องค์ประกอบหลักของโลจิสติกส์ 4 ด้านได้แก่อะไรบ้าง

การวางแผนโลจิสติดส์

บทนำ

การวางแผนโลจิสติกส์ เป็นการศึกษาถึงแนวคิดการวางแผนทรัพยากรล่วงหน้าด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมแต่ละประเภท เพื่อให้สามารถออกแบบผังการไหลของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการวางแผนโลจิสติกส์จึงมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาและความเข้าใจให้ถูกต้อง 5 ประการ นั่นคือ โครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐาน การจัดการการเคลื่อนย้ายสินค้า กระบวนการอุปทานโลจิสติกส์ระดับการวาแผนโลจิสติกส์ และการบูรณาการองค์ประกอบโลจิสติกส์

นอกจากนี้ การวางแผนโลจิสติกส์ยังหมายความรวมถึง การพยากรณ์เกี่ยวกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการประเมินผลและทบทวนความถูกต้องของแผนโลจิสติกส์ในแต่ละระดับที่ได้วางไว้ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวอีกด้วยโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ธุรกิจ         

โครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐานขององค์กรหนึ่ง จะเกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายทั้งในด้านเนื้องานและการให้ความสำคัญต่อกิจกรรมนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ โครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐานของแต่ละองค์กรจึงมีลักษณะเฉพาะตัว

อย่างไรก็ตาม รูปแบบโลจิสติกส์ขององค์กรก็ล้วนแต่เริ่มต้นจากองค์ประกอบของโครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐาน นั้นคือ กิจกรรมเบื้องต้น ตั้งแต่การจัดเก็บสินค้า การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างกิจกรรมพื้นฐาน จากนั้นก็ไปสู่การเคลื่อนที่สินค้า และสิ้นสุดที่การสร้างอรรถประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรายละเอียดจะได้อธิบายต่อไป

องค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์

การเรียนรู้และทำความเข้าใจองค์ประกอบของโครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐานนั้น นับเป็นก้าวแรกในการวางแผน

โลจิสติกส์ เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอยู่ในโครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐานนั้น จะบอกได้ว่าองค์กรควรจะมีการวางแผนโลจิสติกส์ในแต่ละกิจกรรมย่อยอย่างไร และควรเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดภาพรวมของแผนโลจิสติกส์ทั่วทั้งองค์กรนั้นอย่างไร ซึ่งองค์ประกอบของโครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐานที่สำคัญ มีดังนี้

1.กิจกรรมเบื้องต้นโดยความหมายในที่นี้หมายถึง กระบวนการต่างๆ ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ นับตั้งแต่กระบวนการดำเนินงานก่อนการผลิต ประกอบ แปรสภาพ ไปจนถึงกระบวนการสุดท้ายจนกระทั่งสำเร็จออกมาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ซึ่งกิจกรรมเบื้องต้นต่างๆ จะถูกระบุภายใต้กรอบสี่เหลี่ยมต่างๆ ของแผนผังโครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐาน

2. กิจกรรมการจัดเก็บสินค้าคงคลัง การจัดเก็บสินค้าคงคลัง/วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ผู้วางแผนโลจิสติกส์ต้องคำนึงถึงความสำคัญ เนื่องจากโลจิสติกส์ที่ดีต้องสนับสนุนให้แผนการผลิตและแผนการจัดจำหน่ายให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและเหมาะสมในทุกช่วงเวลา ดังนั้น แผนโลจิสติกส์ที่ดีจึงจำเป็นต้องมีการคำนวณปริมาณสินค้า/วัตถุดิบที่จะทำการจัดเก็บไว้เพื่อป้องกันการหยุดชะงักของสายการผลิตอันเนื่องมาจากวัตถุดิบไม่เพียงพอ หรือเพื่อปกป้องกันกรณีการเสียโอการทางการขายเนื่องจากไม่มีสินค้า ณ ช่วงเวลานั้นๆ

นอกเหนือจากการคำนวณระดับสินค้า/วัตถุดิบคงคลังที่แม่นยำแล้ว ควรคำนึงถึงการเก็บรักษาคุณภาพสินค้า/วัตถุดิบ เพราะหากมีการคำนวณความต้องการใช้สินค้า/วัตถุดิบนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำแล้ว แต่วิธีการจัดเก็บสินค้า/วัตถุดิบเหล่านั้นไม่เหมาะสม ก็อาจเกิดความเสียหายต่อสินค้า/วัตถุดิบเหล่านั้นได้ ทำให้ไม่สามารถนำสินค้า/วัตถุดิบนั้นๆ ไปจำหน่ายหรือนำเข้าสู่สายการผลิตได้ ซึ่งก็จะนำไปสู่สภาวะการขาดแคลนสินค้า/วัตถุดิบเช่นกัน

ดังนั้น การกระจายสินค้า/วัตถุดิบในการวางแผนโลจิสติกส์ขององกรค์ จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งในด้านปริมาณที่ต้องสอดคล้องกับความต้องการใช้ของฝ่ายผลิต ตลอดจนจะต้องเหมาะสมกับพื้นที่ของศูนย์กระจายสินค้า และวิธีการขนย้าย ณ จุดที่จัดเก็บไปยังผู้บริโภค ซึ่งกิจกรรมการจัดเก็บจะถูกระบุภายในกรอบสามเหลี่ยม ณ ตำแหน่งต่างๆ ของแผนโครงสร้างโลจิสติกส์พื้นฐาน

3. กิจกรรมการเคลื่อนย้ายสินค้า กิจกรรมเคลื่อนย้ายสินค้านั้นสามารถพบได้ในทุกระบวนธุรกิจนั้นคือ นับตั้งแต่การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบจากผู้ค้าวัตถุดิบมายังโรงงานเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิต ไปจนถึงเมื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปออกมา แล้วเคลื่อนย้ายเพื่อนำออกสู่ตลาดการค้า และจัดส่งถึงมือลูกค้าทั้งในและต่างประเทศซึ่งตำแหน่งที่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าจะแสดงให้ทราบด้วยสัญลักษณ์รูปลูกศร ณ ตำแหน่งต่างๆ ของแผนผังโครงสร้างโลจิสติกส                                                                                                                                                           

1.2 รูปแบบการไหลของสินค้า
จากองค์ประกอบของโครงสร้างโลจิสติกส์ในหัวข้อที่ 1 เมื่อนำมาสร้างแผนผังการเคลื่อนย้ายของสินค้า ซึ่งในแต่ละองค์กรธุรกิจถ้ามีความสามารถในการสร้างรูปแบบการเคลื่อนย้ายของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องตลอดเวลานั้น ย่อมแสดงให้เห็นแนวโน้มของความได้เปรียบทางธุรกิจในด้านต้นทุนที่ต่ำลง อันจะนำไปสู่การสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย

รูปที่4.4 แสดงพื้นฐานการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บสินค้า และการเชื่อมโยงระหว่างองค์ประกอบของโครงสร้าง
โลจิสติกพื้นฐาน เพื่อทำให้เข้าใจถึงรูปแบบการเคลื่อนย้ายของสินค้าได้ง่ายขึ้น

1.3การไหลของสินค้าและการสร้างสรรค์ของอรรถประโยชน์
กระบวนการธุรกิจ สามารถเพิ่มอรรถประโยชน์หรือคุณค่าของซัพพลายเชนโดยรวม ตามที่กล่าวถึงในการอธิบายถึงมูลค่าของโลจิสติกส์ในบทที่ 2 สาระสำคัญของอรรถประโยชน์ 4 ประเภทคือ อรรถประโยชน์จากรูปแบบ อรรถประโยชน์จากสถานที่ อรรถประโยชน์จากเวลา และอรรถประโยชน์จากการครอบครอง อรรถประโยชน์จากเวลา และอรรถประโยชน์เหล่านั้นได้สร้างด้วยบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในองค์กร
                                                                                                                                                                       

1.       อรรถประโยชน์จากรูปแบบ สร้างสรรค์บทบาทนี้ด้วยการผลิตหรือการปฏิบัติการ อรรถประโยชน์จาดรูปแบบเป็นส่วนของซัพพลายเชน เมื่อนำเข้าพัสดุ วัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปสู่กระบวนการผลิต เพื่อเปลี่ยนสภาพจากรูปแบบหนึ่งสู่อีกแบบหนึ่งของสินค้า นี่เป็นส่วนที่นำพาวัตถุดิบสู่กระบวนการแปรรูป เช่น จากเหล็กหรือเหล็กแผ่น แล้วแปลงสภาพเป็นตัวถังรถยนต์หรือยานพาหนะต่างๆ เป็นต้น
2. อรรถประโยชน์จากสถานที่ การสร้างอรรถประโยชน์นี้ด้วยบทบาทของโลจิสติกส์ รวมทั้งข้อกำหนดที่มากยิ่งขึ้นโดยบทบาทการขนส่ง การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งตามอุปสงค์เพื่อการสร้างสรรค์อรรถประโยชน์จากสถานที่ ตัวอย่างเช่น น้ำมันที่ถูกกว่า ณ โรงกลั่นชายฝั่ง แต่มีคุณค่าน้อยสำหรับผู้บริโภคในเมืองถ้าไม่สามารถอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้มากกว่าที่อยู่ใกล้ถึงชายฝั่งทะเล การขนน้ำมันจากชายฝั่งทะเลจึงเป็นการสร้างอรรถประโยชน์จากสถานที่
ที่ตั้งละขนาดของคลังสินค้าเป็นส่วนบูรณาการเพื่ออรรถประโยชน์ด้านเวลาด้วย กลยุทธ์การกำหนดที่ตั้งของคลังสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างความมั่นใจในความต้องการด้านเวลาเพื่อเชื่อมโยงการกระจายสินค้าที่จำเป็นสู่ผู้บริโภค คลังสินค้ามีการเพิ่มสินค้าสำรองที่จำเป็นเพื่อมีไว้บริการความต้องการที่ผันผวนไม่แน่นอนในอนาคตความพร้อมของจำนวนสินค้าที่ถูกต้องในคลังสินค้าสามารถสนับสนุนและสร้างอรรถประโยชน์จากเวลาได้เป็นอย่างดี
คลังสินค้ามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพผลการนำสินค้าขึ้นลงในด้านเวลาโดยตรง ตัวอย่างเช่น การรับจำนวนคำสั่งซื้อขนาดใหญ่เปรียบเทียบกับขนาดของสินค้าที่สามารถกระจายสินค้าได้ สิ่งเหล่านี้อาจเกิดได้ทุกเวลา เช่น คำสั่งซื้อเหล็กเส้นที่เคลื่อนไปยังคลังสินค้าที่ท่าเรือโดยทางถนน แต่รถขนส่งสามารถบรรทุกได้ตามข้อจำกัดของน้ำหนักและพื้นที่เท่านั้น แต่ประหยัดได้ด้วยปริมาณการบรรทุกที่มากที่สุด คลังสินค้าจัดเตรียมสินค้าคงคลังสำรองเพื่อให้มั่นใจในอรรถประโยชน์จากเวลาที่มีอยู่จำกัด 
4. อรรถประโยชน์จากการครอบครอง อรรถประโยชน์จากกระบวนการเป็นการสร้างสรรค์ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่เปลี่ยนมือจากผู้ขายจนผู้บริโภค สิ่งนี้คือการบรรลุตลอดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคและบทบาทการขายของกระบวนการธุรกิจ ถ้าปราศจากรูปแบบ สถานที่ และเวลาแล้วอรรถประโยชน์จากครอบครองก็จะไม่เกิดขึ้น

องค์ประกอบหลักของโลจิสติกส์ 4 ด้านได้แก่อะไรบ้าง


องค์ประกอบของโลจิสติกส์ ได้แก่ข้อใด

การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนการเคลื่อนย้ายสินค้า จากแหล่งผลิตไปยังลูกค้าเป้าหมาย ณ สถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า โดยกิจกรรมทางการจัดการโลจิสติกส์ ประกอบด้วยกิจกรรม 5 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมทางด้านการบริหารจัดการการผลิต 2) การตลาดและการบริการลูกค้า 3) การจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ 4) การ ...

7r โลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง

1) Right Product สินค้าถูกต้อง ได้สินค้าตามที่ต้องการ 2) Right Quantity จำานวนสินค้าที่ถูกต้อง 3) Right Condition สภาพสินค้าถูกต้อง ไม่ชำารุดเสียหาย 4) Right Customer ส่งสินค้าถูกลูกค้า 5) Right Place ส่งสินค้าถูกสถานที่ 6) Right Time ส่งสินค้าในเวลาที่ถูกต้อง ตรงเวลาและทันเวลา 7) Right Cost บริหารต้นทุนที่ถูกต้อง ...

โลจิสติกส์มีทั้งหมดกี่กิจกรรม ประกอบด้วยอะไรบ้าง

กิจกรรมด้านโลจิสติกส์มีทั้งหมด 13 กิจกรรมด้วยกัน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นกิจกรรมหลักขององค์กร และกลุ่มที่เป้นกิจกรรมสนับสนุนการท างานขององค์กร กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักขององค์กรประกอบด้วย 8 กิจกรรม ส่วนที่เหลืออีก 5 กิจกรรมถือเป็นกิจรรมที่ช่วย สนับสนุนการด าเนินงานขององค์กร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

กิจกรรมหลักของโลจิสติกส์คืออะไร

โลจิสติกส์ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินค้า/วัตถุดิบ เคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บสินค้า และ การกระจายสินค้า ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะท างานในลักษณะบูรณาการกับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน กล่าวคือ โลจิสติกส์เปรียบเสมือนเป็นฟันเฟืองหลักที่ช่วยในการขับเคลื่อนการด าเนินงานต่างๆของห่วงโซ่อุปทานให้เคลื่อน หรือไหลจากจุดต้นทาง ...