เครื่องดนตรี ไทย ชนิด ใด พัฒนา มา จาก เครื่องดนตรี ของจีน

ดนตรีจีน (Music of China)

 จีนเป็นประเทศในเอเซียตะวันออกที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากทำให้ภาษาพูดวัฒนธรรม และดนตรีมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ดนตรีในแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน   เสียงดนตรีของจีนคิดขึ้นมาอย่างมีระบบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง เสียงดนตรีของจีนเกิดขึ้นมาจากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง  เกิดจากการเป่าลมผ่านท่อไม้ไผ่ 1 ฟอน (ใบ) เสียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น มาจากการตัดไม้ไผ่ด้วยความยาวต่าง ๆ กัน โดยใช้ระบบการวัดที่มีอัตราส่วนแน่นอนเหมือนกับสูตรทางคณิตศาสตร์ จากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง จะนำไปสร้างให้เกิดเสียงต่าง ๆ อีกจนครบ 12 เสียง หรือ 12 ใบ นักวิชาการทางดนตรีเชื่อว่า เสียงทั้ง 12 เสียงของจีนที่เกิดขึ้นมานั้น มีความเกี่ยวพันกับราศี 12 ราศี เดือน 12 เดือน ชั่วโมงของเวลากลางวันและกลางคืน รวมทั้งการแบ่งเพศชายและหญิงด้วย ระบบเสียง 5 เสียง ที่พบในดนตรีจีนถือสารเลือกเสียง 12 เสียงที่เกิดขึ้น นำไปจัดรูปแบบใหม่ให้เป็นบันไดเสียงที่ต้องการเพื่อนำไปใช้สร้างเพลงต่าง ๆ ต่อไป

เครื่องดนตรีจีน (China Instruments)

เครื่องดนตรี ไทย ชนิด ใด พัฒนา มา จาก เครื่องดนตรี ของจีน
 

  • พิณพระจันทร์ (Ruan) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายดีด ชื่อภาษาจีนเรียกว่า หยวน ในสมัยโบราณมีชื่อว่า ผีผา ต่อมาพิณพระจันทร์ได้มีชื่อเรียกที่ชัดเจนขึ้นและรูปร่างแตกต่างจากผีผาอย่างชัดเจน ตามรูป รูปร่างปัจจุบันมี 3 แบบ คือ ต้าหยวน จงหยวนและเซี่ยวหยวน ตามลักษณะขนาดจากใหญ่ กลางและเล็ก ความโดดเด่นของเครื่องดนตรีชิ้นนี้คือได้รับฉายาว่า กีต้าร์จีน ซึ่งเสียงจะคล้ายๆกีต้าร์โปร่ง มีความสามารถในการบรรเลงเดี่ยวและเป็นเสียงผสานในวงดนตรีจีนอีกด้วย

เครื่องดนตรี ไทย ชนิด ใด พัฒนา มา จาก เครื่องดนตรี ของจีน

  • เอ้อหู หรือ ซออู้ (Erhu) เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทสีที่มีชื่อเสียง เริ่มมีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง(คริสต์ศตวรรษที่7-คริสต์ศตวรรษที่10) เวลานั้นเอ้อหูเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นในหมู่ชนชาติส่วนน้อยที่พำนักอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในประวัติวิวัฒนการนานกว่า 1,000 ปีนั้น ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบในวงงิ้วโดยตลอด ซอสองสายมีโครงสร้างง่ายมาก มีคันซอที่ทำด้วยไม้ด้ามเล็กๆ ยาวประมาณ 80 ซม. บนคันซอมีสายซอ 2 สาย ใต้คันมีกระบอกเสียงของซอรูปร่างแบบถ้วยน้ำชา นอกจากนี้ ยังมีคันซักซอที่ทำด้วยหางม้า เวลาบรรเลง ผู้บรรเลงจะใช้ท่านั่ง มือซ้ายถือตัวซอ มือขวาถือคันซักซอ ระดับเสียงของซอสองสายจะกว้างถึง 3 ช่อง เสียงของซอสองสายสามารถแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกได้เต็มเปี่ยม ซอสองสายมีเสียงคล้ายเสียงคน จึงเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเหมือน การร้องเพลง บางคนขนานนามว่าเป็น“ไวโอลินจีน” เนื่องจากเสียงซอมีความเศร้าในตัว จึงมักเอามาบรรเลงเพลงที่เน้นอารมณ์ซาบซึ้ง หลังปีค.ศ. 1949 การผลิต ปรับปรุงและเทคนิคการบรรเลงซอ ได้รับการพัฒนาอย่างมาก ซอสองสายสามารถบรรเลงเดี่ยว และยังสามารถบรรเลงประกอบเพลงระบำ งิ้วและเพลงปกิณกะ ในวงดนตรีประเภทปี่และซอของจีน ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก เท่ากับเครื่องไวโอลินในวงดนตรีตะวันตก เนื่องจากวิธีการผลิตซอสองสายง่าย เรียนเป็นเร็วและฝึกง่าย ทั้งมีเสียงใสไพเราะ จึงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวจีนทั่วไป

เครื่องดนตรี ไทย ชนิด ใด พัฒนา มา จาก เครื่องดนตรี ของจีน

  • กู่เจิง (Gu – Zhing หรือ Guzheng)เป็นเครื่องสายดีดโบราณของจีนซึ่งมีประวัติยาวนานประมาณ 2500 ปี โดยเริ่มแรกจากสมัยจ้านกั๋ว เป็นเครื่องดนตรีเมืองฉิน(ปัจจุบันคือเมืองสั่นซี) ชื่อกู่เจิงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่เวลาดีดจะมีเสียง “zheng zheng” ในสมัยก่อนเรียกว่า เจิ้น คำว่ากู่หมายถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและสะท้อนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนโบราณ เมื่อ 2500 ปีก่อน ทำจากไม้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงสมัยฮั่นเป็น 12 สาย สมัยถานและซ้งเป็น 13 สาย สมัยชิงเป็น 16สายจนถึง ค.ศ. 1960 ได้พัฒนาเป็น 18 21 23 และ 26 แต่ส่วนมากปัจจุบันนิยมใช้ 21

เครื่องดนตรี ไทย ชนิด ใด พัฒนา มา จาก เครื่องดนตรี ของจีน

  • ขิมหยาง (Yangqin หรือ Yang Ch’in)  หรือ “ขิมฝรั่ง” เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่งของจีน มีเสียงบรรเลงที่ชัดและเพราะ สามารถแสดงได้หลากหลายทั้งบรรเลงเดี่ยว บรรเลงพร้อมกัน หรือบรรเลงประกอบการร้องเพลงหรือการแสดงงิ้วเป็นต้น มีบทบาทสำคัญมากในการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและในวงดนตรีชนชาติ

เครื่องดนตรี ไทย ชนิด ใด พัฒนา มา จาก เครื่องดนตรี ของจีน

  • ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ได้รับความนิยมในจีน เนื่องจากทำด้วยไม้ไผ่ธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า“ขลุ่ยไม้ไผ่” แม้ว่าขลุ่ยมีขนาดเล็กและง่ายๆ แต่มีประวัติยาวนานถึงเจ็ดพันปี ประมาณสี่พันห้าร้อยกว่าปีก่อน ขลุ่ยเริ่มทำด้วยไม้ไผ่แทนกระดูก สมัยฮั่นอู่ตี้เมื่อปลายศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสกาล ขลุ่ยชื่อว่า“เหิงชุย(แปลว่าเป่าตามขวาง)” มีบทบาทสำคัญมากในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าสมัยนั้น นับตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ดเป็นต้นมา ขลุ่ยมีการปรับปรุงอย่างมาก ได้เพิ่มรูเยื่อ ทำให้การแสดงออกของขลุ่ยได้รับการพัฒนาอย่างมาก ฝีมือการเป่าขลุ่ยก็พัฒนาไปถึงระดับที่สูงมาก จนถึงศตวรรษที่สิบ พร้อมๆกับบกกวีซ่งและกลองงิ้วสมัยหยวน ขลุ่ยได้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการบรรเลงประกอบเสียงในงิ้วพื้นเมืองและวงงิ้วชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ขลุ่ยก็เป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้