Search google ไม ม ต วอ กษรส ดำ

Google Chrome เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว และปลอดภัย Chrome ที่ออกแบบมาเพื่อ Android นี้จะแสดงบทความข่าวที่คัดสรรมาให้คุณโดยเฉพาะ ลิงก์ด่วนไปยังเว็บไซต์โปรด การดาวน์โหลด และมาพร้อม Google Search และ Google แปลภาษาในตัวอีกด้วย ดาวน์โหลดตอนนี้เลยเพื่อรับประสบการณ์การใช้เว็บเบราว์เซอร์ Chrome ในแบบที่คุณชื่นชอบเหมือนๆ กันในอุปกรณ์ทุกเครื่อง

ท่องเว็บได้เร็วและพิมพ์น้อยลง เลือกดูจากผลการค้นหาที่ปรับแต่งมาให้เหมาะกับคุณ ซึ่งจะปรากฏขึ้นทันทีที่คุณพิมพ์ พร้อมเข้าชมหน้าเว็บที่เคยเข้าชมแล้วได้อย่างรวดเร็ว กรอกฟอร์มต่างๆ ได้เร็วขึ้นด้วยการป้อนข้อความอัตโนมัติ

ท่องเว็บแบบไม่ระบุตัวตน ใช้โหมดไม่ระบุตัวตนเพื่อท่องอินเทอร์เน็ตแบบไม่บันทึกประวัติการเข้าชม ท่องเว็บได้แบบส่วนตัวในอุปกรณ์ทุกเครื่อง

เข้าถึงโปรไฟล์ Chrome ของคุณในอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อลงชื่อเข้าใช้ Chrome คุณจะบันทึกบุ๊กมาร์ก รหัสผ่าน และอื่นๆ ลงในบัญชี Google เพื่อให้เข้าถึงบนอุปกรณ์อื่นๆ ของคุณได้

เข้าถึงเนื้อหาโปรดทั้งหมดได้ง่ายๆ ด้วยการแตะครั้งเดียว Chrome ไม่เพียงช่วยให้คุณใช้ Google Search ได้รวดเร็วเท่านั้น แต่ยังออกแบบมาเพื่อให้เข้าถึงเนื้อหาโปรดทั้งหมดได้ด้วยการแตะเพียงครั้งเดียว คุณจะแตะเว็บไซต์ข่าวหรือโซเชียลมีเดียที่ชื่นชอบได้โดยตรงจากหน้าแท็บใหม่ และ Chrome ยังมีฟีเจอร์ “แตะเพื่อค้นหา” อยู่ในหน้าเว็บส่วนใหญ่ด้วย ซึ่งช่วยให้คุณแตะคำหรือวลีใดก็ได้เพื่อเริ่มการค้นหาด้วย Google โดยยังคงอยู่บนหน้าที่ดูอยู่ต่อไป

ปกป้องโทรศัพท์ของคุณด้วย Google Safe Browsing โดย Chrome จะมี Google Safe Browsing ในตัว ซึ่งช่วยปกป้องโทรศัพท์ด้วยการแสดงคำเตือนเมื่อคุณพยายามเข้าเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายหรือดาวน์โหลดไฟล์ที่เป็นอันตราย

ดาวน์โหลดได้รวดเร็ว พร้อมดูหน้าเว็บและวิดีโอแบบออฟไลน์ Chrome มีปุ่มสำหรับดาวน์โหลดโดยเฉพาะที่ช่วยให้คุณดาวน์โหลดวิดีโอ รูปภาพ และหน้าเว็บทั้งหน้าได้ง่ายๆ ด้วยการแตะเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ Chrome ยังมีส่วนการดาวน์โหลดอยู่ภายใน ซึ่งทำให้คุณเข้าถึงเนื้อหาทั้งหมดที่ดาวน์โหลดเอาไว้ได้แม้จะออฟไลน์อยู่ก็ตาม

Google ค้นหาด้วยเสียง Chrome เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่พูดคุยกับคุณได้จริงๆ ใช้เสียงเพื่อหาคำตอบระหว่างเดินทางโดยไม่ต้องพิมพ์และใช้งานแบบแฮนด์ฟรีได้เลย คุณจะเรียกดูและไปยังหน้าต่างๆ ได้เร็วขึ้นด้วยการใช้เสียงได้ทุกที่ทุกเวลา

Google แปลภาษาในตัว: แปลหน้าเว็บทั้งหน้าได้อย่างรวดเร็ว Chrome มี Google แปลภาษาในตัวเพื่อช่วยแปลหน้าเว็บทั้งหน้าเป็นภาษาของคุณด้วยการแตะเพียงครั้งเดียว

คำแนะนำดีๆ สำหรับคุณโดยเฉพาะ Chrome จะสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ปรับแต่งให้ตรงตามความสนใจของคุณ ในหน้าแท็บใหม่ คุณจะเห็นบทความต่างๆ ที่ Chrome คัดสรรมาให้โดยอิงจากประวัติการท่องเว็บก่อนหน้านี้

Google Search คือเครื่องมือค้นหาแบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Web Crawler ในการสำรวจเว็บเป็นประจำเพื่อค้นหาหน้าเว็บที่จะเพิ่มไปยังดัชนีของเรา ในความเป็นจริง หน้าเว็บส่วนใหญ่ที่แสดงในผลการค้นหาไม่ได้ส่งข้อมูลมาให้รวมไว้ในดัชนี แต่ระบบค้นพบและเพิ่มหน้าเว็บเหล่านั้นโดยอัตโนมัติในขณะที่ Web Crawler ทำการสำรวจเว็บ เอกสารฉบับนี้อธิบายขั้นตอนการทํางานของ Search ในบริบทของเว็บไซต์ การมีความรู้พื้นฐานนี้ช่วยให้คุณสามารถแก้ไขปัญหาการรวบรวมข้อมูล จัดทําดัชนีหน้าเว็บ และทราบวิธีปรับปรุงลักษณะที่เว็บไซต์ปรากฏใน Google Search

ข้อควรทราบก่อนที่เราจะเริ่ม

ก่อนที่เราจะลงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทํางานของ Search โปรดทราบว่า Google ไม่รับค่าตอบแทนในการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ให้บ่อยขึ้นหรือจัดอันดับให้สูงขึ้น โปรดอย่าเชื่อผู้ที่บอกข้อมูลต่างจากนี้

Google ไม่รับประกันว่าจะทำการ Crawl, จัดทําดัชนี หรือแสดงหน้าเว็บของคุณ แม้ว่าหน้าเว็บจะเป็นไปตาม Google Search Essentials ก็ตาม

การทํางานของ Google Search มี 3 ขั้นตอนต่อไปนี้ และหน้าเว็บบางหน้าอาจไม่ผ่านบางขั้นตอน

  1. Google ดาวน์โหลดข้อความ รูปภาพ และวิดีโอจากหน้าเว็บที่พบในอินเทอร์เน็ตด้วยโปรแกรมอัตโนมัติที่เรียกว่าโปรแกรมรวบรวมข้อมูล
  2. Google วิเคราะห์ข้อความ รูปภาพ และไฟล์วิดีโอในหน้าเว็บ แล้วจัดเก็บข้อมูลไว้ในดัชนีของ Google ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่
  3. เมื่อผู้ใช้ค้นหาใน Google เราจะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคําค้นหาของผู้ใช้

การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนแรกคือการค้นหาหน้าเว็บที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต เนื่องจากไม่มีรีจิสทรีส่วนกลางสำหรับหน้าเว็บทั้งหมด Google จึงต้องค้นหาหน้าเว็บใหม่และหน้าเว็บที่อัปเดตอย่างสม่ำเสมอ แล้วเพิ่มลงในรายการหน้าเว็บที่รู้จัก กระบวนการนี้เรียกว่า "การค้นพบ URL" Google รู้จักหน้าเว็บบางหน้าเพราะเคยไปที่หน้านั้นแล้ว และจะค้นพบหน้าเว็บบางส่วนเมื่อ Google ตามลิงก์จากหน้าเว็บที่รู้จักไปยังหน้าเว็บใหม่อย่างหน้าฮับ เช่น หน้าหมวดหมู่ ลิงก์ไปยังบล็อกโพสต์ใหม่ ส่วนหน้าอื่นๆ จะค้นพบเมื่อคุณส่งรายการหน้าเว็บ (แผนผังเว็บไซต์) ให้ Google รวบรวมข้อมูล

เมื่อค้นพบ URL ของหน้าเว็บ Google อาจไปที่ (หรือ "รวบรวมข้อมูล") หน้านั้นเพื่อดูสิ่งที่อยู่ในหน้า เราใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมากชุดหนึ่งในการรวบรวมข้อมูลหน้าเว็บหลายพันล้านหน้า โปรแกรมที่ทำการดึงข้อมูลเรียกว่า Googlebot (หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรบ็อต บ็อต หรือสไปเดอร์) Googlebot ใช้ขั้นตอนแบบอัลกอริทึมเพื่อระบุเว็บไซต์ที่จะทำการ Crawl, ความถี่ และจำนวนหน้าเว็บที่จะดึงข้อมูลจากเว็บไซต์แต่ละแห่ง โปรแกรมรวบรวมข้อมูลของ Google ยังได้รับการกำหนดค่าไว้ไม่ให้รวบรวมข้อมูลเร็วเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงการรวมข้อมูลมากเกินไปด้วย กลไกนี้อิงตามการตอบสนองของเว็บไซต์ (เช่น ) และการตั้งค่าใน Search Console

อย่างไรก็ตาม Googlebot ไม่ได้รวบรวมข้อมูลหน้าเว็บทุกหน้าที่ค้นพบ เนื่องจากเจ้าของเว็บไซต์อาจ หน้าเว็บบางหน้า จึงอาจเข้าถึงหน้าอื่นๆ ไม่ได้หากไม่ลงชื่อเข้าสู่ระบบในเว็บไซต์

ในระหว่างการ Crawl, Google จะแสดงหน้าเว็บและโดยใช้ Chrome เวอร์ชันล่าสุด ซึ่งคล้ายกับวิธีที่เบราว์เซอร์แสดงผลหน้าเว็บที่คุณเข้าชม การแสดงผลเป็นขั้นตอนสําคัญเนื่องจากเว็บไซต์มักจะใช้ JavaScript ในการนําเสนอเนื้อหาบนหน้าเว็บ และ Google อาจไม่เห็นเนื้อหานั้นหากไม่แสดงผล

การรวบรวมข้อมูลขึ้นอยู่กับว่าโปรแกรมรวบรวมข้อมูลของ Google เข้าถึงเว็บไซต์ได้หรือไม่ ปัญหาที่พบได้ทั่วไปเกี่ยวกับการเข้าถึงเว็บไซต์ของ Googlebot ได้แก่

  • กฎ robots.txt ป้องกันไม่ให้ Googlebot เข้าถึงหน้าเว็บ

การจัดทำดัชนี

หลังจากรวบรวมข้อมูลหน้าเว็บแล้ว Google จะพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาในหน้า ขั้นตอนนี้เรียกว่า "การจัดทําดัชนี" ซึ่งรวมถึงการประมวลผลและวิเคราะห์เนื้อหาที่เป็นข้อความ รวมถึงแท็กและแอตทริบิวต์ของเนื้อหาหลัก เช่น องค์ประกอบ <title> และแอตทริบิวต์ Alt, รูปภาพ, วิดีโอ และอื่นๆ

ในระหว่างกระบวนการจัดทําดัชนี Google จะพิจารณาว่าหน้าเว็บซ้ำกับหน้าอื่นในอินเทอร์เน็ตหรือเป็นหน้า Canonical ซึ่งก็คือหน้าที่อาจแสดงในผลการค้นหา ในการเลือกหน้า Canonical ก่อนอื่นเราจะจัดหน้าเว็บที่พบในอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเนื้อหาคล้ายกันไว้เป็นกลุ่ม (บ้างก็เรียกว่าคลัสเตอร์) จากนั้นจึงเลือกหน้าที่เป็นตัวแทนของกลุ่มดังกล่าวได้ดีที่สุด ส่วนหน้าอื่นในกลุ่มจะเป็นเวอร์ชันทางเลือกที่อาจแสดงในบริบทต่างๆ เช่น ในกรณีที่ผู้ใช้ค้นหาจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ หรือมองหาหน้าเว็บที่เจาะจงมากจากคลัสเตอร์นั้น

นอกจากนี้ Google ยังรวบรวมสัญญาณเกี่ยวกับหน้า Canonical และเนื้อหาในหน้า ซึ่งอาจใช้ในขั้นตอนถัดไปที่เราแสดงหน้าเว็บนั้นในผลการค้นหา ตัวอย่างสัญญาณ เช่น ภาษาของหน้าเว็บ ประเทศที่เนื้อหาอยู่ ความสามารถในการใช้งานของหน้าเว็บ และอื่นๆ

ข้อมูลที่รวบรวมไว้เกี่ยวกับหน้า Canonical และคลัสเตอร์อาจจัดเก็บไว้ในดัชนีของ Google ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่โฮสต์ในคอมพิวเตอร์หลายพันเครื่อง Google ไม่รับประกันการจัดทําดัชนี ซึ่งหมายความว่าเราไม่ได้จัดทําดัชนีหน้าเว็บทุกหน้าที่ประมวลผล

การจัดทําดัชนียังขึ้นอยู่กับเนื้อหาของหน้าเว็บและข้อมูลเมตาด้วย ปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับการจัดทำดัชนี ได้แก่

  • เนื้อหาในหน้าเว็บมีคุณภาพต่ำ
  • กฎ meta ของ Robots ไม่อนุญาตให้จัดทำดัชนี
  • การออกแบบของเว็บไซต์อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดทําดัชนี

การแสดงผลการค้นหา

เมื่อผู้ใช้ป้อนคำค้นหา เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะค้นหาหน้าเว็บที่ตรงกันจากดัชนีแล้วแสดงผลลัพธ์ที่คิดว่ามีคุณภาพดีที่สุดและเกี่ยวข้องกับข้อความค้นหาของผู้ใช้มากที่สุด ความเกี่ยวข้องจะพิจารณาจากปัจจัยหลายร้อยรายการ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูล เช่น ตําแหน่ง ภาษา และอุปกรณ์ (เดสก์ท็อปหรือโทรศัพท์) ของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น การค้นหา "ร้านซ่อมจักรยาน" จะแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างกันแก่ผู้ใช้ในปารีสและผู้ใช้ในฮ่องกง

ฟีเจอร์การค้นหาที่ปรากฏในหน้าผลการค้นหาจะเปลี่ยนแปลงไปตามคําค้นหาของผู้ใช้ด้วย ตัวอย่างเช่น การค้นหา "ร้านซ่อมจักรยาน" น่าจะแสดงผลการค้นหาในพื้นที่และไม่มี อย่างไรก็ตาม การค้นหา "จักรยานรุ่นใหม่" มีแนวโน้มที่จะแสดงผลการค้นหารูปภาพมากกว่าผลการค้นหาในพื้นที่ สํารวจองค์ประกอบ UI ที่พบบ่อยที่สุดของ Google Web Search ได้ในแกลเลอรีองค์ประกอบที่มองเห็น

Search Console อาจแจ้งว่ามีการจัดทําดัชนีหน้าเว็บแล้ว แต่คุณไม่เห็นหน้าดังกล่าวในผลการค้นหา ปัญหานี้อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • เนื้อหาในหน้าเว็บไม่เกี่ยวข้องกับข้อความค้นหาของผู้ใช้
  • เนื้อหามีคุณภาพต่ำ
  • กฎ meta ของ Robots ป้องกันไม่ให้มีการแสดงหน้าเว็บ

แม้ว่าคู่มือนี้จะอธิบายวิธีการทํางานของ Search แต่เราพยายามปรับปรุงอัลกอริทึมอยู่เสมอ คุณติดตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้โดยไปที่บล็อก Google Search Central

เนื้อหาของหน้าเว็บนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ใบอนุญาตที่ต้องระบุที่มาของครีเอทีฟคอมมอนส์ 4.0 และตัวอย่างโค้ดได้รับอนุญาตภายใต้ใบอนุญาต Apache 2.0 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดดูรายละเอียดที่นโยบายเว็บไซต์ Google Developers Java เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ Oracle และ/หรือบริษัทในเครือ

อัปเดตล่าสุด 2023-12-06 UTC

[{ "type": "thumb-down", "id": "missingTheInformationINeed", "label":"ไม่มีข้อมูลที่ฉันต้องการ" },{ "type": "thumb-down", "id": "tooComplicatedTooManySteps", "label":"ซับซ้อนเกินไป/มีหลายขั้นตอนมากเกินไป" },{ "type": "thumb-down", "id": "outOfDate", "label":"ล้าสมัย" },{ "type": "thumb-down", "id": "translationIssue", "label":"ปัญหาเกี่ยวกับการแปล" },{ "type": "thumb-down", "id": "samplesCodeIssue", "label":"ตัวอย่าง/ปัญหาเกี่ยวกับโค้ด" },{ "type": "thumb-down", "id": "otherDown", "label":"อื่นๆ" }] [{ "type": "thumb-up", "id": "easyToUnderstand", "label":"เข้าใจง่าย" },{ "type": "thumb-up", "id": "solvedMyProblem", "label":"แก้ปัญหาของฉันได้" },{ "type": "thumb-up", "id": "otherUp", "label":"อื่นๆ" }] หากต้องการบอกให้เราทราบเพิ่มเติม