ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร

        ������¹�ү��Ż� ���繡��������ѡ�зҧ��ҹ�����ؤ�ԡ�Ҿ����Դ��������ͧ ��ʧ�� ����繷���蹪����龺��� �·�������¹�Ф�������Ѻ�ѡ�й���ҡ���Ѻ��ý֡���ү��Ż����������ҹҹ �͡�ҡ���Ѳ�ҡ�÷ҧ��ҹ ʵԻѭ�� ��Ҹ� �������˹�觷�������¹�����Ѻ�ҡ��������㹪�����¹�ա����

�ô��ҹ����ԡҡ�͹�ʴ��������
1. ��ͤ����ͧ��ҹ�Т���ʴ����ѵ��ѵԷѹ�շ�����Ѻ������
2. �����ʵ� ��ͤ�������������Դ�����ع�ç�ҧ�ѧ�� ��ͤ������������Դ�����������������������µ�ͺؤ�ŷ�����, �������Ѿ��,
�ٻ�Ҿ�������������������Ǫ������Ҿ����͹Ҩ�� ���͡�з��֧ʶҺѹ�ѹ�繷����þ ��������駡�з���Ѻ�Դ�ͺ����ͧ
����Ѻ�Դ�ͺ����ѧ�� ����ٻ�Ҿ ���͢�ͤ�����觼š�з���ͺؤ����� ����ҹ�����������������´������˹�ҷ��
���͵���Ѻ��Ǽ���зӼԴ����
3. ��Ҫԡ����ʵ��������ҹ�� �Ҩ�١���Թ��շҧ�����¨ҡ������������
4. ���͹حҵ����ա���ɳ��Թ���� � ������ ��駷ҧ�ç��зҧ����
5. �ء�����Դ����繢�ͤ������ҧ����������������������駡�з������䫵� �ҧ���䫵� kroobannok.com �������ǹ����Ǣ�ͧ�� ������
6. �ҧ����ҹ��ʧǹ�Է���㹡��ź��з����������������ѹ�� ������ͧ�ա�ê��ᨧ�˵ؼ��� �����Ңͧ������繹�鹷�����
7. �ҡ������ٻ�Ҿ ���͢�ͤ���������������� ��س����ҷ�������� [email protected] ���ͷӡ��ź�͡�ҡ�к�����

 ** ����Ҫ�ѭ�ѵ���Ҵ��¡�á�зӼԴ����ǡѺ���������� �.�.����**

������㹤�������дǡ ���ͧ�ҡ��һ��ʺ�ѭ��
�ռ���ʵ��ͤ����������������������������繨ӹǹ�ҡ
��ٺ�ҹ�͡�ͷ����֧�ͤ������������Ҫԡ
��س��������к���͹�ʴ�������繤�Ѻ��Ѥ���Ҫԡ����

ความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย

นาฏศิลป์นอกจากจะเป็นเครื่องมือบันเทิงใจสำหรับมนุษย์แล้ว นาฏศิลป์ยังเป็นการแสดงออกทางศิลปวัฒนธรรมที่ดีของชาติ และมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ในพิธีกรรมต่างๆ ตลอดทั้งยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของสังคม ซึ่งส่งผลให้นาฏศิลป์มีความสำคัญดังนี้
1 นาฏศิลป์แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงระดับจิตใจสภาพความเป็นอยู่ความรู้ความสามารถ ความเป็นไทย ความเจริญรุ่งเรือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ดังที่ เรณู โกศินานนท์ (2535, 6) กล่าวถึงนาฏศิลป์ไทยที่แสดงถึงความเป็นไทยไว้ดังนี้
1.1 ท่ารำอ่อนช้อยงดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทย
1.2 มีดนตรีประกอบ
1.3 คำร้อง หรือเนื้อร้องจะต้องเป็นคำประพันธ์ คำร้องนี้ทำให้ผู้สอนหรือผู้รำกำหนดท่ารำไปตามเนื้อร้อง
1.4 เครื่องแต่งกายซึ่งต่างกับของชาติอื่นมีแบบอย่างของตนโดยเฉพาะ
2 นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมของศิลปะแขนงต่างๆ เช่น ศิลปะในการประพันธ์หรือวรรณคดี ศิลปะในการเขียนภาพ ศิลปะในการปั้น หล่อ แกะสลัก ศิลปะในการออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ ศิลปะในการออกแบบเครื่องแต่งกาย ตลอดจนไฟฟ้า แสง เสียง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า นาฏศิลป์คือเป็นแหล่งรวมของศิลปะสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน
จากความสำคัญของนาฏศิลป์ที่กล่าวมาในข้างต้น จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนนาฏศิลป์และส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีแก่นักเรียน ดังนี้

1. ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
2. ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทย
3. ปลูกฝังลักษณะนิสัยทางศิลปะ
4. ฝึกปฏิบัติเพื่อเกิดความรู้ความชำนาญ สามารถปรับปรุงและส่งเสริมการแสดงออก

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/assada999/2009/11/15/entry-2

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

             นาฏศิลป์ไทยเป็นวิชาการที่ละเอียดอ่อน ผู้แสดงระดับครูจัดเป็น ศิลปิน วิชาการนาฏศิลป์ไทยทั้งผู้แสดง ผู้ชมจะต้องมีพื้นความรู้ ขณะเดียวกันการแสดงประเภท ระบำได้รับการประดิษฐ์ท่ารำและลีลาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพของวัฒนธรรมพื้นบ้าน กลายเป็นการละเล่นพื้นเมืองประจำภาค และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในหมู่ประชาชนได้มากกว่าการแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งจัดเป็นการแสดงเป็นละครเรื่องต่าง ๆ  และการแสดงโขน

ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร
 

ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร
ความหมายของภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์
ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร

           โดยปกติแล้ว มนุษย์จะใช้ท่าทางประกอบคำพูด และเมื่อต้องการให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจจะใช้สีหน้าหรือความรู้สึกเข้ามาประกอบคำพูดนั้นๆ ด้วย เช่น กวักมือเข้า หมายถึงให้เข้ามาหา โบกมือออกไป หมายถึงให้ออกไป ในการแสดงนาฏศิลป์ ได้นำท่าธรรมชาติเหล่านี้มาประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางที่สวยงาม เราเรียกว่า "ภาษาท่ารำทางนาฏศิลป์"

ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร
ประเภทของภาษาท่ารำทางนาฏศิลป
ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร

อาจจำแนกออกเป็น ๓ ประเภท คือ
           ๑. ท่าที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ เรียก ไป มา รับ ส่ง ฯลฯ
           ๒. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน ฯลฯ
           ๓. ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ รัก ฯลฯ
            ... สรุปได้ว่า ภาษานาฏศิลป์ หมายถึง การแสดงท่าทางเลียนแบบธรรมชาติอย่างงดงาม สอดคล้องกับความหมายของคำร้องหรือคำประพันธ์เพื่อแทนคำพูด กิริยาอาการ ความรู้สึก และสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งผู้แสดงและผู้ชม

ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร
ความสำคัญของภาษาท่ารำทางนาฏศิลป
ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร

           ภาษานาฏศิลป์ เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นองค์ประกอบหนึ่งของนาฏศิลป์ไทย แสดงถึงความสุนทรีย์ (งดงาม) ของงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ช่วยสื่อความหมายและทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้งผู้แสดงและผู้ชม

ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร
ประโยชน์ของภาษาท่ารำทางนาฏศิลป
ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร

           ๑. ช่วยพัฒนาการแสดงนาฏศิลป์ไทยให้มีความสวยงามได้มาตรฐาน
           ๒. ช่วยสื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกันเมื่อเรียกและใช้ภาษานาฏศิลป์ต่างๆ
           ๓. ใช้เป็นแนวทางในการประดิษฐ์ท่าร่ายรำของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ

ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร
ประเภทของภาษาท่ารำทางนาฏศิลป
ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร

ภาษานาฏศิลป์อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
            ๑. ภาษานาฏศิลป์ที่ปรุงแต่งจากท่าทางตามธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่
                       ๑.๑ ท่าทางที่ใช้แทนคำพูด เช่น ปฏิเสธ ไป มา เป็นต้น
                       ๑.๒ ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบท เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้น
                       ๑.๓ ท่าที่แสดงอารมณ์ภายใน เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ รัก เป็นต้น

            ๒. ภาษานาฏศิลป์ที่มาจากการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสื่อความหมายโดยเฉพาะ เป็นท่าที่ครูอาจารย์ทางนาฏศิลป์คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยเฉพาะ และยึดถือเป็นแบบฉบับมาจนทุกวันนี้ เช่น ท่าสู้ ท่าปกป้องคุ้มครอง ท่าประเทศไทย ท่าที่นี่ ท่าขู่ฆ่า ท่าพินาศย่อยยับ เป็นต้น ภาษานาฏศิลป์มีอยู่มากมาย ที่นักเรียน ควรเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้ถูกต้องเหมาะสม มีดังต่อไปนี้
                       ๑) ท่าแนะนำตัว หมายถึงสรรพนามแทนตัวเรา หรือ ฉัน หรือ ข้าพเจ้า ปฏิบัติดังนี้ : จะนั่ง หรือยืนก็ได้ มือซ้ายใช้จีบหงายที่อก หรือใช้ฝ่ามือซ้ายแตะที่อก หรือชี้นิ้วชี้ซ้ายที่อก หรือใช้นิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายชี้ที่อกก็ได้
                       ๒) ท่าท่าน ปฏิบัติดังนี้ : ยกมือข้างใดข้างหนึ่งขึ้นตั้งฉากระดับใบหน้า ตามองที่มือยกขึ้น เอียงศีรษะ ตรงข้ามกับมือที่ยกขึ้น
                       ๓) ท่ารัก ชื่นชม ปฏิบัติดังนี้ : แบมือทั้ง ๒ ประสานกันทาบที่ฐานไหล่ ใบหน้ายิ้มแสดงอารมณ์ มีความสุข ส่งสายตาประสานกัน
                       ๔) ท่าเศร้าโศก เป็นทุกข์ ปฏิบัติดังนี้ : แบมือทั้ง ๒ ประสานลำแขนที่หน้าท้อง เอียงศีรษะให้งดงาม ก้มหน้าเล็กน้อย แสดงสีหน้าเศร้า
                       ๕) ท่าปฏิเสธ ไม่ ปฏิบัติดังนี้ : ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งตั้งวงหน้าระดับอก แล้วสั่นข้อมือและใบหน้าเล็กน้อย เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ตั้งวง ๖) ท่าเธอ ปฏิบัติดังนี้ : ชี้นิ้วซ้ายมาด้านหน้าระดับอก เอียงศีรษะข้างขวา
                       ๗) ท่าที่นี่ ปฏิบัติดังนี้ : ใช้นิ้วชี้ของมือข้างใดข้างหนึ่งชี้ลงพื้นด้านหน้าลำตัวระดับหน้าท้อง ในลักษณะคว่ำมือและหักข้อมือลง เอียงศีรษะตรงข้ามกับมือที่ชี้นิ้ว ส่งสายตามองนิ้วที่ชี้
                       ๘) ท่ายิ้ม ปฏิบัติดังนี้ : ใช้มือซ้ายกรีดมือจีบคว่ำเข้าหาปาก เอียงศีรษะและลำตัวข้างเดียวกับมือที่จีบ ริมฝีปาก ใบหน้ายิ้มให้งดงาม แสดงสีหน้าดีใจ มีความสุข
                       ๙) ท่าตาย ปฏิบัติดังนี้ : แบมือหงายทั้ง ๒ ข้าง เหยียดแขนตึงระดับไหล่
                       ๑๐) ท่ามา มี ๒ ขั้นตอน ปฏิบัติดังนี้ : ขั้น ตอนที่ ๑ ใช้มือข้างใดข้างหนึ่งตั้งวงหน้า ขั้นตอนที่ ๒ หักข้อมือ พร้อมกดฝ่ามือลงอย่างรวดเร็ว ให้มืออยู่ในลักษณะจีบคว่ำเพียงเล็กน้อย
                       ๑๑) ท่าไป มี ๒ ขั้นตอน ปฏิบัติดังนี้ : ขั้นตอนที่ ๑ ใช้มือข้างใดข้างหนึ่ง ทำนาฏยศัพท์จีบหงาย ที่ข้างหน้าระดับอก ขั้นตอนที่ ๒ ม้วนจีบคว่ำลง ม้วนมือออกไปปล่อยจีบ หักข้อมือขึ้นเป็นตั้งวงหน้า
                       ๑๒) ท่าทำลายพินาศ ย่อยยับ มี ๒ ขั้นตอน ปฏิบัติดังนี้ : ขั้นตอนที่ ๑ ถูฝ่ามือระดับหน้าท้อง ขั้นตอนที่ ๒ แยกฝ่ามือทั้งสองข้างไว้ข้างลำตัว เหยียดแขนตึง

ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร
     
ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร

ท่ารำของนาฏศิลป์ไทยมีความสำคัญอย่างไร