ต่างชาติถือหุ้นไทย เท่า ไหร่

จากบทความก่อนหน้านี้เรา ได้อธิบายถึง “จดบริษัท ทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ดี” ทางผู้อ่านก็น่าจะเข้าใจในส่วนของเรื่อง ทุนจดทะเบียน ไปพอสมควร แต่ว่าหากต้องการจดทะเบียนบริษัทที่มีต่างชาติมาถือหุ้นด้วยละ ทุนจดทะเบียนต้องเท่าไหร่ และมีอะไรที่ต่างจากการ จดทะเบียนบริษัททั่วไปยังไง ทางเรา Forward จะได้สรุปข้อกฎหมายมาอธิบายให้ผู้ประกอบการที่กำลังจะจดทะเบียนที่มีต่างชาติถือหุ้นด้วย ได้เข้าใจกันแบบง่ายๆกันนะครับ

จดทะเบียนบริษัท มีต่างชาติ ถือหุ้นด้วย ต่างจาก จดทะเบียนทั่วไปยังไง

ตรงนี้ต้องขอบอกว่า มีข้อแตกต่างและเงื่อนไขหลายๆ อย่างอยู่เหมือนกันครับ ทางเราจึงขออธิบายเป็นข้อๆนะครับ

1 . มีต่างชาติถือหุ้นสามารถจดทะเบียนบริษัทได้ไหม

มีต่างชาติถือหุ้นด้วย สามารถจดได้ครับ แต่ว่าชาวต่างชาติจะสามารถถือหุ้นได้สูงสุดที่ 49% เท่านั้น !! แต่หากชาวต่างชาติต้องการถือหุ้นมากกว่า 49% หรือตั้งแต่ 50% ขึ้นไป อาจจะเข้าข่ายของการ บริษัทต่างด้าว ซึ่งจะต้องขอใบประกอบธุรกิจของต่างด้าว และจะมีรายละเอียดของเงื่อนไขธุรกิจที่ไม่สามารถจดได้ สามารอ่านเพิ่มเติมตรงนี้ (Click)

2 . ทุนจดทะเบียนต่างจากทุนจดทะเบียนบริษัททั่วไปไหม

ถ้าหากชาวต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% ถือว่าเป็นบริษัทไทยครับ เรื่องของทุนจดทะเบียนจึงไม่แตกต่างกัน หากผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติต้องการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ จะต้องไปขอ visa work permit แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องมีชาวไทยที่ทำงานในบริษัท 4 คน ต่อชาวต่างชาติ 1 คน ที่ขอ visa work permit (รายละเอียดการขอ visa work permit คลิ๊ก) หรือ ผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติถือหุ้นตั้งแต่ 50% ขึ้นไป ถือว่าเป็นบริษัทต่างด้าว หากเข้าเงื่อนไขข้างต้น ทุนจดทะเบียนบริษัทขั้นต่ำต้อง เริ่มที่ 2 ล้านบาท และหากเป็นธุรกิจที่อยู่ในพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำต้องเริ่มที่ 3 ล้านบาทครับ

3 . หากบริษัทมีผู้ถือหุ้นชาวต่าชาติ จะต้องยื่นเอกสารอะไรเพิ่มเติมไหม

จะมีในส่วนของเอกสาร bank statement ซึ่งผู้ถือหุ้นชาวไทยจะต้องขอหนังสือยืนยอดจากธนาคาร โดยจะต้องมีการระบุยอดเงิน ณ วันที่ขอ เท่ากับ หรือมากกว่า มูลค่าของหุ้นที่ถือนะครับ และผู้ถือหุ้นชาวไทยจะต้องขอหนังสือยืนยันยอดจากธนาคาร ภายใน 7 วัน ก่อนวันประชุมจัดตั้งบริษัท ด้วยนะครับ

ข้อสังเกตุ : หากทุนจดทะเบียนบริษัท ตั้ง 5,000,001 ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็น บริษัทไทย หรือ บริษัทต่างด้าว ผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องแสดงหนังสือยืนยันยอดจากธนาคารทุกท่าน

เพิ่มเติม : การขอหนังสือยืนยันยอดจากธนาคาร สามารถขออย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

  • สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
  • เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น
  • สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น

ต่างชาติถือหุ้นไทย เท่า ไหร่

หากอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้ประกอบการหลายๆท่าน กำลังจะจดทะเบียนบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติด้วย ก็พอจะได้ความรู้จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย และขอบคุณผู้ที่ติดตามเรา ทางเรา Forward จะพยามเขียนบทความเกี่ยวกับ บัญชี ภาษี เพื่อผู้ประกอบการรุ่นใหม่หรือใครที่ยังไม่เข้าใจดีพอ ได้เข้าใจ และได้ประโยชน์จากตรงนี้มากที่สุดนะครับ

กรณีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือในกรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนแต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจในการทำการแทนบริษัทจำกัด ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนสอดคล้องกับเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละรายอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนหรือ
  • เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองฐานะการเงินของผู้ถือหุ้นหรือ
  • สำเนาหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น
ต่างชาติถือหุ้นไทย เท่า ไหร่
ตัวอย่างหนังสือรับรอง

*กรณีที่กรรมการต่างชาติมีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียนให้แนบสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการท่านนั้นมาเป็นเอสารประกอบการจดทะเบียน

*** จดทะเบียนบริษัทที่จังหวัดใด ในช่องของ เรียน นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (ตามด้วยชื่อจังหวัดที่จดทะเบียนบริษัท) ให้ใส่ชื่อจังหวัดนั้นๆ

เอกสารประกอบคำขอ

บุคคลธรรมดา
1) แบบ ต. 2
2) สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
3) สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
4) คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
5) หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
6) แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
7) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
8) หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
1) แบบ ต. 2
2) สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
3) หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้แต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินกิจการในประเทศไทยแทนนิติบุคคล
4) สำเนาหนังสือเดินทาง ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง
5) สำเนาทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง
6) คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
7) หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
8) แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
9) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน
10) หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
1) แบบ ต. 2
2) สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
3) คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
4) หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
5) หนังสือแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าว จำนวนหุ้น ประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างด้าวถือ
6) แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
7) หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน
8) หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจ บางประเภท และบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองแล้วแต่กรณี

1. อย่างไรถือว่าเป็นคนต่างด้าว
บุคคลเหล่านีถื้อว่าเป็นคนต่างด้าว
(1) บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย
(2) นิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
(3) นิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตัง้ แต่กึ่งหนึ่งเป็นของบุคคลหรือนิติบุคคลตาม (1) หรือ (2)
(4) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่มีทุนตัง้ แต่กึ่งหนึ่งเป็นของ (1) (2) หรือ (3)

2. ประเภทธุรกิจที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว แยกเป็ น 3 บัญชี คือ
(1) บัญชีหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ
(1) การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
(2) การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน
(3) การเลีย้ งสัตว์
(4) การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
(5) การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์นำ้ ในน่านนำ้ ไทยและในเขตเศรษฐกิจ จำเพาะของประเทศไทย
(6) การสกัดสมุนไพรไทย
(7) การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ของประเทศ
(8) การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
(9) การค้าที่ดิน
(2) บัญชีสอง ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศหรือมีผลกระทบ ต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพืน้ บ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
หมวด 1 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ
(1) การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุง
(ก) อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ดินปืน วัตถุระเบิด
(ข) ส่วนประกอบของอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด
(ค) อาวุธยุทโธปกรณ์ เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะทางการทหาร
(ง) อุปกรณ์หรือส่วนประกอบของอุปกรณ์สงครามทุกประเภท
(2) การขนส่งทางบก ทางนำ้ หรือทางอากาศในประเทศ รวมถึงกิจการการบิน ในประเท
หมวด 2 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพืน้ บ้าน
(1) การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นงานศิลปกรรม หัตถกรรมของไทย
(2) การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก
(3) การเลีย้ งไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลาย ผ้าไหมไทย
(4) การผลิตเครื่องดนตรีไทย
(5) การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม เครื่องทองลงหิน หรือเครื่องเขิน
(6) การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย
หมวด 3 ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม
(1) การผลิตนำ้ ตาลจากอ้อย
(2) การทำนาเกลือ รวมทัง้ การทำเกลือสินเธาว์
(3) การทำเกลือหิน
(4) การทำเหมือง รวมทั้งการระเบิดหรือย่อยหิน
(5) การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย
(3) บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับ คนต่างด้าวคนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(1) การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
(2) การทำการประมง เฉพาะการเพาะเลีย้ งสัตว์นำ้
(3) การทำป่าไม้จากป่าปลูก
(4) การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด หรือฮาร์ดบอร์ด
(5) การผลิตปูนขาว
(6) การทำกิจการบริการทางบัญชี
(7) การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
(8) การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
(9) การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
(10) การก่อสร้าง ยกเว้น
(ก) การก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นการให้บริการพืน้ ฐานแก่ประชาชนด้านการ สาธารณูปโภคหรือการคมนาคมที่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี หรือความชำนาญในการก่อสร้างเป็นพิเศษโดยมีทุนขัน้ ต่ำของคนต่างด้าวตัง้ แต่ห้าร้อยล้านบาทขึน้ ไป
(ข) การก่อสร้างประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(11) การทำกิจการนายหน้าหรือตัวแทน ยกเว้น
(ก) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซือ้ ขายหลักทรัพย์หรือการบริการที่เกี่ยวกับการซือ้ ขายล่วงหน้าซึ่งสินค้าเกษตรหรือตราสารทางการเงินหรือ หลักทรัพย์
(ข) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซือ้ ขายหรือจัดหาสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการผลิตหรือการให้บริการของวิสาหกิจในเครือเดียวกัน
(ค) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนซือ้ ขาย จัดซือ้ หรือจัดจำหน่ายหรือจัดหา ตลาดทัง้ ในประเทศและต่างประเทศเพื่อการจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ผลิต ในประเทศหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ
อันมีลักษณะเป็นการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ โดยมีทุนขัน้ ต่ำของคนต่างด้าวตัง้ แต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึน้ ไป
(ง) การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(12) การขายทอดตลาด ยกเว้น
(ก) การขายทอดตลาดที่มีลักษณะเป็นการประมูลซือ้ ขายระหว่างประเทศ ที่มิใช่การประมูลซือ้ ขายของเก่า วัตถุโบราณ หรือศิลปวัตถุซึ่งเป็นงาน ศิลปกรรม หัตถกรรม หรือโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ของประเทศ
(ข) การขายทอดตลาดประเภทอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(13) การค้าภายในเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลทางการเกษตรพืน้ เมืองที่ยังไม่มี กฎหมายห้ามไว้ยกเว้นการซือ้ ขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย โดยไม่มีการส่งมอบหรือรับมอบสินค้าเกษตรภายในประเทศ
(14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขัน้ ต่ำรวมทัง้ สิน้ น้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือที่มีทุนขัน้ ต่ำของแต่ละร้านค้า น้อยกว่ายี่สิบล้านบาท
(15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขัน้ ต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
(16) การทำกิจการโฆษณา
(17) การทำกิจการโรงแรม เว้นแต่บริการจัดการโรมแรม
(18) การนำเที่ยว
(19) การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
(20) การทำกิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพันธ์ุพืช
(21) การทำธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กำหนดในกฎกระทรวง

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

มาดูกันตั้งแต่เริ่มแรกการเปิดบริษัทใหม่ การจดทะเบียนบริษัทอาจจะไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่มีเอกสารที่ต้องจัดทำค่อนข้างมาก และปัจจุบันทางกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเปลี่ยนให้การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสามารถจดในวันเดียวกันได้ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้สั้นลง นอกจากนี้ยังลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจาก 7 คนลดเหลือ 3 คน แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเรื่องเอกสารที่ต้องจัดทำยังเหมือนเดิมทุกอย่าง

1. ผู้ก่อการยื่นขอตรวจและจองชื่อบริษัท ด้วยแบบจองชื่อนิติบุคคล( จำหน่ายที่กรมทะเบียนการค้าราคาแผ่นละ 5 บาท) เพื่อตรวจสอบว่าชื่อที่จะใช้นั้นจะเหมือนหรืคล้ายกับชื่อที่คนอื่นได้จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ โดยยื่นแบบจองชื่อดังกล่าวแก่นายทะเบียนผู้ตรวจสอบชื่อ และปัจจุบันสามารถจองชื่อผ่านทางอินเตอร์เนตทางเว็บไซต์ http://www.chonlatee.com ซึ่งจะทราบผลในวันถัดไปโดยจะแจ้งผลการจองชื่อผ่านทาง e-mail ของผู้จองชื่อนั้น เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วัน

2. เมื่อได้ชื่อแล้ว บุคคลซึ่งเป็นผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ์และเอกสารประกอบแล้วนำไปจดทะเบียน

3. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้ก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่คิดจะจัดตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ

4. ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม

5. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป

6. กรรมการบริษัทจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้ขอจองหุ้น ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น

7. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและเอกสารประกอบ นำไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน หลังจากการประชุมตั้งบริษัท

 

ต่างชาติถือหุ้นไทย เท่า ไหร่

 

พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่

ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก
ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม

 

พิเศษ !!!  ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี
  • ออกแบบเว็บไซต์ลดพิเศษเหลือ 3,500 บาท
  • ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท พร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
  • ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
  • ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
  • ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์
  • ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
  • ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ

 

การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

ข้อมูลที่ต้องใช้

ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ผู้ขอจดทะเบียนบริษัทจะต้องเตรียมข้อมูลดังต่อไปนี้ เพื่อกรอกในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบการจดทะเบียนบริษัท
1. ชื่อของบริษัท
2. ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ( ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด )
3. วัตถุประสงค์ของบริษัท
4. ทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้น มูลค่าหุ้น
5. ชื่อ ที่อยู่ อายุ อาชีวะ จำนวนหุ้นของผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
6. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
7. อากรแสตมป์ 200 บาท

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ผู้เริ่มก่อการทุกคนจะต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง โดยเฉพาะผู้เริ่มก่อการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียน จะต้องมาลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียนพร้อมแสดงบัตรประจำตัว หรือลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ในท้องถิ่นที่ผู้ลงลายมือชื่อมีภูมิลำเนา หรือสามัญสมาชิกหรือวิสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาก็ได้

ซึ่งรายละเอียดดังกล่าว ทางบริษัท ชลธี บิสซิเนส กรุ๊ป จำกัด จะเป็นผู้ดำเนินการแทนท่าน เพียงแต่ท่านจะต้องเตรียมการข้อมูลดังต่อไปนี้ มายังทางบริษัทฯ

ต่างชาติถือหุ้นไทย เท่า ไหร่
1.คิดชื่อเพื่อทำการจองชื่อนิติบุคคล ให้คิดเผื่อไว้ 2-3 ชื่อ กันชื่อซ้ำ ทั้งภาษาไทย และ English เว้นวรรคตามต้องการ เช่น ควิกแอคเคาท์ติ้ง/Quick Accounting หรือ ชลธี การบัญชี/Chonlatee Accounting พร้อมทั้งข้อมูลบนบัตรประชาชน อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ของผู้จอง ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ทราบผลการจอง (กรณีให้บริษัทฯจองให้

2.หลังจากที่จองชื่อนิติบุคคลได้แล้ว ก็ต้องเตรียมเอกสาร และข้อมูลบริษัท เช่น วัตถุประสงค์ ทุนจดทะเบียน มูลค่าหุ้น

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้เริ่มก่อตั้ง อย่างน้อย 3 ท่าน (สำเนาต้องดูแล้วชัดเจน)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน ของสถานที่จัดตั้งบริษัท พร้อมแผนที่ตั้ง (สำนักงานใหญ่)
  • แบบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคล

3.ข้อมูลบริษัท (เพื่อใช้จัดเตรียมแบบจดทะเบียนบริษัท ใช้เวลา 1 ชั่วโมง กรณีให้บริษัทฯจัดทำ)

  • ผู้มีอำนาจลงนาม เช่น นาย ก และ นาย ข ลงนามพร้อมประทับตราสำคัญบริษัท
  • วัตถุประสงค์ บริษัท เช่น ประกอบกิจการ รับทำบัญชี วางระบบบัญชี ตรวจสอบบัญชี (ใส่ได้ไม่จำกัด)
  • การกำหนดมูลค่าหุ้นของบริษัท ต้องแบ่งเป็นหุ้น หุ้นละเท่าๆกัน เช่น ทุน1 ล้าน กำหนดหุ้นละ100บาท บริษัทจะมีหุ้นทั้งหมด 10,000 หุ้น

4.นำแบบจดทะเบียนบริษัทไปจดที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งมีบริการอยู่ 8 แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ ใช้เวลาประมาณ 1 วัน

สถานที่ยื่นขอจดทะเบียน

สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง รับผิดชอบการปฏิบัติงานการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดต่างๆทั่วราชอาณาจักรได้แก่