การหุบหรือการบานของดอกบัวเป็นการตอบสนองแบบใด

การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช

สิ่งมีชีวิตจะดำรงชีพได้เป็นปกติปกติในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง  เช่น  มีการเปลี่ยนแปลงความชื้น และอุณหภูมิ  หรือการเกิดมลภาวะ  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นับเป็นสิ่งเร้าที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต  ทำให้สิ่งมีชีวิตมีการรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่างๆ เพื่อเป็นการหลีกหนีสิ่งเร้า  เมื่อสิ่งเร้านั้นเป็นโทษหรือเป็นอันตราย  หรืออาจเข้าหาสิ่งเร้าที่เป็นประโยชน์

  1. 1.               การเคลื่อนไหวเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก

สิ่งเร้าภายนอกที่พืชได้รับจะไปกระตุ้นให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตกระจายไปในส่วนต่างๆของพืชในปริมาณที่ไม่

เท่ากัน  มีผลทำให้เกิดการเคลื่อนไหว

1.1         การเคลื่อนไหวแบบนาสติก

การเคลื่อนไหวแบบนาสติก  เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า  ได้แก่ การหุบการบานของดอกไม้ ซึ่ง

เป็นการตอบสนองต่อการได้รับหรือไม่ได้รับแสง    ดอกบัวจะบานในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน  ส่วนดอกกระบองเพชรจะหุบในเวลากลางวันและบานในเวลากลางคืน

การหุบของดอกไม้  เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอกของกลีบดอกมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านใน

การบานของดอกไม้  เกิดจากกลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านในของกลีบดอกมีการเจริญเติบโตเร็วกว่ากลุ่มเซลล์ที่อยู่ด้านนอก

แสงเป็นสิ่งเร้า มากระตุ้นให้กลุ่มเซลล์ด้านนอกและด้านในมีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกัน  ซึ่งจะทำเกิดการหุบการบานของดอกไม้นอกจากแสงแล้วยังพบว่าการหุบการบานของดอกไม้สามารถถูกกระต้นให้เกิดการบานโดยสิ่งเร้าชนิดอื่นๆ ได้แก่  อุณหภูมิ สารเคมี  และการสัมผัส  เช่น  อุณหภูมิกระตุ้นการหุบการบานของดอกบัวสวรรค์   คือ  ดอกบัวสวรรค์จะบานเมื่ออุณหภูมิสูงและจะหุบเมื่ออุณหภูมิต่ำลง

1.2         การเคลื่อนไหวแบบทรอปิก

การเคลื่อนไหวแบบทรอปิก  เป็นการเคลื่อนไหวที่มีความสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้าที่มากระตุ้นใน  2 ลักษณะ  คือ

การเคลื่อนไหวเข้าหาสิ่งเร้าและหนีจากสิ่งเร้า

  1. แสงเป็นสิ่งเร้า  เช่น  ยอดพืชเจริญเข้าแสง  รากพืชจะเจริญในทิศทางหนีแสง
  2. แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นสิ่งเร้า  เช่น  ลำต้นจะเจริญในทิศทางหนีแรงโน้มถ่วงของโลก  การงอก

ของรากเกิดในทิศทางเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก

  1. สารเคมีเป็นสิ่งเร้า  เช่น  การงอกหลอดเรณูเข้าไปในออวุลเข้าหาสารละลายน้ำตาลที่อยู่ภายในออวุล
  2. น้ำเป็นสิ่งเร้า  เช่น  รากของพืชจะเจริญในทิศทางเข้าหาน้ำหรือความชื้น
  3. 2.               การตอบสนองสิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง

2.1         การตอบสนองความยาวคลื่นของแสง

แสงสีขาวที่เรามองเห็นสามารถแยกเป็นแถบสีต่างๆ 7 สี  เมื่อผ่านปริซึม  ได้แก่ สีแดง  แสด  เหลือง  เขียว  น้ำเงิน  คราม

และม่วง  ทั้งนี้สีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุด และสีม่วงมีความยาวคลื่นน้อยสุด  แสงที่รงควัตถุของพืชสามารถดูดได้ดีที่สุดคือแสงสีม่วงและสีน้ำเงิน  ดั้งนั้นพืชจึงมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงในช่วงแสงสีม่วงและแสงสีน้ำเงิน

2.2         การตอบสนองความเข้มของแสง

ปกติความเข้มของแสงสูงจะทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มขึ้น แต่ถ้าพืชรับแสงที่มีความเข้มของแสงมากเกินไปจะ

ไปกระตุ้นให้คลอโรฟีลล์เกิดปฏิกิริยาเคมี  ทำให้สีจางลงและยับยั้งการทำงานของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  สำหรับพืชซึ่งขึ้นอยู่ในที่ร่มเงาหรือพืชขนาดเล็กซึ่งขึ้นอยู่ในป่าใหญ่จะถูกต้นพืชซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าบังแสง  พืชพวกนี้จึงปรับตัวให้สามารถใช้ความเข้มแสงต่ำได้

2.3         การตอบสนองต่ออุณหภูมิ

โดยทั่วไปพืชจะมีการสังเคราะห์ด้วยแสงที่อุณหภูมิประมาณ 10 – 15  องศาเซลเซียส  เพราะเป็นช่วงที่

เอนไซม์ทำงานได้ดี  แต่ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป  พืชจะไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้เพราะเอนไซม์ถูกทำลาย  และถ้าอุณหภูมิต่ำเกินไปก็มีผลให้พืชสังเคราะห์ได้น้อยลงเพราะประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ลดลง

การตอบสนองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ปกติในบรรยากาศจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ประมาณ  0.03 – 0.04 % ซึ่งมากเพียงพอกับความต้องการของพืช  แต่จะ

พบว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น  แต่ต้องไม่เกิน  0.10 %   พืชที่ปลูกในทุ่งกว้างจึงมีอัตราการสังเคราะหด้วยแสงที่ค่อนข้างจะต่ำกว่าพืชที่ปลูกในที่มีการจราจรคับคั่ง  ถ้าใบพืชไม่ถูกปกคลุมด้วยเขม่าและฝุ่นละอองเสียก่อน

  1. 3.               การเคลื่อนไหวของพืชเนื่องจากความเต่ง

3.1         การหุบและการกางของใบพืชตระกูลถั่ว

การบุบและการกางของใบพืชตระกูลถั่ว  เช่น  มะขาม  จามจุรี  พืชกลุ่มนี้มีกลุ่มเซลล์ลักษณะพิเศษอยู่ตรงก้านใบเรียกว่า

พัลไวนัส  ทำให้ก้านใบมีลักษณะพองออก  ภายในประกอบด้วยเซลล์ที่มีขนาดใหญ่  ผนังบางเมื่อรับน้ำเข้าไปจะทำให้เซลล์เต่ง ใบจะกางออก  ถ้าเซลล์เหล่านี้สูญเสียน้ำเซลล์ก็จะแฟบลง ทำให้ก้านใบหุบ  ทั้งนี้จะมีแสงเป็นสิ่งเร้ามากระตุ้น  เมื่อไม่มีแสงหรือเวลากลางคืน  เซลล์ที่เต่งจะสูญเสียน้ำให้กับเซลล์ข้างเคียงและทำให้ใบหุบ  เมื่อได้รับแสงในเวลากลางวัน  เซลล์จะได้รับน้ำกลับคืนมาจนเซลล์เต่งเต็มที่และทำให้ใบกางออก

3.2         การหุบและกางใบของพืชที่มีความที่มีความไวต่อสิ่งเร้าสูง

การหุบและกางใบของพืชที่มีความที่มีความไวต่อสิ่งเร้าสูง  เช่น  ไมยราบ  กาบหอยแครง  การเคลื่อนไหวนี้จะเกิดขึ้นทันทีที่

มีสิ่งเร้าจากภายนอกมาสัมผัส  โดยการกระทำของกลุ่มเซลล์พัลไวนัส

ไมยราบ  มีกลุ่มเซลล์พัลไวนัสทีโคนก้านใบ  เมื่อมีสิ่งเรามาสัมผัสโดนใบ  จะทำให้เซลล์ของกลุ่มเซลล์พัลไวนัสเสียน้ำให้กับเซลล์ข้างเคียง  ทำให้ก้านใบหุบลงพร้อมๆกับชักนำให้ใบย่อยอื่นๆหุบลงด้วย

กาบหอยแครง   มีลักษณะของการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้รวดเร็ว  เช่น  เมื่อมีแมลงมาสัมผัสส่วนของใบที่มีลักษณะคล้ายฝา  ฝานั้นจะถูกปิดเข้าหากันทันที

3.3         การเคลื่อนไหวของเซลล์คุม

จะเกิดขึ้นโดยเมื่อมีแสงสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น  ทำให้พืชเกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีน้ำตาลสะสม

อยู่ภายในเซลล์คุมมาก  ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายน้ำตาลในเซลล์สูงกว่าความเข้มข้นของสารในเซลล์ที่อยู่ข้างเคียง  น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึงแพร่เข้ามาสู่เซลล์คุมจนเซลล์คุมเต่งเต็มที่  แต่เนื่องจากผนังของเซลล์คุมมีความหนาไม่เท่ากัน  คือผนังด้านที่ติดอยู่กับปากใบจะหนากว่าด้านอื่น  ทำให้ผนังเซลล์โก่งตัวออกไปด้านข้าง  ส่งผลให้ปากใบที่อยู่ระหว่างเซลล์คุมเปิด  เรียกว่า  ปากใบเปิด  ในทางกลับกันเมื่อพืชไม่ได้รับแสง  จึงไม่เกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  น้ำตาลในเซลล์คุมลดน้อยลง  ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายน้ำตาลในเซลล์คุมกว่าความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์ที่อยู่ข้างเคียง  เซลล์คุมจะสูญเสียน้ำออกไปให้เซลล์ข้างเคียง  เซลล์คุมจึงเหี่ยวทำให้ปากใบที่อยู่ระหว่างเซลล์คุมปิด เรียกว่า  ปากใบปิด