาณาเขต ซึ่งคุณสามารถด�ำดิ่งลงไปได้ลึกมากพอที่จะท�ำให้เรื่องราวน่าสนใจและ น่าเชื่อถือเท่านั้น และนี่คือจุดที่แก่นเรื่องจะช่วยได้มาก ในการเลือกแก่นเรื่อง คุณต้องคัดกรองหลายสิง่ หลายอย่างทีค่ ณ ุ อาจจะพูดถึงทิง้ ไปโดยอัตโนมัติ ตอนทีผ่ มท�ำการทดลองข้างต้น ผมคิดว่า แง่มมุ ไหนในตัวฉันทีค่ วรจะเน้นให้ ลึกลงอีกนิดดีนะ การตัดสินใจว่าจะเลือกแง่มมุ “นักฝัน” ท�ำให้งา่ ยยิง่ ขึน้ ที่จะผูกเรื่องแบบที่สองเข้ากับการเรียนปรัชญาที่ออกซฟอร์ด และตัด เรือ่ งราวชีวติ ส่วนอืน่ ๆ ออกไปได้เกือบหมด ถ้าผมเลือกมุม “ผูป้ ระกอบการ” หรือ “เนิรด์ ” หรือ “จิตวิญญาณของโลก” ผมก็จะตัดข้อมูลคนละส่วนออกไป ดังนั้นแก่นเรื่องจะบังคับให้คุณเริ่มจากระบุความคิดหนึ่ง ซึ่ง สามารถอธิบายขยายความได้อย่างเหมาะสมภายในเวลาที่คุณมี จากนั้น คุณก็วางโครงสร้างเพื่อให้ทุกองค์ประกอบในการพูดของคุณเชื่อมโยง กับความคิดนี้ในทางใดทางหนึ่ง จากแก่นเรื่องสู่โครงสร้าง ลองหยุดและคิดถึงค�ำว่า โครงสร้าง กันสักนิด มันส�ำคัญมาก นะครับ โครงสร้างทีผ่ กู โยงกับแก่นเรือ่ งของปาฐกถาต่างๆ นัน้ แตกต่างกัน มาก ปาฐกถาหนึ่งอาจเริ่มต้นจากแนะน�ำปัญหาที่ผู้พูดพยายามแก้ไขอยู่ และแจกแจงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ทีแ่ สดงให้เห็นปัญหานัน้ ต่อมาอาจย้อน ไปเล่าเรื่องที่เคยมีบางคนพยายามแก้ปัญหานี้ในอดีต พร้อมยกตัวอย่าง สักสองข้อทีส่ ดุ ท้ายก็ลม้ เหลว แล้วอาจต่อด้วยทางออกทีผ่ พู้ ดู เสนอ โดยมี 70

T ED Talks

หลักฐานใหม่ทนี่ า่ ทึง่ สักชิน้ มาช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ จากนัน้ อาจจบด้วย ผลที่คาดว่าจะตามมาในอนาคตสักสามอย่าง คุ ณ สามารถมองโครงสร้ า งของปาฐกถาเหมื อ นกั บ ต้ น ไม้ มีแก่นเรื่องตั้งตรงขึ้นในแนวดิ่งและมีกิ่งก้านติดอยู่ โดยแต่ละกิ่งแทน การขยายความเรื่องเล่าหลัก กิ่งหนึ่งที่อยู่ด้านล่างคือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่ใช้เปิดเรื่อง สองกิ่งที่เหนือขึ้นมาว่าด้วยตัวอย่างที่ล้มเหลวในอดีต อีกกิ่งหนึ่งคือทางออกใหม่ที่ผู้พูดเสนอ และสามกิ่งบนยอดแทนผลที่อาจ ตามมาในอนาคต ปาฐกถาอี ก เรื่ อ งหนึ่ ง อาจเป็ น เพี ย งการเล่ า ถึ ง งานห้ า อย่ า ง ที่มีแนวคิดเชื่อมโยงกัน โดยเล่าต่อกันไปเรื่อยๆ เปิดเรื่องและปิดท้าย ด้วยโครงการปัจจุบันที่ผู้พูดท�ำอยู่ ในโครงสร้างแบบนี้ คุณอาจมองว่า แก่นเรื่องเปรียบเหมือนห่วงที่ร้อยเรียงเชื่อมโยงกล่องห้าใบที่แตกต่างกัน แต่ละกล่องแทนงานแต่ละชิ้น ผู้พูดของ TED ที่มีผู้ชมมากที่สุด ณ วันที่ผมเขียนหนังสือเล่มนี้ คือเซอร์เคน โรบินสัน (Ken Robinson) เขาบอกผมว่าปาฐกถาของเขา ส่วนใหญ่เดินตามโครงสร้างง่ายๆ คือ A. บทเกริ่ น น� ำ – สร้ า งความเข้ า ใจให้ ต รงกั น ว่ า ปาฐกถา จะครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง B. บริบท – ท�ำไมประเด็นนี้จึงส�ำคัญ C. แนวความคิดหลัก D. แนวทางการประยุกต์ใช้ E. บทสรุป เซอร์เคนกล่าวว่า “มีสูตรโบราณของการเขียนเรียงความที่ บอกว่า เรียงความทีด่ ตี อ้ งตอบค�ำถามสามข้อ ได้แก่ อะไร? แล้วยังไง? จากนี้ จะท�ำอะไรต่อ? การพูดก็คล้ายกันนั่นละ” แน่นอนครับ สิ่งที่ท�ำให้ปาฐกถาของเซอร์เคนดึงดูดใจผู้คนไม่ได้ มีแค่โครงสร้างที่เรียบง่าย แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น ซึ่งทั้ง Chris Anderson

71

ผมและเขาไม่ได้แนะน�ำว่าทุกคนต้องใช้โครงสร้างเดียวกันนีห้ รอกนะครับ สิ่งส�ำคัญคือคุณต้องหาโครงสร้างที่จะพัฒนาแก่นเรื่องของคุณได้อย่าง ทรงพลังที่สุดภายในเวลาที่คุณมี โดยที่องค์ประกอบทุกอย่างในปาฐกถา ผูกโยงเข้ากับโครงสร้างนี้ได้อย่างชัดเจน จัดการกับหัวข้อที่พูดยาก คุณควรจัดการกับแก่นเรื่องของคุณอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าคุณต้องพูดเรื่องหนักๆ เช่น ความเลวร้ายของวิกฤตผู้อพยพลี้ภัย อัตราการเกิดโรคเบาหวานที่เพิ่มทวีคูณ ความรุนแรงที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ในอเมริกาใต้ ผู้พูดจ�ำนวนมากที่บรรยายหัวข้อเหล่านี้มองว่างานของ ตนเองคือขับเน้นประเด็นปัญหาซึง่ ควรเป็นทีร่ บั รูใ้ นวงกว้าง โครงสร้างของ ปาฐกถาเหล่านีม้ กั เป็นการน�ำชุดข้อเท็จจริงทีแ่ สดงให้เห็นว่าสถานการณ์ เลวร้ายแค่ไหนมาเรียงต่อกัน และบอกว่าท�ำไมเราจึงต้องท�ำอะไรสักอย่าง เพื่อแก้ไขมัน จริงๆ ก็มีหลายครั้งที่โครงสร้างแบบนี้เหมาะเจาะสมบูรณ์ ส�ำหรับใช้เป็นกรอบในการพูด ถ้าคุณแน่ใจว่าผูฟ้ งั ของคุณพร้อมและยินดี ที่จะรู้สึกอึดอัดไม่สบายใจ ปั ญ หาก็ คื อ ถ้ า ผู ้ ฟ ั ง นั่ ง ฟั ง ปาฐกถาแบบนี้ ห ลายเรื่ อ งต่ อ กั น พวกเขาย่อมรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์และจะเริ่มปิดสวิตช์ตัวเอง ความ เหนื่อยหน่ายที่จะเห็นอกเห็นใจก่อตัวขึ้น ซึ่งถ้ามันเกิดก่อนคุณพูดจบ สิ่งที่คุณพูดก็จะไม่มีผลกระทบอะไรเลย คุณจะหลีกเลีย่ งภาวะนีไ้ ด้อย่างไร ขัน้ แรกคือ อย่าคิดว่าปาฐกถา ของคุณนั้นเกี่ยวกับ ประเด็นปัญหา แต่ให้คิดว่ามันเกี่ยวกับ ความคิด จูน โคเฮน (June Cohen) อดีตเพื่อนร่วมงานของผมมองความ แตกต่างดังกล่าวไว้อย่างนี้ ปาฐกถาว่าด้วยประเด็นปัญหานั้นใช้ จริยธรรม เป็นตัวน�ำ ส่วน ปาฐกถาว่าด้วยความคิดใช้ ความสงสัยใคร่รู้ เป็นตัวน�ำ 72

T ED Talks

ประเด็นปัญหาเผยให้เห็น ปัญหา ส่วนความคิดจะเสนอ ทางแก้ ประเด็นปัญหาพูดว่า “ดูสิ เลวร้าย ใช่ไหมล่ะ” ส่วนความคิด จะพูดว่า “ดูสิ น่าสนใจ ใช่ไหมล่ะ” คุ ณ จะดึ ง ความสนใจของผู ้ ฟ ั ง ได้ ง ่ า ยกว่ า ถ้ า วางกรอบไว้ ว ่ า ปาฐกถานีเ้ ป็นความพยายามแก้ปริศนาอันน่าฉงน แทนทีจ่ ะเป็นค�ำขอร้อง ให้ห่วงใยใส่ใจ แบบแรกชวนให้รู้สึกเหมือนมีคนเสนอของขวัญให้ แต่ แบบหลังนั้นรู้สึกเหมือนเป็นการร้องขอ รายการส�ำหรับตรวจสอบ ขณะที่คุณก�ำลังพัฒนาแก่นเรื่อง นี่คือรายการส�ำหรับตรวจสอบ แบบง่ายๆ • • • • • • • • • •

นี่เป็นหัวข้อที่ฉันหลงใหลหรือเปล่า มันสร้างแรงกระตุ้นให้สงสัยใคร่รู้ไหม ถ้าผู้ฟังได้ความรู้นี้ไป ชีวิตเขาจะแตกต่างจากเดิมไหม ปาฐกถาของฉันเป็นของขวัญหรือการร้องขอ ข้อมูลนี้สดใหม่ หรือผู้คนรู้กันอยู่แล้ว ฉันจะสามารถอธิบายหัวข้อนี้ให้สมบูรณ์ พร้อมยกตัวอย่าง ที่จ�ำเป็นภายในเวลาที่ก�ำหนดไว้ได้ไหม ฉันรูเ้ รือ่ งนีด้ พี อทีจ่ ะท�ำให้ปาฐกถานีค้ มุ้ ค่ากับเวลาของผูฟ้ งั ไหม ฉันมีความน่าเชื่อถือพอที่จะพูดเรื่องนี้หรือเปล่า ค�ำ 15 ค�ำที่สรุปปาฐกถาของฉันได้คืออะไร ค�ำ 15 ค�ำนี้จะโน้มน้าวให้ผู้คนสนใจอยากฟังปาฐกถาของฉัน หรือไม่

Chris Anderson

73

โค้ชการพูดอย่างอะบิเกล เทเนมบาม (Abigail Tenembaum) แนะน�ำให้ลองทดสอบแก่นเรื่องของคุณกับใครสักคนที่มีลักษณะเหมือน ผู้ฟังจริงๆ โดยไม่ใช้วิธีเขียนแต่ให้ใช้ค�ำพูดแทน “การพูดออกมาดังๆ มัก ช่วยตกผลึกให้ผู้พูดเห็นว่าอะไรที่ชัดเจนแล้ว อะไรขาดหายไป และจะลับ ให้มันเฉียบคมขึ้นได้อย่างไร อลิซาเบธ กิลเบิร์ต (Elizabeth Gilbert) นักเขียนหนังสือขายดี ก็ เ ชื่ อ ในการเตรี ย มปาฐกถาส� ำ หรั บ คนฟั ง หนึ่ ง คนเช่ น กั น เธอให้ ค� ำ แนะน�ำอย่างนี้ครับ “เลือกมนุษย์สักคนหนึ่ง คนจริงๆ ที่มีตัวตนในชีวิต คุณ เตรียมปาฐกถาเสมือนว่าคุณจะพูดให้คนคนนั้นฟังเพียงคนเดียว เท่านั้น เลือกคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการเดียวกับคุณ คนที่เฉลียวฉลาด ช่าง สงสัยใคร่รู้ มุ่งมั่นตั้งใจ และเปี่ยมประสบการณ์ ทั้งยังเป็นคนที่คุณชอบ มากๆ วิธีนี้จะน�ำจิตวิญญาณและและจิตใจอันอบอุ่นมาสู่ปาฐกถาของ คุณ ที่ส�ำคัญที่สุดคือ ขอให้แน่ใจว่าคุณก�ำลังพูดกับคนคนหนึ่ง ไม่ใช่กลุ่ม ประชากร (เช่น “สุนทรพจน์ของฉันมีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนในวงการ ซอฟต์แวร์ที่อายุระหว่าง 22-38 ปี) เพราะกลุ่มประชากรไม่ใช่มนุษย์ ถ้า คุณพูดให้กลุ่มประชากรฟัง มันจะฟังดูไม่เหมือนคุณก�ำลังพูดกับมนุษย์ คุณไม่ต้องตามไปบ้านเขาเพื่อฝึกพูดกับเขาตลอดหกเดือนหรอก เขา ไม่ต้องรู้เลยด้วยซ�้ำว่าคุณก�ำลังท�ำอะไรอยู่ แค่เลือกผู้ฟังในอุดมคติ คนหนึ่งขึ้นมาในใจ แล้วพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อสร้างปาฐกถาที่จะท�ำให้ คนคนนี้ทึ่ง หรือเกิดความรู้สึกท่วมท้น หรือท�ำให้เขาหลงใหล หรือท�ำให้ เขาปีติยินดี” กิลเบิร์ตบอกว่า แต่ที่ส�ำคัญกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมดคือ จงเลือก หัวข้อที่หยั่งรากลึกภายในตัวคุณ “พูดถึงสิ่งที่คุณรู้ พูดในสิ่งที่คุณรู้และ รักด้วยหัวใจทั้งหมด ฉันอยากได้ยินเรื่องส�ำคัญที่สุดในชีวิตของคุณ ไม่ใช่ เรื่องอะไรก็ได้ที่คุณคิดว่าแปลกใหม่ดี แสดงให้ฉันเห็นสิ่งที่คุณคลั่งไคล้ มานานหลายทศวรรษ ไม่ใช่ลูกเล่นใหม่ล�้ำสมัย และเชื่อฉันเถอะ ฉันจะ ต้องมนตร์เสน่ห์ของคุณ” 74

T ED Talks

เมื่อคุณมีแก่นเรื่องแล้ว คุณก็พร้อมวางแผนว่าจะเอาอะไรมา ปะติดปะต่อกับแก่นเรื่องบ้าง มีวิธีก่อร่างสร้างความคิดอยู่หลายวิธี ในห้าบทข้างหน้า เราจะพิจารณาเครื่องมือหลักห้าอย่างที่นักพูดใช้กัน • • • • •

การเชื่อมโยง การเล่าเรื่อง การอธิบาย การโน้มน้าวใจ การเผยให้เห็นสิ่งที่ยังไม่รู้

คุณสามารถน�ำเครือ่ งมือเหล่านีม้ าจับคูผ่ สมผสานกันได้ ปาฐกถา บางเรื่องใช้เพียงเครื่องมือเดียว บางเรื่องก็ใช้หลายองค์ประกอบ มีบ้าง ที่ใช้ครบทั้งห้าเครื่องมือ (และมักเรียงตามล�ำดับข้างต้น) แต่เราก็ควร พิจารณาแต่ละเครือ่ งมือแยกกันด้วย เพราะเทคนิคทัง้ ห้านีแ้ ตกต่างกันมาก ทีเดียว

Chris Anderson

75

เครื่องมือ ในการพูด

Chris Anderson

77

5 การสร้างความสัมพันธ์ สร้างความใกล้ชิด

เราไม่สามารถผลักความรู้เข้าสู่สมองได้ มันต้องถูกดึงเข้าไป ก่อนทีค่ ณ ุ จะสร้างความคิดขึน้ ในใจของใครสักคน คุณต้องได้รบั อนุญาตจากเขาก่อน ตามธรรมชาติคนเราย่อมระมัดระวังที่จะเปิดใจ ซึง่ เป็นสิง่ ทีม่ คี า่ สูงสุดของเขาให้แก่คนแปลกหน้า คุณต้องหาทางเอาชนะ ปราการนั้น และวิธีที่จะท�ำอย่างนั้นได้คือ คุณต้องเผยความเป็นมนุษย์ ที่ซ่อนอยู่ในตัวคุณออกมาให้เขาเห็น การฟังปาฐกถานั้นแตกต่างจากการอ่านเรียงความโดยสิ้นเชิง ไม่ใช่แค่ที่ถ้อยค�ำนะครับ ไม่ใช่เลย แต่อยู่ที่ผู้สื่อถ้อยค�ำนั้นต่างหาก ถ้า ต้องการสร้างผลกระทบอะไรสักเรือ่ ง คุณควรสร้างความเชือ่ มโยงระหว่าง มนุษย์ก่อน คุณอาจกล่าวปาฐกถาที่ปราดเปรื่องที่สุด อธิบายได้ชัดเจน แจ่มแจ้งและมีตรรกะเฉียบคม แต่ถา้ คุณไม่สร้างสัมพันธ์กบั ผูฟ้ งั เสียก่อน มันก็ไปไม่ถงึ ฝัง่ แม้ผฟู้ งั จะเข้าใจเนือ้ หาอยูบ่ า้ ง ทว่าไม่เพียงพอทีจ่ ะกระตุน้ ให้กลายเป็นการกระท�ำ เพียงแต่เก็บซ่อนไว้ในส่วนหนึ่งของจิตใจ รอวัน ถูกลบเลือน คนเราไม่ใช่คอมพิวเตอร์ เราเป็นสัตว์สงั คมทีล่ ว้ นมีลกั ษณะพิเศษ Chris Anderson

79

อันเฉลียวฉลาด เรามีอาวุธที่วิวัฒนาการมาเพื่อปกป้องเราจากความรู้ ที่อันตรายไม่ให้มาปนเปื้อนโลกทัศน์ซึ่งเราใช้อ้างอิงในการใช้ชีวิต อาวุธ เหล่านั้นได้แก่ ความคลางแคลงใจ ความไม่ไว้ใจ ความไม่ชอบ ความเบื่อ และความไม่เข้าใจ อาวุธเหล่านีม้ คี ณ ุ ค่าจนไม่อาจประเมินได้นะครับ ถ้าจิตใจของคุณ เปิดรับทุกข้อความที่เข้ามา ชีวิตคุณจะเละเทะอย่างรวดเร็ว “กาแฟท�ำให้ เป็นมะเร็ง!” “พวกชาวต่างชาตินนั้ น่าขยะแขยง!” “ซือ้ มีดท�ำครัวทีส่ วยงาม เหล่านีส้ !ิ ” “ฉันรูว้ า่ จะท�ำให้เธอสนุกได้อย่างไรนะทีร่ กั …” เราประเมินทุกสิง่ ที่เห็นหรือได้ยิน ก่อนที่จะกล้าวางมันรวมกับกลุ่มความคิดที่อาจน�ำ ไปปฏิบัติ ดังนั้นงานแรกที่คุณต้องท�ำในฐานะผู้พูดคือ หาทางให้ผู้ฟัง วางอาวุธเหล่านั้น และสร้างสายสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความไว้วางใจกับ ผู้ฟัง เพือ่ ให้เขาเต็มใจ (หรือกระทัง่ ดีอกดีใจ) ทีจ่ ะให้คณ ุ เข้าถึงจิตใจของเขา สักสองสามนาที ถ้าคุณไม่ชอบอุปมาทางการทหาร เรากลับไปใช้อุปมาเรื่องการ เดินทางก็ได้ นี่คือการเดินทางที่คุณพาผู้ฟังไปกับคุณ คุณอาจค้นพบ เส้นทางยอดเยี่ยมที่น�ำไปสู่จุดหมายปลายทางอันทรงพลัง แต่ก่อนจะพา ผูค้ นไปทีน่ นั่ คุณต้องท�ำให้การเดินทางนีน้ า่ สนใจ สิง่ แรกทีต่ อ้ งท�ำคือไปหา ผู้ฟัง ณ จุดที่เขายืนอยู่แล้วเอาชนะใจเขา ให้เขาเห็นว่าคุณคือคนน�ำทาง ที่เขาไว้ใจได้ ไม่เช่นนั้นความพยายามทั้งหมดอาจจะติดหล่มเสียก่อน จะได้เริ่มด้วยซ�้ำ เราบอกผู้พูดของเราว่า TED มีผู้ฟังที่อบอุ่นและยินดีเปิดรับ แต่กระนั้น เราจะเห็นผลที่แตกต่างอย่างมากระหว่างผู้พูดที่สร้างสัมพันธ์ กั บ ผู้ฟังได้ และผู ้ พู ด ที่ ไ ม่ รู ้ ตั ว ว่ า เผลอกระตุ ้ น ให้ ผู ้ ฟ ั ง เกิ ด ความรู ้ สึ ก คลางแคลงใจ เบื่อ หรือไม่ชอบขึ้นมา ข่ า วดี คื อ มี วิ ธี ก ารหลากหลายที่ เ ราน� ำ มาใช้ เ พื่ อ สร้ า งความ สัมพันธ์เบื้องต้นที่จ�ำเป็น ผมมีค�ำแนะน�ำห้าข้อดังนี้ครับ 80

T ED Talks

สบตาตั้งแต่เริ่มต้น มนุษย์เราเก่งในการตัดสินแวบแรกว่าคนอื่นเป็นอย่างไร เป็น เพื่อนหรือศัตรู น่าคบหรือไม่ ฉลาดหรือทึ่ม มั่นใจหรือลังเล เบาะแสที่เรา ใช้ตัดสินมักเบาบางจนน่าตกใจ เช่น เครื่องแต่งกาย ท่าเดินหรือท่ายืน การแสดงออกทางสีหน้า ภาษาท่าทาง และความใส่ใจ ผู้พูดที่ดีมักหาทางสานสัมพันธ์กับผู้ฟังตั้งแต่แรกเริ่ม อาจใช้ วิธีเรียบง่าย เช่น เดินขึ้นเวทีด้วยความมั่นใจ กวาดสายตาไปทั่ว สบตา ผู้ฟังสองสามคน แล้วยิ้ม ลองดูช่วงนาทีแรกๆ ที่เคลลี แมคโกนิกัล (Kelly McGonigal) กล่าวปาฐกถาเรื่องข้อดีของความเครียดกันครับ “ฉันมีเรื่อง จะสารภาพ” [เธอหยุด หมุนตัวเล็กน้อย ปล่อยแขนตามสบาย และยิ้ม น้อยๆ] “แต่กอ่ นอืน่ ฉันอยากให้คณ ุ สารภาพอะไรเล็กๆ น้อยๆ กับฉันก่อน” [เดินมาข้างหน้า] “ในรอบปีที่ผ่านมา” [ไล่สายตามองใบหน้าผู้ฟังรอบๆ ทีละคนอย่างตัง้ ใจ] “ฉันอยากให้คณ ุ ยกมือขึน้ ถ้าคุณมีความเครียดค่อนข้าง น้อย มีใครบ้างไหมคะ” [เผยรอยยิ้มปริศนา ซึ่งไม่กี่อึดใจต่อมากลายเป็น รอยยิ้มทรงเสน่ห์ที่ละลายหัวใจผู้ฟัง] ความสัมพันธ์กับผู้ฟังเกิดขึ้นทันที ถึงตรงนี้ต้องบอกว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีท่าทีคล่องแคล่ว สบายๆ และงดงามตามธรรมชาติอย่างเคลลี แต่สงิ่ หนึง่ ทีเ่ ราทุกคนท�ำได้คอื สบตา กับผู้ฟังและยิ้มน้อยๆ ซึ่งสามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ ศิลปิน ชาวอินเดีย รากาวา เคเค (Raghava KK) สบตาผู้ฟังอยู่ตลอด เช่นเดียว กับเปีย มันชีนี (Pia Mancini) นักรณรงค์สนับสนุนประชาธิปไตยชาว อาร์เจนตินา ภายในไม่กี่วินาทีนับจากที่พวกเขาเริ่มพูด คุณจะรู้สึกว่า ตัวเองถูกดึงดูดเข้าไป เรื่องนี้มีเหตุผลรองรับครับ มนุษย์เรามีวิวัฒนาการด้านความ สามารถในการอ่านผู้อื่นโดยดูจากดวงตา จิตใต้ส�ำนึกของเราตรวจจับ การเคลือ่ นไหวแม้เพียงนิดเดียวของกล้ามเนือ้ รอบดวงตาบนใบหน้าผูอ้ นื่ และใช้ขอ้ มูลนีต้ ดั สินว่าเขาก�ำลังรูส้ กึ อย่างไร และเราจะไว้ใจเขาได้ไหม (ซึง่ Chris Anderson

81

ขณะที่เราท�ำเช่นนั้น คนอื่นก็ท�ำเช่นเดียวกันกับเรา) นักวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า แค่คนสองคนนั่งจ้องกันและกัน ก็กระตุ้นให้เซลล์สมองกระจกเงา (mirror neuron) ท�ำงาน และท�ำให้ ต่างคนต่างเกิดสภาวะอารมณ์ตามอีกฝ่ายหนึง่ ถ้าผมยิม้ แย้มแจ่มใส ผมก็ จะท�ำให้คณ ุ ยิม้ อยูข่ า้ งใน แม้จะแค่นดิ ๆ แต่เป็นสิง่ เล็กน้อยทีม่ คี วามหมาย ถ้าผมประหม่า คุณจะรู้สึกประหม่านิดๆ ไปด้วย เรามองกันและกัน แล้ว จิตใจเราก็ประสานสอดคล้องกัน ปัจจัยหนึ่งที่บ่งชี้ว่าจิตใจเราจะประสานสอดคล้องกันได้มาก แค่ไหนคือ เราไว้วางใจกันในระดับสัญชาตญาณมากแค่ไหน แล้วเครือ่ งมือ ทีด่ ที สี่ ดุ ในการสร้างความไว้วางใจคืออะไรน่ะหรือ รอยยิม้ ไงครับ รอยยิม้ ที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง [คนเราสามารถตรวจจับรอยยิ้มที่ ไม่จริงใจได้และจะรู้สึกว่าถูกปั่นหัวทันที รอน กัตแมน (Ron Gutman) กล่าวปาฐกถา TED เรื่องพลังอันซ่อนเร้นของรอยยิ้ม เป็นปาฐกถา ที่คุ้มค่ากับเวลาเจ็ดนาทีครึ่งของคุณมากครับ] การสบตาและเสริมด้วยรอยยิม้ อบอุน่ เป็นครัง้ คราวคือเทคโนโลยี อั น น่ า ทึ่ ง ที่ ส ามารถเปลี่ ย นแปลงท่ า ที ที่ ค นฟั ง มี ต ่ อ ปาฐกถาได้ (แต่ น่าเสียดายทีบ่ างทีเทคโนโลยีนกี้ ถ็ กู บ่อนท�ำลายด้วยเทคโนโลยีอนื่ นัน่ คือ การจัดแสงบนเวที บางครัง้ การจัดแสงบนเวทีทำ� ให้ผพู้ ดู ตาพร่าเพราะแสง สปอตไลต์สว่างจ้าจนมองไม่เห็นผู้ฟัง คุยกับผู้จัดเรื่องนี้ก่อนถึงเวลาพูด นะครับ ถ้าคุณอยูบ่ นเวทีแล้วรูส้ กึ ว่าถูกตัดขาดจากผูฟ้ งั คุณอาจขอให้ผจู้ ดั เพิ่มไฟในหอประชุมให้สว่างขึ้นหรือลดไฟเวทีลงนิดหนึ่งก็ได้) ส�ำหรับ TED ค�ำแนะน�ำส�ำคัญอันดับแรกที่เราบอกผู้พูดในวันที่ เขาจะกล่าวปาฐกถาคือ สบตากับผู้ฟังอย่างสม�่ำเสมอ แสดงความอบอุ่น จริงใจ เป็นตัวเอง มันจะช่วยเปิดประตูให้เขาไว้วางใจคุณ ชอบคุณ และ เริ่มรู้สึกร่วมกับสิ่งที่คุณหลงใหล เมือ่ คุณเดินขึน้ มาบนเวที คุณควรคิดถึงเพียงสิง่ เดียว นัน่ คือความ ตื่นเต้นเมื่อคุณได้มีโอกาสเล่าสิ่งที่คุณหลงใหลให้คนที่นั่งอยู่ห่างออกไป 82

T ED Talks

ไม่กี่ฟุตฟัง ไม่ต้องรีบพูดประโยคเปิดของคุณ เดินไปสู่แสงไฟ เลือก ผู้ชมสองสามคน มองตาเขา ผงกศีรษะทักทาย แล้วส่งยิ้ม จากนั้นคุณก็ เริ่มต้นได้ เผยความเปราะบางของคุณออกมา หนึง่ ในวิธที ดี่ ที สี่ ดุ ในการปลดอาวุธของผูฟ้ งั คือ คุณต้องเผยความ เปราะบางของตัวเองก่อน ก็เหมือนกับคาวบอยผู้แข็งกร้าวเดินเข้าไปใน ร้านเหล้า โดยเปิดเสื้อโค้ตออกกว้างให้คนอื่นเห็นว่าเขาไม่มีอาวุธ ทุกคน จึงรู้สึกผ่อนคลายสบายใจ เบรเน บราวน์ กล่าวปาฐกถาทีย่ อดเยีย่ มเกีย่ วกับความเปราะบาง ไว้ในงาน TEDxHouston และเธอเริ่มต้นได้อย่างเหมาะเจาะ สองสามปีก่อน ผู้จัดงานประชุมคนหนึ่งโทรมาหาฉัน เพราะฉัน จะไปพูดที่งานนั้น เธอบอกว่า “ฉันคิดไม่ออกจริงๆ ว่าจะเขียน ถึงคุณในแผ่นพับว่าอย่างไร” ฉันฟังแล้วคิดว่า “มันยากยังไงเหรอ” จากนัน้ เธอก็พดู ต่อ “คืองี้ ฉันเคยเห็นคุณพูดแล้ว ฉันว่าจะเรียกคุณ ว่านักวิจัย แต่ฉันเกรงว่าถ้าเรียกคุณว่านักวิจัย คงไม่มีใครมางาน เพราะเขาจะคิดว่าคุณน่าเบื่อและพูดอะไรไร้สาระ”

แค่นี้คุณก็รักเธอแล้ว ด้วยตรรกะเดียวกัน ถ้าคุณรู้สึกประหม่า คุณอาจใช้มันให้เป็น ประโยชน์แทน ผู้ฟังรับรู้ได้ทันทีว่าคุณประหม่า แต่แทนที่เขาจะดูถูก เหยียดหยามคุณอย่างทีค่ ณ ุ กลัว ตรงกันข้าม ผูฟ้ งั จะเริม่ เอาใจช่วยคุณ เมือ่ พบผูพ้ ดู ทีด่ เู หมือนจะต้องเผชิญกับอาการประหม่า เรามักส่งเสริมให้พวกเขา เตรียมตัวให้พร้อมที่จะยอมรับมันหากจ�ำเป็น ถ้าคุณรู้สึกประหม่าจนพูด ไม่ออก ก็หยุดพักก่อนครับ … หยิบขวดน�ำ้ มาจิบสักนิด และกล่าวออกมาว่า คุณรูส้ กึ อย่างไร “รอเดีย๋ วนะครับ … คุณคงเห็นแล้วว่าผมประหม่านิดหน่อย Chris Anderson

83

เดี๋ยวก็จะกลับสู่ภาวะปกติครับ” โดยมากคุณมักจะได้รับเสียงปรบมือ อันอบอุ่น และผู้คนจะเอาใจช่วยให้คุณท�ำส�ำเร็จ ความเปราะบางนั้นทรงพลังเสมอไม่ว่า ณ ช่วงไหนของปาฐกถา หนึ่งในช่วงเวลาอันน่าทึ่งที่เราได้เห็นบนเวที TED เกิดขึ้นเมื่อประสาท ศัลยแพทย์และผู้เขียนหนังสือขายดี เชอร์วิน นูแลนด์ (Sherwin Nuland) เพิ่งทดลองการบ�ำบัดโดยกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้า ซึ่งต้องอาศัย ความสามารถล�้ำเลิศจนสมควรจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ นี่เป็นวิธีบ�ำบัด ที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังสมองของผู้ป่วยโดยตรงเพื่อรักษาโรคทางจิต ทีร่ นุ แรง เขารอบรูแ้ ละตลก ทัง้ ยังท�ำให้เรือ่ งนีด้ นู า่ สนใจมาก แม้จะน่ากลัว นิดๆ แต่แล้วอยู่ดีๆ เขาก็หยุด “รู้ไหมว่าท�ำไมผมถึงเล่าเรื่องนี้ให้คุณฟัง ทีง่ านประชุมแห่งนี”้ เขาบอกว่าเขาอยากเล่าอะไรบางอย่างทีเ่ ขาไม่เคยพูด หรือเขียนถึงที่ไหนมาก่อน ทั้งห้องเงียบจนถ้าเข็มหมุดตกคุณก็คงได้ยิน “เหตุผลก็เพราะ … ผมคือชายคนหนึง่ ทีเ่ มือ่ เกือบสามสิบปีทแี่ ล้ว เคยได้รับการช่วยชีวิตจากวิธีบ�ำบัดโดยกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้า อันยาวนานสองช่วง” นูแลนด์เล่าต่อโดยเปิดเผยประวัติที่ปิดบังไว้ว่า ตัวเขาเองเคยเป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง และอาการทรุดจนแพทย์วางแผน จะผ่าตัดเอาสมองบางส่วนของเขาออก แต่คณะแพทย์กท็ ดลองบ�ำบัดโดย กระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าเป็นทางออกสุดท้าย และในที่สุด หลังจาก รับการรักษา 20 ครั้ง มันก็ได้ผล เมื่อเขาเปิดเผยความเปราะบางที่ลึกล�้ำของตัวเองให้ผู้ฟังรับรู้ เขาจึงสามารถปิดท้ายปาฐกถาได้อย่างทรงพลังเหนือธรรมดา ผมรู้สึกมาตลอดว่าผมเป็นคนหลอกลวง เพราะผู้อ่านหนังสือ ของผมไม่รู้เรื่องที่ผมเพิ่งบอกคุณ ดังนั้นหากว่ากันตามตรง ซึ่ง อาจจะดูเห็นแก่ตัวหน่อย เหตุผลหนึ่งที่วันนี้ผมมาที่นี่เพื่อพูดเรื่อง ดังกล่าวก็เพราะต้องการปลดปล่อยตัวผมเอง และเปิดเผยให้ผู้คน รูว้ า่ คนทีเ่ ขียนหนังสือทัง้ หมดนีไ้ ม่ใช่คนจิตปกติ แต่ผมว่าสิง่ ส�ำคัญ กว่านัน้ คือความจริงทีว่ า่ คนส่วนใหญ่ในกลุม่ ผูฟ้ งั วันนีอ้ ายุนอ้ ยกว่า 84

T ED Talks

สามสิบปี และดูเหมือนว่าแทบทุกคนก�ำลังอยู่ ณ จุดสูงสุดของ อาชีพที่งดงามและน่าตื่นเต้น แต่อะไรก็เกิดขึ้นกับคุณได้ สิ่งต่างๆ เปลีย่ นแปลง อุบตั เิ หตุอาจเกิดขึน้ บางอย่างในวัยเด็กอาจย้อนกลับ มาหลอกหลอน คุณอาจถูกเหวี่ยงจนโซเซออกนอกเส้นทาง … ถ้า ผมหาทางกลับมาหลังผ่านเรื่องนี้ได้ เชื่อผมเถอะ ใครๆ ก็หาทาง กลับมาหลังเผชิญอุปสรรคอันยากล�ำบากทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ ได้ทงั้ นัน้ ส่วนคนที่อายุมากแล้ว ได้ใช้ชีวิตผ่านร้อนผ่านหนาว และอาจเคย สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับผมแล้วต้องเริ่มต้นใหม่หมด คุณ คงรูส้ กึ ว่าบางอย่างทีผ่ มพูดฟังดูคนุ้ เคยมากๆ นัน่ คือการฟืน้ ตัว การ ไถ่ถอน และการคืนชีพ

นี่เป็นปาฐกถาที่ทุกคนควรชม เชอร์วิน นูแลนด์ เสียชีวิตไปเมื่อ ปี 2014 แต่ความเปราะบางของเขาและแรงบันดาลใจที่เกิดจากความ เปราะบางนั้นยังยืนยงต่อไป ความเต็ ม ใจที่ จ ะแสดงความเปราะบางคื อ หนึ่ ง ในเครื่ อ งมื อ อันทรงพลังทีส่ ดุ ทีผ่ พู้ ดู น�ำมาใช้ได้ แต่กเ็ หมือนกับสิง่ ใดๆ ก็ตามทีท่ รงพลัง นั่นละครับ คุณต้องใช้มันด้วยความระมัดระวัง เบรเน บราวน์เห็นว่า ผู้พูดหลายคนตีความค�ำแนะน�ำของเธอผิดไป เธอบอกผมว่า “เรื่ อ ง ส่วนตัวทีเ่ ล่าตามสูตรส�ำเร็จหรือบรรจงประดิษฐ์ขนึ้ มาจะท�ำให้ผฟู้ งั รูส้ กึ ว่า ถูกควบคุมบงการ จึงมักรูส้ กึ เป็นอริกบั คุณและสารทีค่ ณ ุ สือ่ ความเปราะบาง ไม่ใช่การเปิดเผยมากเกินไป มันมีสมการง่ายๆ อยู่ว่า ความเปราะบาง ที่ลบขอบเขตออกไปนั้นไม่ใช่ความเปราะบาง มันอาจกลายเป็นอะไรก็ได้ ตั้งแต่ความพยายามใช้ทางลัดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ไปจนถึงเรียกร้อง ความสนใจ แต่มันไม่ใช่การเปิดเผยความเปราะบาง และไม่น�ำไปสู่ความ รู้สึกเชื่อมโยงสัมพันธ์แต่อย่างใด ทางที่ดีที่สุดที่ฉันค้นพบในการแยกแยะ เรื่องนี้ให้ชัดเจนคือ เราต้องตรวจสอบเจตนาของตัวเองอย่างจริงจังว่า เราเล่าเรื่องนั้นเพื่อเสริมสิ่งที่เราพูดบนเวที หรือเพื่อแก้ปมอะไรบางอย่าง ให้ตัวเอง อย่างแรกจะท�ำให้การพูดนั้นทรงพลัง แต่อย่างหลังจะท�ำลาย Chris Anderson

85

ความเชื่อมั่นที่คนอื่นมีต่อตัวเรา” บราวน์แนะน�ำโดยเน้นย�ำ้ ว่าคุณ ไม่ควร เล่าเรือ่ งส่วนตัวทีค่ ณ ุ เอง ยังจัดการไม่เรียบร้อย “เราจ�ำเป็นต้องจัดการเรื่องของเราให้ได้ก่อนที่จะมอบมันเป็น ของขวัญให้คนอืน่ เรือ่ งราวเรือ่ งหนึง่ จะพร้อมให้แบ่งปันก็ตอ่ เมือ่ ผูน้ ำ� เสนอ เยียวยาตนเองและเติบโตได้โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับปฏิกิริยาตอบสนองที่จะ ได้รับจากผู้ฟังแล้ว” ความเปราะบางที่จริงใจนั้นมีพลัง แต่การเปิดเผยมากเกินไปนั้น เป็นคนละเรือ่ งกัน ถ้าคุณไม่แน่ใจ ลองพูดให้เพือ่ นสักคนทีจ่ ริงใจและตรงไป ตรงมาฟังดูนะครับ ท�ำให้เขาหัวร่อ แต่ไม่ต้องถึงกับงอหาย! การจดจ่ออยู่กับปาฐกถาอาจเป็นงานหนัก อารมณ์ขันเป็นวิธีอัน ยอดเยี่ยมที่จะพาผู้ฟังร่วมทางไปกับคุณ ถ้าโซฟี สก็อตต์พูดถูก ส่วนหนึ่ง ในจุดมุ่งหมายทางวิวัฒนาการของการหัวเราะคือเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ ทางสังคม เมื่อคุณร่วมหัวเราะกับผู้อื่น ทั้งคู่จะรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มันจึงเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ที่วิเศษมาก อันทีจ่ ริง ส�ำหรับผูพ้ ดู ทีย่ อดเยีย่ มหลายคน อารมณ์ขนั ได้กลายเป็น อาวุธสุดพิเศษ ปาฐกถาของเซอร์เคน โรบินสัน เกีย่ วกับความล้มเหลวของ โรงเรียนในการบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ เป็นปาฐกถาที่เขากล่าวใน วันสุดท้ายของการประชุม ซึ่ง ณ ปี 2015 มีผู้ชมไปแล้ว 35 ล้านครั้ง บนเว็บไซต์ของ TED เขาเริม่ ต้นแบบนีค้ รับ “งานด�ำเนินมาอย่างยอดเยีย่ ม มากเลยใช่ไหมครับ ผมทึง่ จนนัง่ ไม่ตดิ เลย แต่ทจี่ ริงผมก็กำ� ลังจะลุกออกไป อยู่แล้วละครับ” ผู้ฟังหัวเราะคิกคักไม่หยุด ตั้งแต่วินาทีนั้น เขาก็ได้ใจเรา ไปแล้ว อารมณ์ขันก�ำจัดปัจจัยหลักๆ ที่ท�ำให้เราต่อต้านการฟังปาฐกถา ออกไป เมือ่ คุณมอบของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ในรูปเสียงหัวเราะตัง้ แต่เริม่ ต้น 86

T ED Talks

คุณก�ำลังบอกผู้ฟังเป็นนัยๆ ว่า … มาร่วมเดินทางกันเถอะ เพื่อนรัก มัน ต้องสนุกแน่ๆ ผู้ฟังที่หัวเราะไปกับคุณจะชอบคุณอย่างรวดเร็ว และถ้าคนชอบ คุณ เขาจะพร้อมฟังสิ่งที่คุณพูดอย่างจริงจัง เสียงหัวเราะพัดพาปราการ ของผู้ฟังให้พังทลาย และทันใดนั้นคุณก็จะมีโอกาสสื่อสารกับพวกเขา ได้อย่างแท้จริง ยังมีประโยชน์ที่ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งของเสียงหัวเราะตั้งแต่เริ่ม ปาฐกถา มันเป็นสัญญาณอันทรงพลังที่บอกว่าคุณกับผู้ฟังเชื่อมต่อกัน ติดแล้ว โมนิกา ลูวินสกี บอกผมว่า ตอนเธอกล่าวปาฐกถา TED ช่วง เวลาที่ความหวั่นวิตกหายไปคือตอนที่ผู้ฟังระเบิดเสียงหัวเราะออกมา และนอกจากมันจะเป็นสัญญาณบอกผูพ้ ดู มันยังเป็นสัญญาณบอกทุกคน ในห้องด้วยเช่นกัน เสียงหัวเราะบอกเราว่า พวกเราทั้งกลุ่มได้สร้าง สายสัมพันธ์กับผู้พูดแล้ว ต่อจากนั้นทุกคนจึงใส่ใจผู้พูดมากขึ้น เป็นเรื่องน่าสนใจที่สุดยอดผู้พูดบางคนใช้เวลาส่วนมากของ ปาฐกถาไปกับการสร้างความสัมพันธ์นี้ ในกรณีของเซอร์เคนที่กล่าวไป ข้างต้น เกือบตลอด 11 นาทีแรกของปาฐกถาคือบรรดาเรื่องราวสุดฮา เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งแม้ไม่ได้ช่วยเดินเรื่องไปสู่ความคิดหลักของเขา มากนัก แต่มันสร้างสายสัมพันธ์สุดพิเศษกับผู้ฟัง เราคิดในใจว่า โห สนุก มากเลย ฉันไม่เคยคิดมาก่อนว่าการศึกษาจะเป็นหัวข้อทีด่ งึ ดูดความสนใจ ได้ขนาดนี้ คุณเป็นคนที่น่าสนใจมาก … ฉันยอมไปกับคุณได้ทุกที่ เมื่อ เขาเริ่มพูดอย่างจริงจังและเข้าประเด็นหลักเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ที่สูญหายไปในโรงเรียน เราก็ตั้งใจฟังเขาทุกถ้อยค�ำ ท� ำ นองเดี ย วกั น ในปาฐกถาที่ มี ม นตร์ ส ะกดของไบรอั น สตีเวนสัน เกี่ยวกับความอยุติธรรม เขาเริ่มต้นโดยใช้หนึ่งในสี่ของเวลา ที่เขามีเพื่อเล่าว่าคุณยายของเขาโน้มน้าวให้เขาไม่ด่ืมเหล้าได้อย่างไร เรือ่ งราวจบลงแบบตลกสุดๆ และทันใดนัน้ เราก็รสู้ กึ ว่าได้เชือ่ มสายสัมพันธ์ กับผู้ชายคนนี้อย่างลึกซึ้ง Chris Anderson

87

ข้อควรระวังคือ การใช้เวลามากขนาดนั้นเล่าเรื่องตลกให้ได้ ผลส�ำเร็จดีเยี่ยมเช่นนี้นับเป็นพรสวรรค์พิเศษ ซึ่งผมไม่ได้จะแนะน�ำ ให้พวกเราส่วนใหญ่ท�ำตามนะครับ แต่ถ้าคุณสามารถหาเรื่องราวสั้นๆ สักเรือ่ งทีท่ ำ� ให้คนยิม้ ได้ มันอาจช่วยปลดล็อกและท�ำให้การพูดช่วงทีเ่ หลือ ทั้งหมดของคุณไหลลื่น นักเขียนการ์ตูนวิทยาศาสตร์อย่างร็อบ รีด (Rob Reid) น�ำเสนอ อารมณ์ขันที่แตกต่างออกไป นั่นคืออารมณ์ขันเชิงเสียดสี น�้ำเสียงตลอด การพูดของเขานั้นฟังดูจริงจัง เขาอ้างว่าเขาก�ำลังน�ำเสนอการวิเคราะห์ อันสุขุมลุ่มลึกเกี่ยวกับ “คณิตศาสตร์ของลิขสิทธิ์” แต่พอผ่านไปสักหนึ่ง นาที ผู้ฟังก็เริ่มตระหนักว่าจริงๆ เขาก�ำลังล้อเลียนความไม่สมเหตุสมผล ของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ประเมินว่า การดาวน์โหลดเพลงโดยผิดกฎหมาย แต่ละครั้งเทียบเท่ากับการขโมยเงิน 150,000 ดอลลาร์ เริ่มมีเสียงหัวเราะ คิกคัก และลุกลามกลายเป็นหัวเราะก๊ากอย่างรวดเร็ว แน่นอนครับ วิธแี บบนีใ้ ช่วา่ จะได้ผลเสมอไป สองสามปีกอ่ น เห็น ได้ชัดว่าผู้พูดคนหนึ่งที่ TED คิดว่าเขาก�ำลังท�ำให้คนข�ำขณะเล่าเรื่อง ภรรยาเก่า ซึ่งท�ำให้ผู้ฟังกระอักกระอ่วนใจมากขึ้นทุกที อาจจะมีเพื่อน ของเขาสองสามคนทีห่ วั เราะหึๆ อยูท่ า่ มกลางผูฟ้ งั แต่พวกเราทีเ่ หลือรูส้ กึ ตะขิดตะขวงใจ หรืออีกเหตุการณ์ทผี่ พู้ ดู คนหนึง่ พยายามออกเสียงประโยค ทุกประโยคที่เขาอ้างมาจากผู้อื่น ด้วยส�ำเนียงที่เขาจินตนาการว่าเป็น ส�ำเนียงของผูเ้ ขียนเจ้าของประโยคนัน้ ครอบครัวเขาคงคิดว่าพฤติกรรมนี้ น่าเอ็นดู แต่บนเวทีสาธารณะ มันช่างน่าอับอาย (ผมแนะน�ำอย่างยิ่ง ให้หลีกเลี่ยงที่จะพูดด้วยส�ำเนียงอื่นใดซึ่งไม่ใช่ส�ำเนียงของคุณ เว้นแต่ว่า คุณจะมีพรสวรรค์ในการเลียนส�ำเนียงสุดๆ เท่านั้น) สามสิบปีกอ่ น ปาฐกถาของผูพ้ ดู ทัง้ หลายมักอัดแน่นด้วยเรือ่ งตลก เกี่ยวกับเพศ เชื้อชาติ และความพิการ อย่าใช้แนวทางนั้นครับ! โลกเรา เปลี่ยนไปแล้ว อารมณ์ขันเป็นศิลปะที่อาศัยทักษะสูง ซึ่งใช่ว่าทุกคนจะท�ำได้ 88

T ED Talks

อารมณ์ขนั ทีไ่ ม่ได้ผลนัน้ แย่ยงิ่ กว่าไม่มอี ารมณ์ขนั เสียอีก การเล่าเรือ่ งตลก ที่คุณดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตอาจท�ำให้เกิดผลเสียแทนที่จะเป็น ผลดี อันที่จริงเรื่องตลกที่ปั้นแต่งขึ้นมานั้นดูเฝือ เปิ่น และไร้ชั้นเชิงในตัว มั น เอง สิ่ ง ที่ คุ ณ ควรมองหาและน� ำ มาใช้ แ ทนคื อ เรื่ อ งจริ ง ที่ ต ลกและ เกี่ยวข้องกับหัวข้อของคุณ หรือเป็นการใช้ภาษาที่ชวนข�ำและน่ารัก บุคคลที่ตลกที่สุดในทีมของเราคือทอม ไรล์ลี ซึ่งเป็นผู้จัดการ โครงการ TED Fellows และตลอดหลายปีที่ผ่านมายังรับหน้าที่กล่าว บทสรุปปิดท้ายการประชุม โดยล้อเลียนผู้พูดทุกคนด้วยอารมณ์ขันแบบ จิกกัด นี่คือค�ำแนะน�ำของเขาครับ 1. เล่ า เรื่ อ งคั ด สรรที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ หั ว ข้ อ ของคุ ณ และตลกโดย ธรรมชาติ อารมณ์ ขั น ที่ ดี ที่ สุ ด มี พื้ น ฐานมาจากการสั ง เกต สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณ แล้วขยายความให้เกินจริงหรือน�ำมา ผสมผสานกัน 2. เตรียมค�ำพูดตลกๆ ให้พร้อมส�ำหรับกรณีที่คุณพูดผิด มีเหตุ ผิดพลาดเรื่องเสียงหรือภาพ หรือปุ่มคลิกสไลด์ไม่ท�ำงาน ผู้ฟัง เคยอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น และพวกเขาจะเห็นใจคุณทันที 3. ใส่อารมณ์ขันเข้าไปในภาพประกอบ คุณอาจสร้างอารมณ์ขัน โดยให้สงิ่ ทีค่ ณ ุ พูดตรงกันข้ามกับภาพทีค่ ณ ุ ฉาย วิธนี มี้ โี อกาสสูง ที่จะสร้างเสียงหัวเราะ 4. ใช้ถ้อยค�ำเสียดสี พูดสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่คุณต้องการสื่อ จากนั้นเผยเจตนาที่แท้จริง แต่วิธีนี้อาจจะใช้ให้พอเหมาะพอดี ได้ยากหน่อยนะครับ 5. จังหวะส�ำคัญมาก ถ้ามีชว่ งเวลาทีค่ นหัวเราะ คุณต้องเปิดโอกาส ให้เขาหัวเราะ คุณต้องกล้าหาญพอที่จะทิ้งช่วงสักครู่ โดยไม่ทำ� ให้คนรูส้ กึ ว่าคุณก�ำลังร้องขอเสียงปรบมือ 6. โปรดจ�ำให้ขนึ้ ใจ ถ้าคุณไม่ใช่คนตลก อย่าพยายามท�ำตลก ทดลอง Chris Anderson

89

เล่าเรื่องข�ำขันให้คนในครอบครัว เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานฟัง พวกเขาหัวเราะหรือเปล่า ถ้าไม่ ลองเปลี่ยนเรื่องหรือตัดมันทิ้ง ไปเถอะครับ ก็ตาม)

ต่อไปนีค้ อื วิธที อี่ นั ตราย (แม้จะเป็นคนทีม่ พี รสวรรค์ดา้ นอารมณ์ขนั

1. ค�ำพูดลามกและภาษาหยาบคาย อย่าใช้นะครับ คุณไม่ได้ มาเล่นตลกคาเฟ่รอบดึก 2. กลอนหรือบทกวีที่ดูเหมือนจะตลก 3. มุกตลกที่พยายามเล่นค�ำพ้องความหมาย 4. การประชดประชัน 5. ลากยาวเกินไป 6. ความพยายามใดๆ ที่ จ ะสร้ า งอารมณ์ ขั น เกี่ ย วกั บ ศาสนา เชื้อชาติ อัตลักษณ์ทางเพศ การเมือง คุณอาจจะเล่นได้ถ้าคุณ เป็นสมาชิกของชุมชนหรือกลุ่มเหล่านี้ แต่ถ้าคุณเป็นคนนอก ห้ามเด็ดขาดครับ ทุกวิธีที่ว่ามาอาจได้ผลในสถานการณ์ที่เหมาะสม แต่ก็สุ่มเสี่ยง ทีจ่ ะเจ๊งไม่เป็นท่าหรือท�ำให้คนไม่พอใจเช่นกัน ถ้าผูฟ้ งั รูส้ กึ อย่างใดอย่างหนึง่ แล้วละก็ ยากที่จะดึงเขากลับมาครับ หากคุณมีแผนว่าจะพูดในที่สาธารณะบ่อยๆ เป็นเรื่องดีที่จะลอง หาอารมณ์ขันที่ได้ผลและเป็นเอกลักษณ์ประจ�ำตัวของคุณเอง แต่ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องหวั่นวิตกครับ อารมณ์ขันไม่ได้เหมาะกับทุกคน ยังมีอีกหลายวิธี ในการสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น

90

T ED Talks

เก็บอัตตาของคุณไว้ คุณอยากไว้วางใจคนที่คิดถึงแต่ตัวเขาเองไหมครับ ไม่มีอะไร ท�ำลายโอกาสประสบความส�ำเร็จของปาฐกถาได้มากกว่าความรู้สึก ว่าผู้พูดเป็นคนคุยโวโอ้อวด และถ้าความรู้สึกนี้เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเริ่ม … ระวังให้ดีเลยนะครับ ผมจ�ำปาฐกถา TED เรือ่ งหนึง่ เมือ่ หลายปีทแี่ ล้วได้แม่นเลย ผูพ้ ดู เริ่มต้นว่า “ก่อนที่ผมจะกลายเป็นแบรนด์ที่มีชีวิต…” นัน่ ละ ตรงนัน้ เลย คุณรู้ทันทีว่ามันคงจบไม่สวย ผู้พูดก�ำลังติดลมบนหลังจากเพิ่งประสบ ความส�ำเร็จเชิงพาณิชย์ครั้งใหญ่ นั่นเป็นครั้งเดียวในงาน TED ที่ผม จ�ำได้ว่าปาฐกถาถูกขัดจังหวะด้วยเสียงโห่ เสียงโห่เลยนะครับ! ต่อให้คุณ เป็นอัจฉริยะตัวจริง เป็นนักกีฬาที่สง่างามจนไม่อาจละสายตา หรือเป็น ผูน้ ำ� ทีไ่ ม่เกรงกลัวสิง่ ใด ไม่ตอ้ งพูดออกมาครับ ให้ผฟู้ งั ค้นพบเองจะดีทสี่ ดุ ซัลมาน คาห์น ผู้พูดคนหนึ่งของ TED กล่าวไว้อย่างงดงามว่า จงเป็นตัวของตัวเอง ปาฐกถาทีแ่ ย่ทสี่ ดุ เกิดขึน้ เมือ่ ใครบางคนอยาก เป็นใครอีกคนทีไ่ ม่ใช่เขา ถ้าโดยปกติคณ ุ เป็นคนบ๊องๆ ก็ทำ� ตัวบ๊อง ไปอย่างนั้น ถ้าคุณอารมณ์อ่อนไหวง่ายก็จงแสดงอารมณ์อ่อนไหว อย่างเดียวทีเ่ ป็นข้อยกเว้นคือ ถ้าคุณเป็นคนหยิง่ ยโสอวดดีและเอา ตัวเองเป็นศูนย์กลาง กรณีนคี้ ณ ุ สมควรแสร้งท�ำเป็นคนอืน่ อย่างยิง่

ผู้พูดบางคนใช้อารมณ์ขันเพื่อจงใจท�ำลายอัตตาของตัวเอง แดน พิงก์ (Dan Pink) คือผู้พูดที่ประสบความส�ำเร็จมากคนหนึ่ง ปาฐกถาเกี่ยวกับแรงจูงใจของเขามียอดผู้ชม 10 ล้านครั้งและยังเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ เขาก้าวขึ้นบนเวที ดูออกจะมั่นใจในตัวเองมากไปหน่อย และเริ่ม พูดด้วยเสียงทีด่ งั เกินไปนิด แต่หลังจากไม่กปี่ ระโยคแรก เขาก็เอาเราทุกคน เสียอยู่หมัด นี่คือสิ่งที่เขาพูด Chris Anderson

91

ผมต้องขอสารภาพก่อนเลยนะครับว่า เมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ผมท�ำอะไรบางอย่างทีผ่ มต้องมานัง่ เสียใจภายหลัง มันเป็นสิง่ ทีผ่ ม ไม่ภาคภูมิใจเลย และผมหวังว่าจะไม่มีใครรู้ แต่ ณ จุดนี้ ผมรู้สึก ว่าผมจ�ำเป็นต้องสารภาพ ปลายทศวรรษ 1980 ในห้วงความคิด ชั่วแล่นของวัยคะนอง ผมไปเรียนปริญญาด้านกฎหมาย

เฉียบคมจริงๆ ทีนี้เราก็ชอบเขาแล้ว การล้อเลียนตัวเองที่ท�ำอย่างเหมาะสมนั้นมีเสน่ห์น่าประทับใจ โทนี แบลร์ (Tony Blair) เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เขามักใช้วิธีล้อเลียน ตัวเองเพื่อเอาชนะใจผู้ฟังที่มีท่าทีเป็นอริกับเขา มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนที่ เขายังไม่ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เขาเริ่มเล่าเรื่องหนึ่ง ซึ่งเขาออกตัวและขอโทษขอโพยล่วงหน้าว่ามันอาจท�ำให้ผู้คนกังวล ว่าเขามีคุณสมบัติเพียงพอที่จะปกครองประเทศหรือเปล่า เขาเล่าถึง ตอนไปเยือนประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งขณะรับประทานอาหารค�่ำกับ บุคคลส�ำคัญของประเทศ เขาได้พบกับสุภาพสตรีแต่งตัวดีวัยประมาณ ห้าสิบกว่าปี เธอถามว่าเขาเป็นใคร “โทนี แบลร์ครับ” “แล้วคุณท�ำงานอะไร” “ผมเป็นผูน้ ำ� พรรคแรงงานของอังกฤษครับ” แล้วเขาก็ถามกลับว่าเธอเป็น ใคร “เบียทริกซ์” “แล้วคุณท�ำงานอะไรครับ” [เงียบอย่างกระอักกระอ่วน] “ฉันเป็นราชินี” ถ้าเป็นผู้พูดคนอื่นคงอวดอ้างว่าเขาได้ร่วมโต๊ะเสวย พระกระยาหารค�่ำกับสมเด็จพระราชินีของเนเธอร์แลนด์ และผู้ฟังก็คง หมดความสนใจไปตัง้ แต่ยงั ไม่ได้เริม่ แต่ดว้ ยเรือ่ งเล่าดูแคลนตนเองเช่นนี้ ท�ำให้แบลร์ได้รับเสียงหัวเราะ ความรักใคร่เอ็นดู และความไว้วางใจ อัตตานั้นแสดงตัวออกมาในหลายรูปแบบ ซึ่งผู้พูดที่คุ้นเคยกับ การเป็นศูนย์กลางของความสนใจอาจมองไม่เห็น เช่น • การอวดอ้างชื่อคนดัง • เรื่องราวทีด่ ูเหมือนแต่งขึ้นเพื่อโอ้อวด • การคุยโม้ถงึ ความส�ำเร็จของคุณหรือของบริษัทคุณ 92

T ED Talks

• การพูดแต่เรื่องของตัวเองแทนที่จะพูดถึงความคิดที่คนอื่น น�ำไปใช้ประโยชน์ได้ ผมบอกคุณได้เลยว่าให้กลับไปสู่พื้นฐาน และจ�ำไว้ว่าเป้าหมาย ของปาฐกถาคือ ให้ของขวัญในรูปของความคิด ไม่ใช่มาโฆษณาส่งเสริม ตนเอง แต่ถงึ กระนัน้ คุณก็อาจท�ำพลาดได้ มันยากทีจ่ ะมองเห็นพฤติกรรม เหล่ า นี้ จ ากภายใน ผู ้ น� ำ ทุ ก คนต้ อ งการใครสั ก คนที่ จ ะให้ ค วามเห็ น สะท้อนกลับอย่างตรงไปตรงมาและไม่ปั้นแต่ง ใครสักคนที่ไม่กลัวว่าจะ ท�ำให้ผู้อื่นโกรธหรือไม่พอใจหากถึงคราวจ�ำเป็น ถ้าคุณรู้สึกภาคภูมิใจกับ ความส�ำเร็จล่าสุดของคุณ สมควรอย่างยิง่ ทีค่ ณ ุ จะลองกล่าวปาฐกถาให้คน ทีค่ ณ ุ ไว้วางใจฟัง และเปิดโอกาสให้เขาได้บอกว่า “ทีพ่ ดู มานัน่ ก็เจ๋งหลายส่วน เลยละ แต่เอาจริงๆ นะ ดูเหมือนนายจะพูดถึงแต่ตัวเองมากไปหน่อย!” เล่าเรื่อง เรื่องเล่า การเล่าเรือ่ งนัน้ ส�ำคัญมาก ฉะนัน้ บทถัดไปทัง้ บทจะอุทศิ ให้เรือ่ งนี้ แต่หนึง่ ในหน้าทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ของการเล่าเรือ่ งก็คอื คุณต้องสร้างสายสัมพันธ์ กับผู้ฟัง เรามีความรักเรือ่ งเล่าอยูใ่ นสายเลือด มันเป็นตัวสร้างความสนใจ ความเข้าอกเข้าใจ อารมณ์ และความรูส้ กึ ทึง่ ได้ในทันที เรือ่ งเล่าช่วยเสริม บริบทของเรื่องที่พูดได้อย่างยอดเยี่ยม และท�ำให้ผู้คนใส่ใจในหัวข้อนั้นๆ เรื่องเล่าที่มีพลังอาจปรากฏในช่วงไหนของการพูดก็ได้ มันเป็น วิธีเปิดเรื่องที่ยอดเยี่ยม เป็นวิธียอดเยี่ยมที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนใน ช่วงกลางของการพูด และแม้จะไม่เห็นบ่อยนัก แต่บางครั้งก็ยังเป็นวิธี ปิดท้ายที่ยอดเยี่ยมด้วยเช่นกัน แอร์เนสโต ซีโรลลี (Ernesto Sirolli) อยากกล่าวปาฐกถาเกีย่ วกับ แนวทางที่ดีกว่าเพื่อช่วยพัฒนาประเทศแถบแอฟริกา ถ้าคุณต้องพูดเรือ่ ง Chris Anderson

93

หนักๆ แบบนี้ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ฟังเสียก่อนเป็นความคิด ที่ดีมาก เขาท�ำอย่างนี้ครับ โครงการแรกของเรา … คือโครงการที่เราชาวอิตาลีตัดสินใจว่า จะสอนชาวแซมเบียให้ปลูกพืชเป็นอาหาร เราน�ำเมล็ดพันธุ์ของ อิตาลีไปยังตอนใต้ของประเทศแซมเบีย ในหุบเขาแสนงดงาม ที่ทอดตัวลงสู่แม่น�้ำแซมเบซี เราสอนคนพื้นถิ่นให้ปลูกมะเขือเทศ และซูกนิ สี ายพันธุอ์ ติ าลี แน่นอนว่าชาวบ้านไม่สนใจเรือ่ งเหล่านีเ้ ลย สักนิดเดียว … เราประหลาดใจมากว่าท�ำไมชาวบ้านในหุบเขา ที่อุดมสมบูรณ์เหล่านี้จึงไม่ท�ำการเกษตรใดๆ เลย แต่แทนที่จะ ถามเขาว่าท�ำไมถึงไม่ปลูกอะไรเลย เราแค่พูดว่า “ขอบคุณพระเจ้า ที่เรามาที่นี่ ทันเวลาที่จะช่วยชีวิตชาวแซมเบียจากความอดอยาก ยากแค้น” และแน่นอน ทุกอย่างในแอฟริกาเติบโตอย่างสวยงาม เรามีมะเขือเทศทีแ่ สนอวบอิม่ เหล่านี ้ … ไม่นา่ เชือ่ เลยจริงๆ แล้วเรา ก็เฝ้าบอกชาวแซมเบียว่า “ดูสิว่าเกษตรกรรมนั้นง่ายขนาดไหน” เมื่อมะเขือเทศสุกแดงสด ฮิปโปสองร้อยกว่าตัวก็ขึ้นมาจากแม่น�้ำ และกินทุกสิ่งทุกอย่างในชั่วข้ามคืน เราพูดกับชาวแซมเบียว่า “โอ้ พระเจ้า ฝูงฮิปโป!” และชาวแซมเบียก็ตอบว่า “ใช่สิ นั่นแหละ เหตุผลว่าท�ำไมเราไม่ท�ำเกษตรกรรมกันที่นี่”

เมื่อคุณสามารถดึงเอาอารมณ์ขัน การล้อเลียนตนเอง และ ความเข้าใจอันลึกซึง้ มารวมไว้ในเรือ่ งเดียว ค�ำกล่าวเปิดเรือ่ งของคุณก็จะ ชนะใจคน เรื่ อ งราวที่ ส ร้ า งสายสั ม พั น ธ์ ไ ด้ ดี ที่ สุ ด คื อ เรื่ อ งเล่ า เกี่ ย วกั บ ตัวคุณเองหรือคนใกล้ชิด เรื่องเล่าเกี่ยวกับความล้มเหลว ความเปิ่น โชคร้าย ภยันตราย หรือภัยพิบตั ิ ช่วงเวลาทีค่ ณ ุ เล่าเรือ่ งเหล่านีอ้ ย่างจริงใจ ตรงไปตรงมามั ก เป็ น ช่ ว งเวลาที่ ผู ้ ฟ ั ง เปลี่ ย นจากความสนใจผิ ว เผิ น ไปสู่ความสนใจอย่างลึกซึ้ง ผู้ฟังจะเริ่มเกิดอารมณ์ร่วมกับคุณ ใส่ใจคุณ 94

T ED Talks

มากขึ้น และเริ่มชอบคุณ แต่ระวังนะครับ บางเรื่องพอเล่าแล้วกลับฟังเหมือนโอ้อวดหรือ จงใจควบคุมอารมณ์ของผู้ฟัง หากคุณอธิบายวิธีการอันน่าทึ่งที่คุณใช้ เปลี่ยนปัญหาให้กลายเป็นความส�ำเร็จอันน่าตื่นเต้น ซึ่งทั้งหมดที่เล่ามา ไม่ได้ช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคุณกับผู้ฟัง คุณก็อาจท�ำให้ผู้ฟังหมด อารมณ์ไปแทน เมื่อคุณดึงรูปถ่ายลูกชายคนโตออกมาจากกระเป๋าเสื้อ แจ็กเกตตอนใกล้จบปาฐกถา ประกาศว่าเขาป่วยระยะสุดท้าย และบอกว่า ปาฐกถานี้ขออุทิศให้เขา คุณอาจท�ำให้ผู้ฟังรู้สึกอึดอัดมากกว่าเห็นอก เห็นใจ แนวทางที่ควรปฏิบัติคือ ขอแค่คุณแสดงตัวตนที่จริงแท้ออกมา คนที่ ก� ำ ลั ง เล่ า เรื่ อ งนี้ คื อ ตั ว จริ ง ของคุ ณ หรื อ เปล่ า วิ ธี ท ดสอบที่ ดี คื อ จินตนาการว่าคุณจะเล่าเรื่องนี้ให้กลุ่มเพื่อนเก่าของคุณฟังไหม และ ถ้าเล่าจะเล่าอย่างไร เพื่อนเป็นเครื่องตรวจจับความไม่จริงใจได้อย่าง แม่นย�ำ เช่นเดียวกับผู้ฟัง ขอให้คุณเป็นตัวเองอย่างแท้จริง แล้วคุณจะไม่ ท�ำผิดพลาดร้ายแรง ค�ำแนะน�ำดังกล่าวใช้ได้กับเครื่องมือทุกอย่างในบทนี้ที่ว่าด้วย การสร้างความสัมพันธ์ บางครัง้ ผมเรียกค�ำแนะน�ำพวกนีว้ า่ เครือ่ งมือหรือ เทคนิค แต่สงิ่ ส�ำคัญคือคุณต้องไม่นำ� เสนอมันออกมาให้คนรูส้ กึ ว่ามันเป็น เครือ่ งมือหรือเทคนิค แต่ควรจะเป็นส่วนหนึง่ ของความปรารถนาอันแท้จริง ทีอ่ ยากสร้างสายสัมพันธ์ คุณเป็นมนุษย์ ผูฟ้ งั ของคุณก็เป็นมนุษย์ จงคิดว่า เขาเป็นเพื่อนคุณ แล้วสื่อสารกับเขาแบบนั้น อา… การเมือง ผมไม่อาจจบบทนี้ได้โดยไม่บ่นถึงตัวฆ่าความสัมพันธ์ที่ร้าย ทีส่ ุด นัน่ คือความคิดแบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่วา่ จะเป็นการเมือง ศาสนา หรือ เชือ้ ชาติ หากพูดแบบนุ่มนวลที่สุด เราเรียกคนที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน Chris Anderson

95

ผู้ปฏิเสธเหมารวมไปหมดทุกแนวคิดที่คุณต้องการอธิบายว่า ผู้ฟังที่ ท้าทาย ตั ว อย่ า งข้ า งต้ น ที่ ผ มเล่ า ถึ ง โทนี แบลร์ ท� ำ ให้ คุ ณ โกรธผม หรือเปล่าครับ หลังจากอยู่ในอ�ำนาจหลายปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าที สนับสนุนสงครามในอิรักอาจท�ำให้บางคนเกลียดเขามาก ถึงขั้นที่แค่เอ่ย ชื่อเขาความเครียดก็พุ่งขึ้นแล้ว คนเหล่านี้จะมองว่าตัวอย่างข้างต้นนั้น เลือกได้ห่วยมาก และมองข้ามประโยชน์ที่มันต้องการอธิบายไปเลย การเมืองเป็นเหตุของปัญหานี้ เช่นเดียวกับศาสนา คนเรายึดถือ มุมมองบางแง่อย่างฝังรากลึกเสียจนหากผู้พูดมีท่าทีคุกคามมุมมองนั้น พวกเขาจะเปลี่ยนโหมด แทนที่จะฟังก็กลายเป็นไม่รับฟังและคับแค้น นี่เป็นปัญหาใหญ่มาก หนึ่งในการพูดในที่สาธารณะที่ก่อให้เกิด ผลกระทบตามมามากทีส่ ดุ ในยุคปัจจุบนั คือปาฐกถาของอัล กอร์ (Al Gore) ทีเ่ ริม่ น�ำเสนอในปี 2005 และน�ำไปสร้างเป็นสารคดีเรือ่ ง An Inconvenient Truth ซึ่งป่าวประกาศเรื่องวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก เขาใช้เทคนิคการพูดทุกอย่างที่คุณจะจินตนาการได้อย่างทรงพลัง ทั้ง ภาพประกอบที่น่าเชื่อถือ ตรรกะที่รัดกุม ถ้อยค�ำที่สวยงาม อารมณ์ขัน การสนับสนุนแนวคิดอย่างทุ่มเทสุดใจ การล้อเลียนมุมมองตรงกันข้ามให้ เสียความน่าเชื่อถือ และแม้แต่เรื่องราวส่วนตัวที่สะเทือนอารมณ์เกีย่ วกับ ลูกสาวของเขา เมือ่ เขาบรรยายในวาระพิเศษทีไ่ ม่มกี ารบันทึกเทปของ TED มันส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ฟังหลายคนมาก บางคนถึงกับลาออกจาก งานที่ท�ำอยู่ เพื่อท�ำงานเรื่องสภาพบรรยากาศของโลกแบบเต็มเวลา แต่มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคืออัล กอร์ เป็นนักการเมืองใน ประเทศที่แบ่งข้างกันอย่างชัดเจน สัญชาตญาณการแบ่งฝ่ายของเราได้ สร้างปราการต้านทานโฆษณาชวนเชื่อจากฝ่ายตรงข้ามอย่างแข็งแกร่ง ชนิดทีแ่ ทบไม่อาจพังทลาย ครึง่ หนึง่ ของประเทศเกิดสายสัมพันธ์อนั ลึกซึง้ กับกอร์ยิ่งกว่าที่เคยเป็น โดยตอบรับสารคดีเรื่อง An Inconvenient Truth และเปลีย่ นโลกทัศน์ของตนไปอย่างถาวร ทว่าอีกครึง่ หนึง่ ไม่เคยรูส้ กึ ร่วม 96

T ED Talks

ด้วยเลย พวกเขาปิดใจไม่รับฟัง ข้อเท็จจริงที่ว่านักการเมืองอย่างกอร์ เป็นผูน้ ำ� เสนอเรือ่ งนีท้ ำ� ให้พวกเขาตีความว่ามันไม่มที างเป็นจริง หลังจาก ผ่านไปหนึง่ ทศวรรษ ประเด็นสภาวะอากาศโลกก็ยงั เป็นประเด็นการเมือง เช่นเดิม เรือ่ งทีค่ วรเป็นวิทยาศาสตร์กลับกลายเป็นบททดสอบความฝักใฝ่ ทางการเมืองไปอย่างน่าเศร้า [เป็นไปได้วา่ ปัญหานีอ้ าจจะเกิดกับฝ่ายซ้าย เช่นกัน ถ้าดิ๊ก เชนีย์ (Dick Cheney) หรือคาร์ล โรฟ (Karl Rove) เป็น ผู้น�ำรณรงค์ประเด็นระดับโลกสักเรื่องหนึ่ง] พิษของการเมือง (และศาสนา) ที่ท�ำให้คนไม่คุยกันนับเป็น โศกนาฏกรรมของโลกสมัยใหม่อย่างแท้จริง เมือ่ ผูค้ นไม่เตรียมพร้อมทีจ่ ะ รับฟัง การสื่อสารก็ไม่อาจเกิดขึ้น ถ้ า คุ ณ ต้ อ งการเข้ า ถึ ง คนที่ ไ ม่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ คุ ณ แบบสุ ด ขั้ ว โอกาสเดียวที่คุณจะท�ำได้คือ เอาใจเขามาใส่ใจเราให้มากที่สุด อย่าใช้ ภาษาที่อาจกระตุ้นให้ตอบสนองแบบแบ่งพวก เริ่มต้นจากภาพของโลก ทีม่ องผ่านสายตา ของเขา และใช้ทกุ ๆ เครือ่ งมือทีบ่ รรยายไว้ในบทนีส้ ร้าง ความสัมพันธ์กับเขา โดยมีพื้นฐานอยู่บนความเป็นมนุษย์ที่คุณมีร่วมกัน ทีน่ า่ ยินดีคอื การพูดในโอกาสต่างๆ ส่วนใหญ่มกั มีผฟู้ งั ทีเ่ ป็นมิตร โดยพืน้ ฐาน ฉะนัน้ คุณน่าจะสร้างความสัมพันธ์กบั พวกเขาได้ไม่ยากนัก แล้ว ปาฐกถาของคุณจะฉายแสงได้อย่างเต็มที่

Chris Anderson

97

6 การเล่าเรื่อง เสน่ห์อันยากจะต้านทานของเรื่องเล่า

เรือ่ งเล่าช่วยท�ำให้เราเป็นตัวเราเช่นทุกวันนี้ ผมหมายความตามนัน้ จริงๆ นะครับ หลักฐานทีด่ ที สี่ ดุ ทัง้ ทางโบราณคดีและมานุษยวิทยาบ่งชีว้ า่ จิตใจของมนุษย์นั้นวิวัฒนาการไปพร้อมกับการเล่าเรื่อง ประมาณหนึ่งล้านปีก่อน บรรพบุรุษของเราเริ่มรู้จักควบคุมการ ใช้ไฟ และดูเหมือนมันจะส่งผลกระทบลึกล�้ำต่อพัฒนาการของพวกเขา ความอบอุ่น แน่นอนละ การป้องกันตัวจากสัตว์ท่ีเป็นผู้ล่า นี่ก็ใช่ การ ท�ำอาหารและผลลัพธ์น่าทึ่งที่ตามมาซึ่งท�ำให้สมองเราเติบโต นี่ก็ด้วย แต่ ยังมีอย่างอื่นอีกครับ ไฟคือแม่เหล็กชนิดใหม่ส�ำหรับสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ความอบอุ ่ น และแสงวิ บ วั บ ดึ ง ดู ด คนเข้ า หากั น หลั ง ความมื ด มาเยื อ น ดูเหมือนว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในทุกๆ วัฒนธรรมของกลุ่มนักล่าและ หาอาหารตลอดเวลาสามแสนปีที่ผ่านมา แล้วบรรพบุรุษของเราท�ำอะไรบ้างในช่วงเวลาที่พวกเขาอยู่ ด้วยกัน ในหลายๆ วัฒนธรรม ดูเหมือนรูปแบบหนึ่งของปฏิสัมพันธ์ทาง Chris Anderson

99

สังคมที่แพร่หลายคือการเล่าเรื่อง นักมานุษยวิทยา พอลลี วีสส์เนอร์ (Polly Wiessner) ใช้เวลา 40 ปี ศึกษาวัฒนธรรมนักล่าหาอาหารจ�ำนวนหนึง่ และบันทึกไว้เป็นระยะ ว่าใครพูดอะไรเมือ่ ใด ในปี 2014 เธอตีพมิ พ์บทความชิน้ หนึง่ ทีแ่ สดงความ แตกต่างส�ำคัญระหว่างการรวมตัวกันตอนกลางวันกับตอนกลางคืน เมื่อ ผู้คนพูดคุยกันตอนกลางวัน พวกเขามักอภิปรายเรื่องเศรษฐกิจหรือไม่ก็ ซุบซิบนินทาเรื่องสังคม แม้กระทั่งในกลุ่มใหญ่ก็ตาม ส่วนตอนกลางคืน อารมณ์จะผ่อนคลายลง บางทีก็ร้องเพลง เต้นร�ำ หรือประกอบพิธีทาง ศาสนา แต่เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการเล่าเรื่อง เรื่องเล่าที่น�ำผู้คนจาก ดินแดนไกลโพ้นมาสูร่ อบกองไฟ สูห่ วั ใจและความคิดของผูฟ้ งั เรือ่ งเล่าของ คนที่ยังมีชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ว่าในปัจจุบันหรือห้วงเวลาอันแสน ไกล เรื่องเล่าที่ปลุกอารมณ์ขัน สร้างความตึงเครียด และชวนทึ่ง คนเล่า มีทงั้ ผูช้ ายและผูห้ ญิง นักเล่าเรือ่ งทีเ่ ป็นดาวเด่นมักเป็นผูส้ งู อายุ บางครัง้ ก็ ตาบอดแล้ว แต่ยงั คงเป็นทีเ่ คารพยกย่องในความสามารถด้านการเล่าเรือ่ ง ศาสตราจารย์วีสส์เนอร์บอกผมว่า เรื่องเล่าเหล่านี้มีบทบาท ส�ำคัญมากที่จะช่วยขยายความสามารถในการจินตนาการ ฝัน และเข้าใจ จิตใจผู้อื่น เปิดโอกาสให้ส�ำรวจเครือข่ายทางสังคมที่กว้างขวาง และสร้าง ชุมชนในจินตนาการทีอ่ ยูน่ อกเหนือขอบเขตของกลุม่ ทางสังคมในท้องถิน่ เรื่องเล่าท�ำให้นักเล่าเรื่องที่มีฝีมือได้รับสถานะทางสังคม และผู้ฟังที่ดี จะได้รับความรู้ที่ใช้งานได้ในชีวิตจริง (เช่น ผู้ฟังที่ตั้งใจฟังอาจเรียนรู้วิธี หลี ก เลี่ ย งอั น ตรายที่คุกคามชีวิตตามที่อธิบายไว้ในเรื่องเล่า) ดังนั้น ธรรมชาติ น ่ า จะคั ด สรรทั ก ษะการเล่ า เรื่ อ งและการฟั ง เหล่ า นี้ ไ ว้ ใ น กระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ยุคใหม่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่เพียงชอบฟังเรื่องเล่า แต่เรื่องเล่าอาจช่วย ก�ำหนดวิธีที่จิตใจของเราแบ่งปันและรับข้อมูลด้วย แน่นอนว่าพลังของเรื่องเล่ายังยืนยาวมาจนทุกวันนี้ เห็นได้จาก หลักฐานอย่างอุตสาหกรรมมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ที่เกี่ยวข้องกับ 100

T ED Talk s

นิยาย ภาพยนตร์ และรายการโทรทัศน์ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยเมื่อพบว่าปาฐกถาที่ดีที่สุดจ�ำนวน มากมายผูกโยงกับการเล่าเรื่อง เรื่องเล่าแตกต่างจากข้อโต้แย้งที่ซับซ้อน หรือค�ำอธิบายที่ท้าทายความคิดตรงที่ทุกคนสามารถเข้าถึงเรื่องเล่า ได้ เรื่องเล่ามักมีโครงสร้างเป็นเส้นตรงเรียบๆ ท�ำให้ติดตามได้ง่าย คุณ แค่ปล่อยให้ผู้พูดพาคุณเดินทางไปทีละก้าว ประวัติศาสตร์รอบกองไฟ อันยาวนานท�ำให้จิตใจของเราสามารถติดตามเรื่องเล่าได้เป็นอย่างดี และธรรมชาติอย่างหนึง่ ของการฟังเรือ่ งเล่าคือ คุณมักเข้าอกเข้าใจ และมีอารมณ์รว่ มกับประสบการณ์ของตัวละครในเรือ่ ง คุณจะพบว่าตัวเอง ด�ำดิง่ ไปกับความคิดและอารมณ์ของตัวละคร คุณมีความรูส้ กึ ทางกายภาพ อย่างทีพ่ วกเขารูส้ กึ จริงๆ ถ้าเขาเครียด ตืน่ เต้น หรือเบิกบาน คุณก็จะรูส้ กึ แบบเดียวกัน และนัน่ ท�ำให้คณ ุ ใส่ใจกับผลลัพธ์ทจี่ ะเกิดขึน้ เรือ่ งเล่าได้ตรึง ความสนใจของคุณไว้แล้ว องค์ประกอบของเรื่องเล่าที่ยอดเยี่ยมคืออะไร สูตรคลาสสิก คือตัวละครเอกมีเป้าหมายบางอย่าง แต่ต้องเผชิญอุปสรรคไม่คาดคิด และเกิดวิกฤตการณ์ขึ้น ตัวละครเอกพยายามเอาชนะอุปสรรค น�ำไป สู่จุดไคลแมกซ์และบทสรุปในที่สุด (อาจมีการขัดจังหวะและหักมุมด้วย) เวลาคุณแบ่งปันเรื่องเล่าของคุณบนเวที ขอให้เน้นสี่อย่างนี้ครับ • เป็นเรื่องของตัวละครที่ผู้ฟังเข้าอกเข้าใจและมีอารมณ์ร่วมด้วย • สร้ า งความตึ ง เครี ย ด ไม่ ว ่ า จะด้ ว ยความอยากรู ้ อ ยากเห็ น เล่ห์เพทุบายทางสังคม หรือภยันตรายจริงๆ • ให้รายละเอียดอย่างพอเหมาะ ถ้ารายละเอียดน้อยเกินไป เรื่องเล่าจะไม่แจ่มชัด ถ้ามากเกินไปเรื่องก็จะอืด • คลี่คลายเรื่องราวอย่างน่าพึงพอใจในตอนจบ ไม่ว่าจะเล่าแบบ ตลก ซาบซึ้งกินใจ หรือเผยให้เห็นความจริง

Chris Anderson

101

แน่นอนว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับตอนคุณเริ่มต้นเล่าจริงๆ ดังนั้น จึงจ�ำเป็นที่จะทดลองเล่าและปรับแต่งเรื่องเล่าให้ลงตัว บ่อยครั้งเรามัก ใส่รายละเอียดที่ส�ำคัญกับเราแต่ผู้ฟังไม่จ�ำเป็นต้องรู้เข้าไปจนแน่นเกิน โดยเฉพาะเวลาเล่าเรื่องที่มาจากชีวิตเราเอง หรือที่แย่กว่านั้นคือ เราลืม เล่าถึงบริบทส�ำคัญที่ขาดไปแล้วเรื่องเล่าจะฟังไม่รู้เรื่องเลย นี่คือเรื่องเล่าที่ยอดเยี่ยม ตอนผมอายุแปดขวบ พ่อพาผมไปตกปลา เราอยู่ในเรือเล็กๆ ห่างจากฝั่งห้าไมล์ในตอนที่พายุลูกมหึมาพัดมา พ่อสวมเสื้อชูชีพ ให้ผมแล้วกระซิบทีห่ ผู มว่า “ไว้ ใจพ่อไหมลูก” ผมพยักหน้า แล้วพ่อ ก็โยนผมออกจากเรือ [หยุดชัว่ ครู]่ ผมไม่ได้ลอ้ เล่นนะ พ่อเหวีย่ งผม ออกมาเลย! ผมตกลงในน�ำ้ แล้วโผล่ขนึ้ สูผ่ วิ น�ำ้ ตะเกียกตะกายเพือ่ หายใจ มันหนาวจนน่าตกใจ คลื่นช่างน่ากลัว ใหญ่ยักษ์ราวปีศาจ แต่แล้ว … พ่อก็ด�ำน�้ำตามผมมา เราเฝ้ามองด้วยความหวาดกลัว ขณะเรือเล็กๆ ของเราพลิกคว�่ำและจมลง แต่พ่อคอยจับผมเอาไว้ ตลอดเวลาพลางเฝ้าบอกว่าทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี สิบห้านาที ต่อมา เฮลิคอปเตอร์ของยามชายฝั่งก็มาถึง เรื่องของเรื่องคือ พ่อรู้ ว่าเรือเสียหายและก�ำลังจะจม จึงวิทยุไปหายามชายฝัง่ ไว้กอ่ นเรือจม เพื่อบอกต�ำแหน่งของเรา พ่อคิดว่าหากโยนผมลงทะเลที่เปิดโล่ง น่าจะดีกว่าเสี่ยงกับการติดอยู่ในเรือที่ก�ำลังจะพลิกคว�่ำ นั่นท�ำให้ ผมเรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของค�ำว่าไว้วางใจ

และนี่คือวิธีที่ไม่ควรใช้เลยในการเล่าเรื่องนี้ ผมเรียนรูเ้ รือ่ งความไว้วางใจจากพ่อตอนผมอายุแปดขวบ ขณะทีเ่ รา ติดพายุระหว่างออกไปตกปลาแมกเคอเรล เรายังตกปลาไม่ได้สกั ตัว ตอนทีพ่ ายุพดั มา พ่อรูว้ า่ เรือก�ำลังจะจม เพราะมันเป็นเรือยางเป่าลม ยี่ ห ้ อ แซตเทิ ร ์ น ซึ่ ง ปกติ ค ่ อ นข้ า งแข็ ง แรง แต่ เ รื อ ล� ำ นี้ เ คยรั่ ว มาแล้วครัง้ หนึง่ พ่อจึงคิดว่าคราวนีม้ นั อาจจะรัว่ อีก นัน่ ละครับ พายุ 102

T ED Talk s

ลูกใหญ่เกินไปส�ำหรับเรือยางเป่าลม และมันก็รวั่ แล้วด้วย พ่อจึงวิทยุ ถึ ง ยามกู ้ ภั ย ที่ ช ายฝั ่ ง ซึ่ ง เมื่ อ ก่ อ นมี บ ริ ก ารตลอด 24 ชั่ ว โมง ไม่เหมือนสมัยนี้ พ่อบอกต�ำแหน่งของเรากับยามฝั่ง และเพื่อ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ผมอาจเข้าไปติดอยู่ใต้น�้ำหากเรือพลิกคว�่ำ พ่อจึงใส่เสื้อชูชีพให้ผมและโยนผมออกจากเรือก่อนกระโดดตาม ออกมา เรารอยามฝั่งมาช่วย และ 15 นาทีให้หลังเฮลิคอปเตอร์ก็ มาถึงดังคาด ผมคิดว่าน่าจะเป็นเฮลิคอปเตอร์รนุ่ ซิคอร์สกี เอ็มเอช-60 เจย์ฮอว์ก แล้วเราก็ปลอดภัย

เรื่องเล่าแบบแรกมีตัวละครที่คุณเห็นอกเห็นใจ และเหตุการณ์ เร้าใจทีไ่ ม่นา่ เชือ่ ก่อนจะคลีค่ ลายอย่างงดงาม แบบทีส่ องนัน้ ยุง่ เหยิง ความ เร้าใจดับลงเพราะเผยให้เห็นเจตนาของพ่อเร็วเกินไป ไม่ได้พยายามเล่า ประสบการณ์จริงของเด็กคนนัน้ มีรายละเอียดทีไ่ ม่สำ� คัญกับผูฟ้ งั ส่วนใหญ่ มากเกินไป ขณะเดียวกันก็ขา้ มรายละเอียดส�ำคัญเช่นคลืน่ ยักษ์ไปเสียหมด ที่แย่ที่สุดคือ ประโยคที่เป็นหัวใจส�ำคัญของเรื่องอย่าง “ไว้ใจพ่อไหมลูก” ก็หายไปด้วย ถ้าคุณจะเล่าเรื่อง ทบทวนให้แน่ใจว่า ท�ำไม คุณถึงอยาก เล่าเรื่องนั้น และพยายามตัดส่วนปลีกย่อยที่ไม่จ�ำเป็นต่อการถ่ายทอด ประเด็น โดยยังเก็บรายละเอียดไว้มากพอที่จะท�ำให้ผู้ฟังจินตนาการสิ่งที่ เกิดขึ้นได้อย่างแจ่มชัด มีหลายครั้งที่ปาฐกถาชั้นเยี่ยมสร้างขึ้นบนเรื่องเล่าเรื่องเดียว โครงสร้างนี้มีประโยชน์ต่อผู้พูดมหาศาล ด้วยเหตุผลดังนี้ • มีแก่นเรื่องที่ชัดเจน (ก็คือโครงสร้างของเรื่องเล่านั่นเอง) • ถ้าเรือ่ งเล่านัน้ น่าสนใจ ผูฟ้ งั จะมีปฏิกริ ยิ าตอบสนองอย่างเข้มข้น • ถ้าเรือ่ งราวนั้นเกี่ยวกับคุณ คนอื่นจะเข้าอกเข้าใจว่าอะไรที่คุณ ให้ความส�ำคัญที่สุด • คุณจ�ำสิง่ ทีจ่ ะพูดได้งา่ ย เพราะโครงสร้างเป็นเส้นตรง สมองของ คุณจึงระลึกเหตุการณ์หนึง่ ต่อด้วยอีกเหตุการณ์ได้อย่างสบายๆ Chris Anderson

103

ผู้พูดหลายคนจึงใช้ช่วงเวลาปาฐกถาเล่าเรื่องราวของตัวเอง มัน เป็นการพูดที่เรียบง่ายที่สุด เตรียมง่ายที่สุด และพูดได้สบายๆ เพราะคุณ รู้ เรื่องราวของตัวเอง คุณรู้เรื่องที่จะเล่าดีกว่าใครๆ ในหมู่ผู้ฟัง ถ้าการเดินทางของคุณโดดเด่นน่าสนใจและเชือ่ มโยงกับเรือ่ งเล่า การพูดประเภทนี้จะได้ผลดีมากๆ แต่ตรงนี้ก็มีกับดักอยู่เหมือนกัน จ�ำได้ใช่ไหมครับว่าเป้าหมาย ของเราคือเพื่อมอบบางสิ่งบางอย่างแก่ผู้อื่น บางครั้งเรื่องราวส่วนตัว ท�ำหน้าที่นี้ไม่ได้ มันอาจสร้างความบันเทิง กระตุ้นความสนใจใคร่รู้ หรือ ส่งเสริมตัวตนของผู้พูด แต่มันไม่ได้มอบอะไรบางอย่างที่ผู้ฟังน�ำกลับไป ใช้ประโยชน์ได้โดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นความคิดที่ตกผลึกแล้ว ข้อมูล ที่น�ำไปใช้ลงมือต่อยอดได้ มุมมอง บริบท หรือความหวัง ซึ่งมันน่าเสียดายมาก หนึ่งในเหตุผลหลักที่เราปฏิเสธใบสมัคร ผู้พูดของ TED คือ เมื่อผู้พูดเสนอเรื่องเล่าประสบการณ์ที่คัดสรรมา อย่างน่าสนใจ แต่ไม่มีความคิดแกนกลางที่รวบรวมเรื่องราวทั้งหมด เข้าด้วยกัน มันน่าเศร้ามาก เพราะผู้พูดมักเก่งเป็นเลิศและน่าสนใจสุดๆ แต่ถ้าไม่รวบยอดความคิด เขาก็จะเสียโอกาสในการพูดไป การเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่จ�ำเป็นคือ คุณควรปรับแต่งเรื่องราว การเดินทางของคุณอย่างมีศิลปะ โดยเชื่อมโยงช่วงเวลาส�ำคัญๆ เข้า ด้วยกันในรูปแบบที่คนอื่นเข้าใจความหมายจากเรื่องราวนั้นได้ ถ้าไม่มี ข้อนี้ แม้ชีวิตคุณจะน่าประทับใจแค่ไหน ปาฐกถานั้นก็อาจฟังวกวนและ เป็นไปเพื่อสนองความพึงพอใจส่วนตัว แต่ถ้าการเดินทางนั้นเผยสิ่ง ทรงพลังบางอย่างที่คุณได้เรียนรู้ และถ้าคุณค่อยๆ เผยแต่ละก้าวในการ เดินทางอย่างอ่อนน้อมถ่อมตน ซื่อตรงจริงใจ และยอมรับด้านเปราะบาง ของตนเอง เราก็พร้อมร่วมเดินทางไปกับคุณด้วยความยินดี หั ว ใจส� ำ คั ญ อี ก อย่ า งหนึ่ ง ที่ ผ ่ อ นปรนไม่ ไ ด้ ห ากคุ ณ จะเล่ า เรื่องราวของตัวเองคือ มันต้องเป็นเรื่องจริง ข้อนี้อาจดูชัดแจ้งอยู่แล้ว แต่ก็มีบางครั้งที่ผู้พูดอดไม่ได้ที่จะขยายเรื่องราวให้เกินจริงหรือแม้แต่ 104

T ED Talk s

กุเรื่องขึ้น นั่นเพราะเรื่องเล่าอาจส่งผลกระทบมหาศาล เขาจึงอยาก วาดภาพของตัวเองหรือองค์กรให้ดูดีที่สุด จนบางครั้งเผลอข้ามเส้น ที่เรียกว่า ความจริง ไป พฤติกรรมเช่นนี้จะท�ำลายชื่อเสียงของตัวเอง ได้อย่างง่ายดายที่สุด เมื่อปาฐกถาเผยแพร่ต่อสาธารณะ อาจมีสายตา นับพันๆ คู่ได้ชม หากมีแค่สักคนเดียวสังเกตเห็นว่าบางอย่างไม่ค่อย ถูกต้อง คุณก็ตกที่นั่งล�ำบากแล้วครับ มันไม่คุ้มที่จะเสี่ยงหรอก เมื่ อ คุ ณ ผสานเรื่ อ งเล่ า ที่ เ ป็ น จริ ง เข้ า กั บ ความปรารถนาที่ จ ะ ใช้มนั เพือ่ ยังประโยชน์ให้ผอู้ นื่ คุณก็จะสามารถมอบของขวัญอันพิเศษสุด แก่ผู้ฟังของคุณ นักจิตวิทยาชื่อเอเลนอร์ ลองเดน (Eleanor Longden) ยินดี เปิดเผยต่อสาธารณะถึงเรื่องราวที่เธอเริ่มได้ยินเสียงในหัวตอนเรียนอยู่ มหาวิทยาลัย ซึ่งน�ำมาสู่ค�ำวินิจฉัยว่าเธอเป็นโรคจิตเภท ต้องเข้ารักษา ในสถานพยาบาล กระทั่งเธอถูกผลักไปถึงจุดที่จะฆ่าตัวตาย เรื่องเล่านั้น น่าตื่นเต้นด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่เธอสร้างปาฐกถานี้ขึ้นมาเพื่อให้คุณ ออกจากห้องประชุมไปด้วยความเข้าใจอันลึกซึ้งและเปี่ยมแรงบันดาลใจ ทีม่ ตี อ่ โรคจิตเภท การเจ็บป่วยทางจิต และวิธที เี่ ราตอบสนองกับโรคทางจิต นี่คือส่วนหนึ่งของช่วงจบปาฐกถา ไม่ มี สิ ท ธิ พิ เ ศษหรื อ เกี ย รติ ย ศใดๆ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ก ว่ า การได้ เ ป็ น ผู้เอื้ออ�ำนวยกระบวนการเยียวยาแก่ผู้อื่น ทั้งได้ร่วมรับรู้ ยื่นมือ ออกไป แบ่งเบาความทุกข์ของใครสักคน และยึดมัน่ ในความหวังว่า เขาจะหายดี เช่นเดียวกัน ส�ำหรับผูท้ ขี่ า้ มผ่านความทุกข์ยากล�ำบาก ทั้งหลาย เราไม่จ�ำเป็นต้องใช้ชีวิตที่ถูกจ�ำกัดด้วยความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับเรา เรามีเอกลักษณ์แตกต่าง ไม่มีใครแทนที่เราได้ ไม่มใี ครมายึดครอง บิดเบือน หรือพรากสิง่ ทีอ่ ยูภ่ ายในตัวเราไปได้ แสงสว่างไม่เคยจางหายไป

Chris Anderson

105

นักส�ำรวจชื่อเบน ซอนเดอร์ส (Ben Saunders) เล่าเรื่องการ เดินทางไปขั้วโลกใต้ซึ่งเกือบคร่าชีวิตเขา เขาเป็นนักเล่าเรื่องที่ทรงพลัง พร้อมด้วยภาพถ่ายอันงดงามประกอบเรื่องราวที่เกิดขึ้น เมื่อใกล้ตอนจบ ของปาฐกถา เรารอคอยค�ำพูดเตือนใจตามปกติทนี่ กั ผจญภัยมักบอกให้เรา ออกไปข้างนอกและค้นหาตัวตนทีแ่ ท้จริงท่ามกลางความท้าทายใดๆ ก็ตาม ที่ เ ราเผชิ ญ แต่ ผิ ด คาด เบนเล่ า ถึ ง ช่ ว งเวลาเลวร้ า ยที่ เ ขาประสบ นับตัง้ แต่การเดินทางครัง้ นัน้ และบอกว่าจุดหมายปลายทางทีเ่ ขาใฝ่ฝนั ถึง มานานหลายปีท�ำให้เขาพึงพอใจได้น้อยกว่าการเดินทางระหว่างนั้น สรุปว่ายังไงน่ะหรือครับ จงอย่าเอาความสุขของคุณไปผูกกับอนาคต ถ้าเราไม่อาจรู้สึกพึงพอใจ ณ ที่นี่ วันนี้ เดี๋ยวนี้ บนเส้นทางของ เรา ท่ามกลางความยุ่งเหยิงและภาวะดิ้นรนที่เราเผชิญอยู่ ระบบที่ ไม่สมบูรณ์ รายการสิ่งที่ต้องท�ำซึ่งเสร็จไปแค่ครึ่งเดียว และสิง่ ที่ คราวหน้าน่าจะท�ำได้ดีกว่านี้ เช่นนั้นแล้ว เราก็อาจไม่มีวันรู้สึก พึงพอใจได้เลยในชีวิตนี้

นักเขียนอย่างแอนดรูว์ โซโลมอน (Andrew Solomon) บรรยาย ว่าเขาถูกล้อเลียนตัง้ แต่ตอนเด็กๆ ก่อนทีเ่ ขาจะเปิดเผยว่าเป็นเกย์เสียอีก แล้วเขาก็ทำ� ให้เรือ่ งเล่ากลายเป็นความเรียงแสนสนุกว่าด้วยอัตลักษณ์ ซึง่ ใครๆ ก็สามารถรู้สึกเชื่อมโยงและเรียนรู้จากเรื่องราวนี้ได้ ไม่ว่าเมื่อไรย่อมมีใครบางคนอยากริบเอาความเป็นมนุษย์ของเรา ออกไป และก็มเี รือ่ งราวของคนทีท่ วงมันกลับคืนมาได้เสมอ ถ้าเรา ใช้ชีวิตโดยเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงให้โลกรู้ เราจะสามารถเอาชนะ ความเกลียด และขยายพื้นที่ชีวิตของแต่ละคนได้

ปาฐกถาสุดฮาของเซอร์เคน โรบินสัน ที่ว่าด้วยความส�ำคัญของ ความคิดสร้างสรรค์ในเด็กๆ ก็ผกู โยงกับเรือ่ งเล่าเช่นกัน เขาเล่าถึงคุณหมอ 106

T ED Talk s

ท่านหนึ่งในทศวรรษ 1930 ผู้สังเกตเห็นว่าเด็กหญิงคนหนึ่งซึ่งสอบตก ที่โรงเรียนมีความปรารถนาจะเต้นร�ำอย่างไม่อาจหักห้ามได้ แทนที่จะ ให้ยาแก่เด็กน้อยคนนั้น เขาหว่านล้อมให้คุณแม่ส่งเธอไปโรงเรียนสอน เต้นร�ำ เด็กผู้หญิงคนนั้นคือจิลเลียน ลินน์ (Gillian Lynne) ซึ่งกลายเป็น นักออกแบบท่าเต้นผู้ประสบความส�ำเร็จอย่างยิ่งใหญ่จากการออกแบบ ท่าเต้นให้แอนดรูว์ ลอยด์ เว็บเบอร์ (Andrew lloyd Webber) เมือ่ เซอร์เคน เล่าเรื่องนี้ด้วยรูปแบบที่ไม่มีใครลอกเลียนได้ เรื่องดังกล่าวก็กลายเป็น ภาพประกอบที่มีชีวิตซึ่งแสดงให้เห็นพิษภัยและศักยภาพในการจัดการ ความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน ซึ่งนี่แหละคือจุดที่เปลี่ยนเรื่องน่าขัน ให้กลายเป็นแรงบันดาลใจ พลังของนิทานคติสอนใจ เรือ่ งเล่าบางเรือ่ งนับเป็นอุปมาอุปไมยทีอ่ อกแบบมาอย่างประณีต ค�ำเรียกที่เหมาะกับเรื่องเล่าประเภทนี้คือ นิทานคติสอนใจ แต่ดั้งเดิมนั้น นิทานคติสอนใจคือเรื่องเล่าที่แฝงบทเรียนทาง ศีลธรรมหรือจิตวิญญาณ นิทานคติสอนใจเป็นเครื่องมือของนักสอน ศาสนาในประวัตศิ าสตร์ทไี่ ด้ผลดีเยีย่ มมาตลอด เราทุกคนคงเห็นตรงกันว่า เรื่องราวของพระเยซูนั้นมีคนได้ฟังได้ชมมากกว่าปาฐกถาของเซอร์เคน เสียอีก และเราสามารถขยายความหมายของค�ำนี้ให้ครอบคลุมเรื่องราว ใดๆ ก็ตามที่ใช้พลังของอุปมาอุปไมย ศาสตราจารย์ทางกฎหมายอย่างลอว์เรนซ์ เลสซิก (Lawrence Lessig) เป็นนักเล่านิทานคติสอนใจที่เก่งมาก เขามาพูดที่ TED ใน ปี 2013 เพื่อแสดงความเห็นว่ากระบวนการทางการเมืองของอเมริกา ถูกครอบง�ำด้วยเงินจนไม่อาจกู้คืนได้แล้ว เขาชวนเราจินตนาการถึง ประเทศโง่เขลาประเทศหนึ่งที่มีชื่อว่าเลสเตอร์แลนด์ (Lesterland) ซึ่งคน ชื่อเลสเตอร์เท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง แน่นอนว่ามันฟังดูไร้สาระมาก แต่ Chris Anderson

107

จากนั้ น เขาก็ ชี้ใ ห้เห็นว่า จ�ำนวนคนชื่อเลสเตอร์ในสหรัฐอเมริกานั้น เทียบเท่ากับจ�ำนวนผูบ้ ริจาครายหลักๆ ทีใ่ ห้เงินสนับสนุนนักการเมือง และ สมาชิกสภาคองเกรสก็จดั ล�ำดับความส�ำคัญของสิง่ ทีจ่ ะท�ำโดยอ้างอิงตาม ผู้สนับสนุนเหล่านี้ ผลก็คือ มีเพียงมุมมองและคะแนนเสียงของนายทุน เหล่านีเ้ ท่านัน้ ทีม่ คี วามหมาย หากว่ากันตามนิทานเรือ่ งดังกล่าว เราทุกคน ล้วนอาศัยอยู่ในเลสเตอร์แลนด์ นั ก เขียนชื่อมัล คอล์ม แกลดเวลล์ (Malcolm Gladwell) ก็ เชีย่ วชาญการใช้นทิ านคติสอนใจเช่นกัน เสน่หด์ งึ ดูดของวิธเี ล่าเรือ่ งแบบนี้ สะท้อนให้เห็นผ่านยอดขายอันน่าทึ่งของหนังสือและยอดรับชมปาฐกถา TED ของเขา เชือ่ ไหมครับ ปาฐกถาซึง่ เป็นทีน่ ยิ มทีส่ ดุ ของเขาคือเรือ่ งราว การพัฒนาซอสสปาเกตตีสูตรใหม่ แต่เขาใช้มันเป็นนิทานคติสอนใจเพื่อ สะท้อนความคิดที่ว่า คนเราแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันมาก แต่มักไม่รู้จะใช้ถ้อยค�ำใดมาอธิบายว่าตนต้องการอะไร จนกว่าคุณจะหา ค�ำถามที่เหมาะสมมาถามเขา สิง่ ทีป่ าฐกถาเหล่านีท้ ำ� ให้เราพึงพอใจคือวิธที ผี่ พู้ ดู ดึงแก่นใจความ ออกมาจากเรื่องเล่า คุณไม่ควรดูถูกสติปัญญาของผู้ฟังด้วยการบังคับ ป้อนข้อสรุปที่เขาควรได้รับจากเรื่องราวที่คุณเล่า แต่แน่นอนว่าคุณควร เตรียมการให้แน่ใจว่ามีข้อมูลพอให้ผู้ฟังเชื่อมโยงประเด็นได้ด้วยตนเอง นี่แหละคือเหตุผลว่าท�ำไมการรู้จักผู้ฟังจึงเป็นสิ่งส�ำคัญ นิทานคติสอนใจ อาจได้ผลดีกบั ผูฟ้ งั ทีร่ เู้ รือ่ งราวในวงการของคุณดีอยูแ่ ล้ว แต่คนทีอ่ ยูน่ อก วงการจะต้องการค�ำอธิบายเพิม่ อีกมาก คุณจึงต้องทดสอบเนือ้ หาของคุณ กับใครสักคนทีร่ จู้ กั ลักษณะของกลุม่ ผูฟ้ งั เป็นอย่างดี เพือ่ ให้แน่ใจว่าเรือ่ งเล่า นั้นจะชัดเจนและไม่เยิ่นเย้อเกินไป การใช้นิทานคติสอนใจมีความเสี่ยงหลายประการ บางทีอุปไมย ทีใ่ ช้กไ็ ม่คอ่ ยเข้ากับเรือ่ งทีต่ อ้ งการเปรียบเทียบ วิธนี มี้ โี อกาสท�ำให้เข้าใจผิด ได้พอๆ กับเข้าใจแจ่มแจ้ง หรือคุณอาจใช้เวลาเล่าเรื่องมากไปจนลืมสรุป

108

T ED Talk s

ประเด็นทีจ่ ำ� เป็น แต่ถา้ ผูพ้ ดู น�ำมาใช้อย่างเหมาะสม นิทานคติสอนใจจะมอบ ความบันเทิง ให้ข้อมูล และสร้างแรงบันดาลใจได้ในคราวเดียว เรื่องเล่ายังมีหน้าที่อันทรงพลังอีกประการ นั่นคือการอธิบาย ซึ่งเรื่องเล่าที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้จะไม่ใช่จุดสนใจหลัก แต่เป็นส่วน สนับสนุน และมักอยู่ในรูปเรื่องเล่าสั้นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อยกตัวอย่างให้ เห็นภาพหรือเสริมความคิดให้ชัดเจนขึ้น เราจะเจาะลึกกลวิธีใช้เรื่องเล่า แบบนี้ในบทต่อไป ขณะเดียวกันก็โปรดจ�ำไว้ดว้ ยว่า เรือ่ งเล่ากระทบใจมนุษย์ทกุ คน ได้อย่างลึกซึง้ การกล่าวปาฐกถาในรูปเรือ่ งเล่าเรือ่ งหนึง่ หรือหลายๆ เรือ่ ง ทีเ่ ชือ่ มโยงกันอาจท�ำให้คณ ุ สร้างสัมพันธ์กบั ผูฟ้ งั ได้ดเี ยีย่ ม แต่ขอให้เรือ่ งเล่า ของคุณมีความหมายบางอย่างด้วยนะครับ

Chris Anderson

109

7 การอธิบาย จะอธิบายแนวคิดยากๆ ได้อย่างไร?

แดน กิลเบิรต์ (Dan Gilbert) นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เดินทางมาที่ TED พร้อมงานหิน โดยวางแผนว่าภายในปาฐกถาสั้นๆ ครั้งเดียว เขาจะอธิบายแนวคิดซับซ้อนที่เรียกว่า “ความสุขสังเคราะห์” และเหตุผลว่าท�ำไมมันจึงท�ำให้เราท�ำนายอนาคตของตัวเองคลาดเคลื่อน ไปมากชนิดที่เรียกว่าเข้ารกเข้าพง ลองมาดูกันครับว่าเขาท�ำได้อย่างไร เขาเริ่มต้นแบบนี้ครับ เมื่อคุณมีเวลาพูด 21 นาที สองล้านปีช่างดูยาวนานนัก

ประโยคเปิดเกี่ยวกับสถานที่และเวลาปัจจุบัน แต่กลับชวนให้ สงสัยใคร่รู้ขึ้นมาทันที ทว่าในทางวิวัฒนาการแล้ว สองล้านปีนั้นสั้นมาก แต่ภายใน สองล้านปีนี่เองที่มวลสมองของมนุษย์เพิ่มขึ้นมาเกือบสามเท่า จากสมองขนาดหนึ่งปอนด์เศษของบรรพบุรุษเราอย่าง [โฮโม] Chris Anderson

111

ฮาบิลิส ([Homo] habilis) มาเป็นก้อนเนื้อขนาดเกือบสามปอนด์ ทีอ่ ยูร่ ะหว่างหูสองข้างของพวกเรา สมองใหญ่แล้วมันดีอย่างไรครับ ท�ำไมธรรมชาติถึงต้องอยากให้เรามีสมองใหญ่ๆ ด้วย

ค�ำพูดของเขาจุดประกายความอยากรูอ้ ยากเห็นให้คณ ุ หรือยังครับ นัน่ คือขัน้ ตอนแรกสูก่ ารอธิบายทีป่ ระสบความส�ำเร็จ เมือ่ เราเริม่ สงสัยใคร่รู้ จิตใจก็จะเปิดออก เพราะ ต้องการ ความคิดใหม่ๆ กิลเบิร์ตยังยั่วเราต่อ ปรากฏว่าเมื่อสมองมีขนาดเพิ่มขึ้นสามเท่า มันไม่ได้แค่ใหญ่ขึ้น สามเท่าหรอกครับ แต่ยงั มีโครงสร้างใหม่เพิม่ ขึน้ มาด้วย ทีส่ มองเรา ใหญ่ขนึ้ ก็เพราะมันมีเจ้าส่วนใหม่ทเี่ รียกว่า … พรีฟรอนทัลคอร์เทกซ์ (prefrontal cortex) แล้วเจ้าพรีฟรอนทัลคอร์เทกซ์ทำ� หน้าทีอ่ ะไรหรือ เราถึงต้องยกเครื่องเปลี่ยนกะโหลกใหม่แบบเร่งรัดในชั่วเวลาสั้นๆ แห่งวิวัฒนาการมนุษย์

กิลเบิร์ตปลุกเร้าความอยากรู้อยากเห็นของเราต่อ พร้อมกับ สอดแทรกแนวคิดแรกอย่าง พรีฟรอนทัลคอร์เทกซ์ ซึ่งจะเป็นฐานให้เขา ก่อร่างความคิดต่อไป หนึ่งในหน้าที่ส�ำคัญที่สุดของพรีฟรอนทัลคอร์เทกซ์คือสร้างภาพ จ�ำลองประสบการณ์ เหมือนนักบินหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง จ�ำลองสภาพการบิน จะได้ไม่ทำ� ผิดพลาดบนเครือ่ งบินจริงๆ มนุษย์ มีความสามารถในการปรับตัวอันน่าทึ่งนี้ เราจ�ำลองสถานการณ์ ในหัวก่อนที่จะลงมือท�ำในชีวิตจริง กลวิธีแบบนี้บรรพบุรุษของเรา ท�ำไม่ได้นะครับ และไม่มีสัตว์สายพันธุ์อื่นใดท�ำได้เลย มันเป็นการ ปรับตัวที่ยอดเยี่ยมจริงๆ เช่นเดียวกับที่เรามีน้ิวหัวแม่มือที่พับ เข้าหาฝ่ามือได้ เรายืนตรงได้ และเรามีภาษา นี่เป็นหนึ่งในปัจจัย ที่ท�ำให้คนเราออกจากป่าไปเดินในห้างสรรพสินค้าแทน 112

T ED Talk s

กิลเบิรต์ แทรกแนวคิดใหม่สดุ เจ๋งอีกประการพร้อมกับอารมณ์ขนั นัน่ คือแนวคิดเรือ่ ง เครือ่ งจ�ำลองประสบการณ์ อันเป็นส่วนประกอบส�ำคัญ ทีจ่ ะช่วยก่อร่างแก่นความคิด โดยหย่อนลงมาอย่างตรงจุดด้วยอุปมาง่ายๆ ที่เปรียบกับห้องจ�ำลองการบิน เรารู้อยู่แล้วว่าห้องจ�ำลองการบินเป็น อย่างไร จึงพอจินตนาการได้ว่าเครื่องจ�ำลองประสบการณ์จะเป็นแบบใด แต่หากยกตัวอย่างจะช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้นอีกไหม ใช่เลยครับ ไอศกรี ม เบนแอนด์ เ จอร์ รี ส ์ ไ ม่ มี ร สตั บ กั บ หั ว หอม ไม่ใช่เพราะ พวกเขาลองท�ำ ชิม แล้วพบว่ามัน “แหวะ” หรอกนะครับ แต่เป็นเพราะ พวกเขาจินตนาการรสชาติได้ล่วงหน้าว่ามันต้องแหวะแน่ๆ โดย ไม่ต้องลุกขึ้นไปลงมือท�ำเลยด้วยซ�้ำ

ตัวอย่างแจ่มชัดเพียงข้อเดียวทีแ่ สดงการท�ำงานของเครือ่ งจ�ำลอง ประสบการณ์ท�ำให้คุณเข้าใจทันที แต่ถึงจุดนี้ปาฐกถากลับหักมุมอย่าง น่าแปลกใจ ลองดูซิว่ากลไกการจ�ำลองประสบการณ์ของคุณท�ำงานอย่างไร มาทดสอบกันหน่อยก่อนที่ผมจะเริ่มเล่าต่อ ผมอยากให้คุณลอง จิ น ตนาการสถานการณ์ ใ นอนาคตสองอย่ า ง แล้ ว บอกผมว่ า คุณชอบอันไหนมากกว่า อย่างแรกคือถูกลอตเตอรี่ อีกอย่างคือ เป็นอัมพาตครึ่งล่าง

ผู้ฟังหัวเราะแบบหวาดหวั่นเล็กน้อย สงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อ และสิ่งที่ตามมาคือภาพสไลด์ข้อมูลอันน่าพิศวง กิลเบิร์ตแสดงข้อมูลที่ บ่งชีว้ า่ ความจริงแล้วหนึง่ ปีหลังจากถูกลอตเตอรีห่ รือเป็นอัมพาตครึง่ ล่าง ทั้งสองกลุ่มมีความสุข พอๆ กัน อะไรนะ!? เป็นไปไม่ได้น่า ทันใดนั้นเอง แนวคิดใหม่สุดเจ๋งเรื่องเครื่องจ�ำลองประสบการณ์ก็พาคุณไปยังที่ที่คุณ ไม่คาดคิดมาก่อน เป็นสถานที่ชวนงงงัน ข้อเท็จจริงที่เขาแสดงให้ดูนั้น Chris Anderson

113

ไม่สมเหตุสมผลเลย คุณก�ำลังลิม้ รส ช่องโหว่ทางความรู้ และจิตใจของคุณ ก็กระหายอยากเติมมันให้เต็ม กิลเบิร์ตจึงพูดต่อเพื่อเติมเต็มช่องว่างนี้ โดยเสนอแนวคิดใหม่ อีกแนวคิดหนึ่ง งานวิจัยที่แล็บของผมท�ำอยู่ … เปิดเผยบางอย่างที่ท�ำให้เรางง เอามากๆ เราเรียกมันว่า การประเมินผลกระทบเกินจริง (impact bias) ซึ่งหมายถึงแนวโน้มที่ระบบจ�ำลองประสบการณ์ของเรา จะท�ำงานผิดพลาด … โดยท�ำให้คณ ุ เชือ่ ว่าผลลัพธ์ทตี่ า่ งกันนัน้ ช่าง แตกต่างห่างไกลกันมากเกินกว่าที่มันเป็นจริงๆ

พอเราตั้ ง ชื่ อ ให้ แ นวคิ ด นี้ (การประเมิ น ผลกระทบเกิ น จริ ง ) ความลึกลับของมันจึงยิ่งน่าเชื่อขึ้นอีก แต่ความอยากรู้อยากเห็นของเรา ก็ลกุ โชนยิง่ กว่าเดิมด้วยเช่นกัน และพยายามทีจ่ ะปิดช่องโหว่ทางความรูน้ ี้ เราท�ำนายระดับความสุขในอนาคตผิดพลาดได้ขนาดนี้เลยหรือ กิลเบิร์ต ใช้ประโยชน์จากความอยากรู้อยากเห็นเพื่อเผยแนวคิดหลักของเขา ทั้งงานวิจัยภาคสนามและในห้องทดลอง เราพบว่าผลแพ้ชนะการ เลือกตั้ง หาแฟนได้หรือถูกแฟนทิ้ง ได้เลื่อนขั้นหรือไม่ได้เลื่อนขั้น สอบผ่านหรือไม่ผ่าน ฯลฯ มีผลกระทบน้อยกว่า รุนแรงน้อยกว่า และส่งผลไม่นานเท่าที่คนเราคาด มีงานวิจัยล่าสุดซึ่งท�ำเอาผม เกือบหงายหลังล้มตึง งานชิ้นนี้ศึกษาว่าเหตุการณ์สะเทือนใจมีผล กระทบต่อคนเราอย่างไร ผลปรากฏว่า ถ้าเหตุการณ์เกิดขึน้ มานาน กว่าสามเดือน เหตุการณ์ดงั กล่าวจะไม่สง่ ผลกระทบใดๆ ต่อความสุข ของคุณเลย ยกเว้นในบางกรณีเท่านั้นจริงๆ ท�ำไมน่ะหรือ ก็เพราะว่าความสุขนั้นสร้างขึ้นได้! … มนุษย์เรา มีสิ่งที่เรียกว่าระบบภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เป็นระบบที่จัดการกับ กระบวนการทางความคิด ซึง่ ส่วนใหญ่เราไม่คอ่ ยรูต้ วั แต่มนั ช่วยให้ เราเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลก แล้วท�ำให้เรารู้สึกดีขึ้นกับโลกรอบตัว 114

T ED Talk s

นั่นละครับ แล้วเขาก็ได้อธิบายแนวคิดเรื่อง ความสุขสังเคราะห์ มั น ประกอบสร้ า งขึ้ น จากแนวความคิ ด เรื่ อ ง พรี ฟ รอนทั ล คอร์ เ ทกซ์ เครื่ อ งจ� ำ ลองประสบการณ์ และ การประเมิ น ผลกระทบเกิ น จริ ง นอกจากนี้กิลเบิร์ตยังใช้อุปมาอีกเรื่องหนึ่งเพื่อท�ำให้มันชัดเจนยิ่งขึ้น นัน่ คือเรือ่ ง ระบบภูมคิ มุ้ กัน คุณรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าระบบภูมคิ มุ้ กันคืออะไร ดังนัน้ คุณจะเข้าใจได้งา่ ยหากมองว่าเรือ่ งนีค้ อื ระบบภูมคิ มุ้ กัน ทางจิตใจ กิลเบิรต์ ไม่ได้นำ� เสนอแนวความคิดนีท้ งั้ หมดในคราวเดียว แต่คอ่ ยๆ ประกอบขึน้ มา ทีละชิ้น และใช้อุปมาน�ำทางเพื่อแสดงให้เห็นว่าชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบ เข้าด้วยกันได้อย่างไร แต่เราอาจยังไม่เชื่อเต็มร้อย กิลเบิร์ตจึงโน้มน้าวเราเพิ่มเพื่อ ยืนยันว่าเขาหมายความตามที่พูดจริงๆ โดยให้ตัวอย่างว่าจะเป็นเช่นไร เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทางจิตใจของผู้คนท�ำงานจริงๆ • นักการเมืองอื้อฉาวรู้สึกขอบคุณที่ตนเองร่วงจากอ�ำนาจ • นักโทษทีถ่ กู จองจ�ำจากค�ำตัดสินผิดพลาด เรียกช่วงเวลา 37 ปี ในคุกว่าเป็น “ประสบการณ์อันงดงามและยิ่งใหญ่” • พีต เบสต์ (Pete Best) มือกลองที่ถูกวงสี่เต่าทองเขี่ยทิ้ง เคย กล่าวประโยคอันโด่งดังว่า “ผมมีความสุขมากกว่าการได้อยู่กับ วงเดอะบีเทิลส์เสียอีก” ตัวอย่างเหล่านี้ท�ำให้คนฟังเข้าใจประเด็นได้แจ่มแจ้ง กิลเบิร์ต กล่าวต่อเพือ่ แสดงว่าเราเห็นปรากฏการณ์นไี้ ด้ทกุ หนแห่ง และเราจะใช้ชวี ติ อย่างฉลาดและมีความสุขมากขึน้ ถ้าคุณตระหนักเรือ่ งนี้ สุดท้ายแล้วเราจะ ไขว่คว้าไล่ล่าความสุขไปท�ำไมกันล่ะ ในเมื่อเราสามารถผลิตสินค้าที่เรา โหยหานี้ได้เองอยู่แล้ว เราได้เห็นตัวอย่างมากพอที่จะจับองค์ประกอบหลักของการ อธิบายอย่างมีชั้นเชิงได้แล้ว มาสรุปกันอีกทีครับ Chris Anderson

115

ขัน้ ที่ 1 เขาเริม่ ต้นจากจุดทีเ่ รายืนอยู่ ทัง้ ในความหมายตรงตัว อย่าง “เมื่อคุณมีเวลาพูด 21 นาที…” และความหมายเชิงนัย โดยไม่ดว่ นตัง้ ข้อสันนิษฐานทีช่ วนถอยหนีเกีย่ วกับความรูท้ าง จิตวิทยาหรือประสาทวิทยาศาสตร์ ขั้นที่ 2 เขาจุดไฟที่เรียกว่า ความสนใจใคร่รู้ ความสนใจ ใคร่รู้คือสิ่งที่ท�ำให้ผู้คนตั้งค�ำถามว่า ท�ำไม และ อย่างไร มันคือความรู้สึกว่าบางอย่างไม่สมเหตุสมผล และมีช่องโหว่ ทางความรู้ที่ต้องเติมเต็ม ขั้นตอนนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มปาฐกถา แล้วปลุกปั่นให้เพิ่มทวีด้วยข้อมูลที่ผู้ฟังคาดไม่ถึงอย่างเรื่อง อัมพาตท่อนล่างและคนถูกลอตเตอรี่ ขั้นที่ 3 เขาเพิ่มแนวคิดเข้ามาทีละเรื่อง คุณไม่อาจเข้าใจ แนวความคิดหลักได้ หากไม่เริ่มจากท�ำความรู้จักแนวคิด ย่อยที่เป็นส่วนประกอบของแนวคิดหลัก เช่นในกรณีนี้คือ พรีฟรอนทัลคอร์เทกซ์ เครื่องจ�ำลองประสบการณ์ และการ ประเมินผลกระทบเกินจริง ขั้นที่ 4 เขาใช้อุปมาอุปไมย เช่น เครื่องจ�ำลองการบินและ ระบบภูมิคุ้มกันทางจิต เพื่อท�ำให้สิ่งที่เขาพูดชัดเจนขึ้น หาก ต้องการให้ค�ำอธิบายเรื่องหนึ่งๆ น่าพึงพอใจ คุณต้องสร้าง ความเชือ่ มโยงระหว่างข้อเท็จจริงทีน่ า่ ฉงนกับแบบจ�ำลองของ โลกทีผ่ ฟู้ งั มีอยูแ่ ล้ว ในใจ ซึง่ อุปมาอุปไมยและการเปรียบเปรย เป็นเครื่องมือหลักที่จ�ำเป็น มันช่วยจัดแต่งค�ำอธิบายจนเข้าที่ เข้าทาง และท�ำให้ผู้ฟังร้อง “อ๋อ” อย่างพึงพอใจ ขั้นที่ 5 เขาใช้ตัวอย่าง เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ เช่นเรื่องของ พีต เบสต์ ช่วยจัดวางค�ำอธิบายให้เข้าทีเ่ ข้าทาง เหมือนสือ่ สาร กับสมองว่า คิดว่าเข้าใจความคิดนีแ้ ล้วใช่ไหม ทีนลี้ องเอามาใช้ กับเรื่องจริงเหล่านี้ดู ถ้ามันสอดคล้องกันดีก็แปลว่าคุณเข้าใจ ทะลุปรุโปร่งแล้ว 116

T ED Talk s

พอค�ำอธิบายของกิลเบิร์ตจบลง แบบจ�ำลองของโลกในใจเรา ก็ยกระดับไปอีกขัน้ ด้วยข้อมูลทีม่ ากขึน้ ลึกซึง้ ขึน้ ถูกต้องยิง่ ขึน้ เป็นภาพ สะท้อนความจริงที่ยอดเยี่ยมกว่าเดิม การอธิบายคือการตั้งใจเพิ่มองค์ประกอบใหม่เข้าไปในแบบ จ�ำลองของโลกในใจคนอืน่ หรือจัดระเบียบองค์ประกอบทีม่ อี ยูแ่ ล้วให้อยูใ่ น รูปแบบทีน่ า่ พึงพอใจกว่าเดิม อย่างทีผ่ มบอกไปก่อนหน้านีว้ า่ ถ้าเป้าหมาย ของปาฐกถาทีย่ งิ่ ใหญ่คอื สร้างความคิดขึน้ ในใจใครสักคน การอธิบายก็ถอื เป็นเครื่องมือหลักเพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น ปาฐกถา TED จ�ำนวนมากบรรลุเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยการ อธิบายที่มีชั้นเชิง มีถ้อยค�ำงดงามค�ำหนึ่งที่ใช้เรียกของขวัญซึ่งปาฐกถา เหล่านีม้ อบให้ผฟู้ งั นัน่ คือค�ำว่า ความเข้าใจ เราอาจนิยามได้วา่ ความเข้าใจ คือการปรับปรุงโลกทัศน์ให้สะท้อนความเป็นจริงได้ดีขึ้น ในหลากหลายสาขาวิชา ตั้งแต่ประสาทวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา ไปจนถึงทฤษฎีการศึกษา ล้วนมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าความเข้าใจจะต้อง เกิดขึน้ ในลักษณะนี้ มันต้องสร้างขึน้ เป็นล�ำดับขัน้ แต่ละขัน้ มีองค์ประกอบ ที่ช่วยสร้างขั้นต่อไป เราเริ่มจากสิ่งที่เราเข้าใจ แล้วเติมชิ้นส่วนข้อมูล ทีละชิ้น โดยจัดวางต�ำแหน่งด้วยภาษาที่เราเข้าใจ มีอุปมาอุปไมยและ ตัวอย่างสนับสนุน อุปมาอุปไมยที่ว่านี้อาจเผยให้เห็น “รูปร่าง” ของแนว ความคิดใหม่ เพื่อให้จิตใจของเรารู้ว่าจะประกอบมันเข้าด้วยกันอย่างไร ให้ได้ผล ถ้าไม่เผยเค้าโครงรูปร่างนี้ เราก็ไม่สามารถประกอบแนวคิดใหม่ ให้เข้าที่เข้าทางได้ ดังนั้นงานหลักในการวางแผนปาฐกถาคือ สร้างสมดุล ระหว่างแนวคิดใหม่ที่คุณน�ำเสนอกับตัวอย่างและอุปมาอุปไมยที่จ�ำเป็น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจแนวคิดนั้นได้ นักเขียนพจนานุกรมที่ชื่อว่าเอริน แมคคีน (Erin McKean) ให้ ตัวอย่างชั้นดีที่แสดงพลังของอุปมาอุปไมยไว้ว่า ถ้าคุณบรรยายเรื่องภาษาจาวาสคริปต์กับผู้ฟังทั่วไป คุณอาจ อธิบายว่าคนเรามักมีแบบจ�ำลองในใจว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Chris Anderson

117

คือชุดค�ำสัง่ ทีท่ ำ� งานต่อกันเป็นล�ำดับ แต่ในจาวาสคริปต์ ค�ำสัง่ อาจ ไม่ตอ้ งท�ำงานตามล�ำดับเวลา ก็ได้ นัน่ เท่ากับคุณไม่อาจมัน่ ใจได้วา่ ค�ำสัง่ บรรทัดทีห่ า้ จะท�ำงานหลังบรรทัดทีส่ เี่ สมอไป ลองจินตนาการ ถึงเวลาทีค่ ณ ุ แต่งตัวตอนเช้า แล้วคุณสามารถสวมรองเท้าก่อนสวม กางเกงยีนส์ (หรือสวมกางเกงยีนส์กอ่ นสวมกางเกงชัน้ ใน) นัน่ แหละ คือสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในจาวาสคริปต์

อุปมาอุปไมยเพียงประโยคเดียว แล้วก็ ปิ๊ง! กระจ่างเลย ถ้าแก่นของปาฐกถาคือมุ่งอธิบายความคิดใหม่ที่ทรงพลัง การ ตั้งค�ำถามต่อไปนี้จะช่วยได้ครับ คุณคิดว่าผู้ฟังของคุณรู้อะไรอยู่แล้วบ้าง แนวคิดที่คุณจะน�ำมาเชื่อมโยงได้คืออะไร แนวคิดใดที่จ�ำเป็นส�ำหรับ ก่อร่างสร้างค�ำอธิบายของคุณ อุปมาอุปไมยและตัวอย่างอะไรที่คุณจะใช้ เพื่อเผยให้เห็นภาพแนวคิดนี้ชัดเจนขึ้น ค�ำสาปของความรู้ น่าเสียดายทีว่ ธิ ดี งั กล่าวนัน้ ไม่งา่ ยเลย เราล้วนมีอคติทางการเรียนรู้ ทีน่ กั เศรษฐศาสตร์ชอื่ โรบิน โฮการ์ธ (Robin Hogarth) เรียกว่า “ค�ำสาปของ ความรู”้ พูดง่ายๆ คือ พอเรารูเ้ รือ่ งอะไรดีแล้ว ก็ยากจะจ�ำได้วา่ ตัวเองรูส้ กึ อย่างไรตอนที่ ยังไม่รู้ เรื่องนั้น นักฟิสิกส์หายใจเข้าออกเป็นอนุภาคย่อย ของอะตอม และเหมาว่าคนอื่นรู้ว่าชาร์มควาร์ก คืออะไร ในงานเลี้ยงค็อกเทลงานหนึ่งไม่นานมานี้ ผมอึ้งไปเลยเมื่อนักเขียนนิยายรุ่นใหม่ผู้มีพรสวรรค์คนหนึ่งถามว่า “คุณ ใช้ค�ำว่า ‘การคัดเลือกโดยธรรมชาติ’ บ่อยมากเลย มันหมายความว่ายังไง กันแน่” ผมนึกว่าทุกคนที่มีการศึกษาสักหน่อยย่อมเข้าใจแนวคิดพื้นฐาน เรื่องวิวัฒนาการ แต่ผมคิดผิด ในหนังสือเรือ่ ง The Sense of Style: The Thinking Persons’ Guide to Writing in the 21st Century สตีเวน พิงเกอร์ (Steven Pinker) เสนอว่า 118

T ED Talk s

การเอาชนะค�ำสาปของความรูอ้ าจเป็นคุณสมบัตสิ ำ� คัญทีส่ ดุ เพียงหนึง่ เดียว หากต้องการเป็นนักเขียนที่ถ่ายทอดได้อย่างชัดเจน ถ้านี่เป็นคุณสมบัติ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการเขียน ซึง่ ผูอ้ า่ นมีโอกาสหยุดและอ่านทวนประโยคเดิม ได้หลายครั้งก่อนจะอ่านต่อ เช่นนั้นแล้วมันย่อมจ�ำเป็นยิ่งกว่าส�ำหรับ การพู ด พิ ง เกอร์ แ นะว่ า แค่ ต ระหนั ก รู ้ ว ่ า คนเรามี อ คติ แ บบนี้ นั้ น ยั ง ไม่พอ คุณต้องน�ำร่างต้นฉบับของคุณให้เพือ่ นหรือเพือ่ นร่วมงานดู และขอ ความเห็นแบบตรงไปตรงมาในทุกจุดที่พวกเขาไม่เข้าใจ กรณีการพูด ก็เช่นกัน โดยเฉพาะปาฐกถาที่พยายามอธิบายเรื่องซับซ้อน คุณควรเริ่ม จากน�ำร่างบทพูดให้เพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานดู แล้วลองพูดต่อหน้าผู้ฟังที่ คุณคุ้นเคย และถามให้แน่ชัดว่า ฟังรู้เรื่องไหม มีตรงไหนสับสนหรือเปล่า ผมชื่นชมความสามารถของพิงเกอร์ในการอธิบายกลไกการ ท�ำงานของจิตมานานแล้ว ผมจึงขอค�ำแนะน�ำจากเขาเพิ่มเติม เขาบอก ผมว่า ความเข้าใจที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคุณสื่อสาร โครงสร้าง ที่เป็นล�ำดับขั้น ของความคิดออกมาให้ครบ ข้อค้นพบหลักของจิตวิทยาการรูค้ ดิ (cognitive psychology) คือ ความจ� ำ ระยะยาวขึ้ น อยู ่ กั บ การจั ด ระบบเนื้ อ หาเป็ น ล� ำ ดั บ ขั้ น ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกัน มีหมวดย่อยอยู่ภายในหมวดใหญ่ ซึ่งอยู่ ภายในหมวดใหญ่ขึ้นไปอีกขั้น ความท้าทายของผูพ้ ดู คือต้องใช้สอื่ ที่โดยพื้นฐานแล้วเป็นสื่อมิติเดียวอย่างการพูด (ค�ำต่อค�ำ) เพื่อ ถ่ายทอดโครงสร้างที่มีหลายมิติ (มีล�ำดับขั้นและเชื่อมโยงข้าม หมวด) ผูพ้ ดู เริม่ จากเครือข่ายความคิดในหัว จากนัน้ ต้องแปลงมัน ออกมาเป็นถ้อยค�ำที่ร้อยเรียงกันตามธรรมชาติของภาษา

วิธีที่ว่านี้ต้องใส่ใจรายละเอียดลงไปถึงประโยคแต่ละประโยค และการเชื่อมโยงระหว่างประโยคเหล่านั้น ผู้พูดต้องแน่ใจว่าผู้ฟังจะรับรู้ ว่าแต่ละประโยคเชื่อมโยงกับประโยคก่อนหน้าอย่างไรโดยสอดคล้อง ตามตรรกะ ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะเป็นความเหมือน ความต่าง การ Chris Anderson

119

ขยายความ การให้ตัวอย่าง การแผ่ขยายไปครอบคลุมกรณีอื่นๆ การ เปลีย่ นแปลงก่อน-หลัง สาเหตุ ผลลัพธ์ หรือสิง่ ทีต่ รงข้ามกับความคาดหวัง และผูฟ้ งั ต้องรูว้ า่ ประเด็นทีต่ นก�ำลังพิจารณาอยูเ่ ป็นประเด็นนอกเรือ่ ง เป็น ส่วนหนึ่งของการอ้างเหตุผลหลัก หรือเป็นข้อยกเว้นที่ไม่สอดคล้องตาม เหตุผลหลักที่อ้าง เป็นต้น ถ้าคุณจินตนาการภาพโครงสร้างของปาฐกถาที่เน้นการอธิบาย โดยเริ่มจากแก่นเรื่องหลัก และมีส่วนประกอบอื่นๆ เข้ามาเชื่อมต่อ เช่น เรื่องเล่าประสบการณ์สารพัน ตัวอย่างต่างๆ รายละเอียดเพิ่มเติม ประเด็นนอกเรือ่ ง ค�ำอธิบายทีช่ ว่ ยให้กระจ่าง ฯลฯ ภาพโครงสร้างโดยรวม ก็จะดูเหมือนต้นไม้ แก่นเรื่องคือล�ำต้น กิ่งก้านคือประเด็นย่อยต่างๆ ที่ ติดกับล�ำต้น แต่ความเข้าใจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ฟังรู้ว่าเขาอยู่ตรงไหน บนต้นไม้ต้นนั้น นี่แหละคือจุดที่ค�ำสาปของความรู้ส่งผลกระทบแรงที่สุด ทุกๆ ประโยคนั้นเข้าใจได้ แต่ผู้พูดมักลืมบอกว่ามันเชื่อมโยงกันยังไง เพราะ ตัวผู้พูดมองเห็นชัดเจนอยู่แล้ว นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ผู้พูดคนหนึ่งบรรยายว่า ชิมแปนซีแข็งแรงกว่ามนุษย์มาก มนุษย์เรียนรู้ว่าจะใช้เครื่องมือ เพื่อเพิ่มพูนพละก�ำลังตามธรรมชาติของตัวเองได้อย่างไร แน่นอน ว่าชิมแปนซีก็ใช้เครื่องมือเช่นกัน

ผู้ฟังงงไปเลยครับ ผู้พูดต้องการบอกว่าอะไรหรือ ผู้พูดอาจจะ พยายามบอกว่าเครื่องมือส�ำคัญกว่าพละก�ำลัง แต่ก็ไม่อยากจะท�ำให้ เข้าใจว่าชิมแปนซีไม่ใช้เครื่องมือเลย หรือจะบอกว่าตอนนี้ชิมแปนซี สามารถเรียนรู้ว่าจะขยายพละก�ำลังมหาศาลของมันได้อย่างไร ประโยค สามประโยคนีไ้ ม่เชือ่ มโยงกัน ผลทีต่ ามมาคือความสับสน ตัวอย่างข้างบน ควรจะพูดแบบนี้แทน 120

T ED Talk s

แม้ว่าชิมแปนซีจะมีพละก�ำลังมากกว่ามนุษย์เยอะ แต่มนุษย์รู้จัก ใช้เครื่องมือได้ดีกว่า และเครื่องมือเหล่านั้นก็ขยายพละก�ำลัง ตามธรรมชาติของมนุษย์ให้เหนือกว่าชิมแปนซีอย่างมาก

หรืออีกแบบ (ซึ่งมีความหมายต่างกันอย่างยิ่ง) ชิมแปนซีมพี ละก�ำลังเหนือกว่ามนุษย์มาก และตอนนีเ้ ราพบว่ามัน ใช้เครื่องมือด้วย มันสามารถใช้เครื่องมือเหล่านั้นและเรียนรู้ที่จะ เพิ่มพละก�ำลังตามธรรมชาติของมัน

นี่หมายความว่า องค์ประกอบส�ำคัญที่สุดในการพูดคือวลีสั้นๆ ทีใ่ ห้เบาะแสว่าโครงสร้างโดยรวมของปาฐกถาเป็นอย่างไร เช่น “แม้วา่ …” “ตัวอย่างล่าสุดอันหนึง่ …” “ในอีกแง่…” “ขยายต่อจากประเด็นทีก่ ล่าวมา…” “เรามาลองเล่นบทฝ่ายค้านกันสักครู่…” “ผมต้องขอเล่าเรื่องสองเรื่องเพื่อ ขยายความข้อค้นพบนี้ให้คุณฟัง…” “ขอเสริมเพิ่มเติมหน่อย…” “มาถึง จุดนี้ คุณอาจคัดค้านว่า…” “ดังนั้น สรุปว่า…” ที่ส�ำคัญพอๆ กันคือล�ำดับของประโยคและแนวคิดที่จะก่อเกิด ความเข้าใจได้อย่างเป็นธรรมชาติ ตอนผมเอาร่างแรกของหนังสือเล่มนี้ ให้คนอื่นอ่าน มีคนบอกผมนับครั้งไม่ถ้วนว่า “ผมว่าผมเข้าใจนะ แต่มัน จะชัดเจนกว่านี้ถ้าคุณสลับล�ำดับสองย่อหน้านี้ และอธิบายเพิ่มอีกหน่อย ว่ามันเชื่อมโยงกันยังไง” เป็นเรื่องส�ำคัญมากที่เนื้อหาในหนังสือจะต้อง ชัดเจน และยิง่ ส�ำคัญมากขึน้ ไปอีกส�ำหรับการพูด ทัง้ นีท้ งั้ นัน้ ทางทีด่ ที สี่ ดุ คือต้องขอความช่วยเหลือจากคนทีย่ งั ใหม่กบั หัวข้อนัน้ เพราะเขาจะสังเกต ช่องโหว่ต่างๆ ได้ดีกว่าใคร เดบอราห์ กอร์ดอน (Deborah Gordon) เป็นผู้พูดของ TED ซึ่ง อธิบายว่าฝูงมดสอนเราเรือ่ งแนวคิดส�ำคัญในการสร้างเครือข่าย เธอบอกผม ว่าการค้นหาช่องโหว่ในค�ำอธิบายเป็นขัน้ ตอนส�ำคัญเมือ่ คุณเตรียมการพูด

Chris Anderson

121

ปาฐกถาไม่ ใ ช่ ภ าชนะหรื อ ถั ง ขยะที่ คุ ณ ใส่ เ นื้ อ หาลงไป มั น คื อ กระบวนการ คือวิถีของการเดินทาง มีเป้าหมายเพื่อพาผู้ฟัง ออกจากจุดที่เขาอยู่ไปยังสถานที่ใหม่ นั่นหมายความว่าคุณต้อง พยายามสร้างล�ำดับขั้นตอนอย่างละเอียดทีละก้าวจนแน่ใจว่าจะ ไม่มีใครหลงไประหว่างทาง อาจไม่ต้องยิ่งใหญ่อลังการ แต่ถ้าคุณ บินได้ แล้วอยากพาใครสักคนบินไปกับคุณด้วย คุณต้องจับมือเขา และออกโบยบินโดยไม่ปล่อยมือเด็ดขาด เพราะถ้าเขาตกลงไป ก็จบกัน! ฉันซ้อมต่อหน้าเพือ่ นและคนรูจ้ กั ทีไ่ ม่รอู้ ะไรเกีย่ วกับเรือ่ ง ทีฉ่ นั พูดเลย จากนัน้ ถามพวกเขาว่างงตรงไหนหรือสงสัยอะไร โดย หวังว่าถ้าฉันอุดช่องโหว่เหล่านัน้ ให้พวกเขา ก็เท่ากับฉันได้เติมเต็ม ช่องโหว่เดียวกันให้คนอื่นๆ ด้วย

และที่ส�ำคัญเป็นพิเศษคือ คุณควรตรวจสอบการใช้ศัพท์เฉพาะ ถ้ามีศัพท์เทคนิคหรือตัวย่อทั้งหลายที่ผู้ฟังอาจไม่คุ้นเคยก็ควรตัดทิ้งหรือ อธิบายขยายความ ไม่มอี ะไรท�ำให้ผฟู้ งั หงุดหงิดไปกว่าการฟังคนพูดเรือ่ ง TLAs1 สามนาทีโดยไม่รู้เลยว่า TLAs คืออะไร บางทีหากเจอสักค�ำเดียว ก็พอรับได้ แต่เมือ่ ศัพท์เฉพาะทางเริม่ ทยอยมาเป็นชุด คนฟังจะปิดสวิตช์ หยุดรับรู้ไปเลย ผมไม่ได้สนับสนุนให้คณ ุ อธิบายทุกสิง่ อย่างในระดับเดียวกับเวลา ที่คุณเล่าให้เด็กประถมหกฟังนะครับ ส�ำหรับชาว TED เรามีค�ำแนะน�ำซึ่ง ตั้งอยู่บนค�ำกล่าวของไอน์สไตน์ที่ว่า “ท�ำทุกอย่างให้ง่ายที่สุดเท่าที่มันจะ ง่ายได้ แต่ไม่ต้องง่ายเกินไปกว่านั้น”2 คุณคงไม่อยากดูถูกสติปัญญาของ ผู้ฟัง บางครั้งค�ำศัพท์เฉพาะทางก็ส�ำคัญ ส�ำหรับผู้ฟังส่วนใหญ่ คุณไม่ จ�ำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดว่าดีเอ็นเอคือโมเลกุลพิเศษทีเ่ ก็บข้อมูลทาง TLA คือ Three Letter Acronyms หรืออักษรย่อที่มี 3 ตัว ไม่ปรากฏชัดว่าเขาพูดตรงตามนี้ทุกตัวอักษรหรือเปล่า แต่ผู้คนยกให้เขาเป็นเจ้าของ ความคิดนี้ 1 2

122

T ED Talk s

พันธุกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล และคุณไม่ตอ้ งอธิบายให้มาก เกินไป ความจริงแล้วคนทีอ่ ธิบายเก่งจะพูดแค่พอให้คนคิดออกและรูส้ กึ ว่าเขาเกิด ความคิดนัน้ ขึน้ มาเอง กลยุทธ์ทใี่ ช้คอื น�ำแนวคิดใหม่มาและบรรยายรูปร่าง ของมันแค่คร่าวๆ พอให้จติ ใจทีเ่ ตรียมพร้อมของผูฟ้ งั จัดมันให้เข้าทีเ่ ข้าทาง ด้วยตัวเขาเอง วิธีนี้ท�ำให้คุณบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยัง ท�ำให้ผฟู้ งั พอใจอย่างลึกซึง้ เมือ่ จบปาฐกถา ผูฟ้ งั จะรูส้ กึ เอิบอาบด้วยรัศมี แห่งความฉลาดของตัวเอง จากการอธิบายสู่ความตื่นเต้น ยังมีเครื่องมือหลักอีกอย่างที่ใช้อธิบาย ก่อนที่คุณจะเริ่มก่อร่าง ความคิดในสมองผู้ฟัง พิจารณาให้ชัดเจนว่าอะไรที่ ไม่ใช่ ความคิดนั้น คุณคงสังเกตว่าผมใช้เทคนิคนี้ไปแล้วในหนังสือเล่มนี้ ตัวอย่างเช่น ตอน อธิบายรูปแบบการพูดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก่อนจะพูดถึงรูปแบบอื่นที่มี ประสิทธิภาพ ถ้าค�ำอธิบายเปรียบเหมือนการสร้างแบบจ�ำลองขนาดย่อ ในใจบนพื้นที่แห่งความเป็นไปได้อันกว้างใหญ่ จะมีประโยชน์มากหาก คุณเริ่มจากลดขนาดพื้นที่ลงก่อน การตัดความเป็นไปได้อื่นๆ ทิ้งท�ำให้ ผู้ฟังขยับเข้าใกล้สิ่งที่อยู่ในใจคุณได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อนักประสาท วิทยาศาสตร์อย่างซานดรา อามอดต์ (Sandra Aamodt) ต้องการอธิบาย ว่าท�ำไมสติ (mindfulness) จึงมีประโยชน์ตอ่ การควบคุมอาหาร เธอกล่าวว่า “ฉันไม่ได้บอกว่าคุณต้องไปฝึกสมาธิหรือลงเรียนโยคะ แต่ฉันก�ำลังพูดถึง การกิน อย่างมีสติ ซึง่ ก็คอื การเรียนรูท้ จี่ ะเข้าใจสัญญาณของร่างกาย เพือ่ ให้คุณกินเมื่อหิวและหยุดเมื่ออิ่ม” นักอธิบายฝีมือเยี่ยมอีกคนหนึ่งของ TED Talk คือ ฮานส์ โรสลิง (Hans Rosling – แผนภาพเคลื่อนไหวแสดงข้อมูลส�ำคัญ) เดวิด ดอยช์ (David Deutsch – การคิดนอกกรอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์) แนนซี แคนวิเชอร์ (Nancy Kanwisher – ประสาทวิทยาศาสตร์ที่เข้าถึงง่าย) Chris Anderson

123

สตีเวน จอห์นสัน (Steven Johnson – ความคิดมาจากไหน) และเดวิด คริสเตียน (David Christian – ประวัตศิ าสตร์บนผ้าใบผืนใหญ่) ผมแนะน�ำ ให้ฟังบรรยายของทุกคนที่ว่ามาเลยครับ แต่ละเรื่องจะสร้างสิ่งใหม่และ ทรงพลังขึ้นในตัวคุณ ซึ่งคุณจะเห็นคุณค่าของมันตราบนานเท่านาน ถ้าคุณอธิบายได้ดี คุณย่อมใช้ความสามารถนัน้ สร้างความตืน่ เต้น ทีแ่ ท้จริงให้ผฟู้ งั ได้ บอนนี แบสส์เลอร์ (Bonnie Bassler) นักวิทยาศาสตร์ ที่ ศึ ก ษาว่ า แบคที เ รี ย สื่ อ สารกั น อย่ า งไร กล่ า วปาฐกถาที่ ด� ำ ดิ่ ง ลงสู ่ งานวิจัยซับซ้อนแต่น่าตื่นเต้นที่แล็บของเธอศึกษาอยู่ เมื่อเธอท�ำให้ เราเข้าใจเรือ่ งนี้ เท่ากับเธอได้เปิดโลกแห่งความเป็นไปได้อนั น่าทึง่ ให้กบั เรา เธอท�ำอย่างนี้ครับ เธอเริ่ ม จากท� ำ ให้ เ ราเห็ น ว่ า ปาฐกถานี้ ส� ำ คั ญ ต่ อ เรา เพราะ อย่างไรเสียเราคงไม่อาจคิดเหมาเอาเองว่าจะมีผู้ฟังคนใดสนใจเรื่อง แบคทีเรียมากขนาดนั้น เธอจึงเริ่มต้นแบบนี้ครับ ฉั น รู ้ ว ่ า พวกคุ ณ มองว่ า ตั ว เองเป็ น มนุ ษ ย์ และฉั น ก็ ม องคุ ณ แบบนัน้ เช่นกัน มีเซลล์ของมนุษย์ประมาณล้านล้านเซลล์ทปี่ ระกอบ กันขึ้นเป็นตัวเราแต่ละคนและท�ำให้เรามีพฤติกรรมอย่างที่เราเป็น แต่คุณก็มีแบคทีเรียอยู่ภายในหรืออยู่บนร่างกายประมาณสิบล้าน ล้านเซลล์ ไม่วา่ ช่วงเวลาใดในชีวติ ก็ตาม นัน่ หมายความว่าร่างกาย มนุษย์มีเซลล์แบคทีเรียมากกว่าเซลล์มนุษย์เองถึงสิบเท่า … แบคทีเรียเหล่านี้ไม่ใช่ผู้โดยสารที่ติดรถมาด้วยเฉยๆ แต่มันส�ำคัญ อย่างไม่นา่ เชือ่ มันท�ำให้เรามีชวี ติ ต่อไป มันเปรียบเสมือนชุดเกราะ ล่องหนที่ห่อหุ้มเราและป้องกันแรงกระท�ำจากสิ่งแวดล้อม เพื่อ ให้เรามีสุขภาพดี พวกมันย่อยอาหารที่เรากิน สร้างวิตามินให้เรา ทีจ่ ริงมันสอนระบบภูมิคุ้มกันของเราให้ก�ำจัดจุลชีพตัวร้ายออกไป มันท�ำสารพัดสิ่งน่าทึ่งซึ่งคอยช่วยเหลือเรา และเป็นส่วนส�ำคัญยิ่ง ทีท่ ำ� ให้เรามีชวี ติ อยู่ โดยไม่เคยได้รบั การประกาศเกียรติคณ ุ ใดๆ เลย

124

T ED Talk s

โอเค คราวนีม้ นั เกีย่ วข้องกับตัวเราแล้ว เจ้าสิง่ มีชวี ติ ตัวจ้อยพวกนี้ ส�ำคัญต่อเรา จากนัน้ ค�ำถามทีไ่ ม่คาดคิดก็ปลุกเร้าความสนใจใคร่รขู้ องเรา เราเลยเกิดค�ำถามว่า พวกมันท�ำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร แบบว่ามัน ตัวเล็กจนไม่น่าเชื่อ คุณต้องมีกล้องจุลทรรศน์ถึงจะมองเห็น มันมี ชีวิตที่ออกจะน่าเบื่อ เติบโตแล้วแบ่งตัว และใครๆ มักจะมองว่ามัน เป็นสิ่งมีชีวิตสันโดษไร้สังคม และดูเหมือนมันจะตัวเล็กเกินกว่าจะ มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมถ้ามันกระท�ำการใดด้วยตัวเองเดี่ยวๆ

เอาละ เริม่ น่าสนใจแล้ว เธอก�ำลังจะบอกเราว่าแบคทีเรียออกล่า หาอาหารด้วยกันเป็นหมูง่ นั้ หรือ ชักอยากรูม้ ากขึน้ แล้วสิ! จากนัน้ บอนนี ก็พาเราไปแปลงร่างเป็นนักสืบที่คอยแกะรอยจากเบาะแสต่างๆ ที่ชี้ว่า แบคทีเรียต้องท�ำงานประสานกัน เธอเล่าเรื่องราวน่าทึ่งของปลาหมึก ทีเ่ รืองแสงได้ดว้ ยกลไกทางชีวภาพ ซึง่ อาศัยพฤติกรรมการท�ำงานร่วมกัน ของแบคทีเรียเพื่อให้มันล่องหน และสุดท้ายเราได้รู้ถึงข้อค้นพบของเธอ ว่าแบคทีเรียทีค่ กุ คามนัน้ ลงมือโจมตีมนุษย์ได้อย่างไร มันโจมตีดว้ ยตัวเอง เดีย่ วๆ ไม่ได้ แต่ใช้วธิ ปี ล่อยโมเลกุลเพือ่ สือ่ สาร เมือ่ แบคทีเรียแบ่งตัวเพิม่ จ�ำนวนในร่างกายเรา ความเข้มข้นของโมเลกุลนีจ้ ะเพิม่ ขึน้ จนทัง้ หมดรับรู้ ร่วมกันได้ในทันทีวา่ พวกมันมีจำ� นวนมากพอทีจ่ ะโจมตี โดยเริม่ จากปล่อย สารพิษออกมาพร้อมๆ กัน ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การสื่อสารของ แบคทีเรียด้วยระบบ ควอรัมเซนซิง (quorum sensing) ว้าว! เธอบอกว่ า การค้ น พบนี้ เ ปิ ด ทางสู ่ ก ลยุ ท ธ์ ใ หม่ ส� ำ หรั บ ต่ อ สู ้ กับแบคทีเรีย เราไม่ต้องฆ่ามัน แค่ตัดช่องทางการสื่อสารของมันก็พอ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีเชื้อแบคทีเรียดื้อยามากขึ้น แนวคิดใหม่น้ีจึง น่าตื่นเต้นมากจริงๆ

Chris Anderson

125

แล้วเธอก็ปิดท้ายโดยเผยให้เห็นแนวทางการน�ำไปใช้ที่กว้างขึ้น ฉั น อยากเสนอว่ า … นี่ ล ะคื อ ก� ำ เนิ ด ของสิ่ ง มี ชี วิ ต หลายเซลล์ แบคทีเรียอาศัยอยู่บนโลกนี้หลายพันล้านปีแล้ว มนุษย์เพิ่งอยู่มา ไม่ กี่ แสนปี เราคิดว่า แบคทีเ รีย เป็นผู้ส ร้ า งกฎการท� ำ งานของ สิ่ ง มี ชี วิต หลายเซลล์ … ถ้า เราท�ำความเข้ า ใจกฎของสิ่ ง มี ชี วิต ดึกด�ำบรรพ์เหล่านี้ได้ เราย่อมมีหวังที่จะน�ำมาประยุกต์ใช้กับ เชือ้ โรคอืน่ ๆ ในมนุษย์ และใช้กบั พฤติกรรมของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

ทุกๆ ขั้นในปาฐกถาของบอนนี ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นล้วนต่อเติมขึ้น จากสิ่งที่เธอพูดไว้ก่อนหน้านั้น ไม่มีศัพท์เทคนิคใดเลยที่เธอไม่อธิบาย และนั่นท�ำให้เธอสามารถเปิดประตูของความเป็นไปได้ใหม่ๆ แก่เรา เรื่อง ทีเ่ ธอเล่าเป็นวิทยาศาสตร์ทซี่ บั ซ้อน แต่กลับท�ำให้ผฟู้ งั ซึง่ ไม่ใช่ผเู้ ชีย่ วชาญ ตื่นเต้นมาก และเมื่อเธอพูดจบ ทุกคนต่างลุกขึ้นยืนปรบมือ ซึ่งท�ำให้เธอ แปลกใจไม่น้อยทีเดียว คุณไม่อาจมอบความคิดใหม่ที่ทรงพลังให้แก่ผู้ฟังได้ หากคุณ ไม่เรียนรู้วิธีการอธิบาย ซึ่งต้องด�ำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้น โดย มีเชื้อเพลิงเป็นความสนใจใคร่รู้ แต่ละขั้นต่อเติมขึ้นจากสิ่งที่ผู้ฟังรู้อยู่แล้ว อุปมาอุปไมยและตัวอย่างเป็นสิ่งจ�ำเป็นมากที่จะเผยให้เห็นว่าความคิด ต่างๆ เชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างไร จงระวังค�ำสาปของความรู้! คุณต้อง แน่ใจว่าคุณไม่ได้ก�ำลังทึกทักเอาเองว่าผู้ฟังรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้ ซึ่งอาจท�ำให้ พวกเขาฟังคุณไม่รู้เรื่องและหมดความสนใจในสิ่งที่คุณพูด หากท�ำเช่นนี้ ได้ เมือ่ คุณอธิบายบางอย่างทีพ่ เิ ศษออกไป ความตืน่ เต้นและแรงบันดาลใจ จะตามมาในทันที

126

T ED Talk s

8 การโน้มน้าวใจ เหตุผลสามารถเปลี่ยนจิตใจไปตลอดกาล

หากการอธิบายคือการสร้างความคิดใหม่เอี่ยมในใจใครสักคน การโน้มน้าวใจก็คงมีลักษณะถอนรากถอนโคนมากกว่านั้น กล่าวคือ ก่อนจะก่อสร้าง เราต้องท�ำลายของเดิมลงบางส่วนเสียก่อน การโน้มน้าวใจหมายถึงการท�ำให้ผู้ฟังยอมรับว่าวิธีมองโลก ของเขานั้นไม่ค่อยถูกต้อง และนั่นหมายถึงการทุบท�ำลายบางส่วนที่ ไม่ทำ� ให้เกิดผลดี พร้อมทัง้ สร้างสิง่ ทีด่ กี ว่า เมือ่ กระบวนการนีเ้ ป็นไปด้วยดี สิ่งที่น�ำเสนอจะน่าตื่นเต้นทั้งต่อผู้พูดและผู้ฟัง ตัวอย่างเช่น กรณีของนักวิทยาศาสตร์ด้านการรู้คิดอย่างสตีเวน พิงเกอร์ ซึ่งได้พังทลายแบบจ�ำลองความรุนแรงที่ผมเคยคิดไปหมดสิ้น ใครก็ตามที่เติบโตมาโดยเสพสื่อในปริมาณปกติจะเชื่อฝังหัวว่า โลกของเราพิกลพิการด้วยความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่หยุดยั้ง ทั้งสงคราม ฆาตกรรม เหตุทำ� ร้ายร่างกาย การก่อการร้าย และดูเหมือนว่าสถานการณ์ จะยิง่ แย่ลงเรือ่ ยๆ ภายในเวลา 18 นาที พิงเกอร์โน้มน้าวให้ผฟู้ งั TED เชือ่ ว่าความคิดนี้ผิดโดยสิ้นเชิง ที่จริงเมื่อคุณผลักกล้องของสื่อทั้งหลายให้ Chris Anderson

129

พ้นทางแล้วมองตรงไปทีข่ อ้ มูลจริง จะพบว่าโลกเรารุนแรงน้อยลง แนวโน้ม นี้แผ่ขยายต่อเนือ่ งปีแล้วปีเล่า ข้ามผ่านทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ แล้วเขาท�ำได้อย่างไรน่ะหรือ อันดับแรกเริม่ ด้วยการบ่อนท�ำลาย เล็กๆ น้อยๆ ต้องเหนี่ยวน�ำจิตใจของเราให้พร้อมก่อนจึงจะโน้มน้าวใจ ได้สำ� เร็จ พิงเกอร์เริม่ จากเตือนให้เราตระหนักว่าความรุนแรงในยุคก่อนๆ นัน้ น่าสยดสยองขนาดไหน เช่น กิจกรรมบันเทิงในทีส่ าธารณะของฝรัง่ เศส เมื่อห้าร้อยปีก่อนคือการหย่อนแมวเป็นๆ ลงในกองไฟเพื่อฟังเสียงมัน กรีดร้องโหยหวน หรือในสังคมโบราณหลายแห่ง มีผชู้ ายมากกว่าหนึง่ ในสาม เสียชีวิตเพราะความรุนแรง ใจความส�ำคัญคือเขาก�ำลังบอกว่า คุณอาจ คิดว่าความรุนแรงเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ แต่คุณลืมไปว่าในประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมามันเลวร้ายขนาดไหน แล้ ว เขาก็ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า สื่ อ สมั ย ใหม่ มี แ รงจู ง ใจให้ น� ำ เสนอ เรื่องราวที่เร้าอารมณ์และมีเนื้อหารุนแรง ไม่ว่าเหตุการณ์เหล่านั้นจะเป็น ตัวแทนของชีวติ ทัง้ มวลจริงหรือไม่กต็ าม เขาค่อยๆ เผยกลไกทีอ่ าจท�ำให้ เราประเมินระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโลกนี้มากเกินจริง พอเขาเริม่ เหนีย่ วน�ำให้คล้อยตามได้แล้ว จึงไม่ใช่เรือ่ งยากทีผ่ ฟู้ งั จะครุ่นคิดจริงจังเมื่อเห็นข้อมูลสถิติและแผนภาพที่แสดงว่าความรุนแรง ทุกรูปแบบลดลงอย่างชัดเจน ตั้งแต่ฆาตกรรมไปจนถึงสงครามใหญ่ๆ กลยุทธ์หลักทีใ่ ช้ในทีน่ คี้ อื น�ำเสนอสถิตโิ ดยเปรียบเทียบกับขนาดประชากร ประเด็นส�ำคัญไม่ใช่ยอดรวมผู้เสียชีวิตจากความรุนแรง แต่อยู่ที่ความ น่าจะเป็นที่คุณจะเสียชีวิตเพราะความรุนแรง เขาอภิปรายต่อถึงค�ำอธิบายที่เป็นไปได้สี่ข้อว่าท�ำไมจึงเกิด แนวโน้มที่เราคาดไม่ถึงเช่นนี้ และจบด้วยข้อสรุปเชิงบวกที่สวยงาม ไม่วา่ จะด้วยสาเหตุใด ผมคิดว่าการทีค่ วามรุนแรงลดลงมีนยั ลึกซึง้ ให้คิดต่อ สิ่งที่เราควรตั้งค�ำถามจากเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงว่าท�ำไม สงครามจึ ง เกิ ด ขึ้ น แต่ ต ้ อ งถามด้ ว ยว่ า แล้ ว ท� ำ ไมสั น ติ ภ าพจึ ง เกิดขึน้ ไม่ใช่แค่ถามว่าเราท�ำอะไรผิด แต่ตอ้ งถามด้วยว่าเราท�ำอะไร 130

T ED Talk s

ถูกต้องบ้าง เพราะทีผ่ า่ นมาเราได้ทำ� บางสิง่ บางอย่างทีถ่ กู ต้อง และ คงเป็นเรื่องดีแน่ถ้าเราค้นพบว่าสิ่งนั้นคืออะไร

สีป่ ใี ห้หลัง ปาฐกถานีน้ ำ� ไปสูห่ นังสือเล่มส�ำคัญทีช่ อื่ ว่า The Better Angels of Our Nature ซึ่งเป็นหนังสือที่พัฒนาต่อยอดจากข้อเสนอแนะ ของเขา สมมติว่าพิงเกอร์พูดถูก เท่ากับว่าเขาได้ให้ของขวัญที่งดงาม แก่คนนับล้าน พวกเราส่วนใหญ่ใช้เวลาตลอดชีวิตบนความเชื่อที่ว่า ข่าวรายวันนั้นมีแต่จะแย่ลงเรื่อยๆ อีกทั้งสงคราม การก่อการร้าย และ ความรุนแรงก็เกินควบคุม เมื่อคุณแทนที่ความเชื่อนี้ด้วยความเป็นไปได้ ทีว่ า่ แม้ทุกวันนี้สิ่งต่างๆ จะเลวร้าย แต่แท้จริงแล้วมันมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ความคิดนีช้ ว่ ยปัดเป่าเมฆหมอกออกไปเยอะเลยใช่ไหมครับ! การโน้มน้าวใจ สามารถเปลี่ยนมุมมองของใครบางคนไปได้ตลอดกาล การโน้มน้าวใจและการเหนี่ยวน�ำ นักจิตวิทยาอย่างแบร์รี ชวาร์ตซ์ เป็นผูเ้ ปลีย่ นวิธคี ดิ ของผมเรือ่ ง ทางเลือก ในสังคมตะวันตก เราหมกมุ่นอยู่กับการเพิ่มทางเลือกให้มาก ที่สุด เสรีภาพเป็นคาถาประจ�ำใจของเรา และการเพิ่มทางเลือกให้มาก ทีส่ ดุ ก็คอื วิธเี พิม่ เสรีภาพให้มากทีส่ ดุ ชวาร์ตซ์เห็นต่างออกไป ในปาฐกถา ของเขา ชวาร์ ต ซ์ ค ่ อ ยๆ โน้ ม น้ า วให้ เ ราเชื่ อ ว่ า อั น ที่ จ ริ ง ในหลายๆ สถานการณ์ ทางเลือกจ�ำนวนมากเกินไปก็ทำ� ให้เรา ไม่มคี วามสุข เครือ่ งมือ ท�ำลายล้างความเชื่อเก่าของเขานั้นง่ายมากจนน่าประหลาดใจ เขาผสม ทฤษฎีทางจิตวิทยาเล็กๆ น้อยๆ เข้ากับตัวอย่างหลายๆ ตัวอย่าง ตั้งแต่ พฤติกรรมการท�ำประกันสุขภาพไปจนถึงประสบการณ์จบั จ่ายซือ้ ของทีน่ า่ หงุดหงิดใจ ทั้งหมดแทรกด้วยการ์ตูนสนุกๆ เกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ ที่คัด มาจากนิตยสาร New Yorker ความคิดเหล่านี้ขัดกับสามัญส�ำนึกของเรา Chris Anderson

131

แต่ตลอดการเดินทางนีช้ า่ งเพลิดเพลินจนเราแทบไม่ได้สงั เกตว่า โลกทัศน์ ที่เราเติบโตมาพร้อมกับมันก�ำลังถูกทุบแตกเป็นเสี่ยงๆ นักเขียนอย่างอลิซาเบธ กิลเบิร์ต แสดงให้เห็นว่าพลังของการ เล่าเรือ่ งอาจเป็นชิน้ ส่วนส�ำคัญของชุดเครือ่ งมือทีใ่ ช้โน้มน้าวใจ เป้าหมาย ของเธอคือเปลี่ยนวิธีคิดของเราเกี่ยวอัจฉริยภาพด้านการสร้างสรรค์ แทนที่จะจินตนาการว่าอัจฉริยภาพคือสิ่งที่ใครบางคนมีติดตัวมา และ ถ้ า คุ ณ มี ก็ คื อ มี ถ้ า ไม่ มี ก็ คื อ ไม่ มี ขอให้ ล องเปลี่ ย นมาคิ ด ว่ า มั น คื อ ของขวั ญ ที่ คุ ณ ได้ รั บ ในบางโอกาสหากคุ ณ เตรี ย มตั ว เองให้ พ ร้ อ ม ที่จะรับมัน พูดอย่างนี้อาจฟังดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไร แต่กิลเบิร์ตใช้ความ ปราดเปรื่องของนักเล่าเรื่องมาโน้มน้าวเราจนได้ เธอเริ่มต้นปาฐกถา ด้วยเรื่องราวตอนที่ตัวเธอเองหวาดกลัวต่อความคาดหวังว่าจะต้องเขียน นิยายได้ประสบความส�ำเร็จเท่ากับนิยายขายดีของเธอเล่มก่อนหน้านีเ้ รือ่ ง Eat, Pray, Love จากนัน้ เธอจึงแบ่งปันเรือ่ งราวแฝงอารมณ์ขนั และกินใจ เกี่ยวกับนักสร้างสรรค์ที่ถูกรุมเร้าด้วยความหวั่นกลัวว่าจะไม่สามารถ ท�ำงานออกมาได้ตามต้องการ เธอยังเล่าอีกว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ผู้คนมองค�ำว่า อัจฉริยะ แตกต่างออกไป มันไม่ใช่สิ่งที่คุณเป็น แต่เป็นสิ่ง ทีม่ าเยือนคุณ ตอนนัน้ เองเธอจึงยกเรือ่ งของกวีชอื่ รูธ สโตน (Ruth Stone) ซึ่งเคยเล่าให้เธอฟังถึงชั่ววินาทีที่รู้สึกว่าบทกวีก�ำลังจะมาเยือน เธอรู้สึกว่ามันก�ำลังมา เพราะมันเขย่าแผ่นดินใต้ฝ่าเท้าเธอให้สั่น สะเทือน เธอรู้ว่ามีอย่างเดียวที่ต้องท�ำ ณ เวลานั้น คือวิ่งชนิดที่ เธอบรรยายว่าวิ่งอย่างไม่คิดชีวิต เธอจะวิ่งไม่คิดชีวิตกลับเข้าบ้าน เหมือนถูกบทกวีไล่กวด และสิง่ ส�ำคัญทีต่ อ้ งท�ำคือฉวยกระดาษและ ดินสอให้เร็วพอ เพราะเมือ่ บทกวีนนั้ ฟาดผ่านตัวเธอดังสายฟ้า เธอ จะได้เอื้อมคว้าและเก็บรวบรวมมันไว้บนหน้ากระดาษได้ทัน

ถ้าเธอเล่าเรือ่ งนีต้ งั้ แต่ตอนต้นปาฐกถา มันคงฟังดูประหลาดมาก แต่เมือ่ เล่าในตอนท้ายกลับดูเป็นธรรมชาติ และยังช่วยเสริมความคิดหลัก 132

T ED Talk s

ของเธอให้หนักแน่นมั่นคงขึ้น ในทั้งสองกรณี หัวใจของการกระตุ้นให้คนเปลี่ยนโลกทัศน์คือ ต้องค่อยๆ พาผู้ฟังเดินทางไปทีละขั้น เหนี่ยวน�ำจิตใจผู้ฟังด้วยวิธีการ ต่างๆ ก่อนเข้าสู่ข้อโต้แย้งหลัก เมื่อพูดถึงค�ำว่า เหนี่ยวน�ำ ผมหมายถึงอะไรน่ะหรือ นักปรัชญา ชื่อแดเนียล เดนเนตต์ (Daniel Dennett) อธิบายได้ดีที่สุด เขาสร้างค�ำว่า เครื่องอัดฉีดความรู้สึกตามสามัญส�ำนึก (intuition pump) ซึ่งหมายถึง อุ ป มาอุ ป ไมยหรื อ เครื่ อ งมื อ ทางภาษาศาสตร์ ใ ดๆ ที่ ท� ำ ให้ ข ้ อ สรุ ป ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยสอดคล้องกับความรู้สึกตามสามัญส�ำนึก นี่ละ คือการเหนี่ยวน�ำ ซึ่งไม่ใช่การอ้างเหตุผลที่หนักแน่นอะไร เป็นแค่วิธี เรียบง่ายเพือ่ ผลักดันให้คนอืน่ เคลือ่ นไปในทิศทางทีค่ ณ ุ ต้องการ เรือ่ งราว การช็อปปิง้ ของแบร์รี ชวาร์ตซ์ คือเครือ่ งอัดฉีดความรูส้ กึ ตามสามัญส�ำนึก ถ้าเขาเริม่ พูดตรงๆ ว่า “ทางเลือกทีม่ ากเกินไปท�ำให้คณ ุ ไม่มคี วามสุข” เรา ก็คงกังขา แทนที่จะพูดอย่างนั้น เขาจึงเหนี่ยวน�ำเราว่า สมัยก่อนกางเกงยีนส์มีอยู่แบบเดียว คุณซื้อมา แล้วมันใส่ไม่พอดี สวมไม่สบายเอาเสียเลย แต่พอคุณใส่และซักมันหลายครั้งเข้า ก็เ ริ่มรู้สึก โอเค พอผมไปหาซื้อกางเกงยี นส์ ใ หม่ แ ทนตั วเก่ า ๆ พวกนี้ ผมบอกเจ้าของร้านว่า “ผมอยากได้กางเกงยีนส์สกั ตัว ขนาด เท่านี้ครับ” เจ้าของร้านถามว่า “คุณอยากได้แบบแนบเนื้อ พอดีตัว หรือหลวมๆ แล้วอยากได้แบบกระดุมหรือแบบซิป อยากได้แบบที่ ฟอกสีด้วยหินหรือด้วยกรด อยากได้แบบที่ขาดด้วยไหม อยากได้ ทรงขาม้าหรือขาสอบ บลาๆๆ”

ขณะที่เขาเล่าเรื่องนี้ เราสัมผัสได้ถึงความเครียดของเขา และ นึกถึงทุกครั้งที่เราเคยเครียดเวลาจับจ่ายซื้อของแบบไม่รู้จักจบสิ้น แม้ว่า เรื่องของเขาจะเป็นเพียงเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งของผู้ชายคนหนึ่ง และโดย ตัวมันเองไม่นา่ จะใช้เป็นเหตุผลรองรับค�ำกล่าวทีว่ า่ ทางเลือกทีม่ ากเกินไป Chris Anderson

133

ท�ำให้คณ ุ ไม่มคี วามสุข แต่เราก็กำ� ลังขยับไปในทิศทางทีเ่ ขามุง่ หน้าไป จูๆ่ ความคิดที่เขาพยายามโน้มน้าวให้เราเชื่อก็ดูมีน�้ำหนักมากขึ้น เดนเนตต์ชี้ว่าข้อเขียนทางปรัชญาที่ได้รับค�ำชื่นชมมากที่สุด ไม่ใช่ข้อโต้แย้งที่มีเหตุผล แต่คือเครื่องอัดฉีดความรู้สึกตามสามัญส�ำนึก ที่ทรงพลัง เช่น ข้อเขียนเรื่องถ�้ำของเพลโต (Plato) หรือเรื่องปีศาจของ เดการ์ต (René Descartes) ในตัวอย่างหลังนี้ เดการ์ตต้องการตัง้ ข้อสงสัย ในทุกสิ่งที่ตั้งข้อสงสัยได้ เขาจึงจินตนาการว่าประสบการณ์ทั้งหมดที่เขา ส�ำนึกรู้เป็นเพียงภาพลวงตาที่ปีศาจร้ายใช้หลอกลวงเขา เจ้าปีศาจตนนี้ อาจเป็นผู้สร้างโลกทั้งโลกที่เขาคิดว่าเขาเห็น สิ่งเดียวที่เดการ์ตแน่ใจได้ คือประสบการณ์การคิดและการตั้งข้อสงสัย นั่นแปลว่าอย่างน้อยเขาก็ มีตัวตนอยู่จริง ดังนั้นเขาจึงสรุปว่า เพราะฉันคิด ฉันจึงมีตัวตน ถ้าไม่มี ข้อสมมติเรื่องปีศาจ ตรรกะของเขาก็ยากจะเข้าถึง จิตใจของเราไม่ใช่ เครื่องจักรแห่งตรรกะไร้อารมณ์ จึงต้องอาศัยแรงผลักดันไปในทิศทาง ที่ถูก และเครื่องอัดฉีดความรู้สึกตามสามัญส�ำนึกนับเป็นวิธีการที่ช่วยให้ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน เมือ่ คุณเหนีย่ วน�ำผูฟ้ งั ได้แล้ว คุณจะน�ำเสนอข้อโต้แย้งหลักได้งา่ ย ขึน้ มาก ว่าแต่จะท�ำอย่างไรล่ะ? ก็ตอ้ งใช้เครือ่ งมือทีส่ ง่างามทีส่ ดุ ในบรรดา เครื่องมือทั้งปวง และสามารถสร้างผลกระทบคงทนยาวนาน ชื่อของมัน มาจากค�ำศัพท์ปรัชญาโบราณที่ผมรัก เครื่องมือที่ว่าคือ เหตุผล (reason) ความสามารถทะลุทะลวงของเหตุผล จุดเด่นของเหตุผลคือ มันสามารถสร้างข้อสรุปที่มั่นคงแน่นอน ยิ่งกว่าเครื่องมือทางจิตใจทุกประเภท ในข้อโต้แย้งที่มีเหตุผลนั้น หากข้อ สันนิษฐานเบื้องต้นถูกต้อง ข้อสรุปที่มีเหตุมีผลย่อมถูกต้อง และสามารถ ตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามันถูกต้องจริงๆ ถ้าคุณโน้มน�ำอีกฝ่ายให้เชื่อมั่น และเดินไปตามข้อโต้แย้งที่มีเหตุผลได้ ความคิดที่คุณปลูกลงในใจเขา 134

T ED Talk s

จะอยู่ที่นั่นและไม่จากไปไหน แต่เพื่อให้กระบวนการนี้ได้ผล เราต้องแบ่งมันเป็นก้าวย่อยๆ และแต่ละก้าวต้องน่าเชื่อถือเต็มร้อย จุดเริ่มต้นของทุกก้าวต้องเป็นสิ่งที่ ผู้ฟังเห็นได้ชัดแจ้งว่าเป็นจริง หรือเป็นสิ่งที่เราแสดงให้รู้ว่าเป็นจริงตั้งแต่ ช่วงแรกๆ ของปาฐกถา กลไกหลักที่ว่านี้คือประโยคเชิงเงื่อนไข “ถ้า... ดังนั้น…” เช่น ถ้า X เป็นจริง ดังนั้นเห็นได้ชัดว่า Y ย่อมเป็นจริงตามไป ด้วย (เพราะ ทุกครั้ง ที่มี X ย่อมเกิด Y ตามมาเสมอ) หนึ่งในปาฐกถา TED ที่ได้คะแนนโหวตว่ามีพลังโน้มน้าวใจ มากที่สุดคือปาฐกถาของแดน พัลลอตตา (Dan Pallotta) นักปฏิรูปงาน การกุศล เขากล่าวว่ามุมมองที่เรามีต่องานการกุศลท�ำให้องค์กรไม่แสวง ผลก�ำไรต้องพิกลพิการอย่างไร้ซึ่งความหวัง เขาให้เหตุผลสนับสนุน จุดยืนนี้โดยพูดถึงองค์ประกอบห้าด้านขององค์กร ได้แก่ ระดับเงินเดือน ความคาดหวังทางการตลาด ความยินดีทจี่ ะเสีย่ ง ระยะเวลาทีจ่ ะก่อให้เกิด ผลกระทบ และหนทางเข้าถึงทุน แดนขยายความแต่ละด้านด้วยถ้อยค�ำ คมกริบดังใบมีดโกน เสริมด้วยภาพอินโฟกราฟิกสวยๆ เพื่อแสดงให้เห็น ความแตกต่างทีไ่ ร้เหตุผลระหว่างสิง่ ทีเ่ ราคาดหวังต่อบริษทั และต่อองค์กร ไม่แสวงผลก�ำไร ปาฐกถานีเ้ ต็มไปด้วยประโยคเชิงเงือ่ นไข “ถ้า...ดังนัน้ …” ตัวอย่างเช่น หลังจากชีใ้ ห้เห็นแล้วว่า เรามักส่งเสริมให้บริษทั ลอง ลงทุนท�ำอะไรที่ต้องเสี่ยง แต่กลับหน้านิ่วคิ้วขมวดเมื่อองค์กรไม่แสวงผล ก�ำไรจะท�ำเช่นนั้นบ้าง เขาก็กล่าวเพิ่มเติมว่า “คือว่านะ คุณกับผมรู้กันอยู่ แล้วว่า เมือ่ คุณห้ามไม่ให้เกิดความล้มเหลว เท่ากับคุณฆ่านวัตกรรมไปด้วย ถ้าคุณฆ่านวัตกรรมในขัน้ ตอนระดมทุน คุณก็ไม่สามารถหารายรับเพิม่ ได้ ถ้าคุณหารายรับเพิม่ ไม่ได้ คุณก็เติบโตไม่ได้ และถ้าคุณเติบโตไม่ได้ คุณก็ คงไม่สามารถแก้ปัญหาใหญ่ๆ ในสังคมได้” นี่เป็นประเด็นที่พิสูจน์ชัดเจน แล้ว ถ้าเราต้องการให้องค์กรไม่แสวงผลก�ำไรแก้ปัญหาส�ำคัญในสังคม เราต้อง เลิก ห้ามไม่ให้เขาล้มเหลว

Chris Anderson

135

มีรูปแบบการใช้เหตุผลอีกอย่างที่เรียกว่า การลดทอนให้เป็น สิ่งไร้สาระ (reductio ad absurdum) ซึ่งมีพลังท�ำลายล้างสูงมาก มัน คือกระบวนการยกจุดยืนของ ฝ่ายตรงข้าม ที่คุณก�ำลังโต้เถียงด้วย มาแสดงให้เห็นว่าจุดยืนนั้นน�ำไปสู่ข้อสรุปที่ขัดแย้ง ถ้าจุดยืนของฝ่าย ตรงข้ามผิด จุดยืนของคุณก็จะแข็งแกร่งขึน้ (หรืออาจถึงขัน้ พิสจู น์ได้วา่ เป็น จริง ถ้าไม่มีตัวเลือกจุดยืนอื่นๆ อีก) ผู้พูดส่วนใหญ่มักไม่ได้ใช้วิธีลดทอน ข้ อ โต้ แ ย้ ง ให้ เป็นสิ่งไร้สาระอย่า งเต็ม รูป แบบ แต่ก็มักหยิบ หลักการ ของมันมาใช้บา้ ง โดยให้ตวั อย่างทีต่ รงข้ามอย่างสุดโต่ง และแสดงให้เห็นว่า เรือ่ งนีน้ า่ ข�ำแค่ไหน ขอยกอีกตัวอย่างหนึง่ ซึง่ ตัดตอนมาจากปาฐกถาของ แดน พัลลอตตา เขาชี้ให้เห็นว่าน่าประหลาดใจเพียงใดที่เราไม่พอใจ เมือ่ ผูน้ ำ� องค์กรไม่แสวงผลก�ำไรได้เงินเดือนสูง “คุณอยากท�ำเงินห้าสิบล้าน ดอลลาร์จากการขายวิดีโอเกมที่มีเนื้อหารุนแรงให้เด็กๆ ใช่ไหม เอาสิ เดี๋ยวเราจะให้คุณขึ้นปกนิตยสาร Wired ด้วย แต่ถ้าคุณอยากมีรายได้ ห้าแสนดอลลาร์แลกกับที่คุณพยายามช่วยรักษาเด็กๆ ที่เป็นมาลาเรีย ละก็ คุณมันปรสิตหิวเงินชัดๆ” ในเชิงโวหารแล้ว ข้อโต้แย้งนี้กินขาดเลย การท� ำ ลายความน่ า เชื่ อ ถื อ ของจุ ด ยื น ฝ่ า ยตรงข้ า มนั บ เป็ น เครื่องมือที่ทรงพลังอีกประเภทหนึ่ง แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ควรเอา ไว้ใช้กับประเด็นที่ต้องการโต้แย้งมากกว่าที่จะใช้กับตัวบุคคลโดยตรง ผมรับได้นะถ้าพูดว่า “เข้าใจได้ไม่ยากเลยว่าท�ำไมสื่อจึงน�ำเสนอเรื่องนี้ ในแบบที่ต่างออกไปอยู่ตั้งนานหลายปี ก็เพราะคุณขายหนังสือพิมพ์ด้วย ข่าวดรามา ไม่ใช่ขายหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเบื่อ” แต่ผมจะอึดอัด กับข้อโต้แย้งท�ำนองว่า “แน่ละ เขาต้องพูดแบบนั้นอยู่แล้ว เพราะเขา ถูกจ้างมาให้พูดอย่างนั้น” แล้วการใช้เหตุผลก็จะเปลี่ยนไปเป็นการ สาดโคลนใส่กันได้อย่างรวดเร็ว

136

T ED Talk s

ให้เราเป็นนักสืบ มีวธิ โี น้มน้าวใจทีม่ เี สน่หย์ งิ่ กว่านัน้ อีกครับ ที่ TED เราเรียกมันว่า เรื่ อ งราวของนั ก สื บ ปาฐกถาที่ เ ปี ่ ย มพลั ง โน้ ม น้ า วใจหลายเรื่ อ งใช้ เครือ่ งมือนีเ้ ป็นหัวใจส�ำคัญตัง้ แต่ตน้ จนจบ เริม่ จากเรือ่ งราวลึกลับ ก่อนจะ เดินทางท่องโลกความคิดเพือ่ สืบหาค�ำตอบทีเ่ ป็นไปได้ จากนัน้ ตัดทิง้ ทีละ ค�ำตอบ จนกระทั่งมีค�ำตอบที่ใช้ได้เหลือรอดอยู่เพียงค�ำตอบเดียว ตัวอย่างง่ายๆ คือปาฐกถาของศิลปินชื่อซีกฟรีด โวลด์เฮก (Siegfried Woldhek) เขาอยากพิสูจน์ว่าภาพวาดอันโด่งดังทั้งสามภาพ ของลีโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ที่จริงแล้วคือภาพของ ตัวดาวินชีเองในช่วงชีวิตที่แตกต่างกัน โวลด์เฮกพยายามสร้างน�้ำหนัก ให้จุดยืนนี้ โดยตั้งโจทย์ว่าปาฐกถาของเขาคือการสืบเสาะเพื่อค้นหา “ใบหน้าที่แท้จริง” ของลีโอนาร์โด ดาวินชี เขาเริ่มจากภาพเหมือนของ ผูช้ ายจ�ำนวน 120 ภาพทีเ่ ชือ่ ว่าลีโอนาร์โดเป็นผูว้ าด และถามว่ามีภาพไหน ในนี้ที่ลีโอนาร์โดวาดตนเองบ้างไหม แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร จากนั้นเขา เริ่มตัดภาพต่างๆ ทิ้งโดยอาศัยทักษะของเขาเองในฐานะศิลปินนักวาด ภาพเหมือนบุคคล เหมือนนักสืบตัดผู้ต้องสงสัยออกจากการสืบสวน จนกระทั่งเหลือเพียงสามภาพ คราวนี้ก็ถึงเวลาชี้ขาด แม้ว่าสามภาพนี้เป็นภาพผู้ชายต่างวัย และวาดขึ้นต่างช่วงเวลา แต่ล้วนมีลักษณะบนใบหน้าเหมือนกัน และ ยังตรงกับรูปปั้นดาวินชี ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นรูปเหมือนของดาวินชีเพียง ชิ้นเดียวที่ศิลปินคนอื่นได้สร้างสรรค์ไว้ วิธีนี้โน้มน้าวเราได้ดี เพราะเรารู้สึกเหมือนได้ร่วมเรียนรู้ไปบน เส้นทางเดียวกับผู้พูด แทนที่เขาจะพร�่ำบอกข้อเท็จจริง เขากลับเชิญเรา มาร่วมกระบวนการค้นหาด้วยกัน จิตใจเราจึงจดจ่อมากขึ้นเองโดย ธรรมชาติ ขณะทีเ่ ราตัดทฤษฎีคแู่ ข่งออกทีละทฤษฎี เราก็คอ่ ยๆ คล้อยตาม เขา และกลายเป็นว่า เราโน้มน้าวใจตัวเราเอง Chris Anderson

137

เครือ่ งมือนีย้ งั น�ำไปใช้เพือ่ เปลีย่ นหัวข้อยากๆ ให้กลายเป็นหัวข้อ ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ความท้าทายที่ผู้พูดพบเสมอคือ จะท�ำอย่างไรให้เรื่อง หนักๆ อย่างโรคภัยไข้เจ็บ ภาวะอดอยาก หรือความเสือ่ มทรามของมนุษย์ กลายเป็นหัวข้อปาฐกถาที่ผู้ฟังอยากมาฟังและมีอารมณ์ร่วมกับเนื้อหา เหล่านั้นจริงๆ นักเศรษฐศาสตร์ชื่อเอมิลี ออสเตอร์ (Emily Oster) ต้องการ โน้มน้าวให้เราเชื่อว่าเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ช่วยให้เรามองเรื่อง เชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์แตกต่างไปจากเดิม แต่แทนที่จะแค่น�ำเสนอ เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ เธอเลือกที่จะแปลงร่างเป็นนักสืบแทน เธอ เปิดภาพสไลด์ที่เขียนว่า “สี่สิ่งที่เรารู้” แล้วยกหลักฐานอันน่าประหลาดใจ ขึ้นมาล้มล้างสิ่งที่เรารู้ไปทีละข้อ เพื่อเปิดประตูให้เธอน�ำเสนอทฤษฎี ทางเลือกแก่ผู้ฟัง พลังของโครงสร้างแบบนีเ้ กิดขึน้ ได้เพราะมันกระตุน้ ต่อมหลงใหล ในเรื่องเล่าของเรา ปาฐกถาทั้งเรื่องฟังดูเหมือนเรื่องเล่า แถมเป็นเรื่อง ลึกลับด้วย ความอยากรูอ้ ยากเห็นยิง่ กระตุน้ ให้เราสนใจใคร่รมู้ ากขึน้ เรือ่ ยๆ จนกระทั่งไปถึงบทสรุปที่น่าพึงพอใจ ขณะเดียวกันก็มีหลักตรรกะอัน ทรงพลังเป็นฐานรองรับ ถ้าทางเลือกทั้งหลายล้วนผิดหมด และเหลือ ทางเลือกทีเ่ ป็นไปได้อยูท่ างเดียว ทางเลือกนัน้ ย่อมต้องเป็นจริง ปิดคดีได้! แค่ตรรกะยังไม่เพียงพอ บางครัง้ ก็เป็นเรือ่ งยากทีจ่ ะท�ำให้ปาฐกถาทีต่ งั้ อยูบ่ นหลักเหตุผล มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ คนเราไม่ใช่คอมพิวเตอร์ และไม่ได้ใช้วงจรตรรกะได้ อย่างคล่องแคล่วทีส่ ดุ เสมอไป หากอยากให้ปาฐกถามีพลังโน้มน้าวใจอย่าง แท้จริง แค่ใช้ขั้นตอนตามตรรกะที่ปราศจากช่องโหว่นั้นยังไม่เพียงพอ ขั้ น ตอนพวกนี้ จ� ำ เป็ น ก็ จ ริ ง แต่ ต ้ อ งมี อ ะไรมากกว่ า นั้ น ตรรกะอาจ โน้มน้าวให้คนส่วนใหญ่คล้อยตามได้ แต่มันไม่ได้ปลุกเร้าให้คนเราตื่นตัว 138

T ED Talk s

เสมอไป และถ้าเราไม่รู้สึกตื่นตัว ก็อาจลืมข้อโต้แย้งนั้นและปล่อยมัน ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงต้องเสริมแต่งภาษาของเหตุผลด้วย เครือ่ งมือทีไ่ ม่เพียงท�ำให้ขอ้ สรุปถูกต้อง แต่ยงั มีความหมาย น่าตืน่ เต้น และ พึงปรารถนาด้วย มีเครื่องมืออีกหลายอย่างที่คุณน�ำมาใช้ได้ นอกเหนือจากเครื่อง อัดฉีดความรู้สึกตามสามัญส�ำนึก หรือเรื่องราวแนวนักสืบที่กล่าวไป ก่อนหน้านี้ • แทรกอารมณ์ขันตั้งแต่ต้น นี่เป็นการสื่อสารข้อความที่มี ประโยชน์มาก ราวกับคุณก�ำลังบอกว่า ผมจะชวนคุณขบคิด อย่างหนักหน่วงเลยนะ … แต่รับรองว่าต้องสนุกแน่ๆ เราจะ เหงื่อไหลไคลย้อยและหัวเราะไปด้วยกัน • เติมเรื่องเล่าเกี่ยวกับประเด็นนั้น อาจใช้สักตัวอย่างหนึ่ง ที่เผยให้เห็นว่าคุณมาสนใจประเด็นนี้ได้อย่างไร วิธีนี้ท�ำให้คน สัมผัสความเป็นมนุษย์ในตัวคุณ ถ้าผู้ฟังรู้ว่า ท�ำไม คุณจึง หลงใหลในประเด็นนั้น พวกเขาก็มักจะตั้งใจฟังตรรกะของคุณ มากขึ้น • ยกตัวอย่างที่แจ่มแจ้ง ถ้ า ผมอยากโน้ ม น้ า วคุ ณ ว่ า ความ เป็นจริงที่ปรากฏนั้นไม่มีอะไรเหมือนกับที่คุณเคยเชื่อเลย ผม อาจเริ่มจากให้คุณดูภาพลวงตาที่หลอกตาสุดๆ ต่อให้สิ่งหนึ่ง ดูเหมือน เป็นอย่างนัน้ อย่างนี้ ก็ไม่ได้ทำ� ให้มนั เป็นตามนัน้ จริง แต่อย่างใด • สรรหาค�ำรับรองจากบุคคลที่สาม “ผมกับเพื่อนที่ฮาร์วาร์ด ใช้เวลาสิบปีศึกษาข้อมูลนี้ และเราได้ข้อสรุปเป็นเอกฉันท์ว่า เราต้องมองมันในแง่น”ี้ หรือ “นั่นคือเหตุผลที่บอกว่าไม่ได้มีแค่ ฉันคนเดียวทีพ่ ดู เรือ่ งนี้ คุณแม่ทมี่ ลี กู สองขวบทุกคนรูว้ า่ เรือ่ งนี้ เป็นจริง” ประโยคแบบนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะทั้งสอง Chris Anderson

139

ประโยคนี้ไม่ได้ถูกต้องตามหลักเหตุผลในตัวมันเอง แต่อาจจะ ช่วยให้ค�ำพูดมีพลังโน้มน้าวใจมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ฟัง เป็นใครด้วย • ใช้ภาพทีท่ รงพลัง มีอยูช่ ว่ งหนึง่ ในปาฐกถาของแดน พัลลอตตา ที่เขาใช้แผนภูมิวงกลมสองอันเพื่อแสดงผลการรณรงค์หาทุน ขององค์กรไม่แสวงผลก�ำไรสองแห่ง องค์กรแรกขายขนมอบ โดยมีค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ อีกแห่ง คือองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านการระดมทุน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการ ด�ำเนินการ 40 เปอร์เซ็นต์ แห่งที่สองดูเลวร้ายและสิ้นเปลือง จนกระทั่งแดนกล่าวว่า เราสั บ สนระหว่ า งคุ ณ ธรรมกั บ ความตระหนี่ เราล้ ว นถู ก สอนมาว่ า การขายขนมอบเพื่ อ ระดมทุ น โดยมี ค ่ า ด� ำ เนิ น การ 5 เปอร์เซ็นต์นั้นมีคุณธรรมมากกว่าองค์กรที่เชี่ยวชาญด้านการ ระดมทุนซึ่งมีค่าด�ำเนินการสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ แต่เราหลงลืม ข้อมูลชิ้นส�ำคัญไป นั่นคือ ขนาดที่แท้จริงของเค้กสองก้อนนี้ ถ้า การขายขนมอบท�ำเงินเพื่อการกุศลได้แค่ 71 ดอลลาร์ เพราะไม่ ได้ลงทุนเพื่อขยายขนาดการระดมทุน ในขณะที่องค์กรมืออาชีพ ระดมทุนได้ถึง 71 ล้านดอลลาร์ เพราะพวกเขาลงทุนในส่วนนี้ เพิ่มเติม ทีนี้คุณอยากได้เค้กก้อนไหน และคุณคิดว่าผู้คนที่หิวโหย จะอยากได้เค้กก้อนไหนมากกว่า

ขณะที่เขาพูด แผนภาพวงกลมอันที่สองขยายใหญ่ขึ้น ส่วน อันแรกหดเล็กลง คราวนี้สัดส่วนเงินที่ไม่ใช่ค่าด�ำเนินการในภาพที่สอง ใหญ่กว่าในภาพแรกมหาศาล เขากล่าวปิดประเด็นได้สวยงามและสร้าง ผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ ผูช้ มทัง้ หมดยืนขึน้ ปรบมือให้ปาฐกถาของแดน พัลลอตตา และมี ผูเ้ ข้าชมออนไลน์มากกว่า 3 ล้านครัง้ แล้ว สามเดือนหลังจากเผยแพร่วดิ โี อ 140

T ED Talk s

บันทึกปาฐกถาผ่านโลกออนไลน์ หน่วยงานประเมินกิจกรรมการกุศลทีใ่ หญ่ ทีส่ ดุ สามแห่งร่วมกันออกแถลงการณ์ตอบรับจุดยืนทีแ่ ดนเสนอไว้หลายข้อ และสรุปว่า “ผู้คนในชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรการกุศลไม่ได้ ต้องการค่าด�ำเนินการที่ต�่ำ แต่ต้องการผลงานที่มีประสิทธิภาพสูง” แต่ใช่ว่าทุกปาฐกถาที่ต้ังอยู่บนเหตุผลจะประสบความส�ำเร็จใน ทันทีหรอกนะครับ โดยทั่วไปแล้วปาฐกถาเหล่านี้เข้าใจยากกว่าปาฐกถา อื่นๆ และอาจไม่ใช่ปาฐกถาที่ได้รับความนิยมสูงสุด อย่างไรก็ตาม ผม เชื่อว่าปาฐกถาเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มปาฐกถาที่ส�ำคัญที่สุดบนเว็บไซต์ ของเรา เพราะว่า เหตุผลเป็นหนทางดีที่สุดที่จะสร้างปัญญาในระยะยาว หากมีเหตุผลที่หนักแน่น แม้จะยังไม่เป็นที่ยอมรับจากทุกคนในทันที แต่ มันจะค่อยๆ ดึงดูดผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแผ่ขยายแบบหยุดไม่อยู่ ที่จริงแล้วมี TED Talk ซึ่งว่าด้วยเรื่องนี้โดยตรงด้วยนะครับ เป็น บทสนทนาแบบโสเครตีส (Socrates) ระหว่างนักจิตวิทยาอย่าง สตีเวน พิงเกอร์ และนักปรัชญาชื่อรีเบกกา นิวเบอร์เกอร์ โกลด์สไตน์ (Rebecca Newberger Goldstein) ซึ่งเธอค่อยๆ โน้มน้าวให้เขาเชื่อว่า เหตุผลคือพลังที่อยู่เบื้องลึกที่สุดซึ่งคอยขับเคลื่อนความก้าวหน้าทาง ศีลธรรมในประวัตศิ าสตร์มาทุกยุคทุกสมัย ไม่ใช่ความเห็นอกเห็นใจ ไม่ใช่ วิวัฒนาการทางวัฒนธรรม ถึงแม้ปัจจัยเหล่านี้จะมีบทบาทด้วยก็ตาม บางครัง้ กว่าจะแสดงอิทธิพลของเหตุผลให้ประจักษ์ได้กต็ อ้ งใช้เวลาหลาย ศตวรรษ ในบทสนทนานี้ โกลด์สไตน์น�ำเสนอข้อเขียนทรงพลังของเหล่า ผู้ยึดหลักเหตุผลในประวัติศาสตร์ที่โต้แย้งเรื่องทาส ความไม่เท่าเทียม ทางเพศ และสิทธิของคนรักร่วมเพศ พวกเขาน�ำเสนอเรื่องนี้มานับร้อยปี ก่อนจะเกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้อง ซึ่งก็ได้แรงบันดาลใจมาจากพวกเขา นั่นเอง อย่างไรก็ตาม หลักเหตุผลเหล่านี้คือกุญแจสู่ความส�ำเร็จของการ เคลื่อนไหวดังกล่าว บทสนทนาของพิงเกอร์และโกลด์สไตน์อาจเป็นหลักเหตุผล Chris Anderson

141

ส�ำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียวใน TED Talk ทั้งหมด แต่ ณ ปี 2015 ยังมีผู้ชม บทสนทนานี้ไม่ถึงหนึ่งล้านครั้ง เหตุผลนั้นไม่ใช่วัชพืชที่โตเร็ว แต่มันคือ ต้นโอ๊กที่โตช้า กระนั้นรากของมันก็หยั่งลึกและแข็งแรง อีกทั้งเมื่อเติบโต แล้ว มันจะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ตลอดไป ผมกระหายอยากให้มีปาฐกถา TED ที่ตั้งอยู่บนเหตุผลเพิ่มขึ้นอีกเยอะๆ เลยครับ

ผมขอสรุปในสามประโยค… • การโน้ ม น้ า วใจคื อ การแทนที่ โ ลกทั ศ น์ ข องใครสั ก คนด้ ว ย โลกทัศน์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม • หั ว ใจของการโน้ ม น้ า วคื อ พลั ง ของเหตุ ผ ล ซึ่ ง สามารถส่ ง ผลกระทบระยะยาวได้ • จะให้ดีที่สุด เหตุผลควรมาคู่กับเครื่องอัดฉีดความรู้สึกตาม สามัญส�ำนึก เรื่องราวแนวสืบสวน ภาพประกอบที่แจ่มชัด หรือ เครื่องมือเหนี่ยวน�ำอื่นๆ

142

T ED Talk s

9 การเผยให้เห็น น่าทึ่งจนลืมหายใจ!

การสร้างสายสัมพันธ์ การเล่าเรื่อง การอธิบาย การโน้มน้าวใจ … ทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องมือที่จ�ำเป็น แต่อะไรคือวิธีที่จะมอบความคิดแทน ของขวัญแก่ผู้ฟังได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด ค�ำตอบคือ ก็แค่ แสดง ให้เขาดูสิครับ หลายๆ ปาฐกถาผูกเรื่องแบบนี้ คุณเผยผลงานของคุณต่อผู้ชม ด้วยวิธีที่แสนรื่นรมย์และสร้างแรงบันดาลใจ วิธีนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า การเผยให้เห็น ในปาฐกถาที่ใช้กลวิธี ดังกล่าว คุณอาจจะท�ำสิ่งต่อไปนี้ • แสดงชุดภาพจากโครงการศิลปะล่าสุด แล้วเล่าไปเรื่อยๆ • สาธิตการท�ำงานของผลิตภัณฑ์ที่คุณประดิษฐ์ขึ้น • บรรยายวิสัยทัศน์ของคุณเกี่ยวกับเมืองแห่งอนาคตที่พึ่งพา ตนเองอย่างยั่งยืน • แสดงภาพทีง่ ดงามน่าทึง่ 50 ภาพจากการเดินทางล่าสุดของคุณ ในป่าแอมะซอน Chris Anderson

145

ปาฐกถาทีใ่ ช้วธิ กี ารเผยให้เห็นนัน้ มีรปู แบบหลากหลายไม่สนิ้ สุด และความส�ำเร็จของปาฐกถาเหล่านั้นขึ้นอยู่กับว่ามันเปิดเผยอะไร ในปาฐกถาที่เน้นรูปภาพ เป้าหมายหลักของคุณอาจแค่ต้องการ สร้างความรู้สึกอัศจรรย์ใจและเพลิดเพลินในสุนทรียะ แต่ถ้าคุณจะสาธิต สิ่งประดิษฐ์ คุณคงต้องพยายามท�ำให้คนทึ่งและสัมผัสถึงความเป็นไปได้ ใหม่ๆ หากเป็นวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคต คุณต้องบรรยายให้เห็นภาพ แจ่มแจ้งและน่าเชื่อถือมากเสียจนผู้ชมรับเอาไปเป็นวิสัยทัศน์ของเขาเอง เรามาพิจารณาปาฐกถาสามประเภทใหญ่ๆ นี้ และลองส�ำรวจให้ ลึกยิ่งขึ้นกันดีกว่า เส้นทางอันน่ามหัศจรรย์ เส้นทางอันน่ามหัศจรรย์คือรูปแบบปาฐกถาที่เผยชุดภาพหรือ ช่วงเวลาน่าอัศจรรย์ใจอย่างต่อเนื่อง ถ้าเปรียบปาฐกถาเป็นการเดินทาง เส้นทางอันน่ามหัศจรรย์กอ็ าจเป็นการเยีย่ มชมห้องท�ำงานของศิลปิน โดย มีเจ้าตัวเป็นผู้พาชมและเปิดเผยเกร็ดความรู้เกี่ยวกับงานศิลปะแต่ละชิ้น หรืออาจเป็นการเดินป่าในพื้นที่น่าตื่นตาตื่นใจโดยมีนักส�ำรวจผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้น�ำทาง แต่ละก้าวเรียบง่าย จากงานชิ้นหนึ่งไปยังอีกชิ้น แต่สร้าง ความรู้สึกอัศจรรย์ใจมากขึ้นทุกขณะ “ถ้าคุณชอบอันนั้น … รอให้คุณเห็น อันนี้ก่อนเถอะ! ” หากงานที่ น� ำ เสนอนั้ น คุ ณ ภาพสู ง การเดิ น ทางนี้ ก็ จ ะน่ า เพลิ ด เพลิ น ได้ ส าระ และสร้ า งแรงบั น ดาลใจ ศิ ล ปิ น นั ก ออกแบบ ช่างภาพ และสถาปนิกใช้โครงสร้างปาฐกถาแบบนี้บ่อยที่สุด แต่ใครๆ ก็ ใช้รปู แบบนีไ้ ด้ทงั้ นัน้ หากเขามีผลงานทีส่ ามารถน�ำเสนอสูส่ ายตาผูช้ ม ซึง่ นักวิทยาศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในนั้น ตัวอย่างเช่นปาฐกถาสั้นๆ ของเดวิด กัลโล (David Gallo) เรื่องโลกใต้น�้ำอันน่าพิศวง ถือเป็นตัวอย่างชั้นเลิศของเส้นทางแสน 146

T ED Talk s

มหัศจรรย์ หรือกรณีนี้อาจจะต้องเรียกว่าการด�ำน�้ำที่แสนมหัศจรรย์ เขา แสดงชุดภาพและวิดีโออันเหลือเชื่อของสิ่งมีชีวิตที่เรืองแสงได้ด้วยกลไก ชีวภาพ ซึ่งแม้แต่นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ยังแทบไม่อาจจินตนาการ ได้ จากนั้นเขาฉายวิดีโอของปลาหมึกที่ล่องหนไปต่อหน้าต่อตา ด้วยการ เปลี่ยนลวดลายบนผิวให้เหมือนปะการังที่อยู่ด้านหลังได้อย่างฉับพลัน แล้วความรู้สึกตื่นเต้นที่กัลโลมีต่อสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลอันแปลกประหลาด ชวนทึ่งก็แพร่กระจายไปสู่คนดู นอกจากเขาจะบรรยายภาพที่ปรากฏ แก่สายตาเรา เขายังเล่าบริบทที่ทวีความรู้สึกอัศจรรย์ยิ่งขึ้นไปอีก

นั่นคือโลกที่เราไม่รู้จัก และทุกวันนี้เราส�ำรวจไปได้แค่ประมาณ ร้อยละ 3 ของมหาสมุทรทั้งหมด เราพบภูเขาที่สูงที่สุดในโลก หุบเขาที่ลึกที่สุดในโลก ทะเลสาบใต้สมุทร น�้ำตกใต้สมุทร … และ เมื่อส�ำรวจบริเวณที่เราคิดว่าไม่น่ามีส่ิงมีชีวิตอยู่เลย เรากลับเจอ สิ่งมีชีวิตมากมายยิ่งกว่า … ทั้งยังหลากหลายและหนาแน่นกว่า ป่าฝนเขตร้อนเสียอีก ซึง่ บอกให้รวู้ า่ เราไม่ได้รจู้ กั โลกใบนีส้ กั เท่าไร เลย ยังมีอีกร้อยละ 97 ซึ่งอาจจะว่างเปล่า หรือไม่ก็เต็มไปด้วย สิ่งมหัศจรรย์

ปาฐกถานีย้ าวแค่หา้ นาที มีโครงสร้างเรียบง่าย แต่มผี ชู้ มมากกว่า 12 ล้านครั้งแล้ว ปาฐกถาอีกเรื่องหนึ่งที่เรียบง่าย แต่เป็นเส้นทางที่ท�ำให้เรารู้สึก ว่าน่ามหัศจรรย์สดุ ๆ คือปาฐกถาของนักเขียนบทความวิทยาศาสตร์ แมรี โรช (Mary Roach) ที่บรรยายเรื่องจุดสุดยอดให้เราฟัง เธอเล่าเรื่องราว สิบข้อทีเ่ ราไม่เคยรูเ้ กีย่ วกับการถึงจุดสุดยอด อย่างเช่นวิดโี อของเกษตรกร ชาวดัตช์กับหมูตัวหนึ่งที่คุณไม่ควรดูเวลาอยู่กับพ่อแม่หรือลูกๆ ของคุณ! เส้นทางอันน่ามหัศจรรย์ไม่จ�ำเป็นต้องจริงจัง มันอาจจะตลก เร้าอารมณ์ หรือกระแทกใจก็ได้

Chris Anderson

147

จากมุม ของผู้พูด ปาฐกถาแบบนี้ดีตรงที่มีโ ครงสร้างชัดเจน คุณแค่บรรยายถึงงานที่คุณท�ำหรือสิ่งที่คุณหลงใหลไปทีละอย่าง โดย แต่ละอย่างมีภาพหรือวิดีโอประกอบ เมื่อบรรยายจบเรื่องหนึ่งก็เล่าเรื่อง ถัดไป พร้อมกับกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นเต้นตามไปด้วย แต่เส้นทางอันน่ามหัศจรรย์จะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีแนวคิด เชื่ อ มโยงสิ่ ง ที่ พู ด ถึ ง เข้ า ด้ ว ยกั น อย่ า งชั ด เจน ซึ่ ง ต้ อ งเป็ น แนวคิ ด ที่ หนักแน่นกว่าแค่ชุดตัวอย่างผลงานล่าสุดของคุณ ถ้าไม่มีแนวคิดที่เชื่อม โยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ปาฐกถาแบบนี้จะท�ำให้ผู้ฟังเบื่อได้อย่างรวดเร็ว “ทีนี้มาดูโครงการต่อไปของผม” เป็นประโยคเชื่อมโยงที่ท�ำให้ผู้ฟังนั่ง กระสับกระส่าย วิธีที่ดีกว่านั้นคือ ผู้พูดควรสร้างความเชื่อมโยง เช่น “โครงการต่อไปนี้น�ำความคิดดังกล่าวมาขยายให้ยิ่งใหญ่ขึ้นอีก…” และจะยิ่งดีกว่านั้นเมื่อมีแก่นเรื่องที่ร้อยเรียงชิ้นส่วนต่างๆ ใน ปาฐกถาเข้าด้วยกัน เชีย เฮมบรีย์ (Shea Hembrey) พาเราไปชม “นิทรรศการผลงานของศิลปินหนึ่งร้อยคน” ซึ่งแต่ละชิ้นแตกต่างกันโดย สิน้ เชิง … ทัง้ ภาพวาด ประติมากรรม ภาพถ่าย วีดทิ ศั น์ และสือ่ ผสมผสาน ครอบคลุมแนวความคิดทางศิลปะอย่างกว้างขวาง แล้วแก่นเรื่องของ ปาฐกถานี้คืออะไรเหรอครับ ศิลปินทุกคนก็คือตัวเขาเองไงล่ะ! ใช่ครับ เชียเป็นผูส้ ร้างผลงานทุกชิน้ เอง เพราะฉะนัน้ ยิง่ งานแต่ละชิน้ แตกต่างกัน มากเท่าไร เราก็ยิ่งรู้สึกอัศจรรย์ใจเพิ่มขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม โครงสร้างปาฐกถาทีส่ ร้างเส้นทางอันน่ามหัศจรรย์ เช่นนี้อาจจะล้มเหลวได้ด้วยเหตุผลหลายแบบ ที่พบบ่อยสุดคือ ผู้พูด ใช้ภาษาที่คนเข้าไม่ถึง บางอาชีพมีธรรมเนียมแย่ๆ ว่าจะต้องบรรยาย ผลงานด้วยภาษาก�ำกวมและวิชาการเกินจ�ำเป็น ซึ่งงานสายศิลปะและ สถาปัตยกรรมติดอันดับต้นๆ ที่เข้าข่ายนี้ เมื่อผู้พูดรู้สึกว่าเขาจ�ำเป็น ต้องใช้ภาษาแบบนี้บรรยาย เขาก็ไม่ควรแปลกใจถ้าเห็นแขกที่เชิญมา ร่ ว มงานแอบแวบออกประตู ห ลั ง ไปเงี ย บๆ ในงานชิ้ น นี้ ผ มต้ อ งการ ท้าทายกระบวนทัศน์เรื่องอัตลักษณ์ปะทะความเป็นชุมชนในบริบทของ 148

T ED Talk s

วิภาษวิธแี บบโพสต์โมเดิรน์ … ถ้าคุณเคยพยายามพูดอะไรคล้ายๆ อย่างนี้ ได้โปรดเถอะครับ โปรดเอากรรไกรที่คมที่สุดออกมาแล้วตัดมันออกไป จากบทพูดของคุณซะ สตีเวน พิงเกอร์ บอกผมว่า ภาษาประเภทนีแ้ ย่ยงิ่ กว่าการใช้ศพั ท์ เทคนิคอย่างไม่เหมาะสมเสียอีก กระบวนทัศน์ และ วิภาษวิธี นัน้ แตกต่างจากค�ำว่าดีเอ็นเอ ซึง่ เป็นศัพท์ เทคนิคทีผ่ เู้ ชีย่ วชาญไม่อาจหลีกเลีย่ ง แต่คำ� เหล่านีเ้ ป็นอภิมโนทัศน์ หรือแนวคิดเกี่ยวกับอีกแนวคิดหนึ่ง แทนที่จะเป็นแนวคิดของ สรรพสิ่งในโลก ศัพท์วิชาการ สแลงในวงการธุรกิจ ข้อความนิยาม องค์กรหรูๆ และศัพท์ยาวเยิ่นเย้อที่ใช้วิจารณ์ศิลปะ ล้วนน่าเบื่อ และฟังไม่เข้าใจ เพราะมันเต็มไปด้วยอภิมโนทัศน์ เช่น แนวพินิจ ข้อสมมติ มโนทัศน์ เงื่อนไข บริบท กรอบความคิด ประเด็น ระดับ แบบจ�ำลอง โลกทัศน์ กระบวนการ พิสัย บทบาท ยุทธศาสตร์ แนวโน้ม และตัวแปร

ค�ำศัพท์เหล่านี้มีวิธีใช้ที่เหมาะสมส�ำหรับแต่ละค�ำ แต่จงอย่าใช้ บ่อย เมื่อมันกองสุมกันมากๆ เข้า เท่ากับว่าคุณก�ำลังสั่นคลอนความ เข้าใจของผู้ฟัง แทนที่จะใช้ภาษาซับซ้อนแบบนั้น คุณควรเปลี่ยนมาตั้งเป้าว่า จะท�ำอย่างไรให้ผฟู้ งั รับรูเ้ รือ่ งราวเบือ้ งลึกภายใน โดยใช้ ภาษาทีค่ นทัว่ ไป เข้าถึงได้ บรรยายว่าคุณฝันถึงอะไรตอนเริ่มต้นท�ำสิ่งเหล่านั้น แสดง ให้เราเห็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ คุณไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร? คุณ ท�ำผิดพลาดอะไรบ้างระหว่างทาง? เมื่อนักวาดภาพประกอบชื่อเดวิด แมคคอเลย์ (David Macaulay) เล่าเรื่องภาพวาดกรุงโรมของเขา เขา ไม่เพียงแสดงผลงานที่เสร็จแล้วให้เราดู แต่ยังเล่าถึงความผิดพลาด สภาวะประสบทางตัน และเส้นทางทีเ่ ขาข้ามผ่านจุดนัน้ จนกระทัง่ เกิดเป็น ภาพประกอบที่ได้ตีพิมพ์ในที่สุด เท่ากับว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ Chris Anderson

149

ทุกคนทีน่ งั่ อยูใ่ นห้องนัน้ สามารถเรียนรูบ้ างอย่างจากเรือ่ งนีไ้ ด้ การเผยให้ เห็นเคล็ดลับในกระบวนการท�ำงานของคุณเป็นหนึง่ ในของขวัญชิน้ ส�ำคัญ ในปาฐกถาใดก็ตามที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ และเหนืออื่นใด ขอจงออกแบบปาฐกถาให้เราได้ดื่มด�่ำผลงาน ของคุณอย่างเต็มที่ ถ้างานของคุณเป็นภาพ ก็ควรลดจ�ำนวนค�ำบรรยายและ มุง่ เน้นไปทีภ่ าพแทน ในปาฐกถา 12 นาที คุณแสดงภาพมากกว่าร้อยภาพ ได้สบายๆ โดยในบางช่วงอาจฉายภาพแต่ละภาพขึน้ จอเพียง 2 วินาที แล้ว อาศัยอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยขยายพลังของภาพได้ นั่นคือความเงียบ ซึง่ เป็นเครือ่ งมือทีผ่ พู้ ดู น�ำมาใช้กนั น้อยเหลือเกิน หนึง่ ในตัวอย่างทีด่ ที สี่ ดุ ของเส้นทางอันน่ามหัศจรรย์บนเวที TED คือปาฐกถาของรูเบน มาร์โกลิน (Reuben Margolin) นักสร้างประติมากรรมเคลือ่ นไหว เขาใช้เสียงกระซิบเป็น ฉากหลังประกอบผลงานอันน่าทึง่ ของเขา เป็นเสียงบรรยายทีส่ มบูรณ์แบบ ในห้องแสดงภาพซึง่ เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจอันบริสทุ ธิ์ เขากล้าทีจ่ ะเงียบ เป็นครั้งคราว และหลังจากสร้างบริบทให้ผู้ฟังรับรู้แล้ว ในบางชั่วขณะ เขาเพียงแค่ปล่อยให้เราดื่มด�่ำกับภาพผลงาน ซึ่งนั่นกลายเป็นชั่วขณะ ที่มีพลังมากที่สุดในปาฐกถา วิธีอันชาญฉลาดวิธีหนึ่งที่ท�ำให้มั่นใจได้ว่าเส้นทางของคุณจะ รักษาระดับพลังงานเต็มเปี่ยมไว้ได้คือการตั้งเวลาให้ภาพเปลี่ยนโดย อัตโนมัติ ลองชมการเดินทางอันน่าติดตามของรอสส์ เลิฟโกรฟ (Ross Lovegrove) ซึง่ เป็นตัวอย่างทีย่ อดเยีย่ มของเทคนิคนีด้ สู คิ รับ เขาพาคุณ ท่องผ่านโครงการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ภาพและ วิดีโอกว่าร้อยชิ้นค่อยๆ ปรากฏบนจอตามล�ำดับที่ตั้งเวลาไว้ล่วงหน้า เลิฟโกรฟเพียงแค่คอยบรรยายแต่ละภาพเมื่อมันมาถึง รูปแบบนี้ท�ำให้ แน่ใจว่าปาฐกถามีพลังเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา หลุยส์ ชวาร์ตซเบิร์ก (Louis Schwartzberg) ใช้วิธีคล้ายๆ กันนี้ในปาฐกถาเกี่ยวกับภาพยนตร์ อันน่าพิศวงของเขาเรือ่ ง สิง่ เร้นลับในโลกทีไ่ ม่เคยมีใครเห็น (Mysteries of the Unseen World) เขาปล่อยให้หนังเล่นไปตลอดเวลาที่กล่าวปาฐกถา 150

T ED Talk s

ขณะทีเ่ สียงของเขาท�ำหน้าทีเ่ ล่าเรือ่ งราวได้อย่างไพเราะและเปีย่ มอารมณ์ ความรู้สึก ท�ำให้ผู้ฟังตะลึงจนอ้าปากค้าง การบรรยายในบริษัทต่างๆ จะดีขึ้นมาก ถ้าผู้พูดมองว่ามันเป็น เส้นทางอันน่ามหัศจรรย์ วิธีน�ำเสนอโดยเล่าผลงานล่าสุดของฝ่ายคุณ ไปทีละหัวข้อท�ำให้คนเบื่อได้อย่างรวดเร็ว แทนที่จะท�ำอย่างนั้น เราอาจ พยายามตัง้ ค�ำถามว่าจะเชือ่ มโยงโครงการเหล่านีเ้ ข้าด้วยกันเพือ่ ท�ำให้มนั น่าตื่นเต้นขึ้นได้อย่างไร? เราจะสื่อสารโครงการเหล่านี้ในแง่มุมต่างๆ ที่ น่ารื่นรมย์ ชวนทึ่งเหนือคาด หรือเปี่ยมอารมณ์ขันได้อย่างไร? เราจะ เปลี่ยนแนวการน�ำเสนอจาก “ดูสิว่าเราท�ำอะไรส�ำเร็จ” ไปสู่ “ดูสิว่าเรื่องนี้ น่าสนใจแค่ไหน” ได้อย่างไร? หากเราเลิกน�ำเสนอหัวข้อเรียงรายเป็นชุด แต่ลองพยายามจับคู่การบรรยายแต่ละขั้นตอนเข้ากับภาพที่ดึงดูดความ สนใจแทนล่ะ หรือถ้าคุณทุ่มเทขบคิดพิจารณาว่าในบรรดาความคิดที่คุณ ค้นพบ มีความคิดใดบ้างที่โดดเด่นไม่ซ�้ำใคร แบ่งปันให้คนอื่นได้ และอาจ เป็นประโยชน์ตอ่ คนอืน่ ๆ ในบริษทั เรือ่ งราวเหล่านัน้ อาจเป็นการบรรยาย ที่คุ้มค่าให้คุณยอมปิดไอโฟนเพื่อมานั่งฟังก็ได้นะครับ … ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ วิทยาศาสตร์ การออกแบบ หรือศิลปะ อย่า เพียงแค่พาคนเดินดูงานของคุณเฉยๆ แต่จงคิดหาเส้นทางที่ดึงดูดใจ น่าสนใจ และก่อเกิดปัญญา จงคิดหาเส้นทางทีน่ ำ� มาซึง่ ความปลืม้ ปีตแิ ละ ชวนพิศวง สาธิตให้ดูอย่างมีพลัง ถ้าสิ่งที่คุณเปิดเผยแก่ผู้ฟังไม่ใช่เพียงภาพ แต่เป็นเทคโนโลยี สิง่ ประดิษฐ์ หรือกระบวนการใหม่เอีย่ มล่ะ หากเป็นเช่นนัน้ แค่มองเห็นคงยัง ไม่พอ เราต้องเห็นว่ามันท�ำงานยังไงด้วย ฉะนั้นเราต้องชมการสาธิต การสาธิตทีย่ อดเยีย่ มอาจเป็นช่วงทีน่ า่ จดจ�ำทีส่ ดุ ของการประชุม สัมมนาต่างๆ คุณจะได้เห็นเสี้ยวหนึ่งของภาพอนาคตบนเวทีแห่งนี้เอง Chris Anderson

151

เมื่อเจฟฟ์ ฮัน (Jeff Han) แสดงศักยภาพของเทคโนโลยีแบบ มัลติทัช (multi-touch) เมื่อปี 2006 สองปีก่อนที่ไอโฟนจะเปิดตัว คุณ ได้ยินผูช้ มส่งเสียงฮือฮาอย่างตืน่ เต้น การสาธิตเทคโนโลยีสมั ผัสทีห่ กของ พรานาฟ มิสทรี (Pranav Mistry) ก็สร้างเสียงตอบรับแบบเดียวกัน เขาเผย ให้เห็นความเป็นไปได้อนั น่ามหัศจรรย์ เมือ่ คุณผนวกโทรศัพท์มอื ถือเข้ากับ เครือ่ งฉายภาพและกล้องทีต่ รวจจับท่าทางการเคลือ่ นไหวของคุณได้ เช่น แค่คณ ุ ท�ำมือเป็นเหมือนกรอบรูปครอบวัตถุทอี่ ยูไ่ กลๆ คุณก็สามารถถ่าย ภาพวัตถุนั้นและน�ำมันมาแสดงบนพื้นผิวสีขาวที่ไหนก็ได้ แน่นอนว่าสิ่งเดียวที่ส�ำคัญที่สุดในการบรรยายประเภทนี้คือ คุณภาพของอะไรก็ตามที่คุณจะน�ำมาสาธิต สิ่งนั้นเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือ การออกแบบทีน่ า่ สนใจจริงๆ หรือเปล่า สมมติวา่ ใช่ คุณย่อมมีวธิ นี ำ� เสนอ หลากหลายวิธี แต่สิ่งที่คุณไม่ควรท�ำคือ ใช้เวลาครึ่งแรกของการบรรยาย เล่าบริบทอันซับซ้อนของเทคโนโลยี ผู้ฟังอาจหมดความสนใจไปเสียก่อน จะได้เห็นว่ามันท�ำงานอย่างไร เมื่อคุณมีอะไรน่าตื่นตาตื่นใจมาแสดง คุณต้องสวมวิญญาณ โฆษกงานวัดสักหน่อย ผมไม่ได้บอกให้คุณลุกขึ้นมาคุยโม้โอ้อวดนะครับ แต่คุณควรท�ำให้เราตื่นเต้นสักนิด บอกใบ้ถึงสิ่งที่เราก�ำลังจะได้เห็น แล้วค่อย น�ำเราเดินทางผ่านบริบทที่จ�ำเป็น ซึ่งควรจะปูทางไปสู่จุดสูงสุด อันทรงพลังหลังจากเราได้สร้างรากฐานไว้เรียบร้อยแล้ว มาร์คสุ ฟิชเชอร์ (Markus Fischer) เป็นยอดนักประดิษฐ์คนหนึง่ ในการประชุม TEDGlobal ที่เอดินบะระ เมื่อปี 2011 เขาแสดงหุ่นยนต์ พิสดารทีม่ หี น้าตาและท่วงท่ายามบินเหมือนนกนางนวล มันเหมือนนกจริง มากขนาดทีว่ า่ ตอนเขาสาธิตให้เราดูระหว่างปิกนิกหลังจบการประชุม มัน โดนโจมตีโดยฝูงนกนางนวลจริงที่ดูตกอกตกใจกับคู่แข่งใหม่อย่างเห็นได้ ชัด แต่ตอนบรรยาย เขาใช้เวลา 10 นาทีแรกเล่าเทคนิคกลไกของการบิน โดยไม่ได้บอกใบ้สักนิดว่าเราก�ำลังจะได้เห็นอะไร ผู้ฟังบางส่วนจึงหมด ความสนใจไป ทว่าต่อจากนั้นก็เรียกความสนใจผู้ฟังกลับมาได้เมื่อเขา 152

T ED Talk s

ปล่อยหุ่นยนต์นกนางนวลให้บินในหอประชุม เป็นการสาธิตที่ท�ำให้ทึ่ง จนอ้าปากค้าง แต่ในปาฐกถาที่เผยแพร่ออนไลน์ เราเปลี่ยนล�ำดับการพูด ของเขานิดหน่อย โดยเปิดด้วยประโยคว่า “การบินได้เหมือนนกเป็นความฝัน ของมนุษยชาติ” ซึ่งช่วยสร้างบริบทที่งดงามให้ปาฐกถานั้นอย่างรวดเร็ว และท�ำให้ยอดรับชมออนไลน์พุ่งขึ้นไปเป็นหลายล้านครั้ง เจฟฟ์ ฮัน ใช้เทคนิคนีไ้ ด้อย่างถูกต้อง เขากล่าวเปิดฉากปาฐกถา ไว้แบบนี้ครับ ผมตื่นเต้นจริงๆ ที่ได้มายืนตรงนี้ในวันนี้ ผมจะน�ำอะไรบางอย่าง ที่เพิ่งออกจากห้องแล็บสดๆ ร้อนๆ มาแสดงให้คุณดู ผมดีใจ ที่พวกคุณเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ได้เห็นมันกับตา เพราะผมคิดว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป สิ่งประดิษฐ์นี้จะเปลี่ยนวิธีที่เราใช้โต้ตอบ กับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีไปเลย

ด้วยถ้อยค�ำไม่กี่ค�ำ เขาให้ค�ำใบ้ที่เร้าความสนใจว่าเราก�ำลังจะ ได้แอบดูตัวอย่างอันน่าตื่นเต้นของอนาคต ทีนี้เขาก็เริ่มเดินหน้าอธิบาย เรื่องเทคโนโลยีได้ตามสบาย ก่อนที่จะสาธิตของจริง เขาให้ข้อมูลบริบท เบือ้ งหลัง แล้วจึงแสดงให้ดวู า่ เทคโนโลยีนที้ ำ� อะไรได้บา้ ง เรียกเสียงฮือฮา และเสียงปรบมือ ทั้งยังสร้างความรู้สึกอัศจรรย์ใจไปตลอดการบรรยาย นักประดิษฐ์ชื่อไมเคิล พริตชาร์ด (Michael Pritchard) ใช้ โครงสร้างการบรรยายแบบเดียวกัน อันดับแรก เขาชวนให้ทดลองคิด เล่นๆ ว่าชีวติ จะเป็นอย่างไรหากไม่มนี ำ�้ ดืม่ ทีส่ ะอาดปลอดภัย จากนัน้ เขาก็ เริ่มอธิบายเทคโนโลยีเบื้องหลัง “ขวดน�้ำยังชีพ” ที่เขาออกแบบ บางคน อาจจบปาฐกถาตรงนั้น แต่พลังของปาฐกถาอยู่ที่การแสดงให้ดู ไม่ใช่ แค่ บ อกให้ ฟ ั ง และไมเคิ ล ก็ ทุ ่ ม สุ ด ตั ว เพื่ อ งานนี้ เขาน� ำ ภาชนะแก้ ว ขนาดใหญ่ขึ้นมาบนเวที เทน�้ำขุ่นๆ จากบ่อ น�้ำเสียจากท่อระบายน�้ำ และ มูลกระต่ายลงไป ท�ำให้นำ�้ กลายเป็นสีนำ�้ ตาลชวนแหวะ แล้วเขาก็สบู น�ำ้ นัน้ ผ่านขวดของเขาลงไปยังแก้วเปล่าใบหนึ่งและส่งให้ผมลองดื่ม น่ายินดี Chris Anderson

153

ที่รสชาติของมันปกติดี ทฤษฎีทางเทคโนโลยีได้กลายเป็นบทพิสูจน์ที่มี ลีลาอลังการ จากนั้นไมเคิลก็พูดถึงการต่อยอดจากเทคโนโลยีนี้เพื่อช่วย บรรเทาภัยพิบัติและแก้ปัญหาสาธารณสุขระดับโลก ความจริงคือเขา ชนะใจผู้ฟังไปแล้วตั้งแต่การสาธิตอันทรงพลังว่าแนวคิดนี้ท�ำงานอย่างไร โครงสร้างการบรรยายที่ฮันและพริตชาร์ดใช้นั้นเหมาะกับการ สาธิตส่วนใหญ่ • เริ่มจากยั่วเย้าให้อยากรู้ • บอกเบื้องหลัง บริบท และ/หรือเรื่องราวการประดิษฐ์คิดค้น ที่จ�ำเป็นต่อการท�ำความเข้าใจสิ่งประดิษฐ์ของคุณ • สาธิตให้ดู (ยิ่งท�ำให้เห็นภาพและเล่นใหญ่เท่าไหร่ยิ่งดี ตราบใด ที่คุณไม่ได้เสแสร้ง) • แนวทางการใช้งานหรือต่อยอดเทคโนโลยี บางทีการสาธิตอาจตื่นตาตื่นใจมากจนผู้ฟังสามารถจินตนาการ ถึงแนวทางการต่อยอดและประยุกต์ใช้ทนี่ า่ ตืน่ เต้นอย่างแท้จริง การสาธิต จึงไม่ได้เป็นแค่การสาธิต แต่กลายเป็นวิสัยทัศน์ของอนาคต และนั่นคือ หัวข้อต่อไปของเรา ภูมิทัศน์ในฝัน เท่าทีเ่ รารู้ มนุษย์มที กั ษะทีไ่ ม่มใี นสปีชสี อ์ นื่ ใด เป็นทักษะทีส่ ำ� คัญ มากจนเรามีค�ำหลายค�ำไว้เรียกทักษะนี้ในกลิ่นอายที่แตกต่างกันไป เช่น จินตนาการ การประดิษฐ์ นวัตกรรม การออกแบบ วิสัยทัศน์ มันคือความ สามารถทีจ่ ะมองเห็นแบบแผนของโลกในใจเรา และปรับเปลีย่ นแบบแผน นั้นใหม่เพื่อสร้างโลกที่ไม่เคยมีอยู่มาก่อน แต่สักวันหนึ่งมันอาจเกิดขึ้น

154

T ED Talk s

ที่น ่า มหัศจรรย์คือ เราสามารถเผยโลกที่ยังไม่มีอยู่จริงนี้ให้ คนอื่นเห็นได้ โดยหวังว่าเขาอาจตื่นเต้นกับมันเหมือนเรา และที่น่าทึ่ง ราวกับปาฏิหาริยย์ งิ่ กว่าคือ บางครัง้ เมือ่ คนจ�ำนวนหนึง่ มีวสิ ยั ทัศน์รว่ มกัน พวกเขาก็สามารถใช้มันเป็นแบบพิมพ์เขียวเพื่อสร้างโลกนั้นให้เป็นจริง นักเขียนบทโน้มน้าวให้สตูดิโอสร้างภาพยนตร์ นักประดิษฐ์โน้มน้าวให้ บริษทั ผลิตอุปกรณ์กลไกอัจฉริยะ สถาปนิกโน้มน้าวให้ลกู ค้าจ่ายเงินสร้าง อาคาร ผู้ประกอบการกระตุ้นทีมสตาร์ตอัปด้วยความเชื่อว่าพวกเขาจะ เปลี่ยนโฉมอนาคต ความฝันอาจแบ่งปันกันผ่านรูปภาพ ภาพร่าง การสาธิต … หรือ เพียงแค่ถ้อยค�ำ บางครั้งสุนทรพจน์ที่ทรงพลังที่สุดในประวัติศาสตร์นั้นทรงพลัง ขึ้นมาได้ก็เพราะมันสื่อสารความฝันออกมาด้วยถ้อยค�ำอันงดงามและ ความปรารถนาอันแรงกล้า แน่นอนว่าสุนทรพจน์ทขี่ น้ึ ชือ่ ทีส่ ดุ ต้องเป็นของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King Jr.) ที่อนุสรณ์สถาน ลิงคอล์น ณ เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1963 หลังจาก กล่าวปูพนื้ และปลุกให้ผฟู้ งั รูส้ กึ ท่วมท้นไปด้วยความปรารถนาอันแรงกล้า ที่จะปิดฉากศตวรรษแห่งความอยุติธรรมลงแล้ว เขากล่าวต่อดังนี้ ผมมีความฝันว่าวันหนึ่ง ประเทศนี้จะลุกขึ้นหยัดยืนและธ�ำรงไว้ ซึ่งความหมายที่แท้จริงในหลักการของชนชาติเรานี้ นั่นคือ “เรา ยึดมั่นในความจริงที่ประจักษ์แจ้งในตัวมันเองว่า มนุษย์ทุกคน ถูกสร้างมาเท่าเทียมกัน” ผมมีความฝันว่าวันหนึง่ บนเนินเขาสีแดงของรัฐจอร์เจีย ลูกชาย ของอดีตทาสและลูกชายของอดีตเจ้าของทาสจะนั่งเคียงข้างกัน ที่โต๊ะแห่งภราดรภาพ ผมมีความฝันว่าวันหนึง่ ลูกๆ ทัง้ สีค่ นของผมจะได้อยูใ่ นประเทศ ที่เขาจะไม่ถูกตัดสินด้วยสีผิว แต่ด้วยเนื้อแท้ในตัวตนของเขาเอง

Chris Anderson

155

สุนทรพจน์นี้ยาว 17 นาที 40 วินาที และกลายเป็นสุนทรพจน์ ที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์ ประธานาธิบดีเคนเนดีสง่ มนุษยชาติไปดวงจันทร์โดยเริม่ จากการ บอกเล่าความฝัน และภาษาทีเ่ ขาเลือกใช้ในบางตอนท�ำให้เราประหลาดใจ ที่เราเลือกไปดวงจันทร์และท�ำอีกหลายๆ สิ่งในทศวรรษนี้ไม่ใช่ เพราะมันง่าย แต่เพราะมันยาก … ผมตระหนักว่ามันคือการกระท�ำ ด้วยศรัทธาและวิสยั ทัศน์ เพราะเราไม่รวู้ า่ มีประโยชน์อะไรรอเราอยู่ แต่พนี่ อ้ งประชาชนครับ ถ้าผมบอกว่าสิง่ ทีเ่ ราจะส่งไปดวงจันทร์ ซึง่ อยูห่ า่ งจากศูนย์ควบคุมทีเ่ มืองฮุสตัน 240,000 ไมล์ คือจรวดขนาด ยักษ์สูงกว่าสามร้อยฟุต ยาวเท่าสนามฟุตบอลแห่งนี้ ท�ำด้วยโลหะ ชนิ ด ใหม่ ซึ่ ง บางชนิ ด ยั ง ไม่ เ คยมี ใ ครประดิ ษ ฐ์ ขึ้ น เป็ น โลหะที่ ทนความร้ อ นและแรงกดได้ ม ากกว่ า วั ส ดุ ที่ เ รารู ้ จั ก หลายเท่ า ประกอบเข้าด้วยกันอย่างเที่ยงตรงแม่นย�ำยิ่งกว่านาฬิกาชั้นเลิศ มี อุ ป กรณ์ จ� ำ เป็ น ส� ำ หรั บ ขั บ เคลื่ อ น น� ำ ทาง ควบคุ ม สื่ อ สาร มีอาหารและเครื่องยังชีพ เพื่อท�ำภารกิจที่ไม่เคยมีใครกล้าลอง ไปยังเทห์ฟากฟ้าที่ไม่มีใครรู้จัก และกลับมาสู่โลกอย่างปลอดภัย เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วมากกว่า 25,000 ไมล์ต่อ ชั่วโมง ท�ำให้เกิดความร้อนสูงประมาณครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ ร้อนแบบวันนี้น่ะครับ และก่อนจะสิ้นทศวรรษนี้ เราจะท�ำทั้งหมด ที่กล่าวมา ท�ำมันอย่างถูกต้อง ท�ำเป็นคนแรก เราจะต้องกล้าหาญ … เราจะท�ำส�ำเร็จ และต้องส�ำเร็จก่อนสิ้นทศวรรษนี้

คุณอาจคิดว่าการวาดภาพปฏิบัติการที่เต็มไปด้วยภยันตราย และความไม่แน่นอนแบบนีอ้ าจก่อผลทางลบ แต่เหตุผลทีส่ นุ ทรพจน์ครัง้ นี้ ได้ผลไม่ใช่เพียงเพราะมันสร้างภาพชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ยังเป็น เพราะเขาท�ำให้เราฝันถึงการเป็นวีรบุรษุ เขาพาเราท่องไปในอนาคต เพือ่ อ่านเรื่องราวที่ผู้คนในภายภาคหน้าจะกล่าวขานถึงปฏิบัติการนี้ 156

T ED Talk s

ส่วนใหญ่ปาฐกถาที่ TED จะใช้ภาษาเป็นกันเองกว่านี้ แต่ความ สามารถในการวาดภาพอนาคตทีน่ า่ เชือ่ ถือคือหนึง่ ในของขวัญอันสุดแสน ยิ่งใหญ่ที่ผู้พูดจะสามารถมอบให้ได้ ความจริงแล้วผู้พูดที่เล่าภูมิทัศน์แห่ง ความฝันมักเป็นผูพ้ ดู ทีบ่ รรยายได้นา่ ตืน่ ตาตืน่ ใจทีส่ ดุ พวกเขาไม่ได้พดู ถึง โลกอย่างที่เป็น แต่พูดถึงโลกที่อาจเป็นไปได้ เมื่อปาฐกถาเหล่านี้ด�ำเนิน ไปอย่างเหมาะเจาะลงตัว จะท�ำให้ผู้ฟังใจเต้นและจิตใจพองโตเพราะรับรู้ ถึงความเป็นไปได้ ซัลมาน คาห์น ค่อยๆ เผยวิสัยทัศน์ด้านการปฏิวัติการศึกษา ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ เรียนรู้หัวข้อต่างๆ ตามความเร็วที่เหมาะกับตนเอง จนเชี่ยวชาญ โดยอาศัยบทเรียนในวิดีโอ เขาเผยมันออกมาอย่างงดงาม ทีละส่วน จนคุณรู้สึกได้เลยว่าความตื่นเต้นก�ำลังก่อตัวขึ้นในห้อง นักสร้างภาพยนตร์ชื่อคริส มิลก์ (Chris Milk) แสดงงานของเขา ที่ใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือน (virtual reality) จ�ำลองประสบการณ์ชีวิต ในค่ายผู้อพยพชาวซีเรียได้อย่างทรงพลัง ผู้คนกังวลว่าความจริงเสมือน จะปิดกั้นเราจากกันและกัน แต่มิลก์เสนอภาพตรงข้ามที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยท�ำให้เห็นว่าอุปกรณ์และเทคโนโลยีความจริงเสมือนอาจกลายเป็น สุดยอดเครื่องมือสร้างความเห็นอกเห็นใจต่อกันก็เป็นได้ ซิลเวีย เอิรล์ (Sylvia Earle) นักชีววิทยาทางทะเล ใช้ภาพอันทรงพลัง และภาษาทีด่ งึ ดูดใจมาบรรยายวิกฤตการณ์ทเี่ กิดขึน้ เพราะมนุษย์จบั ปลา มากเกินไป อีกทั้งมหาสมุทรยังเต็มไปด้วยมลพิษเกินมาตรฐาน ทว่าเธอ ไม่หยุดแค่นนั้ แต่เธอยังพูดถึงสิง่ ทีอ่ าจเป็นไปได้ถา้ เราเริม่ สร้าง “พืน้ ทีแ่ ห่ง ความหวัง” (hope spot) ซึง่ เป็นพืน้ ทีค่ มุ้ ครองทางทะเลทีส่ งิ่ มีชวี ติ ในทะเล สามารถฟืน้ ตัวได้ วิสยั ทัศน์ของเธอนัน้ แสนจับใจเสียจนผูฟ้ งั คนหนึง่ เขียน เช็คให้เธอหนึง่ ล้านดอลลาร์ ณ ตอนนัน้ เลย และยังคงสนับสนุนเธอเรือ่ ยมา ตลอดช่วงหกปีนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว พื้นที่คุ้มครองในมหาสมุทรทั่วโลก เพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่า

Chris Anderson

157

หัวใจส�ำคัญของการแบ่งปันความฝันให้ได้ผลมีสองข้อ • วาดภาพอันแจ่มชัดถึงอนาคตทางเลือกที่คุณปรารถนา • ท� ำ ข้ อ หนึ่ ง ด้ ว ยวิ ธี ก ารที่ ท� ำ ให้ ค นอื่ น ปรารถนาอนาคตนั้ น เช่นกัน เป็นเรื่องท้าทายมากที่จะท�ำทั้งสองข้อในปาฐกถาเดียว ข้อแรก มักต้องใช้ภาพมาช่วย เคนต์ ลาร์สัน (Kent Larson) ใช้เวลา 18 นาที เล่าเรื่องแนวคิดการออกแบบที่แปลกใหม่ล�้ำสมัย เช่น รถยนต์พับได้หรือ อพาร์ตเมนต์ที่เปลี่ยนรูปแบบได้ เพื่อให้คนเข้าไปอยู่ในเมืองได้มากขึ้น โดยไม่รสู้ กึ ว่าประชากรหนาแน่นเกินไป ความคิดแต่ละอย่างไม่จำ� เป็นต้อง ดูสมบูรณ์แบบเหมือนการเดิมพันที่ชนะเห็นๆ แต่เมื่อเขาเผยภาพเหล่านี้ สู่สายตาเรา มันก็ดูน่าเชื่อถือขึ้นมาก ในปาฐกถาของสถาปนิกโธมัส ฮีเธอร์วกิ (Thomas Heatherwick) เขาฉายภาพสไลด์ซึ่งน่าจะเป็นสไลด์ที่ดึงดูดใจมากที่สุดที่ผมเคยเห็น ใน TED ภาพนั้นแสดงการออกแบบกลุ่มอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในเมือง กัวลาลัมเปอร์ ที่มีตึกสูงทรงโค้งอันสง่างามผุดขึ้นจากฐานแคบๆ เพื่อ เปิดพื้นที่ด้านล่างให้สวนสวยๆ ภาพนั้นวาดฉากอนาคตที่ผมเห็นแล้ว ตื่นเต้นอยากไปเกิดในยุคนั้นเลย แต่ผลอาจไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป บ่อยครั้งเมื่อผู้พูดเผยเทคโนโลยี ใหม่ๆ ผู้ฟังไม่รู้ว่าควรตื่นเต้นหรือตื่นกลัว ในปี 2012 เรจินา ดูแกน (Regina Dugan) ซึ่งตอนนั้นเป็นหัวหน้าศูนย์ DARPA ได้เผยชุดเทคโนโลยีจำ� นวนหนึง่ เช่น เครือ่ งร่อนความเร็วสูง และโดรนจิว๋ รูปนกฮัมมิงเบิร์ด ซึ่งทั้งน่าทึ่งและน่าหวาดหวั่น เพราะมีโอกาสที่จะน�ำไป ใช้ทางการทหาร นอกจากนีก้ ารบรรยายเรือ่ งพันธุวศิ วกรรม คอมพิวเตอร์ ทีส่ ามารถจดจ�ำใบหน้าคนท่ามกลางฝูงชน หรือการพัฒนาหุน่ ยนต์ทคี่ ล้าย 158

T ED Talk s

มนุษย์ ล้วนเป็นประเด็นที่อาจดูน่ากลัวมากกว่าน่าพิสมัย แล้วผู้พูดควรท�ำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึก ไม่สบายใจท�ำนองนี้ มีทางเดียวคือแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าท�ำไมภาพ อนาคตเช่นนี้จึงควรค่าน่าไขว่คว้า หรือไม่คุณก็ต้องน�ำเสนอความคิดโดย เน้นคุณค่าของมนุษย์ ไม่ใช่แค่เทคโนโลยีอันชาญฉลาด แบรน เฟอร์เรน (Bran Ferren) พยายามท�ำเช่นนั้นที่งาน TED ประจ�ำปี 2014 เขาพูดถึงยานพาหนะอัตโนมัติที่จะสร้างอนาคต ซึ่งต่างไปจากเดิมมาก แต่ปาฐกถาของเขาเริ่มต้นจากแรงบันดาลใจใน วัยเด็กที่เขาได้ไปเที่ยววิหารแพนธีออนในกรุงโรมพร้อมครอบครัว และ จบด้วยถ้อยค�ำโน้มน้าวให้สร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กๆ ในอนาคต “เรา จ�ำเป็นต้องส่งเสริมให้เขาค้นหาเส้นทางของตัวเอง แม้ว่ามันจะแตกต่าง จากเส้นทางของเรามาก และเราต้องท�ำให้เขาเข้าใจบางอย่าง ซึ่งเป็น สิ่งที่เราอาจยังไม่รู้ซึ้งดีพอในโลกที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นนี้ นั่นคือจงเรียนรู้ว่าศิลปะและการออกแบบไม่ใช่ของหรูหราฟุ่มเฟือย และ ไม่ได้ขัดกับเทคโนโลยีหรือวิศวกรรมศาสตร์ ที่จริงมันคือสาระส�ำคัญ ทีท่ ำ� ให้เราพิเศษไม่เหมือนใคร” สิง่ ทีอ่ าจเป็นเพียงวิสยั ทัศน์ทางเทคโนโลยี ล้วนๆ แถมอาจจะดูน่ากลัวนิดๆ กลับลงเอยในฐานะเรื่องราวที่เปี่ยม ความหวังและมีความเป็นมนุษย์ อารมณ์ขันก็ช่วยได้เช่นกัน ฮวน เอนรีเกส (Juan Enriquez) เคยกล่าวปาฐกถา TED ในหัวข้อที่ชวนปวดหัวมาหลายครั้ง โดยน�ำเสนอ พัฒนาการที่ก�ำลังเกิดขึ้นในวงการชีววิทยาและพันธุกรรมศาสตร์ ซึ่งอาจ ฟังดูนา่ ตระหนกตกใจมากทีเดียวหากเขาไม่แทรกอารมณ์ขนั เล็กๆ น้อยๆ ลงไปด้วยในทุกสไลด์ เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ถ่ายทอดผ่านฮวน อนาคตก็ดู น่าตื่นตาตื่นใจมากกว่าน่าตื่นกังวล สุดท้าย ยิ่งวิสัยทัศน์แห่งอนาคตเป็นสิ่งที่น�ำไปลงมือท�ำได้ง่าย เท่าใดก็ยิ่งดี เดฟ ไอเซย์ (Dave Isay) ผู้ก่อตั้งสตอรี่คอร์ปส์ (StoryCorps) พูดถึงพลังที่เกิดขึ้นเมื่อผู้คนพูดคุยกับคนใกล้ชิดแล้วถามค�ำถามลึกซึ้ง Chris Anderson

159

ว่าด้วยความหมายของชีวิต และบันทึกเสียงสัมภาษณ์เก็บไว้ จากนั้น เขาก็เล่าถึงแอปพลิเคชั่นที่ทุกคนสามารถสัมภาษณ์และอัปโหลดบันทึก เสี ย งส่ ง ไปยั ง หอสมุ ด รั ฐ สภาอเมริ กั น เพื่ อ สร้ า งไฟล์ บั น ทึ ก แบบถาวร วิสยั ทัศน์ของเขาเกีย่ วกับโลกทีผ่ คู้ นรับฟังกันและกันอย่างแท้จริงนัน้ สร้าง แรงบันดาลใจอย่างยิ่ง และภายในไม่กี่วันหลังจากเราเผยแพร่ปาฐกถา ของเขา คนหลายพันคนก็เข้าไปบันทึกบทสนทนาเปีย่ มความหมายอย่าง ที่พวกเขาไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน นั่นคือพลังแห่งความฝันของเรา ซึ่งสามารถแผ่ขยายไปสู่ผู้อื่น สร้างความตื่นเต้นและความเชื่อ ทั้งยังส่งผลให้ความฝันนั้นกลายเป็น จริง ความฝันท�ำให้เรารับรู้ถึงความเป็นไปได้ที่เพิ่มขึ้น และยังบันดาลใจ ให้เราท�ำงานหนักขึ้นเพื่อบรรลุความฝันนั้น ถ้าคุณได้รับเชิญให้ร่วมทาง ไปกับนักฝันทีม่ แี รงบันดาลใจ นัน่ ย่อมเป็นค�ำเชือ้ เชิญทีค่ ณ ุ ไม่มวี นั ปฏิเสธ อย่างแน่นอน จับคู่ผสมผสาน ในความเป็นจริง ปาฐกถาส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทใด ประเภทหนึ่งที่เรากล่าวไปข้างต้นได้อย่างชัดเจน มันมักมีองค์ประกอบ ต่างๆ จากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น ปาฐกถายอดนิยมของเอมี คัดดี ว่าด้วยอิทธิพลของภาษากายที่มีต่อความมั่นใจของคุณ นับเป็นส่วนผสม ระหว่างการอธิบายกับการเล่าเรื่องส่วนตัวที่ประสานกันอย่างมีศิลปะ ปาฐกถาของซัลมาน คาห์น ก็เริม่ ต้นด้วยเรือ่ งราวของเขาเอง ก่อนจะแปร เปลี่ยนเป็นเส้นทางอันน่าอัศจรรย์ใจที่ท่องไปในเรื่องราวของคุณสมบัติ อันโดดเด่นที่คาห์นอะคาเดมีก�ำลังสร้างขึ้น ก่อนจะปิดท้ายด้วยภูมิทัศน์ แห่งความฝัน ซึ่งก็คือวิสัยทัศน์อันน่าตื่นเต้นของศักยภาพที่จะสร้าง การศึกษารูปแบบใหม่

160

T ED Talk s

ดังนัน้ ผมขอย�ำ้ อีกครัง้ ว่า อย่าให้เทคนิคข้างต้นกลายเป็นขีดจ�ำกัด ตัวคุณ มันคือเทคนิคที่ช่วยให้คุณจินตนาการว่าจะท�ำให้ภาพโครงการ อันโดดเด่นทีค่ ณ ุ ก่อร่างไว้ปรากฏในความคิดของผูฟ้ งั ได้อย่างไร ขอให้คณ ุ เลือก ผสม จับคู่ และขยายความ ในลักษณะทีเ่ ปีย่ มพลังและตรงกับความคิด ที่คุณหวังอยากสร้างขึ้นมากที่สุด เอาละครั บ สมมติ ต อนนี้ คุ ณ มี แ ก่ น เรื่ อ งกั บ เนื้ อ หา ทั้ ง ยั ง ร้อยเรียงส่วนผสมของเทคนิคต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างมีศิลปะ ไม่ว่าจะ เป็นการเชื่อมโยง การเล่าเรื่อง การอธิบาย การโน้มน้าว และการเผย ให้เห็น คราวนี้ท�ำอย่างไรต่อล่ะ ก็ได้เวลาออกแสดงแล้วสิครับ ต่อจากนีเ้ ราจะพิจารณาองค์ประกอบหลักสีอ่ ย่างของกระบวนการ เตรียมปาฐกถา ซึ่งเป็นตัวตัดสินว่าปาฐกถาของคุณจะรุ่งหรือจะร่วง • ควรใช้ภาพประกอบหรือไม่ และถ้าใช้จะใช้ภาพอะไร • ควรเขี ย นบทและท่ อ งจ� ำ ปาฐกถาของคุ ณ ไหม หรื อ ควรจะ วางแผน “พูดสด” • ควรฝึกฝนอย่างไรเพื่อกล่าวปาฐกถาทั้งสองแบบนี้ • ควรกล่าวเปิดและปิดปาฐกถาอย่างไรเพื่อให้ได้ผลสูงสุด คุณพร้อมหรือยังครับ มาเถอะ ยังมีงานที่เราต้องท�ำอีก

Chris Anderson

161

กระบวนการ เตรียมตัว

Chris Anderson

163

10 ภาพ เห็นสไลด์นี้แล้วปวดใจ!

ในศตวรรษที่ 21 เราสามารถเสริ ม แต่ ง ค� ำ พู ด ด้ ว ยเทคโนโลยี ที่แพรวพราว ซึ่งหากใช้อย่างเหมาะเจาะก็อาจยกระดับปาฐกถาขึ้นไป ได้อีกขั้น ภาพถ่าย ภาพประกอบ การออกแบบตัวอักษรที่งดงาม กราฟ อินโฟกราฟิก แอนิเมชั่น วิดีโอ ไฟล์เสียง การจ�ำลองข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งหมดนี้สามารถเพิ่มพลังการอธิบายและเสริมเสน่ห์ดึงดูดทางสุนทรียะ ให้กับปาฐกถาได้ แม้เราจะมีสิ่งเหล่านี้ให้เลือกใช้ แต่ค�ำถามแรกที่คุณควรถาม ตัวเองคือ จริงๆ แล้วคุณต้องการตัวช่วยพวกนี้หรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ น่าแปลกใจคือ อย่างน้อยหนึง่ ในสามของปาฐกถา TED ทีม่ ผี ชู้ มมากทีส่ ดุ ไม่ได้ใช้สไลด์ภาพประกอบใดๆ เลย เป็นไปได้อย่างไร? การพูดพร้อมภาพประกอบย่อมน่าสนใจกว่า การพูดเฉยๆ อยู่แล้วไม่ใช่หรือ? ที่จริงไม่ใช่เลยครับ สไลด์ภาพประกอบ ท�ำให้ผู้ฟังเบนความสนใจจากผู้พูดไปสู่หน้าจอไม่มากก็น้อย ถ้าพลัง ทั้งหมดของปาฐกถานั้นอยู่ท่ีการสร้างสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้พูดกับ Chris Anderson

165

ผู้ฟัง ภาพประกอบอาจกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางได้ แน่ น อนว่ า การแบ่ ง ความสนใจระหว่ า งหน้ า จอกั บ ผู ้ พู ด นั้ น ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งได้ อ ย่ า งเสี ย อย่ า งเสมอไป สิ่ ง ที่ ฉ ายบนจอกั บ สิ่ ง ที่ พู ด มักใช้พื้นที่ความคิดคนละแบบ เช่น อย่างหนึ่งใช้สุนทรียะ อีกอย่างใช้การ วิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ถ้าแก่นของปาฐกถาเป็นเรื่องส่วนตัวมากๆ หรือ ถ้าคุณมีเครื่องมืออื่นที่จะท�ำให้ปาฐกถามีชีวิตชีวา เช่น อารมณ์ขัน หรือ เรื่องราวที่เล่าแล้วเห็นภาพ ขอให้คุณลืมเรื่องภาพประกอบแล้วมุ่งไปที่ การพูดกับผู้ฟังอย่างเดียวจะดีกว่า และส�ำหรับผูพ้ ดู ทุกคน สิง่ ทีผ่ มก�ำลังจะบอกต่อไปนีค้ อื ความจริง นะครับ ไม่มีภาพประกอบเลยยังดีกว่ามีภาพประกอบห่วยๆ แต่กระนั้นปาฐกถาส่วนใหญ่ก็ได้ประโยชน์จากภาพประกอบที่ดี และส�ำหรับบางปาฐกถา ภาพประกอบเป็นจุดเปลีย่ นระหว่างความส�ำเร็จ กับความล้มเหลวเลยทีเดียว เดิมที TED เป็นการประชุมด้านเทคโนโลยี ความบันเทิง และ การออกแบบ เมื่อมีนักออกแบบมาร่วมด้วย สิ่งที่ตามมาอย่างรวดเร็ว คือความคาดหวังว่าภาพประกอบจะต้องสวยงามและส่งผลกระทบอย่าง ยิ่งใหญ่ จะว่าไปธรรมเนียมปฏิบัตินี้อาจเป็นเหตุผลหลักว่าท�ำไม TED Talk จึงได้รับความนิยม ถ้าอย่างนั้นองค์ประกอบส�ำคัญของภาพประกอบที่ดีคืออะไร เราแบ่งได้เป็นสามประเภทดังนี้ครับ • การเผยให้เห็น • พลังการอธิบาย • เสน่ห์ดึงดูดทางสุนทรียะ มาดูกันทีละข้อครับ

166

T ED Talk s

เผยให้เห็น! กรณีที่จ�ำเป็นต้องใช้ภาพประกอบแน่ๆ คือคุณต้องการแสดงให้ เห็นอะไรบางอย่างที่ยากจะบรรยาย ศิลปินและช่างภาพต้องอาศัยวิธีนี้ มาน�ำเสนองานแน่นอน นักส�ำรวจที่เปิดเผยเรื่องราวการเดินทาง หรือ นักวิทยาศาสตร์ทเี่ ปิดเผยการค้นพบก็สามารถใช้ภาพประกอบช่วยเช่นกัน อีดิธ วิดเดอร์ (Edith Widder) เป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ถ่าย วิดีโอปลาหมึกยักษ์ได้เป็นครั้งแรก เมื่อเธอมาพูดที่ TED ปาฐกถา ทั้งหมดของเธอเกี่ยวข้องกับวินาทีแห่งการค้นพบครั้งนั้น เมื่อสิ่งมีชีวิต อันน่าเหลือเชื่อนี้ปรากฏตัวบนจอในที่สุด ผู้ฟังแทบจะนั่งไม่ติดเก้าอี้ แต่การใช้ภาพเพื่อเผยให้เห็นไม่จ�ำเป็นต้องเร้าอารมณ์ขนาดนี้เสมอไป หลั ก ส� ำ คั ญ คื อ คุ ณ ต้ อ งปู บ ริ บ ท โน้ ม น� ำ ความคิ ด ผู ้ ฟ ั ง แล้ ว ก็ … ตู ม ! ปล่อยให้ภาพร่ายมนตร์ขลังของมันเอง อย่าลืมเปิดภาพให้เต็มหน้าจอ โดยมีส่วนประกอบตกแต่งน้อยที่สุด อธิบาย! ภาพหนึ่งภาพแทนค�ำเป็นพันค�ำ (แม้ว่าตอนนี้เราจะต้องใช้ ถ้อยค�ำเพือ่ แสดงแนวคิดนีก้ ต็ าม) บ่อยครัง้ การอธิบายทีด่ ที สี่ ดุ เกิดขึน้ เมือ่ ถ้อยค�ำและภาพท�ำงานร่วมกัน จิตใจของเราเป็นระบบบูรณาการ ส่วนใหญ่ เรารับรู้โลกโดยจินตนาการเป็นภาพ ถ้าคุณต้องการอธิบายอะไรใหม่ๆ โดยมากแล้ววิธีที่เรียบง่ายและมีพลังสูงสุดคือ แสดงภาพและบอกเล่า แต่หากต้องการให้วิธีนี้ได้ผล สิ่งที่คุณน�ำมาแสดงกับสิ่งที่คุณ บอกเล่าต้องเข้ากันอย่างลงตัว บางครัง้ ผูพ้ ดู โจมตีผฟู้ งั ด้วยภาพทีซ่ บั ซ้อน เหลือเกิน ในใจลึกๆ เขาคงพยายามท�ำให้ผฟู้ งั ประทับใจกับขอบเขตทีย่ งิ่ ใหญ่ และรายละเอียดในงานของเขา แต่เมื่อเขาเริ่มพูดต่อ ผู้ฟังต้องเพ่งมอง ภาพประกอบอย่างยากล�ำบาก เพื่อพยายามท�ำความเข้าใจว่าค�ำพูดของ Chris Anderson

167

ผู้พูดกับสิ่งที่พวกเขาเห็นสอดคล้องกันอย่างไร หลักส�ำคัญที่จะช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้คือ ลดทอนภาพ ประกอบแต่ละภาพให้แสดงแก่นความคิดเพียงเรื่องเดียว ผู้พูดบางคน โดยเฉพาะพวกนักวิทยาศาสตร์ ดูเหมือนจะมีความเชือ่ ลึกๆ โดยไม่รตู้ วั ว่า ต้องลดจ�ำนวนสไลด์ให้มนี อ้ ยทีส่ ดุ จึงอัดข้อมูลมากมายลงไปในแต่ละสไลด์ ความเชือ่ นีอ้ าจจะถูกต้องในสมัยก่อน ซึง่ คุณยังต้องน�ำแผ่นสไลด์ใส่เข้าไป ในเครือ่ งฉาย แต่ทกุ วันนีส้ ไลด์สบิ สไลด์มตี น้ ทุนเท่ากับหนึง่ สไลด์ สิง่ เดียว ที่จ�ำกัดคือระยะเวลาพูด ดังนั้นคุณสามารถเปลี่ยนสไลด์เนื้อหาซับซ้อน ที่อาจใช้เวลาอธิบายสองนาทีให้เป็นสไลด์เรียบง่ายสามสี่สไลด์ที่คุณคลิก ต่อกันได้ภายในระยะเวลาเท่ากัน ทอม ไรล์ลี หนึง่ ในทีมงาน TED พูดถึงความจ�ำเป็นในการบริหาร เนื้อที่ส�ำหรับภาระการท�ำงานทางปัญญา (cognitive load) ไว้ว่า เมื่ อ คุ ณ พู ด และใช้ ภ าพประกอบ คุ ณ ก� ำ ลั ง ส่ ง เนื้ อ หาส� ำ หรั บ กระบวนการทางปัญญาสองกระแสคู่ขนานกัน ผู้พูดต้องผสาน ทั้งสองกระแสเข้าด้วยกันให้เป็นส่วนผสมใหม่ การพูดถึงฟิสิกส์ เชิงทฤษฎีตอ้ งอาศัยภาระการท�ำงานทางปัญญามาก เช่นเดียวกับ ภาพสไลด์ทเี่ ต็มไปด้วยองค์ประกอบหลายสิบอย่าง ในสถานการณ์ แบบนี้ สมองของผู้ฟังต้องเลือกว่าจะมุ่งใส่ใจค�ำพูด ภาพสไลด์ หรือทั้งสองอย่าง ซึ่งพวกเขามักเลือกโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นคุณต้อง ออกแบบว่าต้องการให้ผฟู้ งั สนใจจุดไหน และต้องตรวจสอบให้แน่ใจ ด้วยว่า สไลด์ทตี่ อ้ งใช้ภาระทางปัญญาหนักหน่วงจะไม่ขบั เคีย่ วแย่ง ความสนใจจากสิ่งที่คุณก�ำลังพูด

ในท�ำนองเดียวกัน เมือ่ คุณพูดถึงสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นสไลด์เสร็จแล้ว ก็ไม่มี เหตุผลที่จะปล่อยมันทิ้งไว้บนจอ ทอมกล่าวเรื่องนี้ไว้เช่นกัน

168

T ED Talk s

ปล่อยให้หน้าจอเป็นสีด�ำว่างเปล่า ผู้ฟังจะได้พักจากภาพมาใส่ใจ ค�ำพูดของคุณมากขึน้ จากนัน้ เมือ่ คุณฉายสไลด์อกี ครัง้ ผูฟ้ งั ก็พร้อม จะกลับไปใช้ความคิดต่อ

ถ้าเป้าหมายของคุณคือหนึง่ ความคิดหลักต่อหนึง่ สไลด์ ก็นา่ คิดต่อ ว่าคุณจะท�ำอะไรกับสไลด์นั้นได้อีกบ้าง เพื่อเน้นประเด็นที่ต้องการสื่อให้ เด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะกรณีของแผนภูมิและแผนผัง ถ้าคุณก�ำลังบอกว่า ปริมาณฝนเดือนกุมภาพันธ์มากกว่าเดือนตุลาคมเสมอ แล้วฉายกราฟ ปริมาณน�้ำฝนตลอดปีบนหน้าจอ ท�ำไมไม่ให้ของขวัญแก่ผู้ฟังสักหน่อย โดยเน้นเดือนกุมภาพันธ์และตุลาคมด้วยสีที่แตกต่างจากเดือนอื่นล่ะครับ และถ้าต่อจากนัน้ คุณจะเปรียบเทียบเดือนมีนาคมกับพฤศจิกายน ให้ท�ำแผนภูมิแยกออกมาหรือใช้สไลด์ใหม่เลย โดยเน้นสองเดือนนั้น ด้วยสีที่แตกต่าง อย่าให้มันอัดแน่นรวมกันในสไลด์เดียว เดวิด แมคแคนด์เลสส์ (David McCandless) เป็นปรมาจารย์ดา้ น การเปลี่ยนข้อมูลให้เข้าใจง่ายโดยอาศัยสไลด์อันงดงามเป็นตัวช่วย เช่น ในงาน TEDGlobal เมื่อปี 2010 เขาฉายสไลด์สองสไลด์ สไลด์แรก มีหวั ข้อว่า ใครมีงบการทหารมากทีส่ ดุ ? ในสไลด์มสี เี่ หลีย่ มจัตรุ สั ขนาด ต่างกันสิบอัน แต่ละอันแทนประเทศหนึ่งประเทศ มีขนาดเป็นสัดส่วน ตามงบประมาณของประเทศนั้น ซึ่งแน่นอนว่า ณ ตอนนี้สหรัฐอเมริกา มีขนาดใหญ่ที่สุด แต่เมือ่ ฉายสไลด์ทสี่ อง ซึง่ แสดงภาพสีเ่ หลีย่ มทีแ่ ทนงบประมาณ ทหาร โดยคิดเป็นร้อยละของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทันใดนั้นสหรัฐอเมริกากลับกลายเป็นอันดับแปด รองจากพม่า จอร์แดน จอร์เจีย และซาอุดีอาระเบีย ภายในสองสไลด์ โลกทัศน์ของคุณคมชัดขึ้น อย่างมหาศาล ดูเหมือนผูพ้ ดู อีกหลายๆ คนยังคงเชือ่ ว่า เราสามารถเพิม่ พลังการ อธิบายของสไลด์ได้โดยเติมถ้อยค�ำลงไป ซึง่ บ่อยครัง้ เป็นค�ำเดียวกับทีเ่ ขา Chris Anderson

169

วางแผนว่าจะพูด ไม่มีความคิดใดที่ผิดจากความจริงไปมากกว่านี้แล้ว สไลด์จากโปรแกรมพาวเวอร์พอยต์แบบดั้งเดิมที่เริ่มด้วยหัวข้อใหญ่และ ตามด้วยหัวข้อย่อยที่เป็นวลียาวๆ หลายๆ หัวข้อนั้นเป็นวิธีที่ท�ำให้ผู้ฟัง หมดความสนใจได้แน่นอนที่สุด เหตุผลคือผู้ฟังมักอ่านข้อความไปก่อน ล่วงหน้า และพอผูพ้ ดู กล่าวถึงหัวข้อนัน้ มันก็ฟงั ดูซำ�้ ซากเสียแล้ว เมือ่ เรา เห็นผู้พูดมาที่ TED พร้อมกับชุดสไลด์แบบนี้ เราเทเครื่องดื่มให้เขา นั่งลง ข้างเขาตรงหน้าจอคอมพิวเตอร์ และค่อยๆ ขออนุญาตอย่างนิ่มนวล เพื่อ ตัดทิ้ง ตัดทิ้ง และตัดทิ้ง บางทีก็แยกหัวข้อย่อยออกเป็นสไลด์ใหม่ของ แต่ละหัวข้อ ลดวลียืดยาวทั้งหลายให้เหลือเพียงหนึ่งวลี บางครั้งก็แทนที่ ด้วยภาพ หรือตัดทิ้งไปทั้งหมดเลย ประเด็นก็คือ ไม่มีประโยชน์ที่จะเขียนข้อความซ�้ำกับสิ่งที่คุณ ก�ำลังพูดบนเวที ถ้าคุณใช้เวลาเกินสองสามนาทีเพื่อแจกแจงประเด็น ก็อาจดีไม่น้อยหากมีค�ำหรือวลีบนหน้าจอเพื่อให้ผู้คนจ�ำได้ว่าหัวข้อ คื อ อะไร กรณีนี้เข้า ใจได้ แต่น อกเหนือจากนี้แล้ว ถ้อยค�ำบนสไลด์ มักรบกวนการน�ำเสนอของคุณแทนที่จะช่วยให้ดีขึ้น แม้ว่าสไลด์ที่มีแต่ถ้อยค�ำจะดูเรียบง่าย แต่ในแง่หนึ่งมันก็อาจ แย่งความสนใจของผู้ฟังไปจากคุณได้เช่นกัน ดังนั้นแทนที่จะใช้สไลด์ที่ เขียนว่า หลุมด�ำคือวัตถุขนาดยักษ์ที่ไม่มีแสงสว่างใดๆ หลุดรอดออกไป ได้ คุณใช้ประโยคนี้จะดีกว่า หลุมด�ำนั้นด�ำสักแค่ไหน? แล้วค่อยบรรยาย เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มจากสไลด์นั้น ด้วยวิธีนี้ สไลด์จะท�ำหน้าที่ยั่วเย้าความ อยากรูอ้ ยากเห็นของผู้ฟังและท�ำให้ค�ำพูดของคุณน่าสนใจมากขึ้น แทนที่ จะลดความน่าสนใจลง ลองคิดดูนะครับ จริงๆ หลักการนั้นง่ายมาก เป้าหมายหลักของ ภาพประกอบไม่ใช่เพื่อสื่อสารถ้อยค�ำ ปากของคุณเป็นสื่อที่สมบูรณ์แบบ ส�ำหรับหน้าที่นั้น ภาพประกอบควรใช้สื่อสารสิ่งที่ปากของคุณบอกเล่าได้ ไม่ดีนัก เช่น ภาพถ่าย วิดีโอ แอนิเมชั่น ข้อมูลส�ำคัญๆ ถ้าใช้วิธีนี้ ภาพบนจอจะสามารถอธิบายสิ่งที่อาจต้องใช้เวลา 170

T ED Talk s

อธิบายหลายชั่วโมงได้ภายในเวลาแค่ไม่กี่วินาที ผู้พูดขวัญใจเราที่ TED ซึ่งสนับสนุนการใช้ภาพช่วยอธิบายคือฮานส์ โรสลิง ย้อนไปเมื่อปี 2006 เขาน�ำเสนอชุดกราฟิกภาพเคลื่อนไหวที่ยาวเพียง 48 วินาที แต่ใน 48 วินาทีนั้น เขาเปลี่ยนแบบแผนทางความคิดของทุกคนเกี่ยวกับประเทศ ก�ำลังพัฒนาไปเลย ประเด็นอยู่ตรงนี้ ถ้าคุณไม่ได้ชมปาฐกถานี้ ผมก็ ไม่สามารถอธิบายให้คุณฟังได้ ต่อให้พยายามอธิบายก็คงต้องใช้ถ้อยค�ำ หลายย่อหน้า แม้กระนั้นผมก็คงจะอธิบายได้ไม่ใกล้เคียงความจริงอยู่ดี นั่นละคือประเด็นส�ำคัญ ภาพเหล่านี้ ต้อง ฉายให้ดูบนหน้าจอเท่านั้น ดังนัน้ ครัง้ ต่อไปทีค่ ณ ุ อยูใ่ กล้คอมพิวเตอร์ ให้กเู กิลค�ำว่า “ฮานส์ โรสลิง โชว์ สถิติที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่คุณเคยเห็นมา” (Hans Rosling: The best stats you’ve ever seen) ลองชมดูแล้วคุณจะอัศจรรย์ใจ (คลิปยาว 48 วินาที ที่ผมพูดถึงเริ่มตั้งแต่นาทีที่ 4:05) ไม่ใช่ทุกคนที่ท�ำได้อย่างฮานส์ โรสลิง แต่อย่างน้อยทุกคน สามารถตั้งค�ำถามกับตัวเองได้ว่า ภาพเป็นหัวใจหลักในการอธิบายสิ่งที่ เราอยากจะพูดหรือเปล่า ถ้าใช่ เราจะผสมผสานมันอย่างไรให้เข้ากับ ค�ำพูดได้ดีที่สุด เพื่อให้มันท�ำงานร่วมกันอย่างทรงพลัง สร้างความรื่นรมย์! หน้าทีอ่ กี อย่างหนึง่ ของภาพทีม่ กั ถูกมองข้ามคือ สร้างเสน่หด์ งึ ดูด ทางสุนทรียะอันลึกซึ้งให้แก่การบรรยาย ผมมักประหลาดใจที่ศิลปินด้านทัศนศิลป์มักน�ำเสนอเพียงแค่ ส่วนเสี้ยวของงานที่เขาท�ำ ใช่ครับ เราควรจ�ำกัดจ�ำนวน แนวคิด ที่น�ำ เสนอในปาฐกถา แต่ภาพล่ะ? ไม่จำ� เป็นขนาดนัน้ สิง่ ทีผ่ ดิ คือความเชือ่ ทีว่ า่ คุณต้อง อธิบาย ทุกภาพ ซึ่งไม่จ�ำเป็นครับ ถ้าคุณเชิญแขกผู้มีเกียรติมา ในโถงแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่เพื่อชมผลงานของคุณ แต่คุณมีเวลา เจาะจงน�ำเสนองานได้เพียงห้องเดียว อย่างน้อยคุณก็นา่ จะพาเขาเดินชม Chris Anderson

171

ส่วนอื่นๆ ในโถงอย่างคร่าวๆ เพื่อให้เขาตื่นตาตื่นใจและขยายขอบเขต ความเข้าใจที่เขามีต่อภาพรวมผลงานของคุณให้กว้างขึ้น การมองภาพ เพียง 5 วินาทีแม้จะไม่มีถ้อยค�ำประกอบก็อาจส่งผลกระทบได้ ถ้าคุณ ให้ของขวัญดังกล่าวแก่ผู้ฟังได้ง่ายขนาดนี้ จะหวงไว้ท�ำไมอีกล่ะครับ มีวธิ วี างโครงสร้างปาฐกถาหลายวิธที เี่ ปิดโอกาสให้ผฟู้ งั ดืม่ ด�ำ่ กับ ภาพ ซึง่ จะท�ำให้ผฟู้ งั เพลิดเพลินยิง่ ขึน้ แม้วา่ เรือ่ งทีพ่ ดู จะไม่สวยงามก็ตาม ลูซี แมคเร (Lucy McRae) นักออกแบบและสมาชิกของ TED Fellows แทรกภาพและวิดโี อทีง่ ดงามจับใจหลายสิบชิน้ ไว้ในปาฐกถาของ เธอ ซึ่งทั้งหมดล้วนสร้างความรู้สึกอัศจรรย์ใจ แม้ในขณะที่เธอพูดเรื่อง กลิ่นตัวของมนุษย์ ในท�ำนองเดียวกัน การน�ำเสนอในรูปแบบภาพกราฟิกที่มา พร้อมกับแบบตัวอักษร ภาพประกอบ และแอนิเมชัน่ ทีส่ วยงาม ย่อมท�ำให้ การน�ำเสนอมีเสน่ห์เกินห้ามใจได้เช่นกัน นี่คือหลักการส�ำคัญบางส่วน แต่เมื่อเราพูดถึงเรื่องภาพ ด่าน โหดหินของมันอยูท่ รี่ ายละเอียด ผมขอเชิญทอม ไรล์ลี กลับมาสูห่ น้ากระดาษ อีกครั้งเพื่อชี้แนะให้เราเข้าใจลึกซึ้งขึ้นนะครับ ทอมคือชายผู้รู้สึกเจ็บปวด เมื่อเห็นภาพประกอบแย่ๆ ทอมครับ ถึงตาคุณแล้ว! ทอม ไรล์ลี เขียน

เยี่ยมเลยครับ! เรามาเริ่มจากเครื่องมือที่คุณจะใช้กันก่อน

เคล็ดลับการใช้ซอฟต์แวร์ส�ำหรับน�ำเสนอ ณ ปี 2016 นี้ เรามีเครื่องมือหลักๆ ส�ำหรับน�ำเสนอสามอย่าง ได้แก่ พาวเวอร์พอยต์ คียโ์ น้ต (ส�ำหรับเครือ่ งแมคอินทอช) และเพรซี (Prezi) พาวเวอร์พอยต์นนั้ แพร่หลายทีส่ ดุ แต่ผมว่าคียโ์ น้ตใช้งานง่ายกว่า ตัวอักษร 172

T ED Talk s

และภาพกราฟิกก็ดกี ว่า ส่วนเพรซี (ซึง่ TED เป็นผูล้ งทุนในช่วงแรกๆ) เป็น ทางเลือกใหม่ของการน�ำเสนอ แทนทีจ่ ะเป็นสไลด์ตอ่ เนือ่ งกันเป็นเส้นตรง คุณสามารถเคลื่อนย้ายไปทั่วพื้นที่สองมิติ แล้วซูมเข้าซูมออกเพื่อเน้น สิ่งที่คุณเห็นว่าเป็นประเด็นส�ำคัญ เครื่ อ งฉายภาพและจอในปั จ จุ บั น มี สั ด ส่ ว นเหมื อ นโทรทั ศ น์ จอกว้างสมัยใหม่ นัน่ คือ 16:9 แทนทีจ่ ะเป็น 4:3 เหมือนโทรทัศน์รนุ่ เก่า แต่ซอฟต์แวร์นำ� เสนอจะเปิดขึน้ มาในสัดส่วน 4:3 โดยอัตโนมัติ คุณควร เปลีย่ นให้เป็น 16:9 ทันที (เว้นแต่วา่ คุณจะไปพูดในสถานทีท่ มี่ แี ต่เครือ่ งฉาย แบบ 4:3 เท่านั้น) อย่าใช้แบบส�ำเร็จรูป (template) ของหัวข้อ ตัวอักษร และ เครื่องหมายหัวข้อย่อยต่างๆ ที่มากับซอฟต์แวร์ การน�ำเสนอของคุณ จะดูเหมือนของคนอื่น และสุดท้ายคุณจะพบว่าแบบส�ำเร็จรูปนี้จ�ำกัด การออกแบบของคุ ณ ผมแนะน� ำ ให้ คุ ณ เริ่ ม จากสไลด์ เ ปล่ า ถ้ า คุ ณ จะฉายภาพหลายๆ ภาพ ให้ใช้พื้นหลังสีด�ำ เพราะตอนฉายพื้นหลัง จะหายไป แล้วภาพของคุณจะเด่นขึ้นมา ภาพถ่ายส่วนใหญ่ควรขยายให้เต็มจอ หรือทีเ่ รียกว่า “full bleed” ค�ำนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับเลือดหรือหนังสยองขวัญนะครับ แต่เป็นศัพท์เก่าแก่ ในวงการพิมพ์ที่แปลว่าภาพถ่ายนั้นครอบคลุมทั้งจอโดยไม่มีขอบ ภาพ เต็มจอสามสไลด์เรียงกันดูดีกว่าภาพเล็กสามภาพในสไลด์เดียว สัดส่วน ของภาพถ่ายส่วนใหญ่ยังคงเป็น 4:3 ดังนั้นถ้าคุณต้องการแสดงภาพเต็ม โดยไม่อยากตัดส่วนบนและล่างของภาพออก ให้ใช้สไลด์พนื้ หลังด�ำ ซึง่ จะ หลงเหลือขอบด�ำที่ไม่กวนสายตาอยู่ด้านข้าง ส�ำหรับความละเอียดของภาพ ขอให้ใช้ภาพทีค่ วามละเอียดสูงสุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภาพแตกเป็นเม็ดพิกเซลเมื่อฉาย ขึน้ จอ ซึง่ เป็นเรือ่ งน่าร�ำคาญสุดๆ ไม่ตอ้ งกลัวเรือ่ งความละเอียดมากเกินไป หรอกครับ เว้นแต่ว่ามันจะท�ำให้ซอฟต์แวร์ท�ำงานช้าลง

Chris Anderson

173

แบบอักษร โดยส่วนใหญ่แล้ว วิธที ดี่ ที สี่ ดุ คือน�ำเสนอเรือ่ งหนึง่ ๆ ด้วยตัวอักษร เพียงรูปแบบเดียว แบบอักษร (font) บางแบบเหมาะสมกว่าแบบอื่น ส�ำหรับภาษาอังกฤษ เรามักแนะน�ำให้ใช้แบบอักษรทีค่ วามหนาปานกลาง ทีไ่ ม่มเี ส้นปิดหัวท้ายตัวอักษร เช่น Helvetica หรือ Arial อย่าใช้แบบอักษร ทีต่ วั บางเกินไปเพราะจะอ่านยาก โดยเฉพาะบนพืน้ หลังสีเข้ม ถ้าไม่แน่ใจ ขอให้เลือกแบบที่เรียบง่ายเข้าไว้ ขนาดอักษร ตัวอักษรขนาดเล็กเกินไปท�ำให้ผู้ฟังต้องล�ำบากมาเพ่ง ใช้ ตัวอักษรขนาด 24 พอยต์ขึ้นไปเสมอ ใช้ตัวอักษรขนาดแตกต่างกัน อย่าง มากที่สุด ไม่เกินสามขนาดในการน�ำเสนอหนึ่งเรื่อง และต้องมีเหตุผล ส�ำหรับแต่ละขนาด ขนาดใหญ่ส�ำหรับชื่อเรื่องหรือพาดหัว ขนาดกลาง ส�ำหรับแนวความคิดหลัก ขนาดเล็กส�ำหรับแนวความคิดสนับสนุน พื้นหลังของตัวอักษร ถ้าคุณจะวางตัวอักษรบนภาพถ่าย ตรวจสอบ ให้แน่ใจว่าคุณวางตัวอักษรไว้ตรงจุดทีผ่ ฟู้ งั อ่านออก ถ้าภาพรกเกินกว่าจะ วางตัวอักษรลงไปโดยตรง เติมแถบด�ำเล็กๆ ที่ด้านล่างแล้ววางตัวอักษร บนแถบนั้น สีตวั อักษร ค�ำทีต่ อ้ งจ�ำไว้คอื เรียบง่าย และ ตัดกัน สีขาวบนสีดำ� สีเข้มบน สีขาว สีขาวหรือเหลืองบนสีด�ำ ทั้งหมดนี้ล้วนดูดี เพราะมันตัดกันชัดเจน และอ่านง่าย ใช้ตวั อักษรเพียงสีเดียวส�ำหรับการน�ำเสนอหนึง่ เรือ่ ง เว้นแต่ ว่าคุณอยากเน้นหรือสร้างความประหลาดใจ อย่าใช้ตวั อักษรสีออ่ นบนพืน้ สีออ่ นหรือตัวอักษรสีเข้มบนพืน้ สีเข้ม เช่น ฟ้าอ่อนบนพืน้ เหลือง หรือแดง บนพื้นด�ำ เพราะจะท�ำให้อ่านยาก

174

T ED Talk s

ความชัดเจนอ่านง่าย หลังจากคุณเลือกแบบและสีตัวอักษรแล้ว ลองดูสไลด์น�ำเสนอ ของคุณในคอมพิวเตอร์ หรือจะให้ดีกว่านั้นคือดูบนจอโทรทัศน์หรือ เครื่องฉาย โดยยืนห่างจากจอ 6-12 ฟุต ดูว่าคุณอ่านทุกอย่างออกไหม ภาพคมชัดไม่แตกเป็นพิกเซลใช่ไหม ถ้าไม่ใช่ก็แก้ไขเสีย สิ่งที่ไม่ควรท�ำ • หลีกเลี่ยงการเขียนเป็นหัวข้อย่อยแบบ bullet point เก็บ bullet ไว้ใช้ในหนังอย่าง Godfather ก็พอครับ • อย่าขึ้นต้นประโยคด้วยขีดสั้น เก็บไว้ใช้ในกีฬาโอลิมปิกเถอะ ครับ • อย่าขีดเส้นใต้หรือท�ำตัวเอียง เพราะจะอ่านยากเกินไป ส่วน ตัวหนานั้นใช้ได้ • บางที ตั ว อั ก ษรมี เ งาก็ มี ป ระโยชน์ เ พราะช่ ว ยให้ อ ่ า นง่ า ยขึ้ น โดยเฉพาะเมือ่ วางตัวอักษรบนภาพถ่าย แต่ขอให้ใช้เท่าทีจ่ ำ� เป็น • อย่าเติมลูกเล่นมากมายไว้ในตัวอักษรบรรทัดเดียวกัน มันดูแย่ จริงๆ ครับ ค�ำอธิบายและแผนผัง ค่อยๆ เติมถ้อยค�ำและภาพลงในสไลด์ดว้ ยการคลิกทีละครัง้ เพือ่ ให้ ผู ้ ฟ ั ง มุ ่ ง ความสนใจไปที ล ะประเด็ น ให้ เ วลาผู ้ ฟ ั ง นานพอที่ จ ะซึ ม ซั บ ความคิดแต่ละขัน้ อย่าอัดข้อมูลในสไลด์มากเกินไปในคราวเดียว เพราะผูฟ้ งั จะรู้สึกเหมือนถูกข้อมูลท่วมทับ Chris Anderson

175

เครดิตภาพถ่าย ในแวดวงวิทยาศาสตร์ การให้เครดิตภาพถ่ายแต่ละภาพในทุก สไลด์เป็นสิ่งส�ำคัญมาก แต่พยายามอย่าใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เพราะ ข้อมูลอ้างอิงเหล่านั้นจะดึงสายตาของผู้ฟังไปจากสไลด์ ถ้าภาพทั้งหมด มาจากแหล่งเดียวกัน คุณอาจกล่าวบนเวทีว่า ขอบคุณนิตยสาร National Geographic หรือคุณอาจเพิม่ สไลด์ทรี่ ะบุเครดิตภาพถ่ายโดยเขียนว่า “ภาพ ทัง้ หมดได้รบั การอนุเคราะห์จากนิตยสาร National Geographic” เพือ่ จะได้ ไม่ต้องเขียนซ�้ำในทุกสไลด์ ถ้าคุณจ�ำเป็นต้องใส่เครดิตภาพ ข้อความเหล่านั้นควรมีรูปแบบ และต�ำแหน่งที่คงเส้นคงวาในทุกสไลด์ กล่าวคือ วางอยู่ต�ำแหน่งเดียวกัน ใช้ตวั อักษรแบบเดียวกัน ขนาดเดียวกัน (ไม่เกิน 10 พอยต์) และตัดข้อความ ให้กระชับ เช่น เปลี่ยนจาก “เครดิตภาพ: ออกุสติน อัลวาเรซ, ศูนย์วิจัย เอมส์ นาซา เมืองเมาน์เทนวิว แคลิฟอร์เนีย” ให้เหลือแค่ “ออกุสติน อัลวาเรซ, นาซา” โปรดสังเกตว่าผู้ถือครองสิทธิบางราย เช่น พิพิธภัณฑ์ อาจต่อต้านการเขียนเครดิตแบบย่อ จึงควรสอบถามก่อน ผมมักใส่เครดิต ด้วยตัวอักษรสีขาวไม่ให้กลืนไปกับภาพ วางเอียง 90 องศาเพื่อให้แถบ เครดิตอยู่ในแนวตั้งทางมุมขวาบนของสไลด์ ลองถามเพื่อนคุณดูนะครับ ว่าเครดิตแย่งความสนใจไปจากภาพหรือไม่ ถ้าใช่ก็แปลว่ามันเด่นเกินไป ภาพของคุณและทีม การใส่ภาพตัวคุณท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่คุณท�ำงานถือเป็น สิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นในห้องทดลอง พุ่มไม้ หรือเครื่องเร่งอนุภาคเฮดรอน ขนาดใหญ่ แต่อย่าใส่มากกว่าหนึ่งภาพ เว้นแต่ว่าคุณมีเหตุผลที่ดี เบน ซอนเดอร์ส เล่าเรื่องการเดินทางไปขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ให้เราฟัง ภาพส่วนใหญ่จำ� เป็นต้องมีเขาอยูด่ ว้ ยเพือ่ เล่าเรือ่ ง นอกจากนีย้ งั มีทมี งาน 176

T ED Talk s

ที่ท�ำงานอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยเพื่อให้การเดินทางของเบนลุล่วงไปได้ แต่หากแสดงภาพของทีมงานก็อาจหันเหความสนใจของผูฟ้ งั ออกไปจาก แก่นเรือ่ งได้เช่นกัน เราเข้าใจว่าคุณอยากให้เครดิตโดยแสดงภาพทีมงาน ของคุณเป็นรายบุคคลเหมือนในหนังสือรุ่น เรื่องนี้ส�ำคัญกับคุณ แต่ไม่ใช่ กับผู้ฟัง หักห้ามใจเถอะครับ และถ้าคุณจ�ำเป็นต้องมีสักรูป ขอให้เป็น รูปรวมที่ดูเป็นธรรมชาติ คงจะดีกว่ามากหากแสดงภาพทีมของคุณใน บริบทที่สอดคล้องกับเรื่องที่บรรยาย วิดีโอ วิดีโออาจเป็นเครื่องมือวิเศษที่ใช้สาธิตงานและความคิดของคุณ อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรฉายคลิปวิดีโอยาวเกิน 30 วินาที และหากเป็น ปาฐกถาทีย่ าวแค่ 18 นาที อย่าฉายเกิน 2-4 คลิป นอกเสียจากว่างานของ คุณจ�ำเป็นต้องพึง่ วิดโี ออย่างเลีย่ งไม่ได้ จะดีทส่ี ดุ ถ้าคลิปวิดโี อนัน้ เกีย่ วข้อง กับงานของคุณ และคุณเป็นเจ้าของลิขสิทธิภ์ าพในวิดโี อนัน้ (ดีกว่าฉายคลิป จากหนังเรือ่ ง Star Wars) และจะยิง่ ยอดเยีย่ มถ้ามันอธิบายสิง่ ทีไ่ ม่สามารถ อธิบายได้ดว้ ยภาพนิง่ อีกทั้งมีคุณภาพการผลิตดีเลิศ (ถ่ายด้วยความ ละเอียดสูง จัดแสงดี และทีส่ ำ� คัญคือเสียงชัดเจน) วิดโี อทีค่ ณ ุ ภาพการผลิตต�ำ่ จะท�ำให้ผู้ฟังจดจ่อกับสภาพแย่ๆ ของวิดีโอมากกว่าเนื้อหาที่ต้องการสื่อ คุณต้องแน่ใจด้วยว่าวิดีโอเป็นธรรมชาติและจริงใจ ไม่ใช่วิดีโอที่ผลิตโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษทั ไม่ใช้เพลงตลาดๆ ทัว่ ไปเป็นเพลงประกอบ ขอแนะน�ำนิดครับ เวลาคุณท�ำงาน ให้ถ่ายวิดีโอทุกๆ อย่างไว้ เพราะคุณ อาจอยากน�ำมาใช้ในภายหลัง แม้จะไม่รู้ว่าเมื่อไรก็ตาม ทีม TED ยอม ลงทุนเพื่อผลิตวิดีโอและภาพถ่ายคุณภาพสูง และสิ่งเหล่านี้ก็ยิ่งมีคุณค่า มากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป คุณสามารถแทรกวิดีโอไว้ในไฟล์น�ำเสนอของคุณ แต่ก่อนจะขึ้น เวที อย่าลืมตรวจสอบกับฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์ให้แน่ใจว่าวิดีโอนั้นเปิดได้ Chris Anderson

177

รูปแบบการเปลี่ยนสไลด์ รูปแบบการเปลี่ยนสไลด์เป็นหลุมพรางที่น่ากลัวของผู้น�ำเสนอ หลายคน หลักง่ายๆ คือ หลีกเลี่ยงให้หมดแทบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะแบบ มีประกาย ระยิบระยับ โปรยสายรุง้ ภาพบิดเกลียว แขวนเรียงราย ภาพหมุน วน กล่องสี่เหลี่ยมพลิกเปลี่ยนภาพ ภาพขยายเล็กไปใหญ่ ภาพพลิกสลับ ภาพวูบวาบ ระเบิดกระจาย ภาพร่วงหล่นหรือกระเด้งเข้ามาในจอ ทัง้ หมดนี้ คือรูปแบบการเปลีย่ นสไลด์ทมี่ อี ยูใ่ นโปรแกรมคียโ์ น้ต ซึง่ ผมไม่เคยใช้เลย สักอย่างเดียว เว้นแต่อยากท�ำอะไรตลกๆ หรือล้อเลียน มันเป็นลูกเล่น ดึงดูดความสนใจที่ท�ำให้คุณหลุดจากกระบวนความคิดของคุณเอง แล้ว หลงไปตามกลไกของซอฟต์แวร์ มีรูปแบบการเปลี่ยนสไลด์สองแบบที่ ผมชอบ แบบแรกคือไม่มีอะไรเลย (ตัดไปภาพต่อไปทันที เหมือนเวลา ตัดต่อหนัง) และอีกแบบคือภาพจางซ้อน (dissolve) แบบแรกที่ไม่ใส่ เทคนิคใดๆ (หรือเรียกอีกอย่างว่าการตัด) นั้นเหมาะมากเมื่อคุณต้องการ ให้ผู้ฟังตอบสนองทันทีที่คุณกดเปลี่ยนสไลด์ ส่วนภาพจางซ้อนจะดูเป็น ธรรมชาติถา้ คุณตัง้ เวลาให้เปลีย่ นสไลด์ภายในครึง่ วินาที การตัดและภาพ จางซ้อนนั้นซ่อนความหมายโดยนัยที่แตกต่างกัน เมื่อคุณตัดภาพ นั่น แปลว่าคุณเปลีย่ นไปพูดถึงความคิดใหม่ ส่วนภาพจางซ้อนให้ความหมาย ว่าสองสไลด์นั้นเกี่ยวข้องกันในทางใดทางหนึ่ง นี่ไม่ใช่กฎเหล็ก แต่มันก็ มีเหตุผล คุณสามารถใช้ทั้งสองเทคนิคนี้ในการน�ำเสนอเรื่องเดียวกันได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีเหตุผลจ�ำเป็นที่จะต้องใช้รูปแบบการเปลี่ยนสไลด์ ก็อย่าใช้เลยครับ กล่าวโดยสรุปคือ การเปลี่ยนสไลด์ไม่ควรเด่นจนดึงดูด ให้คนสนใจ การเคลื่อนย้ายถ่ายโอนไฟล์ คุณควรส่งไฟล์การน�ำเสนอไปให้ผจู้ ดั และพกยูเอสบีไดรฟ์ทมี่ ไี ฟล์ น�ำเสนอฉบับสมบูรณ์ และ ไฟล์วิดีโอแยกต่างหาก รวมทั้งแบบอักษร 178

T ED Talk s

ที่คุณใช้ด้วย แม้ผมจะส่งไฟล์การน�ำเสนอของผมไปให้ผู้จัดงานที่ผมจะ พูดแล้วล่วงหน้า แต่ผมก็ยังพกติดตัวไปด้วยเสมอ ที่ส�ำคัญคือ ก่อนส่ง ไฟล์ผ่านอินเทอร์เน็ตหรือท�ำส�ำเนาลงในยูเอสบีไดรฟ์ คุณควรใส่ไฟล์ ทั้งหมดไว้ในโฟลเดอร์เดียวกัน และบีบอัดเป็นไฟล์ .zip วิธีนี้จะท�ำให้ทุก ชิน้ ส่วนในการน�ำเสนอของคุณรวมกันอยูใ่ นทีเ่ ดียว ตัง้ ชือ่ ไฟล์วดิ โี อทัง้ หมด ให้ชัดเจนพร้อมระบุต�ำแหน่ง เช่น SIOBHAN STEPHENS สไลด์ที่ 12: วิดีโอ: ผีเสื้อออกจากดักแด้ ลิขสิทธิ์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีสทิ ธิทางกฎหมายอย่างถูกต้องทีจ่ ะใช้ ภาพ วิดโี อ เพลง และแบบอักษรพิเศษต่างๆ หรือตรวจสอบว่าคุณสามารถ ใช้สื่อเหล่านี้ได้ตามข้อตกลง Creative Commons หรือเป็นสื่อที่ใช้ได้ฟรี อยู่แล้ว การใช้ผลงานของตัวเองนั้นง่ายที่สุดและดีที่สุด ถ้าคุณจะใช้เพลง ของวิตนีย์ ฮุสตัน อาจมีค่าใช้จ่ายหลายพันดอลลาร์เพื่อขอใช้เพลงนี้ใน ปาฐกถาสดของคุณ โดยเฉพาะเมื่อเผยแพร่ออนไลน์ การทดสอบ การทดสอบมีสองส่วน คือ ด้านมนุษย์กับด้านเทคนิค เริ่มจาก การตรวจสอบด้านมนุษย์ ผมแนะน�ำให้คุณทดสอบการน�ำเสนอกับคนใน ครอบครัวหรือเพื่อนที่ไม่ได้อยู่ในวงการเดียวกับคุณ โดยเน้นส่วนที่เป็น ภาพสไลด์ เมื่อน�ำเสนอจบแล้วลองถามเขาว่ามีตรงไหนที่เข้าใจและไม่ เข้าใจบ้าง มีค�ำถามอะไรอีกไหม เป็นเรื่องส�ำคัญมากที่คุณควรจะทดสอบ การน�ำเสนอกับผู้คน โดยเฉพาะประเด็นทางเทคนิคหรือเรื่องที่ลึกซึ้ง เข้าใจยาก การทดสอบที่ส�ำคัญพอๆ กันคือการทดสอบทางเทคนิค ผมซื้อ รีโมตคอนโทรลยีห่ อ้ เคนซิงตันราคา 35 ดอลลาร์ และเสียบเข้าช่องยูเอสบี Chris Anderson

179

พอร์ตของเครือ่ งคอมพิวเตอร์ผม เพือ่ จะได้คลิกเปลีย่ นสไลด์ได้เมือ่ ผมอยู่ บนเวที สไลด์คมชัดสีสดสว่างดีไหม? เปลี่ยนสไลด์รวดเร็วพอหรือเปล่า? แบบอักษรถูกต้องไหม? วิดโี อเปิดได้หรือเปล่า? มีปญ ั หาทางเทคนิคอะไร อีกไหม? เมื่อคุณซ้อมน�ำเสนอหลายๆ รอบ คุณจะรู้ว่ามันท�ำงานถูกต้อง พอที่คุณจะวางใจได้หรือไม่ คุ ณ ควรถามเสมอว่ า ผู ้ จั ด เตรี ย มคอมพิ ว เตอร์ อ ะไรไว้ ใ ห้ ใ ช้ ในการน�ำเสนอ เพื่อยืนยันให้แน่ใจว่าคุณสามารถเปิดไฟล์ในโปรแกรม เดียวกันและใช้ฟอนต์เดียวกันกับตอนที่คุณสร้างสไลด์ได้ไหม และถ้า ผู้จัดใช้ซอฟต์แวร์เดียวกัน ถามด้วยว่าเขาใช้เวอร์ชั่นอะไร ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นล่าสุด เพราะโดย ทัว่ ไปมักเป็นเวอร์ชนั่ ทีผ่ จู้ ดั งานใช้ การแปลงไฟล์จากเวอร์ชนั่ หนึง่ เป็นอีก เวอร์ชนั่ หนึง่ ณ ตรงนัน้ เลยเป็นเรือ่ งเครียดทีเดียว และบางทีกต็ อ้ งปรับแต่ง อีกเยอะ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมสร้างสไลด์น�ำเสนอในโปรแกรมคีย์โน้ตบน เครื่องแมคอินทอช แล้วแปลงเป็นไฟล์พาวเวอร์พอยต์บนเครื่องพีซี สิ่งที่ เกิดขึ้นตอนซ้อมนั้นราวกับหายนะ ผมเกลี้ยกล่อมให้เขาหาเครื่องแมค และโปรแกรมคีย์โน้ตมาให้ ซึ่งผลออกมาเยี่ยมยอด อย่าออกไปน�ำเสนอถ้าคุณยังไม่ได้ทดลองไล่เปิดสไลด์ของคุณ ด้วยอุปกรณ์ที่จะใช้ตอนบรรยายจริง โดยเฉพาะไฟล์วิดีโอ หากคุณจะ เปิดไฟล์เสียง โดยเฉพาะถ้าคิดจะบรรยายประกอบระหว่างเปิดเสียงนั้น ด้วย คุณต้องให้ช่างคุมเสียงมาตรวจสอบระดับเสียงของไฟล์ทั้งหมดใน การน�ำเสนอของคุณ เสียงที่เบาจนไม่ได้ยินหรือดังลั่นจนตกใจจะท�ำให้ คุณเสียศูนย์ ท�ำงานกับนักออกแบบ คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ที่จะสร้างสไลด์ที่ดี แต่ถ้าเป็นงานที่ ส�ำคัญมากและคุณพอมีงบประมาณ จงพยายามหานักออกแบบกราฟิก 180

T ED Talk s

ส�ำหรับการน�ำเสนอมาช่วยรังสรรค์งาน โปรดสังเกตว่าผมไม่ได้บอกว่า ใช้นักออกแบบคนไหนก็ได้นะครับ เพราะคนที่ท�ำงานด้านเว็บไซต์หรือ สิง่ พิมพ์เป็นหลักอาจไม่เชีย่ วชาญในศิลปะและไวยากรณ์ของการถ่ายทอด ความคิดผ่านสไลด์ คุณควรขอดูผลงานทีผ่ า่ นมาของเขา โดยคุณสามารถ หาคนเหล่านีไ้ ด้จากเว็บไซต์ Behance และเว็บไซต์อื่นๆ ประเด็นส�ำคัญอีกสี่ข้อคือ 1. แม้คุณจะมีฝ่ายออกแบบกราฟิกขององค์กรคอยรับผิดชอบ งานน�ำเสนอ คุณก็ควรมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นอยู่ดี จงท�ำงาน เชิงรุก อย่าเอาแต่นั่งรอตรวจวิดีโอตอนเสร็จแล้ว ต้องแน่ใจว่า คุณอยู่กับพวกเขาและมีส่วนร่วมในกระบวนการ นักออกแบบ ส่วนใหญ่เก่งในงานที่เขาท�ำ แต่เขาก�ำลังช่วยให้คุณแสดง ตัวตนของคุณออกมา จึงสมเหตุสมผลว่าท�ำไมคุณควรเข้าไป เกี่ยวข้องในกระบวนการนี้ 2. ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดกับค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับสไลด์จากคนอื่น ขอให้ เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง เพราะสุดท้ายแล้วคุณคือคนที่ขึ้น ไปยืนพูดบนเวที 3. เราท�ำงานทางไกลกับนักออกแบบจ�ำนวนมาก ใช้ทั้งสไกป์ อีเมล และดร็อปบ็อกซ์ ซึ่งก็ไปได้สวย ไม่จ�ำเป็นต้องเลือกใช้ นักออกแบบที่อยู่ใกล้บ้านคุณ 4. ความช่วยเหลือไม่จ�ำเป็นต้องราคาแพง เวลาผมท�ำกราฟิก ส�ำหรับน�ำเสนอ ผมชอบร่วมงานกับบริษัทออกแบบเล็กๆ ที่ มีพนักงานแค่หนึ่งคนไปจนถึงราวๆ สิบห้าคน เพราะผมจะ ได้ท�ำงานกับระดับหัวหน้ามากกว่า นอกจากนี้ยังมีบัณฑิต จบใหม่จากโรงเรียนสอนการออกแบบให้คณ ุ เลือกใช้ไม่ขาดสาย เช่น บัณฑิตจากสถาบัน RISD, Art Center College of Design, Pratt, Art Institutes, Cooper Union และวิทยาลัยต่างๆ ทัว่ โลก Chris Anderson

181

การจัดการไฟล์งานเวอร์ชั่นต่างๆ จงยึ ด มั่ น ในระบบจั ด การไฟล์ เ วอร์ ช่ั น ต่ า งๆ อย่ า งเคร่ ง ครั ด และใช้เครื่องมือจ�ำพวกดร็อปบ็อกซ์เพื่อเก็บไฟล์ฉบับร่างทั้งหมด รวม ทั้งแบบอักษร ภาพถ่าย วิดีโอ และเสียง เป็นความคิดที่ดีเสมอที่จะ ตั้งชื่อไฟล์ซึ่งประกอบด้วยเลขบอกเวอร์ชั่น ชื่อของคุณ สถานที่จัดงาน และต่อด้วยเลขบอกช่วงบรรยายของ TED (ถ้าคุณรู้นะครับ) ตัวอย่าง เช่น v4trjwTomRiellyPrezTED2016Session11 ชื่อย่อ (“trjw”) คือส่วน ที่บอกให้รู้ว่าใครคือคนสุดท้ายที่แก้ไขไฟล์นี้ ขอกระซิบเคล็ดลับอีกนิด นะครับ ให้ใส่เลขบอกเวอร์ชั่นและชื่อย่อของคนแก้ไขคนสุดท้ายไว้ต้นชื่อ ไฟล์ ไม่เช่นนัน้ คุณจะบอกได้ยากว่าตรงไหนคือข้อมูลอะไร อย่าลืมเซฟไฟล์ เวอร์ชนั่ ใหม่โดยเปลีย่ นเลขใหม่ทกุ ครัง้ ทีค่ ณ ุ ส่งงานกันไปมา และก่อนคุณจะ แชร์ไฟล์ให้ทมี ผูจ้ ดั งานผ่านลิงก์ของดร็อปบ็อกซ์ ให้สร้างโฟลเดอร์ภายใน ดร็อปบ็อกซ์เพื่อเก็บไฟล์เวอร์ชั่นเก่า และแยกเวอร์ชั่นล่าสุดไว้ต่างหาก ตัง้ ชือ่ ไฟล์เวอร์ชนั่ สุดท้ายโดยใส่คำ� ว่า “FINAL” ไว้ตอนต้นหรือท้ายชือ่ ไฟล์ นักออกแบบจะรักคุณ ถ้าคุณและทีมรวบรวมทรัพยากรทัง้ หลาย (ภาพถ่าย วิดีโอ ไฟล์เสียง) ไว้ในโฟลเดอร์ให้มากที่สุดก่อนที่เขาจะเริ่ม ออกแบบ นอกจากนี้ บางทีผมจะช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้นักออกแบบ โดยเปิดไฟล์คีย์โน้ตและสร้างสไลด์ฉบับร่างขึ้นมาพร้อมค�ำอธิบาย เช่น สไลด์นี้จะแสดงภาพสปีชีส์ที่เราต้องการอนุรักษ์ สไลด์นี้จะแสดงพื้น ทะเลสาบที่แห้งขอด เป็นต้น พยายามสร้างสไลด์แบบนี้ให้มากที่สุด จัดเรียงมัน แล้วส่งไฟล์ ไปให้นกั ออกแบบ วิธนี กี้ เ็ หมือนเวลานักสร้างภาพยนตร์แปะกระดาษโน้ต บนฝาผนังเพื่อช่วยจัดระบบความคิด สุดท้ายนี้ จงยึดหลักการเดียวกับงานกราฟิกทัง้ หลายทัง้ ปวง นัน่ คือ ยิ่งน้อยยิ่งดี

182

T ED Talk s

กลับไปที่คริสครับ

ขอเสียงปรบมือให้ทอมหน่อยครับ! สุดท้ายนี้ ถ้าคุณต้องการเห็นสุดยอดงานออกแบบสไลด์ของจริง นี่คือผู้พูดอีกสามคนที่เราหลงรักการใช้ภาพของเขา แมค สโตน (Mac Stone) ช่างภาพนักอนุรกั ษ์ธรรมชาติ ฉายภาพ อันงดงามที่สมกับหัวข้อปาฐกถาของเขาในงาน TEDxUC นั่นคือหัวข้อ “ภาพถ่ายที่ท�ำให้คุณอยากรักษาอุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์เอาไว้” ในงาน TEDxVancouver เจอร์ ธอร์ป (Jer Thorp) พูดถึง ผลของอินโฟกราฟิกที่แสดงข้อมูลชัดเจน และพิสูจน์ความเห็นเรื่องนี้ ด้วยตัวอย่างนับไม่ถ้วน และที่งาน TEDxSydney ดรูว์ แบร์รี (Drew Barry) นักสร้าง แอนิ เ มชั่ น ด้ า นชี ว การแพทย์ ใช้ แ อนิ เ มชั่ น สามมิ ติ เ พื่ อ เผยให้ เ ห็ น กระบวนการภายในเซลล์ของเรา เมือ่ คุณวางแผนการใช้ภาพแล้ว คราวนีก้ ถ็ งึ เวลากลับมาทีถ่ อ้ ยค�ำ และคิดว่าจะเปลีย่ นมันเป็นปาฐกถาจริงๆ ได้อย่างไร มีแนวทางทีแ่ ตกต่าง กันมากอยู่สองแนว และถัดจากนี้เราจะได้ค้นพบว่า แม้กระทั่งนักพูดที่ ดีที่สุดในโลกหลายคนก็เห็นไม่ตรงกันว่าวิธีไหนดีกว่า แต่น่ายินดีว่าเรา มีวิธีประสานความแตกต่างนี้ครับ

Chris Anderson

183

11 การเขียนบท จะท่องจำ�หรือไม่ท่องจำ�ดี?

ไม่นานมานี้ ที่งานประชุม TED งานหนึ่ง เราเชิญนักฟิสิกส์ดาวรุ่ง ผู้ปราดเปรื่องมาพูดถึงพัฒนาการใหม่อันน่าทึ่งในวงการฟิสิกส์ เขามี ชื่อเสียงว่าเป็นนักพูดสายวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดในมหาวิทยาลัยของเขา ชั้นเรียนของเขามีนักศึกษาเต็มห้องเสมอ เพราะเขามีพรสวรรค์ในการ ท�ำเรื่องซับซ้อนให้เรียบง่าย ท�ำเรื่องก�ำกวมให้น่าตื่นเต้น และในตอน ซ้อม เขาท�ำให้เราประทับใจสุดๆ ในพลังความหลงใหลทุ่มเท การพูด ที่ลื่นไหลน่าฟัง และเนื้อหาที่ชัดเจน ผมเฝ้ารอคอยที่จะได้เห็นวินาที อันยิ่งใหญ่ของเขาบนเวที เขาเริ่มต้นได้ดี เดินช้าๆ บนเวที และกล่าวอุปมาที่น่าสนใจ ซึ่ง ผู้ฟังที่นั่งกันเต็มห้องต่างขบคิดอย่างเพลิดเพลิน แต่แล้ว … ก็เกิดเหตุ ผิดพลาดครั้งที่หนึ่ง เขาหลงทางไปชั่วขณะ เขาส่งยิ้มและขอเวลาสักครู่ หยิบไอโฟนออกมาดูว่าพูดถึงไหน แล้วเขาก็พูดต่อ ซึ่งไม่มีปัญหา เว้น เสียแต่ว่าเหตุการณ์เดิมเกิดขึ้นอีกใน 40 วินาทีต่อมา อุปมาของเขาเริ่ม วกวนสับสนจนไม่อาจเข้าใจได้ ผู้ฟังพากันงงและเริ่มรู้สึกเครียดแทนเขา Chris Anderson

185

คุณฟังออกเลยว่าเขาเริ่มเกร็ง เขาไอ ผมยื่นขวดน�้ำให้เขา ดูเหมือนมันจะ ช่วยได้สักพัก แต่ก็ไม่ ปาฐกถาของเขาระเบิดเละตรงหน้าเราช้าๆ อย่าง น่าสยดสยอง ดังที่นักแสดงตลก จูเลีย สวีนี (Julia Sweeney) กล่าวไว้ใน ภายหลังว่า เหมือนเขาหายไปในหลุมด�ำสักหลุมหนึง่ ทีเ่ ขาก�ำลังพูดถึง เขา หยิบโทรศัพท์ออกมาอีก ครั้งที่สอง สาม และสี่ เขาเริ่มอ่านจากโทรศัพท์ รอยยิ้มและท่าทีหลงใหลกระตือรือร้นเหือดหายไป เขาดื่มน�้ำจนหมดขวด เม็ดเหงื่อผุดพราวเต็มหน้าผาก เสียงเขาฟังดูเหมือนก�ำลังขาดอากาศ หายใจและใกล้ตาย เขาทนพูดไปจนจบ และได้รบั เสียงปรบมือทีเ่ ต็มไปด้วย ความกระอักกระอ่วนปนสงสาร ปาฐกถาของเขาเป็นปาฐกถาแห่งงานประชุมนั้นที่คนจดจ�ำได้ แม่น ทว่าไม่ใช่ในแบบที่เขาฝันอยากให้เป็น แต่ฟังนะครับ นี่ไม่ใช่ความผิดของเขา มันเป็นความผิดของ ผมเอง ระหว่างขั้นตอนเตรียมการ ผมสนับสนุนให้เขาใช้เวลาสร้าง สุดยอดปาฐกถาออกมา แล้วเขียนบทอย่างละเอียดไว้ลว่ งหน้า นัน่ เป็นวิธี ที่ผู้พูดของ TED ส่วนใหญ่ใช้กัน และดูเหมือนจะได้ผลดีในตอนซ้อม แต่ มันไม่ใช่สไตล์การพูดตามธรรมชาติของเขา เขาอธิบายแนวคิดนี้อย่าง คล่องแคล่วให้นักศึกษาฟังในชั้นเรียนมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน โดยใช้ภาษา ที่สมองอันปราดเปรื่องน่าทึ่งกลั่นออกมาสดๆ ณ ขณะนั้น ผมควรจะขอ ให้เขาน�ำทักษะนั้นมาใช้ที่ TED (ที่จริงเขาก็น�ำทักษะนั้นมาใช้ที่ TED แล้วนะครับ เพราะในวันก่อนหน้าวันจริง เขาได้บรรยายสดๆ ให้เราฟังถึง เรื่องราวการค้นพบที่ส�ำคัญๆ ในวงการฟิสิกส์ แต่เมื่อต้องท่องจ�ำบทพูด เขาก็กังวลจนปั่นป่วนไปหมด) การเตรี ย มตั ว เพื่ อ กล่ า วปาฐกถามี ห ลายวิ ธี และส� ำ คั ญ มาก ที่จะต้องหาวิธีที่เหมาะกับตัวคุณ เพราะเมื่อถึงเวลาขึ้นเวทีจริง แม้ว่าคุณ เตรียมบางอย่างที่น่าประทับใจเอาไว้ แต่ก็มีรายการสิ่งที่อาจผิดพลาดได้ อีกยาวเหยียด เช่น

186

T ED Talk s

• • • • • • • • • • •

โทนเสียงของคุณชวนหลับ คุณพูดเหมือนท่องหนังสือ เวลาหมดตั้งแต่คุณยังพูดได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เตรียมมา คุณเริม่ ปัน่ ป่วนขณะพยายามนึกว่าสไลด์บนหน้าจอเชือ่ มโยงกับ สิ่งที่คุณเตรียมมาพูดอย่างไร วิดีโอเปิดไม่ได้ และอุปกรณ์คลิกเปลี่ยนสไลด์ท�ำงานผิดปกติ คุณไม่ได้สบตาผู้ฟังเลยสักคนเดียว คุณรู้สึกอึดอัดบนเวที ไม่รู้ว่าควรเดินไปเดินมาสักหน่อยหรือ ยืนนิง่ อยูท่ จี่ ดุ เดียว คุณเลยเลือกทางสายกลางด้วยการสลับขา ไปมาแบบเก้ๆ กังๆ ผู้ฟังไม่หัวเราะตรงจุดที่ควรหัวเราะ ผู้ฟังหัวเราะตรงจุดที่เขา ไม่ควร หัวเราะเลย ภาพผู้ฟังทั้งห้องยืนปรบมือที่คุณใฝ่ฝันถึง ถูกแทนที่ด้วยเสียง ปรบมือเปาะแปะตามมารยาท และสิง่ หนึง่ ทีค่ นกลัวมากทีส่ ดุ คือ ลืมสิง่ ทีจ่ ะพูด ในหัวว่างเปล่า ตัวแข็งนิ่งงัน

แต่ที่น่ายินดีคือ ถ้าคุณเตรียมตัวอย่างขยันขันแข็ง คุณสามารถ ลดความเสี่ ย งที่ จ ะเจอเหตุ ก ารณ์ เ หล่ า นี้ ล งให้ เ หลื อ น้ อ ยที่ สุ ด ได้ แต่ บทเรียนจากเรือ่ งราวทีเ่ ล่ามาข้างต้นแสดงให้เห็นแล้วว่า คุณต้องเตรียมตัว ด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งเริ่มจากรู้ว่าจะน�ำเสนอปาฐกถาของคุณ อย่างไร ผู้พูดแต่ละคนมีแนวทางที่แตกต่างกัน ในบทนี้ เราจะพยายามช่วยคุณ ค้นหาว่าแนวทางไหนดีที่สุดส�ำหรับคุณ หลายปีกอ่ น TED เคยก�ำหนดรูปแบบการพูดอย่างเคร่งครัด ไม่มี แท่นบรรยาย อย่าพูดแบบอ่านตามโพย และโดยทัว่ ไป กฎพวกนีก้ ม็ เี หตุผล ผูค้ นตอบสนองทางบวกต่อผูพ้ ดู ทีแ่ สดงความเปราะบางโดยยืนอยูบ่ นเวที อย่างไร้แท่นบรรยายคอยก�ำบัง แล้วพูดออกมาจากใจ นั่นคือการสื่อสาร Chris Anderson

187

ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ในรูปแบบที่บริสุทธิ์ที่สุด แต่ความหลากหลายก็มีพลังเช่นกัน ถ้าผู้พูดทุกคนยืนอยู่กลาง เวที กล่าวปาฐกถาที่ท่องจ�ำมาได้อย่างกระจ่างแจ้งไร้ที่ติ ไม่นานก็จะเริ่ม น่าเบื่อ เมื่อกลุ่มคนสักกลุ่มไปงานประชุมสัมมนาสักหนึ่งสัปดาห์ ผู้พูด ที่มีผลกระทบต่อผู้คนมากที่สุดมักเป็นคนที่ท�ำอะไรแตกต่างจากคนอื่น ถ้าทุกคนพูดโดยไม่มีบท ศาสตราจารย์ท่าทางแปลกๆ ที่เดินหน้าตื่นๆ ไปอยู่หลังแท่นบรรยายและตั้งหน้าตั้งตา อ่าน ปาฐกถาอย่างไม่สนใจใคร อาจเป็นคนที่ผู้ฟังจดจ�ำได้มากที่สุดก็เป็นได้ และสิ่ ง ส� ำ คั ญ เหนื อ อื่ น ใดคื อ ผู ้ พู ด ต้ อ งรู ้ สึ ก สบายและมั่ น ใจ พร้อมกับกล่าวปาฐกถาในรูปแบบที่ปล่อยให้เขาได้มุ่งความสนใจไปยัง สิ่งที่เขาหลงใหลมากที่สุด เราค้นพบหลักการนีเ้ มือ่ เราเชิญเจ้าของรางวัลโนเบลอันทรงเกียรติ อย่างแดเนียล คาห์เนแมน (Daniel Kahneman) มาพูดที่ TED คาห์เนแมน เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาของเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เขาเป็นนักคิดที่ไม่ ธรรมดา ผู้มีเครื่องมือการคิดที่สามารถเปลี่ยนโลกทัศน์ใดๆ ก็ได้ เดิมที เราขอให้เขากล่าวปาฐกถาในรูปแบบดั้งเดิมของ TED นั่นคือไม่มีแท่น บรรยาย แค่ยืนบนเวที อาจมีกระดาษโน้ตบ้างถ้าจ�ำเป็น แล้วเริ่มพูดไป เรื่อยๆ แต่ระหว่างซ้อม ผมเห็นได้ชัดว่าเขาอึดอัด เขาไม่สามารถท่องจ�ำ เนื้อหาปาฐกถาทั้งหมด จึงเอาแต่หยุดชะงักและเหลือบมองลงต�่ำอย่าง เก้กัง พยายามนึกว่าจะพูดอะไรต่อ ในที่สุดผมจึงพูดกับเขาว่า “แดนนี่ คุณเคยพูดเรื่องนี้มาเป็น พันครั้งแล้วในงานของคุณเอง วิธีไหนที่คุณพูดได้อย่างสบายใจที่สุด” เขา ตอบว่า เขาชอบวางคอมพิวเตอร์บนแท่นบรรยายเพื่อให้ดูโน้ตที่จดไว้ได้ ทันที เราลองท�ำอย่างนัน้ และเขารูส้ กึ ผ่อนคลายขึน้ ในทันใด แต่เขาก็กม้ มองจอมากไปหน่อย เราจึงตกลงกันว่าจะมีแท่นบรรยายให้เขา แลกกับการ ขอให้เขามองผูฟ้ งั มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ และเขาก็ทำ� เช่นนัน้ ปาฐกถา ทีย่ อดเยีย่ มของเขาไม่ได้ฟงั ดูเหมือนท่องจ�ำหรืออ่านเลย ผูฟ้ งั รูส้ กึ เชือ่ มโยง 188

T ED Talk s

กับมัน และเขาได้พูดทุกอย่างที่อยากพูดโดยไม่เคอะเขิน ดังนัน้ ทุกวันนีเ้ ราจึงไม่มกี ฎตายตัว เราเพียงเสนอค�ำแนะน�ำเพือ่ ช่วยให้ผู้พูดค้นพบรูปแบบการพูดที่มีพลังมากที่สุดส�ำหรับเขา หนึ่ ง ในประเด็ น หลั ก ที่ คุ ณ ต้ อ งตั ด สิ น ใจ และจะดี ที่ สุ ด ถ้ า รี บ ตัดสินใจตั้งแต่เริ่มเตรียมปาฐกถาคือ คุณจะเลือกท�ำแบบไหนระหว่าง สองวิธีนี้ A. เขียนบทปาฐกถาฉบับสมบูรณ์ออกมา (เพื่ออ่าน ท่องจ�ำ หรือ ทั้งสองอย่าง) หรือ B. มีโครงสร้างที่วางแผนมาอย่างชัดเจน แล้วพูดสดไปตามแต่ละ หัวข้อ กลยุทธ์ทั้งสองแบบมีเหตุผลที่หนักแน่นรองรับ ปาฐกถาที่มีบท ข้อดีท่ีส�ำคัญอย่างยิ่งกรณีเลือกใช้บทคือ คุณสามารถใช้เวลาให้ คุ้มค่าที่สุด การกลั่นกรองทุกสิ่งที่คุณอยากพูดให้อยู่ในเวลาแค่ 10, 15 หรือ 18 นาทีนั้นยากเหลือเชื่อ ส�ำหรับเนื้อหาที่อธิบายยากหรือขั้นตอน ส�ำคัญในกระบวนการโน้มน้าวใจ คุณอาจจ�ำเป็นต้องเขียนบทให้ละเอียด ทุกค�ำและปรับแก้ทกุ ประโยคหรือทุกย่อหน้าจนสมบูรณ์แบบ การเขียนบท ยังมีข้อดีคอื คุณส่งร่างปาฐกถาให้ผู้จัดงานดูได้ล่วงหน้า เราชอบมากเมื่อ ผูพ้ ดู ส่งร่างปาฐกถามาให้เราดูสองสามเดือนก่อนวันงาน เพราะเราจะมีเวลา ให้ความเห็นกลับไปว่าตรงไหนน่าจะตัดและตรงไหนน่าจะอธิบายเพิ่ม แต่ข้อเสียของการเขียนบทคือ ถ้าคุณน�ำเสนอไม่ถูกวิธี ปาฐกถา ก็จะดูไม่สดใหม่ การอ่านให้ฟงั กับเล่าให้ฟงั นัน้ เป็นประสบการณ์ทแี่ ตกต่าง กันมาก โดยทั่วไป (ซึ่งมีข้อยกเว้น) ผู้ฟังจะตอบสนองอย่างกระตือรือร้น Chris Anderson

189

กว่ า มากในกรณี ห ลั ง นี่ เ ป็ น ปริ ศ นาที่ น ่ า ฉงน ถ้ า ถ้ อ ยค� ำ เหมื อ นกั น ทุกประการ และทุกคนในห้องรู้ว่าผู้พูดเป็นผู้เขียนปาฐกถานั้นเอง ท�ำไม เราต้องสนใจว่าเขาส่งมอบปาฐกถานี้ให้แก่เราด้วยวิธีใด อาจเป็นเพราะการสือ่ สารระหว่างมนุษย์กบั มนุษย์เป็นกระบวนการ ที่มีพลวัต ซึ่งเผยตัวตนออกมา ณ ขณะที่สื่อสาร คุณพูดอะไรบางอย่าง ผมมองตาคุณและตัดสินสิ่งต่างๆ โดยไม่รู้ตัว คุณหมายความว่าอย่างนี้ จริงหรือเปล่า? คุณหลงใหลในเรื่องนี้ไหม? คุณยึดมั่นกับเรื่องนี้เพียงใด? ในฐานะผู้ฟัง นับว่าเสี่ยงเกินไปที่ผมจะเปิดใจให้คุณ หากผมยังไม่รู้ข้อมูล เหล่านี้เสียก่อน นั่นหมายความว่า เมื่อเราเฝ้ามองใครสักคน “คิดดังๆ” ออกมาในชั่วขณะปัจจุบัน เราจะสัมผัสถึงพลังมหาศาล รู้สึกได้ถึงศรัทธา และความมัน่ ใจของคุณ และเราจะร่วมตืน่ เต้นเมือ่ ได้เห็นความคิดทีย่ งิ่ ใหญ่ เผยตัวตนออกมา ผ่านการขับเคี่ยวโต้แย้ง กระทั่งเขย่าจนเป็นรูปเป็นร่าง ในที่สุด เมื่อเรารู้สึกได้ว่าคุณ หมายความ ตามที่พูดในขณะนั้นจริงๆ เรา จะน้อมรับความหมายของความคิดนั้น ในทางตรงกันข้าม เมื่อคุณอ่านถ้อยค�ำนั้น มันอาจฟังดูห่างเหิน และไร้ตัวตน เหมือนชมเทปบันทึกการแข่งขันกีฬา การแข่งขันนั้นมี ผู้แพ้ชนะไปแล้ว แม้ว่าเราจะยังไม่รู้ผล แต่เราก็ไม่สนใจมากเท่าตอนชม การแข่งขันสดแล้ว (และลองจินตนาการดูสิครับว่าประสบการณ์การชม เทปบันทึกภาพการแข่งขันนั้นจะยิ่งแย่ขนาดไหน ถ้าเรารับรู้ได้ว่าทีมงาน ตัดต่อเสียงบรรยายการแข่งขันเพิ่มเข้ามาทีหลังโดยอ่านตามบท ไม่ใช่ เสียงบรรยายสดที่บันทึกไว้ ปาฐกถาที่อ่านตามโพยอาจฟังดูแย่แบบนั้น เลยละครับ) ดังนัน้ ถ้าคุณเลือกเส้นทางทีใ่ ช้บทพูด คุณมีกลยุทธ์หลักสามอย่าง ดังนี้ 1. จ�ำปาฐกถาให้ขึ้นใจจนเวลาพูด ฟังดู ไม่เหมือนเขียนบทมา (เดี๋ยวมีรายละเอียดเพิ่มเติมครับ) 190

T ED Talk s

2. เหลือบดูบท (อาจดูจากแท่นบรรยาย ซึ่งขอให้เป็นแบบที่ ไม่ บั ง ตั ว คุ ณ ทั้ ง ตั ว จะดี ก ว่ า หรื อ ดู บ ทจากจอคอมพิ ว เตอร์ หรื อ จอส� ำ หรั บ ผู ้ พู ด ที่ ว างไว้ ด ้ า นหน้ า เวที ) แต่ ช ดเชยด้ ว ย การเงยหน้ า ขึ้ น มาระหว่ า งประโยคเพื่ อ สบตาผู ้ ฟ ั ง สั ง เกต นะครับว่าผมไม่ได้ใช้ค�ำว่า อ่าน บท คุณอาจมีบททั้งหมดอยู่ ตรงหน้า แต่สิ่งส�ำคัญคือ คุณต้องรู้สึกว่าคุณก�ำลังพูดอยู่ ไม่ใช่ อ่าน ผู้ฟังบอกความแตกต่างได้นะครับ จุดส�ำคัญอยู่ที่คุณ ต้องขับเน้นความหมายในแต่ละค�ำที่พูดอย่างเป็นธรรมชาติ และเปี่ยมความรู้สึกที่สุดเท่าที่ท�ำได้ ต้องสบตาผู้ฟังและยิ้ม หรือแสดงสีหน้าอื่นๆ ต้องคุ้นเคยกับบทมากจนแค่เหลือบ มองแวบเดียวทุกๆ หนึ่งหรือสองประโยคก็พอ ใช่ครับ วิธีนี้ ต้องท�ำงานหนัก แต่ก็คุ้มค่า และยังน่ากลัวน้อยกว่าการท่องจ�ำ ร้อยเปอร์เซ็นต์ด้วย 3. สรุปย่อบทให้เหลือเพียงหัวข้อย่อย แล้ววางแผนพูดบรรยาย แต่ละประเด็นออกมาด้วยภาษาของคุณเองสดๆ ณ ขณะนั้น วิ ธี นี้ มี ค วามท้ า ทายอี ก แบบหนึ่ ง ซึ่ ง ผมจะพู ด ถึ ง ในหั ว ข้ อ ปาฐกถาแบบไม่มีบทพูด มีเพียงสองสถานการณ์เท่านัน้ ทีพ่ อจะยอมรับได้หากคุณอ่านบท ตามไปด้วย 1. ปาฐกถาของคุณมีภาพประกอบหรือวิดีโอที่งดงามเปิดคลอ ไปด้วยระหว่างที่คุณพูด ในสถานการณ์นี้ คุณเป็นผู้กล่าว บทบรรยายอันเปี่ยมอารมณ์ความรู้สึก ผู้ฟังมุ่งความสนใจ ไปที่จอภาพ ปาฐกถาของเจมส์ นัคทเวย์ (James Nachtwey) ช่างภาพเจ้าของรางวัล TED Prize ใช้วิธีแบบนี้

Chris Anderson

191

2. คุณเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่จริงๆ และผู้ฟังเข้าใจว่าเขาก�ำลังฟัง ส่วนหนึง่ ของผลงานทีค่ ณ ุ เขียน แต่อกี สักครูเ่ ราจะเห็นว่า แม้แต่ ในกรณีของนักเขียนยิ่งใหญ่ที่เขียนบทปาฐกถาไพเราะราว บทกวี การ ไม่ อ่านบทก็มีพลังมากกว่าอยู่ดี ถึงจะมีขอ้ แม้ตา่ งๆ เหล่านี้ แต่สำ� หรับผูพ้ ดู ส่วนใหญ่ หากต้องการ พูดสิ่งที่อยากพูดให้มีพลังสูงสุด วิธีที่เชื่อมั่นได้มากที่สุดคือ เริ่มต้น เขียนบทแล้วศึกษามันจนคุน้ เคยและกลายเป็นส่วนหนึง่ ของคุณ แต่นเี่ ป็น งานหนักทีเดียว ส�ำหรับพวกเราส่วนใหญ่ ปาฐกถายาว 18 นาทีอาจต้อง ใช้เวลาท่องจ�ำราวห้าหรือหกชัว่ โมง เทียบเท่ากับท่องวันละชัว่ โมงนานหนึง่ สัปดาห์ ถ้าคุณไม่มีเวลาขนาดนั้น อย่าได้ลองใช้วิธีนี้ เมื่อคุณปรากฏตัว บนเวที คุณคงไม่อยากกระเสือกกระสนพยายามนึกบทแน่นอน หากเกิดเหตุการณ์อย่างนัน้ ขึน้ ปัญหาไม่ได้อยูท่ วี่ า่ มีโอกาสเสีย่ ง ที่คุณจะหยุดนิ่งพูดไม่ออก แต่ปัญหาคือผู้ฟังจะ บอก ได้เลยว่าคุณก�ำลัง ท่องบท เขาอาจเห็นสายตาคุณกลอกไปมาระหว่างย่อหน้าขณะก�ำลัง นึกประโยคถัดไป ยิ่งไปกว่านั้นเขาอาจจับสังเกตได้ว่าโทนเสียงของคุณ ราบเรียบและแข็งทือ่ เหมือนหุน่ ยนต์ เพราะคุณมัวแต่จดจ่อว่าจะถ่ายทอด ประโยคที่ถูกต้อง แทนที่จะถ่ายทอดความหมายที่แท้จริงของประโยคนั้น ออกมา มันเป็นเรื่องเศร้านะครับ คุณทุ่มเททุกอย่างเพื่อสร้างปาฐกถา ที่น่าทึ่ง แต่กลับไม่เปิดโอกาสให้มันส่งผลกระทบต่อผู้ฟัง ปัญหานี้แก้ไขได้ แต่ต้องใช้ความพยายาม ลองจินตนาการว่าคุณนั่งสังเกตเพื่อนคุณ ซึ่งพยายามท่องจ�ำ บทพูดของเขามาตลอดหนึ่งสัปดาห์ สมมติในทุกๆ วัน คุณขอให้เขา กล่าวปาฐกถาให้ดีที่สุดเท่าที่ท�ำได้โดยไม่ดูโพย คุณจะสังเกตเห็นเรื่อง แปลกประหลาด กล่าวคือช่วงแรกๆ ของกระบวนการนี้ ปาฐกถาของเขา จะฟังดูน่าเชื่อทีเดียว (แม้จะขาดโครงสร้างที่ดีไปบ้าง) เขายังไม่สามารถ 192

T ED Talk s

จ�ำปาฐกถาส่วนไหนได้ขนึ้ ใจเลย จึงท�ำได้แค่พยายามสุดฝีมอื เพือ่ ถ่ายทอด ข้อมูลที่เขารู้ตามล�ำดับที่เขาวางไว้คร่าวๆ แต่เมื่อกระบวนการนี้ผ่านไปอีกสองสามวัน คุณจะสังเกตเห็น การเปลีย่ นแปลง เรามาถึงจุดทีเ่ ขาจ�ำปาฐกถาส่วนใหญ่ได้ขนึ้ ใจ เขาจึงพูด เนื้อหาเหล่านั้นได้อย่างลื่นไหล แต่ คุณไม่รู้สึกถึงความสดใหม่มีชีวิตชีวา แบบเดิม ทว่ารูส้ กึ ได้ถงึ ความเครียดแทน คุณจะได้ยนิ ค�ำพูดจ�ำพวก ขอนึก ก่อนนะ, เดี๋ยวนะ, ขอเริ่มใหม่อีกที หรือคุณอาจได้ยินเขากล่าวปาฐกถาที่ เตรียมมารัวเป็นชุดเหมือนหุ่นยนต์ เบาะแสเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกว่าผู้พูดก�ำลังท่องปาฐกถาให้ฟัง แทนที่จะกล่าวออกมาโดยสื่อความหมาย ผมเรียกขั้นตอนเตรียมตัว ในช่วงนี้ว่า หุบเขาสุดสยอง (Uncanny Valley) ค�ำนี้เป็นศัพท์ที่ยืมมา จากปรากฏการณ์ในงานคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น ซึ่งเทคโนโลยีสร้างภาพ เคลือ่ นไหวสามารถสร้างสรรค์ตวั ละครทีค่ ล้ายมนุษย์มากจนเกือบเหมือน จริง แต่ยังไม่เหมือน เสียทีเดียว ผลที่ออกมากลับดูน่ากลัว แย่ยิ่งกว่า เวลานักสร้างแอนิเมชั่นสร้างงานให้แตกต่างจากความจริงไปเลยเสียอีก ถ้าเพื่อนคุณขึ้นพูดบนเวทีในสภาวะนี้ ปาฐกถาของเขาอาจล้มเหลว เขาจะท�ำได้ดกี ว่าถ้าเขาลืมเสียว่าก�ำลังพูดตามบท แล้วเขียนหัวข้อสักเจ็ดข้อ โดยพูดถึงแต่ละหัวข้ออย่างละนิด หรือไม่ก็ถือบทขึ้นเวทีไปเลย แต่ถา้ เขาหมัน่ ฝึกท่องจ�ำต่อไป ราววันทีห่ กหรือเจ็ด คุณจะสังเกต การเปลีย่ นแปลงทีน่ า่ ตืน่ เต้น ทันใดนัน้ ผูพ้ ดู ก็เข้าถึงปาฐกถาอย่างแท้จริง เขาจ�ำมันขึน้ ใจจนนึกออกได้ในชัว่ พริบตา ทันใดนัน้ เพือ่ นของคุณก็กลับมา ใช้สติจดจ่อกับความหมายของถ้อยค�ำได้อีกครั้ง ดังนั้นผมอยากบอกผู้พูดที่ก�ำลังวางแผนจะท่องจ�ำปาฐกถาว่า เยี่ยมมากครับ คุณก�ำลังให้โอกาสตัวเองประสบความส�ำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ แต่ที่ส�ำคัญมากคือคุณต้องพาตัวเองผ่านหุบเขาสุดสยองไปให้ได้ อย่าติด อยู่ตรงนั้น ถ้าคุณไม่สัญญากับตัวเองอย่างมั่นเหมาะว่าจะข้ามผ่านไปให้ ได้ ก็อย่าใช้วิธีท่องจ�ำเลยครับ! Chris Anderson

193

แล้วคุณควรจะท่องจ�ำอย่างไรดี ผู้พูดของ TED ใช้สารพัดวิธี แตกต่างกันไป เจ้าของปาฐกถายอดนิยมเกี่ยวกับการจับโกหกอย่าง พาเมลา ไมเยอร์ (Pamela Meyer) กล่าวบรรยายได้อย่างจริงใจและเป็น ธรรมชาติด้วยค�ำแนะน�ำนี้ ที่ค่ายซีฟาร์เรอร์ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา เราต้องพยายามพยุงตัว ในน�้ำพร้อมกับร้องเพลงประจ�ำค่าย และเพื่อให้ยากขึ้นอีก เรา ต้องพยุงตัวในน�้ำพร้อมกระดิกนิ้วชี้ไปมาอย่างซับซ้อนตามจังหวะ เพลง คุณจ�ำปาฐกถาของคุณไม่ได้อย่างแท้จริงหรอก ถ้าคุณยัง ไม่สามารถท�ำกิจกรรมอืน่ ทีต่ อ้ งใช้สมองพร้อมกับกล่าวปาฐกถาไป ด้วย คุณกล่าวปาฐกถาพร้อมกับตวงส่วนผสมท�ำบราวนี่ได้ไหม? คุณกล่าวปาฐกถาขณะจัดกระดาษรกๆ บนโต๊ะเข้าตู้เก็บแฟ้ม ได้หรือเปล่า? ถ้าคุณกล่าวปาฐกถาได้ขณะที่มีภาระการท�ำงาน ทางปัญญามากมายหนักหน่วงขนาดนั้น คุณย่อมท�ำได้ดีเมื่อคุณ มีสมาธิอยู่บนเวที

ลองชมปาฐกถาของพาเมลาสิครับ ฟังดูเหมือนท่องจ�ำไหม ไม่เลย ฟังดูเป็นธรรมชาติสดุ ๆ รีฟส์ (Rives) ผูพ้ ดู ของ TED และศิลปินด้านการใช้เสียงเห็นด้วย กับค�ำแนะน�ำของพาเมลา ถ้าผมมีเวลาท่องจ�ำปาฐกถา ผมจะท่องแหลกเลย ผมท่องจน ปาฐกถานั้นเหมือนท�ำนองเพลง ผมฝึกซ้อมมันในปาก ทั้งลอง พูดช้า พูดเร็ว ร้องเป็นเพลง ตะโกนดังๆ สงบ หรือกระทัง่ เยือกเย็น ผมซ้อมพูดจนเหมือนผมก�ำลังแสดงปาฐกถา ไม่ใช่พยายามจดจ�ำ มัน และแล้วผมก็หลุดพ้นจากการท่องบท ผมมักกระท�ำพิธีกรรม ท่องจ�ำที่ห้องพักของโรงแรมในคืน (หรือหลายคืน) ก่อนวันขึ้น กล่าวปาฐกถา ผมจะเปิดรายการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ให้ดังกว่า ปกติเล็กน้อย เพื่อสร้างสิ่งรบกวนทางปัญญาให้มากที่สุด จากนั้น 194

T ED Talk s

(นี่ไม่ได้ล้อเล่นนะ) ผมจะยกขาพับไปด้านหลังข้างหนึ่ง และกล่าว ปาฐกถากับเงาของตัวเองในกระจก ถ้าผมหยุดยิม้ ก็ตอ้ งเริม่ ต้นใหม่ ถ้าผมชะงักหรือติดขัดก็ตอ้ งเริม่ ต้นใหม่เช่นกัน หากผมซ้อมแบบนี้ ได้ส�ำเร็จสักรอบ ผมจะไม่มีวันลืมเนื้อหาในปาฐกถา และรอยยิ้ม จะปรากฏเองตามจังหวะที่เหมาะควร

ถ้าคุณใช้เวลาขับรถนาน คุณอาจลองบันทึกเสียงตอนซ้อมพูด (เช่น คุณอาจจะแค่อ่านบทแล้วอัดเสียงด้วยสมาร์ตโฟน) แล้วเปิดเสียง ทีอ่ ัดเบาๆ ขณะทีค่ ณ ุ พยายามพูดน�ำเสียงนัน้ ลองอีกครัง้ โดยเพิม่ ความเร็ว ขึน้ (โทรศัพท์ส่วนมากท�ำได้) จีนา บาร์เนตต์ (Gina Barnett) หนึ่งในโค้ช การพูดทีเ่ ป็นขวัญใจของ TED เชือ่ ว่ากุญแจส�ำคัญคือคุณต้องสามารถท่อง ปาฐกถาด้วยความเร็วสองเท่า เมื่อใดที่คุณท�ำได้สบายๆ คุณก็จะพูดด้วย ความเร็วปกติได้โดยอัตโนมัติ และจะสามารถเพ่งสมาธิไปที่ความหมาย ของสิ่งที่พูดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เธอยังมีความคิดลึกซึ้งเกี่ยวกับมุมมอง ที่มีต่อการท่องจ�ำ “ฉันมักบอกผู้คนว่า การฝึกฝนไม่ได้ท�ำให้สมบูรณ์แบบ แต่ การฝึกฝนท�ำให้คุณอยู่กับความไม่สมบูรณ์แบบได้ เพราะเมื่อคุณรู้ สิง่ หนึง่ อย่างลึกซึง้ ถึงแก่น คุณสามารถเล่นกับอะไรก็ได้ทเี่ ข้ามาแทรกแซง แทนที่จะปิดกั้นไม่ให้มันเข้ามารบกวน” นั่นละครับคือหัวใจส�ำคัญ อย่าคิดว่ามันเป็นแค่ การท่องจ�ำ ปาฐกถา คุณต้อง สวมวิญญาณ ต้องเป็นหนึ่งเดียวกับมัน เป้าหมายเดียว ของคุณคือซ้อมจนถึงจุดที่ไม่ต้องพยายามจดจ�ำถ้อยค�ำอีกต่อไป และคุณ สามารถใช้เวลาบนเวทีเพื่อส่งมอบความรู้สึกอันแรงกล้าและความหมาย ของถ้อยค�ำไปยังผู้ฟัง คุณต้องถ่ายทอดออกมาเหมือนคุณเพิ่งบอกเล่า ความคิดนี้เป็นครั้งแรก ทั้งหมดนี้ท�ำได้จริงครับ ใช่ว่าคุณจะต้องทุ่มเทเวลามากมาย ขนาดนี้ในทุกโอกาสที่ขึ้นพูด แต่ส�ำหรับโอกาสอันสมควร การทุ่มเท ฝึกซ้อมเช่นนี้จะคุ้มค่าอย่างแท้จริง ค�ำถามส�ำคัญอีกข้อหนึง่ ส�ำหรับปาฐกถาทีม่ บี ทคือ คุณควรใช้ภาษา Chris Anderson

195

แบบไหน ภาษาพูดหรือภาษาเขียน ภาษาทีเ่ ราใช้พดู ในชีวติ ประจ�ำวันนัน้ แตกต่างจากภาษาทีน่ กั เขียนใช้มาก เพราะจะตรงไปตรงมาและสละสลวย น้อยกว่า ค�ำแนะน�ำจากโค้ชการพูดส่วนใหญ่คอื ให้ยดึ ภาษาพูดไว้กอ่ น คุณ จึงจะพูดออกมาจากใจได้ ณ ขณะนัน้ เพราะถึงทีส่ ดุ แล้ว นีค่ อื การพูด ไม่ใช่ การเขียน มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ไม่ได้พูดว่า “วันนี้ผมมีวิสัยทัศน์อันแจ่มชัด ทรงพลัง และยากจะลืมเลือนมามอบแก่ทา่ น” แต่เขาพูดว่า “ผมมีความฝัน” แดน กิลเบิร์ต ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แนะน�ำ นักศึกษาของเขาให้พูดอัดเสียงไว้ก่อน จากนั้นถอดเทปแล้วใช้แทน ร่างแรกของปาฐกถา ท�ำไมน่ะหรือครับ “เพราะเมื่อคนเราเขียน เรามัก ใช้ค�ำ วลี โครงสร้างประโยค และท่วงท�ำนองที่ไม่มีใครใช้ในการพูดตาม ธรรมชาติ ดังนั้นหากคุณเริ่มเขียนก่อนแล้วค่อยพยายามปรับมันเพื่อ ใช้ตอนพูด เท่ากับว่าคุณก�ำลังพยายามเปลี่ยนการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ให้เป็นอีกรูปแบบ ซึง่ มีโอกาสสูงทีก่ ารเล่นแร่แปรธาตุของคุณจะล้มเหลว” ผู้พูดคนอื่นอีกหลายคนเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการ “เขียน” บทพูด คือลองพูดออกมาดังๆ หลายๆ ครั้ง แต่ก็อีกนั่นแหละครับ หากยึดติดกับวิธีนี้มากเกินไปก็ไม่ถูก นักเขียนที่ดีสามารถสร้างปาฐกถาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสาระส�ำคัญคือภาษา ที่เขียนไว้ล่วงหน้าอย่างงดงาม ลองดูย่อหน้านี้จากปาฐกถาอันน่าจดจ�ำของแอนดรูว์ โซโลมอน (Andrew Solomon) ในงาน TED2014 เราไม่ได้แสวงหาประสบการณ์อนั เจ็บปวดทีบ่ นั่ ทอนอัตลักษณ์ของ เรา แต่เราค้นหาอัตลักษณ์หลังจากได้เผชิญหน้ากับประสบการณ์ อันเจ็บปวด เราไม่อาจแบกรับความทุกข์ทรมานที่ไร้เหตุผล แต่ เราอดทนต่อความเจ็บปวดอันใหญ่หลวงได้ ถ้าเราเชื่อว่ามันมี ความหมาย ความสะดวกสบายไม่ได้ทงิ้ ร่องรอยไว้บนตัวตนของเรา มากเท่ากับความยากล�ำบาก แม้จะลบความสุขส�ำราญทีเ่ ราได้เคย 196

T ED Talk s

สัมผัสในชีวติ นีอ้ อกไป ตัวตนของเราก็ยงั คงเหมือนเดิมกับทีเ่ ป็นอยู่ ในวันนี้ ทว่าตัวเราในวันนี้จะต่างออกไป หากขาดเคราะห์กรรมที่ ผลักดันให้เราค้นหาความหมายของชีวิต

โซโลมอนเป็นนักเขียนที่ไม่ธรรมดา และพรสวรรค์นี้ก็สะท้อน ออกมาให้เห็น นีค่ อื ภาษาทีต่ ามปกติจะปรากฏในหนังสือหรือบทความตาม นิตยสาร ไม่ใช่ภาษาทีค่ ณ ุ จะได้ยนิ ในบทสนทนาตัวต่อตัวตามธรรมชาติกบั เพือ่ นในบาร์ สิง่ ทีบ่ ง่ บอกให้รคู้ อื ภาษาสละสลวยเหมือนบทกวี เช่น การใช้ ค�ำอย่าง บั่นทอน และ ทุกข์ทรมาน นี่คือ งานเขียน ที่มีพลัง และเขาตั้งใจ ให้ผู้ฟังรู้สึกเช่นนั้น แม้ว่าเขาจะพูดจากบท พลังความสวยงามของภาษา ก็ท�ำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่ในอุ้งมือของช่างฝีมือชั้นครู จนเรา อยาก ฟัง ปาฐกถาที่เขียนบทล่วงหน้าแบบนี้ (อ้อ แต่แอนดรูว์บอกผมว่า เวลาเขา คุยกับเพือ่ นทีบ่ าร์ เขาก็คยุ แบบนี้ นะครับ ผมนีอ่ ยากไปยืนฟังข้างๆ เลย) หากเป็นปาฐกถาแบบของแอนดรูว์ คุณจะอ่านบทก็ได้ หรือ จริงๆ อาจจะ ควร อ่านเลยละ แต่ถา้ คุณเลือกทางนี้ ต่อให้คณ ุ เป็นนักเขียน ที่ยิ่งใหญ่ ก็โปรดให้เกียรติผู้ฟังโดย จดจ�ำบท ให้แม่นจนคุณสามารถ ใส่ ความรู้สึก ลงไปในขณะที่กล่าวปาฐกถา จงใส่ใจความหมายของ ทุกประโยค เงยหน้าขึ้นสบตาผู้ฟังให้บ่อยเท่าที่ท�ำได้ และถ้าในตอนท้าย คุณอยากเพิ่มช่วงเวลาที่สร้างผลกระทบอันทรงพลัง คุณอาจละสายตา จากบทก่อนถึงหน้าสุดท้าย ผละออกมาจากแท่นบรรยาย ทิ้งโพยไปเสีย เดินมาหน้าเวที แล้วกล่าวสรุปจากใจจริง ปาฐกถาที่ไม่มีบท ค�ำนี้ครอบคลุมภูมิทัศน์อันกว้างใหญ่ ตั้งแต่การพูดด้นสดแบบ ไม่ได้เตรียมตัว ไปจนถึงปาฐกถาที่ตระเตรียมและวางโครงสร้างไว้อย่าง ละเอียด พร้อมด้วยภาพประกอบที่มีข้อมูลมากมาย สิ่งที่ทุกรูปแบบมี Chris Anderson

197

เหมือนกันคือ ณ เวลาทีพ่ ดู คุณไม่ได้พยายามระลึกถึงประโยคทีเ่ ขียนเอาไว้ ล่วงหน้า แต่คดิ ถึงสาระส�ำคัญของเรือ่ งนัน้ และสรรหาถ้อยค�ำทีด่ ที สี่ ดุ เพือ่ ถ่ายทอดประเด็นในมือ หรืออย่างมากทีส่ ดุ คุณก็อาจจะแค่มโี พยไว้นำ� ทาง ไปตามองค์ประกอบหลักของปาฐกถา การพูดโดยไม่มีบทนั้นมีหลายประเด็นให้พูดถึง มันจะฟังดูสด มีชวี ติ ชีวา สมจริง เหมือนคุณก�ำลังคิดออกมาดังๆ ถ้านีค่ อื รูปแบบการพูด ที่คุณถนัด และคุณคุ้นเคยกับเนื้อหาที่จะพูดมากพอ มันก็อาจเป็นทาง เลือกที่ดีที่สุด แต่สิ่งส�ำคัญคือเราต้องแยกระหว่าง ไม่มีบท กับ ไม่เตรียมตัว นะครับ เมื่อคุณต้องกล่าวปาฐกถาส�ำคัญ ย่อมไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ส�ำหรับ กรณี ห ลั ง น่ า เสี ย ดายที่ ป าฐกถาแบบไม่ มี บ ทส่ ว นมากลงเอยด้ ว ย ค�ำอธิบายครึ่งๆ กลางๆ ข้อสรุปที่ไม่สมเหตุสมผล พลาดประเด็นส�ำคัญ และพูดเรื่อยเปื่อยจนเกินเวลา แล้วคุณจะเตรียมปาฐกถาที่ไม่มีบทอย่างไรดี ส่วนใหญ่ก็ขึ้นอยู่ กับว่าคุณอยากพาผู้ฟังท่องไปในการเดินทางแบบไหน ปาฐกถาที่มี แกนหลักเป็นเรื่องเล่าเรื่องเดียวจะง่ายกว่าปาฐกถาที่พยายามสร้าง ค� ำ อธิ บ ายซั บ ซ้ อ นหรื อ ข้ อ โต้ แ ย้ ง ที่ ล ะเอี ย ดลึ ก ซึ้ ง แต่ หั ว ใจหลั ก ของ กระบวนการนี้คือ ลองย้อนกลับไปยังอุปมาเรื่องการเดินทาง และถาม ตัวคุณเองว่าแต่ละย่างก้าวของการเดินทางจะเป็นเช่นไร อย่างน้อยที่สุด คุณอาจตั้งชื่อให้แต่ละก้าวแล้วใช้แทนหัวข้อย่อยๆ หรือแทนโพยในใจ ของคุณได้ นอกจากนี้คุณยังต้องมีกลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงหลุมพรางที่มากับ แนวทางนี้ เช่น 1. อยู่ดีๆ คุณก็นึกค�ำมาอธิบายแนวคิดหลักไม่ออก ทางแก้คือ

ฝึกพูดเนื้อหาแต่ละก้าวของการเดินทางออกมาดังๆ และลอง พูดหลายๆ แบบจนมั่นใจว่าคุณเข้าใจแต่ละก้าวอย่างแจ่มชัด สมบูรณ์

198

T ED Talk s

2. คุณลืมพูดอะไรบางอย่างที่ส�ำคัญ เป็นเรื่องดีที่คุณจะวางแผน ขัน้ ตอนเปลีย่ นผ่านจากก้าวหนึง่ สูก่ า้ วต่อไป ซึง่ จะช่วยให้เล่าไป ตามล�ำดับได้อย่างเป็นธรรมชาติ คุณอาจตัง้ ใจจดจ�ำวลีเชือ่ มต่อ หรือเขียนมันไว้ในโพย 3. คุณพูดเกินเวลา เรื่องนี้ท�ำให้ผู้จัดงานประชุมและผู้พูดทั้งหมด ที่จะพูดต่อจากคุณหัวเสีย ทั้งยังท�ำให้ผู้ฟังเครียดด้วย อย่าท�ำ เชียวนะครับ ทางแก้ไม่กวี่ ธิ ที ที่ ำ� ได้คอื หนึง่ ลองซ้อมพูดหลายๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าคุณสามารถพูดจบภายในเวลาที่ก�ำหนด ถ้าไม่จบ คุณต้องตัดเนือ้ หาออกไป สอง หมัน่ ดูนาฬิกา และต้อง รู้ว่าคุณควรจะพูดถึงตรงไหนเมื่อใช้เวลาไปแล้วครึ่งหนึ่ง โดย ต้องปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด และสาม เตรียมปาฐกถาที่ยาว ไม่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ของเวลาที่คุณมี หลุ ม พรางหนึ่ ง ที่ ดึ ง ดู ด ให้ ผู ้ พู ด จ� ำ นวนมากพลั้ ง เผลอติ ด กั บ คือ การใช้สไลด์เป็นไม้ค�้ำยัน รูปแบบที่แย่สุดคือสไลด์ที่เต็มไปด้วย ตั ว อั ก ษรและสั ญ ลั ก ษณ์ หั ว ข้ อ ย่ อ ยที่ ผู ้ พู ด ลงแรงเตรี ย มมา เดี๋ ย วนี้ คนส่วนใหญ่รู้แล้วว่านั่นเป็นวิธีกล่าวปาฐกถาที่แย่มาก หากคนอื่นเห็น ทุกค�ำที่คุณพูดบนสไลด์แล้ว มันก็กลายเป็นถ้อยค�ำที่ไม่มีหมัดเด็ด ไม่มี อะไรใหม่อีกต่อไป ชุดสไลด์ที่จัดโครงสร้างมาดีอาจเพิ่มความมั่นใจให้คุณพูดไปได้ อย่างต่อเนื่อง แต่ต้องท�ำอย่างแยบยล เช่น คุณอาจมีภาพใหม่ที่มีแนวคิด เชื่อมโยงกับแต่ละองค์ประกอบในปาฐกถาของคุณ ถ้าคุณติดขัดให้เลื่อน ไปยังสไลด์ถัดไป มันน่าจะช่วยดึงคุณกลับเข้าเรื่องได้ แต่โปรดจ�ำไว้ว่า วิธีนี้ไม่ใช่แบบอย่างที่ดีนัก เพราะหากคุณเชื่อมต่อแต่ละสไลด์ตามจังหวะ ที่เหมาะเจาะงดงาม ปาฐกถาของคุณจะมีผลกระทบมากขึ้นอีกเยอะ คุณ ควรพูดเกริ่นน�ำเพื่อยั่วให้คนสนใจก่อนที่จะเปิดสไลด์ถัดไป เช่น และนั่น น�ำเรามาสู่อนาคตของเมือง [คลิกเปลี่ยนสไลด์] จะมีพลังมากกว่า [คลิก Chris Anderson

199

เปลี่ยนสไลด์] เอาละครับ ต่อไปผมอยากพูดถึงอนาคตของเมือง พูดตรงๆ นะครับ วิธีโบราณที่เขียนข้อความเด็ดๆ ด้วยลายมือ ลงบนการ์ดยังคงเป็นวิธเี ตือนตัวเองให้พดู อยูใ่ นประเด็นทีใ่ ช้ได้ผลดีทเี ดียว จงใช้ค�ำที่กระตุ้นให้นึกถึงประโยคหรือวลีหลักอันน�ำไปสู่ก้าวต่อไปใน ปาฐกถาของคุณ สิง่ หนึง่ ทีต่ อ้ งเข้าใจคือ ผูฟ้ งั ไม่วา่ อะไรถ้าคุณจะหยุดเพือ่ ทบทวน สักครู่ คุณอาจอึดอัดบ้าง แต่ผู้ฟังไม่รู้สึกหรอกครับ สิ่งส�ำคัญคือคุณต้อง ท�ำใจสบายๆ ดีเจดังระดับซูเปอร์สตาร์อย่างมาร์ก รอนสัน (Mark Ronson) ซึ่งมาพูดที่งาน TED2014 เป็นผู้ช�ำนาญเรื่องนี้ ตอนนั้นเขาหลงทางไป ช่วงหนึ่ง แต่เขาแค่ยิ้ม เดินไปหยิบขวดน�้ำ จิบน�้ำ บอกผู้ฟังว่านี่แหละ ตัวช่วยเตือนความจ�ำของเขา เขาอ่านโพย จิบน�้ำอีกครั้ง และเมื่อเขาเริ่ม พูดต่อ ทุกคนก็ยิ่งชอบเขามากกว่าเดิม จะว่าไปแล้ว ผู้พูดของ TED มีความเห็นที่แตกต่างกันมากใน ประเด็นทีว่ า่ ระหว่างการท่องจ�ำบทกับเตรียมตัวมาพูดสด วิธไี หนดีกว่ากัน นักเขียนอย่างอลิซาเบธ กิลเบิร์ต เชื่ออย่างหนักแน่นในแนวคิด แบบแรก ฉันท่องจ�ำปาฐกถาของฉันเสมอ หรืออย่างน้อยก็พยายามสุดพลัง เพื่อจ�ำให้ได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ การท่องจ�ำท�ำให้ฉันรู้สึกมั่นใจ และปลอดภั ย ในขณะที่ ก ารด้ น สดท� ำ ให้ ฉั น ปั ่ น ป่ ว นและรู ้ สึ ก เสี่ยง การพูดในที่สาธารณะอาจเป็นเรื่องน่าตื่นกลัว แม้แต่กับ คนที่ชอบพูดต่อหน้าคนอื่น และความกลัวก็อาจท�ำให้คุณลืมว่า จะพูดอะไร แต่เมื่อไรที่ฉันท่องจ�ำปาฐกถาอย่างหนักจนมันกลาย เป็นเหมือนบทกวีหรือเพลง ฉันจะสามารถยืนบนเวทีแล้วท่อง ปากเปล่าได้ แม้สติของฉันจะหลุดลอยไปแล้วก็ตาม ฉันยอมเสี่ยง ที่จะพูดแล้วฟังเหมือนก�ำลังท่องเนื้อหาที่ขุดจากความจ�ำ ดีกว่า จะฟังเหมือนหลงทางหรือไม่มีแผน หรือเหมือนไม่รู้ว่าตัวเอง ก�ำลังพูดอะไรอยู่บนเวที ระหว่างการพูดครั้งแรกของฉันที่ TED 200

T ED Talk s

ฉันตืน่ กลัวและกระวนกระวายมากจนสติวา่ งเปล่าหยุดท�ำงานไปใน ช่วงห้านาทีแรกบนเวที แต่ขอบคุณจริงๆ ทีค่ วามจ�ำในสมองส่วนลึก และปากของฉันยังคงท�ำงานอยู่ ถ้อยค�ำจึงพรัง่ พรูออกมาตามทีฉ่ นั ซ้อมไว้ เมื่อเวลาผ่านไปและฉันกลับเข้าสู่จังหวะการพูดที่คุ้นเคย ฉันจึงค่อยๆ ผ่อนคลายและเริม่ เครือ่ งร้อน จากนัน้ เมือ่ ถึงช่วงกลาง ของปาฐกถา ฉันก็เล่าอย่างเพลิดเพลินและด้นสดเพิม่ นิดหน่อย แต่ การท่องจ�ำอย่างเข้มงวดเป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยให้ฉนั ปลอดภัยในช่วงเริม่ ต้น ซึ่งฉันตื่นเต้นมาก ดังนั้นฉันคิดว่าการท่องจ�ำก็เหมือนการฝึกรบ ของทหาร เมือ่ ถึงวินาทีทตี่ อ้ งประจัญบาน คุณย่อมอยากจะเดินหน้า ด้วยสัญชาตญาณ ไม่ใช่ด้วยความนึกคิด

อแมนดา พาล์มเมอร์ เห็นด้วยในเรื่องนี้ ฉันเป็นนักด้นสดตัวยงเลยนะ แต่ปาฐกถาไม่ใช่เรื่องที่เหมาะจะ ด้นสด โดยเฉพาะบนเวทีอย่าง TED ซึ่งจ�ำกัดเวลาเข้มงวดมาก ฉันก�ำหนดจุดที่จะปล่อยตัวเองให้ร�ำพึงร�ำพันและเพ้อเจ้อได้บ้าง แต่เมื่อฉันเขียนแล้วแก้และฝึกซ้อม ฉันพบว่าถ้าฉันเตรียมตัว ล่ ว งหน้ า และกลั่ น กรองค� ำ พู ด เพ้ อ เจ้ อ ยาว 40 วิ น าที ข องฉั น ให้กลายเป็นโปรตีนเม็ดขนาดพอค�ำที่ยาวแค่ 5 วินาที ฉันจะ ถ่ายทอดแก่นความได้เยอะขึน้ อีกมาก

แพม ไมเยอร์ บอกผมว่าเหตุผลทีค่ วรเขียนบทคือ คุณจะได้แน่ใจ ว่าทุกประโยคมีคุณค่า เวลาคุณกล่าวปาฐกถา คุณชอบบางตอนมากกว่าตอนอืน่ ๆ ใช่ไหม แต่คุณควรจะชอบทุกๆ ประโยค ที่จริงคุณต้องอ่านบทและดูสไลด์ ของคุณ พร้อมกับตั้งค�ำถามว่า “ส่วนนี้จ�ำเป็นต่อการสื่อข้อความ ของฉันไหม? มันน่าสนใจไหม น่าสนใจจริงๆ หรือเปล่า? ฉันรู้สึก

Chris Anderson

201

ชอบเมื่อพูดประโยคนี้ไหม?” ขอให้ตรวจสอบทุกประโยคและทุก สไลด์ด้วยวิธีนี้ ถ้าอะไรจัดอยู่ในกองที่ไม่แน่ใจ … ก็ตัดทิ้งไปได้เลย

ทว่าซัลมาน คาห์น มีจุดยืนที่แตกต่างออกไป เมื่อคุณเชื่อในสิ่งที่พูดออกมา ณ ขณะนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้น จะยิ่งใหญ่กว่าการพูดถ้อยค�ำที่ถูกต้องทุกประการ โดยส่วนตัว ผมมักท�ำรายการหัวข้อสิง่ ทีอ่ ยากพูด แล้วพยายามสือ่ สารความคิด เหล่านั้นออกมาด้วยภาษาตามธรรมชาติเหมือนเวลาผมคุยกับ เพือ่ นทีโ่ ต๊ะอาหาร หัวใจส�ำคัญคือต้องมีสมาธิจดจ่ออยูก่ บั ความคิด แล้วปล่อยให้ถอ้ ยค�ำไหลออกมาเอง ผูฟ้ งั รับรูไ้ ด้วา่ ตอนไหนคุณก�ำลัง คิดตามสิ่งที่คุณพูดอยู่ และตอนไหนคุณแค่ท่องไปตามบท

สตีเวน จอห์นสัน เห็นด้วยกับเขา ในทุกครัง้ ทีผ่ มกล่าวปาฐกถา TED ผมจงใจไม่ทอ่ งจ�ำ เพราะผูฟ้ งั จะฟังออกชัดเจนว่าเป็นข้อความทีท่ อ่ งจ�ำมา และนัน่ ท�ำให้สญ ู เสีย ความเป็นธรรมชาติและความรู้สึกมีส่วนร่วมอันเป็นลักษณะเด่น ของการพูดสดต่อหน้าผู้ฟัง อีกปัญหาหนึ่งในกรณีที่คุณท่องจ�ำ บทพูดคือ เมื่อมันล้มเหลว มันจะพังย่อยยับ ถ้าคุณแค่พูดไปเลย โดยมีโครงร่างคร่าวๆ เวลาคุณหลุดไปหน่อย ลืมอะไรไปนิด ก็แทบ ไม่มีใครสังเกตนอกจากตัวคุณเอง แต่ถ้าคุณท่องจากความจ�ำแล้ว เกิดลืมขึ้นมา มีโอกาสสูงที่คุณจะนิ่งงันไม่รู้จะไปไหนต่อ เหมือน เครื่องบอกบทในใจคุณหยุดท�ำงาน

เซอร์เคน โรบินสัน หนึ่งในนักพูดที่มีพรสวรรค์ที่สุดในโลกก็อยู่ ฝ่ายนี้เช่นกัน เขาบอกผมว่าหลายช่วงหลายตอนใน TED Talk ที่เขาพูด เรือ่ งความคิดสร้างสรรค์ซงึ่ มียอดคนเข้าชมถล่มทลายนัน้ เขาด้นสดบนเวที 202

T ED Talk s

คนเราควรท� ำ อะไรก็ ไ ด้ ที่ ท� ำ ให้ ตั ว เองมั่ น ใจเมื่ อ อยู ่ บ นเวที แ ละ ผ่อนคลายขึน้ ถ้าการท่องจ�ำได้ผล คุณก็ควรท�ำอย่างนัน้ แต่มนั ไม่ใช่ ส�ำหรับผม หนึง่ ในสิง่ ทีผ่ มถือว่าส�ำคัญทีส่ ดุ ในการกล่าวปาฐกถาคือ ต้องสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ฟัง ด้วยเหตุนี้ผมจึงต้องการ พื้นที่ส�ำหรับด้นสด ไม่ว่าจะมีผู้ฟังสิบคนหรือหมื่นคน ไม่ว่าจะ เป็นการสัมมนาหรือการชุมนุม ผมรูส้ กึ ว่าเราจ�ำเป็นต้องพูดกับผูค้ น ไม่ใช่พดู ใส่ผคู้ น และต้องพูดด้วยความจริงใจ แต่ผมก็วางแผนการพูด อย่างระมัดระวังนะครับ เมื่อผมเดินขึ้นมาบนเวที ผมรู้เสมอว่าผม ต้องการพูดอะไรก่อนที่จะลงจากเวที ขณะเดียวกันผมก็ต้องการ สร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผู้คนที่มาอยู่ในห้องวันนี้ ไม่ส�ำคัญ ว่าผมเคยพูดมาแล้วกีห่ อ้ ง เพราะผูฟ้ งั วันนีย้ อ่ มใหม่และแตกต่างเสมอ

ในขณะที่แดน กิลเบิร์ต คิดว่าเราไม่จ�ำเป็นต้องเลือกอย่างใด อย่างหนึง่ เขาตัง้ ต้นด้วยการเขียนบทปาฐกถา (โดยพยายามใช้ภาษาพูด) แต่แล้วเมื่อผมพูด ผมกลับไม่ยึดติดกับบท ถ้าอย่างนั้นผมจะเขียน บทไปท�ำไมน่ะหรือ ก็เพราะการเขียนเล่าเรือ่ งราวเป็นวิธที ที่ ำ� ให้คณ ุ พบช่องโหว่ ปาฐกถาที่ดีต้องมีทั้งบทและการด้นสด เหมือนการ แสดงดนตรีแจ๊สทีย่ อดเยีย่ ม ข้อแรก คุณต้องมีทอ่ นเปิดและท่อนปิด ที่เขียนบทมาอย่างสมบูรณ์ ข้อสอง คุณต้องก�ำหนดโครงสร้าง ในภาพรวมให้เรียบร้อยก่อนที่เครื่องดนตรีชิ้นแรกจะเริ่มเล่น แต่ ส�ำหรับข้อสาม สิ่งที่ท�ำให้ดนตรีแจ๊สน่าสนใจและมีมนตร์สะกดคือ ในเพลงต้องมีสักจุด (หรือหลายจุด) ที่นักดนตรีสามารถเบนออก จากโน้ตเพลงตรงหน้า และสร้างบางอย่างที่เข้าถึงอารมณ์ของ ผู้ฟังกลุ่มนั้น ในห้องนั้น ณ ขณะนั้น นักดนตรีสามารถออกนอก เส้นทางได้สกั พัก แต่เขาต้องรูเ้ สมอว่าจะกลับบ้านอย่างไร รูว้ า่ บ้าน อยู่ที่ไหน ปาฐกถาที่ด้นสดตลอดตั้งแต่ต้นจนจบเปรียบเหมือน ฟรีแจ๊สทีม่ กั ฟังดูปน่ั ป่วนชอบกล ส่วนปาฐกถาทีพ่ ดู ตามบททัง้ หมด นั้นเหมือนคอนเสิร์ตเพลงคลาสสิก ซับซ้อน ลึกซึ้ง และแสดงออก Chris Anderson

203

มาอย่างไร้ทตี่ ิ แต่มกั คาดเดาได้จนท�ำให้ผฟู้ งั หลับ เพราะเขารูต้ งั้ แต่ เริ่มแล้วว่าจะไม่มีอะไรให้ประหลาดใจ

โรรี ซัตเธอร์แลนด์ (Rory Sutherland) กูรดู า้ นโฆษณา แนะน�ำให้ ใช้ข้อดีจากทั้งสองวิธีเช่นกัน ผมคุน้ ๆ ว่าเชอร์ชลิ ล์เคยพูดไว้วา่ “จงซ้อมพูดสด” หรืออย่างน้อย ก็ เ ผื่ อ ที่ ว ่ า งในปาฐกถาของคุ ณ ไว้ ส� ำ หรั บ นอกเรื่ อ งบ้ า ง ถ้ า ทุกอย่างในปาฐกถาน�ำไปสู่บทสรุปตามขั้นตอนที่ขีดไว้ตายตัว อย่างสมบูรณ์แบบ มันจะได้คะแนนด้านตรรกะ แต่อาจทิง้ ให้ผฟู้ งั รู้สึกเหมือนถูกบังคับให้เดินสวนสนามมากกว่าเดินเล่นเคียงกัน อย่างเพลิดเพลิน

บทสรุ ป ที่ ไ ด้ คื อ ผู ้ พู ด ของ TED ส่ ว นใหญ่ เ ขี ย นบทส� ำ หรั บ ปาฐกถาของตนตัง้ แต่ตน้ จนจบและท่องจ�ำ จากนัน้ จึงพยายามสุดฝีมอื ทีจ่ ะ หลีกเลี่ยงไม่ให้พูดแล้ว ฟังเหมือน ท่อง ถ้าคุณมีเวลาพอที่จะท�ำอย่างนั้น และฝึกซ้อมจนผ่านช่วงหุบเขาสุดสยอง วิธีนี้น่าจะช่วยให้คุณแสดง ศักยภาพได้ดีที่สุด ทั้งการสรุปรวมทุกอย่างที่อยากพูด และ หลีกเลี่ยง กับดักทีม่ กั เจอเมือ่ พูดแบบท่องบท แต่ถา้ คุณไม่มเี วลาท่องจ�ำอย่างจริงจัง จนถึงขัน้ ทีก่ ล่าวปาฐกถาได้งา่ ยดายโดยแทบไม่ตอ้ งคิด หรือคุณรูอ้ ยูแ่ ล้วว่า นีไ่ ม่ใช่วธิ ที ที่ ำ� ให้คณ ุ กล่าวปาฐกถาอันยอดเยีย่ มได้ ก็โปรดอย่าใช้เส้นทางนี้ หัวใจหลักคือ ต้องหารูปแบบทีค่ ณ ุ มัน่ ใจ แล้วยึดมัน่ กับรูปแบบนัน้ ถ้าทางเลือกที่ว่าดูเครียดไปสักหน่อย ผมมีข่าวดีครับ เมื่อคุณ เริ่มซ้อม ความแตกต่างระหว่างสองวิธีนี้จะเริ่มจางลง แม้จุดเริ่มต้นอาจ แตกต่างกัน แต่ปลายทางของทั้งสองกรณีจะน�ำคุณไปสู่ปาฐกถาที่เตรียม มาอย่างประณีตและกล่าวออกมาจากหัวใจ

204

T ED Talk s

12 การซ้อม เดี๋ยวสิ นี่ฉันต้องซ้อมด้วยเหรอ?

ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจเลือกรูปแบบการพูดแบบไหน มีเครื่องมือ เรียบง่ายที่คุณสามารถใช้เพื่อปรับปรุงปาฐกถาของคุณ แต่เป็นเครื่องมือ ที่ผู้พูดมักไม่ค่อยใช้ นั่นคือ การซ้อม และซ้อมหลายๆ ครั้งด้วย นั ก ดนตรี ซ ้ อ มก่ อ นเล่ น จริ ง นั ก แสดงซ้ อ มก่ อ นโรงละครจะ เปิดประตูรับผู้ชมที่ซื้อบัตรมาชม ปาฐกถาสาธารณะเองก็มีโอกาสเสี่ยง ใกล้เคียงและอาจสูงกว่าคอนเสิร์ตหรือละครเสียอีก แต่ดูเหมือนผู้พูด จ�ำนวนมากจะคิดว่าเขาสามารถเดินขึน้ เวทีแล้วพูดได้ดเี ลยตัง้ แต่ครัง้ แรก ผลคือผู้ฟังหลายร้อยคนต้องทนทรมานกับความเจ็บปวดโดยไม่จ�ำเป็น ไม่รู้ตั้งกี่นาที เพียงเพราะคนคนหนึ่งไม่เตรียมตัวมาให้ดีพอ นี่เป็นเรื่อง น่าละอายจริงๆ สตีฟ จอบส์ เป็นนักสื่อสารขององค์กรผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งยุคสมัย ปัจจุบัน แต่เขาไม่ได้ก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้ด้วยพรสวรรค์เพียงอย่างเดียว เขา ใช้เวลาซ้อมอย่างพิถพี ถิ นั หลายชัว่ โมงส�ำหรับงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์หลักๆ ของแอปเปิล เขาใส่ใจในทุกรายละเอียด Chris Anderson

207

โดยส่วนใหญ่แล้ว ปาฐกถา TED ที่ได้รับความนิยมสูงเกิดขึ้นได้ เพราะผู้พูดทุ่มเทเวลาเตรียมตัวหลายชั่วโมง จิลล์ โบลที เทย์เลอร์ (Jill Bolte Taylor) เจ้าของปาฐกถาเรือ่ งภาวะเส้นเลือดในสมองแตกทีด่ งั ระเบิด บนอินเทอร์เน็ตในปี 2008 บอกผมว่า ฉันฝึกซ้อมเป็นร้อยชั่วโมงจริงๆ นะ ฝึกแล้วฝึกอีกแม้แต่ตอน นอนหลับ เพราะฉันมักตื่นมาพบว่าตัวเองก�ำลังท่องปาฐกถาอยู่ เนื่องจากเรื่องนี้กระทบความรู้สึกฉันมาก ทุกครั้งที่ฉันเล่าเรื่องนี้ จึงเหมือนฉันได้สมั ผัสประสบการณ์เช้าวันทีเ่ ส้นเลือดในสมองแตก อีกครัง้ เพราะความรูส้ กึ ของฉันนัน้ จริงแท้ คนจึงรับรูไ้ ด้วา่ เรือ่ งเล่านี้ มาจากใจจริง แล้วเราก็ออกเดินทางไปด้วยกัน

นักวิทยาศาสตร์ด้านสเต็มเซลล์ ซูซาน โซโลมอน (Susan Solomon) ก็หลงใหลในพลังของการซ้อมพอๆ กัน ณ จุดทีค่ ณ ุ พร้อมจะกล่าวปาฐกถา คุณควรจะซ้อมมาหลายรอบจน ท่องได้แม้ขณะหลับหรือต่อหน้าผูฟ้ งั คนไหนก็ตาม ลองซ้อมต่อหน้า เพื่อน ซ้อมกับตัวเอง ซ้อมโดยหลับตา ซ้อมตอนเดินเล่นในสวน ซ้อมตอนนัง่ อยูท่ โี่ ต๊ะแต่ไม่ใช้โพย และต้องแน่ใจว่าคุณซ้อมกับภาพ ประกอบที่จะใช้ด้วย เพราะจังหวะเวลาที่เล่นกับภาพก็ส�ำคัญมาก

ราเชล บอตส์แมน (Rachel Botsman) กล่าวว่า คุณต้องใส่ใจ เลือกคนที่คุณฝึกซ้อมด้วย ลองฝึกพูดต่อหน้าคนที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับงานของคุณ ฉันเคย พลาดไปซ้อมกับคนที่คุ้นเคยกับฉันและสิ่งที่ฉันท�ำ ความเห็นที่ดี ที่สดุ จะมาจากคนที่บอกคุณได้ว่าเรื่องเล่านั้นยังมีช่องโหว่ตรงไหน หรือจุดใดที่คุณเหมาเอาเองว่าคนฟังรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่แล้ว 208

T ED Talk s

ซูซาน เคน (Susan Cain) ผู้ที่ยอมรับว่าตนเองเป็นคนเก็บตัว ยกความดีความชอบให้ผู้ฟังตอนซ้อมที่ช่วยปรับปรุงปาฐกถาของเธอ ให้ดีขึ้นอย่างมหาศาล ฉันเชื่อค�ำแนะน�ำของ TED เต็มหัวใจในเรื่องที่ว่า ถ้าคุณจะท่อง ปาฐกถา ขอให้แน่ใจว่าคุณท่องมันได้แม่นจนถ้อยค�ำนั้นออกมา จากใจคุณจริงๆ แค่ฝึกหน้ากระจกหรือตอนพาสุนัขไปเดินเล่นนั้น ไม่เพียงพอ ต้องใช้เวทีจริง และต้องมีผู้ฟังอย่างน้อยหนึ่งคน คืน วันศุกร์ก่อนที่ฉันจะกล่าวปาฐกถา อดัม แกรนต์ (Adam Grant) อาจารย์ ผู ้ น ่ า ทึ่ ง แห่ ง วิ ท ยาลั ย วาร์ ตั น ได้ ร วบรวมนั ก ศึ ก ษาและ ศิษย์เก่าทีเ่ ก่งทีส่ ดุ ของเขามา 30 คน และให้ฉนั กล่าวปาฐกถากับผูฟ้ งั กลุม่ นี้ พวกเขาให้ความเห็นทีเ่ ฉียบคมมาก จนฉันนัง่ แก้หนึง่ ในสาม ส่วนท้ายของปาฐกถาอยูท่ งั้ คืน และใช้เวลาทีเ่ หลือตลอดสุดสัปดาห์ ท่องจ�ำใหม่ ฉันไม่แนะน�ำให้รอจนนาทีสุดท้ายแบบนี้หรอกนะคะ! แต่ฉันแนะน�ำให้ท�ำงานกับคนที่เป็นทัง้ ผู้ฟังตัวจริงและเป็นเพื่อน ที่หลักแหลมแบบอดัม

เรื่องที่ผมจะบอกต่อไปนี้จะท�ำให้คุณประหลาดใจ เพราะแม้แต่ ผูพ้ ดู ทีไ่ ม่เชือ่ ในการเขียนบทและท่องจ�ำปาฐกถาก็ยงั สนับสนุนให้ฝกึ ซ้อม นี่คือความเห็นของซัลมาน คาห์น นักปฏิรูปการศึกษา ซ้อมกล่าวปาฐกถาอย่างน้อยห้าครัง้ ในห้องนอน ลองปรับเปลีย่ นวิธี การพูดถึงความคิดหลัก แม้คณ ุ จะเกิดสับสนหรือลืมอะไรบางอย่าง แต่ขอให้บังคับตัวเองให้พูดจนจบทุกครั้ง (และรักษาเวลาด้วย) ใน ความคิดผม คุณค่าของการซ้อมไม่ได้อยูท่ กี่ ารท่องจ�ำมากเท่าใดนัก แต่อยู่ที่ว่ามันท�ำให้คุณมั่นใจและเครียดน้อยลง ถ้าคุณเชื่อมั่นและ รู้สึกสบายๆ ทุกคนก็จะมีความสุขไปด้วย

Chris Anderson

209

นักเขียนบทความวิทยาศาสตร์ แมรี โรช เห็นด้วยในเรื่องนี้ ฉันไม่ได้เขียนบทค�ำต่อค�ำหรือท่องจ�ำปาฐกถา แต่ฉนั หมัน่ ฝึกซ้อม อย่างน้อย 25 ครัง้ โดยใช้กระดาษโน้ต 10 แผ่นและนาฬิกาจับเวลา การจดจ� ำ โดยไม่ ตั้ ง ใจจะเกิ ด ขึ้ น เองตามธรรมชาติ เ มื่ อ เราท� ำ บางอย่างซ�้ำๆ ฉันคิดว่านั่นคือสิ่งที่คุณต้องการ แม้คุณจะรู้สึก ปลอดภัยกว่าเมื่อท่องจ�ำ แต่ความเสี่ยงเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่เลวนะ ความกลัวคือพลังงาน และคุณต้องการให้มีพลังงานแบบนั้นไหล ผ่านตัวคุณบ้าง

วลีที่ว่า การจดจ�ำโดยไม่ตั้งใจ คือจุดส�ำคัญ ถ้าคุณซ้อมมากพอ คุณอาจพบว่าคุณจ�ำปาฐกถานีไ้ ด้ในรูปแบบทีด่ ที สี่ ดุ เมือ่ เคลย์ เชอร์กี (Clay Shirky) มากล่าวปาฐกถาทีส่ ำ� นักงานของ TED เกีย่ วกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ทีก่ ำ� ลังเป็นประเด็นถกเถียงใหญ่โตขึน้ เรือ่ ยๆ ผมอัศจรรย์ใจทีเ่ ขาสามารถ ถ่ายทอดเรื่องซับซ้อนทั้งหมดออกมาได้อย่างราบรื่นโดยไม่มีบท ไม่มี แม้แต่โพยช่วยจ�ำ ผมถามเขาว่าท�ำได้อย่างไร ค�ำตอบคือซ้อมซ�้ำแล้ว ซ�้ำอีกครับ แต่ต้องเป็นการซ้อมที่ช่วยเสริมสร้างปาฐกถานั้นจริงๆ นี่คือ สิ่งที่เขาพูดครับ ผมเคยได้ยินรอน วอว์เตอร์ (Ron Vawter) นักแสดงผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด ที่ผมเคยรู้จัก ตอบค�ำถามเกี่ยวกับเทคนิคการซ้อมของเขา “ผม แค่พูดถ้อยค�ำเหล่านั้นหลายๆ ครั้ง จนมากพอที่มันจะฟังดูเหมือน เป็นค�ำพูดของผมเอง” นั่นคือสิ่งที่ผมท�ำ ผมเตรียมการพูดโดย พูดไปเรือ่ ยๆ เริม่ จากความคิดพืน้ ฐาน คิดประโยคเปิดสักหนึง่ หรือ สองประโยค และจินตนาการว่าตัวเองก�ำลังอธิบายให้คนที่สนใจ ความคิดนี้ ตอนเริ่มต้น การพูดออกมาช่วยให้รู้สึกได้ว่าอะไรเหมาะหรือ ไม่เหมาะ มันเหมือนการปรับแก้มากกว่าการซ้อม เมื่อตอนที่ผม 210

T ED Talk s

เตรียมปาฐกถา TED Talk ผมมีประเด็นใหญ่เรือ่ งสภาวะขาดแคลน ในอุตสาหกรรมอืน่ ๆ นอกเหนือจากวงการโทรทัศน์ แต่พอแทรกเข้า มาแล้วมันฟังดูประหลาดทุกที ผมจึงตัดมันทิ้งไป หลังจากผ่านไป สักพัก การซ้อมพูดนี้จะเป็นไปเพื่อปรับปรุงจังหวะและเวลา และ ตอนท้ายๆ ผมจะลงรายละเอียดเฉพาะช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่าง หัวข้อ แน่นอนครับว่าเรื่องนี้สไลด์ช่วยได้ แต่ก็ส�ำคัญอย่างยิ่งที่จะ ซ้อมพูดช่วงเปลี่ยนหัวข้อ ผู้ฟังจ�ำเป็นต้องฟังออกว่าคุณก�ำลังจะ เน้นย�้ำความคิดหนึ่งๆ หรือก�ำลังจะเปลี่ยนประเด็น ผมเขียนบันทึกช่วยจ�ำเสมอ แต่ไม่เคยเขียนบทปาฐกถาเต็มๆ ปาฐกถาไม่ควรให้ความรูส้ กึ เหมือนงานเขียนทีเ่ อามาอ่านออกเสียง ผมเขียนรายการสิ่งที่คนในวงการละครเรียกว่า ช่วงย่อยในแต่ละ ฉาก (beat) เริ่มจากความคิดเกี่ยวกับ DMCA1 ต่อด้วยความคิด เกีย่ วกับ SOPA2 แล้วก็เรือ่ ง DNS3 ไปเรือ่ ยๆ ผมจะไล่ทวนรายการ สุดท้ายของช่วงย่อยเหล่านีก้ อ่ นขึน้ เวที เพือ่ เป็นเครือ่ งเตือนความจ�ำ ครั้งสุดท้าย

ถ้าคุณน�ำค�ำแนะน�ำจากเคน, คาห์น, โรช และเชอร์กีมารวมกัน คุณจะเห็นว่าช่องว่างระหว่างปาฐกถาทีอ่ าศัยการท่องจ�ำกับปาฐกถาแบบ พูดสดเริ่มเลือนราง ปาฐกถาจากการท่องจ�ำที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อผู้พูด จ�ำเนื้อความได้ดีจนสามารถมุ่งสมาธิไปยัง ความหลงใหล ที่ผู้พูดมีต่อ แก่นความคิดในปาฐกถา ส่วนปาฐกถาแบบพูดสดที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อ ผู้พูดฝึกซ้อมหลายครั้งจนรู้ชัดว่าจะเดินไปเส้นทางไหน และมีวลีอันแสน ทรงพลังอยู่ในใจแล้ว

Digital Millennium Copyright Act กฎหมายลิขสิทธิ์ส�ำหรับสื่อดิจิทัลของสหรัฐอเมริกา Stop Online Piracy Act ร่ า งกฎหมายต่ อ ต้ า นการละเมิ ด ลิ ข สิ ท ธิ์ ใ นสื่ อ ออนไลน์ ของสหรัฐอเมริกา 3 Domain Name System ระบบแปลงชื่อเว็บไซต์เป็นหมายเลขไอพี 1 2

Chris Anderson

211

ความจริงทัง้ สองสิง่ ทีเ่ ราก�ำลังพูดถึงอยูน่ ไี้ ม่ใช่วธิ ี กล่าว ปาฐกถา ทีแ่ ตกต่างกัน แต่เป็นวิธี สร้าง ปาฐกถาทีแ่ ตกต่างกันต่างหากครับ บางคน เริ่มจากบท บางคนเริ่มจากรายการหัวข้อย่อย แต่กระบวนการซ้อมท�ำให้ สองวิธีนี้ขยับเข้าใกล้กันมากขึ้น เป้าหมายของทั้งสองกรณีนี้คือสร้าง ปาฐกถาทีว่ างโครงไว้อย่างละเอียดรอบคอบ และถ่ายทอดออกมาโดยมุง่ ไป ที่ช่วงเวลา ณ ขณะนั้น เมื่อคุณอ่านถึงจุดนี้ บางทีคุณอาจจะต่อต้านและบอกว่า คุณ เกลียดปาฐกถาที่ซักซ้อมไว้แล้ว คุณดูออกเสมอ ไม่ว่าผู้พูดจะท�ำเหมือน พูดไปเองตามธรรมชาติแค่ไหนก็ตาม ปาฐกถาควรสดใหม่ ไม่ซ�้ำใคร และ มีชีวิต! ผมรู้จักผู้พูดที่ท�ำอย่างนั้นได้แค่ราวหยิบมือเดียว พวกเขาอาศัย ประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดชีวิต และ/หรือความสามารถเหนือธรรมดา เพือ่ ทีจ่ ะก่อร่างความคิดและจดจ่อไปทีค่ วามคิดดังกล่าวได้ ณ ขณะทีก่ ล่าว ปาฐกถา แต่สำ� หรับพวกเราส่วนใหญ่ การกล่าวปาฐกถา “สด” ต้องแลกมา ซึ่งข้อเสียอันเลวร้าย นั่นคือการขาดจุดเน้น หลงลืมประเด็นส�ำคัญ พูดไม่ กระจ่างชัด และพูดเกินเวลา นี่แค่ตัวอย่างเล็กน้อยนะครับ ผมไม่แนะน�ำ แนวทางนี้เลยจริงๆ เมื่อผู้ฟังคิดว่าปาฐกถาฟังดูเหมือนซ้อมมา ปัญหา ไม่ได้อยู่ที่ผู้พูดซ้อมมากเกินไปหรอก แต่เป็นเพราะซ้อมน้อยเกินไป ต่างหาก เขาจึงติดอยู่ในหุบเขาสุดสยอง แต่ยอมรับเถอะครับว่าการฝึกซ้อมนั้นยาก มันเป็นเรื่องชวน เครียดอยู่แล้ว แม้แต่ซ้อมพูดในห้องนอนของคุณเองยังยากเลย อาจมี บางโอกาสที่คุณไม่สามารถใช้เวลาฝึกซ้อมได้ (ในกรณีเช่นนั้น ทางเลือก ที่ดีที่สุดคือ พยายามพูดโดยอาศัยโพยในมือที่จดหัวข้อย่อยไว้ หรือพึ่งพา บทที่อยู่ตรงหน้าเท่าที่ท�ำได้) แต่ถ้าปาฐกถานั้นส�ำคัญ คุณต้องท�ำเพื่อ ประโยชน์ของตัวเองและผู้ฟัง โดยฝึกซ้อมเพื่อข้ามผ่านความเครียดนั้น ไปให้ได้ เมื่อคุณซ้อม ความเครียดจะเริ่มหายไป ความมั่นใจเข้าแทนที่ และตามด้วยความตื่นเต้นอยากพูด 212

T ED Talk s

เทรซี เชวาลีเยร์ (Tracy Chevalier) ซึ่งเป็นนักเขียน เอาชนะ ความลังเลใจทีจ่ ะซ้อม และค้นพบว่าทีจ่ ริงมันช่วยให้ปาฐกถาเข้ารูปเข้ารอย มากขึ้น ผู ้ จั ด TED เน้ น เรื่ อ งการซ้ อ มมาก เขาบอกให้ ฉั น ฝึ ก บ่ อ ยจน ฉันร�ำคาญ ฉันพูดต่อหน้าสาธารณะมาแล้วมากมายโดยไม่เคย ฝึกซ้อมอย่างที่ TED คาดหวังให้ฉันท�ำ อย่างไรก็ตาม สุดท้าย ฉันก็ซ้อม และดีใจที่ท�ำอย่างนั้น ปาฐกถาส่วนใหญ่ไม่ได้จับเวลา อย่างเคร่งครัด และรูปแบบการพูดของฉันมักเป็นบทสนทนา ที่ไหลวนออกนอกเรื่อง การฝึกซ้อมท�ำให้คุณตระหนักว่าปาฐกถา ต่ า งๆ มี ช ่ ว งเพ้ อ เจ้ อ เรื่ อ ยเปื ่ อ ยมากแค่ ไ หน ดั ง นั้ น จงฝึ ก ฝน จับเวลาตัวเอง แล้วตัดอะไรที่นอกเรื่องและไม่จ�ำเป็นทิ้งไปให้หมด ฉันยังค้นพบด้วยว่า เมือ่ พูดออกมาดังๆ ฉันจะนึกประโยคดีๆ ขึน้ มา ได้ ฉันจ�ำประโยคเหล่านั้นและใช้มันเป็นหลักยึด หรือใช้ปูทางเพื่อ ปิดฉากปาฐกถา ฉันไม่ได้ท่องจ�ำปาฐกถาทั้งหมด เพราะอาจจะ ท�ำให้ฟงั ดูเสแสร้ง เว้นแต่วา่ คุณเป็นนักแสดง แต่ฉนั จดจ�ำโครงสร้าง และประโยคปิดท้ายเหล่านัน้ ซึง่ ช่วยให้ปาฐกถากระชับขึน้ และดีขนึ้

แม้แต่บลิ ล์ เกตส์ ชายทีง่ านยุง่ มากทีส่ ดุ ในโลกคนหนึง่ ก็ยงั ทุม่ เท อย่างหนักเพื่อเรียนรู้และฝึกซ้อมก่อนขึ้นกล่าวปาฐกถา TED ในอดีต คนเคยมองว่าเขาเป็นนักพูดต่อหน้าสาธารณะที่แย่มาก แต่หลังจากตั้งใจ ซ้อมอย่างจริงจัง เขาเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง และได้กล่าวปาฐกถาอัน ทรงพลังหลายครั้ง ทั้งในเรื่องสาธารณสุข พลังงาน และการศึกษา ถ้าการซ้อมเพื่อปาฐกถาครั้งส�ำคัญนั้นคุ้มค่ากับเวลาของบิลล์ เกตส์, ซูซาน เคน, เทรซี เชวาลีเยร์ และซัลมาน คาห์น มันอาจจะคุ้มค่า กับเวลาของคุณเช่นกัน

Chris Anderson

213

นี่คือสิ่งที่คุณควรถามผู้ฟังระหว่างซ้อมหรือหลังซ้อมแต่ละครั้ง • • • • • • • • • • •

• • •

ฉันดึงดูดความสนใจคุณได้ตั้งแต่แรกหรือเปล่า ฉันสบตาคุณไหม ปาฐกถานี้สร้างความคิดใหม่ให้คุณได้ไหม แต่ละก้าวของการเดินทางนั้นน่าพึงพอใจไหม มีตัวอย่างมากพอที่จะช่วยให้เข้าใจกระจ่างไหม น�้ำเสียงของฉันเป็นอย่างไร ฟังดูเหมือนชวนคุย (ซึ่งมักจะดี) หรือเหมือนก�ำลังสั่งสอน (ซึ่งมักจะแย่) น�้ำเสียงและจังหวะหลากหลายพอไหม ฉันพูดเหมือนก�ำลังท่องปาฐกถาไหม มุ ก ตลกของฉั น ดู เ ป็ น ธรรมชาติ ห รื อ ประดั ก ประเดิ ด ฉั น ใส่ อารมณ์ขันมากพอไหม ภาพประกอบเป็นอย่างไรบ้าง มันช่วยเสริมหรือขัดขวางการพูด คุณสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ดูน่าร�ำคาญบ้างไหม ฉันเดาะลิ้น หรือเปล่า กลืนน�ำ้ ลายบ่อยไปไหม เดินไปเดินมามากไปไหม ใช้ วลีจ�ำพวก “นึกออกไหม” หรือ “แบบว่า” (ซึ่งแย่ยิ่งกว่า) บ่อยๆ หรือเปล่า ภาษาท่าทางของฉันเป็นธรรมชาติหรือเปล่า ฉันพูดจบตามเวลาไหม มีช่วงไหนไหมที่คุณเบื่อ มีอะไรที่ฉันตัดออกได้หรือเปล่า

ผมแนะน�ำให้คุณหาคนมาช่วยบันทึกวิดีโอการซ้อมเก็บไว้ใน สมาร์ตโฟน คุณจะได้ดูตัวเองเวลาพูด และอาจสังเกตเห็นทันทีว่าคุณ ติดนิสัยท�ำท่าทางบางอย่างโดยไม่รู้ตัว และเป็นพฤติกรรมที่คุณเองก็ ไม่ชอบใจนัก

214

T ED Talk s

สุดท้าย มาพูดเรื่องเวลากันครับ การรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด เป็นสิ่งส�ำคัญมาก เรื่องนี้จริงแท้แน่นอนเมื่อคุณเป็นส่วนหนึ่งในรายการ ปาฐกถาที่มีผู้พูดหลายคน หากพูดเกินเวลาย่อมเท่ากับคุณขโมยเวลา จากผู้พูดคนต่อไป แต่ประเด็นไม่ใช่แค่เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้จัดหรือผู้พูด คนต่อไปหงุดหงิดเท่านั้น การปิดฉากปาฐกถาของคุณให้งดงามที่สุด ก็ส�ำคัญเช่นกัน ในยุคสมัยใหม่ที่เน้นดึงดูดความสนใจอย่างบ้าคลั่งเช่นนี้ คนเราจะตอบสนองกับเนื้อหาที่คมชัดมีพลัง ไม่อดทนต่อข้อมูลยืดย้วย นี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์เฉพาะในยุคสมัยใหม่เท่านั้น เพราะในประวัติศาสตร์ ปาฐกถาสุ ด แสนทรงพลั ง จ� ำ นวนมากล้ ว นสั้ น และตรงประเด็ น เช่ น สุนทรพจน์ที่เมืองเกตตีส์เบิร์ก (Gettysburg Address)4 ของเอบราแฮม ลิงคอล์น ใช้เวลาแค่สองนาทีเศษ ส่วนผู้พูดคนก่อนหน้าเขาพล่ามไป สองชั่วโมง แต่สิ่งที่เขาพูดกลับถูกลืมไปนานแล้ว เมื่ อ ถึ ง วั น จริ ง สิ่ ง ที่ คุ ณ ไม่ อ ยากให้ เ กิ ด เลยคื อ ความกั ง วล เรื่องเวลา ฉะนั้นจงฝึกซ้อมและขัดเกลาปาฐกถาของคุณเพื่อหลีกเลี่ยง สภาวะนี้ คุณควรตัดเนือ้ หาลงจนแน่ใจว่าคุณจะพูดจบก่อนเวลาทีก่ ำ� หนด นานพอสมควร เพือ่ เผือ่ เวลาให้เสียงหัวเราะของผูฟ้ งั และข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ สักครั้งสองครั้ง ถ้าในวันจริงคุณรู้ว่าไม่มีปัญหาเรื่องเวลาแน่นอน คุณจะสามารถมีสมาธิ 100 เปอร์เซ็นต์กบั เรือ่ งทีค่ ณ ุ ควรมุง่ ใส่ใจ นัน่ คือการ อธิบายความคิดที่มีความหมายกับคุณด้วยอารมณ์ความรู้สึกอันแรงกล้า รีฟส์ ศิลปินนักรังสรรค์ถ้อยค�ำให้ข้อแนะน�ำดีๆ ไว้อย่างนี้ครับ เส้นชัยของคุณอยู่ที่เวลาที่คุณได้รับคูณ 0.9 ลองเขียนและฝึกซ้อม ปาฐกถาทีก่ นิ เวลาเก้าในสิบของเวลาทีค่ ณ ุ ได้รบั เช่น หากเวลาเต็ม คือ 1 ชั่วโมง เวลาของปาฐกถาคือ 54 นาที, 10 นาที คือ 9 นาที, สุ น ทรพจน์ ข องประธานาธิ บ ดี เ อบราแฮม ลิ ง คอล์ น ในช่ ว งสงครามกลางเมื อ งของ สหรัฐอเมริกา สุนทรพจน์ดังกล่าวเป็นที่มาของนิยามที่ว่าประชาธิปไตยเป็นการปกครอง ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน 4

Chris Anderson

215

18 นาที คือ 16.12 นาที (ครับ ตามนั้น) แล้วขึ้นพูดบนเวทีโดย ไม่ตอ้ งสนใจนาฬิกาเลย เท่านีค้ ณ ุ ก็จะมีชอ่ งว่างให้หายใจ เพือ่ ก�ำกับ จังหวะตัวเอง เพือ่ หยุดชัว่ ครู่ เพือ่ พลาดได้นดิ หน่อย และเพือ่ เค้นให้ ผู้ฟังตอบสนอง นอกจากนี้ ปาฐกถาของคุณจะกระชับเข้มข้น กว่าเดิม และคุณจะโดดเด่นออกมาจากผูพ้ ูดคนอืน่ ทีเ่ ต้นร�ำไปตาม จังหวะภายในเวลาที่จ�ำกัดไว้เท่ากัน

มาสรุปกันเถอะครับ • ส�ำหรับปาฐกถาอันส�ำคัญยิ่ง จ�ำเป็นมากที่จะต้องซ้อมหลายๆ ครั้ง โดยควรซ้อมต่อหน้าคนที่คุณไว้วางใจ • ฝึกซ้อมจนมัน่ ใจภายใต้เวลาทีก่ ำ� หนด และยืนกรานขอความเห็น ที่จริงใจจากผู้ฟังการซ้อม • เป้าหมายของคุณคือลงเอยด้วยปาฐกถาที่คุณเข้าใจโครงสร้าง อย่างดีประหนึ่งฝังอยู่ในสัญชาตญาณ เพื่อคุณจะได้มุ่งสนใจ ความหมายของสิ่งที่คุณพูดได้เต็มที่

216

T ED Talk s

13 เปิดฉากและปิดท้าย คุณอยากสร้างภาพจำ�แบบไหนในใจผู้ฟัง?

ไม่ว่าคุณจะท่องจ�ำหรือไม่ ขอจงอย่าลืมว่าต้องให้ความส�ำคัญกับ วิธีเริ่มต้นและลงท้ายปาฐกถาของคุณ ตอนเริ่มต้นปาฐกถา คุณมีเวลา ประมาณหนึ่งนาทีเพื่อกระตุ้นให้คนสนใจใคร่รู้ในสิ่งที่คุณจะพูด และวิธี ลงท้ายของคุณนั้นมีผลอย่างมากต่อภาพที่ผู้ฟังจดจ�ำปาฐกถาของคุณ ไม่วา่ คุณจะกล่าวปาฐกถาส่วนทีเ่ หลืออย่างไร ผมสนับสนุนเต็มที่ ให้คณ ุ เขียนบทและท่องจ�ำนาทีเปิดฉากกับประโยคปิดท้าย มันช่วยให้คณ ุ ไม่ตื่นเต้น มีความมั่นใจ และยังสร้างผลกระทบต่อผู้ฟัง สี่วิธีเริ่มต้นอย่างมีพลัง ความใส่ใจของผูฟ้ งั เป็นสินทรัพย์ทมี่ คี ณ ุ ค่ายิง่ คุณได้สงิ่ นีเ้ สมอใน ตอนแรกทีข่ นึ้ เวที อย่าปล่อยเวลานัน้ ให้เสียเปล่าด้วยค�ำพูดสัพเพเหระ ไม่ใช่ เรือ่ งส�ำคัญเลยจริงๆ ทีจ่ ะบอกว่าคุณรู้สึกเป็นเกียรติทไี่ ด้มายืนตรงนี้ หรือ กล่าวขอบคุณภรรยาของผูจ้ ดั งาน สิง่ ส�ำคัญคือการโน้มน้าวผูฟ้ งั ว่า อย่าได้ Chris Anderson

219

ละความสนใจแม้เสี้ยววินาที คุณต้องการบทเปิดเรื่องที่จับใจผู้คนตั้งแต่ วินาทีแรก อาจเป็นประโยคทีท่ ำ� ให้ประหลาดใจ ค�ำถามชวนพิศวง เรือ่ งเล่า สั้นๆ หรือภาพอันงดงามเหลือเชื่อก็ได้ แน่นอนว่าย่อมมีบางโอกาสทีค่ ณ ุ สามารถเริม่ ต้นด้วยการขอบคุณ ใครสักคนสองคน โดยเฉพาะเมื่อคุณพูดในงานที่มีบรรยากาศของชุมชน อันอบอุ่นแน่นแฟ้น กรณีนี้อาจเป็นเรื่องเหมาะควรที่สุดที่จะเริ่มต้นด้วย ค�ำขอบคุณเล็กๆ น้อยๆ เพราะจะท�ำให้ คุณ กลายเป็นส่วนหนึง่ ของชุมชน นั้นด้วย แต่ถ้าคุณจะเริ่มด้วยวิธีนี้ โปรดท�ำให้ค�ำขอบคุณนั้นฟังดูเป็น ส่ ว นตั ว สุ ด ๆ เลยนะครั บ จะให้ ดี ก็ ค วรแทรกอารมณ์ ขั น หรื อ ความ อบอุ่นจริงใจด้วย บิลล์ คลินตัน เชี่ยวชาญเรื่องนี้มาก เขาจะเลือกเล่า ประสบการณ์ส่วนตัวที่ท�ำให้เจ้าภาพปลาบปลื้มสุดๆ ขณะเดียวกันก็ ถือโอกาสสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงกับแขกคนอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในบรรยากาศชุมชนอย่างนัน้ ก็ขอให้กล่าวขอบคุณอย่างระมัดระวัง ค�ำขอบคุณแห้งๆ ที่เต็มไปด้วยรายชื่อยาวเหยียดเป็นตัวฆ่าความสนใจ ในทุ ก บริ บ ท และเมื่ อ คุ ณ เตรี ย มเกริ่ น เข้ า เนื้ อ หา ขอให้ แ น่ ใ จว่ า คุ ณ มีประโยคเปิดที่เร้าใจ จ�ำไว้ว่าข้อมูลทุกชิ้นในยุคสมัยใหม่ของเรานี้คือส่วนหนึ่งของ สงครามแย่งความสนใจ มันต้องต่อสู้กับสารพันสิ่งที่คอยแย่งเวลาและ พลังงานของผู้คน แม้เมื่อคุณยืนอยู่บนเวทีตรงหน้าแถวที่นั่งผู้ฟังก็ตาม เพราะพวกเขามีเครือ่ งเบีย่ งเบนความสนใจอานุภาพร้ายแรงอยูใ่ นกระเป๋า นั่ น คื อ สมาร์ ต โฟน ซึ่งสามารถเรียกดูข ้อมูลทางเลือกข้างนอกได้อีก นับพันอย่าง เมื่ออีเมลและข้อความบุกเข้ามา ปาฐกถาของคุณก็ถึงฆาต นอกจากนี้ยังมีปีศาจของชีวิตยุคใหม่ที่แฝงตัวอยู่ นั่นคือความเหนื่อยล้า สิง่ เหล่านีค้ อื ศัตรูตวั ร้าย คุณต้องไม่เปิดโอกาสให้ใครมีขอ้ อ้างทีจ่ ะละความ สนใจไปจากคุณ คุณต้องเป็นนายพลผู้ฉลาดเฉลียวที่คอยบัญชาการรบ เพือ่ ชนะสงครามนี้ การเริม่ ต้นทีม่ พี ลังเป็นหนึง่ ในอาวุธส�ำคัญทีส่ ดุ ของคุณ เรือ่ งนีย้ งิ่ จ�ำเป็นมากขึน้ ถ้าปาฐกถาของคุณถูกบันทึกเพือ่ เผยแพร่ 220

T ED Talk s

ออนไลน์ในภายหลัง เพราะมีตัวล่อใจอย่างปาฐกถาอื่น บทความ และ แบบทดสอบออนไลน์อีกมากมายที่อยู่ห่างไปแค่คลิกเดียว ถ้าคุณใช้นาที เปิดฉากปาฐกถาไปอย่างไร้ค่า คุณจะสูญเสียผู้ฟังออนไลน์จ�ำนวนมาก ไปก่อนที่เขาจะรู้ว่ามีอะไรน่าสนใจอยู่ในปาฐกถาของคุณ และนั่นอาจ เป็นจุดตัดสินว่าปาฐกถาของคุณจะแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวางหรือ จะดับอนาถ นี่คือสี่วิธีที่จะยึดความสนใจของผู้ฟังไว้ให้มั่น 1. หยอดเรื่องเร้าอารมณ์ ถ้อยค�ำแรกๆ นั้นส�ำคัญยิ่ง เมย์ซูน ซายิด (Maysoon Zayid) เป็นนักแสดงตลกที่ป่วยด้วย ภาวะสมองพิการเนื่องจากความประมาทเลินเล่อทางการแพทย์ตอนเธอ เกิด เธอเดินตัวสั่นขึ้นมาบนเวที และเริ่มต้นปาฐกถาของเธอแบบนี้ “ฉัน ไม่ได้เมานะ … แต่คุณหมอที่ท�ำคลอดฉันน่ะเมา” เปรี้ยง! แม้รูปลักษณ์ ของเธอจะผิดจากที่เราคาด แต่เรารู้ทันทีว่าก�ำลังจะได้ฟังอะไรดีๆ เธอ สะกดสายตาและเซลล์สมองทุกเซลล์ในห้องไปเรียบร้อยแล้ว ตอนทีเ่ จมี โอลิเวอร์ (Jamie Oliver) พ่อครัวนักรณรงค์เคลือ่ นไหว มารับรางวัล TED Prize ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปี เขาเปิดฉากปาฐกถา แบบนี้ครับ “น่าเศร้านะครับ ในอีก 18 นาทีข้างหน้า … จะมีคนอเมริกัน สีค่ นเสียชีวติ … เพราะอาหารทีพ่ วกเขารับประทานเข้าไป” ผมว่าคุณอยาก ฟังต่อแล้วใช่ไหมล่ะ เมื่อคุณวางแผนประโยคเปิด จงให้แก่นเรื่องเป็นตัวน�ำทาง คุณ จะแย้มแก่นความคิดในปาฐกถาอย่างไรให้น่าสนใจและชวนติดตามที่สุด ลองถามตัวเองว่า ถ้าปาฐกถาของคุณคือหนังหรือนิยาย คุณจะเปิดเรื่อง อย่างไร นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องอัดทุกสิ่งที่เร้าอารมณ์ลงไปใน ประโยคเปิดนะครับ ผู้ฟังสนใจคุณแน่นอนอยู่แล้วในช่วงสองสามนาที แรก แต่ภายในย่อหน้าแรกที่คุณพูด ต้องมีอะไรบางอย่างโดนใจเขาด้วย Chris Anderson

221

แซ็ก อิบราฮิม (Zak Ebrahim) มาขึ้นเวทีในงาน TED2014 พร้อมเรื่องเล่าที่เหลือเชื่อ แต่ตามบทพูดที่วางไว้ตอนแรก เขาวางแผนว่า จะเปิดเรือ่ งแบบนี้ ผมเกิดในปี 1983 ที่เมืองพิตส์เบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย มีแม่ชาว อเมริกันที่เปี่ยมด้วยความรักและพ่อชาวอียิปต์ที่พยายามสร้าง วัยเด็กแสนสุขให้ผมอย่างเต็มที่ จนกระทั่งผมอายุเจ็ดขวบ พลวัต ภายในครอบครัวเราก็เริ่มเปลี่ยนไป พ่อเผยให้ผมเห็นอีกด้าน ของอิ ส ลามที่ แ ม้ แ ต่ ช าวมุ ส ลิ ม ก็ มี น ้ อ ยคนจะได้ เ ห็ น แต่ ที่ จ ริ ง เมื่ อ คนเราใช้ เ วลาปฏิ สั ม พั น ธ์ กั น ไม่ น านเราก็ จ ะตระหนั ก ว่ า ส่วนใหญ่แล้วเราล้วนต้องการสิ่งเดียวกันในชีวิต

นี่เป็นข้อความเปิดเรื่องที่พอใช้ได้ … แต่ไม่จับใจ เราระดมสมอง ร่วมกับแซ็ก และนี่คือบทเปิดที่แก้ไขใหม่ วันที่ 5 พฤศจิกายน 1990 บุรุษนาม เอล-เซยิด โนแซร์ (El Sayyid Nosair) เดินเข้าไปในโรงแรมในแมนฮัตตัน และสังหารแรบไบไมอีร์ คาฮานา (Meir Kahane) ผู้น�ำสันนิบาตปกป้องชาวยิว (Jewish Defense League) ตอนแรกศาลตัดสินว่าโนแซร์ไม่มีความผิด ข้อหาฆาตกรรม แต่ระหว่างที่ชดใช้โทษข้อหาเบากว่านั้น เขาและ ชายกลุ่มหนึ่งเริ่มวางแผนโจมตีสถานที่ส�ำคัญ 12 แห่งในนิวยอร์ก รวมไปถึงอุโมงค์ โบสถ์ศาสนายิว และส�ำนักงานใหญ่ขององค์การ สหประชาชาติ ต้ อ งขอบคุ ณ ที่ แ ผนเหล่ า นั้ น ถู ก ขั ด ขวางโดย ผู้ให้ข้อมูลของเอฟบีไอคนหนึ่ง แต่น่าเศร้าที่ไม่อาจขัดขวางเหตุ ระเบิดตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในปี 1993 ได้ ในที่สุดโนแซร์ถูก พิพากษาว่ามีความผิดโทษฐานร่วมสมคบคิด เอล-เซยิด โนแซร์ คือพ่อของผมเอง

222

T ED Talk s

เขาสะกดผู้ฟังจนนิ่งงัน บทเปิดนี้ได้ผลบนโลกออนไลน์เช่นกัน ปาฐกถาของเขามีคนเข้าชมถึงสองล้านคนอย่างรวดเร็ว นี่คือบทเกริ่นน�ำฉบับแรกเริ่มที่นักสังคมวิทยา อลิซ กอฟฟ์แมน (Alice Goffman) ส่งมาให้เรา ตอนฉันเป็นนักศึกษาปีหนึ่งที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนซิลเวเนีย ฉั น ลงทะเบี ย นเรี ย นวิ ช าสั ง คมวิ ท ยาวิ ช าหนึ่ ง ที่ ใ ห้ เ ราออกไป ศึกษาเมืองผ่านการสังเกตและมีส่วนร่วมด้วยตัวเอง ฉันได้งาน เป็นคนท�ำแซนด์วิชและสลัดที่โรงอาหารในมหาวิทยาลัย เจ้านาย ของฉันเป็นผู้หญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันอายุหกสิบกว่า ซึ่งอาศัยอยู่ในย่านชุมชนคนผิวด�ำไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยนัก ปีต่อมาฉันเริ่มสอนพิเศษให้ไอชา หลานสาวของเธอที่ก�ำลังเรียน มัธยมปลายปีแรก

เธอเล่าเรื่องราวในแบบที่เธอรู้สึกว่าเป็นธรรมชาติ แต่ก่อนจะ ถึงวันงาน เธอก็ได้แก้ไขบทเปิดเรื่องแบบใหม่ที่คู่ควรกับพลังอันเร่าร้อน ในปาฐกถาของเธอ บนเส้นทางทีเ่ ด็กอเมริกนั เดินไปสูค่ วามเป็นผูใ้ หญ่ มีอยูส่ องสถาบัน ทีค่ อยดูแลการเดินทางนี้ สถาบันแรกนัน้ เราได้ยนิ บ่อยมาก นัน่ คือ มหาวิทยาลัย ซึ่งมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ค่าเล่าเรียนแพง ท�ำให้ คนเป็นหนี้เป็นสิน แต่โดยรวมๆ แล้วก็เป็นเส้นทางที่ดีทีเดียว … วันนี้ฉันอยากพูดถึงอีกสถาบันหนึ่งที่ดูแลการเดินทางจากวัยเด็ก สู่วัยผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา สถาบันที่ว่านั้นคือ คุก

การวางกรอบที่เฉียบคมเอื้อให้เธอพูดถึงโศกนาฏกรรมของ การจองจ�ำผู้คนในอเมริกาด้วยวิธีที่ดึงดูดความสนใจว่า เฮ้ เด็กพวกนี้ น่าจะได้เรียนมหาวิทยาลัยแทนที่จะอยู่ในคุกนะ Chris Anderson

223

แน่นอนว่าบางทีเราอาจพยายามเค้นอารมณ์มากเกินไปและ ท�ำให้ผู้ฟังหมดความสนใจ บางทีคุณอาจต้องสร้างสัมพันธ์กับผู้ฟังสักนิด ก่อนจะโจมตีด้วยเนื้อหาเร้าอารมณ์ดังสายฟ้าฟาด ขณะเดียวกันคุณย่อม ไม่อยากท�ำให้เรื่องที่จะเล่าฟังดูเรียบง่ายจนเกินไป ถ้าคุณท�ำได้ลงตัว นี่จะเป็นวิธีเริ่มต้นปาฐกถาที่มีพลังจับใจมากทีเดียว 2. จุดประกายความอยากรู้อยากเห็น ถ้าผมชวนให้คุณฟังปาฐกถาเกี่ยวกับปรสิต ผมเดาว่าคุณคง ปฏิเสธ แต่นั่นเป็นเพราะคุณยังไม่ได้พบนักเขียนสายวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ เอ็ด หย่ง (Ed Yong) นี่คือวิธีเปิดปาฐกถาของเขาครับ ฝูงวัวป่า ฝูงปลา ฝูงนก สัตว์หลายจ�ำพวกรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่ เป็นปรากฏการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจในโลกธรรมชาติ แต่ท�ำไมสัตว์ ทั้งหลายจึงรวมกลุ่มกันแบบนี้ ค�ำตอบส่วนใหญ่คือเพื่อแสวงหา ความปลอดภัยเมื่อรวมตัวกันจ�ำนวนมากๆ เพื่อออกล่าหาอาหาร เป็นหมู่ หรือเพื่อชุมนุมกันยามจับคู่สืบพันธุ์ แม้ว่าส่วนใหญ่แล้ว ค�ำอธิบายทัง้ หมดนีจ้ ะเป็นเรือ่ งจริง แต่กต็ งั้ อยูบ่ นความเชือ่ พืน้ ฐาน เกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์ ที่มองว่าสัตว์ทั้งหลายควบคุมการ กระท�ำและร่างกายของตัวเองได้ แต่ความเชือ่ เหล่านัน้ ไม่จริงเสมอไป

เขาบรรยายต่อถึงกุ้งสายพันธุ์หนึ่งที่อยู่รวมกลุ่มกัน เพราะ สมองของพวกมันถูกควบคุมโดยปรสิตที่ต้องการให้กุ้งเหล่านี้เป็นเหยื่อ ทีน่ กฟลามิงโกมองเห็นได้งา่ ย เพราะปรสิตเหล่านีส้ ามารถเติบโตขัน้ ต่อไป ตามวงจรชีวติ ได้ในกระเพาะของนกฟลามิงโก ภายในไม่ถงึ นาที สมองคุณ ตีลงั กากลับตาลปัตร อะไรนะ?! ธรรมชาติทำ� อย่างนีไ้ ด้ดว้ ยหรือ?? จากนัน้ คุณก็เรียกร้องอยากรู้อีก เป็นไปได้อย่างไร? ท�ำไม? หมายความว่าอย่างไร? การจุดประกายความอยากรู้อยากเห็นเป็นสุดยอดเครื่องมือ อเนกประสงค์ที่ใช้มัดใจผู้ฟัง ถ้าเป้าหมายของปาฐกถาคือการสร้าง 224

T ED Talk s

ความคิดในใจผู้ฟัง ความอยากรู้อยากเห็นก็คือเชื้อเพลิงที่เร่งให้ผู้ฟัง กระตือรือร้นอยากมีส่วนร่วม นักประสาทวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ค�ำถามคือสิ่งที่สร้างช่องว่าง ทางความรู้ซึ่งสมองจะพยายามหาทางเติมเต็ม ทางเดียวที่สมองของ ผู้ฟังจะท�ำเช่นนั้นได้คือ เจ้าตัวต้องตั้งใจฟังสิ่งที่คุณพูดอย่างจริงจังมากๆ ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ดี แล้วคุณจะจุดประกายความอยากรู้อยากเห็นอย่างไรล่ะ? ทาง ที่ชัดเจนตรงไปตรงมาที่สุดคือการถามค�ำถาม ทว่าไม่ใช่ค�ำถามอะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นค�ำถามที่ท�ำให้ประหลาดใจ เราจะสร้างอนาคตที่ดีกว่านี้ให้คนทั้งมวลได้อย่างไร? แบบนี้ กว้างไป เฝือไป ผมเบื่อแล้ว ท�ำไมเด็กผู้หญิงอายุ 14 ปีที่มีเงินในธนาคารไม่ถึง 200 ดอลลาร์ จึงมอบหนทางก้าวกระโดดสูอ่ นาคตให้แก่คนทัง้ หมูบ่ า้ นของเธอได้? เอาละ แบบนี้ค่อยน่าสนหน่อย บางครั้งการเล่าตัวอย่างประกอบเล็กๆ น้อยๆ ให้เห็นภาพ อาจ ท�ำให้ค�ำถามธรรมดาๆ กลายเป็นตัวจุดประกายความอยากรู้ความเห็น ให้ลุกโชนเต็มที่ นักปรัชญาชื่อไมเคิล แซนเดล (Micheal Sandel) เปิด ปาฐกถาของเขาแบบนี้ครับ มีคำ� ถามหนึง่ ข้อทีเ่ ราต้องมาร่วมกันคิดใหม่ นัน่ คือบทบาทของเงิน และตลาดในสังคมเราควรเป็นอย่างไร

คุณสนใจหรือยังครับ บางคนอาจสน บางคนอาจไม่ แต่ดูสิครับ ว่าเขาพูดอะไรต่อ ทุกวันนีม้ เี พียงไม่กอี่ ย่างทีเ่ งินซือ้ ไม่ได้ หากคุณถูกตัดสินโทษจ�ำคุก ในเมืองซานตาบาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย คุณจะรู้ว่าถ้าคุณไม่ชอบ ห้องขังมาตรฐาน คุณสามารถจ่ายเงินเพื่ออัปเกรดเป็นห้องขังที่ดี Chris Anderson

225

ขึ้นได้ นี่เรื่องจริงนะครับ แล้วคุณคิดว่าต้องจ่ายเท่าไร? คุณทายว่า เท่าไรครับ? 500 ดอลลาร์หรือ? ไม่ใช่โรงแรมเครือริตซ์-คาร์ลตันนะ นี่มันคุก! ค�ำเฉลยคือคืนละ 82 ดอลลาร์ครับ

ถ้าค�ำถามเปิดปาฐกถาของเขายังไม่อาจดึงดูดความสนใจคุณใน ทันที ตัวอย่างประหลาดเรื่องคุกก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ท�ำไมค�ำถามข้อนี้ จึงส�ำคัญนัก ที่จริงผู้พูดที่สร้างความอยากรู้อยากเห็นมัก ไม่ ถามค�ำถามแบบ โจ่งแจ้ง อย่างน้อยก็ไม่ใช่กบั ค�ำถามแรก พวกเขาจะแค่วางกรอบหัวข้อนัน้ ในแบบที่คนไม่คาดคิด ซึ่งจะไปกดปุ่มกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น นีค่ อื การเปิดเรือ่ งของ วี. เอส. รามจันทรัน (V. S. Ramachandran) ผมศึกษาทั้งหน้าที่และโครงสร้างของสมองมนุษย์ ผมอยากให้คุณ หยุ ด คิ ด สั ก นาที ห นึ่ ง ว่ า มั น หมายถึ ง อะไร นี่ คื อ มวลเยลลี่ ห นั ก สามปอนด์ทคี่ ณ ุ ถือไว้บนฝ่ามือได้ มันสามารถใคร่ครวญถึงอวกาศ อั น กว้ า งใหญ่ ไ พศาลระหว่ า งดวงดาว ครุ ่ น คิ ด ถึ ง ความหมาย ของอนันต์ และยังสามารถคิดถึงตัวมันเองที่ก�ำลังครุ่นคิดเรื่อง ความหมายของอนันต์ได้ด้วย

คุณทึ่งไหมครับ ผมทึ่งนะ นักดาราศาสตร์ชื่อแจนนา เลวิน (Janna Levin) ก็ค้นพบวิธีที่ท�ำให้ผมอยากรู้อยากเห็นเรื่องงานของเธอ ได้อย่างแรงกล้าเช่นเดียวกัน ฉันอยากให้ทุกคนใช้เวลาสักครู่หนึ่งคิดถึงข้อเท็จจริงอันเรียบง่าย ที่ว่า แต่ไหนแต่ไรข้อมูลที่เรารู้เกี่ยวกับจักรวาลนั้นมาจากแสง เรา ยืนบนพื้นโลก มองขึ้นไปบนฟ้ายามค�่ำคืน และเห็นดวงดาวด้วย ตาเปล่า ในขณะทีห่ ากเรามองพระอาทิตย์ดว้ ยตาเปล่า มันสามารถ เผาไหม้เซลล์ในดวงตาของเราที่ท�ำหน้าที่รับภาพด้านข้างได้ เรา 226

T ED Talk s

มองเห็นแสงสะท้อนจากดวงจันทร์ และนับตั้งแต่กาลิเลโอหัน กล้องโทรทรรศน์ยุคแรกเริ่มไปยังหมู่เทหวัตถุบนท้องฟ้า ภาพ จักรวาลที่เรารู้จักก็ส่งมาถึงเราด้วยแสงที่ข้ามผ่านหลายยุคสมัย อันยาวนานแห่งประวัติศาสตร์จักรวาล กล้องโทรทรรศน์ยุคใหม่ ทั้งหลายท�ำให้เราสามารถเก็บภาพหนังเงียบอันน่าตื่นตะลึงของ จักรวาล เป็นชุดภาพต่อเนื่องที่ย้อนกลับไปถึงการเกิดบิ๊กแบง แต่ จักรวาลไม่ใช่หนังใบ้ เพราะจักรวาลไม่ได้ไร้เสียง ฉันอยากโน้มน้าว ให้คณ ุ เชือ่ ว่าจักรวาลนัน้ มีเสียงประกอบ และเสียงทีว่ า่ ก็ดงั อยูต่ ลอด ในอวกาศ เพราะอวกาศนั้นสั่นไหวไปมาเหมือนกลอง

ความอยากรูอ้ ยากเห็นเป็นแม่เหล็กทีด่ งึ ดูดผูฟ้ งั ให้ตดิ ตาม ถ้าคุณ ใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพ คุณย่อมสามารถเปลี่ยนหัวข้อยากๆ ให้กลาย เป็นปาฐกถาสุดฮิตได้ ค�ำว่า “หัวข้อยากๆ” ที่ผมว่านี้ไม่ได้หมายความถึงแค่ฟิสิกส์ ขั้นสูงนะครับ เรื่องที่ยากกว่านั้นคือปาฐกถาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและ หลักการที่ท้าทาย ถ้าคุณต้องการเสนอความคิดใหม่เกี่ยวกับเอชไอวี โรคมาลาเรีย หรือการค้าทาส คุณต้องตระหนักเอาไว้ว่าคนทั่วไปเปิดรับ เรือ่ งเหล่านีไ้ ด้ยาก พวกเขารูอ้ ยูแ่ ล้วว่าเมือ่ ฟังไปถึงจุดหนึง่ เรือ่ งเหล่านีจ้ ะ ท�ำให้พวกเขาอึดอัดไม่สบายใจ พวกเขาจึงอยากปิดกั้นไม่รับรู้เสียแต่แรก และหยิบไอโฟนออกมาเล่น วิธที ใี่ ช้ตอบโต้ปญ ั หานีไ้ ด้ดคี อื ต้องดึงดูดด้วย ความอยากรู้อยากเห็น ก่อนหน้านี้ผมเคยกล่าวถึงไปบ้างแล้วว่า เอมิลี ออสเตอร์ ท�ำ อย่างนี้ในปาฐกถาเรื่องโรคเอดส์ เธอไม่ใช้วิธีเล่าเรื่องราวสยดสยองอย่าง ที่ผู้ฟังอาจจะคาดไว้ แต่เริ่มด้วยการตั้งค�ำถามว่า สี่สิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ เกีย่ วกับโรคเอดส์นนั้ เป็นจริงหรือเปล่า เธอฉายสไลด์ทมี่ ขี อ้ มูลสีข่ อ้ นี้ ทุกข้อ ดูสมเหตุสมผลดี แต่เธอพูดชัดเจนว่าเธอก�ำลังจะท้าทายว่าแต่ละข้อนั้น จริงไหม และด้วยวิธนี เี้ อง สมองอีกส่วนหนึง่ ก็ตนื่ ขึน้ ผูค้ นสนใจฟังเธอแล้ว

Chris Anderson

227

ถ้าปาฐกถาของคุณเป็นการท้าทายอะไรสักอย่าง ความอยากรู้ อยากเห็นอาจเป็นเครื่องจักรที่ดึงดูดให้คนสนใจฟังได้อย่างทรงพลังที่สุด 3. เปิดสไลด์ วิดีโอ หรือแสดงวัตถุที่ดึงดูดความสนใจ บางครั้งหมัดเด็ดที่ใช้เปิดฉากปาฐกถาได้ดีที่สุดก็คือภาพหรือ วิดีโอที่งดงาม ส่งผลกระทบมหาศาล หรือท�ำให้ประหลาดใจ ศิลปินสาว อเล็กซา มีด (Alexa Meade) เริ่มต้นปาฐกถาโดย แสดงภาพผลงานอันน่าตื่นตาชิ้นหนึ่ง และกล่าวว่า “คุณอาจอยากเข้ามา ดูใกล้ๆ ภาพนี้มีอะไรมากกว่าที่ตาเห็น ใช่ค่ะ มันเป็นภาพวาดสีอะคริลิก รูปผูช้ ายคนหนึง่ แต่ฉนั ไม่ได้วาดลงบนผืนผ้าใบหรอกนะคะ ฉันวาดลงไป บนตัวนายแบบเลย” ว้าว อีโลรา ฮาร์ดี (Elora Hardy) เริ่มต้นด้วยค�ำพูดนี้ “ตอนฉันอายุ เก้าขวบ แม่ถามว่าฉันอยากให้บ้านหน้าตาอย่างไร แล้วฉันก็วาดบ้าน รูปเห็ดเหมือนในเทพนิยาย” เธอฉายภาพวาดน่ารักๆ แบบเด็กๆ ให้ดู “ต่อมาแม่ก็สร้างบ้านนี้ขึ้นมาจริงๆ” คุณได้ยินเสียงฮือฮาจากผู้ฟังเมื่อ เธอฉายภาพบ้านไม้ไผ่ทแี่ ม่ของเธอสร้าง นีเ่ ป็นแค่จดุ เริม่ ต้นของชุดภาพถ่าย ผลงานอันน่าทึง่ ของอีโลราเองในฐานะสถาปนิก แต่ดสู คิ รับว่าเธอดึงดูดความ สนใจผูฟ้ งั ได้เร็วขนาดไหน แค่สองประโยคแรกคุณก็ได้ยนิ เสียงฮือฮาแล้ว ถ้าคุณมีวัตถุดิบที่เหมาะเจาะ นี่คือวิธีเริ่มต้นปาฐกถาได้อย่าง ยอดเยี่ยม แทนที่จะพูดว่า “วันนี้ฉันตั้งใจว่าจะเล่าเรื่องงานของฉันให้ คุณฟัง แต่ก่อนอื่นฉันต้องบอกที่มาที่ไปของมันก่อน…” คุณอาจเริ่มโดย แค่เอ่ยว่า “ฉันมีอะไรให้คุณดู” แน่ละว่าแนวทางนี้ย่อมได้ผลดีกับช่างภาพ ศิลปิน สถาปนิก และนักออกแบบ หรือใครก็ตามที่ท�ำงานเชิงทัศนศิลป์ แต่มันก็ใช้ได้ผล อย่างงดงามกับปาฐกถาเชิงแนวคิดด้วย เมื่อเดวิด คริสเตียน พูดเรื่อง ประวัติศาสตร์ของจักรวาลในเวลา 18 นาที เขาเริ่มด้วยคลิปวิดีโอภาพ ไข่ทกี่ ำ� ลังถูกตีในชาม แต่ผา่ นไปแค่ 10 วินาที คุณก็ตระหนักว่ากระบวนการ 228

T ED Talk s

ที่คุณเห็นนั้นก�ำลังเกิดขึ้นย้อนหลัง ไข่ค่อยๆ เปลี่ยนจากสภาพเละๆ กลายเป็นไข่ทยี่ งั ไม่ ถูกตี ตรงนีเ้ อง เขาเผยแก่นเรือ่ งของปาฐกถาจากวิดโี อ อันน่าประหลาดใจนี้ แก่นที่ว่าคือ เวลานั้นมีทิศทาง และเรื่องราวของ จักรวาลคือหนึ่งในความซับซ้อนที่เพิ่มทวีขึ้น ภาพที่สวยงามนั้นดึงดูดความสนใจ แต่ผลกระทบเต็มๆ มัก เกิดขึ้นเมื่อคุณเผยเรื่องราวบางอย่างที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับภาพนั้น คาร์ล ซิมเมอร์ (Carl Zimmer) เริ่มต้นด้วยภาพตัวต่ออัญมณีที่สวยงาม จนคุณต้องตะลึง แต่แล้วเขาก็เผยว่ามันด�ำรงชีพด้วยการท�ำให้แมลงสาบ กลายเป็นซอมบี้และวางไข่ในร่างไร้วิญญาณเหล่านั้น (นี่เป็นอีกหนึ่ง ปาฐกถาที่โดดเด่นชนะเลิศในหมู่ TED Talk หมวดพิเศษเฉพาะทาง อันแปลกประหลาดที่อุทิศให้ปรสิตชวนขนลุกทั้งหลาย) มีวิธีมากมายที่จะเปิดเรื่องให้น่าตื่นตาตื่นใจยิ่งกว่านั้นอีก ขึ้นอยู่ กับว่าวัตถุดิบที่คุณมีคืออะไร ตัวอย่างเช่น “ภาพที่คุณก�ำลังจะได้เห็นนั้นเปลี่ยนชีวิตผม” “ฉันก�ำลังจะฉายวิดีโอที่มองครั้งแรกอาจดูเหมือนเป็นไปไม่ได้” “นี่คือภาพเปิดของฉัน มีใครทายได้บ้างว่ามันคืออะไร” “เมื่อสองเดือนครึ่งก่อนหน้านี้ ยังไม่เคยมีมนุษย์คนไหนได้เห็น วัตถุนี้เลย” ค้นหารูปแบบทีใ่ ช่ เร้าความสนใจ แต่กจ็ ริงแท้ไม่เสแสร้ง เป็นบท เปิดที่จะเพิ่มความมั่นใจของคุณเมื่อเริ่มเข้าสู่ปาฐกถา 4. ยั่วเย้า แต่อย่าเพิ่งเปิดหมด บางครั้งผู้พูดก็พยายามเผยเนื้อหามากเกินไปในย่อหน้าเปิดตัว “วันนี้ผมจะอธิบายให้คุณฟังว่ากุญแจสู่ความส�ำเร็จของผู้ประกอบการนั้น เรียบง่ายมาก นัน่ คือความมุง่ มัน่ ” เป็นเป้าหมายทีม่ คี า่ ควรฟังครับ แต่ผฟู้ งั อาจหมดความสนใจไปก่อน เพราะพวกเขาคิดว่าเขารู้เนื้อหาในปาฐกถา นั้นแล้ว แม้สิ่งที่ตามมาจะเต็มไปด้วยรายละเอียด ตรรกะ ความหลงใหล Chris Anderson

229

และการโน้มน้าวใจ แต่ผู้ฟังอาจไม่ฟังอีกต่อไป สมมติเปลีย่ นการเริม่ ต้นปาฐกถานีเ้ ป็น “ในสองสามนาทีขา้ งหน้า ผมวางแผนว่าจะเผยสิง่ ทีผ่ มคิดว่าเป็นกุญแจสูค่ วามส�ำเร็จของผูป้ ระกอบ การ และชีท้ างว่าทุกคนในทีน่ จี้ ะปลูกฝังมันได้อย่างไร คุณจะได้รบั เบาะแส ไปสูแ่ นวทางเหล่านัน้ จากเรือ่ งราวทีผ่ มก�ำลังจะเล่าต่อไปนี”้ แบบนีอ้ าจช่วย ให้คุณสนใจฟังนานขึ้นอีกสักสองสามนาทีก็ได้ ดังนั้นแทนที่จะบอกหมดเปลือกตั้งแต่แรก ลองจินตนาการว่า จะใช้ภาษาอย่างไรหลอกล่อให้ผู้ฟังอยากกระโดดเข้ามาร่วมทางกับคุณ ผู ้ ฟ ั ง ต่ า งกลุ ่ ม ก็ ต ้ อ งใช้ ภ าษาต่ า งกั น ผมเคยบอกไปก่ อ นหน้ า นี้ ว ่ า ตอนเด็กๆ ผมไม่ชอบถูกลากออกไปเดินข้างนอก พ่อแม่ผมใช้ความ พยายามอย่างไม่ลดละที่จะเข้าอกเข้าใจผู้ฟังอย่างผม … แต่ก็ล้มเหลว พวกเขาพูดว่า “ออกไปเดินป่ากันเถอะ เราจะได้เห็นวิวหุบเขาสวยๆ” แล้ว เด็กหกขวบที่อ่อนแอไม่ชอบออกก�ำลังอย่างผม ซึ่งไม่ได้พิสมัยเรื่องวิว ทิวทัศน์ใดๆ ก็จะร้องงอแงตลอดทางไปและกลับ ต่อมาภายหลัง พ่อแม่ ผมจึงเริม่ รูแ้ กวและใช้วธิ โี น้มน้าวทีเ่ ฉียบแหลมกว่าเดิม “เรามีของขวัญให้ ลูกนะ เราจะเดินทางไปสถานทีพ่ เิ ศษแห่งหนึง่ ทีล่ กู สามารถร่อนเครือ่ งบิน กระดาษไปในทีโ่ ล่งกว้างไกลถึงห้าไมล์” ผมเป็นแฟนของอะไรก็ตามทีบ่ นิ ได้ อยู่แล้ว จึงวิ่งออกประตูไปก่อนพ่อแม่เสียอีก ทั้งที่นั่นคือเส้นทางเดินป่า เส้นทางเดิม คุ ณ จะเก็ บ หมั ด เด็ ด เอาไว้ ป ล่ อ ยช่ ว งกลางหรื อ ช่ ว งท้ า ยของ ปาฐกถาก็ได้ แต่ในประโยคเปิด เป้าหมายเดียวของคุณคือให้เหตุผล ว่ า ท� ำ ไมผู ้ ฟ ั ง จึ ง ควรก้ า วออกมาจากพื้ น ที่ ป ลอดภั ย และร่ ว มเดิ น ทาง พร้อมกับคุณไปสู่การค้นพบอันน่าทึ่ง อย่างทีเ่ จ. เจ. เอบรัมส์ (J. J. Abrams) เล่าเรือ่ งพลังของความลึกลับ ไว้ในปาฐกถา TED ของเขา เหตุผลหลักทีภ่ าพยนตร์เรือ่ ง Jaws มีอทิ ธิพล ต่อผู้ชมมากเป็นเพราะผู้ก�ำกับอย่างสตีเวน สปีลเบิร์ก ซ่อนฉลามไว้ ตลอดครึง่ แรกของหนัง คุณรูว้ า่ มันก�ำลังมาแน่ๆ แต่เพราะคุณมองไม่เห็น 230

T ED Talk s

มัน คุณจึงเกร็งจนแทบนั่งไม่ติด ระหว่างวางแผนปาฐกถา ไม่เสียหายอะไรที่คุณจะสวมวิญญาณ สปีลเบิร์กบ้าง อีดิธ วิดเดอร์ ท�ำแบบนั้นเลย เพียงแต่พูดถึงสัตว์ทะเล คนละชนิ ด เท่ า นั้ น เมื่ อ เธอกล่ า วปาฐกถาเรื่ อ งที่ ที ม ของเธอค้ น พบ ปลาหมึกยักษ์ แน่นอนว่าเธอต้องการบทเปิดทรงพลัง เธอฉายวิดีโอ อันน่าทึ่งของเจ้าปลาหมึกยักษ์เลยหรือเปล่า ไม่ใช่ครับ แทนที่จะท�ำ อย่างนัน้ เธอเปิดตัวด้วยภาพวาดอันน่าตืน่ ตาตืน่ ใจของคราเคน ปีศาจทะเล รูปร่างเหมือนปลาหมึกในต�ำนานของชาวนอร์เวย์ ซึ่งช่วยปูพื้นว่าเรื่อง ที่เธอจะเล่ามีรากฐานหยั่งลึกไปถึงต�ำนานโบราณ และด้วยการเล่าเรื่อง แบบเก็ บ ไม้ เ ด็ ด ไว้ ไ ม่ ใ ห้ เ ห็ น นี่ เ อง วิ น าที ที่ ป ลาหมึ ก ยั ก ษ์ ป รากฏตั ว จึงยิ่งเร้าใจมากขึ้นอีกร้อยเท่า นอกจากจะใช้ได้ผลกับสิ่งมีชีวิตที่น่าอัศจรรย์ใจแล้ว เทคนิคนี้ ยังใช้ได้ดกี บั ความส�ำเร็จครัง้ ยิง่ ใหญ่อนั น่าอัศจรรย์ใจด้วยเช่นกัน เฟยเฟย หลี่ (Fei-Fei Li) อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มาขึ้นเวที TED ในปี 2015 เพื่อน�ำเสนอผลงานอันโดดเด่นของเธอที่แสดงให้เห็นว่า ความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) ช่วย ให้คอมพิวเตอร์ระบุเนื้อหาของสิ่งที่ปรากฏในภาพถ่ายได้อย่างไร แต่เธอ ไม่ได้เริ่มจากสาธิตให้ดูในทันที ทว่าเริ่มจากวิดีโอของเด็กสามขวบก�ำลัง จ้องมองภาพและบอกว่าสิ่งที่อยู่ในภาพคืออะไร “มีแมวตัวหนึ่งนั่งอยู่ บนเตียง” “เด็กผู้ชายคนนั้นก�ำลังเล่นกับช้าง” แล้วเธอก็ท�ำให้เราเข้าใจ ว่าทักษะที่เด็กๆ แสดงออกมานี้มหัศจรรย์แค่ไหน และจะเกิดประโยชน์ ตามมามากเพียงใดถ้าเราฝึกคอมพิวเตอร์ให้พัฒนาความสามารถแบบ เดียวกันขึ้นมาได้ นี่เป็นการตั้งต้นอันงดงามที่เปิดทางสู่เรื่องราวผลงาน ของเธอ จากนั้นเมื่อเธอสาธิตปัญญาประดิษฐ์ที่ท�ำให้ผู้ฟังอ้าปากค้าง เรา ก็จดจ้องตาไม่กะพริบ ถ้ า คุ ณ ตั ด สิ น ใจว่ า จะยั่ ว ให้ ผู ้ ฟ ั ง อยากรู ้ โปรดจ� ำ ไว้ ว ่ า ยั ง คง เป็นเรื่องส�ำคัญมากที่จะต้องบอกทิศทางว่าคุณก�ำลังจะไปทางไหนและ Chris Anderson

231

ไปท�ำไม คุณไม่จำ� เป็นต้องฉายภาพปลาฉลามให้ดู แต่เราจ�ำเป็นต้องรูว้ า่ มันก�ำลังจะมา ปาฐกถาทุกเรื่องต้องการแผนที่ เพื่อให้รู้ว่าคุณก�ำลังจะ ไปไหน ตอนนีค้ ณ ุ อยูต่ รงไหน และเคยผ่านอะไรมาบ้าง ถ้าผูฟ้ งั ไม่รวู้ า่ เขาอยู่ ตรงไหนในโครงสร้างของปาฐกถา เขาจะหลงทางอย่างรวดเร็ว คุณสามารถสร้างบทเปิดโดยใช้แรงบันดาลใจจากอะไรก็ได้ที่ กล่าวมาข้างต้น และจะแทรกเทคนิคบางอย่างทีเ่ ราคุยกันก่อนหน้านีล้ งไป ด้วยก็ได้ อย่างเช่นเล่าเรือ่ งหรือท�ำให้คนหัวเราะ หลักส�ำคัญคือขอแค่ให้มนั เหมาะสมกับตัวคุณเองและสิ่งที่คุณก�ำลังพูดถึง ลองทดสอบกับเพื่อนๆ ดู ถ้ารู้สึกว่ามันฟังดูไม่เป็นธรรมชาติหรือเร้าอารมณ์เกินจริงก็เปลี่ยนซะ เพียงแต่จงจ�ำไว้ว่าเป้าหมายของคุณคือการโน้มน้าวใครบางคนภายใน เวลาไม่กนี่ าที ให้เขาเชือ่ ว่าปาฐกถานีจ้ ะคุม้ ค่ากับความสนใจทีเ่ ขาทุม่ เทให้ ตอนผมอยู ่ ใ นธุ ร กิ จ สิ่ ง พิ ม พ์ ผมกระตุ ้ น ให้ บ รรณาธิ ก ารและ นั ก ออกแบบของเราคิ ด ว่ า ปกหนั ง สื อ คื อ การรบในสงครามสองต่ อ เพื่อชิงความสนใจของผู้คน สมรภูมิแรกคือสงครามครึ่งวินาที กล่าวคือ ขณะทีใ่ ครบางคนกวาดสายตาผ่านแผงหนังสือ เรามีอะไรบนปกทีจ่ ะดึงดูด ความสนใจให้เขาหยุดดูสกั ครูไ่ หม ต่อจากนัน้ คือสงคราม 5 วินาที เมือ่ เขา หยุดเพือ่ ดูนติ ยสารของเราแล้ว บนปกมีเนือ้ หาใดน่าสนใจพอทีจ่ ะท�ำให้เขา เห็นแล้วอยากหยิบนิตยสารของเราไหม คุณอาจคิดแบบเดียวกันกับบทเปิดของปาฐกถา เพียงแต่เปลีย่ น ระยะเวลา ขัน้ แรกคือสงคราม 10 วินาที คุณจะท�ำอะไรได้บา้ งในช่วงแรก เริ่มบนเวที เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ฟังกระหายใคร่รู้ระหว่างที่คุณปูพื้นประเด็น หลักของปาฐกถา ขั้นที่สองคือสงคราม 1 นาที คุณจะใช้นาทีแรกอย่างไร เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ฟังจะตกลงเดินทางไปกับคุณตลอดทั้งปาฐกถา เทคนิคสี่อย่างข้างต้นเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยมเพื่อเอาชนะ สงครามทั้งสองขั้นตอน และจะช่วยให้ปาฐกถาของคุณท�ำหน้าที่ได้เต็มที่ คุณอาจจะอยากผสมผสานหลายเทคนิคส�ำหรับบทเปิดเรื่อง แต่ไม่ควร 232

T ED Talk s

พยายามใช้หมดทุกอย่าง เลือกเทคนิคที่ใช่ส�ำหรับคุณ แล้วคุณกับผู้ฟัง ที่สนอกสนใจเต็มร้อยก็จะพร้อมออกเดินทางไปด้วยกัน เจ็ดวิธีปิดท้ายอย่างทรงพลัง ถ้าคุณครองความสนใจผูฟ้ งั ไว้ได้ตลอดทัง้ ปาฐกถา โปรดอย่าท�ำพัง ด้วยตอนจบแบบราบเรียบ แดเนียล คาห์เนแมน อธิบายไว้อย่างชัดเจน ทั้งในหนังสือ Thinking, Fast and Slow และใน TED Talk ของเขาว่า การจดจ�ำเหตุการณ์หนึ่งกับการสัมผัสเหตุการณ์นั้นอาจแตกต่างกันมาก ในกรณีของการจดจ�ำนั้น ประสบการณ์ตอนท้ายสุดส�ำคัญมากจริงๆ สรุปสัน้ ๆ คือ ถ้าตอนจบไม่นา่ จดจ�ำ คนก็อาจไม่จดจ�ำปาฐกถานัน้ ด้วยเช่นกัน นี่คือวิธีปิดท้ายที่ ไม่ควรใช้ • “เอาละ เวลาของผมหมดแล้ว ผมจะสรุปจบตรงนี้แล้วกัน” (คุณหมายความว่าคุณมีอะไรจะพูดอีกเยอะแยะ แต่คุณเล่า ให้เราฟังไม่ได้เพราะคุณวางแผนมาไม่ดีอย่างนั้นหรือ) • “สุดท้ายนี้ ผมอยากขอบคุณทีมงานสุดเจ๋งของผมซึ่งอยู่ใน ภาพนี้ เดวิด, โจแอนนา, กาวิน, ซาแมนธา, ลี, อับดุล และ เฮซคียาห์ รวมถึงมหาวิทยาลัยและผู้สนับสนุนทุกคนครับ” (น่ารักนะ แต่คุณเห็นพวกเขาส�ำคัญกว่าความคิดของคุณ และ ส�ำคัญกว่าพวกเราที่เป็นผู้ฟังหรือ?!) • “เนือ่ งจากประเด็นนีส้ ำ� คัญยิง่ ฉันหวังว่าเราจะเริม่ ต้นบทสนทนา ใหม่ในหัวข้อนีร้ ว่ มกัน” (บทสนทนาเนีย่ นะ?! ไม่เชยไปหน่อยหรือ สนทนากันแล้วจะได้อะไรต่อล่ะ) • “อนาคตเต็มไปด้วยความท้าทายและโอกาส ทุกคนที่นี่มีใจ อยากสร้ า งความเปลี่ ย นแปลง เรามาฝั น ร่ ว มกั น เถอะครั บ จงสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เราอยากเห็นในโลกนี้” (สวยงาม Chris Anderson

233

• • •

จับใจ แต่ค�ำพูดเฝือๆ ไม่ช่วยอะไร) “ผมจะปิดท้ายด้วยวิดโี อนี้ ซึง่ สรุปประเด็นของผม” (ไม่! อย่าจบ ด้วยวิดีโอ จบด้วยค�ำพูดคุณเองสิ!) “นั่นคือบทสรุปของผม มีค�ำถามอะไรไหมครับ” (นี่ละคือวิธีสกัด ไม่ให้ผู้ชมปรบมือให้คุณ) “ขอโทษค่ะ ฉันไม่มีเวลาพูดถึงประเด็นส�ำคัญบางเรื่อง แต่หวัง ว่าอย่างน้อยส่วนที่ฉันพูดไปคงพอท�ำให้คุณเห็นภาพนะคะ” (ไม่ต้องมาขอโทษครับ! วางแผนให้รอบคอบกว่านี้สิ! งาน ของคุณคือกล่าวปาฐกถาที่ดีที่สุดภายในเวลาที่ม)ี “ท้ายที่สุด ฉันขอชี้ให้เห็นว่าองค์กรของฉันอาจจะแก้ปัญหานี้ ได้ หากได้รับทุนสนับสนุนเพียงพอ คุณร่วมเปลี่ยนแปลงโลก ไปกับเราได้ อ�ำนาจอยู่ในมือคุณแล้ว” (อ้อ ทั้งหมดนี้คือการ น�ำเสนอเพื่อระดมทุนบริจาคหรอกหรือ) “ขอบคุณที่เป็นผู้ฟังที่ยอดเยี่ยม ฉันรักทุกวินาทีที่ได้ยืนพูดกับ คุณตรงนี้ ฉันจะเก็บจ�ำประสบการณ์นไี้ ว้นานแสนนาน พวกคุณ ช่างอดทน และฉันเชื่อเหลือเกินว่าคุณจะน�ำสิ่งที่ได้ยินวันนี้ ไปท�ำอะไรสักอย่างที่แสนวิเศษ” (“ขอบคุณ” เฉยๆ ก็ได้นะ)

น่าพิศวงมากทีเ่ ห็นว่ามีปาฐกถาจ�ำนวนมากแค่ไหนทีจ่ บลงอย่าง น่าผิดหวัง และอีกมากแค่ไหนที่มีบทปิดท้ายแย่ๆ ต่อกันเป็นชุด ราวกับ ผูพ้ ดู ท�ำใจลงจากเวทีไม่ได้ ถ้าคุณไม่เตรียมบทปิดท้ายให้ดี คุณอาจพบว่า ตัวเองเพิ่มประโยคแล้วประโยคเล่าไปเรื่อยๆ สุดท้ายนี้ ประเด็นส�ำคัญ ก็คือเรื่องที่ผมพูดไปว่า… ดังนั้น กล่าวโดยสรุปคือ… และขอเน้นย�้ำ อีกครัง้ นะครับ เหตุผลทีเ่ รือ่ งนีส้ ำ� คัญเป็นเพราะ… และแน่นอน คุณจ�ำเป็น ต้องจ�ำไว้ว่า… อ้อ อีกเรื่องสุดท้าย… มันเหนื่อยนะครับ และมันจะท�ำลาย พลังของปาฐกถา นี่คือเจ็ดวิธีปิดท้ายปาฐกถาที่ดีกว่านั้นครับ 234

T ED Talk s

ถอยกล้องมามองภาพกว้าง คุณใช้เวลาในปาฐกถาอธิบายผลงานชิ้นพิเศษไปแล้ว ท�ำไม ตอนจบไม่ลองฉายให้เราเห็นภาพใหญ่ ภาพชุดความเป็นไปได้ทกี่ ว้างขวาง กว่าเดิม อันเป็นผลมาจากงานของคุณเอง เดวิด อีเกิลแมน (David Eagleman) ชี้ให้เห็นว่า เราอาจเปรียบ สมองมนุษย์เป็นเหมือนเครื่องอ่านแบบแผน ถ้าคุณเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ๆ เข้าสู่สมองในรูปกระแสไฟฟ้า สมองจะตีความว่าข้อมูลเหล่านั้นมาจาก อวัยวะรับสัมผัสตัวใหม่ ท�ำให้คุณหยั่งรู้แง่มุมใหม่ๆ ของโลกได้ทันที เขา ปิดท้ายโดยเสนอความเป็นไปได้อันไร้ขีดจ�ำกัดที่จะตามมา ลองจินตนาการว่านักบินอวกาศคนหนึ่งสามารถรับรู้ถึงสภาวะ ต่างๆ ของสถานีอวกาศนานาชาติว่าปกติดีไหม หรือในท�ำนอง เดียวกัน ถ้าคุณรับรู้สภาวะต่างๆ ของสุขภาพตัวเองที่คุณมอง ไม่เห็น เช่น ระดับน�้ำตาลในเลือดหรือการท�ำงานของจุลินทรีย์ ในร่ า งกาย หรื อ ถ้ า คุ ณ มองเห็ น ได้ 360 องศา หรื อ มองเห็ น คลื่นรังสีอินฟราเรดหรืออัลตราไวโอเลต ประเด็นส�ำคัญคือ เมื่อ เราก้าวเข้าสู่อนาคต เราจะสามารถเลือกอุปกรณ์เสริมเหล่านี้ ให้ตัวเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ เราไม่จ�ำเป็นต้องรอให้ธรรมชาติมอบ สัมผัสพิเศษให้เราตามเวลาทีเ่ ธอเห็นควรอีกต่อไป แต่ธรรมชาติจะ ปฏิบตั ติ อ่ เราเหมือนพ่อแม่ทดี่ ี โดยมอบเครือ่ งมือทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ ให้เรา ออกไปก�ำหนดวิถที างของตัวเอง บัดนีค้ ำ� ถามก็คอื คุณอยากออกไป สัมผัสจักรวาลของคุณอย่างไร

เชิญชวนให้ลงมือท�ำ ถ้าคุณมอบความคิดอันทรงพลังให้แก่ผฟู้ งั ไปแล้ว ท�ำไมไม่ปดิ ท้าย ด้วยการผลักดันให้เขาลงมือท�ำตามความคิดนั้นล่ะ เอมี คัดดี อาจารย์จากวิทยาลัยธุรกิจฮาร์วาร์ด สรุปปิดท้าย ปาฐกถาของเธอเรื่องการปรับเปลี่ยนท่าทางเพื่อเสริมพลังอ�ำนาจ โดย Chris Anderson

235

เชิญชวนผู้ฟังให้ลองท�ำในชีวิตประจ�ำวัน และส่งต่อความรู้นี้ให้ผู้อื่น

โปรดส่งต่อความรูน้ ี้ แบ่งปันสิง่ นีก้ บั ผูอ้ นื่ เพราะคนทีจ่ ะได้ประโยชน์ มากที่สุดคือคนที่ไม่มีทรัพยากร ไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีสถานะสูงๆ และไม่มอี ำ� นาจใด มอบความรูน้ ใี้ ห้เขา เพราะเขาสามารถท�ำได้เอง เวลาอยู่คนเดียว โดยใช้แค่ร่างกายตัวเอง พื้นที่ส่วนตัว และเวลา สองนาที แล้วมันจะเปลีย่ นผลลัพธ์ในชีวติ ของเขาไปอย่างมหาศาล

บางทีคำ� เชิญชวนทีเ่ ปีย่ มความเชือ่ มัน่ นีอ้ าจมีสว่ นช่วยให้ปาฐกถา ดังกล่าวประสบความส�ำเร็จในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ในปาฐกถาของจอน รอนสัน (Jon Ronson) เรื่องการประจาน ผูอ้ นื่ ในทีส่ าธารณะ เขาปิดท้ายด้วยค�ำเชิญชวนทีท่ งั้ สัน้ กระชับและชัดเจน อย่างน่าชื่นชม สิ่งที่ยอดเยี่ยมของสื่อสังคมออนไลน์คือ มันมอบเสียงให้คนที่ไม่มี สิทธิมีเสียง แต่ตอนนี้เราก�ำลังสร้างสังคมที่คอยจับจ้องตรวจสอบ ซึ่งหนทางอยู่รอดที่ฉลาดที่สุดคือ กลับไปไม่ออกสิทธิออกเสียง อีกครั้ง เราอย่าท�ำอย่างนั้นกันเลยครับ

ประกาศปณิธานของตัวเอง การเชิญชวนให้ผู้ฟังลงมือท�ำนั้นเป็นวิธีหนึ่ง แต่บางครั้งผู้พูดก็ เรียกคะแนนได้โดยประกาศปณิธานอันยิง่ ใหญ่ของตัวเอง ตัวอย่างชัดเจน ที่สุดของ TED คือตอนที่บิลล์ สโตน (Bill Stone) พูดถึงความเป็นไปได้ที่ มนุษย์จะกลับไปเหยียบดวงจันทร์ และกล่าวอย่างเชื่อมั่นว่าการเดินทาง ดังกล่าวจะสร้างอุตสาหกรรมใหม่ขนาดมหึมา อีกทั้งยังเปิดโลกแห่งการ ส�ำรวจอวกาศให้คนรุ่นใหม่ แล้วเขาก็พูดว่า

236

T ED Talk s

ผมอยากทิ้งท้ายด้วยการปักธงประกาศตัวที่ TED เลยว่า ผมตั้งใจ จะเป็นผู้น�ำการเดินทางนี้

ค�ำประกาศปณิธานของตัวเองเช่นนัน้ สร้างพลังได้อย่างเหลือเชือ่ จ�ำตัวอย่างเรื่องอีลอน มัสก์ จากบทที่ 1 ได้ไหมครับ “ส�ำหรับผม ผม จะไม่มีวันยอมแพ้ และผมหมายความอย่างนั้นจริงๆ … ไม่มีวัน” นี่คือ กุญแจส�ำคัญที่พลิกฟื้นคืนพลังให้ทีมสเปซเอ็กซ์ของเขา ในปี 2011 นักว่ายน�ำ้ ชือ่ ไดอานา ไนแยด (Diana Nyad) กล่าวใน ปาฐกถา TED ว่าเธอพยายามท�ำสิง่ ทีไ่ ม่เคยมีใครท�ำส�ำเร็จมาก่อน นัน่ คือ การว่ายน�ำ้ จากคิวบาไปฟลอริดา เธอเคยพยายามมาแล้วสามครัง้ บางครัง้ สูท้ นว่ายน�้ำไม่หยุดถึง 50 ชั่วโมง ฝ่ากระแสน�้ำเชี่ยวกรากและแมงกะพรุน ที่ มี พิ ษ เกื อ บถึ ง ตาย แต่ สุ ด ท้ า ยก็ ล ้ ม เหลว ในตอนจบของปาฐกถา เธอท�ำให้ผู้ชมตะลึงงันด้วยค�ำพูดนี้ มหาสมุทรยังคงอยู่ที่เดิมตรงนั้น และความหวังนี้ยังด�ำรงอยู่ ฉัน ไม่อยากเป็นผูห้ ญิงบ้าๆ ทีท่ ำ� สิง่ นีป้ แี ล้วปีเล่า พยายามแล้วล้มเหลว พยายามแล้วล้มเหลว พยายามแล้วล้มเหลวเรื่อยไป … ฉันว่ายน�้ำ จากคิวบาไปฟลอริดาได้ และฉันจะว่ายน�ำ้ จากแคนาดาไปฟลอริดา ให้ได้ด้วย

แน่นอนครับ สองปีต่อมา เธอกลับมายังเวที TED และบรรยาย ว่าเธอท�ำมันส�ำเร็จได้อย่างไรในวัย 64 หากคุณคิดจะประกาศปณิธานอันยิ่งใหญ่ปิดท้ายปาฐกถา คุณ ย่อมต้องใช้วจิ ารณญาณประเมินให้ดี ก็เหมือนกับทุกๆ เรือ่ งแหละครับ ถ้าท�ำ พลาดจะท�ำให้คณ ุ ดูประดักประเดิดและสูญเสียความน่าเชือ่ ถือในภายหลัง แต่ถา้ คุณหลงใหลและกระตือรือร้นทีจ่ ะเปลีย่ นความคิดให้เป็นการกระท�ำ ก็เหมาะสมแล้วที่จะลุกขึ้นมาประกาศตัว

Chris Anderson

237

ค่านิยมและวิสัยทัศน์ คุณเปลีย่ นสิง่ ทีพ่ ดู ให้เป็นวิสยั ทัศน์ทสี่ ร้างแรงบันดาลใจหรือความ หวังถึงสิ่งที่เป็นไปได้ในอนาคตได้ไหม ผู้พูดหลายคนพยายามท�ำเช่นนั้น ริตา เพียร์สัน (Rita Pierson) ผู้ล่วงลับ เคยกล่าวปาฐกถาที่งดงามไว้ว่า ครูควรสร้างความสัมพันธ์อนั จริงแท้กบั เด็กๆ เธอปิดท้ายปาฐกถาอย่างนี้ ครับ การสอนและการเรียนรู้ควรน�ำมาซึ่งความปีติสุข โลกของเราจะมี พลังเพิม่ ขึน้ อีกมากแค่ไหนถ้าเรามีเด็กๆ ทีก่ ล้าเสีย่ ง ไม่กลัวทีจ่ ะคิด และมีผปู้ ลุกปัน้ สนับสนุน เด็กๆ ทุกคนควรจะมีคนคอยปลุกปัน้ ซึง่ อาจเป็นผูใ้ หญ่สกั คนทีไ่ ม่มวี นั หมดหวังในตัวเขา ใครสักคนทีเ่ ข้าใจ พลังของการเชือ่ มสัมพันธ์ และเชือ่ มัน่ ว่าเด็กๆ สามารถเป็นในสิง่ ที่ ดีทสี่ ดุ ทีเ่ ขาจะเป็นได้ แล้วงานนีย้ ากไหม โอ พระเจ้า พนันได้เลยว่า ยากแหงๆ แต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เราท�ำสิ่งนี้ได้ค่ะ เราคือผู้ให้การ ศึกษา เราเกิดมาเพื่อสร้างความแตกต่าง ขอบคุณมากค่ะ

ริตาเสียชีวติ หลังจากกล่าวปาฐกถานีไ้ ม่กเี่ ดือน แต่สารจากใจเธอ ยังกระทบใจผู้คนอย่างต่อเนื่อง คุณครูคนหนึ่งชื่อคิตตี บัวต์นอตต์ (Kitty Boitnott) เขียนค�ำสดุดีไว้อย่างจับใจ “ฉันไม่รู้จักเธอ และฉันไม่รู้ เรือ่ งราว ของเธอจนกระทัง่ วันนี้ แต่เมื่อได้ฟังปาฐกถาในวันนี้ เธอสัมผัสและเข้าถึง ชีวิตของฉัน และย�้ำเตือนเหตุผลที่ท�ำให้ฉันเป็นครูมายาวนานกว่าสาม ทศวรรษ” การสรุปจบที่น่าพึงพอใจ บางครัง้ ผูพ้ ดู ก็คน้ พบหนทางทีจ่ ะวางกรอบให้กบั ประเด็นทีพ่ ดู ไป เสียใหม่ ทัง้ ยังท�ำได้อย่างหมดจดงดงาม นักบ�ำบัดทีช่ อื่ ว่าเอสเธอร์ เพอร์เรล (Esther Perel) เรียกร้องให้เราใช้วิธีใหม่ที่ซื่อตรงกว่าเดิมเพื่อจัดการกับ การนอกใจ ซึง่ รวมถึงความเป็นไปได้ทจี่ ะให้อภัยด้วย เธอสรุปจบแบบนีค้ รับ 238

T ED Talk s

ฉันมองการนอกใจจากสองมุม ด้านหนึ่งคือการทรยศหักหลังและ ความเจ็บปวด อีกด้านหนึ่งคือการเติบโตและค้นพบตัวเอง พูด อีกอย่างคือ มันส่งผลกระทบต่อคุณอย่างไร และมันมีความหมาย อย่างไรกับฉัน ดังนัน้ เมือ่ คูส่ มรสมาหาฉันหลังจับได้วา่ มีการนอกใจ ฉันจะบอกเขาว่าอย่างนี้ค่ะ ทุกวันนี้ในสังคมตะวันตก คนส่วนใหญ่ แต่งงานหรือมีความสัมพันธ์สองหรือสามครั้ง และในบางกรณีอาจ เกิดขึ้นกับคนเดิมด้วย การแต่งงานครั้งแรกของคุณจบลงแล้ว คุณ อยากจะสร้างครั้งที่สองด้วยกันไหมล่ะคะ

อแมนดา พาล์มเมอร์ ผู้ท้าทายอุตสาหกรรมดนตรีให้ทบทวน รูปแบบทางธุรกิจเสียใหม่ กล่าวปิดท้ายไว้อย่างนี้ครับ ฉันคิดว่าคนเรามัวหมกมุน่ อยูก่ บั ค�ำถามผิดๆ อย่าง “จะบังคับให้คน จ่ายเงินค่าเพลงได้อย่างไร” ท�ำไมเราไม่เปลีย่ นมาถามว่า “จะปล่อย ให้คนมาจ่ายค่าเพลงให้เราเองได้อย่างไร”

ในทั้งสองกรณี ผู้พูดปิดท้ายด้วยค�ำถามที่น่าประหลาดใจ ซึ่ง มาพร้อมกับช่วงเวลาน่าพึงใจอันเกิดจากมุมมองทีต่ กผลึกอย่างลึกซึง้ และ การคลี่คลาย ท�ำให้คนดูลุกขึ้นยืนปรบมือชื่นชมอย่างยาวนาน ความสมมาตรของเรื่องเล่า ปาฐกถาที่สร้างขึ้นบนแก่นเรื่องอย่างละเอียดรอบคอบจะสร้าง บทสรุปส่งท้ายทีน่ า่ พึงพอใจได้ดว้ ยการเชือ่ มโยงกลับไปยังบทเปิด สตีเวน จอห์นสัน เปิดปาฐกถาของเขาที่ตั้งค�ำถามว่า ความคิดดีๆ มาจากไหน โดยเผยให้เห็นว่าร้านกาแฟในย่านอุตสาหกรรมของอังกฤษส�ำคัญอย่างไร ร้านเหล่านีเ้ ป็นแหล่งรวมตัวของนักคิดทีม่ าจุดประกายความคิดให้กนั และ กัน เมือ่ บรรยายใกล้จบ เขาเล่าเรือ่ งราวทรงพลังเกีย่ วกับก�ำเนิดของจีพเี อส ซึ่งแสดงให้เห็นประเด็นที่เขาต้องการสื่อว่าความคิดเกิดขึ้นได้อย่างไร Chris Anderson

239

และจากนั้ น เขาก็ เ อ่ ย ข้ อ เท็ จ จริ ง ข้ อ หนึ่ ง ขึ้ น มาอย่ า งเฉี ย บแหลมว่ า ในสัปดาห์นั้นผู้ฟังทุกคนน่าจะได้ใช้จีพีเอสท�ำสิ่งต่างๆ เช่น … ค้นหา ร้านกาแฟที่ใกล้ที่สุด เสียงฮือฮาและปรบมือด้วยความชื่นชมดังขึ้นในหมู่ ผู้ฟัง เพราะเรื่องเล่านั้นวกกลับมาบรรจบที่จุดเริ่มต้นอย่างสมบูรณ์ บทกวีบันดาลใจ ถ้าปาฐกถาของคุณเปิดใจผู้ฟังได้แล้ว บางครั้งคุณอาจปิดท้าย ด้วยภาษากวีที่สัมผัสลึกไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ นี่ไม่ใช่วิธีที่จะหยิบมาลอง ใช้กันง่ายๆ นะครับ แต่เมื่อใดที่ใช้แล้วได้ผล มันจะงดงามมาก นี่คือค�ำพูด ปิดท้ายปาฐกถาเรื่องความเปราะบางทางจิตใจของเบรเน บราวน์ นี่คือสิ่งที่ฉันค้นพบ จงปล่อยให้คนอื่นเห็นตัวตนของเรา เห็นลึก เข้าไปข้างใน เห็นถึงความเปราะบางของเรา จงรักจนหมดใจ แม้ ไม่มีอะไรรับประกันว่าจะได้รับรักตอบ … จงรู้สึกขอบคุณและปีติ ยินดีในห้วงเวลาที่เราหวาดกลัวสุดขีด และเกิดสงสัยว่า ฉันรักเธอ มากขนาดนี้ได้ไหมนะ? ฉันเชื่ออย่างลุ่มหลงในสิ่งนี้ได้หรือเปล่า? ฉันก้าวร้าวดุดนั ขนาดนีก้ บั เรือ่ งนีไ้ ด้ไหม? เพียงเพือ่ เราจะสามารถ หยุดนิง่ … และพูดว่า “ฉันรูส้ กึ ขอบคุณเหลือเกิน เพราะเมือ่ จิตใจฉัน เปราะบาง นั่นแปลว่าฉันยังมีชีวิตอยู่” และสิ่งสุดท้ายซึ่งฉันคิดว่า น่าจะส�ำคัญที่สุดคือ จงเชื่อว่าตัวเราเองนั้นดีพอ เพราะฉันเชื่อว่า เมื่อเราเริ่มต้นจากจุดที่เราบอกตัวเองว่าเราดีพอ เราก็จะหยุด กรีดร้องและเริม่ รับฟัง เราจะอ่อนโยนและเมตตาคนรอบข้างมากขึน้ ทั้งยังอ่อนโยนและเมตตาตัวเราเองมากขึ้นด้วย ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ ฉันอยากบอกค่ะ ขอบคุณค่ะ

ไบรอัน สตีเวนสัน ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ปิดท้าย ปาฐกถาที่ประสบความส�ำเร็จถล่มทลายเรื่องความอยุติธรรมของระบบ คุกในสหรัฐอเมริกาด้วยข้อความนี้ 240

T ED Talk s

ผมมาที่ TED เพราะผมเชื่อว่าพวกคุณส่วนใหญ่เข้าใจว่าเส้นทาง แห่งคุณธรรมในจักรวาลนี้ช่างแสนยาวไกล แต่มันย่อมโค้งเข้าหา ความยุติธรรม เข้าใจว่าเราไม่สามารถวิวัฒนาการเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ได้จนกว่าเราจะห่วงใยในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรี ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เข้าใจว่าการอยู่รอดของเรานั้นเชื่อมโยงกับ การอยู่รอดของทุกคน เข้าใจว่าวิสัยทัศน์ของเราด้านเทคโนโลยี การออกแบบ สิง่ บันเทิง และความคิดสร้างสรรค์ จะต้องหลอมรวม กับวิสัยทัศน์ของมนุษยธรรม ความเมตตา และความยุติธรรม และเหนือสิ่งอื่นใด ส�ำหรับพวกคุณที่มีความเชื่อเช่นนี้เหมือนกัน ผมมาที่นี่เพียงเพื่อบอกคุณว่า อย่าละสายตาไปจากเป้าหมาย อันงดงามนี้ สู้ต่อไปครับ

ผมขอย�ำ้ อีกทีนะครับ คุณลองใช้รปู แบบนีเ้ ล่นๆ ไม่ได้ มันจะได้ผล ก็ต่อเมื่อส่วนอื่นๆ ของปาฐกถาได้ปูทางมาอย่างดี และผู้พูดมั่นใจแล้ว ว่าตนมีสิทธิสร้างอารมณ์ความรู้สึกนั้นในใจผู้ฟัง ซึ่งหากใช้โดยผู้พูด ที่เหมาะสมและใช้ในจังหวะที่เหมาะสม การปิดท้ายด้วยวิธีนี้อาจมอบ ประสบการณ์แสนวิเศษให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าคุณจะเลือกปิดท้ายปาฐกถาอย่างไร ขอให้คุณวางแผน อย่างดี บทส่งท้ายที่สง่างามหนึ่งย่อหน้า ตามด้วยค�ำพูดเรียบง่ายอย่าง “ขอบคุณ” จะเป็นฉากจบทีน่ า่ พอใจส�ำหรับความพยายามของคุณ จึงควรค่า ที่คุณจะขบคิดและวางแผนให้ดี

Chris Anderson

241

บนเวที

Chris Anderson

243

14 เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ฉันจะใส่อะไรดี?

ผูพ้ ดู หลายคนกังวลเรือ่ งเสือ้ ผ้าทีค่ วรสวมใส่เพือ่ สร้างความประทับใจ สูงสุด ผมคงเป็นคนสุดท้ายทีเ่ ขาควรมาขอค�ำปรึกษา เพราะผมเป็นผูช้ าย ที่เคยปรากฏตัวบนเวทีในการประชุมปีหนึ่งด้วยเสื้อสเวตเตอร์แขนกุด สีเหลือง สวมทับเสื้อยืดสีด�ำสุดเก๋และกางเกงผ้าสีด�ำ พลางคิดว่าตัวเอง ดูเท่สุดๆ ขณะที่ผู้ฟังสงสัยกันว่า ท�ำไมอีตานี่ถึงแต่งตัวเป็นผึ้ง? ดังนัน้ ผมขอยกส่วนนีใ้ ห้เคลลี สเตตเซล ผูอ้ ำ� นวยการฝ่ายเนือ้ หา ของ TED ซึง่ มีสไตล์ทยี่ อดเยีย่ มและเก่งกาจเป็นเลิศในการท�ำให้ผพู้ ดู รูส้ กึ ผ่อนคลาย นี่คือค�ำแนะน�ำของเธอครับ เคลลี สเตตเซล เขียน ความกังวลเรือ่ งเครือ่ งแต่งกายเป็นสิง่ สุดท้ายทีค่ ณ ุ อยากเจอเมือ่ เวลาขึ้นเวทีใกล้เข้ามา และที่จริงการเลือกเสื้อผ้าเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณขีดฆ่า ออกจากรายการสิ่งที่ต้องท�ำได้ตั้งแต่เนิ่นๆ Chris Anderson

245

ในทุกสถานการณ์ สิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ คือ คุณควรสวมใส่อะไรทีท่ ำ� ให้คณ ุ รูส้ กึ ดีเยีย่ ม ส�ำหรับเวที TED เราชอบเสือ้ ผ้าค่อนข้างล�ำลองทีใ่ ห้ความรูส้ กึ ว่าเรามาพักผ่อนร่วมกัน แต่งานประชุมอืน่ อาจคาดหวังเสือ้ สูทและเนกไท คุณคงไม่อยากให้ความคิดแรกที่ผุดขึ้นในหัวของผู้ฟังโดยไม่รู้ตัวเมื่อเขา เห็นคุณคือข้อใดข้อหนึ่งจากรายการต่อไปนี้ จริงจังเกินไป ชุ่ย ไร้รสนิยม น่าเบื่อ หรือ พยายามมากเกินไป แต่ถ้าคุณหลีกเลี่ยงกับดักเหล่านี้ได้ การสวมใส่อะไรที่ท�ำให้คุณรู้สึกดีจะช่วยให้คุณมีท่าทีมั่นใจแบบสบายๆ และผู้ฟังจะตอบสนองด้วยดี เชื่อไหมคะว่าเสื้อผ้าที่สวมช่วยให้คุณสร้าง ความสัมพันธ์กับผู้ฟังได้ก่อนที่คุณจะพูดค�ำแรกเสียอีก ขณะทีค่ ณ ุ คิดว่าจะสวมใส่อะไร มีคำ� ถามทีค่ วรถามอยูส่ องสามข้อ เช่น งานนีก้ ำ� หนดรูปแบบการแต่งตัวไหม? หรือ ผูฟ้ งั น่าจะแต่งตัวแบบไหน? ซึ่งคุณก็ควรจะแต่งตัวคล้ายๆ กัน แต่ให้ดูภูมิฐานกว่านิดหนึ่ง ทีมงานจะถ่ายวิดโี อคุณหรือเปล่า? ถ้าใช่ หลีกเลีย่ งสีขาวสว่างจ้า (เพราะท�ำให้แสงในภาพฟุ้ง) หรือด�ำสนิท (คุณจะดูเหมือนมีแต่ศีรษะลอย ไปมา) หรือเสื้อผ้าที่มีลายเล็กๆ ถี่ๆ (อาจท�ำให้เกิดประกายภาพลายตา ที่ดูแปลกประหลาดในกล้อง) คุณจะใช้ไมโครโฟนติดเหนือหูไหม? อุปกรณ์นี้มีความเสี่ยง อยู่นะคะ มีหลายครั้งที่พอผู้พูดเริ่มพูดก็มีเสียงกรอบแกรบประหลาดๆ ดังระเบิดขึ้นมาจากไหนไม่รู้ นั่นคือเสียงต่างหูกระทบกับไมโครโฟนที่ ติดไว้ โปรดหลีกเลี่ยงต่างหูห้อยยาวๆ นะคะ! หนวดเคราของคุณผู้ชาย ก็อาจท�ำให้เกิดเสียงขูดขีดกับไมโครโฟนได้เช่นกัน ถ้าคุณจะเลือกเครื่องประดับ หลีกเลี่ยงก�ำไลกรุ๊งกริ๊งหรืออะไรที่ แวววาวและอาจสะท้อนแสง ผ้าพันคอเป็นวิธีเพิ่มสีสันที่ดี ในกรณีที่คุณ เลือกสวมใส่เสื้อผ้าสีเรียบๆ คุณน่าจะต้องเหน็บแบตเตอรีข่ องไมโครโฟนไว้กบั เข็มขัด ซึง่ คุณ จะรูส้ กึ มัน่ ใจมากทีส่ ดุ ถ้ามีเข็มขัดทีแ่ ข็งแรงหรือขอบกางเกงหรือกระโปรง ที่คุณสามารถเหน็บก้อนแบตเตอรี่ได้ 246

T ED Talk s

เวทีจะหน้าตาเป็นอย่างไร? คุณควรเลือกเสื้อผ้าที่ท�ำให้คุณ โดดเด่นออกมาจากฉากหลัง ให้คิดว่าคุณแต่งตัวเพื่อผู้ฟังที่นั่งแถวหลัง ลิ น ดา ไคลแอตต์ - เวย์ แ มน (Linda Cliatt-Wayman) ขึ้ น พู ด ที่ ง าน TEDWomen ในชุดสีชมพูเจิดจ้าสวยงามทีท่ ำ� ให้เธอมัน่ ใจว่าจะไม่ถกู กลืน ไปกับฉาก สายตาทุกคู่จับจ้องอยู่ที่เธอตั้งแต่วินาทีแรกที่ขึ้นเวทีจนถึง วินาทีที่ปรบมือตอนจบ ผู้ฟังชอบสีสด จัดจ้าน และกล้องก็ชอบเช่นเดียวกันค่ะ เมื่ออยู่บนเวที เสื้อผ้าที่เข้าทรงจะดูดีกว่าเสื้อผ้าที่หลวมโพรก ลองหาเสือ้ ผ้าทีต่ อ้ งแสงไฟแล้วให้ภาพเงาทีส่ วยคม และต้องแน่ใจว่าขนาด พอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป เป็นเรือ่ งดีหากคุณเลือกเสือ้ ผ้าตามแนวทางเหล่านีไ้ ด้ แต่ในขณะ เดียวกัน การแสดงออกถึงสไตล์ส่วนตัวอาจชนะทุกสิ่ง ไม่กี่สัปดาห์ก่อน งาน TED2015 เราส่งข้อความเตือนความจ�ำครั้งสุดท้ายไปให้ผู้พูด ซึ่ง รายละเอียดในนั้นมีค�ำแนะน�ำที่ว่าผู้ชายไม่ควรผูกเนกไทรวมอยู่ด้วย พิธีกรรายการวิทยุชื่อโรมัน มาร์ส (Roman Mars) ตอบกลับมาว่า “ท�ำไม ต้องห้ามผูกเนกไท มันดูดอี อก” เราบอกเขาไปว่า ถ้าเนกไทเป็นเอกลักษณ์ ส�ำคัญของเขา ก็ไม่ตอ้ งสนใจค�ำแนะน�ำของเรา เขาจึงผูกเนกไท ซึง่ เขารูส้ กึ ดีมาก ดูดีและเหมาะเจาะลงตัว นักออกแบบหนังสือที่ชื่อชิป คิดด์ (Chip Kidd) ก็ฉกี กฎห้ามผูกเนกไทของ TED อย่างสนุกสนาน ด้วยสไตล์ทโี่ ดดเด่น ของเขาเอง ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าจะใส่อะไรดี นัดวันช็อปปิ้งกับเพื่อนที่คุณ เชื่อมั่นในรสนิยม บางครั้งภาพที่คุณเห็นตัวเองในกระจกอาจไม่เหมือน กับภาพทีค่ นอืน่ มองเห็นคุณ ฉันเองก็ทำ� แบบนีเ้ กือบทุกครัง้ และครัง้ ไหน ไม่ได้ท�ำจะรู้สึกเสียใจทีหลังเสมอ ความเห็นของคนอื่นมีคุณค่ามากนะคะ ก่อนขึ้นเวที ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเสื้อผ้าของคุณรีดเรียบเนี้ยบ เสื้อผ้ายับย่นเป็นวิธีง่ายที่สุดที่จะส่งสัญญาณออกไปว่าคุณไม่ได้ทุ่มเท กั บ งานนี้ม ากนัก ถ้า คุณพูด ช่ว งท้า ยๆ ของวัน ก็ควรเตรียมเสื้อผ้า Chris Anderson

247

ใส่ไม้แขวนเอาไว้เพื่อเปลี่ยนตอนใกล้ถึงเวลาน�ำเสนอ บทเรียนส�ำคัญ ข้อหนึ่งที่ฉันเรียนรู้จากความผิดพลาดคือ ถ้าคุณวางแผนว่าจะใช้เตารีด ของโรงแรม คุณควรรีดเสื้อผ้าในคืนก่อนหน้า และทดลองรีดกับผ้าขนหนู ก่อน เตารีดพวกนีม้ กั ไม่ได้อยูใ่ นสภาพดี และอาจรัว่ หรือสกปรก (ทีม TED Fellows ถึงกับน�ำเตารีดไอน�ำ้ ส่วนตัวขนาดเล็กแบบพกพาได้มาด้วย เพือ่ ช่วยผู้พูดที่เสื้อผ้ายับ) คุณควรลองซ้อมพูดโดยสวมใส่เสื้อผ้าที่วางแผนว่าจะใส่จริง ฉัน จ�ำได้ว่ามีผู้พูดคนหนึ่งที่เสื้อผ้าเธอหลุดเลื่อนตั้งแต่เริ่มพูดแรกๆ สายเสื้อ ชัน้ ในทัง้ สองข้างจึงหลุดลงมาจากไหล่และห้อยอยูท่ แี่ ขนเกือบตลอดเวลา ที่กล่าวปาฐกถา ทีมตัดต่อของเราสามารถเสกให้คุณไม่เห็นข้อผิดพลาด ดังกล่าวในวิดีโอ แต่เรื่องแบบนี้หลีกเลี่ยงได้อย่างสิ้นเชิงหากคุณซ้อม โดยสวมชุดจริง พร้อมตัวช่วยเป็นเข็มกลัดอีกสองสามตัว ย�้ำอีกครั้งนะคะ สิ่งส�ำคัญที่สุดคือ ขอแค่คุณสวมใส่อะไรที่เพิ่ม ความมั่นใจของคุณ นี่เป็นสิ่งที่คุณควบคุมได้ล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยลดเรื่อง กังวลลงไปอย่างหนึ่ง และเพิ่มสิ่งที่ช่วยเสริมความมั่นใจให้คุณได้อีก อย่างหนึ่ง กลับไปที่คริสค่ะ ขอบคุณครับ เคลลี พวกเราจ�ำที่เคลลีบอกไว้ให้ดีนะครับ! และเมือ่ เตรียมเรือ่ งนีเ้ สร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าไปคิดมากกับมันอีก เรื่องที่คุณหลงใหลและความคิดของคุณส�ำคัญกว่าภาพลักษณ์มาก เมื่อศาสตราจารย์แบร์รี ชวาร์ตซ์ ปรากฏตัวบนเวที TED ใน ออกซฟอร์ด เพื่อพูดเรื่องความย้อนแย้งของการมีทางเลือก (paradox of choice) วันนั้นเป็นวันกลางฤดูร้อนที่ร้อนมาก เขาสวมเสื้อยืดกับกางเกง ขาสั้น เขาบอกผมว่า นี่ถ้ารู้ว่าเราจะถ่ายวิดีโอ เขาจะไม่แต่งตัวแบบนี้ แต่นั่นก็ไม่ได้หยุดยั้งความนิยมในปาฐกถาของเขาที่ยอดชมพุ่งสูงถึง 248

T ED Talk s

เจ็ดล้านครั้ง อแมนดา พาล์มเมอร์ กล่าวว่า สิ่งเดียวที่เธอเสียดายในการ เตรียมตัวพูดของเธอคือ เธอดันเลือกเสื้อสีเทาที่กลายเป็นสีดำ� ใต้วงแขน เมื่อเหงื่อออก แต่ผู้ฟังคิดว่ามันคือส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตแบบฉีกกฎ เกณฑ์ของเธอ และปาฐกถานั้นก็ได้รับความนิยมมหาศาล ทั้งตอนพูดสด และออนไลน์ ผมขอสรุปดังนี้นะครับ 1. ท�ำตามที่เคลลีบอก 2. ตัดสินใจเลือกเสื้อผ้าที่คุณใส่แล้วรู้สึกดีไว้แต่เนิ่นๆ 3. มุ่งความสนใจไปยังความคิดที่จะน�ำเสนอ ไม่ใช่เสื้อผ้า!

Chris Anderson

249

15 เตรียมความพร้อมทางใจ ฉันจะควบคุมความประหม่าได้อย่างไร?

ความกลัวจะกระตุ้นการตอบสนองแบบมนุษย์ยุคโบราณ นั่นคือสู้ หรือไม่กห็ นี เคมีในร่างกายของคุณจะตืน่ ตัว เตรียมพร้อมโจมตีหรือเผ่นหนี ซึง่ สามารถวัดได้จากระดับอะดรีนาลีนทีพ่ ลุง่ พล่านในกระแสเลือดของคุณ อะดรีนาลีนช่วยสร้างพลังให้คณ ุ กระโจนหาทีป่ ลอดภัยในทุง่ หญ้า สะวันนา และแน่นอนว่ามันสามารถท�ำให้คุณรู้สึกมีพลังและตื่นเต้นยาม อยู่บนเวที แต่ถ้ามีมากไปก็ไม่ดี มันจะท�ำให้ปากแห้งและล�ำคอตีบตัน งานของมันคือเพิ่มพลังมหาศาลให้กล้ามเนื้อของคุณ แต่ถ้ากล้ามเนื้อไม่ ถูกใช้งาน อะดรีนาลีนจะท�ำให้มันเริ่มกระตุกและสั่น ซึ่งมักเกิดในภาวะ หวั่นวิตกสุดขีด ในกรณีเช่นนี้ โค้ชบางคนแนะน�ำให้ใช้ยาช่วย ส่วนมากคือยา ประเภทเบต้า บล็อกเกอร์ แต่ข้อเสียคือมันอาจท�ำให้โทนเสียงคุณราบเรียบ นอกจากนี้ ยังมีกลยุทธ์อนื่ ๆ อีกมากมายทีจ่ ะช่วยเปลีย่ นอะดรีนาลีนให้เป็นประโยชน์ กับคุณ Chris Anderson

251

กลับไปที่โมนิกา ลูวินสกีกันครับ ในบทที่ 1 เธอบรรยายว่าเธอ หวัน่ วิตกรุนแรงเพียงใดเมือ่ วันกล่าวปาฐกถา TED ใกล้เข้ามา ถ้าเธอเอาชนะ ความหวั่นวิตกได้ ผมว่าคุณก็ท�ำได้เช่นกัน เธอเล่าว่าเธอข้ามผ่านมัน ด้วยวิธีนี้ครับ แนวทางการท�ำสมาธิบางรูปแบบจะแนะน�ำว่า เมื่อจิตของคุณ ล่องลอยไป หรือ “จิตของลิง” เข้ามาแทนที่ ให้กลับไปจดจ่อที่ ลมหายใจหรือคาถาประจ�ำตัว ฉันท�ำอย่างนั้นเวลาวิตกกังวล ฉัน พยายามกลับไปจดจ่อที่เป้าหมายของปาฐกถาบ่อยที่สุดเท่าที่ จะเป็นไปได้ ฉันมีคาถาประจ�ำใจสองอย่าง หนึ่งในนั้นคือ นี่คือ เรื่องส�ำคัญ (ที่จริงฉันเขียนค�ำนี้ไว้บนหัวกระดาษหน้าแรกของ บทปาฐกถาที่ฉันถือขึ้นเวทีไปด้วย) อีกคาถาหนึ่งที่ได้ผลดีกับฉัน คือ ฉันท�ำได้ ถ้าคุณก�ำลังจะยืนบนเวทีเพือ่ พูดกับผูฟ้ งั นัน่ แปลว่าใครบางคน จากที่ไหนสักแห่งตัดสินใจแล้วว่าคุณมีเรื่องส�ำคัญบางอย่างที่จะ ส่งมอบให้คนอื่น ฉันใช้เวลาคิดใคร่ครวญกับตัวเองอย่างละเอียด ว่าฉันหวังให้ปาฐกถาของตนช่วยคนอืน่ ทีก่ ำ� ลังเป็นทุกข์ได้อย่างไร บ้าง แล้วยึดมัน่ กับความหมายและเป้าประสงค์ของปาฐกถาราวกับ มันเป็นแพชูชีพ ฉั น มี เ ครื่องมือหลายอย่า งที่ใช้ได้ผล ฉั นท� ำ ทุ ก วิ ถี ท างเพื่ อ แสวงหาการสนับสนุนและเติมก�ำลังใจตัวเองให้เต็มเปี่ยมเท่าที่ จะเป็นไปได้ทั้งในวันกล่าวปาฐกถาและวันก่อนหน้านั้น สิบเจ็ดปี ทีผ่ า่ นมา ฉันใช้เวลามากมายเรียนรูเ้ พือ่ จัดการกับความวิตกกังวล และบาดแผลชอกช�้ำทางใจในอดีต เช้าวันกล่าวปาฐกถา ฉันท�ำ สิง่ ต่อไปนีโ้ ดยไม่ได้ไล่ไปตามล�ำดับ ฉันใช้การบ�ำบัดด้วยคลืน่ เสียง ฝึกหายใจ บ�ำบัดด้วยวิธที เี่ รียกว่า เทคนิคสร้างอิสรภาพทางอารมณ์ (มักเรียกกันว่า “การเคาะ” ฉันใช้ เทคนิคนี้เวลาอยู่หลังเวทีก่อนขึ้นบรรยาย) สวดมนต์ ฝึกอุ่นเครื่อง 252

T ED Talk s

หลากหลายรูปแบบกับโค้ชสอนการพูดในที่สาธารณะ ออกไปเดิน เพือ่ ขับเคลือ่ นอะดรีนาลีนในร่างกาย หาเรือ่ งหัวเราะให้ได้อย่างน้อย หนึ่ ง ครั้ ง ท� ำ สมาธิ โ ดยจิ น ตนาการภาพในหั ว เพื่ อ รั บ พลั ง จาก ผืนดิน และสุดท้ายคือวางท่าทรงพลัง (ฉันโชคดีทไี่ ด้ฝกึ กับเอมี คัดดี ผู้เก่งกาจหาตัวจับยาก) มีหลายครัง้ ทีฉ่ นั ลังเลสงสัยว่าตัวเองจะสามารถกล่าวปาฐกถาได้ ตลอดรอดฝัง่ ไหม คืนก่อนวันซ้อมพูดเนือ้ หาปาฐกถา ราวสามสัปดาห์ ก่อนงานประชุม ฉันร้องไห้โฮออกมา หงุดหงิดโมโหทีเ่ นือ้ หาไม่เข้าที่ เข้าทาง ฉันว่าจะขอถอนตัวหลังการซ้อมครัง้ นัน้ แต่กต็ อ้ งตกตะลึงกับ ผลตอบรับทางบวก ฉันเฝ้ารอให้ใครสักคนพูดว่า อย่างไรก็ตาม… และ แต่ว่า กระนั้นกลับไม่มีใครพูดอะไรท�ำนองนั้นเลย ฉันนัง่ จมอยูก่ บั ท่าทีตอบสนองทีไ่ ด้รบั อยูน่ าน แม้จะยังไม่แน่ใจ นัก แต่สดุ ท้ายฉันก็สรุปว่า ถ้าผูค้ นทีเ่ ชีย่ วชาญเรือ่ ง TED Talk เหล่านี้ คิดว่าปาฐกถาของฉันน่าสนใจเพียงพอ ฉันก็ควรมั่นใจกับมันนะ ที่ผ่านมาฉันคงอยู่ใกล้ชิดกับมันมากเกินไปจนมองไม่เห็น ตลอดกระบวนการ เมื่อใดที่เริ่มไม่มั่นใจในตัวเอง ฉันจะมุ่ง สมาธิไปยังข้อความที่อยากส่งให้ผู้ฟัง แทนที่จะสนใจตัวฉันซึ่ง เป็นผู้ส่งข้อความ เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกหวั่นวิตกหรือไม่แน่ใจ ฉัน ต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ตัวเอง และพยายามให้เหตุผล กับตัวเองว่าทั้งหมดที่ฉันท�ำได้คือ ท�ำให้ดีที่สุด … ถ้าข้อความ ของฉันสามารถเข้าถึงใครสักคน และช่วยคนแม้เพียงหนึง่ คนให้รสู้ กึ โดดเดี่ยวน้อยลงจากประสบการณ์ถูกล้อเลียนเหยียดหยามผ่าน โลกออนไลน์ นั่นก็คุ้มค่าแล้ว ประสบการณ์นี้เปลี่ยนชีวิตของฉันไปในหลากหลายระดับเลย ทีเดียว

นั่นคือรายการเครื่องมือควบคุมความหวั่นวิตกที่ครบถ้วนที่สุด เท่าทีค่ ณ ุ จะหาได้ แล้วคุณควรใช้เทคนิคทุกอย่างทีโ่ มนิกาท�ำไหม ค�ำตอบคือ

Chris Anderson

253

ไม่ครับ เราทุกคนแตกต่างกัน แต่ในเมื่อเธอสามารถเปลี่ยนความกลัว ที่คอยเหนี่ยวรั้งให้กลายเป็นการน�ำเสนอบนเวทีที่ดูสงบนิ่ง มั่นใจ และ ดึงดูดความสนใจ ข้อเท็จจริงนี้ก็น่าจะเป็นก�ำลังใจให้รู้ว่าทุกคนย่อมท�ำได้ เช่นกัน นี่คือค�ำแนะน�ำของผมครับ ใช้ความกลัวเป็นแรงจูงใจ นีล่ ะครับคือหน้าทีข่ องความกลัว มันจะช่วยกระตุน้ ให้คณ ุ มุง่ มัน่ หมัน่ ฝึกซ้อมให้บอ่ ยเท่าทีจ่ ำ� เป็น และเมื่อท�ำเช่นนั้น ความมั่นใจของคุณก็จะเพิ่มขึ้น ความกลัว จะลดลง และปาฐกถาของคุณจะดีขนึ้ กว่าแบบทีม่ นั อาจจะเป็น หากปราศจากความกลัว ให้รา่ งกายเป็นตัวช่วย! มีอะไรหลายอย่างทีค่ ณ ุ ท�ำได้เพือ่ ลด ระดับอะดรีนาลีนก่อนขึ้นเวที สิ่งเดียวที่ส�ำคัญที่สุดคือ หายใจ หายใจลึกๆ เหมือนท�ำสมาธิ ออกซิเจนทีแ่ ทรกซึมไปทัว่ ร่างกาย จะท�ำให้รสู้ กึ สงบ คุณท�ำเช่นนีไ้ ด้แม้ขณะทีน่ งั่ อยูใ่ นหมูผ่ ฟู้ งั และ รอทีมงานมาเชิญขึน้ เวที แค่หายใจเข้าท้องลึกๆ และปล่อยมัน ออกมาช้าๆ ท�ำซ�้ำอีกสามครั้ง แต่ถ้าตอนนั้นคุณไม่ได้อยู่บน เวที แล้วคุณรู้สึกถึงความตึงเครียดที่พุ่งสูงขึ้นในร่างกาย ลอง ออกก�ำลังที่ใช้แรงมากกว่านี้ดูสิครับ ในงาน TED2014 ผมเครียดสุดๆ เพราะกังวลกับโอกาส สัมภาษณ์ริชาร์ด เลดเจตต์ (Richard Ledgett) จากส�ำนักงาน ความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Agency – NSA) เกี่ ย วกั บ ประเด็ น ร้ อ นเรื่ อ งเอ็ ด เวิ ร ์ ด สโนว์ เ ดน (Edward Snowden) สิบนาทีก่อนถึงช่วงสัมภาษณ์ ผมหลบออกไป ตรงทางเดินหลังเวที เริ่มวิดพื้น แล้วก็หยุดไม่ได้ สรุปวันนั้น ผมวิดพืน้ ไปมากกว่าทีผ่ มเคยคิดว่าตัวเองท�ำได้ถงึ 30 เปอร์เซ็นต์ 254

T ED Talk s

เป็นเพราะอะดรีนาลีนล้วนๆ เมื่อเผาผลาญมันออกไปด้วยวิธี นัน้ ความสงบและความมั่นใจก็กลับคืนมา ดื่มน�้ำ สิ่งที่แย่ที่สุดของภาวะหวั่นวิตกคือ อะดรีนาลีนท�ำให้ คุณปากแห้งและพูดล�ำบาก วิธีควบคุมอะดรีนาลีนที่กล่าว มาข้างต้นเป็นยาต้านที่ดี แต่ถ้าคุณคอยรักษาร่างกายไม่ให้ ขาดน�้ำด้วยจะดีมาก ในช่วงห้านาทีก่อนขึ้นเวที ขอให้คุณ ดื่มน�้ำสักหนึ่งในสามของขวด มันจะช่วยไม่ให้ปากแห้ง (แต่ อย่าดื่มก่อนขึ้นเวทีนานนัก ซัลมาน คาห์น ท�ำอย่างนั้น แล้ว ต้องวิ่งไปเข้าห้องน�้ำก่อนผู้ด�ำเนินรายการกล่าวแนะน�ำเขา ดีที่กลับมาทันอย่างฉิวเฉียด) อย่าปล่อยให้ท้องว่าง เมื่อคุณหวั่นวิตก การกินอาจเป็นสิ่ง สุดท้ายที่คุณอยากท�ำ แต่ภาวะท้องว่างจะท�ำให้ยิ่งวิตกกังวล มากขึ้น ราวหนึ่งชั่วโมงก่อนขึ้นเวที คุณควรกินอาหารที่ดีต่อ สุขภาพ และ/หรือพกขนมอัดแท่งโปรตีนสูงติดตัวไว้ อย่าลืมพลังของความเปราะบาง ผู้ชมเปิดใจรับ ผู้พูดที่ หวัน่ วิตก โดยเฉพาะเมือ่ ผูพ้ ดู ยอมรับมันออกมาตรงๆ ถ้าคุณ พูดผิดหรือติดขัดนิดหน่อยในบทเปิด ไม่เป็นไรเลยที่จะบอก ว่า “อุ๊ย ขอโทษค่ะ ฉันตื่นเต้นนิดหน่อย” หรือ “คุณคงเห็น แล้วว่าผมไม่ได้พูดต่อหน้าสาธารณะบ่อยนัก แต่โอกาสครั้งนี้ ส�ำคัญมากเกินกว่าที่ผมจะปฏิเสธได้” ผู้ฟังจะเริ่มเอาใจช่วย คุณมากขึ้น นักร้องและนักแต่งเพลงอย่างเมแกน วอชิงตัน (Megan Washington) พูดกับผู้ฟัง TEDx ที่แน่นขนัดเต็มโรง ละครโอเปราแห่งซิดนีย์ว่า ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เธอพยายาม ต่อสู้กับอาการพูดติดอ่างที่ผู้ฟังได้ยินอยู่นี้ ความซื่อตรงและ Chris Anderson

255

ขัดเขินในตอนต้นท�ำให้เพลงที่เธอร้องได้ดีไม่มีที่ติยิ่งไพเราะ น่าชื่นชมขึ้นไปอีก หา “เพือ่ น” ในหมูผ่ ฟ ู้ งั มองหาใบหน้าทีด่ เู ห็นอกเห็นใจตัง้ แต่ คุณเริ่มต้นพูด ถ้าหาเจอสักสามหรือสี่คนที่นั่งอยู่คนละจุด ให้ พูดกับคนเหล่านี้ โดยย้ายสายตาไปจับจ้องที่แต่ละคนสลับ กันไป ทุกคนในหมู่ผู้ฟังจะเห็นว่าคุณเชื่อมโยงกับผู้ฟัง และ ก�ำลังใจทีค่ ณ ุ ได้รบั จากใบหน้าเหล่านีจ้ ะท�ำให้คณ ุ รูส้ กึ สงบและ มัน่ ใจ บางทีคณ ุ อาจจัดแจงให้เพือ่ นของคุณเองมานัง่ ในจุดต่างๆ ของห้องประชุมก็ได้ แล้วคุณก็พูดกับ พวกเขา (นอกจากนี้ การพูดกับเพื่อนยังท�ำให้คุณพูดด้วยน�้ำเสียงที่เหมาะสม) มีแผนส�ำรอง ถ้าคุณกังวลว่าอะไรๆ จะผิดพลาด อย่าลืม วางแผนส�ำรองเอาไว้ครับ กลัวจะลืมว่าก�ำลังจะพูดอะไรใช่ไหม? พกบทหรือโน้ตย่อไว้ใกล้ตวั สิครับ [รอซ ซาเวจ (Roz Savage) มีโน้ตย่อซ่อนไว้ในเสื้อ ไม่มีใครว่าอะไรเลยเมื่อเธอลืมสิ่งที่ จะพูดสองสามครั้ง และหยิบโน้ตออกมาดู] กลัวจะเกิดปัญหา ทางเทคโนโลยีแล้วต้องหาทางด้นสดใช่ไหม? เอาละ ข้อแรก นะครับ นั่นเป็นปัญหาของผู้จัด ไม่ใช่ปัญหาของคุณ แต่ก็ไม่ เสียหายอะไรหากจะเตรียมเรือ่ งเล่าเล็กๆ น้อยๆ ไว้เล่าระหว่าง รอแก้ไข ถ้าเป็นเรื่องจากประสบการณ์ส่วนตัวก็ยิ่งดี “ระหว่าง ที่เขาแก้ปัญหากันอยู่ ผมจะเล่าเรื่องบทสนทนาที่ผมเพิ่งคุย กับคนขับรถแท็กซี่…” หรือ “โอ้ เยี่ยมเลย ทีนี้ฉันก็ได้โอกาส เล่าเรื่องที่ตอนแรกฉันต้องตัดออกไปเพราะเวลาไม่พอ…” หรือ “ดีละ เรามีเวลาเพิ่มอีกสองสามนาที งั้น ผม ขอถามอะไร พวกคุณ หน่อย มีใครบ้างครับที่เคย…”

256

T ED Talk s

จดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณจะพูด โมนิกาให้ค�ำแนะน�ำที่ยอดเยี่ยม มากข้อหนึ่ง นั่นคือจงเขียนค�ำว่า นี่คือเรื่องส�ำคัญ ไว้บนโน้ต ของคุณ นี่เป็นค�ำแนะน�ำส�ำคัญที่สุดข้อเดียวที่ผมมอบให้คุณ ได้ เรื่องที่คุณก�ำลังจะท�ำนั้นไม่ได้เกี่ยวกับตัวคุณ แต่สิ่งส�ำคัญ คือความคิดที่คุณหลงใหล งานของคุณคือยืนอยู่ตรงนั้นเพื่อ รับใช้ความคิดที่ต้องการน�ำเสนอ และมอบเป็นของขวัญให้แก่ ผู้ฟัง ถ้าคุณยึดถึอเรื่องนี้ไว้ในใจตอนขึ้นเวที คุณจะรู้สึกโล่ง เบา และเป็นอิสระ นักร้องชื่อโจ โควัน (Joe Kowan) หวั่นวิตกจนนิ่งงันท�ำอะไร ไม่ถกู ถึงขนาดกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้เขาท�ำสิง่ ทีร่ กั ทีส่ ดุ นัน่ คือ ร้องเพลงให้คนฟัง เขาจึงจัดการกับมันทีละขั้น เริ่มจากบังคับตัวเอง ให้แสดงบนเวทีเล็ก แม้เขาจะได้ยินเสียงเพี้ยนแหลมเพราะความตื่นเต้น ทีแ่ ทรกมาในเสียงร้องก็ตาม และท้ายทีส่ ดุ เขายังเขียนเพลงว่าด้วยอาการ ตื่นเวที ซึ่งเขาจะงัดมาเล่นในการแสดงของเขาหากจ�ำเป็น ปรากฏว่า ผู้ฟังชอบ และเขาก็เริ่มยอมรับความหวั่นวิตกไว้เป็นเพื่อน เขามีปาฐกถา (พร้อมเพลง) สนุกๆ ที่อธิบายว่าเขาท�ำอย่างนี้ได้อย่างไร ในการประชุมงานหนึ่งที่โตรอนโตเมื่อสิบห้าปีที่แล้ว ผมได้เห็น นักเขียนนิยายชื่อบาร์บารา เกาว์ดี (Barbara Gowdy) ตื่นกลัวจนท�ำอะไร ไม่ถูกบนเวที เธอได้แต่ส่งเสียงงึมง�ำ พูดไม่เป็นภาษา เธอคิดว่าเธอจะมา ให้สมั ภาษณ์ แต่มคี นบอกในนาทีสดุ ท้ายว่าเธอต้องกล่าวปาฐกถา ความกลัว ไหลซึมออกมาจากทุกรูขุมขนบนร่างกายของเธอ แต่แล้วสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ที่สุดก็เกิดขึ้น ผู้ฟังเริ่มปรบมือและส่งเสียงเชียร์ เธอเริ่มต้นอย่างลังเล แล้วก็หยุด เสียงปรบมือดังขึ้นอีก จากนั้นเธอก็เริ่มเล่ามุมมองที่ลึกซึ้ง งดงามเกีย่ วกับกระบวนการและวิธคี ดิ ของเธอ นัน่ เป็นปาฐกถาทีน่ า่ จดจ�ำ มากทีส่ ดุ ในการประชุมครัง้ นัน้ ถ้าเธอขึน้ เวทีมาด้วยความมัน่ ใจและเริม่ พูด ทันที เราคงไม่ตั้งใจฟังอย่างใกล้ชิดหรือสนใจอย่างเต็มที่ขนาดนี้ Chris Anderson

257

ความหวั่ น วิ ต กไม่ ใ ช่ ค� ำ สาป เราเปลี่ ย นมั น ให้ เ ป็ น ผลลั พ ธ์ ที่น่าทึ่งได้ จงผูกมิตรกับความหวั่นวิตกของคุณเอง ดึงความกล้าหาญ ออกมา แล้วลุยเลยครับ!

258

T ED Talk s

16

การจัดรูปแบบบนเวที แท่นบรรยาย จอบอกบท กระดาษโน้ต หรือ (เอ่อ) ไม่มีอะไรเลย?

การจัดรูปแบบทางกายภาพของปาฐกถาเป็นสิ่งสำ�คัญมากนะครับ ลองเปรียบเทียบการจัดวางแบบ ก ซึ่งผู้พูดยืนอยู่หลังแท่นบรรยายใหญ่ เทอะทะ อ่านบทให้ผู้ฟังที่อยู่ไกลๆ กับการจัดวางแบบ ข ผู้พูดยืนอยู่ บนเวทีโดยไม่มีอะไรปกป้อง ล้อมรอบด้วยผู้ฟังทั้งสามด้าน ทั้งสองรูปแบบเรียกว่าการพูดในที่สาธารณะเหมือนกัน แต่มัน เป็นกิจกรรมที่แตกต่างกันมากๆ รูปแบบ ข ดูน่าหวาดกลัว คุณยืนอยู่ ตรงนั้น ไม่มีอะไรปกป้อง ไม่มีคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป ไม่มีบท ผู้ฟังเห็น ตัวคุณทุกส่วน ไม่มที ใี่ ห้หลบซ่อน ตระหนักรูอ้ ย่างเจ็บปวดถึงสายตาทุกคู่ ที่จับจ้องคุณจากระยะไม่ไกลนัก ส่วนรูปแบบ ก นั้นวิวัฒนาการมาหลายปีเพื่อตอบรับความ ต้องการทุกรูปแบบของผู้พูด ก่อนยุคที่จะมีไฟฟ้าใช้ ผู้พูดอาจมีแท่น บรรยายขนาดเล็กสำ�หรับวางกระดาษโน้ต แต่เมื่อถึงศตวรรษที่ 20 แท่น บรรยายก็ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ มีพื้นที่ให้ติดไฟสำ�หรับอ่านบท ปุ่มสำ�หรับ เลื่อนสไลด์ และที่เพิ่งเพิ่มเข้ามาเมื่อไม่นานนี้คือ คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป Chris Anderson

261

ถึงขนาดมีทฤษฎีว่า เมื่อปิดบังร่างกายส่วนใหญ่ของผู้พูดจนคุณเห็นแค่ ใบหน้าของเธอ จะช่วยเสริมให้ผพู้ ดู ดูมอี ำ�นาจ ซึง่ อาจเกิดจากจิตใต้สำ�นึก ของเรานำ�ภาพที่เห็นไปเชื่อมโยงกับพระนักเทศน์บนธรรมาสน์ แท่น บรรยายขนาดใหญ่สง่ ผลกระทบทีอ่ าจไตร่ตรองมาอย่างดีหรือเกิดขึน้ โดย ไม่ตั้งใจ นั่นคือมันได้สร้างอุปสรรคทางการมองเห็นขนาดใหญ่ที่ขวางกั้น ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง จากมุมมองของผู้พูด แท่นนี้อาจทำ�ให้รู้สึกสบาย มีอะไรที่เราจะ ไม่ชอบล่ะ ทุกอย่างที่คุณต้องการสำ�หรับปาฐกถานั้นอยู่ใกล้แค่ปลายนิ้ว และยั ง ทำ�ให้ คุ ณ รู้ สึ ก ปลอดภั ย ถ้ า คุ ณ ลื ม ขั ด รองเท้ า หรื อ เสื้ อ คุ ณ ยั บ เล็กน้อยก็จะไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป เพราะไม่มีใครเห็น คุณมีภาษากาย ที่เก้ๆ กังๆ หรือท่าทางการยืนที่ไม่สง่างามใช่ไหม? ไม่มีปัญหา แท่น บรรยายช่วยซ่อนสิ่งเหล่านี้ได้หมดเช่นกัน คนอื่นมองเห็นแค่ใบหน้า ของคุณเท่านั้น เฮ้อ! และ ไชโย! แต่จากมุมมองของผู้ฟัง นี่เป็นความเสียหายมหาศาลเลยครับ เราใช้เนือ้ ทีบ่ ทหนึง่ เต็มๆ เพือ่ ชีใ้ ห้เห็นว่าการสร้างความเชือ่ มโยงระหว่าง ผู้ฟังกับผู้พูดนั้นสำ�คัญแค่ไหน และส่วนประกอบหลักของความเชื่อมโยง นั้นเกิดขึ้นได้เมื่อผู้พูดเต็มใจที่จะเปิดเผยความเปราะบางของตน มันคือ ปฏิสัมพันธ์อันทรงพลังที่ไม่ต้องอาศัยคำ�พูด ถ้าผู้พูดลดเกราะป้องกัน ตัวเองลง ผู้ฟังก็จะลดเกราะของตัวเองลงเช่นกัน ถ้าผู้พูดวางตัวห่างเหิน และระแวดระวังภัย ผู้ฟังก็จะทำ�แบบนั้นด้วย ริชาร์ด ซอล เวอร์แมน ผู้ร่วมก่อตั้ง TED ยืนกรานหนักแน่น ในเรื่องนี้ ไม่มีโพเดียม! ไม่มีแท่นบรรยาย! ไม่มีการอ่านสุนทรพจน์! เขา ไม่ชอบอะไรก็ตามที่เปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้ฟังกับผู้พูดให้เป็น ทางการ (รวมทั้งการผูกเนกไท ซึ่งเขาห้ามเด็ดขาด เมื่อผู้พูดคนหนึ่งคือ นิโคลัส นีโกรพอนตี ไม่ยอมทำ�ตาม แล้วปรากฏตัวในชุดสูทและเนกไท ริชาร์ดเดินขึ้นไปบนเวทีพร้อมกรรไกร และตัดเนกไทของนิโคลัสทิ้ง!) จุดยืนนีเ้ ป็นหนึง่ ในเหตุผลว่าทำ�ไมการประชุม TED จึงทำ�ให้ผคู้ น 262

T ED Talk s

รู้สึกแตกต่างจากที่เคย ผู้พูดถูก บังคับ ให้เปิดเผยด้านเปราะบาง และ ผู้ฟังก็ตอบสนองอย่างดี ถ้าคุณปรับตัวให้รู้สึกสบายๆ กับมันได้ การพูดต่อหน้าผู้ฟัง โดยไม่มแี ท่นบรรยายมาขวางกัน้ นัน้ เป็นรูปแบบการพูดทีด่ ที สี่ ดุ ปาฐกถา ในงาน TED ส่วนใหญ่ใช้รปู แบบนี้ และเราสนับสนุนให้ทกุ คนลองทำ�ตาม แต่มันก็มีข้อดีข้อเสีย และทุกวันนี้ทีม TED ได้ข้อสรุปว่า มีวิธีกล่าว ปาฐกถามากมายหลายรูปแบบ ทั้งนี้ก็เพื่อความหลากหลายและเพื่อ ตอบสนองความต้องการของผูพ้ ดู แต่ละคน เป็นเรือ่ งดีทผี่ พู้ ดู พยายามก้าว ออกจากพื้นที่ปลอดภัยของตัวเอง แต่อย่างที่ผมบรรยายไปก่อนหน้านี้ การออกนอกพืน้ ทีป่ ลอดภัยมากเกินไปก็ไม่ดเี ช่นกัน ผมเรียนรูเ้ รือ่ งนีจ้ าก แดเนียล คาห์เนแมน และอีกหลายคนว่า การปล่อยให้ใครสักคนพูด ในสภาพแวดล้อมที่ทำ�ให้เขามั่นใจ เพื่อที่เขาจะสามารถค้นหาถ้อยคำ� ที่ต้องการพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ นับเป็นเรื่องสำ�คัญกว่าการพยายาม เปิดเผยด้านเปราะบางของผู้พูดให้มากที่สุด ดังนัน้ เป้าหมายของบทนีค้ อื ช่วยให้คณ ุ เข้าใจข้อดีขอ้ เสียทัง้ หมด และค้นหารูปแบบการพูดที่ดีที่สุดสำ�หรับคุณ คำ�ถามสำ�คัญข้อแรกคือ ถ้าจะกล่าวปาฐกถาให้ได้ผลดี คุณ ต้องการกระดาษโน้ตไว้ดูสักกี่แผ่น? หากคุณท่องจำ�ปาฐกถาได้ทั้งหมด หรือคุณสามารถพูดได้เลยโดยอาศัยแค่หัวข้อย่อยสั้นๆ ทางเลือกนี้จะ ง่ายมาก แค่ขนึ้ เวทีแล้วพูดไปเลย สือ่ สารโดยตรงระหว่างมนุษย์กบั มนุษย์ ไม่ต้องมีแท่นบรรยาย ไม่มีอะไรมาขวางทาง มีแค่คุณ กระดาษโน้ตขนาด พอดีมือหนึ่งแผ่น และผู้ฟัง นี่คือมาตรฐานทองคำ�ที่ควรพยายามมุ่งไป ให้ถงึ เป็นโอกาสดีทสี่ ดุ ทีจ่ ะสร้างสายสัมพันธ์เชือ่ มโยงอันทรงพลังกับผูฟ้ งั โดยมีพื้นฐานอยู่บนการเปิดเผยความเปราะบางของคุณ แต่ไม่ใช่ทกุ คนทีส่ ามารถปรับตัวให้สะดวกใจกับวิธพี ดู แบบนี้ และ ปาฐกถาบางงานก็ไม่ได้สำ�คัญควรค่าให้คุณทุ่มเทเวลามากมายเพื่อพูด ให้ดีเลิศขนาดนั้น Chris Anderson

263

แล้วถ้าคุณคิดว่าคุณต้องการกระดาษโน้ตจำ�นวนมากกว่านั้น หรืออาจถึงขั้นอยากได้บทพูดฉบับเต็ม คุณจะทำ�อย่างไรดีล่ะ? นี่คือ รายการเครื่องมือที่เป็นไปได้ซ่ึงจะช่วยสนับสนุนได้ดีขึ้นเป็นลำ�ดับ แต่ บางอย่างก็ดีกว่าอย่างอื่นมากทีเดียว แผนสำ�รองให้อุ่นใจ ในรูปแบบนี้ ก่อนคุณขึ้นเวที ให้วางชุดกระดาษโน้ตทั้งหมดหรือ บทพูดฉบับเต็มไว้บนโต๊ะหรือแท่นบรรยายที่ตั้งอยู่ด้านข้างหรือด้านหลัง ของเวทีพร้อมกับขวดน้ำ� จากนัน้ พยายามกล่าวปาฐกถาโดยยืนอยูด่ า้ นหน้า ของเวทีเหมือนทีเ่ ราได้กล่าวไปแล้ว พร้อมกับระลึกไว้เสมอว่าถ้าคุณติดขัด คุณสามารถเดินไปดูโน้ต ดืม่ น้ำ� แล้วค่อยกลับมาพูดต่อได้ จากมุมมองของ ผู้ฟัง สถานการณ์แบบนี้เป็นธรรมชาติและไม่มีปัญหาอะไรเลย เมื่อคุณ วางโน้ตไว้ห่างๆ จะทำ�ให้คุณหลีกเลี่ยงความต้องการที่จะก้มดูโน้ตบ่อยๆ และมีโอกาสสูงมากทีค่ ณ ุ จะพูดได้จนจบโดยไม่ตอ้ งใช้มนั เลย แต่ถงึ อย่างไร แค่คุณรู้ว่ามีโน้ตอยู่ตรงนั้นให้อุ่นใจก็ช่วยลดความกดดันไปได้มาก สไลด์คือไกด์นำ�ทาง ผูพ้ ดู หลายคนใช้สไลด์เป็นเครือ่ งกระตุน้ ความจำ� เราเคยพูดเรือ่ งนี้ กันไปสั้นๆ ในบทก่อนหน้า แน่นอนครับว่าสิ่งที่คุณห้ามทำ�เด็ดขาดคือ ใช้ พาวเวอร์พอยต์เป็นกรอบการพูดทั้งหมดของคุณ แล้วนำ�เสนอชุดสไลด์ ที่เต็มไปด้วยตัวหนังสือ แบบนั้นแย่มากครับ แต่ถ้าคุณมีภาพที่งดงาม ประกอบแต่ละขั้นตอนสำ�คัญในปาฐกถาของคุณ วิธีนี้จะใช้ได้ผลดีมาก โดยมีข้อแม้ว่าคุณต้องวางแผนการเปลี่ยนผ่านระหว่างแต่ละประเด็นไว้ เป็นอย่างดีแล้ว ภาพเป็นตัวกระตุ้นเตือนความจำ�ที่ยอดเยี่ยม แม้คุณอาจ จะต้องถือการ์ดที่จดเนื้อหาเพิ่มเติมเอาไว้ด้วย 264

T ED Talk s

กระดาษโน้ตขนาดเหมาะมือ คุณอาจมีเนื้อหามากเกินกว่าจะเขียนลงในการ์ดแผ่นเดียว เช่น คุณต้องการเตือนตัวเองเรื่องเนื้อหาในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างแต่ละ สไลด์ ตัวอย่างสำ�คัญๆ ที่ต้องเล่าในแต่ละหัวข้อย่อย หรือถ้อยคำ�ปิดท้าย อย่างละเอียดทุกตัวอักษร ในกรณีเหล่านี้ อุปกรณ์ที่ดีที่สุดอาจเป็นการ์ด ขนาด 5 x 8 นิว้ หลายๆ ใบทีค่ ณ ุ ถือไว้แล้วค่อยๆ พลิกดูทลี ะหน้า จะดีทสี่ ดุ หากคุณร้อยมันไว้ด้วยกัน เผื่อคุณทำ�ตกจะได้ไม่กระจายแล้วสลับลำ�ดับ กัน การ์ดเหล่านี้ไม่เตะตาเกินไป ขณะเดียวกันก็ช่วยให้คุณตรวจสอบได้ ว่าคุณอยู่ตรงไหนของปาฐกถาแล้ว ข้อด้อยอย่างเดียวคือ คุณอาจแทบ ไม่จำ�เป็นต้องดูมันเลย และพอจะมาดูก็อาจต้องเปิดข้ามไปอีกห้าหกแผ่น กว่าจะเจอว่าหัวข้อต่อไปคืออะไร อี ก ทางเลื อ กหนึ่ ง คื อ คลิ ป บอร์ ด พร้ อ มกระดาษเต็ ม แผ่ น ซึ่ ง ไม่ต้องเปิดหน้าใหม่บ่อยนัก แต่โดยรวมออกจะสะดุดตาอยู่บ้าง การ์ด อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า และถ้าคุณใช้ภาพจำ�นวนมาก วิธีที่เหมาะสม คือใช้การ์ดหนึ่งใบแทนหนึ่งสไลด์ โดยเขียนข้อความอธิบายประเด็นที่จะ เชื่อมโยงสู่สไลด์ถัดไป แม้ผมจะแนะวิธีเหล่านี้ให้คุณ แต่อย่างไรก็ตาม คุณก็ควรจำ� ปาฐกถาให้ได้เป็นอย่างดี เพื่อจะได้ไม่ต้องคอยก้มลงมองอยู่ตลอดเวลา ผู้พูดของ TED หลายคนใช้การ์ดข้อความ คุณอาจไม่เห็นมัน ในคลิปวิดีโอออนไลน์ สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะทีมตัดต่อช่วยซ่อนมันได้ เนียนมาก และอีกสาเหตุคือผู้พูดส่วนใหญ่ใช้มันช่วยแค่บางครั้งเท่านั้น ข้อดีของแนวทางนี้คือ มันช่วยให้คุณเดินขึ้นเวทีได้โดยไม่ต้องถืออะไร พะรุงพะรัง แต่ขณะเดียวกันก็ยังสามารถพกทุกอย่างที่คุณต้องการเพื่อ ช่วยให้ปาฐกถาเดินไปตามแผนที่วางไว้

Chris Anderson

265

สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต ผู้พูดบางคนใช้อุปกรณ์อัจฉริยะแทนกระดาษโน้ตฉบับไฮเทค พวกเขาไม่ใช้การ์ดหลายๆ ใบ เพราะพบว่าแค่เลื่อนหน้าจอดูเนื้อหาของ ปาฐกถาเอาก็ได้ แนวทางนี้ช่วยปลดปล่อยผู้พูดให้เป็นอิสระจากแท่น บรรยายได้แน่นอน แต่ผมไม่ได้ชื่นชอบมันมากนัก เหตุผลหนึ่งคือ เมื่อ ใครสักคนก้มลงมองจอ เรามักคิดไปโดยอัตโนมัติว่าเขากำ�ลังตัดขาดการ เชือ่ มโยงจากเรา เรือ่ งนีค้ งต้องโทษนวัตกรรมรับส่งข้อความผ่านสมาร์ตโฟน ทั้งหลายนะครับ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่อาจทำ�ให้วิธีนี้ช้าลง หากคุณ บั ง เอิ ญ กดโดนจุ ด ใดจุ ด หนึ่ ง ของจอ มั น อาจพาคุ ณ ไปหน้ า อื่ น ที่ ไ ม่ ใ ช่ บทพูดของคุณ แล้วอาจต้องเลือ่ นและมองหาอีก นาน กว่าจะหาเจอว่าพูด ถึงไหน บางทีต่อไปใครสักคนอาจจะคิดแอปพลิเคชั่นที่สมบูรณ์แบบมา แก้ปัญหานี้ได้ แต่เท่าที่ใช้งานกันมาในสภาวะแวดล้อมของจริง เราพบ ว่าวิธีนี้ยังช้าและผิดพลาดบ่อยกว่าการ์ดแบบเก่า คุณจะเซฟบทพูดไว้ ในไอแพดเพื่อสำ�รองให้อุ่นใจก็ได้ แต่ผมไม่แนะนำ�ให้ใช้อุปกรณ์อัจฉริยะ เหล่านี้แทนโน้ตที่คุณจะต้องเหลือบดูบ่อยๆ นะครับ จอภาพสำ�หรับผู้พูด สถานที่จัดงานหรูๆ หลายแห่งมีจอภาพ “ลับ” ในตำ�แหน่งที่ผู้พูด มองเห็น อาจวางในมุมเงยจากพื้นเวที หรืออยู่หลังห้องเหนือที่นั่งผู้ฟัง ขึน้ ไป วัตถุประสงค์ของจอเหล่านีค้ อื เพือ่ ให้คณ ุ เห็นว่าสไลด์เลือ่ นไปถึงไหน แล้วโดยไม่ตอ้ งหันไปมองจอบ่อยๆ นอกจากนีย้ งั ใช้แสดงโน้ตทีค่ ณ ุ เขียนไว้ ในแต่ละสไลด์ และ/หรือสไลด์ถัดไปเพื่อให้คุณเตรียมพร้อม (โดยมีคุณ เท่านั้นที่มองเห็น) โปรแกรมพาวเวอร์พอยต์และคีย์โน้ตล้วนสนับสนุน คุณสมบัตินี้ โดยใช้คำ�สั่งมุมมองผู้นำ�เสนอ (Presenter View) วิธีการนี้ 266

T ED Talk s

มีข้อดีอย่างชัดเจน กล่าวคือถ้าคุณวางโครงสร้างปาฐกถาเป็นหนึ่งสไลด์ ต่อหนึ่งหัวข้อ คุณสามารถใช้จอภาพสำ�หรับผู้พูดเพื่อช่วยให้เดินเรื่อง ไปตามแผนที่วางไว้ได้อย่างสบายๆ แต่ก็มีหลุมพรางขนาดมหึมาที่คุณ อาจตกลงไปได้รออยู่ครับ บางครัง้ ผูพ้ ดู อาจมองผิดจอ สับสนระหว่างสไลด์ ถัดไป กับสไลด์ ปัจจุบัน และตื่นตระหนกคิดว่าฉายสไลด์ผิด แต่ที่แย่กว่านั้นคือ วิธีนี้ ทำ�ให้ผู้พูดมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาโน้ตบนจอมากเกินไป และคอยมองจออยู่ ตลอดเวลา ซึ่งดูแย่กว่าผู้พูดที่ก้มลงดูโน้ตในมือเสียอีก ถ้าจอภาพนี้ไม่ได้ วางอยู่ตรงกลางหมู่ผู้ฟังพอดี คุณจะเห็นได้ชัดเมื่อผู้พูดเหลือบไปมองจอ สายตาเขาอาจหลุบลงไปทีพ่ นื้ อยูเ่ รือ่ ย หรือไม่กเ็ อาแต่มองข้ามหัวผูฟ้ งั ซึง่ ดูน่าหงุดหงิดอย่างยิ่ง เพราะมันตรงข้ามกับการสบตา ซึ่งเป็นสิ่งที่เรา ต้องการเพื่อทำ�ความรู้จักคุ้นเคยกัน นอกจากนี้ การที่ผู้พูดเหลือบดูโน้ตเป็นครั้งคราวนั้นเป็นภาพ ที่เราคุ้นเคยและรู้สึกสบายใจเมื่อเห็น โน้ตวางอยู่ตรงนั้นและทุกคนก็เห็น ว่าเขาทำ�อะไร จึงไม่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่เมื่อสายตาของเขาเคลื่อนไปยัง จอภาพสำ�หรับผู้พูด เพียงครู่เดียวก็จะรู้สึกเหมือนเขาถอยห่างจากผู้ฟัง คุณอาจไม่สงั เกตในตอนต้นๆ ของปาฐกถา แต่เมือ่ มันดำ�เนินต่อไปเรือ่ ยๆ ผู้ฟังอย่างคุณจะเริ่มกระอักกระอ่วน มันคลับคล้ายกับหุบเขาสุดสยอง ทีผ่ มพูดถึงไปก่อนหน้านี้ ทุกอย่างดูเกือบใช่ แต่ยงั ไม่ใช่เท่าไรนัก ช่องว่าง ตรงนั้นทำ�ให้เรารู้สึกประหลาด สถานการณ์จะแย่ลงไปอีกเมือ่ ผูพ้ ดู พยายามอ่านบททัง้ หมดจาก จอที่ว่านี้ สองนาทีแรกอาจยังฟังดูดีอยู่ แต่เมื่อผู้ฟังเริ่มรู้ว่าผู้พูดกำ�ลัง อ่านบทให้เขาฟัง ชีวิตชีวาในปาฐกถานั้นก็เหือดแห้งไปในทันที เมื่อสิบปี ที่แล้วเคยเกิดเหตุการณ์เลวร้ายแบบนี้ที่ TED เมื่อนักกีฬาผู้มีชื่อเสียง มาพูด และโน้มน้าวเราว่าเขาต้องการให้ฉายบทปาฐกถาฉบับเต็มไว้ด้าน หลังห้อง ถ้อยคำ�ทีเ่ ขาพูดนัน้ สมบูรณ์แบบ แต่คณ ุ เห็นชัดเลยว่าสายตาเขา กำ�ลังอ่านข้อความที่อยู่เหนือศีรษะผู้ฟังทุกคนขึ้นไปสามฟุต และมันฆ่า Chris Anderson

267

พลังของผลกระทบที่ปาฐกถานั้นควรมีจนตายสนิท ผู้พูดเพียงคนเดียวที่ผมเคยเห็นว่าใช้วิธีอ่านจากจอภาพแล้ว ได้ผลดีคอื นักร้องชือ่ ดังอย่างโบโน (Bono) เขาเป็นนักแสดงโดยธรรมชาติ เขาสามารถเหลือบอ่านข้อความที่ฉายอยู่ไกลสุดสายตา พร้อมกับคอย สบตาผู้ฟัง พูดด้วยน้ำ�เสียงเป็นธรรมชาติ และสอดแทรกอารมณ์ขันที่น่า พึงพอใจอยู่ไม่ขาด แต่ถึงกระนั้นก็มีคนที่ผิดหวังเพราะสังเกตเห็นว่า ถ้อยคำ�ในปาฐกถารวมทัง้ เรือ่ งตลกทีเ่ ขาเล่าล้วนอยูบ่ นจอหลังห้องประชุม พวกเขาอยากสัมผัสจิตใจของโบโนทีเ่ ชือ่ มโยงกับพวกเขา ณ ตรงนัน้ จริงๆ ปาฐกถาที่เขียนบทมาแล้วนั้นพวกเขาอ่านจากอีเมลเอาก็ได้ คำ�แนะนำ�ของเราในการใช้จอภาพสำ�หรับผูพ้ ดู คือ ใช้แสดงสไลด์ เท่านัน้ โดยเป็นสไลด์เดียวกับทีก่ ำ�ลังฉายให้ผฟู้ งั เห็น ถ้าคุณต้องการเพิม่ โน้ตเตือนความจำ� ใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำ�ได้ เขียนหัวข้อสั้นๆ ไม่เกิน สองสามคำ� และฝึกพูดโดยมองจอให้นอ้ ยครัง้ ทีส่ ดุ อย่าอ่านเด็ดขาด! นีค่ อื ทางเดียวที่จะรักษาความเชื่อมโยงอันอบอุ่นกับผู้ฟังไว้ได้ เครื่องบอกบท/เครื่องบอกคิวอัตโนมัติ ถ้าจอภาพสำ�หรับผู้พูดนั้นอันตราย เครื่องบอกบทอัตโนมัติ (teleprompter) ก็ยงิ่ แย่กว่า ว่ากันอย่างผิวเผิน มันเป็นสิง่ ประดิษฐ์ทฉี่ ลาด หลักแหลมมาก มันทำ�งานโดยวางถ้อยคำ�บนจอกระจกที่ผู้ฟังมองไม่เห็น แต่อยูใ่ นลานสายตาของผูพ้ ดู พอดี ผูพ้ ดู จึงสามารถอ่านปาฐกถาโดยยังคง สบตาผู้ฟังตลอดเวลา แต่อจั ฉริยภาพของมันก็กลายเป็นจุดอ่อนเช่นกัน ถ้าคุณใช้เครือ่ ง ดังกล่าว มีโอกาสเสี่ยงที่คุณอาจส่งสารไปยังผู้ฟังว่า ผมแสร้งทำ�เป็นมอง พวกคุณ แต่ที่จริงผมกำ�ลังอ่านบทอยู่ และการส่งสัญญาณที่สับสนปนเป เช่นนี้อาจก่อให้เกิดผลเสียได้ คุณอาจค้านว่า เป็นไปไม่ได้ หนึ่งในนักพูดที่ดีที่สุดแห่งยุคสมัย 268

T ED Talk s

อย่างประธานาธิบดีโอบามาก็ใช้เครื่องบอกบทอัตโนมัติเป็นประจำ�นี่นา ใช่ครับ และมันก็ก่อให้เกิดความเห็นที่แตกเป็นสองฝ่ายในหมู่ผู้ฟัง คนที่ ไว้วางใจและชื่นชอบเขาไม่สนใจเรื่องนี้ และเปิดใจรับฟังปาฐกถาอย่าง เต็มที่ โดยเชือ่ ว่านัน่ คือคำ�พูดทีจ่ ริงใจและเป็นธรรมชาติซงึ่ โอบามาพูดกับ พวกเขา แต่คู่แข่งทางการเมืองก็ใช้ประเด็นเรื่องเครื่องบอกบทอัตโนมัติ มาโจมตีเขาอย่างสนุกสนาน ล้อเลียนว่าเขาไม่สามารถพูดสดอย่างเปิดเผย จริงใจต่อหน้าสาธารณชนได้ ด้วยเหตุนี้ นักกลยุทธ์ด้านสื่อที่ชื่อว่าเฟรด ดาวิส (Fred Davis) จึงเชื่อว่าเครื่องบอกบทอัตโนมัติสร้างความเสียหาย แก่นักการเมืองทุกคน เขากล่าวกับหนังสือพิมพ์ Washington Post ว่า “มันมีผลเชิงลบ เพราะมันเป็นสัญญาณทีบ่ อกว่าคุณไม่จริงใจ เป็นสัญญาณ ว่าคุณไม่สามารถพูดได้ด้วยตัวคุณเอง เป็นสัญญาณว่ามีใครชักใยอยู่ เบื้องหลัง คอยบอกว่าคุณต้องพูดอะไร” ทุกวันนีเ้ ราไม่คอ่ ยอยากวางกฎเหล็กตายตัวกับนักพูดของ TED สักเท่าไร แต่ที่แน่ๆ คือเราไม่สนับสนุนให้ใช้เครื่องบอกบทอัตโนมัติบน เวทีหลักของเรา ผู้ฟังในยุคนี้อยากฟังผู้พูดที่พยายามพูดอย่างสุดความ สามารถโดยอาศัยความจำ� โน้ต และการคิดสดในขณะพูด มากกว่าผู้พูด ที่พูดได้ “สมบูรณ์แบบ” ด้วยส่วนผสมของการอ่านและการแสร้งสบตา แล้วคุณควรทำ�อย่างไรหากคุณจำ�เป็นต้องใช้บทพูดฉบับเต็ม แต่ ไม่สามารถอ่านจากจอภาพสำ�หรับผูพ้ ดู หรือเครือ่ งบอกบทอัตโนมัตเิ พราะ กลัวว่าจะดูไม่จริงใจ เรามีคำ�แนะนำ�ให้คุณครับ แท่นบรรยายที่ไม่สะดุดตา ถ้าคุณจำ�เป็นต้องดูบทพูดฉบับเต็ม โน้ตยาวๆ คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป หรือแท็บเล็ต ก็อย่าฝืนแสร้งทำ�ว่าไม่จำ�เป็นเลยครับ คุณกลับ ไปใช้แท่นบรรยายก็ได้ แต่อย่างน้อยลองถามผูจ้ ดั สักหน่อยว่าเขาหาแท่น บรรยายเก๋ๆ ที่ดูสมัยใหม่และไม่สะดุดตาเกินไปให้คณ ุ ได้ไหม เอาแบบที่ Chris Anderson

269

โปร่งใสหรือมีขาตั้งเล็กบาง แทนที่จะเป็นแท่นไม้หนาหนักที่บังตัวคุณจน มิด จากนั้นก็มุ่งมั่นที่จะจำ�ปาฐกถาของคุณให้ขึ้นใจ เพื่อคุณจะได้ใช้เวลา ส่วนใหญ่มองไปยังผู้ฟัง แทนที่จะมองบทบนแท่นบรรยาย สำ�หรับโมนิกา ลูวินสกี นี่เป็นทางออกที่สมบูรณ์แบบ เธอมองว่า ประเด็นที่พูดนั้ันสำ�คัญเกินกว่าจะเสี่ยงจดจำ�บททั้งหมดเอาไว้ในหัว เธอ ลองดูโน้ตจากจอภาพสำ�หรับผูพ้ ดู ขณะซ้อม แต่เราไม่คดิ ว่าวิธนี ไี้ ด้ผลดี เธอ มองไปเหนือหัวผูฟ้ งั ตลอดเวลา และมันทำ�ลายความเชือ่ มโยงระหว่างเธอ กับผูฟ้ งั น่ายินดีทโ่ี มนิกาเกิดความคิดใหม่ซง่ึ เราไม่เคยลองใช้ท่ี TED มาก่อน แต่มันได้ผลดีเยี่ยม เธอวางโน้ตของเธอบนขาตั้งโน้ตเพลง ถ้าคุณชม ปาฐกถาของเธอ คุณจะเห็นว่ามันไม่ได้ดึงเธอออกไปจากผู้ฟังเลยสักนิด ที่จริงเธอแทบไม่ได้มองโน้ตเลย แต่มันมอบความมั่นใจที่เธอต้องการ เพื่อให้ปาฐกถาของเธอเปล่งประกายอย่างแท้จริง ทำ�ไมวิธีนี้จึงได้ผลดีกว่าจอภาพสำ�หรับผู้พูดหรือเครื่องบอกบท อัตโนมัติน่ะหรือครับ ก็เพราะมันไม่มีความคลุมเครือว่ากำ�ลังเกิดอะไรขึ้น มันซื่อตรงและเป็นภาพที่คุ้นเคย ผู้ฟังเห็นได้ชัดว่าคุณพยายามที่จะ ไม่ อ่านบท พยายามมองไปรอบๆ สบตา ส่งยิ้ม และทำ�ตัวเป็นธรรมชาติ ถ้าวิธนี ที้ ำ�ให้คณ ุ สบายใจและมัน่ ใจขึน้ ผูค้ นจะได้ยนิ สิง่ นัน้ ในเสียงของคุณ และจะรู้สึกผ่อนคลายไปกับคุณ ทัง้ หมดทีว่ า่ มาคือทางเลือกหลักๆ ทีค่ ณ ุ มี แน่นอนว่าคุณสามารถ สร้างอะไรใหม่ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวคุณเองได้เสมอ คลิฟฟอร์ด สโตลล์ (Clifford Stoll) มีหัวข้อย่อยที่จะพูดทั้งหมดห้าหัวข้อ เขาเขียน แต่ละข้อลงบนนิ้วมือแต่ละนิ้ว ทุกครั้งที่เขาเปลี่ยนหัวข้อ กล้องซูมเข้าไป ที่มือของเขา และเราได้เห็นจากมุมมองของเขาว่าหัวข้อถัดไปคืออะไร มันทั้งแปลกและน่ารักดีนะครับ สิ่งสำ�คัญคือ คุณต้องหารูปแบบการพูดที่ได้ผลดีสำ�หรับคุณ ยึดมัน่ กับวิธนี น้ั แต่เนิน่ ๆ และฝึกฝนให้ดที ส่ี ดุ โดยใช้อปุ กรณ์ประกอบที่คณ ุ 270

T ED Talk s

จะใช้จริงบนเวที (อ้อ นั่นเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นหากคุณพึง่ พา จอภาพสำ�หรับผูพ้ ดู มากเกินไป เพราะคุณไม่มที างมัน่ ใจได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าตำ�แหน่งของจอบนเวทีจะเหมือนกับตอนที่คุณซ้อม) สรุปสั้นๆ คือ ไม่เป็นไรเลยที่จะแสดงความเปราะบางของคุณ ออกมา และไม่เป็นไรอีกเช่นกันที่จะหาพื้นที่ที่คุณรู้สึกสบายและมั่นใจ หลักสำ�คัญคือ ขอให้คุณเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง

Chris Anderson

271

17 เสียงและท่าทาง ให้ชีวิตแก่ถ้อยคำ�ของคุณอย่างที่มันควรจะเป็น

ผมมีค�ำถามสุดขั้วจะถามคุณข้อหนึ่งครับ เรากล่าวปาฐกถากันไป ท�ำไม? ท�ำไมไม่ส่งอีเมลเนื้อหาไปให้ทุกคนที่น่าจะเป็นผู้ฟังเลยล่ะ? ปาฐกถา 18 นาทีมีเนื้อหาราว 2,500 ค�ำ คนส่วนใหญ่ใช้เวลา ไม่ถึง 9 นาทีก็สามารถอ่านหนังสือ 2,500 ค�ำจบและเข้าใจเนื้อความ ได้ดดี ้วย แล้วท�ำไมไม่ท�ำอย่างนั้นแทนล่ะ? ประหยัดค่าหอประชุมและ ค่าเดินทางของทุกคน หลีกเลี่ยงโอกาสที่คุณอาจพูดผิดจนดูเป็นตัวตลก และยังสื่อประเด็นที่คุณต้องการได้ในเวลาแค่ครึ่งเดียวของเวลาที่ต้องใช้ บรรยายปาฐกถา หากเป็ น ช่ ว งที่ ผ มอายุ ยี่ สิ บ กว่ า ปี ผมคงไม่ ม านั่ ง หาเหตุ ผ ล สนับสนุนการพูดในที่สาธารณะแบบนี้หรอกครับ ตอนเรียนปรัชญาใน มหาวิทยาลัย ผมหัวใจสลายเมือ่ พบว่า พี. เอฟ. สตรอว์สนั (P. F. Strawson) นักคิดผู้เฉียบแหลมและนักเขียนผู้มีส�ำนวนงดงามเป็นนักพูดที่แย่มาก อย่างน้อยก็ในวันที่ผมได้ฟังเขาพูด เขาพึมพ�ำตลอด 60 นาที อ่าน Chris Anderson

273

ทุ ก ประโยคจากโพยด้ ว ยเสี ย งราบเรี ย บเหมื อ นกั น หมด และแทบไม่ เงยหน้าขึ้นเลย ผมเรียนรู้ว่าผมเสียเวลาสุดๆ ที่ไปฟังเขาบรรยาย ทั้งที่ แค่ผมอ่านหนังสือของเขาก็จะได้อะไรมากกว่าถึงสองเท่า ผมจึงไม่เข้าฟัง การบรรยายของเขาอีกเลย ที่จริงคือผมเลิกเข้าฟังบรรยายวิชาอื่นๆ ด้วย ผมอ่านหนังสือเอาเอง เหตุผลหนึ่งที่ผมหลงรัก TED คือ ผมค้นพบว่าการพูดให้อะไร มากกว่าถ้อยค�ำที่พิมพ์บนกระดาษ แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปใน ทุกกรณี ความพิเศษที่เพิ่มเข้ามานั้นต้องผ่านการคิดไตร่ตรอง ลงทุน ลงแรง และพัฒนาต่อ ต้องใช้ความพยายามสร้างให้เกิดขึ้น สิง่ พิเศษนัน้ คืออะไรน่ะหรือ มันคือการเติมความเป็นมนุษย์ซอ้ นทับ ไปอีกชั้น ซึ่งช่วยเปลี่ยน ข้อมูล ให้กลายเป็น แรงบันดาลใจ ถ้ามองว่าปาฐกถาคือข้อมูลที่ป้อนเข้ามาสองสายคู่ขนานกัน กลไกด้านภาษาของสมองจัดการประมวลผลถ้อยค�ำ โดยท�ำงานแบบ เดี ย วกั น ไม่ ว ่ า จะฟังหรืออ่า น แต่เหนือขึ้น ไปคือสายข้อมูลที่บ ่งบอก รายละเอียดของข้อมูลทีไ่ หลเข้ามา ซึง่ เปิดโอกาสให้คณ ุ (ส่วนใหญ่มกั เกิด โดยไม่รตู้ วั ) ประเมินวัจนภาษาทุกชิน้ ทีค่ ณ ุ ได้ยนิ ตัดสินใจว่าจะท�ำอย่างไร กับมัน และจะจัดล�ำดับความส�ำคัญอย่างไร การอ่านไม่มีข้อมูลคู่ขนาน แบบนี้ มันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณได้เห็นผู้พูดและฟังเสียงพวกเขา ข้อมูล ที่เพิ่มเข้ามาสามารถสร้างผลกระทบดังต่อไปนี้ • การเชื่อมโยง: ฉันไว้วางใจคนคนนี้ • ความใส่ใจจดจ่อ: ทุกประโยคฟังดูน่าสนใจจังเลย! • ความอยากรูอ้ ยากเห็น: ฉันได้ยนิ อะไรบางอย่างในเนือ้ เสียงของ คุณและเห็นมันจากสีหน้าของคุณ • ความเข้าใจ: เมื่อคุณเน้นที่ค�ำ นั้น และท�ำมือประกอบ แบบนั้น ฉันก็เข้าใจทันที • ความรู้สึกร่วม: ฉันรู้ซึ้งเลยว่าสิ่งนั้นท�ำให้คุณเจ็บปวดแค่ไหน 274

T ED Talk s

• ความตื่นเต้น: ว้าว ความหลงใหลเรื่องนี้ถ่ายทอดกันได้จริงๆ • ความเชือ่ มั่น: ดูแววตามุ่งมั่นนั่นสิ! • การลงมือท�ำ: ฉันอยากเข้าร่วมทีมของคุณ ขอลงชือ่ สมัครเลยนะ เมือ่ รวมกันแล้ว นีค่ อื แรงบันดาลใจ เป็นแรงบันดาลใจในความหมาย ที่กว้างที่สุด ผมมองว่าแรงบันดาลใจคือพลังที่บอกสมองว่าควรท�ำอะไร กับความคิดใหม่ที่ได้มา ความคิดมากมายถูกเก็บเข้ากรุและอาจถูกลืม ในไม่ช้า แต่แรงบันดาลใจนั้นต่างออกไป มันฉวยคว้าความคิดแล้ววิ่งลิ่ว เข้าสูแ่ สงสปอตไลต์กลางเวทีในจิตใจ พลางร้องว่า เจ้าข้าเอ๊ย! โลกทัศน์ใหม่ ที่ส�ำคัญก�ำลังมา! ตื่นตัวกันได้แล้ว! มี ค วามเร้ น ลั บ มากมายซ่ อ นอยู ่ เ บื้ อ งหลั ง เหตุ ผ ลและท่ า ที ตอบสนองอั น แรงกล้ า ที่ เ รามี ต ่ อ ผู ้ พู ด บางคน ความสามารถเหล่ า นี้ วิวัฒนาการขึ้นมาตลอดช่วงเวลาหลายแสนปี และฝังรากลึกอยู่ในตัวเรา ในตั ว คุ ณ มี อั ล กอริ ธึ ม ส� ำ หรั บ ความไว้ ว างใจ อั ล กอริ ธึ ม ส� ำหรั บ ความ เชื่อถือ และอัลกอริธึมส�ำหรับการแพร่กระจายอารมณ์จากสมองของ คนหนึ่งสู่อีกคน เราไม่รู้รายละเอียดของอัลกอริธึมเหล่านี้ แต่มีเงื่อนง�ำ ส�ำคัญบางประการทีเ่ ราเห็นตรงกัน ซึง่ แบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ สิง่ ทีค่ ุณท�ำกับ เสียง และสิ่งที่คุณท�ำกับ ร่างกาย พูดโดยสื่อความหมาย ถ้าคุณมีโอกาส ขอให้ลองฟังบทเปิด TED Talk ของจอร์จ มอนบิโอต์ (George Monbiot) เนื้อหานั้นจับใจ แต่ไม่เร้าใจเท่าใดนัก ตอนผมยังหนุ่ม ผมใช้เวลาหกปีผจญภัยในป่าเขตร้อน ท�ำงาน เป็นนักข่าวสืบสวนในพืน้ ทีซ่ งึ่ นับได้วา่ มีเสน่หอ์ นั ดับต้นๆ ของโลก ผมบ้าบิ่นและงี่เง่าเท่าที่เด็กหนุ่มคนหนึ่งจะเป็นได้ นั่นคือเหตุผล ที่ท�ำให้เ กิดสงครามทั้ง หลาย แต่ ผ มก็ รู้ สึ ก มี ชี วิต ชี วามากกว่ า Chris Anderson

275

สิง่ อืน่ ใดทีผ่ มได้ทำ� ตลอดช่วงเวลาหลังจากนัน้ และเมือ่ กลับมาบ้าน ผมพบว่าขอบเขตการด�ำรงอยูข่ องตัวเองค่อยๆ ลดลง จนกระทัง่ แค่ เอาจานชามเข้าเครื่องล้างจานยังดูจะกลายเป็นเรื่องท้าทายที่น่า สนใจ ผมรูส้ กึ เหมือนก�ำลังตะกายก�ำแพงของชีวติ ราวกับพยายาม หาทางออกไปสูโ่ ลกกว้างภายนอก ผมคิดว่าผมคงเบือ่ หน่ายระบบ นิเวศที่ผมใช้ชีวิตอยู่

แต่เมือ่ เขาพูด คุณได้ยนิ บางอย่างทีแ่ ตกต่างมากทีเดียว ถ้าผมจะ ท�ำให้คณ ุ เห็นภาพโดยใช้รปู แบบตัวอักษร มันคงจะหน้าตาคล้ายๆ อย่างนี้ ตอนผมยังหนุ่ม ผมใช้เวลา หกปีผจญภัย ในประเทศเขตร้อน ท�ำงานเป็นนักข่าวสืบสวนในพื้นที่ซึ่งนับได้ว่ามีเสน่หอ์ ันดับต้นๆ ของโลก ผมบ้าบิ่นและงี่เง่าเท่าที่เด็กหนุ่มคนหนึ่งจะเป็นได้ นั่นคือ-เหตุผล-ที่-ท�ำให้-เกิด-สงคราม-ทั้งหลาย แต่ผม ก็ รู้สึก มี ชี วิต ชี วา มากกว่าสิง่ อืน่ ใดทีผ่ มเคยได้ทำ� ตลอดช่วงเวลาหลังจากนัน้ และเมือ่ กลับมาบ้าน ผมพบว่าขอบเขตการด�ำรงอยูข่ องผม ค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งแค่เอาจานชามเข้าเครื่องล้างจานยังดูจะกลายเป็น เรื่องท้าทายที่น่าสนใจ ผมรู้สึกเหมือนก�ำลัง ตะกายก�ำแพง ของ ชีวติ ราวกับพยายามหาทาง ออก ไปสู่โลก ก ว้ า ง ภายนอก ผม คิดว่าผมคงเบื่อหน่ายระบบนิเวศที่ตนใช้ชีวิตอยู่

ถึงแม้พอพิมพ์ออกมาแล้วจะดูแย่เอามากๆ แต่เมื่อคุณได้ยิน มอนบิโอต์พูด คุณจะรู้สึกเหมือนมีแรงดึงดูดเข้าไปสู่โลกของเขาทันที เขา ปั้นแต่งแทบทุกค�ำพูดด้วยน�้ำเสียงหรือความหมายหลากหลายชั้นที่แฝง อยู่ภายใน ผลที่เกิดขึ้นคือ มันเพิ่มรายละเอียดให้บทเปิดของเขาอย่าง น่าเหลือเชื่อ เป็นรายละเอียดที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาผ่านตัวอักษร พรสวรรค์ด้านนี้เฉิดฉายตลอดทั้งปาฐกถา ถ้อยค�ำที่เขาพูดปลุกเร้าความ สนใจใคร่รไู้ ด้แน่นอน แต่ เสียง ของเขานีล่ ะทีค่ ณ ุ ฟังแล้วเป็นต้องรูส้ กึ พิศวง 276

T ED Talk s

และอยากรู้อยากเห็น เขาท�ำอย่างนัน้ ได้อย่างไร โค้ชด้านการใช้เสียงหลายคนกล่าวถึง เครื่องมือหกอย่างที่คุณสามารถใช้ได้ ได้แก่ ความดัง ความทุ้มแหลม จังหวะ คุณลักษณะเฉพาะของเสียง น�ำ้ เสียง และสิง่ ทีเ่ รียกว่า ท่วงท�ำนอง หรือเสียงสูงต�ำ่ ทีท่ ำ� ให้เราแยกประโยคค�ำถามออกจากประโยคบอกเล่าได้ ถ้าคุณอยากรู้เรื่องนี้ลึกขึ้นอีกหน่อย ผมขอแนะน�ำปาฐกถา TED ของ จูเลียน เทรเชอร์ (Julian Treasure) เรือ่ ง “พูดอย่างไรให้คนอยากฟัง” (How to speak so that people want to listen) เขาไม่เพียงอธิบายว่ามีอะไรบ้าง ที่จ�ำเป็น แต่ยังมีแบบฝึกหัดที่ช่วยให้คุณฝึกเตรียมเสียงให้พร้อมด้วย ส�ำหรับผม บทเรียนหลักทีต่ อ้ งจ�ำไว้คอื อย่าลืมใส่ความหลากหลาย ในวิธกี ารพูด โดยตัง้ อยูบ่ น ความหมาย ทีค่ ณ ุ พยายามจะถ่ายทอดออกมา ผูพ้ ดู จ�ำนวนมากมักลืมเรือ่ งนี้ จึงพูดทุกประโยคด้วยน�ำ้ เสียงแบบเดียวกัน ขึ้นสูงเล็กน้อยตอนต้นประโยคและลงต�่ำในตอนท้าย ไม่หยุดพักหรือ เปลี่ยนจังหวะเลย สิ่งที่วิธีนี้สื่อสารออกมาคือ ไม่มีส่วนไหนของปาฐกถา ทีส่ ำ� คัญเหนือส่วนอืน่ ๆ คุณแค่พดู ไปเรือ่ ยๆ จนกว่าจะจบ ผลทางชีววิทยา ที่เกิดขึ้นนั้นเหมือนการสะกดจิต มันกล่อมให้ผู้ฟังเคลิ้มหลับ ถ้าคุณเขียนบทปาฐกถาไว้ ลองท�ำอย่างนี้ครับ หาค�ำสองสามค�ำ ที่มีความหมายส�ำคัญที่สุดในแต่ละประโยคแล้วขีดเส้นใต้ไว้ จากนั้นมอง หาค�ำหนึ่งค�ำที่ส�ำคัญ มากจริงๆ ในแต่ละย่อหน้าแล้วขีดเส้นใต้สองเส้น หาประโยคที่มีความหมายเบาที่สุดจากเนื้อหาทั้งหมด และใช้ดินสอ ขีดเส้นหยักๆ จางๆ ไว้ใต้ประโยคนัน้ มองหาเครือ่ งหมายค�ำถามแล้วใช้ปากกา เน้นข้อความสีเหลืองขีดไว้ หาจุดทีเ่ ปิดเผยแก่นความคิดกระจ่างแจ้งทีส่ ดุ เพียงจุดเดียวในปาฐกถา แล้ววาดจุดด�ำขนาดใหญ่ไว้กอ่ นหน้าข้อความนัน้ ถ้ามีตวั อย่างตลกๆ ตรงไหน ให้ใส่จดุ สีชมพูเล็กๆ ไว้ขา้ งบน ที นี้ ล องอ่ า นบทของคุ ณ อี ก ครั้ ง โดยเปลี่ ย นโทนเสี ย งตาม เครื่องหมายแต่ละแบบ เช่น ยิ้มเมื่อมองเห็นจุดสีชมพู หยุดเมื่อเห็นจุดด�ำ ขนาดใหญ่ เร่งความเร็วขึน้ เล็กน้อยเมือ่ ถึงประโยคทีข่ ดี เส้นหยัก พร้อมกับ Chris Anderson

277

พูดเสียงเบาลง ฟังดูเป็นอย่างไรบ้างครับ ยังดูจงใจและไม่คอ่ ยเป็นธรรมชาติ ใช่ไหม งั้นลองใหม่โดยใส่รายละเอียดให้มากขึ้นอีกนิดนะครับ ที นี้ ล องอี ก อย่ า งหนึ่ ง พยายามจดจ� ำ อารมณ์ ที่ สั ม พั น ธ์ กั บ แต่ละช่วงในปาฐกถาของคุณ ส่วนไหนที่คุณรู้สึกหลงใหลมากที่สุด? ประเด็นไหนที่คุณรู้สึกโกรธแค้น? อะไรที่ท�ำให้คุณหัวเราะ? อะไรที่คุณ งงงวย? ปลดปล่อยความรู้สึก เหล่านั้น ออกมาสักหน่อยขณะที่คุณพูด ฟังดูเป็นอย่างไรบ้างครับ ลองท�ำอย่างนี้ต่อหน้าเพื่อน แล้วดูว่าเขาหรือ เธอตอบสนองต่อช่วงไหนเป็นพิเศษ หรือตรงไหนทีพ่ วกเขาดูเซ็ง อัดเสียง ตัวคุณเองขณะอ่านบท ลองหลับตาแล้วเปิดฟังซ�้ำ ประเด็นส�ำคัญคือ ผมอยากให้คุณเริ่มหันมามองว่า โทนเสียง คือเครื่องมือชุดใหม่ที่คุณใช้เจาะเข้าไปในความคิดของผู้ฟังได้ คุณอยาก ให้เขาเข้าใจคุณ นั่นก็ใช่ แต่คุณย่อมอยากให้เขาสัมผัสถึงความรู้สึก หลงใหลที่คุณมีต่อเรื่องนั้นด้วย และวิธีที่จะท�ำได้หาใช่การ บอก ให้เขา หันมาหลงใหลในเรื่องเหล่านี้ แต่ต้องแสดงให้เขาเห็นว่าคุณหลงใหลใน สิ่งนั้น แล้วมันจะแพร่กระจายไปโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับอารมณ์อื่นๆ ที่คุณรู้สึกอย่างแท้จริง คุณกังวลเรื่องเวลาพูดที่มีจ�ำกัดใช่ไหมครับ ไม่ต้องกังวลเลย มองอีกมุมหนึ่งคือคุณก�ำลังเพิ่มเวลาให้เป็นสองเท่าด้วยซ�้ำ คุณไม่ได้แค่ ส่งต่อข้อมูล แต่ยงั ใช้ทกุ วินาทีเพือ่ สือ่ สารว่าผูฟ้ งั ควรรับข้อมูลนัน้ ด้วยท่าที อย่างไร คุณท�ำทั้งหมดนี้ได้โดยไม่ต้องพูดอะไรเพิ่มสักค�ำเดียว หากต้องการตัวอย่างดีๆ ของวิธีใช้เสียงที่เหมาะเจาะ ลองดู ปาฐกถาของเคลลี แมคโกนิกัล, จอน รอนสัน, เอมี คัดดี, ฮานส์ โรสลิง และผู้พูดที่เก่งกาจอย่างหาตัวจับยากอย่างเซอร์เคน โรบินสัน โค้ชด้านการพูดบางคนอาจผลักดันให้คุณใช้เสียงที่หลากหลาย มากเกินขอบเขตที่คุณรู้สึกพอดี อย่าปล่อยให้เขาท�ำอย่างนั้นครับ ปล่อย ให้มนั ออกมาตามธรรมชาติจากความหลงใหลทีค่ ณ ุ มีตอ่ เรือ่ งนัน้ ส่วนใหญ่ คุณคงอยากให้ฟงั ดูเหมือนก�ำลังพูดคุยแลกเปลีย่ น สอดแทรกความสงสัย 278

T ED Talk s

ใคร่รแู้ ละความตืน่ เต้นในจังหวะทีเ่ หมาะสม ผมแนะน�ำให้ผพู้ ดู จินตนาการ ว่าได้เจอเพื่อนเก่าสมัยเรียน และเล่าให้เพื่อนฟังว่าคุณไปท�ำอะไรมาบ้าง นั่นละคือน�้ำเสียงแบบที่คุณตามหา จริงใจ เป็นธรรมชาติ ขณะเดียวกัน ก็ไม่กลัวที่จะปล่อยความรู้สึกออกมาเต็มที่ถ้าสิ่งที่คุณพูดเรียกร้องให้ท�ำ อย่างนั้น สิ่งส�ำคัญอีกข้อที่ควรใส่ใจคือ คุณพูดเร็วแค่ไหน ก่อนอื่นเลย การเปลี่ยนความเร็วไปตามสิ่งที่คุณพูดถึงนั้นเป็นสิ่งที่ดี พูดให้ช้าลงเมื่อ คุณแนะน�ำความคิดหลักหรืออธิบายอะไรทีซ่ บั ซ้อน และอย่ากลัวทีจ่ ะหยุด เป็นบางครั้ง แต่ควรพูดให้เร็วขึ้นระหว่างเล่าตัวอย่างหรือส่วนที่ไม่ส�ำคัญ เท่าใดนัก ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณควรพูดด้วยจังหวะความเร็วเท่ากับที่คุณพูดคุย ปกติ ส�ำหรับผู้พูดส่วนใหญ่ ความเร็วที่ว่าอยู่ระหว่าง 130-170 ค�ำต่อนาที มีบางคนให้ค�ำแนะน�ำเรื่องการพูดในที่สาธารณะว่าผู้พูดควร จงใจพูดให้ช้าลง ซึ่งผมคิดว่าในสถานการณ์ส่วนใหญ่ นั่นเป็นค�ำแนะน�ำ ที่แย่มาก โดยทั่วไปแล้ว ความเข้าใจเกิดได้เร็วกว่าการประดิษฐ์ค�ำพูด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ วงจรในสมองของผู้พูดต้องใช้เวลาแต่งประโยคนาน กว่าเวลาที่สมองของผู้ฟังใช้ประมวลข้อความนั้น (ยกเว้น ช่วงที่เป็น ค�ำอธิบายเรือ่ งซับซ้อน ใช่ครับ นีเ่ ป็นช่วงทีค่ ณ ุ ควรพูดช้าลง) ถ้าคุณพูดด้วย ความเร็วเท่าการพูดคุยสนทนาทั่วไป ดีแล้วครับ ผู้ฟังรับได้ แต่ถ้าคุณพูด ช้าลงกว่านั้นมากๆ คุณก�ำลังเชื้อเชิญความหงุดหงิดเข้ามาในห้อง ความ หงุดหงิดไม่เป็นมิตรกับคุณแน่นอน ขณะที่คุณเพลิดเพลินกับช่วงเวลา อันยิ่งใหญ่ ผู้ฟังก�ำลังตายลงช้าๆ เพราะหิวโหยถ้อยค�ำ โรรี ซัตเธอร์แลนด์ ผู้สามารถกล่าวปาฐกถาสุดฮาและให้ความรู้ ลึกซึง้ ตลอด 17 นาที ด้วยความเร็ว 180 ค�ำต่อนาที เชือ่ ว่าผูพ้ ดู จ�ำนวนมาก จะได้ประโยชน์จากการพูดให้เร็วขึ้นอีกนิด มีสองทางที่ท�ำให้ผู้ฟังหมดความสนใจ แต่เท่าที่เห็นมา การพูดเร็ว เป็ น สาเหตุ ใ ห้ ห มดความสนใจน้ อ ยกว่ า การพู ด ช้ า ถ้ า คุ ณ พู ด Chris Anderson

279

ช้าเกินไปจะเกิดปัญหาใหญ่กว่า เพราะมีเวลาให้จิตใจของผู้ฟัง ล่องลอย ผมรู้สึกผิดนิดๆ ที่จะบอกว่า ถ้าคุณพูดเร็วมากพอ คุณ จะเอาตัวรอดจากช่องว่างระหว่างประโยคที่ดูแปลกประหลาดได้ แต่ผมไม่ได้แนะน�ำให้พูดแบบไร้ตรรกะเชื่อมโยงระหว่างประโยค นะครับ การพูดเร็วช่วยปกปิดช่องโหว่ได้มากมาย ผู้ฟังมักไม่ว่า อะไรหรือไม่แม้แต่จะสังเกตค�ำว่า อืม หรือ เอ่อ ที่ชวนตะขิดตะขวง ถ้ามันโผล่มาและผ่านไปอย่างรวดเร็ว

ทัง้ โรรีและผมไม่ได้แนะน�ำให้คณ ุ รีบเร่งหรือพูดเร็วรัว แต่ขอแค่คณ ุ พูดเหมือนคุยกัน … และพร้อมจะเร่งให้เร็วขึ้นตามจังหวะที่เหมาะสมและ เป็นธรรมชาติ เทคนิคนี้ใช้ได้ผลทั้งในห้องประชุมและทางออนไลน์ ค�ำแนะน�ำนีท้ ำ� ให้คณ ุ แปลกใจไหมครับ คุณมองว่าการพูดต่อหน้า สาธารณชนนั้นตรงกันข้ามกับการพูดคุยสนทนาใช่หรือเปล่า ครั้งหนึ่งที่งานประชุม TED มีผู้พูดจากเอเชียใต้คนหนึ่งมาพูด ในงานนี้เป็นครั้งแรก เขาตะเบ็งสุดเสียงตั้งแต่เริ่มต้นซ้อม ผมสนับสนุน รูปแบบการพูดที่แตกต่างหลากหลายนะครับ แต่แบบนี้ฟังแล้วเหนื่อย จริงๆ ผมถามเขาว่าท�ำไมเขาจึงพูดแบบนัน้ เขาหยุดคิดชัว่ ครูแ่ ล้วตอบว่า “ในวัฒนธรรมของผม การพูดในที่สาธารณะหมายถึงการพูดให้ฝูงชนฟัง ซึ่งคุณต้องตะโกนหากอยากให้คนที่อยู่ข้างหลังได้ยิน แต่…” เขาหยุด “แต่ผมว่าผมคงไม่ต้องท�ำอย่างนั้นที่นี่ เพราะเรามีเครื่องตะโกนอัตโนมัติ” เขาแตะที่ไมโครโฟน แล้วเราทั้งคู่ก็ระเบิดเสียงหัวเราะออกมา อันที่จริงนี่เป็นประเด็นส�ำคัญนะครับ การพูดในที่สาธารณะ เกิดขึ้ นนานมากแล้วก่อนจะถึงยุคที่มีเครื่องขยายเสียง ไม่ว่าจะพูดกับ ฝูงชนกลุ่มใหญ่หรือเล็ก ผู้พูดต้องพูดช้าลง หายใจลึกๆ และเปล่งเสียง ออกมาสุดเสียง โดยหยุดพักระหว่างประโยคนานกว่าปกติเพือ่ เน้นอารมณ์ นั่นคือรูปแบบการพูดที่ทุกวันนี้เราเรียกว่า สุนทรพจน์ ซึ่งเป็นรูปแบบ การพูดที่ปลุกเร้าอารมณ์และการตอบสนองจากกลุ่มผู้ฟังได้อย่างมีพลัง ชวนให้นึกถึงหลายสุนทรพจน์ที่ทรงอิทธิพลที่สุดในงานวรรณกรรมและ 280

T ED Talk s

ในประวัตศิ าสตร์ ตัง้ แต่สนุ ทรพจน์ “Friends, Romans, Countrymen” ของ มาร์ก แอนโทนี ไปจนถึง “Give me liberty, or give me death!” ของ แพทริก เฮนรี แต่ในบริบทสมัยใหม่สว่ นใหญ่ เราไม่ควรใช้สนุ ทรพจน์พร�ำ่ เพรือ่ มันถ่ายทอดความหลงใหล ความเร่งเร้า และความรุนแรงได้ก็จริง แต่กับ อารมณ์ละเอียดลึกซึง้ อันหลากหลายนัน้ ค่อนข้างยาก และจากมุมมองของ ผู้ฟัง มันอาจมีพลังมากใน 15 นาทีแรก แต่น่าเหนื่อยหน่ายหากต้องฟัง เป็นชั่วโมง ถ้าคุณพูดกับคนคนเดียว คุณคงไม่พูดแบบสุนทรพจน์ และ คุณไม่สามารถจัดงานประชุมสัมมนาที่มีแต่สุนทรพจน์ทั้งวันได้แน่นอน นอกจากนี้ สุ น ทรพจน์ ยั ง ใช้ เ วลานานกว่ า การพู ด ปกติ ม าก สุนทรพจน์ “I have a dream” ของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง มีความเร็วประมาณ 100 ค�ำต่อนาที รังสรรค์ขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ และกล่าวออกมาเพื่อ เป้าประสงค์ทสี่ ำ� คัญยิง่ แต่ในปัจจุบนั นีค้ งมีโอกาสน้อยมากทีค่ ณ ุ จะเผชิญ สถานการณ์ที่ต้องพูดกับฝูงชน 200,000 คน ณ ใจกลางของเหตุการณ์ เคลื่อนไหวทางสังคมครั้งใหญ่ เครือ่ งขยายเสียงช่วยให้เราพูดกับฝูงชนได้ดว้ ยความรูส้ กึ ใกล้ชดิ มากขึ้น เป็นความสามารถของเทคโนโลยีที่เราควรใช้นะครับ มันสร้าง สายสัมพันธ์เชือ่ มโยงและความสนใจใคร่รไู้ ด้งา่ ยกว่าการกล่าวสุนทรพจน์ มาก โทนเสียงทีเ่ หมือนการพูดคุยทัว่ ไปจึงส�ำคัญยิง่ ขึน้ เมือ่ คุณฟังปาฐกถา ออนไลน์ ซึ่งมีคุณเป็นผู้ชมเพียงคนเดียวที่นั่งมองจออยู่ และคุณอยาก ให้ผู้พูดคุยกับคุณแบบนั้นด้วย ปาฐกถาที่ใช้รูปแบบสุนทรพจน์ต่อฝูงชน มักไม่ค่อยได้รับความนิยมแพร่หลายในโลกออนไลน์ ผู ้ พู ด บางคนติ ด กั บ ดั ก ตรงนี้ เมื่ อ อยู ่ บ นเวที อารามตื่ น เต้ น มักท�ำให้ผู้พูดหลงติดอยู่ในบรรยากาศโอ่อ่าของงาน และเริ่มน�ำรูปแบบ สุนทรพจน์มาใช้โดยไม่รู้ตัว พวกเขาพูดช้าลง พูดเสียงดังเกินไปนิด และ ใส่จงั หวะหยุดเค้นอารมณ์ระหว่างประโยค เหล่านีค้ อื ตัวการทีฆ ่ า่ ปาฐกถา อย่างสมบูรณ์แบบ การกล่าวสุนทรพจน์เป็นศิลปะอันลึกซึง้ ซึง่ มีแค่นอ้ ยคน Chris Anderson

281

จะเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง มันเหมาะจะใช้พูดในโบสถ์หรือเวลารณรงค์ หาเสียงทางการเมือง แต่ส�ำหรับการพูดในที่สาธารณะในโอกาสอื่นๆ ผม แนะน�ำว่าอย่าไปยุ่งกับมันดีกว่าครับ ให้ร่างกายมีส่วนร่วม เซอร์เคน โรบินสัน เคยกล่าวติดตลกไว้ว่า ศาสตราจารย์บางคน มองร่างกายของตัวเองเป็นเหมือนเครื่องมือพาหัวไปเข้าประชุม บางครั้ง ผู้พูดก็ดูเหมือนจะท�ำอย่างนั้น เมื่อร่างกายพาหัวขึ้นมาบนเวทีแล้ว มันก็ ไม่รู้ว่าจะท�ำอะไรกับตัวมันเองต่อดี ปัญหาจะยิ่งรุนแรงขึ้นในสถานการณ์ ที่ไม่มีแท่นบรรยายให้ซ่อนตัว ผู้พูดมักยืนเก้ๆ กังๆ มือแนบติดข้างล�ำตัว หรือขยับขาไปมา สิ่ ง ที่ ผ มไม่ อ ยากท� ำ เลยคื อ การก� ำ หนดแนวทางหนึ่ ง เดี ย วว่ า ควรท�ำอย่างไรกับภาษากาย ปาฐกถาทั้งหลายจะน่าเบื่ออย่างรวดเร็ว ถ้าผู้พูดทุกคนท�ำแบบเดียวกัน แต่มีสองสามอย่างที่คุณควรนึกถึง ซึ่ง อาจช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายขึ้น และเมื่อรู้สึกเช่นนั้น บารมีและความ น่าเชื่อถือของคุณจะส่งต่อไปสู่ผู้ฟังได้ดียิ่งกว่าเดิม วิธีง่ายที่สุดที่ช่วยให้กล่าวปาฐกถาได้อย่างมีพลังคือ ยืนตัวตรง ทิง้ น�ำ้ หนักเท่าๆ กันลงบนเท้าทัง้ สองข้างทีว่ างสบายๆ โดยเว้นระยะห่าง สักสองสามนิ้ว ใช้มือและแขนเป็นตัวช่วยขับเน้นสิ่งที่คุณพูดอย่างเป็น ธรรมชาติ ถ้าทีน่ งั่ ของผูฟ้ งั โค้งโอบล้อมเวทีเล็กน้อย คุณสามารถหันล�ำตัว ท่อนบนเพื่อพูดกับผู้ฟังที่นั่งอยู่คนละต�ำแหน่ง โดยไม่จ�ำเป็นต้องเดิน ไปมาเลย รู ป แบบนี้ ช ่ ว ยแสดงอ� ำ นาจที่ ส งบเยื อ กเย็ น นี่ เ ป็ น วิ ธี ที่ ผู ้ พู ด ส่วนใหญ่ของ TED ใช้กนั รวมทัง้ เซอร์เคนด้วย หัวใจส�ำคัญคือคุณต้องรูส้ กึ ผ่อนคลาย และเปิดโอกาสให้ร่างกายท่อนบนเคลื่อนไหวตามต้องการ ท่าทางทีด่ ชี ว่ ยคุณได้มาก หลีกเลีย่ งท่าห่อไหลลูไ่ ปข้างหน้า ท่ายืนทีเ่ ปิดเผย 282

T ED Talk s

อาจท�ำให้คณ ุ รูส้ กึ เปราะบาง … แต่ความเปราะบางนัน้ จะมีประโยชน์กบั คุณ กระนั้นผู้พูดบางคนก็ชอบเดินไปเดินมาบนเวที เพราะมันช่วย ให้เขาคิดออก และเอื้อให้เขาเน้นย�้ำในจังหวะส�ำคัญได้ดีขึ้น นี่เป็นวิธีที่ ได้ผลยอดเยี่ยมเช่นกัน เพราะการเดินท�ำให้ผ่อนคลายและไม่ตึงเครียด ลองชมปาฐกถาของฮวน เอนรีเกส หรือของอลิซาเบธ กิลเบิร์ต สิครับ ทั้งสองคนดูสบายและผ่อนคลายมาก นอกจากนี้ (ตรงนี้ส�ำคัญนะครับ) ทั้งคู่มักหยุดเดิน ณ จุดใดจุดหนึง่ อยู่บ่อยๆ จังหวะที่เกิดขึ้นนี่ละที่ท�ำให้ วิธีการนี้ได้ผลดี การเดินตลอดเวลาท�ำให้ดูแล้วเหนื่อย แต่หากเดินสลับ กับหยุดนิ่งจะดูมีพลังขึ้น อีกอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อย่าถ่ายน�้ำหนักจากขาหนึ่งไปอีก ขาหนึ่งสลับไปมาด้วยความหวั่นวิตก หรือเดินไปข้างหน้าแล้วถอยหลัง สองสามก้าวเหมือนก�ำลังโยกตัวไปมา ผูพ้ ดู หลายคนท�ำเช่นนีโ้ ดยไม่รตู้ วั เขาอาจก�ำลังวิตกกังวลเล็กน้อย และการขยับขาไปมาช่วยลดความ ตึงเครียดนี้ แต่จากมุมมองของผู้ฟัง มันกลับยิ่งเน้นให้เห็นชัดว่าเขา รู้สึกตึงเครียด ระหว่างซ้อมปาฐกถา TED มีหลายครั้งที่เราบอกผู้พูด ให้ผ่อนคลายแล้วยืนนิ่งๆ ซึ่งส่งผลกระทบแตกต่างไปจากเดิมทันที ดังนั้น จงเคลื่อนไหวถ้าคุณอยากเคลื่อนไหว แต่ขอให้รู้ตัวว่าคุณ เคลือ่ นไหวเพือ่ อะไร จากนัน้ เมือ่ ต้องการเน้นประเด็น คุณควรหยุดและพูด กับผู้ฟังด้วยท่าทางอันทรงพลังและสงบเยือกเย็น ยังมีอีกหลายวิธีที่ช่วยให้คุณพูดอย่างทรงพลัง เดม สเตฟานี เชอร์ลยี ์ (Dame Stephanie Shirley) เลือกนัง่ พูด เธอใช้เก้าอีโ้ ลหะทรงสูง เท้าข้างหนึง่ วางพักไว้บนทีว่ างเท้าตรงขาเก้าอี้ บนตักวางโน้ตเตือนความจ�ำ ดูผอ่ นคลายและเป็นธรรมชาติ โอลิเวอร์ แซกส์ (Oliver Sacks) นักประสาท วิทยาที่ยิ่งใหญ่ผู้ล่วงลับก็ชอบนั่งกล่าวปาฐกถาเช่นกัน ในขณะที่อีก สุดขัว้ หนึง่ คลิฟฟอร์ด สโตลล์ กระโดดและพุ่งทะยานไปรอบเวทีด้วยพลัง ล้นเหลือ ซึ่งเพิ่มมิติใหม่เอี่ยมอันมีเอกลักษณ์ให้แก่ปาฐกถาของเขา ฉะนั้นมันไม่มีกฎหรอกครับ นอกเสียจากขอให้คุณหารูปแบบที่ Chris Anderson

283

ท�ำให้คุณรู้สึกสบายและมั่นใจบนเวที ขณะเดียวกันก็ไม่รบกวนสิ่งที่คุณ ก�ำลังจะพูด วิธีทดสอบง่ายๆ คือ ลองฝึกซ้อมต่อหน้าผู้ฟังกลุ่มเล็กๆ และ ถามเขาว่าภาษากายของคุณขัดขวางการสื่อสารหรือเปล่า และ/หรือถ่าย วิดีโอตอนคุณพูดเพื่อดูว่าคุณท�ำอะไรที่ไม่รู้ตัวบ้างไหม โลกเราสามารถยอมรับและต้อนรับรูปแบบการน�ำเสนอมากมาย หลายแบบ แต่ขอให้แน่ใจว่าร่างกายของคุณไม่ได้มไี ว้เพือ่ เคลือ่ นย้ายศีรษะ ไปมาเท่านั้น มันได้รับอนุญาตให้เพลิดเพลินบนเวทีได้เช่นกัน พูดด้วยวิธีของคุณเอง เอาละครับ คราวนีก้ ถ็ งึ บทเรียนส�ำคัญทีส่ ดุ มีหลุมพรางทีค่ ณ ุ อาจ ตกลงไปอย่างง่ายดาย เพราะหลงติดอยู่กับความคิดที่ว่า คุณควรกล่าว ปาฐกถา อย่างไร จนลืมสิ่งที่ส�ำคัญกว่า นั่นคือ คุณควรกล่าวปาฐกถาใน รูปแบบที่ เป็นตัวคุณเอง อย่างแท้จริง เช่นเดียวกับเวลาเลือกเสื้อผ้า เมื่อคุณพบรูปแบบการน�ำเสนอ ที่ได้ผลดีส�ำหรับคุณแล้ว อย่าคิดมาก อย่าพยายามเป็นคนอื่น มุ่งความ สนใจไปที่เนื้อหาและความหลงใหลที่คุณมีต่อเรื่องนั้น … อย่ากลัวที่จะ ปล่อยให้บุคลิกภาพของคุณเองฉายแสงออกมา ความส�ำเร็จจากปาฐกถาของจิลล์ โบลที เทย์เลอร์ เมื่อปี 2008 ท�ำให้ผู้พูด TED รุ่นต่อมาต่างพยายามเลียนแบบการพูดที่เร้าอารมณ์ ความรู้สึกของเธอ นั่นคือความผิดพลาดที่แมรี โรช เกือบพลั้งไป สิ่งแรกที่ฉันท�ำหลังจากได้รับค�ำเชิญให้ไปกล่าวปาฐกถาคือ คลิกดู ปาฐกถา TED ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตอนนั้น ซึ่งคือปาฐกถา ของจิลล์ โบลที เทย์เลอร์ ฉันหยุดวิดีโอไว้หลังดูไปสองนาที เพราะ ฉันรู้ว่าฉันไม่สามารถเป็นจิลล์ โบลที เทย์เลอร์ ได้ ถึงฉันจะรู้สึก ไม่มั่นใจ แต่ฉันรู้ว่าการเป็นแมรี โรช ย่อมดีกว่าเป็นแมรี โรช ที่อยากเป็นจิลล์ โบลที เทย์เลอร์ 284

T ED Talk s

แดน พิงก์ เห็นด้วยกับเธอ จงพูดแบบทีเ่ ป็นตัวคุณ อย่าลอกเลียนรูปแบบใคร หรือท�ำตามสิง่ ที่ คุณคิดว่าเป็นวิธนี ำ� เสนอ “ในแบบ TED” เพราะมันจะน่าเบือ่ จืดชืด และถอยหลังลงคลอง อย่าพยายามเป็นเคน โรบินสัน หรือจิลล์ โบลที เทย์เลอร์ คนต่อไป จงเป็นตัวคุณเอง คนแรก และคนเดียว

Chris Anderson

285

18 นวัตกรรมของรูปแบบการพูด ความหวัง (และอันตราย) ของการพูดที่เข้าถึงทุกประสาทสัมผัส

ในเดือนพฤศจิกายน 2011 นักเขียนแนววิทยาศาสตร์ จอห์น โบฮันนอน (John Bohannon) ขึ้นเวที TEDxBrussels พร้อมกับอุปกรณ์ไม่ธรรมดา ที่ใช้เสริมการพูด เขาไม่ได้ใช้พาวเวอร์พอยต์ แต่พาทีมนักเต้นมาแทน ที่จริงทีมนักเต้นเป็นคนพาเขามามากกว่า พวกเขาแบกจอห์นขึ้นมาบน เวที และขณะที่เขาพูดถึงเลเซอร์และของไหลยิ่งยวด (superfluid) ทีม นักเต้นก็แสดงท่าทางเพื่อถ่ายทอดประเด็นที่เขาก�ำลังสื่อสาร นั่นเป็นการแสดงที่ตราตรึงใจ โบฮันนอนยังเสนอแนวคิดที่ว่า การเต้ น น่ า จะเป็ น ส่ ว นประกอบที่ ย อดเยี่ ย มส� ำ หรั บ ปาฐกถาทาง วิทยาศาสตร์ เขาถึงขนาดก่อตั้งกลุ่มสนับสนุนแนวคิดนี้ โดยตั้งชื่อว่า Dance Your PhD ถ้าคุณอยากให้ปาฐกถาของคุณโดดเด่นออกมาจากฝูงชนได้อย่าง แท้จริง มีทางเลือกที่เปิดให้คุณสร้างนวัตกรรมได้หลายทาง หากมองทีร่ ากฐาน ข้อจ�ำกัดเดียวคือเวลาทีค่ ณ ุ มี ภายใน 18 นาที คุณสามารถพูดได้ประมาณ 2,500 ค�ำ แต่คุณท�ำอะไรได้อีกบ้าง? ผู้ฟัง Chris Anderson

287

ของคุณมีประสาทสัมผัสทั้งห้าที่สามารถซึมซับข้อมูลได้หลายรูปแบบ พร้อมกัน ที่ TED เราใช้คำ� ว่า การเข้าถึงทุกประสาทสัมผัส (full spectrum) แทนค�ำเรียกความพยายามสารพัดวิธีที่จะเติมอะไรเข้าไปในปาฐกถา ให้มากกว่าถ้อยค�ำและสไลด์ นี่คือค�ำแนะน�ำ 16 ข้อที่คุณเอาไปพิจารณา เลื อ กใช้ ไ ด้ เราคาดหวั ง ว่ า เราคงจะได้ เ ห็ น นวั ต กรรมอี ก มหาศาลใน ปีต่อๆ ไปแน่นอน ทว่าคุณต้องใช้แต่ละรูปแบบด้วยความระมัดระวังสูงสุด ถ้าท�ำ ผิดพลาด มันจะดูเหมือนจงใจใส่ลกู เล่น แต่ถา้ ท�ำได้เหมาะสม ปาฐกถานัน้ จะยกระดับขึ้นไปอีกขั้นเลย 1. อุปกรณ์ประกอบที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ ยี่สิบปีที่แล้ว ผมไปฟังปาฐกถาเกี่ยวกับความจ�ำเป็นที่เราต้อง ต่อสู้เพื่อลดการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ผมจ�ำชื่อผู้พูด ชื่อองค์กรของเขา หรือ แม้แต่เนื้อหาที่เขาพูดไม่ได้เลย แต่ผมไม่มีวันลืมสิ่งที่เขาท�ำ เขาหยิบ เมล็ดถัว่ แห้งๆ มาหนึง่ เมล็ด ชูขนึ้ และพูดว่า “ผมอยากให้คณ ุ จินตนาการว่า นี่คืออาวุธเทอร์โมนิวเคลียร์ หรืออีกชื่อหนึ่งคือระเบิดไฮโดรเจน ซึ่งมีพลัง ท�ำลายล้างสูงกว่าระเบิดที่ฮิโรชิมาถึงพันเท่า” เขาโยนถั่วเมล็ดนั้นลงไป ในถังโลหะขนาดใหญ่ที่มีไมโครโฟนติดอยู่ เสียงแกร๊งเมื่อมันตกกระทบ และกระเด็นกระดอนนั้นดังจนน่าตกใจ จากนัน้ เขาก็พดู ต่อ “แล้วคุณคิดว่า ทุกวันนีใ้ นโลกเรามีหวั รบนิวเคลียร์อยูเ่ ท่าไร” เขาหยุดเล็กน้อยก่อนพูดต่อ ว่า “สาม … หมื่น” ก่อนจะเอื้อมไปหยิบถุงถั่วแห้งโดยไม่พูดอะไร เทถั่ว ลงไปในถัง เริ่มจากทีละเม็ด จากนั้นก็เทพรวดเป็นสาย เสียงดังลั่น น่าสะพรึงกลัว ณ วินาทีนั้น ทุกคนในห้องเข้าใจลึกซึ้งถึงทรวงในว่าท�ำไม เรื่องนี้จึงส�ำคัญ มีปาฐกถา TED มากมายหลายเรือ่ งทีย่ กระดับคุณภาพขึน้ ได้ดว้ ย 288

T ED Talk s

อุปกรณ์ประกอบที่คนคาดไม่ถึง เช่น จิลล์ โบลที เทย์เลอร์ อธิบายเรื่อง สมองซีกขวาและซีกซ้าย โดยน�ำสมองมนุษย์ที่สมบูรณ์พร้อมไขสันหลัง ห้อยต่องแต่งขึ้นมาบนเวที ท่าทีกระตือรือร้นยามเธอยกสมองก้อนนั้น ขึ้นมาจากถาดมีอะไรบางอย่างที่ติดตรึงใจผู้ฟังทุกคน มันคือวัตถุที่เธอ หลงใหล! บิลล์ เกตส์ ได้ขึ้นพาดหัวข่าวทั่วโลกเพราะเขาเปิดโถแก้ว ที่เต็มไปด้วยยุงออกมาระหว่างกล่าวปาฐกถาเรื่องมาลาเรีย โดยพูด ติดตลกว่า “ไม่มีเหตุผลว่าท�ำไมจึงควรมีแต่คนจนที่ได้รับประสบการณ์นี้” เจ. เจ. เอบรัมส์ ตรึงความสนใจของเราโดยน�ำกล่องลึกลับที่ปู่เคยให้ไว้ และเขาไม่เคยเปิดเลยขึ้นมาบนเวที (แน่นอนว่าเขาลงจากเวทีไปทั้งที่ยัง ไม่ได้เปิดกล่องนั้น) ถ้าคุณมีของอะไรที่สามารถน�ำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีพลัง นี่อาจเป็นวิธีที่ดีที่ช่วยให้แน่ใจว่าปาฐกถาของคุณจะไม่ถูกลืม แต่ต้องระวังนะครับ คิดถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริงด้วย ผมเคยเอางู ห ลามทองพั น รอบตั ว แล้ ว เดิ น ขึ้ น เวที เพื่ อ พู ด ถึ ง ความ มหัศจรรย์ของธรรมชาติ ผมคิดว่าผมเท่สดุ ๆ แล้ว … จนกระทัง่ ผูฟ้ งั ระเบิด เสียงหัวเราะออกมา ผมไม่รวู้ า่ งูหลามนัน้ ชอบเข้าหาความอบอุน่ มันเลือ้ ย ไปตามแผ่นหลังและโผล่ออกมาตรงหว่างขาของผมพร้อมส่ายหัวไปมา เจ๋งเลย แต่ไม่ใช่แบบที่ผมตั้งใจจะให้เป็นนะ 2. จอภาพกว้างแบบพาโนรามา ในงาน TED2015 เนริ ออกซ์แมน (Neri Oxman) ศิลปินและ นักออกแบบจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์หรือเอ็มไอที ท�ำให้ ทุกคนทึ่งจนลืมหายใจเมื่อเธอน�ำเสนอชุดภาพคู่ขนานสองชุดซึ่งฉาย พร้ อ มกั น บนจอยั ก ษ์ ที่ ข ยายจากจุ ด ที่ เ ธอยื น แผ่ อ อกไปทั้ ง สองข้ า ง ข้างหนึ่งเผยให้เห็นภาพเทคโนโลยีเบื้องหลังงานของเธอ อีกข้างหนึ่งคือ ฝั่งที่เชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตมากกว่า Chris Anderson

289

แต่ละจอนั้นน่าประทับใจ และเมื่อประกอบกันสองจอก็ยิ่งตื่นตา ตื่นใจ แต่ไม่ใช่แค่ผลกระทบจากภาพที่เราเห็นเท่านั้น มันยังท�ำให้เรา ตระหนักอย่างลึกซึ้งถึงลักษณะงานคู่ขนานที่เธอท�ำในฐานะนักออกแบบ และศิลปินที่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ งานประชุมกูเกิลไซไกส์ (Google Zeitgeist) เป็นหนึ่งในงานประชุมที่สร้างนวัตกรรมการน�ำเสนอด้วย จอภาพกว้างเป็นพิเศษ ท�ำให้สามารถแสดงภาพเดียวกันในแบบฉบับ ทีห่ ลากหลาย ภาพถ่ายพาโนรามาทีน่ า่ ตืน่ ตาตืน่ ใจและตัวอักษรขนาดใหญ่ ขยายยาวออกไปทัง้ สองข้างของผูพ้ ดู ได้ไกลถึง 100 ฟุต วิธนี ำ� เสนอแบบนี้ มอบความรู้สึกน่าเหลือเชื่อราวอยู่ในโรงภาพยนตร์ (ที่ยากคือจะตัดต่อ เพือ่ น�ำไปเผยแพร่ออนไลน์ได้อย่างไร เพราะปัจจุบนั นีข้ นาดจอทีค่ นทัว่ ไป หาซื้อได้ยังจ�ำกัดอยู่ที่ขนาดวิดีโอมาตรฐานอย่าง 16:9 หรือ 4:3 ดังนั้น วิธีน�ำเสนอแบบนี้อาจจะน่าทึ่งมากในห้องประชุม แต่ยากที่ผู้ชมออนไลน์ จะได้สัมผัสและชื่นชม) 3. การกระตุ้นหลากหลายประสาทสัมผัส ผูพ้ ดู บางคนพยายามวิง่ ออกนอกกรอบของภาพสองมิตกิ บั ระบบ เสียงสเตอริโอ เรามีเชฟที่ปล่อยกลิ่นอาหารอร่อยๆ ที่ปรุงสดบนเวทีให้ อบอวลอยูใ่ นห้องประชุม หรือบางคนก็แจกถุงตัวอย่างล่วงหน้าเพือ่ ให้ผฟู้ งั ได้กลิ่นและชิมรส วูดดี นอร์ริส (Woody Norris) แสดงให้เราเห็นว่า จะท� ำ อย่ า งไรให้ เ สี ย งไฮเปอร์ โ ซนิ ก ที่ เ ขาประดิ ษ ฐ์ คิ ด ค้ น ขึ้ น สามารถ ส่ ง ผ่ า นจากเวที ไ ปยั ง ผู ้ ฟ ั ง แต่ ล ะคน โดยมี แ ค่ บุ ค คลในต� ำ แหน่ ง ที่ นั่ ง ดังกล่าวเท่านั้นที่ได้ยิน สตีฟ ชแคลร์ (Steve Schklair) ผู้บุกเบิกกล้อง สามมิติ สาธิตให้เราได้ดูก่อนใครว่าประสบการณ์ชมกีฬาแบบสามมิติ เป็นอย่างไร โดยน�ำแว่นตาสามมิติมาแจกให้ทุกคนด้วย ลูคา ทูริน (Luca Turin) นักออกแบบน�้ำหอม ใช้เครื่องปั๊มกลิ่นที่แตกต่างกันเข้ามาในห้อง ปาฐกถาที่ก้าวข้ามขอบเขตของปาฐกถาประเภทใดประเภทหนึ่งนั้น 290

T ED Talk s

น่าสนใจเสมอ แต่นอกจากเรื่องภาพหรือวิดีโอสามมิติแล้ว เทคนิคนี้ คงใช้ได้จ�ำกัดอยู่แค่หัวข้อไม่กี่หัวข้อเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในงาน TED2015 เดวิด อีเกิลแมน พยายามพิสจู น์ ว่าเราสามารถเพิ่มประสาทสัมผัสอันแปลกใหม่ได้ด้วยเทคโนโลยี โดย ฝึกสมองให้เข้าใจแบบแผนของสัญญาณไฟฟ้าจากแหล่งใดก็ตาม เช่น สภาพอากาศหรือตลาดหุ้น บางทีในอนาคตอาจมีงานสัมมนาที่ให้ผู้ฟัง สวมเสื้อไฟฟ้าซึ่งเชื่อมต่อกับระบบเพื่อให้สัมผัสจินตนาการของผู้พูดได้ โดยตรง ถ้าใครสามารถประดิษฐ์ สิ่งนี้ ได้ โปรดติดต่อผมเลยนะครับ 4. จัดรายการพอดคาสต์บนเวที หนึง่ ในไฮไลต์ของงาน TED2015 คือปาฐกถาของโรมัน มาร์ส กูรู ด้านการออกแบบ แทนที่มาร์สจะเดินขึ้นมาบนเวทีพร้อมไมโครโฟน เขา กลับนัง่ ลงหลังแท่นควบคุมเสียง แล้วเริม่ ต้นว่า “ผมรูว้ า่ คุณคิดอะไรอยู่ ท�ำไม อีตานี่ถึงนั่งลงแบบนั้นล่ะ? ก็เพราะ … นี่คือรายการวิทยุไงครับ!” เสียง เพลงดังขึ้น แล้วเขาก็เริ่มร่ายต่อ มาร์สเป็นนักจัดรายการพอดคาสต์ ที่โด่งดังอย่างรายการ 99% Invisible และเขาด�ำเนินปาฐกถาทั้งหมด เสมือนว่าเขาก�ำลังอัดรายการพอดคาสต์ พร้อมด้วยคลิปเสียงและภาพ ที่ตัดต่อผสมผสานเข้ามาในปาฐกถาอย่างแม่นย�ำระดับเสี้ยววินาที วิธีนี้ ท�ำให้ปาฐกถามีชีวิตชีวาอย่างไม่น่าเชื่อ มาร์ก รอนสัน ดีเจชื่อดังระดับ ซูเปอร์สตาร์ก็ใช้แท่นควบคุมเสียงเป็นส่วนหนึ่งในปาฐกถาเช่นกัน ส่วน ไอรา กลาสส์ (Ira Glass) ผู้จัดรายการ This American Life เองก็ใช้ ไอแพดตัดต่อเนื้อหาบางส่วนในรายการสดของเขา อันที่จริงเทคนิคนี้อาศัยทักษะสูงเกินกว่าที่พวกเราส่วนใหญ่มี แต่ผมเริ่มเห็นว่ามันกลายเป็นรูปแบบทางศิลปะในตัวมันเอง มันคือ รูปแบบที่ผู้พูดควบต�ำแหน่งดีเจ ท�ำหน้าที่ผสมผสานตัดต่อความคิดจาก หลากหลายแหล่งแบบสดๆ ณ ขณะนั้น ถ้าคุณคิดว่านี่เป็นทักษะที่คุณ Chris Anderson

291

พัฒนาให้เชี่ยวชาญได้ มันอาจคุ้มค่าที่จะทุ่มเทเวลาฝึกฝนนะครับ 5. การสัมภาษณ์ที่มีภาพประกอบ การสัมภาษณ์อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่ทดแทนปาฐกถาได้ มันให้ โอกาสคุณท�ำสิ่งเหล่านี้ • ส�ำรวจหัวข้อที่หลากหลายโดยไม่ต้องมีแก่นเรื่อง นอกจาก เรื่องราวชีวิตและงานของผู้พูด • กระตุ้นให้ผู้พูดอธิบายลงลึกกว่าที่เขาจะพูดในปาฐกถาทั่วไป (โดยเฉพาะผู ้ พู ด ที่ มี ชื่ อ เสี ย งโด่ ง ดั ง มากๆ ซึ่ ง บทปาฐกถา ของเขามักเขียนขึ้นโดยฝ่ายสื่อสารขององค์กร) ที่ TED เราได้ทดลองใช้รูปแบบการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์และ ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องเตรียมตัวมาก่อน ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้โต้ตอบ แลกเปลี่ยนความเห็นสดๆ เหมือนการสัมภาษณ์แบบดั้งเดิมด้วย มันคือ บทสนทนา พร้อมชุดภาพประกอบ ซึง่ ทัง้ สองฝ่ายเตรียมมาล่วงหน้า ภาพที่ น�ำมาแสดงเป็นตัวระบุบทตอนของหัวข้อต่างๆ ทีจ่ ะพูดคุยกัน และยังช่วย เพิ่มจุดอ้างอิงที่แปลกใหม่น่าสนใจให้กับบทสนทนา ตอนทีผ่ มสัมภาษณ์อีลอน มัสก์ ผมขอให้เขาส่งวิดโี อทีย่ งั ไม่คอ่ ย มีใครเคยเห็น ซึง่ ฉายภาพประเด็นหลักทีเ่ ราต้องการพูดถึง เช่น งานสร้าง ยานอวกาศที่น�ำกลับมาใช้ใหม่ได้ เมื่อถึงจังหวะที่เหมาะสม ผมแค่เปิด วิดีโอที่เกี่ยวข้องและขอให้เขาอธิบายว่าภาพที่เราดูอยู่ตอนนี้คืออะไร มัน ช่วยเพิ่มจังหวะจะโคนและท�ำให้การสัมภาษณ์มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่นเดียวกันกับตอนทีผ่ มสัมภาษณ์บลิ ล์และเมลินดา เกตส์ เรือ่ ง ชีวิตที่อุทิศให้งานการกุศลของทั้งคู่ ผมขอให้พวกเขาส่งภาพถ่ายสมัย ที่เพิ่งเริ่มเข้ามาคลุกคลีกับงานด้านสาธารณสุข ภาพหลักฐานอะไรก็ได้ 292

T ED Talk s

ทีบ่ อกให้รวู้ า่ ท�ำไมทัง้ คูจ่ งึ ตัดสินใจมาท�ำงานการกุศลช่วยเหลือเพือ่ นมนุษย์ กราฟหรือภาพส�ำคัญคนละหนึ่งภาพที่มีความหมายส�ำหรับพวกเขา และ เรายังขอภาพครอบครัวด้วย เพราะเราอยากชวนคุยเรือ่ งการสืบทอดมรดก ภาพทีท่ งั้ คูเ่ ลือกมาท�ำให้การสัมภาษณ์ครัง้ นัน้ ให้ความรูส้ กึ ใกล้ชดิ และเป็น ส่วนตัวกว่าที่คาดไว้มากทีเดียว รูปแบบนี้เป็นการพบกันครึ่งทางที่น่าพึงพอใจระหว่างการกล่าว ปาฐกถาและการสัมภาษณ์ มันเปิดโอกาสให้ผใู้ ห้สมั ภาษณ์ไตร่ตรองอย่าง รอบคอบว่าอยากวางโครงสร้างความคิดทีส่ ำ� คัญส�ำหรับเขาอย่างไร พร้อม กับลดความเสี่ยงที่เขาจะพูดเรื่อยเปื่อยหรือนึกค�ำตอบไม่ออก ผมนึก นวัตกรรมขึ้นมาได้อีกหลายอย่างเลยครับ เช่น ผู้ให้สัมภาษณ์อาจกล่าว ปาฐกถาแบบเป็นกันเองพร้อมสไลด์ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึง่ ในขณะทีป่ าฐกถา ด�ำเนินอยู่ หากมีประเด็นไหนไม่ชัดเจน ผู้สัมภาษณ์ก็มีทางเลือกที่จะถาม ค�ำถามสดๆ บนเวทีได้เลย 6. ผสมผสานการร่ายบทกลอน นี่เป็นรูป แบบศิล ปะอันทรงพลังที่ถือก�ำเนิดขึ้นในชุมชนชาว แอฟริกันอเมริกันช่วงทศวรรษ 1970-1980 และกลายเป็นที่นิยมอย่างสูง ในวัฒนธรรมกระแสหลัก การร่ายบทกลอน (spoken word) อาจจัดได้วา่ เป็นการแสดงศิลปะบทกวีประเภทหนึ่ง ซึ่งมักผสมผสานการเล่าเรื่อง กับการเล่นค�ำที่ละเอียดซับซ้อน ศิลปินนักร่ายบทกลอนขยายขอบเขต เพิ่มเติมจากปาฐกถาแบบดั้งเดิมได้อย่างน่าตื่นเต้น พวกเขาไม่ต้องการ “อธิบาย” หรือ “โน้มน้าว” ในลักษณะเดียวกับทีบ่ รรยายไว้ในหนังสือเล่มนี้ แต่ต้องการเล่นกับการใช้ภาษาดั้งเดิมที่ไพเราะกว่า เป็นภาษาที่สามารถ สร้างพลัง กระทบความรู้สึก ให้ข้อมูล และก่อแรงบันดาลใจ มีวิธีผสมผสานการร่ายบทกลอนเข้ากับการพูดในที่สาธารณะ อยู่หลายวิธี ซาราห์ เคย์ (Sarah Kay) คลินต์ สมิธ (Clint Smith) Chris Anderson

293

มั ล คอล์ ม ลอนดอน (Malcolm London) ซู แ ฮร์ ฮั ม มั ด (Suheir Hammad) เชน คอยซาน (Shane Koyczan) และรีฟส์ คือตัวอย่างของ ผู ้ พู ด ที่ น� ำ เสนอปาฐกถากึ่ ง การแสดงได้ อ ย่ า งน่ า จดจ� ำ บนเวที TED อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่เทคนิคที่ท�ำเล่นๆ ได้ง่ายๆ หากท�ำออกมาไม่ดี การ ร่ายบทกลอนนั้นก็อาจให้ผลที่แย่ราวหายนะ! 7. ส�ำรวจเรื่องราวผ่านบทกวีในรูปแบบวิดีโอ ทอม คอนีฟส์ (Tom Konyves) กวีชาวแคนาดา ให้นยิ ามไว้วา่ บทกวี ในรูปแบบวิดีโอ (videopoetry) คือ “การร้อยเรียงภาพ ตัวอักษร และ เสียงเข้าด้วยกันอย่างมีสุนทรียะ” วิดีโอออนไลน์จุดประกายการทดลอง สร้างบทกวีในรูปแบบวิดโี อ โดยผสานส่วนผสมทุกอย่างทีจ่ ะจินตนาการได้ ไม่ว่าจะเป็นถ้อยค�ำ คลิปภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชั่น และเสียงบรรยาย ประกอบ นี่คือสื่อประเภทใหม่ที่สามารถสร้างสีสันให้ปาฐกถาได้ เมื่อ บิลลี คอลลินส์ (Billy Collins) อดีตกวีราชบัณฑิตแห่งสหรัฐอเมริกา มาเยือน TED เขาน�ำเสนอผลงานห้าชิ้นที่สร้างในรูปแบบวิดีโอ เราต่าง เห็นพ้องต้องกันว่าภาพแอนิเมชั่นช่วยเสริมให้ถ้อยค�ำที่ทรงพลังอยู่แล้ว ยิ่งส่งผลกระทบเข้มข้น การแสดงร่ายบทกลอนของเชน คอยซาน บน เวที TED เองก็มีวิดีโอประกอบเป็นฉากหลัง วิดีโอเหล่านี้สร้างสรรค์โดย นักสร้างแอนิเมชั่น 80 คนที่รวบรวมมาด้วยวิธีระดมความช่วยเหลือผ่าน โลกออนไลน์ (crowdsourcing) เทคนิคบทกวีในรูปแบบวิดโี อนีม้ ศี กั ยภาพ ที่จะน�ำไปทดลองน�ำเสนอบนเวทีสด ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ของปาฐกถาก็ตาม

294

T ED Talk s

8. เพิ่มดนตรีประกอบ ท�ำไมหนังแทบทุกเรื่องถึงต้องมีดนตรีประกอบ? ดนตรีส่งให้ทุก อารมณ์เข้มข้นขึ้น ทั้งยังสามารถใช้บ่งบอกช่วงเวลาที่ส�ำคัญเป็นพิเศษ ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ โศกเศร้า โหยหา ตื่นเต้น และวาดหวัง ถ้าอย่างนั้นท�ำไมไม่ลองเอามาใช้ในปาฐกถาล่ะ ผู้พูดหลายคนทดลองเรื่องนี้แล้ว เมื่อจอน รอนสัน เล่าเรื่องอัน น่าขนลุกเกี่ยวกับคนที่ถูกจ�ำคุกเพราะต้องสงสัยว่าเป็นอาชญากรโรคจิต จูเลียน เทรเชอร์ ซึง่ อยูบ่ นเวทีเยือ้ งไปทางด้านหลังของเขาเป็นผูร้ บั หน้าที่ สร้างเสียงประกอบ นิตยสาร Pop Up Magazine ซึง่ พยายามเปลีย่ นเนือ้ หา ของนิตยสารให้เป็นการแสดงสด มักเสริมแต่งเรือ่ งราวในเล่มด้วยดนตรีสด จากวงเครื่องสายสี่ชิ้นหรือวงแจ๊สที่มีเครื่องดนตรีสามชิ้น เช่นกรณีของ ลาทีฟ นาสเซอร์ (Latif Nasser) ผู้เล่าเรื่องราวอันน่าทึ่งของชายผู้คิดค้น ยาแก้ปวดสมัยใหม่ หากคุ ณ เลื อ กเดิ น ทางนี้ นอกจากต้ อ งทุ ่ ม เทแรงกายแรงใจ ซ้อมเพิ่มอย่างหนักหน่วง วิธีนี้ยังมีความเสี่ยงอีกข้อคือ มันขับเน้น ข้อเท็จจริงว่านี่คือการแสดง ไม่ใช่การพูดสด ซึ่งอาจท�ำให้ผู้ฟังรู้สึกถึง ความเหินห่าง และในหลายครั้งเพลงประกอบอาจท�ำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าผู้พูด จงใจบงการอารมณ์ความรู้สึกของเขา อย่างไรก็ดี แนวทางนี้ดูจะเป็นพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ที่น่าทดลอง อะไรใหม่ๆ เส้นทางหนึ่งอาจใช้นักดนตรีที่สามารถด้นสดตามสิ่งที่เขา ได้ยิน ณ ขณะนั้น ส่วนอีกทางหนึ่งอาจเพิ่มความเข้มข้นด้านการแสดง ไปเลย เพื่อบอกให้ชัดเจนว่าปาฐกถารูปแบบนี้จะมีลักษณะอย่างนี้แหละ

Chris Anderson

295

9. วิธีของเลสซิก ลอว์เรนซ์ เลสซิก ศาสตราจารย์ดา้ นกฎหมาย บุกเบิกการน�ำเสนอ รูปแบบใหม่ที่เรียกได้ว่าเป็นพาวเวอร์พอยต์ใส่ยาโด๊ป เพราะทุกประโยค และค� ำ ส� ำ คั ญ แทบทุ ก ค� ำ จะมาพร้ อ มกั บ สไลด์ ภ าพใหม่ ซึ่ ง อาจเป็ น แค่ค�ำหนึ่งค�ำ ภาพถ่าย ภาพวาดประกอบ หรือไม่ก็อาจเล่นค�ำพ้อง ความหมายด้วยภาพ ตัวอย่างของปาฐกถาทีใ่ ช้วธิ นี คี้ อื บทพูดยาว 18 วินาที ในปาฐกถา TED ของเขาเมื่อปี 2013 ซึ่งผมใส่สัญลักษณ์ // แทนช่วงที่ เปลี่ยนสไลด์นะครับ รัฐสภาได้วิวัฒนาการการพึ่งพารูปแบบใหม่ // โดยไม่ได้พึ่งพา ประชาชนเพียงอย่างเดียว // แต่หันมาพึ่งพาผู้ให้ทุนสนับสนุน มากขึ้น // นี่คือการพึ่งพาเช่นกัน แต่มัน // แตกต่างและขัดแย้งกับ // การพึ่งพาประชาชนเพียงอย่างเดียว // ตราบใดที่ // ผู้ให้ทุนนั้น ไม่ใช่ประชาชน // นี่คือการคอร์รัปชั่น //

ดูไม่น่าจะได้ผลเลยนะครับ พายุการเปลี่ยนแปลงสารพัดแบบ ในสไลด์ของเขาดูจะละเมิดกฎเกณฑ์การออกแบบใดๆ ทั้งสิ้น แต่เมื่อ มาอยู่ในมือของเลสซิก มันกลับตรึงความสนใจของผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็น แบบตัวอักษร การจัดวาง และภาพที่เขาใช้ ล้วนชาญฉลาดและสง่างาม จนคุณต้องทึ่ง เขาบอกผมว่าเหตุผลทีเ่ ขาหันมาน�ำเสนอแบบนีเ้ ป็นเพราะ เขาเบื่อที่เห็นผู้คนในงานประชุมด้านเทคโนโลยีเอาแต่ก้มมองหน้าจอ ของตัวเองตลอดเวลาทีเ่ ขาบรรยาย เขาไม่ตอ้ งการให้คนเหล่านีม้ เี วลามอง ที่อื่นได้แม้สักวินาที รูปแบบการน�ำเสนอของเลสซิกแตกต่างจากรูปแบบอื่นอย่างน่า เหลือเชือ่ จนบางคนถึงกับตัง้ ชือ่ ให้มนั ว่า วิธขี องเลสซิก (Lessig Method) ถ้าคุณกล้าพอ จะลองท�ำตามดูก็ได้นะครับ แต่ขอให้พร้อมที่จะสละเวลา เพือ่ เตรียมตัวและฝึกซ้อม และเช่นเคยครับ โปรดระมัดระวังด้วย เสน่หอ์ นั 296

T ED Talk s

เฉียบคมของวิธีนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรายละเอียดและจังหวะการเปลี่ยนสไลด์ ทีเ่ หมาะเจาะ ถ้าเทคนิคนีไ้ ปอยูใ่ นมือคนทีไ่ ม่เข้าใจ มันอาจจะดูเงอะงะและ พยายามชี้น�ำมากเกินไป 10. การน�ำเสนอคู่ โดยทั่ ว ไปเราไม่ ส นั บ สนุ น ปาฐกถาที่ มี ผู ้ พู ด มากกว่ า หนึ่ ง คน วิธีนี้ท�ำให้ผู้ฟังสร้างสัมพันธ์กับผู้พูดได้ยากขึ้น เพราะผู้ฟังไม่รู้ว่าจะมอง ใครดี และอาจไม่รสู้ กึ เชือ่ มโยงกับผูพ้ ดู คนไหนอย่างลึกซึง้ แต่กม็ ขี อ้ ยกเว้น เช่นกัน หากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้น�ำเสนอทั้งสองคนช่วยเพิ่มรายละเอียด ให้แก่ปาฐกถานัน้ อย่างแท้จริง ในปาฐกถาทีเ่ บเวอร์ลยี ์ (Beverly Joubert) และเดเร็ก จูเบิรต์ (Dereck Joubert) เล่าถึงช่วงเวลาตลอดทัง้ ชีวติ ทีค่ ลุกคลี กับเสือดาวและแมวป่าพันธุ์อื่นๆ ความรักและเคารพอันแจ่มชัดระหว่าง คนทั้งสองนั้นสร้างความประทับใจให้ผู้ฟังด้วยตัวมันเอง ผมรูส้ กึ ว่าวิธนี ำ� เสนอแบบนีย้ งั มีชอ่ งว่างให้นวัตกรรมอีกมากมาย โดยส่วนใหญ่เวลาทีน่ ำ� เสนอเป็นคู่ เมือ่ ผูพ้ ดู คนหนึง่ ไม่ได้พดู เขามักยืนเฉยๆ หรือมองคู่ของตน แต่ยังมีสิ่งที่ท�ำได้อีกมากมายหลายอย่าง เช่น • • • • •

ท�ำท่าทางต่างๆ จ�ำลองเหตุการณ์ซ�้ำ เล่นเครื่องดนตรีหรือเครื่องเคาะจังหวะคลอตาม วาดภาพหรือระบายสี พูดเสริมเป็นระยะ

ถ้าลอว์เรนซ์ เลสซิก มีพี่น้องฝาแฝด คุณคงจินตนาการออกว่า พวกเขาน่าจะต่อประโยคให้กันและกัน ซึ่งจะสร้างผลกระทบที่เข้มข้นขึ้น เป็นเท่าทวี Chris Anderson

297

แต่รูปแบบนี้ก็มีความเสี่ยงสูง เมื่อมีผู้น�ำเสนอสองคน ขั้นตอน เตรี ย มการย่ อ มซั บ ซ้ อ นมากขึ้ น การพู ด และการแสดงของผู ้ พู ด แต่ละคนต้องขึน้ อยูก่ บั อีกคนหนึง่ นอกจากนีย้ งั มีโอกาสสูงขึน้ ทีจ่ ะรูส้ กึ ว่า ทัง้ ค�ำพูดเสริมหรือจังหวะรับส่งล้วนเป็นบททีว่ างไว้ลว่ งหน้า ผมไม่แนะน�ำ ให้ลองรูปแบบนี้ เว้นแต่ว่าคุณจะมั่นใจล้นเหลือ และเคมีของคุณเข้ากับ อีกคนหนึ่งมากพอที่จะทดลองพูดร่วมกันได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่ถึง อย่างนั้นผมก็คิดว่าวิธีนี้ยังมีช่องทางเป็นไปได้อยู่ครับ 11. โต้วาทีแนวใหม่ ถ้าคุณตั้งใจให้มีคนสองคนอยู่บนเวทีพร้อมกัน ส่วนใหญ่แล้วจะ น่าสนใจมากขึ้นหากสองคนนี้มีจุดยืนคนละขั้วในประเด็นนั้น บ่อยครั้ง หนทางที่จะช่วยให้คุณเข้าใจความคิดบางอย่างได้ลึกซึ้งที่สุดคือเมื่อคุณ เห็นมันถูกท้าทาย มีการโต้วาทีหลายรูปแบบทีน่ ำ� เสนอสารพัดวิธนี า่ ตืน่ เต้น ซึ่งท�ำให้เกิดกระบวนการดังกล่าว หนึ่งในรูปแบบที่ดีที่สุดคือออกซฟอร์ด ยูเนียน (Oxford Union) โดยมีผู้พูดฝ่ายละสองคน ผลัดกันพูดสนับสนุน หรือคัดค้านข้อเสนอที่เป็นประเด็นขัดแย้งคนละ 7 นาที หลังจากผู้ด�ำเนิน รายการหรือผู้ฟังเข้ามามีส่วนร่วมโต้แย้งหรือซักถาม ผู้พูดแต่ละคน จะมีเวลาอีกคนละ 2 นาทีเพื่อกล่าวสรุป จากนั้นผู้ฟังจะลงคะแนน (คุณ สามารถรั บ ชมกระบวนการจริ ง ได้ ท างเว็ บ ไซต์ อั น ยอดเยี่ ย มที่ ชื่ อ ว่ า IntelligenceSquareUS.org) แต่ น อกจากนี้ยังมีรูป แบบอีกหลากหลาย และผมอยากเห็น นวัตกรรมเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้น เช่น คุณอาจลองรูปแบบเหมือนในศาล ซึ่ง ผูถ้ ามทีม่ ที กั ษะสูงจะท�ำหน้าทีซ่ กั ถามพยานแต่ละคน เราวางแผนว่าจะน�ำ รูปแบบการโต้วาทีมาใช้ให้มากขึ้นในงานประชุม TED ในอนาคต

298

T ED Talk s

12. พายุภาพประกอบ ปาฐกถาโดยช่างภาพ ศิลปิน และนักออกแบบส่วนใหญ่มักใช้วิธี ฉายภาพสไลด์ไปตามล�ำดับพร้อมกับบรรยายทีละภาพ ซึ่งก็ดีครับ แต่ ผูพ้ ดู อาจเสียเวลาอยูก่ บั แต่ละสไลด์นานเกินไป ถ้าพรสวรรค์หลักของคุณ คือเรือ่ งภาพ คุณก็นา่ จะใช้ภาพเยอะๆ แทนทีจ่ ะเป็นถ้อยค�ำเยอะๆ ดังนัน้ จึง สมเหตุสมผลทีจ่ ะเพิม่ จ�ำนวนสไลด์ให้มากขึน้ และลดถ้อยค�ำทีใ่ ช้บรรยาย แต่ละภาพให้น้อยลง มีหลายคนพยายามสร้างรูปแบบนี้ให้เป็นระบบ เช่น ที่งาน เพชะคุชะ (PechaKucha) ก�ำหนดว่าให้ฉายสไลด์ 20 สไลด์ โดยให้เวลา บรรยายสไลด์ละ 20 วินาที สไลด์จะเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้พูดต้องตาม ให้ทัน ชุดปาฐกถาอิกไนต์ (Ignite talk) ที่ประกาศตัวว่าเป็น “งานชุมนุม ของเซียนตัวจริง” ใช้รปู แบบคล้ายๆ กัน แต่ผพู้ ดู มีเวลาลดลงเหลือ 15 วินาที ต่อสไลด์ ทั้งสองวิธีท�ำให้งานประชุมออกมายอดเยี่ยมและด�ำเนินไปได้ อย่างรวดเร็ว แต่กย็ งั คงมีชอ่ งว่างส�ำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ อยูน่ ะครับ ไม่มเี หตุผล ว่าท�ำไมทุกสไลด์จะต้องใช้เวลาเท่ากันหมด ผมอยากเห็นการน�ำเสนอ ที่มี 100 สไลด์ภายใน 6 นาที ซึ่งในจ�ำนวนนั้นมี 12 สไลด์เป็นสไลด์ ที่จะ “หยุดค้างแล้วบรรยาย” โดยให้เวลาสไลด์ละ 20 วินาที ส่วนที่เหลือ อาจน�ำเสนอด้วยความเร็วหนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งวินาที และอาจมีเสียงเพลง ประกอบหรือไม่มีก็ได้ 13. นิทรรศการสด ภาคต่อขยายขั้นสูงสุดของรูปแบบพายุภาพประกอบคือ ให้ จิ น ตนาการไปเลยว่ า คุ ณ ไม่ ไ ด้ ก� ำ ลั ง กล่ า วปาฐกถา แต่ ก� ำ ลั ง สร้ า ง สุดยอดประสบการณ์ให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเขาด�ำดิ่งอยู่ท่ามกลางผลงานของคุณ Chris Anderson

299

สมมติว่าคุณเป็นช่างภาพ ศิลปิน หรือนักออกแบบที่ได้แสดงงานในห้อง นิทรรศการหลักของหอศิลป์ทยี่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก คุณอยากให้ประสบการณ์ นั้นเป็นอย่างไร ลองจินตนาการภาพผู้คนเคลื่อนที่จากผลงานชิ้นหนึ่งไป อีกชิ้นหนึ่ง การจัดแสงที่สมบูรณ์แบบ มีค�ำบรรยายที่รังสรรค์ขึ้นมาอย่าง พิถีพิถันส�ำหรับผลงานแต่ละชิ้น เพื่อให้ผู้ชมรับทราบข้อมูลบริบทอย่าง พอเหมาะพอดี ทีนี้ … ท�ำไมเราไม่สร้างประสบการณ์ที่ว่าขึ้นมาสดๆ บน เวทีล่ะครับ ลองคิดถึงถ้อยค�ำของคุณ ไม่ใช่ในฐานะถ้อยค�ำจากปาฐกถา แต่ เป็นถ้อยค�ำที่ออกแบบมาเพื่อปลุกเร้าความคาดหวังหรือความเข้าใจอัน ลึกซึง้ ไม่ตอ้ งเป็นประโยคก็ได้ครับ อาจเป็นค�ำบรรยายภาพ สัญลักษณ์บอก ทาง (หมายถึงค�ำหรือวลีที่ช่วยน�ำทางผู้อ่านไปตามเรื่องราวที่คุณจะสื่อ) บทกวี และอาจโอบล้อมด้วยความเงียบ ใช่ครับ ความเงียบ เมื่อคุณ มีอะไรทีน่ า่ เหลือเชือ่ มาแสดง วิธที จี่ ะเรียกความสนใจจากผูฟ้ งั ได้ดที สี่ ดุ คือ เตรียมพร้อม แสดงให้ดู แล้วหุบปากซะ! ก่อนหน้านีผ้ มกล่าวไปแล้วว่ารูเบน มาร์โกลิน นักสร้างประติมากรรม เคลื่อนไหว รู้วิธีท�ำอย่างที่ว่ามานี้ โดยระหว่างปาฐกถาของเขาที่กลาย มาเป็นนิทรรศการสด มีอยูช่ ว่ งหนึง่ ซึง่ กินเวลาราว 30 วินาที และประโยค เดียวที่เขาพูดตลอดช่วงนั้นคือ “หนึ่งหยดน�้ำฝนก�ำลังขยายตัวออกไป” ถ้อยค�ำเหล่านีแ้ วดล้อมด้วยความเงียบ แต่จอภาพนัน้ มีชวี ติ ขึน้ มาจากการ เคลือ่ นไหวของประติมากรรมทีเ่ หมือนมีมนตร์สะกด แล้วผูฟ้ งั ก็ลอ่ งลอยอยู่ ในภวังค์อันแสนอัศจรรย์ของความงดงามที่เขาสร้างขึ้น ช่างภาพชื่อฟรานส์ แลนทิง (Frans Lanting) สร้างการแสดง ทัง้ หมดจากภาพถ่ายของเขา ซึง่ ตัง้ ใจจะแสดงให้เห็นวิวฒ ั นาการของชีวติ บนโลก ขณะทีภ่ าพอันงดงามตรึงใจเลือ่ นผ่านไป เสียงเพลงประกอบโดย ฟิลลิป กลาสส์ (Philip Glass) ก็ดงั ขึน้ แล้วฟรานส์กข็ บั ขานเรือ่ งราวของ ชีวติ อย่างนุ่มนวล

300

T ED Talk s

ในปัจจุบันโรงละครต่างมีเครื่องมือพรั่งพร้อม ทั้งแสง ระบบเสียง รอบทิศทาง หรือเครื่องฉายภาพความละเอียดสูง จึงเป็นเรื่องน่าเศร้า ที่ศิลปินด้านทัศนศิลป์ผู้มีฝีมือฉกาจระดับโลกมักไม่ใช้ประโยชน์จากมัน พวกเขาไม่คิดว่าจะท�ำอย่างไรให้ผู้ฟังดื่มด�่ำกับงานของตน แต่กลับคิด ไปว่าในเมือ่ ผูจ้ ดั งานเชิญพวกเขามา กล่าวปาฐกถา แสดงว่านัน่ คือเรือ่ งที่ เขาต้องท�ำ สิง่ ทีผ่ มคาดหวังส�ำหรับอนาคตคือ อยากเห็นการแสดงผลงาน มากขึ้น และพูดบรรยายให้น้อยลง 14. แขกรับเชิญที่ผู้ฟังไม่คาดคิด หลังจากผูพ้ ดู เล่าเรือ่ งราวอันน่าทึง่ เกีย่ วกับใครสักคนแล้ว เราอาจ สร้างผลกระทบทีเ่ ข้มข้นขึน้ ได้ หากพาบุคคลดังกล่าวขึน้ มาปรากฏตัวบนเวที ในงาน TED2014 ศาสตราจารย์ฮวิ จ์ เฮอร์ (Hugh Herr) บรรยาย ถึ ง กระบวนการสร้ า งขาเที ย มชี ว จั ก รกลให้ เ อเดรี ย น ฮาสเล็ ต -เดวิ ส (Adrianne Haslet-Davis) นักเต้นบอลรูมที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ ระเบิดในการแข่งขันวิ่งมาราธอนที่บอสตันเมื่อปี 2013 แล้วเขาก็ท�ำให้ คนดูตะลึงเมื่อเขาพาเอเดรียนมาปรากฏตัวบนเวที และให้เธอแสดง การเต้นร�ำด้วยขาใหม่ของเธอต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก ที่งาน TEDxRíodelaPlata ปาฐกถาของคริสตินา โดเมเนก (Cristina Domenech) เกีย่ วกับบทกวีในคุก กลายเป็นปาฐกถาทีท่ รงพลัง ด้วยการอ่านบทกวีสดของมาร์ติน บุสตาแมนเต (Martin Bustamante) นักโทษที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากคุกชั่วคราวเพื่อมาร่วมงานนี้ แนวทางนี้ได้ผลดีที่สุดเมื่อแขกรับเชิญมีบทบาทเสริมที่ส�ำคัญ จริงๆ หากไม่เช่นนั้น คุณแค่แนะน�ำว่าเขาหรือเธอให้เกียรติมาร่วมนั่งฟัง งานนี้ด้วยก็พอแล้วครับ การดึงใครสักคนขึ้นมาบนเวทีเพียงเพื่อกล่าว สวัสดีสั้นๆ อาจท�ำให้เกิดภาวะกระอักกระอ่วนใจได้

Chris Anderson

301

15. ตัวตนเสมือนของผู้พูด เทคโนโลยีท�ำให้เราค้นพบวิธีใหม่ในการน�ำผู้พูดมาขึ้นเวที ใน เดือนมิถนุ ายน 2015 โทนี ร็อบบินส์ (Tony Robbins) โค้ชด้านความส�ำเร็จ ปรากฏตัวในงานสัมมนาทางธุรกิจที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เพียงแต่ เนือ่ งจากเขาไม่อยากเดินทางไปจนถึงออสเตรเลีย เขาจึงปรากฏตัวในรูป โฮโลแกรมสามมิตแิ ทน ผูจ้ ดั งานอ้างว่าภาพจ�ำลองเสมือนนีใ้ ห้ผลตอบรับดี ราวกับเขามาปรากฏตัวจริงๆ เมือ่ เราเชิญเอ็ดเวิรด์ สโนว์เดน ผูเ้ ปิดโปงความไม่ชอบมาพากล ในองค์กรข่าวกรองของสหรัฐอเมริกาให้มาพูดที่เวที TED ในปี 2014 เรามีปัญหาอยู่อย่างเดียวคือ เขาก�ำลังลี้ภัยอยู่ในมอสโก และไม่สามารถ เดินทางมาที่แวนคูเวอร์ได้เพราะกลัวว่าจะถูกจับ แต่เราต่อสายให้เขามา ปรากฏตัวจากระยะไกลในรูปลักษณ์ของหุน่ ยนต์ทชี่ อื่ บีมโปร (BeamPro) ซึ่ ง ขั บ เน้ น อารมณ์ ใ ห้ ป าฐกถา ระหว่ า งช่ ว งพั ก หุ ่ น ยนต์ ส โนว์ เ ดน เตร็ ด เตร่ ไ ปตามทางเดินในห้องจัด งาน เปิดโอกาสให้ผู้เ ข้าร่วมการ ประชุมพูดคุยและถ่ายรูปกับเขา [ท�ำให้เกิดกระแส #เซลฟี่กับสโนว์เดน (

SelfiesWithSnowden) บนทวิตเตอร์] แน่นอนว่าตัวอย่างทัง้ สองนีไ้ ด้แต้มต่อในฐานะเทคนิคการน�ำเสนอ ที่ค่อนข้างใหม่ แต่เทคโนโลยีดังกล่าวก็พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งใน ความส�ำเร็จของ TED ที่น่าประหลาดใจคือ ผู้พูดในวิดีโอมีผลกระทบต่อ ผู้ฟังมากพอๆ กับผู้พูดที่อยู่ในห้องประชุม จึงไม่มีเหตุผลที่ภาพจ�ำลอง เสมือนหรือหุ่นยนต์แทนตัวจากระยะไกลจะไม่สามารถสร้างผลกระทบ อย่างเต็มที่เทียบเท่าตัวจริง ความเป็นไปได้เรือ่ งนีไ้ ม่มขี ดี จ�ำกัด ตัวอย่างเช่น เมือ่ นักแต่งเพลง ชื่ออีริก วิเทเคอร์ (Eric Whitacre) เปิดตัวผลงานเพลงชิ้นหนึ่งในงาน TED2013 ผูแ้ สดงเพลงไม่ได้มแี ค่วงประสานเสียงบนเวทีเท่านัน้ แต่ยงั มี

302

T ED Talk s

นักดนตรีจาก 30 ประเทศที่ร้องเพลงร่วมกันผ่านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ แบบพิเศษที่ทีมงานของสไกป์ (Skype) สร้างให้เรา ชั่วขณะที่พวกเขา ปรากฏบนจอ รวมกันเป็นหนึ่งด้วยเสียงเพลง ดูเหมือนความแตกต่าง ทัง้ หลายทีแ่ ยกโลกเราออกจากกัน บัดนีก้ ลับเชือ่ มโยงกันด้วยองค์ประกอบ ที่เรียบง่ายอย่างการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต เสียงดนตรีจากหัวใจ และ ผู้คนที่ยินดีจะยื่นมือออกมาหากัน ผมมองไปที่ผู้ฟังรอบๆ ห้อง พบว่า หลายคนแก้มเปียกชื้นด้วยน�้ำตา ผมคิดว่าเราคาดหวังได้เลยว่าจะเห็นการทดลองแบบนี้เพิ่มขึ้น อีกมากในอนาคตข้างหน้า นวัตกรรมทีช่ ว่ ยให้เกิดการรวมตัวกันของผูค้ น ทีไ่ ม่สามารถมารวมกันได้ดว้ ยหนทางอืน่ ทีจ่ ริงอีกไม่นานคงมีวนั ทีห่ นุ่ ยนต์ ตัวจริง เดินขึ้นเวทีมากล่าวปาฐกถา และเป็นปาฐกถาที่มันร่วมเขียนด้วย (เราก�ำลังท�ำเรื่องนี้อยู่นะครับ!) 16. ไม่มีผู้ฟังในห้องประชุม นวัตกรรมขั้นสุดยอดของการกล่าวปาฐกถาอาจไม่ใช่ลูกเล่น ทีเ่ กิดขึน้ บนเวที แต่เป็นการรือ้ เวทีทงิ้ ไปเลย รวมทัง้ โรงละคร ผูฟ้ ังในห้อง ประชุม และผูด้ ำ� เนินรายการด้วย ตอนนีเ้ ราเชือ่ มต่อกับโลกแล้ว อินเทอร์เน็ต ท�ำให้เราสือ่ สารกับคนนับไม่ถว้ นได้ทงั้ แบบสดและผ่านวิดโี อ เมือ่ เทียบกับ ผู้ฟังจากทั่วโลก ผู้ฟังกลุ่มใดก็ตามที่มารวมอยู่ในห้องประชุมเดียวกัน ย่อมดูเล็กจิ๋วไปถนัดตา ถ้าเช่นนั้นท�ำไมเราไม่ออกแบบปาฐกถาส�ำหรับ ผู้ฟังทั่วโลกเสียเลยล่ะ? นักสถิตชิ าวสวีเดน ฮานส์ โรสลิง เคยกล่าวปาฐกถา TED ทีน่ า่ ทึง่ ไว้หลายเรือ่ ง รวมกันแล้วมียอดเข้าชมกว่า 20 ล้านครัง้ แต่หนึง่ ในปาฐกถา ทีไ่ ด้รบั ความนิยมสูงสุดของเขาไม่ได้จดั ขึน้ บนเวที ทว่าถ่ายท�ำโดยส�ำนักข่าว บีบีซีในโกดังสินค้าว่างเปล่า แล้วใส่ภาพกราฟิกเครื่องหมายการค้าของ

Chris Anderson

303

โรสลิงเพิ่มเข้าไปในขั้นตอนหลังการถ่ายท�ำ ในโลกทีท่ กุ คนเข้าถึงกล้องวิดโี อและเครือ่ งมือตัดต่อได้ มีแนวโน้ม หนึ่งซึ่งพุ่งแรงจนไม่อาจหยุดยั้ง นั่นคือการถ่ายทอดปาฐกถาครั้งส�ำคัญ ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยตรง โครงการ OpenTED ที่เพิ่งริเริ่ม (ซึ่งผมจะ กล่าวถึงในท้ายบทที่ 20) ตั้งเป้าจะเล่นกับแนวโน้มดังกล่าวเช่นกัน แต่ถึงอย่างไร แนวโน้มนี้ก็ไม่สามารถทดแทนพลังของผู้คน ทีม่ ารวมตัวกันในสถานทีจ่ ริง ประสบการณ์นบั แต่สมัยโบราณทีม่ นุษย์เรา ติดต่อเชื่อมโยงกันจริงๆ ณ ห้วงเวลาหนึ่งๆ นั้นมีข้อดีมากมายเหลือเกิน แต่ปาฐกถาทีก่ ล่าวผ่านวิดโี อโดยตรงจะเป็นสนามอันแสนวิเศษส�ำหรับการ ทดลอง นวัตกรรม และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผมตื่นเต้นสุดๆ เมื่อได้เห็นหลากหลายแนวทางซึ่งการพูดในที่ สาธารณะอาจพัฒนาต่อไปในอีกหลายปีขา้ งหน้า แต่ผมก็คดิ ว่าเราควรส่ง เสียงเตือนด้วยเช่นกันครับ นวัตกรรมที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคงจะทรงพลัง มากแน่ๆ แต่เราก็ไม่ควรใช้มากเกินไป เทคโนโลยีพนื้ ฐานอย่างการพูดคุย ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์นั้นด�ำรงอยู่มานานหลายแสนปีและฝังรากลึกใน ตัวเรา เมือ่ เราแสวงหาความหลากหลายในโลกสมัยใหม่ เราต้องระมัดระวัง อย่าเผลอโยนสิง่ ส�ำคัญนีท้ งิ้ ไปโดยรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ ความสนใจของมนุษย์ เป็นสิ่งเปราะบาง ถ้าเติมส่วนผสมพิเศษต่างๆ ทีด่ งึ ดูดความสนใจเพิม่ มาก เกินไป สาระส�ำคัญของปาฐกถาอาจสูญหายไป ดั ง นั้ น … มาเปิ ด รั บ จิ ต วิ ญ ญาณแห่ ง นวั ต กรรมกั น เถอะครั บ มีโอกาสที่งดงามอีกมากมายรอคอยให้คุณพัฒนาศิลปะที่ยิ่งใหญ่ของ การพูดในที่สาธารณะ แต่อย่าลืมว่าแก่นสารส�ำคัญกว่ารูปแบบ เพราะ ท้ายที่สุดแล้ว ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความคิดที่ต้องการน�ำเสนอ

304

T ED Talk s

สะท้อน ความคิด

Chris Anderson

307

19 ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการปาฐกถา ความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของความรู้

ผมอยากโน้มน้าวให้คณ ุ เชือ่ อะไรอย่างหนึง่ นัน่ คือ วันนีท้ กั ษะการพูด ในที่สาธารณะส�ำคัญแค่ไหน อนาคตมันจะยิ่งส�ำคัญมากขึ้นอีก เราก� ำ ลั ง ยกเครื่ อ งความสามารถเก่ า แก่ ที่ สุ ด อย่ า งหนึ่ ง ของ มนุษยชาติเพือ่ ให้เหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ โดยอาศัยแรงขับเคลือ่ นจากการ เชื่อมต่อสัมพันธ์ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผมเชื่ออย่างสนิทใจว่าการเรียนรู้ที่จะ น�ำเสนอความคิดของคุณให้คนอืน่ ฟังสดๆ เป็นทักษะส�ำคัญทีข่ าดไม่ได้เลย ในทุกวันนี้ และพรุ่งนี้ทักษะดังกล่าวจะยิ่งส�ำคัญมากขึ้นอีกส�ำหรับบุคคล เหล่านี้ • เด็กๆ ที่ต้องการสร้างความเชื่อมั่น • ใครก็ตามที่ก�ำลังจะจบจากโรงเรียนและก�ำลังมองหาอาชีพ ที่มีความหมาย • ใครก็ตามที่อยากก้าวหน้าในหน้าที่การงาน • ใครก็ตามที่ห่วงใยประเด็นปัญหาอะไรสักอย่าง Chris Anderson

309

• ใครก็ตามที่ต้องการสร้างชื่อเสียง • ใครก็ตามทีต่ อ้ งการติดต่อกับคนทัว่ โลกทีห่ ลงใหลในสิง่ เดียวกัน • ใครก็ตามที่อยากจะเร่งให้เกิดการลงมือท�ำเพื่อสร้างผลกระทบ บางอย่าง • ใครก็ตามที่ต้องการสร้างสิ่งที่มีคุณค่าทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง • ใครก็ตาม … สรุปคือทุกคนนั่นละครับ วิธที ผี่ มจะให้เหตุผลสนับสนุนข้อเสนอนีไ้ ด้ดที สี่ ดุ คือ เล่าเรือ่ งราว เส้นทางการเรียนรู้ของผมเองตลอดสองสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเป็น ช่วงเวลาทีเ่ ปลีย่ นความเข้าใจของผมไปโดยสิน้ เชิง ท�ำให้ผมรูว้ า่ ท�ำไมการ พูดในที่สาธารณะที่ยอดเยี่ยมจึงส�ำคัญ และมันจะพัฒนาเป็นอะไรได้บ้าง ดังนั้นผมขอพาคุณย้อนกลับไปยังวันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 1998 ที่เมือง มอนเทอเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึง่ เป็นครัง้ แรกและเป็นสถานทีแ่ รกทีผ่ มก้าว เข้าไปในการประชุม TED ตอนนั้นผมคิดว่างานประชุมต่างๆ คือปีศาจที่เราจ�ำเป็นต้อง เผชิญ คุณต้องเสียเวลาหลายชั่วโมงฟังเสวนาและการน�ำเสนอที่น่าเบื่อ เพื่อจะได้พบกับคนในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกันซึ่งคุณต้องการพบ แต่ กัลยาณมิตรคนหนึ่งของผม ซันนี เบตส์ (Sunny Bates) หนึ่งในนักสร้าง เครือข่ายที่เก่งมากคนหนึ่งของโลก โน้มน้าวผมว่า TED นั้นแตกต่างจาก ที่อื่น และผมควรลองไปดู ผมผ่ า นวั น แรกไปด้ ว ยความงงงวย ผมได้ ฟ ั ง ปาฐกถาสั้ น ๆ จากโปรแกรมเมอร์ผู้สร้างซอฟต์แวร์ นักชีววิทยาทางทะเล สถาปนิก ผูป้ ระกอบการด้านเทคโนโลยี และนักออกแบบกราฟิก ทุกปาฐกถาดีหมด แต่ผมยังคิดไม่ออกว่ามันจะเกี่ยวกับ ผม อย่างไร ผมท�ำงานด้านสื่อ ผม ตีพิมพ์นิตยสาร ปาฐกถาพวกนี้จะช่วยให้งานของผมดีขึ้นได้อย่างไร เมื่อ TED แรกเริ่มก่อตั้งในปี 1984 ริชาร์ด “ริกกี” เวอร์แมน และ ผู้ร่วมก่อตั้งคือแฮร์รี มาร์กส์ (Harry Marks) มีทฤษฎีว่า เทคโนโลยี ความ 310

T ED Talk s

บันเทิง และการออกแบบ (Technology, Entertainment และ Design ที่ กลายมาเป็น T, E และ D ใน TED นั่นละครับ) ก�ำลังวิ่งมาบรรจบกัน มากขึน้ เรือ่ ยๆ ซึง่ ก็สมเหตุสมผล เพราะปีนนั้ คือปีทแี่ อปเปิลเปิดตัวเครือ่ ง คอมพิวเตอร์แมคอินทอชเครือ่ งแรก และโซนีเ่ ผยเทคโนโลยีคอมแพ็กดิสก์ เป็นครั้งแรก ผลิตภัณฑ์ทั้งสองมีรากที่หยั่งลึกอยู่ในทั้งสามอุตสาหกรรม มันจึงน่าตื่นเต้นเมื่อจินตนาการว่าจะมีความเป็นไปได้อะไรเกิดขึ้นอีก ถ้าคุณเชือ่ มต่อสามวงการนีเ้ ข้าด้วยกัน นักเทคโนโลยีอาจสร้างผลิตภัณฑ์ ทีน่ า่ ใช้มากขึน้ โดยรับฟังความเห็นของนักออกแบบและนักคิดสร้างสรรค์ ในวงการบันเทิงที่มองมนุษย์เป็นศูนย์กลาง บางทีสถาปนิก นักออกแบบ และผูน้ ำ� ในวงการอุตสาหกรรมบันเทิง อาจขยายโอกาสพัฒนางานของตน ออกไปได้ หากพวกเขาเข้าใจพัฒนาการใหม่ๆ ทางเทคโนโลยี แล้วทุกอย่างก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ หลังเริ่มต้นอย่างขลุกขลัก และเกิดเหตุขัดแย้งเพราะนิสัยที่แตกต่างกันของผู้ก่อตั้ง (ซึ่งท�ำให้แฮร์รี ขายหุน้ 50 เปอร์เซ็นต์ให้รกิ กีในราคาเพียงหนึง่ ดอลลาร์) TED ก็พงุ่ ทะยาน ในช่วงทศวรรษ 1990 พร้อมๆ กับการผุดผงาดของเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ที่ท�ำงานด้วยซีดี-รอม (CD-ROM) นิตยสาร Wired และอินเทอร์เน็ต ยุ ค แรกๆ ริกกีใ นวัยหนุ่ม สร้า งค�ำว่า สถาปัตยกรรมของสารสนเทศ (information architecture) และหมกมุ่นที่จะท�ำให้ความรู้อันคลุมเครือ เข้าใจง่ายขึ้น ทักษะนี้ช่วยให้เขาผลักดันผู้พูดให้หาแง่มุมที่น่าสนใจที่สุด ในความคิดของตน มุมทีค่ นนอกวงการฟังแล้วสนุกไปด้วยหรือไม่กร็ สู้ กึ ว่า ส�ำคัญกับเขา ริกกียังมีบุคลิกภาพอีกอย่างหนึ่งที่เป็นแกนส�ำคัญในความ ส�ำเร็จของ TED แบบอ้อมๆ นั่นคือเขาเป็นคนใจร้อน ริกกีเบือ่ ปาฐกถายาวๆ เมือ่ TED พัฒนาขึน้ เขาเริม่ ให้เวลาผูพ้ ดู น้อยลงเรื่อยๆ เขาจะเดินขึ้นเวทีไปตัดบทผู้พูดหากใช้เวลานานเกินไป เขาไม่อนุญาตให้ผู้ฟังถามด้วย โดยยึดหลักการที่ว่า รีบให้ผู้พูดคนต่อไป ขึ้นมาพูดย่อมน่าสนใจกว่ารอให้ผู้ฟังบางคนโฆษณาธุรกิจตัวเอง โดย แอบแฝงมาในรูปค�ำถาม รูปแบบนีอ้ าจท�ำให้บางคนหงุดหงิดมาก แต่ในแง่ Chris Anderson

311

ประสบการณ์ของผู้ฟังโดยรวมแล้ว นี่คือสวรรค์เลยครับ เพราะวิธีนี้ท�ำให้ รายการด�ำเนินไปรวดเร็วขึน้ คุณยอมอดทนกับปาฐกถาทีน่ า่ เบือ่ ได้ เพราะ คุณรู้ว่ามันจะจบในไม่ช้า วันที่สองของผมที่ TED ผมเริ่มชื่นชอบปาฐกถาแบบสั้น แม้จะ ยังไม่ค่อยแน่ใจว่ามันส�ำคัญกับผมและงานของผมอย่างไร แต่ผมก็ได้ฟัง ปาฐกถาหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอเกมส�ำหรับเด็กผู้หญิง การ ออกแบบเก้าอี้ วิธีใหม่ในการส�ำรวจข้อมูลแบบสามมิติ เครื่องบินพลัง แสงอาทิตย์ ทุกปาฐกถาตามติดจากเรื่องก่อนหน้าอย่างรีบเร่ง น่าตื่นเต้น ดีใจทีไ่ ด้เรียนรูว้ า่ ในโลกเรามีสาขาความเชีย่ วชาญมากมายขนาดนี้ และแล้ว ผมก็เริม่ จุดประกายความคิดบางอย่าง ค�ำพูดของผูพ้ ดู คนหนึง่ ในวงการหนึง่ สะท้อนกลับมาพ้องกับค�ำพูดเมื่อวานของผู้พูดอีกคนซึ่งมาจากวงการอื่น ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผมชี้เจาะจงลงไปไม่ได้ว่าเรื่องไหนบ้าง แต่ผม เริ่มตื่นเต้นแล้ว การประชุมส่วนใหญ่จัดเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมหรือความรู้ เฉพาะทางด้านใดด้านหนึ่ง ในการประชุมแบบนั้น ทุกคนมีภาษาและ จุดเริ่มต้นเดียวกัน จึงสมเหตุสมผลที่ให้เวลาผู้พูดลงลึกและบรรยายถึง การเรียนรูใ้ หม่ๆ ทีจ่ ำ� เพาะเจาะจง แต่เมือ่ เนือ้ หาและผูฟ้ งั หลากหลายมาก เป้าหมายของผูพ้ ดู จึงไม่ใช่วา่ ต้องพูดหัวข้อปลีกย่อยให้ครบ แต่ตอ้ งท�ำให้ งานของเขาหรือเธอเข้าใจง่ายส�ำหรับคนอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าท�ำไมมันจึง น่าสนใจ ท�ำให้เห็นว่ามันส�ำคัญอย่างไร โดยทั่วไปทั้งหมดนี้สามารถท�ำได้ ภายในไม่ถงึ 20 นาที ซึง่ ดีแล้วครับ เพราะส�ำหรับผูฟ้ งั ทีอ่ ยูน่ อกวงการ เขาก็ คงให้เวลาคุณได้แค่นี้แหละ ในฐานะผู้ฟัง เรายินดีสละเวลา 45 นาทีหรือ หนึ่งชั่วโมงให้กับวิชาที่เราต้องเรียนในมหาวิทยาลัย หรือให้คนที่ท�ำงาน ในสาขาเดียวกับเราโดยตรง แต่จะให้ยอมเสียเวลานานขนาดนัน้ เพือ่ ฟังคน ทีอ่ ยูน่ อกวงชีวติ การท�ำงานปกติของเราน่ะหรือ เป็นไปไม่ได้เลย วันหนึง่ ๆ มีจ�ำนวนชั่วโมงไม่พอหรอกครับ ในวันที่สาม บางอย่างที่แปลกมากก็เกิดขึ้น สมองทีถ่ กู กระตุน้ 312

T ED Talk s

เกินปกติของผมเริ่มเกิดประกายวาบราวกับพายุฟ้าแลบฟ้าผ่า ทุกครั้งที่ ผู ้ พู ด คนใหม่ลุกขึ้น พูด ผมรู้สึกเหมือ นสายฟ้าแห่งปัญญาฟาดลงมา ความคิดจากปาฐกถาหนึ่งเชื่อมโยงกับเนื้อหาบางอย่างที่คนอื่นๆ กล่าว ไปเมื่อสองวันที่ผ่านมาได้อย่างน่าตื่นตะลึง และแล้วเอมี มุลลินส์ (Aimee Mullins) ก็ขึ้นบรรยายบนเวที เอมีถูกตัดขาทั้งสองข้างตั้งแต่อายุหนึ่งขวบ แต่นั่นหาได้หยุดยั้ง เธอไม่ให้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ เธอนั่งอยู่บนเวทีและเล่าว่า เมื่อสามปีที่แล้ว ตอนเธอเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยปีหนึง่ เธอลงแข่งวิง่ ระยะสัน้ เป็นครัง้ แรก ได้อย่างไร และขาเทียมส�ำหรับนักวิ่งที่ออกแบบมาอย่างสวยงามพาเธอ พุ่งทะยานผ่านการคัดเลือกนักกีฬาพาราลิมปิกของสหรัฐอเมริกาได้ อย่างไร จากนั้นเธอก็ถอดขาเทียม และแสดงให้ดูว่าเธอสามารถเปลี่ยน เป็นขาเทียมที่เหมาะกับสถานการณ์อื่นๆ ได้อย่างง่ายดายเพียงใด ขณะที่เอมีพูดถึงความส�ำเร็จอันน่าทึ่งและความล้มเหลวที่น่า อับอายของเธอ ผมนั่งอยู่ที่ด้านหลังหอประชุม ตกตะลึงเมื่อรู้สึกตัวว่า น�้ำตาไหลอาบแก้ม เธอมีชีวิตชีวาอย่างมากและเต็มเปี่ยมด้วยความ เป็นไปได้ เธอดูเหมือนสัญลักษณ์ของบางสิง่ บางอย่างทีผ่ มสัมผัสได้ครัง้ แล้ว ครัง้ เล่าในช่วงสัปดาห์นนั้ นัน่ คือความคิดทีว่ า่ คุณเป็นเจ้าของอนาคตตัวเอง ไม่วา่ ชีวติ คุณจะมีตน้ ทุนมากน้อยแค่ไหน คุณย่อมหาทางปรับเปลีย่ นมันได้ และขณะทีท่ �ำอย่างนั้น คุณก็สามารถสร้างความแตกต่างให้ชีวิตของผู้อื่น ไปพร้อมกันด้วย เมื่อถึงเวลาที่ผมต้องกลับออกมาจากงานประชุม ผมเข้าใจแล้ว ว่าท�ำไมงานนี้จึงมีความหมายกับผู้คนที่นั่นมาก ผมตื่นเต้นประทับใจกับ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ผมรับรู้ถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากมายกว่าที่เคยประสบ มาตลอดช่วงเวลายาวนานในอดีต ผมรู้สึกเหมือนได้กลับบ้าน สองปีต่อมา เมื่อผมได้ยินว่าริกกี เวอร์แมน วางแผนจะขายงาน ประชุมนี้ ความคิดที่จะซื้อก็เข้ามายั่วยวนใจผม ตลอดชั่วชีวิตที่ผ่านมา ในฐานะผูป้ ระกอบการ คาถาประจ�ำใจของผมคือ ท�ำสิง่ ทีห่ ลงใหล ไม่ใช่สงิ่ Chris Anderson

313

ทีผ่ มหลงใหลนะครับ แต่เป็นสิง่ ทีค่ นอืน่ หลงใหล ถ้าผมเห็นอะไรทีค่ นหลงใหล อย่างลึกซึง้ จริงจัง นัน่ เป็นสัญญาณทีช่ ดั เจนว่ามีโอกาสอยูต่ รงนั้น ความ หลงใหลเป็นตัวแทนของศักยภาพ ผมใช้หลักการนี้เป็นเหตุผลสนับสนุน ให้ออกนิตยสารเกี่ยวกับงานอดิเรกต่างๆ หลายสิบประเภท ครอบคลุม ทุกอย่างตัง้ แต่คอมพิวเตอร์ การขีจ่ กั รยานภูเขา ไปจนถึงการปักครอสติตช์ หัวข้อเหล่านี้น่าเบื่อสุดๆ ส�ำหรับคนส่วนใหญ่ แต่ส�ำหรับคนที่เป็นกลุ่ม เป้าหมายของนิตยสารเหล่านี้ มันมีค่าเหมือนทองค�ำที่พวกเขาหลงใหล คลั่งไคล้อยากเสาะแสวงหา ความหลงใหลที่ผมได้เห็นที่ TED นั้นพุ่งทะลุทุกมาตรวัด ผู้คน ทีเ่ คยท�ำเรือ่ งน่าทึง่ ในชีวติ มามากมายบอกผมว่า นีค่ อื สัปดาห์ทเี่ ขาชืน่ ชอบ มากที่สุดของปี ดังนั้นแม้จะเป็นแค่งานประชุมประจ�ำปีเล็กๆ แต่มีความ เป็นไปได้มากมายทีจ่ ะสร้างอะไรบางอย่างขึน้ มาจากความหลงใหลเหล่านัน้ ในอีกมุมหนึ่ง มันคือการลงทุนท�ำธุรกิจใหม่ และผมจะต้องเดิน ตามรอยเท้าของชายผู้มีบุคลิกภาพที่ยิ่งใหญ่และดุดันกว่าผม ถ้าผม ล้มเหลวล่ะ ค�ำเยาะเย้ยถากถางจากสาธารณชนคงจะรุนแรงมาก ผม ปรึกษาเพื่อนหลายคน กลางคืนก็นอนไม่หลับ เพราะมัวแต่จินตนาการ ทุกความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อาจตัดสินใจได้เสียที เชื่อไหมครับ สุดท้ายแล้วสิ่งที่ท�ำให้ผมตัดสินใจเดินหน้าท�ำสิ่งนี้ คือข้อความตอนหนึ่งจากหนังสือที่ผมบังเอิญได้อ่าน หนังสือเล่มนั้นมีชื่อ ว่า โครงสร้างของความจริง (The Fabric of Reality) โดยเดวิด ดอยช์ ใน หนังสือเล่มนี้ เขาตั้งค�ำถามที่ปลุกเร้าความคิดว่า จริงหรือที่ความรู้นั้นจะ ต้องลงลึกเฉพาะทางมากขึน้ เรือ่ ยๆ? ทางเดียวทีเ่ ราจะประสบความส�ำเร็จ คือรู้ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ในขอบเขตหัวข้อที่น้อยลงเรื่อยๆ ใช่ไหม? หากดู จากความเชีย่ วชาญเฉพาะทางในทุกวงการ เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ก็ดเู หมือนค�ำตอบคือใช่ แต่ดอยช์แย้งอย่างมีเหตุผลน่าฟังว่า เราต้อง แยกแยะระหว่างความรูก้ บั ความเข้าใจ ใช่ครับ ความรูเ้ กีย่ วกับข้อเท็จจริง เรื่องใดเรื่องหนึ่งย่อมเลี่ยงไม่พ้นการศึกษาลงลึกเฉพาะทางไปเรื่อยๆ แต่ 314

T ED Talk s

ความเข้าใจ ล่ะ ไม่ครับ ไม่จ�ำเป็นเลย ดอยช์กล่าวว่า หากต้องการ เข้าใจ อะไรสักอย่าง เราต้องมุ่งไป ในทิศทางตรงกันข้าม เราต้องแสวงหา จุดร่วม ของความรู้ เขาให้ตวั อย่าง มากมายที่แสดงให้เห็นว่า ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เก่าๆ ถูกแทนที่ด้วย ทฤษฎีทลี่ กึ และกว้างกว่า ซึง่ รวบรวมความรูม้ ากกว่าหนึง่ สาขาไว้ดว้ ยกัน ตัวอย่างเช่น โลกทัศน์ที่สง่างามเรื่องพระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ สุรยิ ะเข้ามาแทนทีค่ ำ� อธิบายอภิมหาซับซ้อนว่าดาวเคราะห์ตา่ งๆ เคลือ่ นที่ รอบโลกอย่างไร แต่ดอยช์กล่าวว่ามีสงิ่ ส�ำคัญยิง่ กว่านัน้ แก่นแกนของการท�ำความ เข้าใจเรือ่ งใดๆ ก็ตามคือ คุณต้องเข้าใจ บริบท ของมัน ลองนึกถึงเครือข่าย ที่เหมือนใยแมงมุมของความรู้สิครับ คุณคงไม่สามารถเข้าใจเงื่อนปม ที่ ละเอียดลึกซึ้งในแต่ล ะส่ว นเล็กๆ ของข่ายใยนี้ ถ้าคุณ ไม่ดึงกล้อง ถอยหลังมาเพื่อให้เห็นว่าแต่ละเส้นใยเชื่อมโยงกันอย่างไรในภาพกว้าง เมือ่ คุณมองเห็นรูปแบบที่กว้างขึ้น คุณจึงจะเข้าใจได้อย่างแท้จริง ผมอ่านเนือ้ หาเหล่านีต้ อนทีก่ ำ� ลังวาดฝันเรือ่ ง TED แล้วผมก็รสู้ กึ ปิง๊ ขึน้ มาทันที ใช่แล้ว! นัน่ แหละใช่เลย! นัน่ คือเหตุผลว่าท�ำไมประสบการณ์ ที่ TED จึงชวนให้ตนื่ เต้นเร้าใจนักหนา เพราะงานประชุมนัน้ เป็นตัวสะท้อน ความจริงที่ว่า ความรู้ทั้งหลายล้วนเชื่อมโยงกันบนข่ายใยมหึมา TED มอบอะไรบางอย่างให้ทุกคนได้จริงๆ เราอาจไม่ตระหนักเรื่องนี้ในขณะที่ ฟังปาฐกถา แต่เมื่อได้ใคร่ครวญความคิดที่หลากหลายเช่นนั้น เราก็เริ่ม เข้าใจในระดับทีล่ กึ ซึง้ กว่าเคย แท้จริงแล้วความคิดเดีย่ วๆ แต่ละชิน้ ส�ำคัญ น้อยกว่ารูปแบบที่พวกมันเชื่อมต่อกัน และส�ำคัญน้อยกว่าสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเราน�ำมันมาเติมลงในความคิดดั้งเดิมที่เรามีอยู่แล้ว ดังนัน้ สิง่ ทีท่ ำ� ให้ TED ประสบความส�ำเร็จไม่ใช่แค่เพียงการผสาน ก�ำลังระหว่างเทคโนโลยี ความบันเทิง และการออกแบบ แต่ที่จริงคือการ เชื่อมโยงของความรู้ ทั้งหมด เมื่อวางกรอบแบบนั้น TED ก็กลายเป็นงานประชุมที่มีเรื่องให้ Chris Anderson

315

พูดถึงไม่มีวันหมด จะมีการประชุมสักกี่งานที่คุณสามารถส�ำรวจความ เชือ่ มโยงของความรู้ และส�ำรวจมันด้วยวิธกี ารทีท่ ำ� ให้ผสู้ นใจรูส้ กึ ว่าเข้าถึง ง่ายและเกิดแรงบันดาลใจ ผมนึกไม่ออกเลยสักงานเดียว ผมจึงขึ้นเครื่องบินไปหาริกกีและภรรยา กลอเรีย เนกี (Gloria Nagy) ทีบ่ า้ นของพวกเขาในเมืองนิวพอร์ต รัฐโรดไอแลนด์ ถ้าจะเล่าสัน้ ๆ โดยตัดตอนเรื่องซับซ้อนออกไปก็คือ ปลายปี 2001 ผมออกจากบริษัทที่ ผมใช้เวลาสร้างมา 15 ปี เพือ่ ไปเป็นภัณฑารักษ์ของ TED ด้วยความภาคภูมใิ จ แม้จะยังประหม่าเล็กน้อย ผ่านมาหลายปีหลังจากนัน้ ผมยิง่ เชือ่ มัน่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ว่าความรู้ ทีเ่ ชือ่ มโยงกันนัน้ ส�ำคัญมาก และผมได้สง่ เสริมให้ TED ขยายจากรูปแบบ ดัง้ เดิมทีเ่ น้นเฉพาะ T-E-D หรือเทคโนโลยี ความบันเทิง และการออกแบบ ไปครอบคลุมทุกวงการทีแ่ สดงความคิดสร้างสรรค์และการประดิษฐ์คดิ ค้น อันชาญฉลาดของมนุษย์ ผมไม่ได้มองว่ากรอบแนวคิดเรื่องความรู้และ ความเข้าใจเป็นเพียงสูตรลับส�ำหรับสร้างงานประชุมที่น่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ผมมองว่ามันคือกุญแจที่น�ำทางเราให้อยู่รอดและเติบโตอย่างงดงาม ในโลกใหม่อันน่าตื่นตาที่ก�ำลังจะมาถึง ผมขออธิบายอย่างนี้ครับ ยุคสมัยของความรู้ ความเชือ่ พืน้ ฐานส่วนใหญ่ทเี่ รามีเกีย่ วกับคุณค่าและเป้าประสงค์ ของความรู้ วิธีได้มาซึ่งความรู้ รวมไปถึงโครงสร้างของระบบการศึกษา ทั้งหมด เป็นร่อยรอยที่หลงเหลือมาจากยุคอุตสาหกรรม กุญแจสู่ความ ส�ำเร็จในยุคสมัยนั้นคือ บริษัทหรือประเทศต้องพัฒนาผู้เชี่ยวชาญจ�ำนวน มหาศาลในด้านการผลิตสินค้าทีจ่ บั ต้องได้ ซึง่ วิธนี ตี้ อ้ งอาศัยความรูค้ วาม เชี่ยวชาญเชิงลึก เช่น ความรู้ทางธรณีวิทยาเพื่อใช้ค้นหาและขุดเจาะ ถ่านหินและน�้ำมัน ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลซึ่งจ�ำเป็นส�ำหรับการ สร้างและเดินเครื่องจักรอุตสาหกรรม ความรู้ด้านเคมีที่ช่วยให้ผลิตวัสดุ 316

T ED Talk s

หลากหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ยุคเศรษฐกิจบนฐานความรู้นั้นต้องการอะไรที่แตกต่างออกไป ความรู้เฉพาะทางที่เดิมมนุษย์เป็นผู้ถือครองก�ำลังถูกคอมพิวเตอร์เข้า มาแทนที่ ตอนนีน้ กั ธรณีวทิ ยาไม่ได้เป็นผูส้ ำ� รวจและค้นหาน�ำ้ มันอีกต่อไป กลายเป็นคอมพิวเตอร์ทที่ ำ� หน้าทีว่ เิ คราะห์ขอ้ มูลธรณีวทิ ยาจ�ำนวนมหาศาล เพือ่ หาแบบแผนทีต่ งั้ ของแหล่งน�ำ้ มัน วันนีว้ ศิ วกรโยธาทีเ่ ก่งทีส่ ดุ ไม่จำ� เป็น ต้องคิดเลขด้วยมือเพื่อค�ำนวนความเค้นและความเครียดของอาคาร ที่สร้างใหม่แล้ว เพราะโมเดลคอมพิวเตอร์สามารถท�ำแทนได้ แทบไม่มวี ชิ าชีพใดเลยทีไ่ ม่ได้รบั ผลกระทบ ผมดูการสาธิตเครือ่ ง ไอบีเอ็ม วัตสัน (IBM Watson) ซึง่ พยายามวินจิ ฉัยโรคให้ผปู้ ว่ ยทีม่ อี าการ หกอย่าง ขณะที่บรรดาแพทย์นั่งเกาหัวและสั่งตรวจสอบสารพัดอย่าง เพื่ อ ให้ ไ ด้ ข ้ อ มู ล เพิ่ ม วัตสันใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีอ่านบทความวิจัย ทีเ่ กีย่ วข้อง 4,000 ฉบับ แล้วใช้อลั กอริธมึ ด้านความน่าจะเป็นวิเคราะห์อาการ แต่ละอย่าง ก่อนจะสรุปด้วยความเชื่อมั่น 80 เปอร์เซ็นต์ว่าผู้ป่วยมีภาวะ โรคทีพ่ บได้ยาก ซึง่ ในบรรดาแพทย์ทอี่ ยูต่ รงนัน้ มีคนทีเ่ คยได้ยนิ เกีย่ วกับ ภาวะนี้เพียงคนเดียว มาถึงจุดนี้ ผู้คนเริ่มหดหู่และพากันตั้งค�ำถามท�ำนองว่า ในโลก ที่เครื่องจักรกลพัฒนาจนฉลาดสุดๆ ไม่ว่าในสาขาความรู้ใดๆ ที่เราโยน ให้มัน โลกจะมีมนุษย์ไว้เพื่ออะไร? นี่เป็นค�ำถามที่ส�ำคัญ และค�ำตอบก็น่าตื่นเต้นด้วย โลกจะมีมนุษย์ไว้เพื่ออะไร? ก็มีไว้เพื่อเป็นมนุษย์ให้มากยิ่งกว่า ทีเ่ คยไงครับ มีความเป็นมนุษย์มากขึน้ ในวิธกี ารท�ำงานของเรา เป็นมนุษย์ มากขึ้นในสิ่งที่เราเรียนรู้ และเป็นมนุษย์มากขึ้นในวิธีที่เราแบ่งปันความรู้ ให้กันและกัน โอกาสทีย่ งิ่ ใหญ่ของเราส�ำหรับวันพรุง่ นีค้ อื เราต้องลุกขึน้ หยัดยืน อยู่เหนือประวัติศาสตร์อันยาวนานที่เฝ้าแต่ใช้ความรู้เฉพาะทางท�ำงาน ซ�้ำๆ ซากๆ ไม่ว่าจะเป็นงานหนักที่ต้องตรากตร�ำอย่างการเก็บเกี่ยวข้าว Chris Anderson

317

ปีแล้วปีเล่า หรืองานที่ไม่ต้องใช้สมองอย่างงานประกอบชิ้นส่วนสินค้า บนสายพานการผลิต ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแทบทั้งหมด มนุษย์ ส่วนใหญ่ท�ำมาหากินด้วยการท�ำสิ่งเดิมซ�้ำๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า อนาคตของเราจะไม่เป็นเช่นนั้น แม้ว่าทุกอย่างที่ค�ำนวณได้หรือ เปลีย่ นเป็นระบบอัตโนมัตไิ ด้จะพัฒนาไปเป็นแบบนัน้ ในท้ายทีส่ ดุ เราอาจ หวาดกลัวอนาคตดังกล่าว หรืออาจเปิดใจรับมัน และลองเสี่ยงเพื่อค้นหา หนทางทีม่ สี สี นั ยิง่ กว่า ซึง่ จะน�ำเราไปสูช่ วี ติ ทีเ่ ติมเต็ม เส้นทางนัน้ จะหน้าตา เป็นอย่างไรคงไม่มีใครรู้ชัดแจ้ง แต่มันน่าจะมีสิ่งต่อไปนี้ เพิ่มพูนการคิดเชิงกลยุทธ์ในระดับภาพรวมทั้งระบบ เครื่องจักร จะท�ำงานซ�้ำซากน่าเบื่อให้เรา แต่เราจ�ำเป็นต้องคิดว่าจะวางระบบให้มัน ท�ำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิผลได้อย่างไร มีนวัตกรรมมากขึ้น ในยุคที่มีช่องทางมากมายมหาศาลให้เรา เชื่อมต่อกับโลก คนที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างแท้จริงจะได้เปรียบ อย่างมหาศาล มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น หุ่นยนต์จะท�ำอะไรให้เรามากมาย ท�ำให้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แท้จริงกลายเป็นที่ต้องการอย่าง มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยี การออกแบบ ดนตรี หรือศิลปะ ใช้คุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ของมนุษย์มากขึ้น บริการจากมนุษย์ สูม่ นุษย์จะเติบโตเฟือ่ งฟูถา้ เราปลูกฝังความเป็นมนุษย์ลงไปในงานบริการ เหล่านัน้ เราอาจประดิษฐ์หนุ่ ยนต์ชา่ งตัดผมขึน้ มาได้ แต่บริการตัดผมเพียง อย่างเดียวจะทดแทนการพูดคุยเจ๊าะแจ๊ะกับช่างท�ำผมกึง่ นักบ�ำบัดชัน้ ยอด ที่เป็นมนุษย์จริงๆ ได้หรือ ผมไม่คิดอย่างนั้นนะ หมอในอนาคตอาจใช้ อัจฉริยภาพของเครื่องวัตสันเพื่อช่วยวินิจฉัยโรค แต่นั่นควรท�ำให้หมอ มีเวลามากขึ้น และเข้าอกเข้าใจสภาวะของคนไข้ในด้านที่เป็นมนุษย์ ได้อย่างแท้จริง

318

T ED Talk s

และถ้าข้อใดที่กล่าวมานี้กลายเป็นจริง เราคงต้องอาศัยความรู้ ที่แตกต่างจากความรู้ที่เราใช้ในยุคอุตสาหกรรมอย่างมาก ลองจินตนาการโลกที่คุณสามารถหาความรู้เฉพาะทางเรื่องใด ก็ได้ในทันทีทค่ี ณ ุ ต้องการ ถ้าคุณมีสมาร์ตโฟน ก็นบั ว่าคุณอยูใ่ นโลกเช่นนัน้ แล้วละครับ หรือต่อให้ยังไม่ใช่วันนี้ มันก็ต้องเกิดขึ้นอยู่ดีในยุคสมัยของ ลูกเรา แล้วตัวเราเองและลูกควรเรียนรู้อะไรเพื่ออนาคตดีล่ะครับ แทนที่จะเรียนเนื้อหาความรู้เฉพาะทางแบบเจาะลึกยิ่งกว่าเดิม ในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับเราคือ • ความรู้เกี่ยวกับบริบท • ความรูเ้ รื่องการคิดสร้างสรรค์ และ… • ความเข้าใจความเป็นมนุษย์ของตัวเองอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความรู้เกี่ยวกับบริบท หมายถึง รู้ภาพกว้าง รู้ว่าชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบเข้าด้วยกันอย่างไร ความรูเ้ รือ่ งการคิดสร้างสรรค์ คือชุดทักษะทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ ได้พบเจอ มนุษย์ที่มีความคิดสร้างสรรค์คนอื่นๆ อีกมากมาย ความเข้าใจความเป็นมนุษย์ของตัวเองอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่ง ไม่ได้เกิดขึน้ เมือ่ คุณฟังค�ำพูดของพ่อแม่หรือเพือ่ น ไม่ได้มาจากนักจิตวิทยา นักประสาทวิทยาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักชีววิทยาวิวัฒนาการ นักมานุษยวิทยา หรือครูที่สอนด้านจิตวิญญาณ แต่มันจะเกิดขึ้นได้ เมื่อคุณฟัง ทุกคน ที่ว่ามา ความรูเ้ หล่านีไ้ ม่ใช่วชิ าทีห่ าได้จากอาจารย์ไม่กคี่ นในมหาวิทยาลัย ทีย่ อดเยีย่ มไม่กแี่ ห่งเท่านัน้ และไม่ใช่สงิ่ ทีค่ ณ ุ ค้นพบได้ในโครงการฝึกงาน ของบริษัทดังๆ ด้วย ความรู้เหล่านี้ต้องประกอบขึ้นมาจากสารพัดแหล่ง ที่แตกต่างหลากหลายอย่างมหาศาลเท่านั้น

Chris Anderson

319

นี่ละคือเครื่องจักรหลักที่ขับเคลื่อนยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของ การพูดในที่สาธารณะ เราก�ำลังเข้าสู่ยุคที่เราทุกคนจ�ำเป็นต้องใช้เวลา มากขึ้นเพื่อ เรียนรู้จากกันและกัน นั่นหมายความว่าจะมีคนที่มีบทบาท เป็นผู้ให้ในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันนี้เพิ่มขึ้นอีกมาก ใครก็ตามที่มี ผลงานโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์หรือมีความคิดลึกซึ้งไม่เหมือนใคร ล้วน เข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้ให้ความรู้ได้ และนั่นรวมถึงคุณด้วย แต่จะท�ำอย่างไรล่ะ? ผมคงไม่จ�ำเป็นต้องเรียนทุกสิ่งทุกอย่าง จากคุณ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้เฉียบแหลม เป็นช่างหิน ผู้มีพรสวรรค์ หรือเป็นแค่นักเรียนผู้เฉลียวฉลาดในโรงเรียนแห่งชีวิต ก็ตาม แน่นอนสิครับ ถ้าเรียนหมดคงใช้เวลาเป็นปีๆ สิง่ ทีผ่ มต้องรูค้ อื งาน ทีค่ ณ ุ ท�ำเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ อย่างไร คุณช่วยอธิบายแก่นของมันด้วย วิธีที่ผมพอเข้าใจได้ให้ฟังหน่อยครับ ลองเล่ากระบวนการท�ำงานของคุณ ด้วยภาษาแบบคนทั่วไปได้ไหม อธิบายให้ฟังหน่อยว่ามันส�ำคัญอย่างไร และท�ำไมคุณจึงหลงใหลมัน ถ้าคุณท�ำเช่นนี้ได้ คุณจะขยายโลกทัศน์ของผม และอาจท�ำได้ มากกว่านัน้ ด้วย คุณอาจจุดประกายความคิดสร้างสรรค์หรือแรงบันดาลใจ ในตัวผม ความรู้ในแต่ละวงการนั้นแตกต่าง แต่มันเชื่อมโยงกันหมด และ มักสอดคล้องสัมพันธ์กัน นั่นหมายความว่า อะไรบางอย่างในวิธีที่คุณ บรรยายกระบวนการท�ำงานอาจท�ำให้ผมตกผลึกความคิดที่ลึกซึ้ง หรือ เร่งให้ผมเกิดความคิดใหม่ นีค่ อื ต้นก�ำเนิดของความคิดเมือ่ เราจุดประกาย ให้กันและกัน ด้ ว ยเหตุ นี้ ตั ว ขั บ เคลื่ อ นที่ ยิ่ ง ใหญ่ อั น ดั บ แรกแห่ ง ยุ ค ฟื ้ น ฟู ศิลปวิทยาการของปาฐกถาในทีส่ าธารณะคือการทีเ่ ราได้กา้ วเข้าสูย่ คุ แห่ง ความรู้ ซึ่งต้องการความรู้ที่แตกต่างหลากหลายประเภท และสนับสนุน ให้ผู้คนได้รับแรงบันดาลใจจากบุคคลภายนอกวงการที่ตนเชี่ยวชาญ ซึ่ง เมื่อท�ำเช่นนั้น เราจะได้พัฒนาความเข้าใจลึกซึ้งที่มีต่อโลก และเรียนรู้ บทบาทของตนเองในโลกใบนี้ แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมดนะครับ 320

T ED Talk s

20 ทำ�ไมเรื่องนี้จึงสำ�คัญ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างผู้คน

ตั ว ขั บ เคลื่ อ นสำ�คั ญ ลำ�ดั บ ที่ ส องในยุ ค ฟื้ น ฟู ศิ ล ปวิ ท ยาการของ ปาฐกถาในที่สาธารณะคือ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งยิ่งใหญ่ ที่ช่วยให้เรามองเห็นซึ่งกันและกัน นั่นคืออินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการ เติบโตของวิดีโอออนไลน์ ผมขอเล่าเรื่องราวที่เราได้สัมผัสมานะครับ เพราะภายในไม่ถึงปี วิดีโอออนไลน์สร้างปรากฏการณ์พลิกผันครั้งใหญ่ ให้กับ TED และทำ�ให้เรากลายเป็นผู้บุกเบิกวิธีเผยแพร่ความรู้แบบใหม่ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่สำ�คัญคือการที่ TED เป็นองค์กรไม่แสวงผล กำ�ไร เรามักไม่คดิ ว่าองค์กรไม่แสวงผลกำ�ไรจะเป็นพาหนะทีม่ นั่ คงสำ�หรับ นวัตกรรม แต่ในกรณีของ TED สถานภาพนี้ช่วยได้มากจริงๆ ผมจะ อธิบายให้ฟังครับ ตอนผมยั ง ทำ�งานในวงการนิ ต ยสาร ผมเริ่ ม นำ�เงิ น ไปก่ อ ตั้ ง มูลนิธิที่ไม่แสวงผลกำ�ไร เพื่อลงมือทำ�อะไรตอบแทนสังคมบ้าง ผมซื้อ การประชุม TED มาในนามมูลนิธินี้แหละ ผมทำ�งานให้มูลนิธิโดยไม่ รับเงินเดือน ผมมองว่าการตัดแรงจูงใจเรื่องกำ�ไรออกไปคือสัญญาณที่ Chris Anderson

323

บ่งบอกเจตนารมณ์อันชัดเจน และทำ�ให้ง่ายขึ้นมากที่จะประกาศต่อโลก อย่างน่าเชื่อถือว่า มาช่วยเราสร้างแนวทางใหม่ในการค้นพบและแบ่งปัน ความคิดกันเถอะ เราขอให้ผฟู้ งั จ่ายเงินจำ�นวนมากเพือ่ เข้าร่วมการประชุม เวทีหลัก และขอให้ผพู้ ดู มาร่วมงานโดยไม่มคี า่ ตอบแทน สิง่ เหล่านีจ้ ะทำ�ได้ ง่ายมาก หากผู้คนเห็นว่าเขาทำ�เพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่เพื่อเงิน ในบัญชีส่วนตัวของใครบางคน แล้ว TED ควร ทำ�อย่างไรจึงจะสร้างประโยชน์สาธารณะได้ดี ที่สุด ทีมงานกลุ่มเล็กๆ ของเราที่ขับเคลื่อน TED ในช่วงสองสามปีหลัง การเปลี่ยนผ่านครุ่นคิดเรื่องนี้กันอย่างหนักหน่วง ถึงที่สุดแล้ว TED ก็ เป็นเพียงการประชุมที่จัดโดยเอกชน จริงอยู่ที่ผู้คนได้รับแรงบันดาลใจ จากงาน TED แต่มนั ยากจะมองเห็นว่าคุณจะขยายประสบการณ์นนั้ ไปใน วงกว้างได้อย่างไร ความพยายามแรกๆ ของเราที่จะขับเคลื่อนพันธกิจ แบบไม่แสวงกำ�ไรของ TED คือ ทดลองโครงการให้ทนุ หรือ TED Fellows1 เพือ่ ให้ผทู้ ไี่ ม่มกี ำ�ลังทรัพย์พอจะจ่ายค่าลงทะเบียนได้มโี อกาสเข้าร่วมงาน ประชุม TED นอกจากนี้เรายังพยายามมุ่งเน้นประเด็นที่กว้างขึ้นในระดับ โลก และมุง่ มัน่ เปลีย่ นแรงจูงใจให้กลายเป็นการลงมือทำ� โดยริเริม่ โครงการ TED Prize ซึ่งผู้ได้รับรางวัลจะได้รับพรข้อหนึ่ง อันเป็นโอกาสที่จะพัฒนา โลกให้ดีขึ้น พร้อมด้วยแรงสนับสนุนจากผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ แต่ถงึ จุดหนึง่ เรารูส้ กึ ว่าเราต้องหาทางแบ่งปัน เนือ้ หา ของ TED ความคิดและความเข้าใจอันลึกซึ้งที่นำ�เสนอบนเวทีควรถ่ายทอดไปถึง ผู้ฟังในวงกว้างกว่านั้น ช่วงต้นปี 2005 ผมพบบุคคลที่เหมาะสมที่สุด ทีจ่ ะไขปัญหานี้ นัน่ คือจูน โคเฮน (June Cohen) ผูท้ มี่ มี มุ มองจากคนวงใน ของโครงการพัฒนาเว็บไซต์สำ�คัญๆ มากมาย เธอเป็นผูบ้ ริหารหลักในทีม

โครงการ TED Fellows ที่มีทอม ไรล์ลี เป็นผู้น�ำ ดึงดูดผู้รับทุนมากกว่าสี่ร้อยคนในช่วง สิบปีที่ผ่านมา เครือข่ายของผู้มีพรสวรรค์เหล่านี้สร้างชีวิตชีวาให้งานประชุม TED ในระยะ หลังๆ ได้แทบทุกครั้ง 1

324

T ED Talk s

พัฒนาเว็บไซต์นำ�ร่องอย่างฮอตไวร์ด (HotWired) ซึง่ เป็นเว็บไซต์แรกทีม่ ี โฆษณาออนไลน์ และเธอยังเขียนหนังสือทีย่ อดเยีย่ มเกีย่ วกับเคล็ดลับการ สร้างเว็บไซต์ทปี่ ระสบความสำ�เร็จด้วย เธอเริม่ เข้าร่วมการประชุม TED ใน ปีเดียวกับผม และเธอก็ตกหลุมรัก TED เหมือนผมเช่นกัน ทุกบทสนทนา ระหว่างเราล้วนปลุกเร้าความคิดและมีคุณค่า จูนเข้าร่วมทีมของพวกเราทีเ่ หมือนลูกนกเพิง่ หัดบิน และเริม่ ต้น กลยุทธ์ที่ดูสมเหตุสมผลสำ�หรับการเผยแพร่เนื้อหาของ TED ออกไปใน วงกว้าง นัน่ คือนำ�เสนอผ่านโทรทัศน์ การประชุม TED ทุกครัง้ ทีเ่ คยจัดขึน้ ล้วนถ่ายวิดีโอเก็บไว้เสมอ และในเมื่อเคเบิลทีวีก็มีอยู่มากมายหลายช่อง ขนาดนี้ ย่อมต้องมีบางช่องสนใจอยากออกอากาศรายการรายสัปดาห์แบบนี้ แน่ๆ จริงไหม เราสร้ า งต้ น แบบรายการ แล้ ว จู น ก็ ไ ปนำ�เสนออย่ า ง กระตือรือร้นกับใครก็ตามที่ยอมรับฟัง เสียงตอบรับจากโลกโทรทัศน์เป็น อย่างไรน่ะหรือครับ ก็งั้นๆ ให้คนมาพูดเฉยๆ มันน่าเบือ่ สำ�หรับโทรทัศน์ เราได้ยนิ ประโยคนี้ ครัง้ แล้วครัง้ เล่า เราพยายามบอกไปว่า ทีน่ า่ เบือ่ อาจไม่ใช่เพราะมีคนมาพูด เฉยๆ แต่เพราะคนทีม่ าพูดนัน้ พูดเรือ่ งน่าเบือ่ ต่างหาก ทว่าก็ไม่ได้ผลอยูด่ ี แต่แล้วในช่วงเวลานั้นก็เกิดเหตุการณ์สำ�คัญลึกซึ้งกับโครงสร้าง พืน้ ฐานของโลก เมือ่ บริษทั โทรคมนาคมต่างๆ พากันตืน่ เต้นกับการเติบโต มหาศาลของอินเทอร์เน็ต จึงตัดสินใจลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ไป กับสายไฟเบอร์ออปติกและช่องทางอื่นๆ ที่ใช้อัปเกรดอัตราความเร็วใน การส่งผ่านข้อมูล ปรากฏการณ์นี้เอื้อให้เกิดเทคโนโลยีที่ตอนแรกดูไม่มี พิษสงอะไรเลย นัน่ คือวิดโี อออนไลน์ ในช่วงปี 2005 มันกลายร่างจากภาพ กะพริบวิบวับที่มุมจอเป็นสิ่งที่คุณรับชมได้จริงๆ เว็บไซต์แปลกใหม่ ขนาดเล็กๆ ที่ชื่อว่ายูทูบ (YouTube) เปิดตัวขึ้น โดยประกอบไปด้วยคลิป วิดีโอสั้นๆ ที่ผู้ใช้สร้างเอง วิดีโอจำ�นวนมากมีลูกแมวเป็นตัวเอก แม้มันจะ ดูเหมือนผลงานของมือสมัครเล่น แต่ก็ได้รับความนิยมล้นหลาม

Chris Anderson

325

ในเดือนพฤศจิกายน 2005 จูนมาหาผมพร้อมคำ�แนะนำ�ทีต่ รงข้าม กับของเดิมอย่างสุดขั้ว ลองลดความสำ�คัญของโทรทัศน์แล้วเผยแพร่ ปาฐกถา TED ผ่านสื่อวิดีโอออนไลน์แทนดีกว่า ดูเผินๆ นั่นเป็นความคิดทีบ่ ้าทีเดียว นอกจากคุณภาพของวิดโี อ ออนไลน์จะแทบรับไม่ได้แล้ว ยังไม่มีโมเดลธุรกิจที่แน่ใจได้ว่าจะประสบ ความสำ�เร็จเลย เป็นความคิดที่ดีจริงๆ หรือที่จะเสี่ยงแจกเนื้อหาไปฟรีๆ ทั้งที่มันคือเหตุผลเดียวที่ผู้คนจ่ายเงินมากมายเพื่อเข้าร่วมการประชุม ตัง้ แต่แรก แต่อีกมุมหนึ่ง นี่จะเป็นก้าวสำ�คัญที่ช่วยสร้างความก้าวหน้า ให้พันธกิจไม่แสวงผลกำ�ไรของ TED ซึ่งตั้งมั่นจะเผยแพร่ความคิดเพื่อ ประโยชน์สาธารณะ และความคิดที่ว่าเราสามารถควบคุมการเผยแพร่ เนื้อหาของเราเองได้โดยไม่ต้องพึ่งเครือข่ายโทรทัศน์นั้นช่างน่าตื่นเต้น อย่างน้อยมันก็น่าทดลองดู เราจึงทดลองกันครับ ในวันที่ 22 มิถนุ ายน 2006 ปาฐกถา TED หกเรื่องก็เปิดตัวเป็นครั้งแรกบนเว็บไซต์ของเรา ตอนนั้น TED.com มี ผู้เข้าชมประมาณวันละ 1,000 คน ส่วนใหญ่เข้ามาดูข้อมูลเกี่ยวกับการ ประชุมในอดีตและในอนาคต เราวาดฝันว่าหลังจากเปิดตัววิดีโอปาฐกถา เหล่านี้ ตัวเลขอาจเพิม่ ขึน้ ห้าเท่า รวมยอดเข้าชมทัง้ ปีนา่ จะประมาณ 2 ล้าน ครั้ง ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำ�ให้ยอดการเข้าถึงพุ่งทะยานขึ้นอย่างมหาศาล วันแรกเรามียอดเข้าชมปาฐกถาประมาณ 10,000 ครั้ง ผมคิด เอาเองว่าหลังจากความสนใจตอนแรกๆ ซาลงแล้ว ตัวเลขผู้เข้าชมคงจะ ตกฮวบอย่างรวดเร็วเหมือนกับสื่อใหม่ทั่วๆ ไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับ ตรงกันข้าม ภายในสามเดือนมีผเู้ ข้าชมถึง 1 ล้านคน และตัวเลขยังเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนื่อง ที่น่าตื่นเต้นยิ่งกว่านั้นคือท่าทีตอบสนองที่เราได้รับ เราสงสัย อยู่ว่าปาฐกถาออนไลน์จะสร้างผลกระทบได้เหมือนปาฐกถาสดไหม คุณ จะดึงให้คนนั่งจ้องหน้าต่างเล็กๆ ในจอคอมพิวเตอร์อยู่ได้อย่างไร ในเมื่อ 326

T ED Talk s

มีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจมากมายบนโลกออนไลน์ ทว่าเสียงตอบรับอัน ทรงพลังทำ�ให้เราทั้งตกใจและปลื้มปีติ ว้าว! ฟังแล้วเย็นสันหลังวาบเลย!, เจ๋งและสร้างแรงบันดาลใจมาก, นำ�เสนอกราฟิกซับซ้อนได้ดที สี่ ดุ เท่าทีฉ่ นั เคยเห็นมา, น้ำ�ตาฉันไหลนองหน้าเลย… ทันใดนั้นเอง ราวกับความหลงใหลที่ผู้คนสัมผัสในงานประชุม ได้ถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ และเรื่องนี้ตีความได้อย่างเดียวเท่านั้น นั่นคือ เราต้องขยายวิธกี ารนีไ้ ปใช้กบั เนือ้ หาทีด่ ที สี่ ดุ ของเราทัง้ หมด จากเดิมทีค่ ดิ ว่าจะทดลองเปิดตัวปาฐกถา TED ออนไลน์เพียงไม่กเี่ รือ่ ง ในเดือนมีนาคม ปี 2007 เราเปลี่ยนโฉมเว็บไซต์เสียใหม่ โดยมีปาฐกถาให้ชมถึง 100 เรื่อง และตัง้ แต่นน้ั มา TED ก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่การประชุมประจำ�ปี แต่กลายเป็น องค์กรสื่อที่อุทิศให้ “ความคิดที่ควรค่าแก่การเผยแพร่” อ้อ แล้วเรือ่ งทีผ่ มกังวลว่าหากเปิดให้ชมเนือ้ หาฟรีจะสร้างปัญหา ต่องานประชุมล่ะ? ที่จริงผลกระทบกลับตรงกันข้าม ผู้เข้าร่วมงานประชุม ตืน่ เต้นดีใจทีต่ อนนีเ้ ขาสามารถแบ่งปันปาฐกถาอันยอดเยีย่ มให้เพือ่ นหรือ เพือ่ นร่วมงาน และเมือ่ ข่าวคราวเกีย่ วกับ TED แพร่กระจายออกไป จำ�นวน คนที่ต้องการเข้าร่วมงานประชุมก็ยิ่งเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ� แปดปีตอ่ มา ความสนใจในปาฐกถา TED ผุดขึน้ ราวดอกเห็ดทัว่ โลก เราทัง้ ประหลาดใจและปลืม้ ปีตทิ มี่ นั กลายเป็นเวทีระดับโลก2 สำ�หรับค้นหา และเผยแพร่ความคิด ซึ่งเกิดขึ้นได้เพราะแรงกายแรงใจของผู้พูดหลาย

เวทีที่ว่านี้ประกอบด้วยกิจกรรมที่จัดขึ้นในสถานที่ต่างๆ (การประชุมประจ�ำปีของ TED ที่ แวนคูเวอร์ รวมทั้ง TEDGlobal, TEDYouth, TEDWomen, กิจกรรมรวมกลุ่มที่จัดต่อเนื่อง หรืองานสังสรรค์นานาประเภท) การเคลื่อนไหวของผู้จัดการประชุมอิสระ TEDx ในที่ต่างๆ ทั่วโลก และช่องทางออนไลน์มากมาย (เว็บไซต์ TED.com ของเราเอง รวมทั้ง YouTube, iTunes, รายการ TED Radio Hour ทางสถานีวิทยุ NPR แอปพลิเคชั่นในอุปกรณ์เคลื่อนที่ และความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ อีกหลายราย) นอกจากนี้ยังมีโครงการใหม่แยกต่างหาก ซึง่ มุง่ เป้าไปทีน่ กั เรียน เรียกว่า TED-Ed รวมไปถึงโครงการรางวัลประจ�ำปีอย่าง TED Prize และโครงการให้ทุน TED Fellows 2

Chris Anderson

327

ร้อยคน นักแปลอาสาสมัครหลายพันคน และผู้จัดงานในท้องถิ่นหลาย หมืน่ คน เมือ่ ถึงปลายปี 2015 ปาฐกถา TED มีผชู้ มราว 100 ล้านครัง้ ทุกเดือน หรือเท่ากับ 1,200 ล้านครัง้ ต่อปี แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ TED ยังมีองค์กรอืน่ ๆ อีกมากมายทีเ่ ผยแพร่ความคิดในรูปวิดโี อเช่นกัน ความสนใจในการศึกษา ออนไลน์เฟือ่ งฟูขน้ึ อย่างกว้างขวาง คาห์นอะคาเดมี เอ็มไอที มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน ต่างพากันนำ�ทรัพยากรความรู้ อันน่าทึ่งมาเผยแพร่ให้คนทั่วโลกเข้าถึงได้ฟรี เมือ่ คุณถอยกลับมาใคร่ครวญว่าสิง่ นีม้ คี วามหมายอย่างไร จะพบ ว่ามันน่าตื่นเต้นมากครับ ลองมองจากมุมของผู้พูดเป็นอันดับแรก ใน ประวัติศาสตร์ท่ีผ่านมา คนจำ�นวนมากที่หลงใหลในความคิดบางอย่าง ใช้เวลาหลายปีเดินทางลัดเลาะข้ามประเทศหรือข้ามทวีป และพยายาม ดึงดูดให้ผ้ฟู ังสนใจ ในความเป็นจริง ความสำ�เร็จสูงสุดซึ่งใครสักคนที่ทำ� เช่นนี้พอจะคาดหวังได้คือ มีโอกาสพูดสัก 100 ครั้งต่อปี ต่อหน้าผู้ฟัง โดยเฉลี่ยครั้งละราว 500 คน ดังนั้นคุณอาจเข้าถึงคนได้แค่ 50,000 คน ในหนึ่ ง ปี และนั่ น ต้ อ งอาศั ย เครื่ อ งมื อ ประชาสั ม พั น ธ์ ล่ ว งหน้ า ที่ มี ประสิทธิภาพน่าทึ่งรวมไปถึงตารางเวลาที่แน่นเอี้ยด ในทำ�นองเดียวกัน นักเขียนที่ขายหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดจริงจังก็จะถือว่าตัวเองประสบ ความสำ�เร็จถ้าขายได้ 50,000 เล่ม แต่ในโลกออนไลน์ แค่วันแรกวันเดียวคุณก็เข้าถึงคนจำ�นวน เท่านั้นได้ และมีผู้พูดมากกว่า 1,000 คนที่เข้าถึงผู้ฟังมากกว่า 1 ล้านคน จากปาฐกถาเพียง เรือ่ งเดียว นีแ่ สดงให้เห็นถึงการปฏิรปู แบบก้าวกระโดด ของการสร้างอิทธิพลทางความคิด และผู้พูดหลายคนก็ได้ประจักษ์ถึง ผลกระทบที่มันมีต่องานของเขาแล้ว แต่จากมุมมองของผูช้ ม นัยของการเปลีย่ นแปลงนีน้ า่ ตืน่ เต้นยิง่ กว่า มนุษย์แทบทุกคนที่เกิดในทุกสถานที่และทุกช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ ล้วนถูกจำ�กัดศักยภาพด้วยความจริงข้อเดียวที่ตนแทบไม่อาจควบคุมได้ นั่นคือคุณภาพของครูและผู้คอยชี้แนะที่พวกเขาพบเจอ ถ้าเด็กชายที่มี 328

T ED Talk s

มันสมองของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ไปเกิดในเยอรมันช่วงยุคมืด ก็คงไม่มี การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ที่เขาเป็นผู้ริเริ่มขึ้น ถ้าเด็กหญิงที่มีมันสมอง แบบมารี คูรี ไปเกิดในหมู่บ้านห่างไกลในอินเดียเมื่อยี่สิบปีก่อน ทุกวันนี้ เธอคงกำ�ลังเกี่ยวข้าวและดิ้นรนหาทางเลี้ยงดูลูก แต่ ณ เวลานี้ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ทุกคนบนโลก มีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพือ่ เชิญครูและนักสร้างแรงบันดาลใจมาทีบ่ า้ น ศักยภาพที่มาพร้อมกับช่องทางนี้ช่างน่าตื่นเต้นจนแทบลืมหายใจ และเราก็ไม่ควรมองเรือ่ งนีเ้ ป็นเพียงกระบวนการถ่ายทอดทางเดียว นั่นคือจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง เพราะนัยอันลึกซึ้งของวิดีโอออนไลน์คือ มัน สร้างระบบนิเวศทีม่ ปี ฏิสมั พันธ์โต้ตอบกันได้ ทำ�ให้เราสามารถเรียนรูจ้ าก กันและกัน ที่จริงคุณอาจประหลาดใจถ้ารู้ว่าผมได้ความคิดนี้มาจากคน กลุ่มใด แมดด์ แชดด์ (Madd Chadd) เจย์ สมูธ (Jay Smooth) คิด เดวิด (Kid David) และลิล “ซี” (Lil “C”) คือสมาชิกหลักของทีมรวมพลนักเต้น ที่ชื่อว่า LXD (Legion of Extraordinary Dancers) การแสดงของพวกเขา ที่ TED ในปี 2010 ทำ�ให้เราทึง่ แต่สง่ิ ทีผ่ มทึง่ กว่านัน้ คือ พวกเขาเรียนทักษะ มากมายโดยดูจากยูทบู ! จอน ชู (Jon Chu) โปรดิวเซอร์ของพวกเขากล่าวว่า เหล่านักเต้นได้สร้างห้องปฏิบัติการออนไลน์ระดับโลกส�ำหรับการ เต้น มันเป็นพื้นที่ซึ่งเด็กญี่ปุ่นจะน�ำท่าเต้นจากวิดีโอยูทูบที่ถ่ายท�ำ ในเมืองดีทรอยต์มาต่อยอดภายในไม่กี่วัน แล้วปล่อยวิดีโอตัวใหม่ ออกมา ขณะทีว่ ยั รุน่ ในแคลิฟอร์เนียก็นำ� วิดโี อของญีป่ นุ่ มาผสมผสาน กับเอกลักษณ์ของฟิลาเดลเฟีย เพื่อสร้างสไตล์การเต้นแบบใหม่ กิจกรรมแบบนีเ้ กิดขึน้ ทุกวัน โลกเราจะมีนกั เต้นผูย้ งิ่ ใหญ่แห่งอนาคต ซึ่งถือก�ำเนิดจากห้องนอน ห้องนัง่ เล่น และโรงจอดรถ ด้วยความ ช่วยเหลือของกล้องเว็บแคมราคาถูกเหล่านี้

Chris Anderson

329

ยูทูบได้จุดประกายอะไรบางอย่างที่คล้ายการประกวดนวัตกรรม การเต้นระดับโลก และก่อให้เกิดรูปแบบทางศิลปะที่วิวัฒนาการด้วย ความเร็วสูงลิว่ ชูสงั เกตเห็นปรากฏการณ์นี้ จึงหันมาอาศัยยูทบู เป็นแหล่ง คัดสรรหลักเพือ่ เสาะหานักเต้นหน้าใหม่ทมี่ พี รสวรรค์ และ LXD นัน้ มีฝมี อื น่าทึง่ มากเสียจนได้รบั เลือกให้แสดงทีง่ านประกาศรางวัลออสการ์ในปีนนั้ ขณะทีผ่ มฟังชูพร้อมกับชมการแสดงของคณะ LXD ผมนึกขึน้ มา ได้ว่าปรากฏการณ์เดียวกันนี้กำ�ลังเกิดขึ้นกับการพูดในที่สาธารณะ ผู้พูด ชมปาฐกถาออนไลน์ของคนอื่น เรียนรู้จากกันและกัน มองหาจุดดีเพื่อ ทำ�ตาม และเพิ่มเติมนวัตกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อันทีจ่ ริงคุณจะเห็นปรากฏการณ์เดียวกันนีเ้ กิดขึน้ กับทักษะใดๆ ก็ตามที่สามารถแบ่งปันในรูปวิดีโอ วิดีโอออนไลน์มอบสองสิ่งที่เมื่อก่อน ไม่ได้หาง่ายขนาดนี้ นั่นคือ • โอกาสได้เห็นคนที่มีพรสวรรค์สูงสุดในโลก • แรงจูงใจมหาศาลเพื่อให้ปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้ว แรงจูงใจที่ว่าคือความตื่นเต้นที่ได้เป็นดาราในยูทูบ ทั้งโอกาส ที่คนจะคลิกเข้ามาชม กดไลก์ และแสดงความเห็น ล้วนสามารถจูงใจ ใครบางคนให้ลงแรงหลายชั่วโมงหรือหลายสัปดาห์เพื่อฝึกฝนทักษะของ ตัวเองให้สมบูรณ์แบบ แล้วถ่ายวิดีโอและอัปโหลด ถ้าคุณลองใช้เวลา ท่องเว็บยูทูบ คุณจะค้นพบชุมชนที่เจาะกลุ่มเฉพาะทางหลายพันกลุ่มซึ่ง เกีย่ วข้องกับสารพัดเรือ่ ง ตัง้ แต่การขีจ่ กั รยานล้อเดียว กีฬาปาร์กวั ร์ บทกวีในรูปแบบวิดีโอ ไปจนถึงเกมไมน์คราฟต์ โดยพวกเขาจะคอยสอนสิ่งน่าทึ่งให้กันและกัน ปรากฏการณ์นี้ควรมีชื่อเรียก ผมเริ่มเรียกมันว่า นวัตกรรมที่ ขับเคลื่อนด้วยมวลชน และเท่าที่ผ่านมา การประยุกต์ใช้นวัตกรรมนี้ ที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็เกิดขึ้นในโลกของความคิดนั่นเอง 330

T ED Talk s

จากประวัติศาสตร์ทั้งหมดทั้งมวลในอดีต ปาฐกถาส่วนใหญ่ที่ กล่าวต่อหน้าผู้ฟังเป็นสิ่งที่ไม่มีใครมีโอกาสได้ชมนอกจากผู้ฟังที่อยู่ที่นั่น ทว่าปัจจุบันนี้ เป็นครั้งแรกที่คุณสามารถเชื่อมต่อออนไลน์แล้วเลือกชม ผู้พูดหลากหลายนับพันในหัวข้อใดก็ได้ที่คุณสนใจ คุณจะเห็นได้เลยว่า ปาฐกถานั้นได้รับเสียงชื่นชมมากแค่ไหน โดยดูจากยอดเข้าชม ความ คิดเห็น ฯลฯ ฉะนั้นคุณสามารถกรองให้เหลือเฉพาะวิดีโอที่อยากดูจริงๆ เท่านั้น เช่นนี้เอง จู่ๆ เราก็มีห้องปฏิบัติการอันน่าทึ่งให้ใช้งาน และยังมี สิ่งจูงใจใหม่ที่แสนวิเศษเพื่อให้คนนับล้านเข้าร่วมในห้องปฏิบัติการนี้ ถ้า โอกาสดีที่สุดที่คุณจะกล่าวปาฐกถาคือ กล่าวให้เพื่อนร่วมงานไม่กี่คนฟัง หรือกล่าวในสมาคมแถวบ้าน คุณอาจไม่รู้สึกว่ามีแรงจูงใจให้เตรียมตัว มากนัก แต่ตอนนี้เมื่อสิ่งที่คุณพูดอาจมีคนบันทึกไว้และเผยแพร่ออนไลน์ สถานการณ์ย่อมต่างออกไป ผู้ฟังของคุณอาจมีจำ�นวนมหาศาลถึงหลัก ล้าน ทีนี้คุณยินดีอุทิศเวลาเตรียมตัวมากแค่ไหนครับ นีค่ อื สูตรสร้างสรรค์วงจรขาขึน้ อันรุง่ โรจน์ของการเรียนรู้ การสร้าง นวัตกรรม การเผยแพร่แบ่งปัน และการเรียนรู้ที่มากขึ้นอีก ด้วยเหตุนี้ผม จึงเชือ่ ว่ายุคฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาการของการพูดในทีส่ าธารณะนัน้ เพิง่ จะเริม่ ต้น พวกเราชาว TED พยายามบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์นี้ด้วยสามวิธี (นอกเหนือ จากเผยแพร่ปาฐกถา TED บนเว็บไซต์ของเรา) 1. งานประชุม TEDx ใกล้ๆ คุณ ในปี 2009 เราเริม่ เปิดโอกาสให้คนทีต่ อ้ งการจัดงานประชุมลักษณะ เดียวกับ TED ในชุมชนหรือเมืองของตนเองได้สิทธิจัดงานโดยไม่เสีย ค่าลิขสิทธิ์ เราใช้ชอื่ TEDx โดย x หมายถึงงานทีจ่ ดั เองอิสระ และยังสือ่ ถึง ผลกระทบทวีคณ ู ของโครงการนี้ เรายินดีอย่างยิง่ ทีม่ คี นหลายพันคนริเริม่ จัดงาน TEDx โดยมีมากกว่าปีละ 2,500 งานในกว่า 150 ประเทศ นำ�มาซึง่ Chris Anderson

331

ปาฐกถา TEDx ที่อัปโหลดขึ้นยูทูบมากกว่า 60,000 เรื่อง และปาฐกถา เหล่านั้นก็ส่งต่อแพร่หลายในอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณคิดว่า ที่ทำ�งานไม่เปิดโอกาสให้คุณกล่าวปาฐกถาแบบที่อยากกล่าว ลองติดต่อ ผูจ้ ดั TEDx ในเมืองของคุณสิครับ อาจมีเวทีทสี่ มบูรณ์แบบรออยูใ่ นละแวก บ้านของคุณเองก็เป็นได้3 2. โครงการสร้างความรู้ด้านการนำ�เสนอสำ�หรับเด็ก เราเปิดตัวโครงการฟรีสำ�หรับโรงเรียน โดยตั้งชื่อว่าสมาคม TED-Ed Club ซึง่ สนับสนุนให้ครูเปิดโอกาสให้เด็กๆ ออกมากล่าวปาฐกถา TED ของตัวเอง กิจกรรมนีจ้ ดั ขึน้ สัปดาห์ละครัง้ เป็นเวลา 13 สัปดาห์ มุง่ ส่งเสริมให้เด็กหัดคัดเลือกความคิด ชี้แนะเคล็ดลับการค้นคว้าข้อมูล และ สร้างทักษะการเตรียมตัวและนำ�เสนอปาฐกถา เมื่อเด็กๆ พยายามจน กล่าวปาฐกถาสำ�เร็จ พวกเขาจะมีความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง มากขึ้นเป็นเท่าทวี ซึ่งเป็นภาพที่เห็นแล้วเกิดแรงบันดาลใจอย่างยิ่ง เรา คิดว่าความรู้ด้านการนำ�เสนอควรเป็นสาระสำ�คัญในหลักสูตรของทุก โรงเรียน เทียบเท่ากับวิชาการอ่านและคณิตศาสตร์ มันจะเป็นทักษะชีวิต สำ�คัญที่จำ�เป็นในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า4 3. อัปโหลดปาฐกถา TED ของคุณเอง เรามีโครงการชือ่ ว่า OpenTED ซึง่ เปิดให้ใครก็ได้อปั โหลดปาฐกถา ในรูปแบบเดียวกับ TED ในพื้นที่ส่วนพิเศษบนเว็บไซต์ของเรา เราเน้น

คุณสามารถค้นหาข้อมูลการประชุมที่จัดขึ้นใกล้ๆ หรือสมัครเป็นผู้จัดงานประชุมของ คุณเองได้ที่ http://ted.com/tedx 4 ดูข้อมูลโครงการ TED-Ed Club ได้ที่ http://ed.ted.com 3

332

T ED Talk s

ส่งเสริมผลงานที่เป็นนวัตกรรม ไม่ใช่แค่ในแง่เนื้อหา แต่รวมถึงวิธีการ นำ�เสนอด้วย เรากล้าพนันได้เลยว่าต้องมีใครสักคนคิดค้นวิธีแบ่งปัน ความคิดในรูปแบบใหม่ๆ ที่น่าประทับใจได้สำ�เร็จ บางทีคนคนนั้นอาจ เป็นคุณ5 และภายในศตวรรษข้ า งหน้ า เมื่ อ ผู้ ค นอี ก หลายพั น ล้ า นคน เชือ่ มต่อกับโลกออนไลน์ เราตืน่ เต้นกับความเป็นไปได้ทจี่ ะเข้าถึงพวกเขา และเสนอช่องทางเรียนรูจ้ ากครูผยู้ งิ่ ใหญ่ ผูส้ ามารถสร้างเสริมพลังอำ�นาจ ให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น และแบ่งปันความคิดรวมถึงความเข้าใจอันลึกซึ้ง ไม่เหมือนใครให้แก่พวกเราทั้งหมด แนวโน้มที่ประชากรโลกจะเติบโตถึง หมืน่ ล้านคนในอีก 30 ปีขา้ งหน้านัน้ น่าหวาดหวัน่ แต่มนั จะน่ากลัวน้อยลง ถ้าคุณจินตนาการว่า เรือ่ งดังกล่าวไม่เพียงก่อให้เกิดการบริโภคทีม่ ากขึน้ แต่ยังเพิ่มภูมิปัญญาให้โลกนี้ด้วย การปฏิวตั ดิ า้ นการพูดในทีส่ าธารณะเป็นสิง่ ทีท่ กุ คนมีสว่ นร่วมได้ ถ้าเราสามารถหาหนทางทีจ่ ะฟังกันและกันและเรียนรูจ้ ากกันและกันอย่าง แท้จริง อนาคตที่รุ่งเรืองย่อมมาถึงแน่นอน

5

ดูรายละเอียดวิธีอัปโหลดปาฐกถาของคุณได้ที่ http://open.ted.com Chris Anderson

333

21 ถึงตาคุณบ้างละ ความลับของนักปรัชญา

พ่อของผมเป็นจักษุแพทย์ที่เดินทางไปสอนศาสนาในต่างแดน พ่ออุทิศชีวิตเพื่อมุ่งมั่นรักษาคนตาบอดในปากีสถาน อัฟกานิสถาน และ โซมาเลีย พร้อมกับพยายามเผยแผ่ค�ำสอนของศาสนาคริสต์ไปด้วย โชคดีแล้วละที่พ่อไม่เคยได้ฟังหนึ่งในผู้พูดคนแรกๆ ที่ผมเชิญมาขึ้นเวที TED นัน่ คือนักปรัชญาทีช่ อื่ แดน เดนเนตต์ ผูป้ ระกาศตัวว่าไม่นบั ถือพระเจ้า ทั้งสองคงเห็นต่างกันแทบทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องเดียว เมื่อถึงครึ่งทางของปาฐกถาอันน่าตื่นตาตื่นใจเกี่ยวกับพลังของ ความคิดที่แพร่กระจายในสังคม เดนเนตต์กล่าวว่า “เคล็ดลับความสุขคือ ค้นหาอะไรบางอย่างที่ส�ำคัญกว่าตัวคุณ แล้วอุทิศชีวิตให้สิ่งนั้น” นี่คือประโยคที่พ่อผมต้องเห็นด้วยอย่างลึกซึ้งแน่นอน เดนเนตต์เป็นผูอ้ ทุ ศิ ตนทีห่ ลงใหลในพลังของความคิด เขาชีใ้ ห้เห็น ความจริงที่ไม่ธรรมดาเกี่ยวกับมนุษย์ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสปีชีส์เรา คือ บางครัง้ เรายินยอมสละความต้องการทางชีวภาพเพือ่ แสวงหาความคิด ทีม่ คี วามหมาย และในมุมมองของเดนเนตต์ ของพ่อผม และของผมเอง Chris Anderson

335

การแสวงหาความคิดทีว่ า่ นัน้ คือหนึง่ ในกุญแจส�ำคัญสูช่ วี ติ ทีม่ คี วามหมาย และน่าพึงพอใจ มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลก ในด้านหนึ่ง เราแค่ต้องการกิน ดื่ม เล่น และสะสมทรัพย์สมบัติ แต่ที่สุดแล้ว ชีวิตบนสายพานของความ สุขส�ำราญมักไม่น่าพึงใจ หนึ่งในทางแก้ที่งดงามคือกระโดดออกมาจาก สายพานนั้น และเริ่มต้นแสวงหาความคิดที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวคุณ ในกรณีของคุณ ผมไม่มีทางรู้หรอกว่าความคิดนั้นคืออะไร และ บางทีตอนนี้คุณเองก็อาจจะยังไม่รู้เหมือนกัน คุณอาจจะอยากเรียกร้องให้ผู้คนสนใจชุมชนในเมืองของคุณที่ เคยอยูน่ อกสายตา หรืออยากค้นคว้าประวัตศิ าสตร์ของสมาชิกครอบครัว คนหนึ่งซึ่งผู้คนควรรับรู้ความกล้าหาญของเขามากกว่านี้ หรืออยากจัด วันท�ำความสะอาดครั้งใหญ่ในชุมชน หรือด�ำดิ่งลงไปในโลกวิทยาศาสตร์ ทางทะเล หรือเข้าไปมีบทบาทในพรรคการเมือง หรือสร้างเทคโนโลยี ชิ้นใหม่ หรือเดินทางไปยังสถานที่ซึ่งความต้องการของมนุษย์สูงกว่าที่ คุณเคยพบเจอมาเป็นร้อยเท่า หรือเพียงแค่เรียนรูจ้ ากประสบการณ์รวมถึง ภูมิปัญญาของคนที่คุณเคยพบแล้วน�ำมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าสิ่งที่คุณแสวงหาจะเป็นอะไร ถ้าคุณไล่ตามมันอย่างแท้จริง ผมขอท�ำนายว่าจะเกิดผลสองประการ • ใช่แล้วครับ คุณจะค้นพบความสุขในรูปแบบที่มีความหมาย • คุณจะค้นพบอะไรบางอย่างที่ส�ำคัญกว่าค�ำแนะน�ำใดๆ ที่คุณ อ่านเจอในหนังสือเล่มนี้ คุณจะค้นพบ สิ่งที่ควรค่าแก่การ บอกเล่าให้คนอื่นฟัง แล้วจากนั้นจะท�ำอะไรต่อ แน่ละครับ คุณต้องแบ่งปันมันออกไป ใช้ความหลงใหล ทักษะ และความมุง่ มัน่ ทัง้ หมดทีค่ ณ ุ จะงัดออกมาได้ แล้ว เผยแพร่มนั ด้วยวิธที มี่ แี ต่คณ ุ เท่านัน้ ทีร่ ู้ จุดไฟทีจ่ ะแพร่กระจายภูมปิ ญ ั ญา ใหม่ออกไปให้กว้างไกล 336

T ED Talk s

ทอม แชตฟิลด์ (Tom Chatfield) เป็นนักวิจารณ์ดา้ นเทคโนโลยี ที่มากล่าวปาฐกถาในงานประชุมครั้งหนึ่งของเรา บรูโน จูสซานี เพื่อน ร่วมงานของผมขอให้เขามอบค�ำแนะน�ำแก่ผู้พูดคนอื่นๆ และนี่คือสิ่งที่ เขาพูดครับ ส�ำหรับผม สิง่ ทีน่ า่ ทึง่ ทีส่ ดุ เกีย่ วกับปาฐกถาเรือ่ งหนึง่ ๆ คือศักยภาพ ทีจ่ ะสร้างผลกระทบ ปาฐกถาสัน้ ๆ ทีค่ ณ ุ ก�ำลังจะกล่าวไม่ได้มเี พียง ศักยภาพทีจ่ ะเข้าถึงคนหลายแสนคน แต่ยงั มีศกั ยภาพทีจ่ ะกระตุน้ ให้เกิดบทสนทนาอีกนับพัน ดังนั้นค�ำแนะน�ำหลักที่ผมจะบอกคือ จงผลักดันตัวเองให้เข้มข้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อให้คุณฮึกเหิม และกล้าหาญ จงเดินออกจากพืน้ ทีป่ ลอดภัยของเรือ่ งราวทีค่ ณ ุ รูจ้ กั ดีอยู่แล้วหรือที่คนอื่นเคยพูด จงมอบค�ำถามและแรงบันดาลใจ ที่ควรค่าน่ายกมาพูดคุยถกเถียงนับพันๆ ครั้งให้แก่โลก ในสายตา ของผม ต่อให้คุณเป็นฝ่ายถูกหรืออยู่ในที่ปลอดภัยก็ไม่ส�ำคัญ เท่ากับโอกาสมากมายในการสร้างสรรค์สิ่งที่จะก่อให้เกิดความคิด ต่อยอดยิ่งๆ ขึ้นไป

ผมชอบข้อความที่ยกมานี้ ผมอยากได้อนาคตที่ผู้คนตระหนัก ว่าตนมีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนโลก ผมเชื่อว่าการหว่านเมล็ดความคิด ที่มีคุณค่าเป็นผลกระทบสูงสุดที่คนคนหนึ่งสามารถสร้างได้ เพราะในโลก ที่เชื่อมโยงถึงกัน เมื่อปลูกฝังความคิดอย่างเหมาะสม มันจะแพร่กระจาย ออกไปด้วยตัวมันเอง และส่งอิทธิพลถึงคนจ�ำนวนมากมายอย่างไม่มี ขีดจ�ำกัด ไม่ว่าปัจจุบันหรือในอนาคต แล้ ว คนที่ จ ้ อ งจะเคลื่ อ นโลกไปในทางที่ ไ ม่ ดี ล ่ ะ การพู ด ในที่ สาธารณะก็อาจใช้เพื่อท�ำสิ่งเลวร้ายได้เช่นกันใช่ไหม เป็นไปได้ครับ ตั้งแต่ยุยงปลุกปั่นไปจนถึงดูถูกเหยียดหยาม ทุบท�ำลายจิตวิญญาณผู้อื่น มีหลักฐานที่น่าเจ็บปวดแบบนี้อยู่มากมาย อย่างไรก็ตาม ผมไม่คดิ ว่าการใช้งานทางลบจะมีนำ�้ หนักเทียบเท่า Chris Anderson

337

กับทางบวก มีเหตุผลที่หนักแน่นน่าเชื่อถือว่า เนื้อหาสาระของการพูด ในที่สาธารณะซึ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆ นั้นเอนเอียงไปในทางบวก ผมขอ อธิบายอย่างนี้ครับ อย่ า งที่ เ ราได้ เ รี ย นรู ้ ม า หากต้ อ งการกล่ า วปาฐกถาให้ ไ ด้ ประสิทธิผล ผู้พูดต้องเริ่มต้นจากจุดที่ผู้ฟังยืนอยู่และกล่าวว่า มาเถอะ มาสร้างอะไรบางอย่างด้วยกัน ผู้พูดต้องแสดงให้เห็นว่าเหตุใดความคิด นั้นจึงควรค่าที่จะสร้างขึ้นมา ต้องพยายามเข้าถึงผู้ฟังโดยอาศัยค่านิยม ความปรารถนา ความหวัง และความฝันที่มีร่วมกัน ในบางสถานการณ์ อาจมีคนน�ำกระบวนการนี้ไปใช้ในทางที่ผิด นั่นคือใช้ยุยงปลุกปั่นฝูงชนจนไฟความเกลียดชังลุกโชน หรือประโคมว่า มุมมองโลกแบบผิดๆ นั้นเป็นความจริง แต่ในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ แบบนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ฟังถูกตัดขาดจากโลกภายนอก อย่างน้อยก็ในระดับ หนึง่ ผูพ้ ดู โน้มน้าวโดยอ้างหลักทีไ่ ม่ใช่ความจริงสากล แต่เป็นหลักเฉพาะ กลุม่ เป็นการแบ่งเขาแบ่งเรา และซ่อนความจริงอันส�ำคัญยิง่ ไม่ให้ผฟู้ งั รับรู้ แต่เมื่อเราเชื่อมต่อกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เมื่อผู้คนได้เห็นโลก และมองเห็นกันและกันครบถ้วนชัดเจน บางอย่างก็เริ่มแตกต่างออกไป จากเดิม ผู้พูดที่จะมีอิทธิพลมากที่สุดคือคนที่สามารถเข้าถึงค่านิยมและ ความฝันที่ผู้คนมีร่วมกันมากที่สุด และเป็นผู้พูดที่ให้เหตุผลโต้แย้งซึ่ง ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่คนจ�ำนวนมากมองเห็นได้ว่าเป็นความจริง ลองจินตนาการว่ามีผู้พูดสองคนที่เป็นนักสอนศาสนาซึ่งอยาก ส่งอิทธิพลต่อคนทัง้ โลก ฝ่ายหนึง่ พูดว่าศาสนาของตนเหนือกว่าศาสนาอืน่ อย่างไร และกระตุ้นให้ฝูงชนเปลี่ยนมานับถือศาสนาของตน ส่วนอีกฝ่าย สังเกตว่าความเมตตาซึง่ เป็นค่านิยมทีล่ กึ ซึง้ ทีส่ ดุ ในศาสนาของเขานัน้ เป็น สิง่ ทีศ่ าสนาอืน่ ทุกศาสนามีรว่ มกัน จึงตัดสินใจว่าจะพูดเรือ่ งนี้ และพยายาม ใช้ค�ำสากลที่ทุกศาสนาจะเข้าใจและรู้สึกร่วมไปด้วย ผู้พูดคนไหนจะมี ผู้สนใจฟังมากกว่า และมีผลกระทบระยะยาวได้มากกว่ากัน? หรือลองจินตนาการว่ามีผู้น�ำทางการเมืองระดับโลกสองคน 338

T ED Talk s

คนหนึ่งพูดถึงแต่ผลประโยชน์ของเผ่าพันธุ์ตนเอง ขณะที่อีกคนพยายาม สือ่ สารกับสมาชิกทุกคนในหมูม่ วลมนุษยชาติ ท้ายทีส่ ดุ ใครจะรวบรวมแรง สนับสนุนได้มากกว่ากัน ถ้ามนุษย์เราเกลียดกลัวคนต่างชาติ ใจแคบ และ มีอคติทางเชื้อชาติร้ายแรงฝังหัว เช่นนั้นแล้วนักการเมืองคนที่สองย่อม หมดหวัง แต่ผมไม่เชือ่ ว่าจะเป็นเช่นนัน้ ผมเชือ่ ว่าลักษณะต่างๆ ทีเ่ รามี ร่วมกันนัน้ เปีย่ มความหมายและลึกซึง้ กว่ามาก เมือ่ เทียบกับความแตกต่าง ระหว่างกัน เราทุกคนล้วนหิว มีความอยาก เป็นทุกข์ หัวเราะ ร้องไห้ และ รัก เราล้วนมีเลือดเนือ้ เราล้วนมีความฝัน เราสามารถเข้าอกเข้าใจและรูจ้ กั มองจากมุมของผูอ้ นื่ และเป็นไปได้ทผี่ นู้ ำ� ซึง่ มีวสิ ยั ทัศน์หรือใครก็ตามทีก่ ล้า ลุกขึน้ ยืนและกล่าวอะไรบางอย่าง จะเข้าถึงความเป็นมนุษย์ทเี่ รามีรว่ มกัน และหล่อเลี้ยงให้มันด�ำรงอยู่ต่อไป ผมกล่าวไปแล้วก่อนหน้านีว้ า่ พลังของเหตุผลท�ำงานในระยะยาว ธรรมชาติของเหตุผลมักพยายามมองโลกผ่านมุมมองของเราทุกคน ไม่ใช่ ของใครคนใดคนหนึ่ง เหตุผลปฏิเสธข้อโต้แย้งทีก่ ล่าวว่า “ฉันอยากให้สงิ่ นี้ เกิดขึ้น เพราะมันเป็นประโยชน์กบั ฉัน” และสนับสนุนข้อโต้แย้งว่า “นีค่ อื เหตุผลทีเ่ รา ทุกคน ควรอยากให้สงิ่ นีเ้ กิดขึน้ ” ถ้าเหตุผลไม่ได้เป็นเช่นนี้ มันคงไม่มีทางกลายมาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนหลักในการอภิปรายที่ช่วย ให้มนุษย์คิดเห็นตรงกันได้ เมื่อเราพูดว่า มีเหตุผลหน่อย นั่นคือเราก�ำลัง จะบอกว่า กรุณามองประเด็นนี้จากมุมมองที่กว้างขึ้นหน่อย เมื่อพลังของเหตุผลประสานกับการเชื่อมต่อที่มากขึ้นในโลก ของเรา มันได้เปลี่ยนสมดุลของอิทธิพลให้โน้มเอียงไปยังผู้พูดที่ยินดี จินตนาการตัวเองอยู่ภายใต้สถานการณ์เดียวกับเราทุกคน ไม่ใช่คิดถึง แต่สมาชิกในเผ่าของเขาเท่านัน้ แม้วา่ ผูพ้ ดู แบบหลังนีอ้ าจมีอำ� นาจในช่วง เวลาหนึ่ง แต่แบบแรกต่างหากที่จะชนะในท้ายที่สุด นี่ คื อ เหตุ ผ ลที่ ผ มเชื่ อ อย่ า งลึ ก ซึ้ ง ในประโยคอั น เจิ ด จรั ส ของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ที่ว่า “เส้นทางแห่งคุณธรรมในจักรวาลนี้ช่าง แสนยาวไกล แต่มันย่อมโค้งเข้าหาความยุติธรรม” มีลูกศรที่คอยชี้ทางให้ Chris Anderson

339

กับประวัติศาสตร์ของเรา และมีสิ่งที่เรียกว่าความก้าวหน้าทางคุณธรรม ถ้าเราลองดึงกล้องถอยหลังมาสักครู่ ถอยห่างจากเรื่องเลวร้ายทั้งปวง ที่ครอบง�ำข่าวสารทั้งหลาย เราจะเห็นว่าร่องรอยความก้าวหน้าที่ว่านี้ จารึกไว้อย่างชัดเจนในประวัตศิ าสตร์ชว่ งสองสามศตวรรษทีผ่ า่ นมา ทีเ่ ห็น ได้ชดั ก็คอื อิทธิพลของมาร์ตนิ ลูเธอร์ คิง จูเนียร์เอง และมีโอกาสอย่างมาก ที่เส้นทางนี้จะด�ำเนินต่อไป มนุษย์ถูกชักน�ำเข้ามาใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่แค่เพราะ เทคโนโลยี แต่เป็นเพราะเราเข้าใจกันและกันอย่างลึกซึง้ ยิง่ ขึน้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพบหนทางหลากหลายที่จะมองเห็นว่าเรามีสิ่งที่ห่วงใยเหมือนกัน และนั่นคือวิธีที่จะทลายเครื่องกีดขวางระหว่างเรา แล้วจิตวิญญาณของ มนุษย์ก็จะรวมกันเป็นหนึ่ง มั น จะไม่ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว หรื อ ง่ า ยดายหรอกครั บ การ เปลี่ยนแปลงแบบนี้ต้องอาศัยเวลาหลายชั่วอายุคน และมีภัยพิบัติที่ เป็นไปได้หลายรูปแบบที่อาจซัดให้มันเซออกนอกเส้นทาง แต่อย่างน้อย เราก็ได้ลองลงมือท�ำแล้ว การพู ด คุ ย กั บ ผู ้ อื่ น เป็ น ส่ ว นส� ำ คั ญ ที่ จ ะช่ ว ยบ่ ม เพาะความ เปลีย่ นแปลง มนุษย์เราถูกสร้างมาให้ตอบสนองต่อความเปราะบาง ความ ซื่อตรง และความหลงใหลของกันและกัน ถ้าเรามีโอกาสได้เห็นสิ่งเหล่านี้ นะครับ ซึ่งวันนี้เรามีโอกาสนั้นแล้ว และสุ ด ท้ า ย เรื่ อ งนี้ ค ่ อ นข้ า งเรี ย บง่ า ยที เ ดี ย ว เราเชื่ อ มต่ อ ถึงกันทางกายภาพมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งเท่ากับว่าความ สามารถของเราที่จะแบ่งปันความคิดที่ดีที่สุดให้แก่กันและกันนั้นส�ำคัญ ยิง่ กว่าทีเ่ คย บทเรียนอันยอดเยีย่ มทีส่ ดุ ทีผ่ มได้เรียนรูห้ ลังจากฟังปาฐกถา TED จ�ำนวนมากคือ อนาคตยังไม่ถูกก�ำหนด พวกเราทั้งหมดก�ำลังเขียน อนาคตร่วมกัน มีหน้ากระดาษเปล่าและเวทีที่เปิดโล่งรอคอยให้คุณเข้ามาแสดง ฝีมืออยู่นะครับ 340

T ED Talk s

กิตติกรรมประกาศ

เช่นเดียวกับความคิดทั้งหลาย ความคิดที่นำ�เสนอในหนังสือเล่มนี้ ล้วนถือกำ�เนิดจากผู้คนมากมาย ผมใช้ เ วลาชั่ ว โมงแล้ ว ชั่ ว โมงเล่ า ไปกั บ เพื่ อ นร่ ว มงานที่ ผ ม สนิทสนมที่ TED โดยเฉพาะเคลลี สเตตเซล, บรูโน จูสซานี และทอม ไรล์ลี เพื่อช่วยกันศึกษาแก่นสารของปาฐกถา TED ที่ยอดเยี่ยมให้กระจ่าง พวกเขาเป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกับผมครับ เราได้พบนักคิดและนักพูดที่ดีที่สุดในโลกหลายคน เรากระหาย ที่จะเสาะแสวงหาความคิดอันเปี่ยมนัยสำ�คัญของพวกเขา และค้นหาทุก แง่มุมของวิธีเปลี่ยนความคิดเหล่านั้นให้เป็นถ้อยคำ�ที่น่าจดจำ� ผมขอ ขอบคุณเป็นพิเศษสำ�หรับสตีเวน พิงเกอร์, เดวิด ดอยช์, เซอร์เคน โรบินสัน, เอมี คัดดี, อลิซาเบธ กิลเบิร์ต, แดน พัลลอตตา, แดเนียล คาห์เนแมน, ไบรอัน สตีเวนสัน, แดน กิลเบิรต์ , ลอว์เรนซ์ เลสซิก, อแมนดา พาล์มเมอร์, พาเมลา ไมเยอร์, เบรเน บราวน์, อัลลัน อดัมส์, ซูซาน เคน, สตีเวน จอห์นสัน, แมตต์ ริดลีย์, เคลย์ เชอร์กี, แดเนียล เดนเนตต์, แมรี โรช, โรรี ซัตเธอร์แลนด์, ซาราห์ เคย์, รีฟส์, ซัลมาน คาห์น และแบร์รี ชวาร์ตซ์ ความจริงแล้วเราได้เรียนรูจ้ ากผูพ้ ดู ทุกคนทีป่ รากฏตัวที่ TED และเรารูส้ กึ ขอบคุณอย่างเปีย่ มล้นสำ�หรับของขวัญทีพ่ วกเขามอบให้เราทุกคน และต้อง ขอบคุณโค้ชการพูดคนโปรดของเราทัง้ สามคนด้วย ได้แก่ จีนา บาร์เนตต์, อะบิเกล เทเนมบาม และไมเคิล ไวตซ์ 342

T ED Talk s

สมาชิกที่เหนียวแน่นยาวนานของชุมชน TED คอยสนับสนุน เราอย่างดีเยี่ยมมาตลอดสิบห้าปี และยังช่วยเราจินตนาการว่า TED จะพัฒนาไปในรูปแบบใด สก็อตต์ คุก, ซันนี เบตส์, ฮวน เอนรีเกส, ชี เพิรล์ แมน, ทิม บราวน์, สจ๊วต แบรนด์, แดนนี ฮิลลิส, ซินดี สไตเวอร์ส, ร็อบ รีด, อาร์ก เมอรีดิธ, สตีเฟน เพทราเนก … พวกคุณเจ๋งมาก! รวมทั้ง คนอื่นๆ อีกมากมายด้วย มีหลายคนทีจ่ ดั ว่างานยุง่ ทีส่ ดุ ในโลกแต่ยงั อุตส่าห์หาเวลามาอ่าน ต้นฉบับร่างแรกๆ และให้คำ�แนะนำ�อันประมาณค่าไม่ได้ คนเหล่านี้ได้แก่ เฮเลน วอลเทอร์ส, มิเชล ควินต์, นาเดีย กู๊ดแมน, เคต ทอร์กอฟนิก เมย์, เอมิลี แมคมานัส, เบธ โนวาแกรตซ์, จีน ฮันนี, เจอร์รี การ์บัลสกี, รีโม กิฟเฟอร์, เคโล คูบู, จูเลียต เบลก, บรูโน โบว์เดน, ไรย์ บาร์ครอฟต์, เจมส์ วาคีน, กอร์ดอน การ์บ และเอริน แมคคีน ผมขอมอบคำ�ขอบคุณที่อบอุ่นสำ�หรับจอห์น บร็อกแมน ตัวแทน ผู้สร้างปาฏิหาริย์ ริก วูลฟ์ บรรณาธิการที่ยอดเยี่ยม (ซึ่งถูกพวกเราค้าน ไม่ให้ตดั คำ�ว่า ยอดเยีย่ ม ออกจาก ประโยคนี้ แม้วา่ เขาจะตัดสินใจถูกทีต่ ดั คำ�นี้ออกจากจุดอื่นๆ แทบทุกจุด) และลิซา แซกส์ วอร์ฮอล บรรณาธิการ ต้นฉบับทีท่ ำ�งานโดยไม่รจู้ กั เหน็ดเหนือ่ ย รวมถึงทีมงานทีส่ ำ�นักพิมพ์ฮาวตัน มิฟฟลินฮาร์คอร์ต ผมดีใจมากครับที่ได้ทำ�งานกับพวกคุณทุกคน ริชาร์ด ซอล เวอร์แมน ทั้งหมดนี้ไม่มีวันเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีคุณ จูน โคเฮน ขอบคุณสำ�หรับช่วงเวลา 11 ปีที่ TED และขอบคุณที่นำ�ทาง TED Talk ชุดแรกออกสู่อินเทอร์เน็ต ไมก์ ฟีเมีย และเอมิลี พิดเจียน ขอบคุณในคำ�แนะนำ�ด้านการออกแบบ และสำ�หรับทีมงาน TED ทุกคน … ว้าว ผมพูดได้แค่ ว้าว พวกคุณทำ�ให้ผมทึง่ ในทุกอย่างทีค่ ณ ุ ทำ� โดยเฉพาะ คุณนะ ซูซาน ซิมเมอร์แมน! ขอบคุณกองทัพนักแปลอาสาสมัครของเราที่นำ� TED Talk ไป เผยแพร่ให้โลกได้รบั รู้ ขอบคุณอาสาสมัคร TEDx หลายหมืน่ คน ผมตะลึง กับพลังความหลงใหลและความเฉียบแหลมในแต่ละงานประชุมทีพ่ วกคุณ Chris Anderson

343

จัดขึ้น ขอบคุณชุมชน TED ทั่วโลก … ที่สุดแล้ว ทุกอย่างนี้เป็นไปได้ ก็เพราะคุณ ถ้าไม่มีพวกคุณ ความคิดอันทรงคุณค่าหลายพันความคิด คงจะถูกเก็บไว้โดยไม่ได้เผยแพร่ ขอบคุ ณ อลิ ซ าเบธและแอนนา ลู ก สาวที่ แ สนวิ เ ศษของผม ลู ก ไม่ รู้ ห รอกว่ า พ่ อ ภู มิ ใ จในตั ว ลู ก และได้ เ รี ย นรู้ จ ากลู ก มากแค่ ไ หน สุดท้ายนี้ แด่พลังแห่งธรรมชาติทผ่ี มได้แต่งงานด้วย แจ็กเกอลีน โนโวแกรตซ์ … ขอบคุณจริงๆ ขอบคุณนับล้านครั้ง สำ�หรับความรักและแรงบันดาลใจ ที่มีให้ผมในทุกๆ วัน

344

T ED Talk s

ภาคผนวก ปาฐกถาที่อ้างถึงในหนังสือเล่มนี้

คุณสามารถเข้าไปดูปาฐกถาทุกเรื่องได้ที่ www.ted.com/tedtalksbook/playlist

หน้า

ผู้พูด

ชื่อปาฐกถา

24

Monica Lewinsky

The price of shame

28-30

Chris Anderson

TED’s nonprofit transition

35 63

Sophie Scott Robin Murphy

81, 278 83, 240 84-85

Kelly McGonigal Brené Brown Sherwin Nuland

86, 278 91-92 93-94

Ken Robinson Dan Pink Ernesto Sirolli

105

Eleanor Longden

Why we laugh These robots come to the rescue after a disaster How to make stress your friend The power of vulnerability How electroshock therapy changed me Do schools kill creativity? The puzzle of motivation Want to help someone? Shut up and listen! The voices in my head

346

T ED Talk s

106

Ben Saunders

106, 196-197

Andrew Solomon

111-117 121-122 123 123, 278

Dan Gilbert Deborah Gordon Sandra Aamodt Hans Rosling

123 123 124 124

David Deutsch Nancy Kanwisher Steven Johnson David Christian

124-126 129-131 132 133 135-136, 140

Bonnie Bassler Steven Pinker Elizabeth Gilbert Barry Schwartz Dan Pallotta

146-147 152-153

David Gallo Jeff Han

152-153 221

Markus Fischer Maysoon Zayid

221 222

Jamie Oliver Zak Ebrahim

223

Alice Goffman

To the South Pole and back – the hardest 105 days of my life How the worst moments in our lives make us who we are The surprising science of happiness The emergent genius of ant colonies Why dieting doesn’t usually work Let my dataset change your mindset A new way to explain explanation A neural portrait of the human mind Where good ideas come from The history of our world in 18 minutes How bacteria “talk” The surprising decline in violence Your elusive creative genius The paradox of choice The way we think about charity is dead wrong Life in the deep oceans The radical promise of the multitouch interface A robot that flies like a bird I got 99 problems … palsy is just one Teach every child about food I am the son of a terrorist. Here’s how I chose peace How we’re priming some kids for college – and others for prison

Chris Anderson

347

224 225-226 226 226-227 228 228 235 235-236, 278 236, 278 236-237 237 238 238-239 239 240-241 275-276 291 296-297 300 329 335 348

T ED Talk s

Ed Yong

Zombie roaches and other parasite tales Michael Sandel Why we shouldn’t trust markets with our civic life V. S. Ramachandran 3 clues to understanding your brain Janna Levin The sound the universe makes Alexa Meade Your body is my canvas Elora Hardy Magical houses, made of bamboo David Eagleman Can we create new senses for humans? Amy Cuddy Your body language shapes who you are Jon Ronson When online shaming spirals out of control Bill Stone I’m going to the moon. Who’s with me? Diana Nyad Never, ever give up Rita Pierson Every kid needs a champion Esther Perel Rethinking infidelity … a talk for anyone who has ever loved Amanda Palmer The art of asking Bryan Stevenson We need to talk about an injustice George Monbiot For more wonder, rewild the world Roman Mars Why city flags may be the worstdesigned thing you’ve never noticed Lawrence Lessig We the People, and the Republic we must reclaim Reuben Margolin Sculpting waves in wood and time The LXD In the Internet age, dance evolves … Dan Dennett Dangerous memes

รู้จักผู้เขียน

คริส แอนเดอร์สัน เป็นประธานและหัวหน้าภัณฑารักษ์ประจ�ำ TED หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขาได้ก้าวเข้าสู่เส้นทาง สายสื่อมวลชน เขาผลิตนิตยสารและเว็บไซต์ที่ประสบความส�ำเร็จกว่า 100 ฉบับ ก่อนจะหันมาทุ่มเทให้กับ TED ซึ่งตัวเขาและองค์กรไม่แสวง ผลก�ำไรของเขาซื้อกิจการมาในปี 2001 คาถาประจ�ำใจของ TED ที่ว่า “ความคิดที่ควรค่าแก่การเผยแพร่” ได้เบ่งบานกว้างไกลในระดับสากล ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ในนิวยอร์ก

350

T ED Talk s

รู้จักผู้แปล

ทิพย์นภา หวนสุริยา เป็นนักแปลอาสาสมัครในโครงการ TED Open Translation Project ตั้งแต่ปี 2009 และเป็นหนึ่งในทีมผู้ประสานงาน นักแปลภาษาไทยของ TED ทิ พ ย์ น ภาจบการศึ ก ษาจากคณะนิ เ ทศศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และปริญญาเอกด้าน Basic and Applied Social Psychology จาก Claremont Graduate University ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจ�ำสาขาจิตวิทยาสังคมที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยสนใจท�ำงานวิจยั เกีย่ วกับกรอบความคิดและพฤติกรรม เชิงบวกของผู้น�ำและทีม

เว็บไซต์ Ted ย่อมาจากคำว่าอะไร

งานประชุม TED ซึ่งย่อมาจาก Technology, Entertainment, และ Design. มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่แนวคิดที่สร้างแรงบันดาลใจในทั้ง 3 ด้านข้างต้น

รายการพูด TED Talk" เป็นลักษณะการพูดประเภทใด

TED Talk : การพูดแบบเท็ด วิธีการพูดที่เต็มไปด้วยพลังโดยนักพูดผู้เชี่ยวชาญในประเด็น ที่สังคมสนใจ สามารถตรึงความสนใจของผู้ฟังได้ ความยาวไม่ควรเกินกว่า ๑๘ นาที

TED Talk พูดยังไง

เคล็บลับ 4 ประการจาก TED สู่การพูดที่ยอดเยี่ยมต่อหน้าผู้คน.

โฟกัสไปที่หนึ่งไอเดียที่ต้องการจะสื่อสาร ไอเดียเป็นสิ่งที่ซับซ้อน คุณต้องตัดเนื้อหาออกให้เหลือแค่หนึ่งไอเดียที่คุณมี Passion กับมันจริงๆ ... .

ให้เหตุผลคนฟังว่าทำไมต้องฟังคุณ ... .

สื่อสารไอเดียของคุณผ่านโลกของคนฟัง ... .

ทำให้ไอเดียของคุณคู่ควรกับการแบ่งปัน.