พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

รูวันเวลิสเซยาสถูป (อังกฤษ: Ruwanwelisaya Stupa) มหาสถูปทรงโอคว่ำในเมืองอนุราธปุระ (อังกฤษ: Anuradhapura) ประเทศศรีลังกา

ศาสนาพุทธได้แผ่ขยายจากประเทศอินเดียสู่ลังกาทวีป เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๖ ในคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช (อังกฤษ: Ashoka the Great) ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ในอินเดีย และได้ส่งพระเถระผู้รอบรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ รวม ๙ สายด้วยกัน และใน ๙ สายนั้น สายหนึ่งได้มายังเกาะของชาวสิงหล (คือประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) โดยการนำของพระมหินทเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ (อังกฤษ: Devanampiya Tissa) แห่งอาณาจักรอนุราธปุระ (อังกฤษ: Anuradhapura period, ระหว่าง ๓๗๗ ปี ก่อน ค.ศ. - ค.ศ. ๑๐๑๗) ซึ่งเป็นกษัตริย์ของลังกาในขณะนั้น

ศาสนาพุทธที่เข้าสู่ลังกาในยุคนี้ เป็นศาสนาพุทธแบบเถรวาท พระมหินทเถระได้นำเอาพระไตรปิฎกและอรรถกถาไปสู่ลังกาด้วย การเดินทางไปสู่ลังกาของพระมหินทเถระในครั้งนั้น นอกจากเป็นการเผยแผ่พุทธศาสนาแล้ว ยังถือว่าเป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวลังกา เพราะท่านมิเพียงแต่นำเอาพระพุทธศาสนาไปเท่านั้น ท่านยังได้นำเอาอารยะธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม เข้าไปด้วย ลำดับต่อมา พระนางอนุฬาเทวี มเหสีและสตรีบริวารจำนวนมาก ปรารถนาจะอุปสมบทบ้าง พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะจึงทรงส่งคณะทูตไปสู่ราชสำนักของพระเจ้าอโศก ทูลขอพระนางสังฆมิตตาเถรี และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ด้านทักษิณมาสู่ลังกาทวีป และพระนางสังฆมิตตาเถรีเป็นอุปัชญาย์บรรพชาอุปสมบทแก่สตรีชาวลังกา ได้ตั้งคณะภิกษุณีขึ้นในลังกา

ประวัติความเป็นมา

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

พระมหินทเถระ พระอรหันต์ผู้นำศาสนาพุทธมายังเกาะลังกา

การเผยแผ่ศาสนาพุทธที่เกาะลังกา

เมื่อพระมหินทเถระ (บาลี: Mahinda, สันสกฤต: Mahendra ท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช เกิดในอุจเจน รัฐมัธยประเทศ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓) ได้รับมอบหมายจากพระอุปัชฌาย์ คือพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ (บาลี: Moggaliputta-Tissa) ให้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เกาะลังกาแล้ว ก็พิจารณาว่า ถึงเวลาสมควรที่จะเดินทางไปหรือไม่ ก็รู้ว่ายังไม่สมควร เนื่องจากพระเจ้ามุฏสีวะ แห่งกรุงอนุราธปุระ ทรงชราภาพมาก ไม่สามารถยกย่องเชิดชูพระศาสนาได้ จึงรอเวลาถึง ๗ เดือน จนพระเจ้ามุฏสีวะเสด็จสวรรคต จากนั้นพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ (อังกฤษ: Devanampiya Tissa) พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ต่อมา และพระเจ้าอโศกได้ทรงส่งเครื่องบรรณาการเป็นจำนวนมากไปถวาย พร้อมกับธรรมบรรณาการมีข้อความว่า

หม่อมฉันได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว ได้แสดงตนเป็น อุบาสกในพระศาสนาแห่งศากยบุตร, ข้าแต่พระองค์ ผู้สูงสุดกว่านรชน! ถึงพระองค์ท่านก็จงยังจิตให้ เลื่อมใสในอุดมวัตถุทั้ง ๓ เหล่านี้เถิด ขอให้ทรง เข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นสรณะที่พึ่ง ด้วยพระศรัทธาเถิด.

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

อัมพัตถละเจดีย์ สร้างขึ้น ณ จุดที่พระมหินทเถระ พบกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นครั้งแรก ภายในบรรจุพระธาตุพระมหินทเถระ ด้านซ้ายที่เป็นก้อนหินสูง ๆ นั้น บนยอดสูงสุด คือ จุดที่พระมหินทเถระ และคณะสงฆ์ผู้ติดตาม ลงเหยียบพื้นเกาะลังกาเป็นครั้งแรก และเป็นที่ที่สุมนสามเณร ประกาศชุมนุมเทวดา เพื่อฟังธรรมจากพระมหินทเถระ

ในปี พ.ศ. ๒๓๖ พระมหินทเถระ พร้อมกับพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระ พระภัททสาสเถระ พระสัมพลเถระ สุมนสามเณร (โอรสของพระนางสังฆมิตตา ) ซึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา และภัณฑกอุบาสก ผู้ได้เห็นสัจจะแล้ว รวมเป็น ๗ ท่าน ได้เหาะไปทางอากาศ ไปที่มิสสกบรรพต หรือเจติยบรรพต แปลว่าภูเขาแห่งเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันออก (ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร) ของเมืองอนุราธปุระ ในปัจจุบันเรียกว่ามิหินตเล หรือมหินทเล (อังกฤษ: Mihintale) และถัดจากมหินตเลนั้นมีอัมพัตถละเจดีย์ (อังกฤษ: Ambasthala Dagaba แปลว่าเจดีย์บนเนินมะม่วง ) สถานที่ที่พระมหินทเถระ พบกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ขณะเสด็จออกมาล่าสัตว์ เมื่อท่านทั้งสองได้พบกัน พระมหินทเถระได้ถวายพระพรว่า

บัดนี้ ชมพูทวีปรุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ สะบัดอบอวลไปด้วยลมฤษี, ในชมพูทวีปนั้น มีพระอรหันต์พุทธสาวกเป็นอันมาก ซึ่งเป็นผู้มีวิชชา ๓ และได้บรรลุฤทธิ์ เชี่ยวชาญทางเจโตปริยญาณ สิ้นอาสวะแล้ว

เมื่อพระเถระทดสอบพระปัญญาของพระราชาแล้ว ทราบว่าทรงเป็นบัณฑิต จักทรงสามารถรู้ธรรมได้ จึงแสดงจูฬหัตถิปโทปมสูตร ในเวลาจบกถา พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารประมาณสี่หมื่นดำรงอยู่ในไตรสรณคมน์ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ

ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองในเกาะลังกา

เมื่อพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เสด็จกลับแล้วพระมหินทเถระ มอบให้สุมนสามเณร ประกาศเวลาฟังธรรมทั่วเกาะลังกา เสียงโฆษณานั้นกระฉ่อนไปถึงพรหมโลก เมื่อพระเถระเห็นเทวดามาประชุมกันมากมาย จึงแสดงสมจิตตสูตร ในเวลาจบกถา เหล่าเทวดาประมาณอสงไขยหนึ่งได้บรรลุธรรม นาคและสุบรรณมากมายก็ได้ตั้งอยู่ในสรณคมน์

วันรุ่งขึ้นพระราชาส่งรถไปรับพระเถระ และคณะไปฉันและแสดงธรรมในพระราชวังกรุงอนุราธปุระ ท่านไม่ขึ้นรถ แต่เหาะมาทางอากาศ เมื่อพระเถระเห็นการบูชาและสักการะของพระราชาแล้ว ก็คิดว่า พระพุทธศาสนาจักแผ่ไปทั่วลังกาทวีป และตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดุจแผ่นดิน และได้แสดงเปตตวัตถุ วิมานวัตถุ และสัจจสังยุต โปรดพระราชาและชาวเกาะ สตรีในวัง ๕๐๐ ที่มีพระนางอนุฬา เป็นประมุข ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน และแสดงอาสิวิโสปมสูตร มีผู้บรรลุพระโสดาบัน ๑,๐๐๐ คน

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

ติสสะมหารามเจดีย์ (อังกฤษ: Tissamaharama Dagoba) อยู่ภายในติสสะมหารามราชมหาวิหาร

ในวันต่อมา พระเถระแสดงธรรม มีผู้บรรลุธรรม ๒,๕๐๐ คน พระราชาถวายพระราชอุทยานนันทวัน (อังกฤษ: Mahamegavana) เป็นอารามแห่งแรกบนเกาะลังกา ชื่อว่าติสสะมหารามราชมหาวิหาร (บาลี: Tissamaharama Raja Maha Vihara, สิงหล: තිස්සමහාරාම රජ මහා විහාරය) พระเถระแสดงธรรมที่อุทยานนี้ทุกวันเป็นเวลา ๗ วัน มีผู้บรรลุธรรม ๘,๕๐๐ คน ตั้งแต่นั้นมาอุทยานนันทวันก็ได้ชื่อว่าโชติวัน เพราะว่า เป็นสถานที่พระศาสนาปรากฏความรุ่งเรืองขึ้น นอกจากนี้ อำมาตย์ชื่ออริฏฐะ กับพี่ชายและน้องชายรวม ๕๕ คน ได้ออกบวช และบรรลุเป็นพระอรหันต์ ทำให้ราชตระกูลประกอบด้วยเจ้าพี่เจ้าน้อง ๑๐ องค์ เกิดความเลื่อมใส ในเวลานั้นได้มีพระอรหันต์ ๖๒ รูป (๗+๕๕) เข้าจำพรรษาแรกที่เจติยบรรพต

การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานที่เกาะลังกา

ในเวลาต่อมา หลังจากเสร็จสิ้นการจำพรรษาที่เจติยบรรพต แล้ว เมื่อถึงเวลาออกพรรษา พระมหินทเถระ ได้ทูลกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ความว่า

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

มหาเซยาสถูป (อังกฤษ: Mahaseya Stupa) ที่มิหินตเล ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระอุณหิส (หน้าผาก) ที่พระเจ้าอโศกพระราชทานมา

"อาตมภาพไม่ได้เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานานแล้ว อยู่อย่างไม่มีที่พึ่ง อยากจะไปยังชมพูทวีป"

พระราชาตรัสว่า "ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าได้พูดแล้วมิใช่หรือว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว"

พระเถระทูลว่า “มหาบพิตร แม้พระองค์ปรินิพพานแล้วก็จริง ถึงอย่างนั้นพระสรีรธาตุของพระองค์ยังอยู่”

พระราชาตรัสว่า “ข้าพเจ้ารู้ ท่านผู้เจริญ พระคุณท่านจำนงค์หวังการสร้างพระสถูป” แล้วตรัสต่อไปว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะสร้างพระสถูป นิมนต์พระคุณเจ้าเลือกพื้นที่ในบัดนี้เถิด อนึ่ง ข้าพเจ้าจักได้พระธาตุแต่ที่ไหน ท่านผู้เจริญ” พระเถระทูลว่า “มหาบพิตร ทรงปรึกษากับสุมนสามเณรดูเถิด”

จากนั้น พระเถระสั่งการให้สุมนสามเณร ผู้เป็นโอรสของพระนางสังฆมิตตา ไปเฝ้าพระเจ้าอโศก ที่เมืองปาฏลีบุตร แล้วขอพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุที่อยู่ในครอบครองเพื่อมาประดิษฐานที่เกาะลังกา พระเจ้าอโศกทรงยินดีรับบาตรจากมือสามเณรบรรจุพระธาตุถวาย สามเณรรับพระธาตุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช ทรงขอให้พระราชทานพระธาตุรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) เบื้องขวา เมื่อท้าวสักกเทวราชถวายแก่สามเณรแล้ว ก็จะนำไปประดิษฐานไว้ในเจติยบรรพต

ในครั้งนั้น พระเถระและพระราชา รวมทั้งชาวเกาะทั้งหมด ต้อนรับพระธาตุ โดยมีพระมหินทเถระ เป็นประมุข บรรจุพระธาตุที่พระเจ้าอโศกธรรมราชา ทรงพระราชทานมา ไว้ที่เจติยบรรพต แล้วเชิญพระธาตุรากขวัญเบื้องขวาไปมหานาควันอุทยาน ในเวลาบ่าย ขณะนั้นพระราชาทรงทำการบูชาสักการะพระธาตุ แล้วประทับบนคอช้างตัวประเสริฐ ทรงกั้นเศวตฉัตรด้วยพระองค์เองบนเศียรช้างมงคล เสด็จถึงอุทยานพอดี ทรงรำพึงว่า

ถ้าว่านี้เป็นพระธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไซร้ เศวตฉัตรจงเบนออกไป ช้างมงคลจงคุกเข่าลงบนพื้น ขอให้ผอบบรรจุพระธาตุจงมาประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมของเรา

ซึ่งก็เป็นไปตามอย่างที่ทรงอธิษฐาน จึงมีความปีติอย่างยิ่ง เมื่อพระเถระทูลว่า ให้วางผอบบรรจุพระธาตุไว้บนกระพองช้าง ช้างก็มีความดีใจ บันลือเสียงดุจเสียงนกกระเรียน มีฝนโบกขรพรรษ ตกลงมา แผ่นดินใหญ่ไหวจนถึงที่สุดน้ำ มีอันให้รู้ว่า พระธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักประดิษฐานแล้วในเกาะลังกา ส่วนช้างนั้นก็เดินไปยังสถานที่จะสร้างพระเจดีย์ คือถูปาราม (อังกฤษ: Thuparamaya Pagoda) ซึ่งเป็นที่ตั้งบริโภคเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ถึง ๓ พระองค์ พระเถระทูลพระราชาให้สร้างเจดีย์มีลักษณะดังกองข้าวเปลือก เมื่อประชาชนมาประชุมกันเพื่อฉลองพระธาตุที่ถูปารามนั้น พระธาตุได้แสดงยมกปาฏิหาริย์ คล้ายกับที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ณ โคนต้นคันฑามพฤกษ์ ใกล้กรุงสาวัตถี ด้วยพุทธานุภาพ ที่ทรงอธิษฐานไว้

ประวัติเกาะลังกาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

เจดีย์ถูปาราม ที่เมืองอนุราธปุระ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องขวา และเคยเป็นที่ตั้งของบริโภคเจดีย์ของพระพุทธเจ้าในอดีต ๓ พระองค์

เนื้อความในอรรถกถาเขียนขึ้นต้นไว้ว่า "ดังได้สดับมา ในอดีตกาล ทวีปนี้ (เกาะลังกา) ได้มีชื่อว่า..." ขอยกมากล่าวอย่างย่อ ๆ ว่า

ในครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ อุบัติขึ้นแล้วในโลก ทวีปนี้ (เกาะลังกา) ได้มีชื่อว่าโอชทวีป สมัยนั้น ถึงความวิบัติด้วยโรคไข้เซื่องซึม พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เสด็จมาที่เกาะลังกาพร้อมด้วยภิกษุ ๔๐,๐๐๐ รูป ด้วยพุทธานุภาพ โรคนั้นก็สงบลง เมื่อโรคสงบลง ทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุธรรม ๘๔,๐๐๐ คน เมื่อจะเสด็จกลับ ได้ประทานธมกรก (ที่กรองน้ำ) ชาวเมืองสร้างเจดีย์ที่เดียวกับถูปาราม บรรจุธมกรก นั้นไว้ข้างใน และทรงให้พระสาวกนามว่าพระมหาเทวะ อยู่ที่เกาะนี้เพื่อสั่งสอนประชาชน

ในสมัยพระผู้มีพระภาคพระนามว่าโกนาคมน์ ทวีปนี้ (เกาะลังกา) ได้มีชื่อว่าวรทวีป สมัยนั้น เกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง มีความอดยาก ทรงทอดพระเนตรตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงพระมหากรุณาเสด็จมาที่เกาะนี้พร้อมกับภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูป เมื่อเสด็จไปถึง ฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ภิกษาหาได้ง่าย ด้วยพุทธานุภาพ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุธรรม ๘๔,๐๐๐ คน ทรงโปรดให้พระมหาสุมน ซึ่งมีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร อยู่ที่เกาะนี้ และประทานประคดเอว ชาวเมืองได้สร้างพระเจดีย์ที่เดียวกับถูปาราม บรรจุประคดเอว นั้นไว้ภายใน

ในสมัยพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสป ทวีปนี้ (เกาะลังกา) ได้มีชื่อว่ามัณฑทวีป สมัยนั้น ชาวเกาะมีการทะเลาะวิวาท แก่งแย่งกัน ย่อมถึงความพินาศ พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้เสด็จมาพร้อมกับภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป เพื่อระงับการวิวาท แล้วทรงแสดงธรรม มีผู้บรรลุธรรม ๘๔,๐๐๐ คน ทรงให้พระเถระนามว่าสัพพนันที พร้อมด้วยภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเป็นบริวารอยู่ที่เกาะนี้ และประทานผ้าสรงน้ำ ชาวเมืองได้สร้างเจดีย์ที่เดียวกับถูปาราม บรรจุผ้าสรงน้ำ นั้นไว้ภายใน

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

เกลานิยาเจดีย์ ที่วัดเกลานิยาราชมหาวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำเกลานิ กรุงโคลัมโบ เชื่อกันว่าภายในบรรจุบัลลังก์ทองคำที่พระพุทธเจ้าเคยประทับนั่งแสดงธรรม คราวเสด็จมาลังกาครั้งที่สาม และที่วัดนี้เอง ที่คณะสงฆ์จากมอญ เดินทางมาบวชเมื่อราว ๕๐๐ ปีก่อน แล้วนำกลับไปเผยแผ่ที่รามัญประเทศ (พม่า) เรียกว่านิกายสีมากัลยาณี อันเป็นต้นวงศ์พระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ของไทย

บริโภคเจดีย์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๓ พระองค์ ได้ประดิษฐานอยู่แล้วในถูปาราม เจดีย์เหล่านั้นย่อมสาบสูญไปเพราะความอันตรธานแห่งพระศาสนา เหลือแต่เพียงฐานเท่านั้น และถูกห้อมล้อมอยู่ด้วยพุ่มไม้ต่าง ๆ ที่มีเรียวกิ่งสะพรั่งด้วยหนามด้วยอานุภาพของเทวดา โดยตั้งใจว่า ใคร ๆ อย่าได้ประทุษร้ายที่นั้น ด้วยของเป็นเดน ไม่สะอาด มลทินและหยากเยื่อ

ข้อความในอรรถกถา มีต่อไปว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (คือพระโคตมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) พระองค์นี้ เคยเสด็จมาเกาะลังกา เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ถึง ๓ ครั้ง คือ

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดเกลานิยาราชมหาวิหาร (อังกฤษ: Kelaniya Raja Maha Vihara or Kelaniya Temple) เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา (ในภาพ) พระโคตมพุทธเจ้า เสด็จมายังเกาะลังกาเป็นครั้งที่สาม

  • ครั้งแรก เสด็จมาพระองค์เดียวเท่านั้น เพื่อทรมานยักษ์ (เชื่อกันว่า คือบริเวณที่ตั้งมหิยังคณเจดีย์ เมืองมหิยังเกน่า ในปัจจุบัน) แล้วทรงตั้งให้อารักขาที่เกาะนี้ เสด็จรอบเกาะ ๓ รอบ ตั้งพระทัยว่า เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ศาสนาของเราจักประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้
  • ครั้งที่สอง เสด็จมาพระองค์เดียวเหมือนกัน เพื่อต้องการทรมานพญานาคลุงและหลาน เมื่อทรงทรมานนาคเหล่านั้นแล้ว ได้เสด็จกลับ
  • ครั้งที่สาม เสด็จมาพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นบริวาร ประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ ณ ที่ปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของมหาเจดีย์ ที่ตั้งถูปารามเจดีย์ ที่ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ตั้งมุติงคณเจดีย์ ที่ตั้งทีฆวาปีเจดีย์ และที่ตั้งเกลานิยาเจดีย์ (อังกฤษ: Stupa at Kelaniya Raja Maha Vihara) ที่วัดเกลานิยาราชมหาวิหาร เมืองโคลัมโบ

และครั้งที่ ๔ หลังจากที่ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ก็เสด็จมาประดิษฐานที่เกาะนี้

— — ที่มา: อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์ หน้าต่างที่ ๕ (84000.org)

พระเจ้าอโศกทรงส่งกิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระนางสังฆมิตตาไปเกาะลังกา

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

ภาพวาด ครอบครัวในราชวงศ์สิงหล ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ แห่งอาณาจักรอนุราธปุระ (สิงหล: අනුරාධපුර රාජධානිය) ครองราชย์ระหว่าง ๓๐๗ - ๒๖๗ ปี ก่อนคริสต์ศักราช

เมื่ออภัยราชกุมาร น้องชายของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงมีความเลื่อมใสในปาฏิหาริย์แห่งพระธาตุนั้นแล้ว ท่านพร้อมกับประชาชนชาวเมืองได้ออกบวช รวมเป็นภิกษุสามหมื่นรูป เมื่อการฉลองพระเจดีย์สำเร็จแล้ว พระนางอนุฬา พระชายาของอภัยราชกุมาร พร้อมกับสตรี ๑,๐๐๐ นาง ไปกราบทูลพระราชาว่ามีความประสงค์จะบวช พระราชาทรงสดับคำของพระนางแล้ว ได้ตรัสพระดำรัสนี้กะพระเถระว่า "ท่านผู้เจริญ! พระนางอนุฬาเทวีมีพระประสงค์จะบวช, ขอพระคุณท่านให้พระนางบวชเถิด" พระเถระถวายพระพรว่า

มหาบพิตร! การให้มาตุคามบวช ไม่สมควรแก่พวกอาตมภาพ, แต่ในนครปาตลีบุตร มีพระเถรีนามว่าสังฆมิตตา เป็นน้องสาวของอาตมภาพ, ขอพระองค์ได้ทรงโปรดให้นิมนต์พระเถรีนั้นมา มหาบพิตร! ก็แลโพธิพฤกษ์ (ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทั้ง ๓ พระองค์ ได้ประดิษฐานอยู่ที่เกาะนี้, โพธิพฤกษ์อันเปล่งข่ายคือรัศมีใหม่ ๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเรา ก็ควรประดิษฐานอยู่บนเกาะนี้ เพราะฉะนั้น พระองค์พึงส่งพระราชสาสน์ไปโดยวิธีที่พระเถรีสังฆมิตตาจะพึงเชิญไม้โพธิ์มาด้วย

พระราชาจึงให้อริฏฐะอำมาตย์ หลานของพระองค์ เป็นคนเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าอโศก และเถรสาส์นของพระมหินทเถระไปถวายพระสังฆมิตตาเถรี เมื่อพระเจ้าอโศกทรงทราบ ซึ่งก็เป็นความตั้งใจของพระองค์อยู่แล้ว ที่จะส่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปที่เกาะลังกา แต่ไม่ทราบวิธีที่จะได้กิ่งโพธิ์ โดยไม่ใช้อาวุธมีคมตัด เมื่อได้ปรึกษาพระเถระทั้งหลาย ท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระก็ถวายพระพรว่า

พระผู้มีพระภาคทรงอธิษฐานว่า เพื่อต้องการให้ต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานที่เกาะลังกา พระเจ้าอโศกมหาราชจักเสด็จมารับเอาต้นมหาโพธิ์ ในเวลานั้น กิ่งมหาโพธิ์ด้านทิศใต้จงขาดเองทีเดียว แล้วประดิษฐานในกระถางทอง

และก็เป็นไปอย่างนั้น พระเจ้าอโศกทรงปีติโสมนัสอย่างยิ่ง ได้บูชาต้นมหาโพธิ์ด้วยสมบัติอันใหญ่ และได้ส่งต้นมหาโพธิ์และพระสังฆมิตตาเถรีขึ้นเรือไปเกาะลังกา

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดเกลานิยาราชมหาวิหาร (อังกฤษ: Kelaniya Raja Maha Vihara or Kelaniya Temple) เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา (ในภาพ) พระสังฆมิตตาเถรี เชิญกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ เดินทางโดยเรือไปเกาะลังกา ขณะที่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เสด็จลงไปรอรับถึงในน้ำ

เมื่อเรือถึงเกาะลังกา พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะก็ถวายการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ พระราชาทรงปลูกต้นมหาโพธิ์นั้นที่ใจกลางของพระราชอุทยานมหาเมฆวัน อันเป็นสถานที่พระผู้มีพระภาคของเราประทับนั่งเข้านิโรธสมาบัติ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ๓ พระองค์เคยประทับนั่งเข้าสมาบัติ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ ที่มีต้นซึกใหญ่(๑) ซึ่งเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้ากกุสันธะ , ต้นมะเดื่อ(๑) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้าโกนาคมน์ และต้นไทร(๑) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้ากัสสปะ ประดิษฐานอยู่

เมื่อทรงปลูกต้นมหาโพธิ์แล้ว ต้นมหาโพธิ์ก็แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ขณะพระมหินทเถระ พระนางสังฆมิตตาเถรี และพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยข้าราชบริพาร และประชาชนชาวเกาะทั้งหมดมองดูอยู่นั่นเอง ผลหนึ่งจากกิ่งด้านทิศตะวันออกสุกแล้วก็หล่นจากกิ่ง พระเถระน้อมหัตถ์เข้ารับไว้ แล้วถวายผลนั้นแด่พระราชาให้ทรงปลูก เมื่อทรงปลูกก็แตกสาขาออกเป็นต้นโพธิ์อ่อน ๆ ถึง ๘ ต้น สูงประมาณ ๔ ศอก

ประชาชนปลูกต้นหนึ่งไว้ที่ท่าชื่อชมพูโกปัฏฏนะ ในโอกาสที่ต้นมหาโพธิ์ประดิษฐานครั้งแรกเมื่อมาถึงเกาะลังกา อีกต้นหนึ่งที่ประตูบ้านของควักกพราหมณ์ อีกต้นหนึ่งที่ถูปาราม อีกต้นหนึ่งที่อิสสรนิมมานวิหาร อีกต้นหนึ่งใกล้ปฐมเจดีย์ อีกต้นหนึ่งที่เจติยบรรพต อีกต้นหนึ่งที่บ้านกาชรคาม ในโรหณชนบท อีกต้นหนึ่งที่บ้านจันทนคาม ข้อความในอรรถกถามีต่อไปว่า

เมื่อต้นมหาโพธิ์อันเป็นธงชัยแห่งพระสัทธรรมของพระทศพล ประดิษฐานอยู่แล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนชาวเกาะโดยรอบ ด้วยการสืบต่อลำดับแห่งลูกหลานอย่างนี้แล้ว พระนางอนุฬาเทวีพร้อมกับมาตุคามพันหนึ่ง คือ หญิงสาว (ผู้เป็นบาทบริจาริกาของตน) ๕๐๐ คน และหญิงชาววังอีก ๕๐๐ คนผนวชในสำนักของพระนางสังฆมิตตาเถรี ไม่นานนักพร้อมด้วยบริวารก็ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์.

ฝ่ายพระราชภาคิไนยชื่ออริฏฐะแล พร้อมกับบุรุษ ๕๐๐ คน บวชในสำนักของพระเถระ พร้อมด้วยบริวาร ได้ดำรงอยู่ในความเป็นพระอรหันต์ ต่อกาลไม่นานเช่นเดียวกัน.

สงครามกับชาวทมิฬ และความเสื่อมของศาสนาพุทธ

เมื่อ พ.ศ. ๔๐๐ เศษ รัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามนีอภัย ได้มีพวกทมิฬ (อังกฤษ: Tamils, ทมิฬ: தமிழர்) เข้ามาตีและเข้าครองอนุราธปุระ เป็นเวลา ๑๔ ปี จนพระองค์ต้องเสียราชบัลลังก์ เสด็จลี้ภัยไปซ่องสุมกำลัง ระหว่างนั้นทรงได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหาติสสะ ต่อมากลับมาครองราชย์อีกครั้ง ได้ทรงให้ทำการสังคายนา และได้ทำการจารึกพระพุทธพจน์ลงในใบลานเป็นครั้งแรก ได้อุปถัมภ์พระมหาติสสะ พร้อมได้สร้างวัดถวาย คือวัดอภัยคีรีวิหาร จนทำให้พระภิกษุชาวมหาวิหารไม่พอใจ จนเป็นเหตุให้คณะสงฆ์แตกออกเป็น ๒ คณะ คือคณะมหาวิหาร กับคณะอภัยคีรีวิหาร ตั้งแต่นั้นมาคณะสงฆ์ลังกาได้แตกออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ แต่ยังเป็นนิกายเถรวาท มีลักษณะต่างกันคือ

  • คณะมหาวิหาร ฝ่ายอนุรักษนิยม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพระธรรมวินัยใดๆ และยังตำหนิรังเกียจภิกษุต่างนิกายว่าเป็นอลัชชี
  • คณะอภัยคีรีวิหาร เป็นคณะที่เปิดกว้าง ยอมรับเอาความคิดเห็นต่างนิกาย ไม่รังเกียจภิกษุต่างนิกาย

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดเกลานิยาราชมหาวิหาร (อังกฤษ: Kelaniya Raja Maha Vihara or Kelaniya Temple) เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา (ในภาพ) พระพุทธโฆษาจารย์ กับคัมภีร์วิสุทธิมรรค จำนวน ๓ ฉบับ

เมื่อ พ.ศ. ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่าพระพุทธโฆษาจารย์ (อังกฤษ: Buddhaghosa) เดินทางจากอินเดียมายังศรีลังกา เพื่อปริวรรตคัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฏกภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ (บาลี) เพื่อนำกลับไปยังชมพูทวีป

ท่านเป็นพระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค (บาลี: วิสุทฺธิมคฺค Visuddhimagga, อังกฤษ: The Path of Purification) ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท

ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึง พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นยุคที่ลังกาเดือดร้อนวุ่นวายเพราะการรุกรานจากอินเดียบ้าง ความไม่สงบภายในบ้าง ในระหว่างยุคนี้เองที่ภิกษุณีสงฆ์สูญสิ้น และพระภิกษุสงฆ์เสื่อม จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑ (อังกฤษ: Vijayabahu I, ครองราชย์ระหว่าง ปี ค.ศ. ๑๐๕๕ - ค.ศ. ๑๑๑๐) มีพระราชประสงค์จะฟื้นฟูศาสนาพุทธในปี พ.ศ. ๑๖๐๙ ทรงหาพระภิกษุที่อุปสมบทถูกต้องแทบไม่ครบ ๕ รูป และต้องทรงอาราธนาพระสงฆ์จากพม่าตอนใต้มากระทำอุปสมบทกรรมในลังกา

ชำระพระศาสนา

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

พระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ กษัตริย์มหาราชที่สำคัญพระองค์หนึ่งของลังกา

ในรัชสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๑ (บาลี: Mahā Parākaramabāhu, อังกฤษ: Parakramabahu I the Great, ระหว่าง พ.ศ. ๑๖๙๗ - พ.ศ. ๑๗๓๐) ทรงเป็นมหาราชที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งของลังกา ทรงปกครองบ้านเมืองได้สงบเรียบร้อย ในด้านการพระศาสนา ทรงชำระการพระศาสนาให้บริสุทธิ์ ยังคณะสงฆ์ให้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ปกครองคณะสงฆ์เป็นครั้งแรก รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคที่มีศิลปกรรมงดงามมาก ลังกาได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ปรากฏเกียรติคุณแพร่ไปทั่ว มีพระสงฆ์และนักปราชญ์เดินทางจากประเทศใกล้เคียง เพื่อมาศึกษาศาสนาพุทธในลังกา แล้วนำไปเผยแผ่ในประเทศของตนเป็นอันมาก

ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังจากรัชกาลนี้แล้ว พวกทมิฬจากอินเดียก็มารุกรานอีกและได้เข้าตั้งถิ่นฐานมั่นคงขยายอาณาเขตออกไปเรื่อย ๆ อาณาจักรสิงหลต้องถอยร่นทางใต้ ต้องย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อย ๆ ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญได้ยาก นอกจากจะเพียงธำรงรักษาความมั่นคงเข้มแข็งไว้เท่านั้น เหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่ง คือ ใน พ.ศ. ๒๐๑๙ พระภิกษุคณะหนึ่งจากพม่า ได้มารับการอุปสมบทกรรมที่ลังกาและนำคัมภีร์ภาษาบาลีเท่าที่มีอยู่ไปยังพม่าโดยครบถ้วนเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๕๐

ยุคโปรตุเกส และฮอลันดา

ชนชาติโปรตุเกสได้เข้ามาค้าขาย และถือโอกาสรุกรานชาวสิงหลขณะที่กำลังอยู่ในความวุ่นวาย พวกโปรตุเกสก็ได้ดินแดนบางส่วนไว้ครอบครอง และพยายามบีบบังคับประชาชนที่อยู่ใต้ปกครองให้นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก คราวหนึ่งถึงกับยึดอำนาจกษัตริย์ได้ ทำให้ศาสนาพุทธกลับเสื่อมถอยลง จนถึงกับต้องนิมนต์พระสงฆ์จากประเทศพม่ามาให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกา ต่อมาชาวฮอลันดาได้เข้ามาค้าขายในลังกาและได้ช่วยชาวลังกาขับไล่พวกโปรตุเกสได้ในปี พ.ศ. ๒๒๐๐ แล้วฮอลันดาก็เข้ายึดครองพื้นที่ที่ยึดได้ และนำเอาคริสต์ศาสนามาเผยแผ่ พยายามกีดกันพระพุทธศาสนา แต่ไม่สำเร็จ สถานการณ์ศาสนาพุทธในขณะนั้นย่ำแย่ลงมาก เพราะนอกจากจะเกิดการแก่งแย่งกันเองแล้ว ศาสนาพุทธยังถูกกดขี่จากพวกโปรตุเกสและฮอลันดา ประชาชนไม่น้อยก็ไปเข้ารีตกับศาสนาคริสต์ พวกชาวพุทธในใจกลางเกาะ มัวแต่รบราฆ่าฟันกัน ศาสนาพุทธขาดผู้อุปถัมภ์และยังเกิดวิกฤตการณ์ข้าวยากหมากแพงอย่างรุนแรง จนพระภิกษุสงฆ์ต้องทิ้งวัดวาอาราม จนไม่มีพระภิกษุหลงเหลืออยู่เลย คงมีสามเณรเหลืออยู่บ้าง โดยมีสามเณรสรณังกร เป็นผู้ดูแลคณะสามเณรที่เหลืออยู่

นิมนต์พระสงฆ์จากสยาม

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

พระเจ้ากิตติราชสิงหะ และสามเณรสรณังกร

เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๔ (พ.ศ. ๒๒๙๓ ตามการนับแบบไทย) สามเณรผู้ใหญ่ชื่อสามเณรสรณังกร (อังกฤษ: Weliwita Sri Saranankara Thero) ได้ทูลขอให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะ (อังกฤษ: Kirti Sri Raja Singha) แห่งแคนดี้ (อังกฤษ: Kandy เมืองหลวงสุดท้ายของยุคกษัตริย์โบราณของศรีลังกา เป็นเมืองที่ตั้งของวัดพระเขี้ยวแก้ว ในปัจจุบัน) กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น ให้ส่งทูตมาขอนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองไทย (กรุงศรีอยุธยา) ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป สมัยนั้นตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (อังกฤษ: Borommakot ครองราชย์ พ.ศ.๒๒๗๕ - ๒๓๐๑) แห่งอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงได้ส่งพระสมณทูตไทยจำนวน ๑๐ รูป มีพระอุบาลีเถระ (อังกฤษ: Upali Thera) เป็นหัวหน้า เดินทางมายังประเทศลังกา มาทำการบรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรชาวลังกาถึง ๓,๐๐๐ คน ณ เมืองแคนดี้ สามเณรสรณังกรซึ่งได้รับการอุปสมบทในครั้งนี้ ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์ลังกาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงได้เกิดคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ หรือนิกายสยามวงศ์/อุบาลีวงศ์ ขึ้นในลังกา ต่อมาพระอุบาลีเถระเกิดอาพาธและได้มรณภาพในลังกาในเวลาต่อมา

ในสมัยเดียวกันนั้นได้มีสามเณรคณะหนึ่งเดินทางไปขอรับการอุปสมบทในประเทศพม่า แล้วกลับมาตั้งนิกายอมรปุรนิกาย ขึ้น อีกคณะหนึ่งได้เดินทางไปขออุปสมบทจากคณะสงฆ์เมืองมอญ กลับมาตั้งนิกายรามัญนิกาย ขึ้น ในสมัยนี้ได้มีนิกายเกิดขึ้นในลังกา ๓ นิกาย คือ ๑.นิกายสยามวงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ ๒.นิกายอมรปุรนิกาย และ ๓.นิกายรามัญ นิกายทั้ง ๓ นี้ ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ยุคอังกฤษปกครอง และปัจจุบัน

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

พันเอก เฮนรี สตีล โอลคอต ผู้เป็นหัวเรือหลักในการฟื้นฟูศาสนาพุทธในศรีลังกา

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๔๐ และอีก ๑๙ ปีต่อมา อังกฤษได้ครองอำนาจแทนฮอลันดา ขยายอำนาจไปทั่วประเทศลังกา โดยรบชนะกษัตริย์แคนดี ได้ตกลงทำสนธิสัญญารับประกันสิทธิของฝ่ายลังกาและการคุ้มครองพระศาสนา ครั้นต่อมาได้เกิดกบฏขึ้น เมื่อปราบกบฏได้สำเร็จ อังกฤษได้ดัดแปลงสนธิสัญญาเสียใหม่ ระบบกษัตริย์ลังกาจึงได้สูญสิ้นตั้งแต่บัดนั้น ตั้งแต่อังกฤษเข้ามาปกครองลังกาตอนต้น พระพุทธศาสนาได้รับความเป็นอิสระมากขึ้น ด้วยสนธิสัญญาดังกล่าว

การเดินทางมาถึงศรีลังกาของพันเอก เฮนรี สตีล โอลคอต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ นั้นนับว่าศาสนาพุทธในศรีลังกาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก

พันเอก เฮนรี สตีล โอลคอต (สิงหล: කර්නල් හෙන්රි ස්ටීල් ඔල්කට්; อังกฤษ: Henry Steel Olcott; ๒ สิงหาคม ค.ศ. ๑๘๓๒ – ๑๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๐๗) เป็นข้าราชการทหาร นักหนังสือพิมพ์ และนักนิติศาสตร์ชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นประธานคนแรกแห่งสมาคมเทวปรัชญา โอลคอตเป็นผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกาเชื้อสายยุโรปคนแรกที่เข้ารีตเป็นพุทธศาสนิกชน การต่างๆ ที่เขาปฏิบัติในภายหลังในฐานะประธานสมาคมเทวปรัชญานั้น มีส่วนช่วยฟื้นฟูการศึกษาพุทธศาสนา โอลคอตยังชื่อว่าเป็นนักนวนิยมทางพุทธที่ลงทุนลงแรงไปในการตีความพุทธศาสนาผ่านมุมมองแบบตะวันตก นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวเรือในการฟื้นฟูศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา จึงได้รับการยกย่องในประเทศศรีลังกา โดยชาวศรีลังกากล่าวขานกันว่า เขา "เป็นวีรบุรุษคนหนึ่งซึ่งฝ่าฝันเพื่อเอกราชของเรา และเป็นนักบุกเบิกการรื้อฟื้นทางศาสนา ชาตินิยม และวัฒนธรรมในยุคปัจจุบัน " ทั้งนี้ ชาวต่างประเทศเชื่อว่า เขาเป็นชาวต่างชาติคนเดียวที่รัฐบาลศรีลังกา มีมติให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นอนุสรณ์

โอลคอตนั้นเกิดในครอบครัวคริสต์ นิกายเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) ที่เคร่งครัด ในเมืองออเรนจ์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ เขาเดินทางและเริ่มงานของเขาเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองปานะดุระ ประเทศศรีลังกา และเพียงเพราะหนังสือพิมพ์ Times Of Ceylon จากดร.เจมส์ มาร์ติน พีเบิลส์ ที่นำไปให้ เพื่อหน้าที่ของเขา และคนสำคัญจากส่วนต่างๆ ของโลก ภารกิจของพันเอกเฮนรี สตีล โอลคอต ในศรีลังกา มีดังนี้

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

คณะสงฆ์เถรวาทและพันเอก เฮนรี สตีล โอลคอต ในเมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อ ค.ศ. ๑๘๘๓

  • ศึกษาพระพุทธศาสนาจากพระศรีสุมังคลเถระ (พระอาจารย์ของท่านอานาคาริกธรรมปาละ )
  • เข้าพิธีปฏิญานตนเป็นพุทธมามกะกับพระธัมมารามเถระ ณ วัดวิชยานันทวิหาร
  • ก่อตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนา (ธรรมราชวิทยาลัย) เพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในศรีลังกาที่กำลังเสื่อมโทรมอย่างหนัก
  • เป็นผู้เรียกร้องให้ล้มเลิกคำสั่งห้ามการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา ในประเทศศรีลังกา
  • เป็นผู้ประดิษฐ์ธงศาสนาขึ้นใช้ในสากล โดยนำแถบสีสัญลักษณ์แห่งฉัพพรรณรังสีมาประกอบ

หลังจากการปกครองของอังกฤษประมาณ ๕๐ ปี ศาสนาพุทธถูกกีดกันและต่อต้านจากศาสนาคริสต์ รัฐถูกบีบจากศาสนาคริสต์ให้ยกเลิกสัญญาที่คุ้มครองศาสนาพุทธ บาทหลวงของคริสต์ได้เผยแผ่คริสต์ศาสนาของตน และโจมตีศาสนาพุทธอย่างรุนแรง โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ นับตั้งแต่อังกฤษเข้าปกครองลังกามาเป็นเวลากว่า ๓๐๐ ปี จนได้รับอิสรภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ จากการที่ศาสนาพุทธถูกรุกรานเป็นเวลาช้านานจากศาสนาคริสต์ ทำให้ชาวลังกามีความมุ่งมานะที่จะฟื้นฟูศาสนาพุทธในลังกาอย่างจริงจัง ในที่สุดก็ได้เป็นประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติจวบจนปัจจุบัน


ชาวสิงหล

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

จิตรกรรมฝาผนังในถ้ำที่ ๑๗ ของถ้ำอชันตา (อังกฤษ: Ajanta Caves, มราฐี: अजिंठा लेणी) แสดงการมาถึงของชาวสิงหล นำโดยเจ้าชายวิชัย เห็นได้ในกลุ่มผู้ขี่ช้างสองกลุ่ม

ชาวสิงหล (อังกฤษ: The Sinhalese, สิงหล: සිංහල ජාතිය) เป็นคำจากภาษาสันสกฤตซึ่งภาษาในยุคกลางที่เทียบได้คือสีหละ ส่วนคำในภาษาสิงหลจริง ๆ คือเฮลา (อังกฤษ: Hela หมายถึงสิงโต ) เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศศรีลังกา (สิงหล: ශ්රී ලංකා; ทมิฬ: இலங்கை) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และซีลอน (อังกฤษ: Ceylon) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. ๒๕๑๗

ชาวสิงหลมีจำนวนประชากรมากถึง ๑๖.๒ ล้านคน คิดเป็น ๗๕% ของประชากรทั้งหมด และใช้ภาษาทางการคือภาษาสิงหล (อังกฤษ: Sinhalese, สิงหล: සිංහල เสียงอ่าน: Sinhala) เป็นภาษาในสาขาอินโด - อารยัน (อังกฤษ: Indo-Aryan branch) ของภาษาตระกูลอินโด - ยูโรเปียน (อังกฤษ: Indo-European languages) ทั้งนี้ รัฐบาลศรีลังกาประกาศให้ภาษาสิงหล เป็นภาษาราชการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ และบังคับให้โรงเรียนทุกโรงเรียนสอนหนังสือด้วยภาษาสิงหล ทำให้ชาวทมิฬ (อังกฤษ: Tamils, ทมิฬ: தமிழர்) ที่อาศัยอยู่ในประเทศศรีลังกา (คิดเป็น ๒๔.๘๗%) เกิดความไม่พอใจ

ชาวสิงหลส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เช่นเดียวกับประเทศไทย ตามบทกวีมหากาพย์ศตวรรษที่ ๕ มหาวงศ์ (บาลี: Mahāvaṃsa) และทีปวงศ์ (บาลี: Dīpavaṃsa) เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ บันทึกเหตุการณ์ในยุคต้นของลังกาทวีป หรือศรีลังกา รจนาขึ้นเมื่อราวศตวรรษที่ ๕ โดยใช้ข้อมุลจากพงศาวดาร และตำราต่าง ๆ ในอนุราธปุระมหาวิหาร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

เนื้อหาในคัมภีร์มหาวงศ์ กล่าวถึงตั้งแต่เมื่อครั้งเจ้าชายวิชัย (อังกฤษ: Prince Vijaya, สิงหล: විජය කුමරු) เสด็จจากชมพูทวีปถึงลังกา ปราบชนพื้นเมือง (โดยมีนางกุเวนี เป็นผู้นำชนพื้นเมืองในขณะนั้น) แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองลังกา เริ่มวงศ์กษัตริย์ตัมรปาณิ (อังกฤษ: Tamraparni) จากนั้นพรรณนาวงศ์กษัตริย์ต่าง ๆ พร้อมกับเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาในลังกาควบคู่กันไป


วัดพระเขี้ยวแก้ว

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

ด้านหน้าของหมู่พระวิหาร ที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวาของพระพุทธเจ้า ในวัดศรีทัลฒามัลลิกาววิหาร แหล่งมรดกโลกของเมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา

วัดศรีทัลฒามัลลิกาววิหาร (อังกฤษ: Sri Dalada Maligawa, สิงหล: ශ්‍රී දළදා මාළිගාව) หรือวัดพระเขี้ยวแก้วเมืองแคนดี้ (อังกฤษ: Temple of the Sacred Tooth Relic of Kandy) เป็นวัดในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (สยามวงศ์) ตั้งอยู่ริมทะเลสาบแคนดี้ เมืองแคนดี้ (อังกฤษ: Kandy, ทมิฬ: கண்டி เสียงอ่านกัณฏิ , สิงหล: මහනුවර เสียงอ่านมหนุวระ ) เป็นวัดที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวาของพระพุทธเจ้า และมีส่วนให้เมืองแคนดี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site) ของยูเนสโก (UNESCO ชื่อเต็ม: องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ, อังกฤษ: United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization)

วัดพระเขี้ยวแก้ว สร้างโดยพระเจ้าวิมลธรรมสุริยะที่ ๑ (อังกฤษ: Vimaladharmasuriya I of Kandy) พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุดท้ายของประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ. ๒๑๓๘ โดยตัววัดตั้งอยู่ในพื้นที่ ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังโบราณ เนื่องจากความเชื่อของชาวสิงหล ที่ว่า ผู้ที่รักษาพระเขี้ยวแก้วไว้ย่อมมีสิทธิชอบธรรมในการเป็นเจ้าปกครองอาณาจักรมาแต่โบราณ

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

พระเขี้ยวแก้วจำลอง (พระบรมธาตุส่วนไม่แตกกระจาย) ในพิพิธภัณฑ์เมืองโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา

พระเขี้ยวแก้ว (อังกฤษ: Relic of the tooth of the Buddha, บาลี: danta dhātuya) คือพระทันตธาตุ ส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตามลักขณสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ได้กล่าวถึงมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษ ความว่า

สุสุกฺกทาโฐ เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์

จากข้อความที่ยกมาอ้างอิงนี้ จึงทำให้เชื่อกันว่าพระเขี้ยวแก้ว มีทั้งหมด ๔ องค์

  • พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ท้าวสักกะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
  • พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา ประดิษฐานที่แคว้นกลิงคะ แล้วจึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ลังกาทวีป (วัดพระเขี้ยวแก้ว ประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน)
  • พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ แล้วเชื่อว่าถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เมืองฉางอัน ประเทศจีน โดยพระภิกษุฟาเหียนเมื่อคราวจาริกไปสืบพระศาสนายังอินเดีย ปัจจุบัน พระเขี้ยวแก้วองค์นี้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง
  • พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ประดิษฐานในภพพญานาค

เป็นที่เชื่อกันว่า บนโลกมนุษย์ของเรานี้ มีพระเขี้ยวแก้วขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ ๒ องค์ นอกจากนี้ พระเขี้ยวแก้วยังจัดเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แยกกระจัดกระจาย องค์มีลักษณะแข็งแกร่งรวมกันแน่น พุทธศาสนิกชนจึงมีความศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระเขี้ยวแก้วเป็นอย่างมาก

การมาถึงเกาะลังกาของพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว)

พระเถระ ของ ไทย รูป ใดที่เดินทางไปเผยแผ่ พระพุทธ ศาสนา และตั้ง สยามนิกาย ขึ้นในประเทศ ศรี ลังกา

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดเกลานิยาราชมหาวิหาร (อังกฤษ: Kelaniya Raja Maha Vihara or Kelaniya Temple) เมืองโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา (ในภาพ) พระราชโอรสเขยทันตกุมาร และเจ้าหญิงเหมมาลา นำพระเขี้ยวแก้วซ่อนในมวยผม เสด็จหนีลงเรือไปลังกา ตามคำสั่งเสียของพระเจ้าคูหสีวะ หลังปราชัยต่อข้าศึก และสิ้นพระชนมชีพกลางสนามยุทธ์

กล่าวกันว่า ภิกษุผู้หนึ่งชื่อเขมะ เป็นสาวกแห่งพระพุทธเจ้า ได้ทำพระทันตธาตุออกจากเชิงตะกอน แล้วถวายแด่พระเจ้าพรหมทัต พระเจ้ากรุงกลิงคะ ในพระนครทันตปุระ พระเจ้าแผ่นดินได้สร้างวิหารหุ้มด้วยทองประดิษฐานไว้เป็นที่นมัสการมาหลายชั่วบุรุษ

ภายหลังพระทันตธาตุนั้นตกไปยังกรุงปาฏลีบุตร ได้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์เป็นหลายประการ เมื่อทิ้งลงในหน้าเตาเพลิง ก็บันดาลมีดอกบัวขึ้นมารับ ได้ทดลองประหารลงที่หน้าแผ่นเหล็ก ก็ปรากฏติดอยู่ในแผ่นเหล็ก ไม่มีผู้ใดจะนำออกได้ จนสุภัทรภิกษุ มาเชิญออก จึงออกได้ พระเจ้าคูหสีวะ (อังกฤษ: Guhasiva) เจ้ากรุงกลิงคะ จึงได้เชิญพระทันตธาตุนั้นคืนยังพระนครประดิษฐานไว้ในวิหารเก่า เมื่อมีกองทัพมาประชิดพระนคร พระเจ้าคูหสีวะเสด็จออกทำสงคราม จึงสั่งพระราชโอรสเขยผู้มีนามว่าทนตกุมาร ผู้เป็นสามีของนางเหมมาลา ราชธิดา ว่า ถ้าหากพระองค์ปราชัยสิ้นพระชนมชีพในกลางสนามยุทธ์ ให้เชิญพระทันตธาตุนี้ไปยังพระเจ้ากรุงสิงหล ครั้นเมื่อพระองค์ปราชัยสิ้นพระชนมชีพในกลางศึก พระราชโอรสเขยแลพระราชธิดาก็ปลอมพระองค์เชิญพระทันตธาตุไปด้วย เมื่อพบศัตรู นางเหมมาลาก็ซ่อนไว้ในพระเมาลี ครั้นเมื่อมาถึงกรุงตมลิตถีก็โดยสารเภตราไปยังกรุงลังกา

พระทันตธาตุถึงกรุงลังกาเป็นเวลารัชกาลของพระเจ้ากฤติสิริเมฆวัณณะ (อังกฤษ: Sirimeghavanna of Anuradhapura) แห่งอนุราธปุระ ซึ่งประมาณว่าได้ขึ้นดำรงราชย์ในพุทธศักราช ๘๔๒ ก่อนจุลศักราช ๓๔๐ ปี สิ้นพระชนม์ในพุทธศักราช ๘๖๙ ก่อนจุลศักราช ๓๑๒ ปี ทรงกระทำสักการบูชาเป็นอันดี แลป้องกันรักษาโดยกวดขัน พระเขี้ยวแก้วจึงประดิษฐานอยู่ที่ลังกาตั้งแต่นั้นมา

ปัจจุบัน วัดพระเขี้ยวแก้วเป็นวัดที่อยู่ในความดูแลของพระมหาสังฆนายก สยามวงศ์ ซึ่งมีอยู่สองฝ่าย คือฝ่ายมัลลวัตตะ (คามวาสี) และอัสคิริยะ (อรัญวาสี) ซึ่งจะแบ่งกันปกครองรักษาพระเขี้ยวแก้วสลับกันทุกปี โดยพระเขี้ยวแก้วประดิษฐานในพระสถูปประดับอัญมณีขนาดใหญ่ซ้อนกันหลายชั้น ภายในพระคันธกุฎีวิหารที่มีการป้องกันรักษาเข้มงวดทั้งจากกองกำลังทหารซึ่งประจำการที่วัดและพระสงฆ์ ซึ่งพระสงฆ์จะกระทำพุทธบูชาเป็นประจำทุก ๆ วันในช่วงเช้า เที่ยง และเย็น

— — ที่มา: เรื่องพระเขี้ยวแก้ว พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จประพาสลังกาทวีป พ.ศ. ๒๔๔๐

ผู้ใดมีบทบาทสําคัญในการส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่างๆ

พระโสณะ และพระอุตตระได้เดินทางจากแคว้นมคธ เข้ามาประดิษฐานพระพุทธศาสนาดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณตอนกลางของไทยในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น

พระเถระ ที่นำคณะสงฆ์นิกายลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สุโขทัย คือใคร

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1822 - พ.ศ. 1841) ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย

พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศทิเบตสมัยใด

เดิมชาวทิเบตมีความเชื่อและนับถือผีสางเทวดา หรือเรียกว่า ลัทธิบอนโป ต่อมาพระพุทธศาสนาได้เริ่มเข้าสู่ประเทศทิเบตในสมัย พระเจ้าสรองสันคัมโป (ช่วง พ.ศ. ๑๑๖๐) โดยพระมเหสีทั้งสอง ของพระองค์ คือ พระนางเวนเชง กงจู๊ พระราชธิดาพระเจ้าถังไท่จง จากจีนและพระนางกฤกุฏีเทวีจากเนปาล เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ได้นำาพระพุทธรูปและคัมภีร์ ...

กษัตริย์พระองค์ใดริเริ่มการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่ประเทศต่าง ๆ

จักรพรรดิอโศก (/əˈʃoʊkə/; พราหมี: 𑀅𑀲𑁄𑀓, Asoka, IAST: Aśoka) หรือ อโศกมหาราช เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเมารยะ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย ตั้งแต่ ป. 268 ถึง 232 ปีก่อน ค.ศ. ท่านเป็นหลานของจันทรคุปต์ เมารยะ ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ และเป็นผู้มีบทบาทมากต่อการเผยแผ่ศาสนาพุทธไปทั่วเอเชียโบราณ และได้รับการยกย่องโดย ...

ผู้ใดมีบทบาทสําคัญในการส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่างๆ พระเถระ ที่นำคณะสงฆ์นิกายลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่สุโขทัย คือใคร พระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ประเทศทิเบตสมัยใด กษัตริย์พระองค์ใดริเริ่มการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปสู่ประเทศต่าง ๆ การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในครั้งแรก ศรีลังกา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย 4 ยุค พุทธศาสนิกชนกลุ่มแรกที่ช่วยกันจัดตั้งศูนย์พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา คือกลุ่มใด ที่ตั้งของประเทศไทยปัจจุบัน ครั้งพุทธกาลเรียกว่า ผู้มีบทบาทสําคัญ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศรีลังกา การเข้ามาของพระพุทธศาสนาในอินเดีย พระพุทธศาสนาในศรีลังกาปัจจุบัน